ธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลเป็นส่วนหนึ่งของระบบการค้าระหว่างประเทศ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และต่อไปสู่อนาคต เพราะเป็นเพียงการขนส่งชนิดเดียวที่ขนส่งสินค้าได้คราวละมาก ๆ และค่าระวางเรือมีราคาถูกกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือจึงเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจการเดินเรือขนส่งและกิจการการค้าระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง จึงสนับสนุนธุรกิจในกลุ่มพาณิชยนาวีมาอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ทศวรรษ และได้ขยายการสนับสนุนเพื่อให้ครอบคลุมถึงธุรกิจบริการวิศวกรรมทางทะเล ซึ่งผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพเทียบเท่าสากล เพราะเป็นธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ในบทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย EXIM BANK ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ประกอบการพาณิชยนาวีของไทยที่มีศักยภาพในการขยายและเพิ่มประสิทธิภาพกองเรือ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน (Blue Economy) โดยใช้กองเรือไทยที่มีความทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอัตราการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิง สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของ EXIM BANK สู่การเป็น Green Development Bank ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ เชื่อมโยงกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
ดร.รักษ์ กล่าวว่า บริษัทเดินเรือส่วนใหญ่ได้ขอสนับสนุนในการลงทุนต่อเรือใหม่สำหรับใช้ขนส่งสินค้าข้ามทวีปในเส้นทางเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง และเพิ่มอุปทานธุรกิจบริการขนส่งสินค้าของกองเรือไทย แต่การสนับสนุนธุรกิจทางทะเล EXIM BANK ได้ขยายการสนับสนุนเพิ่มเติมไปถึงการต่อเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่เพื่อให้บริการในทะเลรูปแบบอื่น ๆ หนึ่งในนั้นคือ การให้บริการงานวิศวกรรมทางทะเล ซ่อมบำรุง ติดตั้งและรื้อถอนแท่นขุดเจาะน้ำมันทั้งบนบกและในทะเล ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเพราะเป็นผู้ให้บริการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางพลังงาน และสร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
ลูกค้าของ EXIM BANK ที่ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนหมุนเวียนและการค้ำประกันสัญญาธุรกิจคือ บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทในเครือ TTA เป็นผู้ให้บริการงานนอกชายฝั่งและวิศวกรรมใต้น้ำ (Subsea Engineering) ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง (Offshore) สามารถรุกตลาดในภูมิภาคตะวันออกกลาง ชายฝั่งในซาอุดีอาระเบีย และกาตาร์ รวมทั้งได้รับงานจาก บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่มีความน่าเชื่อถือและมาตรฐานการทำงานระดับโลก ต่อเนื่องกว่า 10 ปี โดยกลุ่มบริษัทเมอร์เมดเป็นผู้ประกอบการไทยเพียงรายเดียว ที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทน้ำมันชั้นนำทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง นับว่าเป็นบริษัทที่มีคุณภาพระดับโลกและเป็นธุรกิจของคนไทยที่สามารถเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ด้วย
นายพิบูลย์ บัวคุณงามเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การก้าวเข้าสู่ธุรกิจนี้มาจากการที่บริษัทเล็งเห็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมผู้ประกอบการไทย ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน ลดการพึ่งพาต่างชาติในธุรกิจที่มีความสำคัญและเป็นรากฐานของแหล่งพลังงานในอ่าวไทย จึงได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในด้านให้บริการงานวิศวกรรมทางทะเล รองรับความต้องการของลูกค้าในประเทศ ลูกค้าส่วนใหญ่คือ บริษัทที่ได้รับสัมปทานในอ่าวไทย ต่อมาได้ขยายธุรกิจการให้บริการออกไปยังภูมิภาคอาเซียน และในต่างประเทศ โดยเฉพาะแถบตะวันออกกลาง เช่น ประเทศซาอุดีอาระเบีย และกาตาร์ กลุ่มลูกค้าตลาดต่างประเทศ เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ประกอบธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
“จุดแข็งของบริษัทคือ นโยบายด้านความปลอดภัย คุณภาพที่เชื่อถือได้ และประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับการบริการที่มีมาตรฐาน ตรงต่อเวลา จึงเกิดเป็นความเชื่อมั่นและไว้วางใจที่ลูกค้ามีต่อบริษัท นอกจากนี้ บริษัทยังมีกองเรือ เรือของบริษัทเอง ที่พร้อมให้บริการลูกค้า และยังได้ทำสัญญาเช่าเรือระยะยาวกับพันธมิตรจากต่างประเทศ เพื่อรองรับการให้บริการได้อย่างเหมาะสม ทำให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกที่มีการแข่งขันรุงแรงขึ้นในปัจจุบัน” นายพิบูลย์ กล่าว
อย่างไรก็ดี ความท้าทายในอนาคตของธุรกิจซึ่งกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นในการเปลี่ยนผ่านพลังงานจากฟอสซิลไปเป็นพลังงานทางเลือกเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ลูกค้ามีการพิจารณาปรับแผนการลงทุนระยะยาวบางส่วน และมองหาการลงทุนระยะกลางและระยะสั้น การขุดเจาะสำรวจน้ำมันอาจจะลดลงอนาคต แต่บริษัทรับงานการถอนติดตั้งแท่นขุดเจาะที่หมดอายุสัมปทานด้วย และในอนาคตสามารถที่จะปรับเปลี่ยนไปให้บริการแก่ธุรกิจพลังงานทางเลือก ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาแนวทางการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสม
นายพิบูลย์ กล่าวว่า EXIM BANK มีความสำคัญอย่างมากต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการไทย ในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรง การได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความพร้อมและเหมาะสมรองรับการดำเนินงานและการขยายตัวของผู้ประกอบการไทย จะช่วยเพิ่มความได้เปรียบ และช่วยให้ผู้ประกอบการไทย สามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้เป็นส่วนร่วมที่สำคัญให้กับประเทศไทย ในการแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน ทัดเทียมกับนานาชาติได้อย่างเต็มภาคภูมิ
หากผู้ประกอบการต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจ EXIM BANK มีบริการทางการเงินที่หลากหลายและครบวงจร รวมทั้งเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยแข่งขันได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้นในเวทีการค้าโลก ปรึกษาปัญหาธุรกิจกับ EXIM BANK โทร. 0 2169 9999
ชมวิดีโอสัมภาษณ์นายพิบูลย์ บัวคุณงามเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) เรื่อง “เมอร์เมด มาริไทม์…ผู้นำระดับโลกด้านวิศวกรรมทางทะเล” ได้ที่นี่
นายธีรลักษ์ แสงสนิท ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวเปิดงาน EXIM Stakeholders Day ซึ่ง EXIM BANK จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ภายใต้แนวคิด “EXIM’s Journey towards Green Development Bank” โดยมี ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อเชื่อมโยงและผนึกกำลังการมีส่วนร่วม ตลอดจนรับฟังเสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ทุกภาคส่วนต่อนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของ EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มุ่งดำเนินบทบาท “Green Development Bank” โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแล ผู้ถือหุ้น ผู้แทนจากกระทรวงที่ดูแลงานด้านเศรษฐกิจ ผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน สังคม และชุมชน อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินต่าง ๆ และกลุ่มลูกค้าทุกขนาดธุรกิจ ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ จาก EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567
EXIM BANK จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอไปใช้กำหนดนโยบาย ทิศทาง แผนการดำเนินงาน และแนวทางพัฒนาองค์กร โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and Governance : ESG) เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2570 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593 สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจไทย และขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและโลกอย่างยั่งยืน
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า บริษัท มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส (Moody’s Investors Service : Moody’s) บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินตราต่างประเทศระยะยาว และอันดับเครดิตตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิสกุลเงินต่างประเทศของ EXIM BANK ที่ ‘Baa1’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เทียบเท่าอันดับเครดิตของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 ตอกย้ำความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานะทางการเงินของ EXIM BANK รวมถึงสะท้อนบทบาท Green Development Bank และภารกิจของ EXIM BANK ในการเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ดำเนินภารกิจส่งเสริมและสนับสนุนการค้าและการลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
“EXIM BANK เดินหน้าสนับสนุนผู้ประกอบการไทยอย่างต่อเนื่อง โดยสานพลังกับเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งดูแลธุรกิจกลุ่มเปราะบางซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลิกโฉมประเทศไทยสู่เศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือ ESG ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของภาครัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม” ดร.รักษ์ กล่าว
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมด้วยผู้บริหาร EXIM BANK พบปะหารือทวิภาคีกับองค์กรพันธมิตร ประกอบด้วยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งมองโกเลีย (DBM) ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ (NDB) ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) และ UK Export Finance (UKEF) ในโอกาสเข้าร่วมการประชุมประจำปีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าในเอเชีย ครั้งที่ 29 (Asian EXIM Banks Forum: AEBF) จัดโดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Eximbank) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในมิติเศรษฐกิจ การเงิน การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของเอเชียและโลกโดยรวม ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2567
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำคณะผู้บริหาร EXIM BANK พบปะหารือกับนายอัมกาลัน บัตตุลกา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งมองโกเลีย (DBM) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเสริมสร้างโอกาสในการขยายความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะในธุรกิจที่มองโกเลียมีศักยภาพ อาทิ พลังงานหมุนเวียนและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำคณะผู้บริหาร EXIM BANK พบปะหารือกับนายวลาดิเมียร์ คาซเบคอฟ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ (NDB) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มประเทศ BRICS ประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ เกี่ยวกับแนวทางเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกัน ภายใต้บทบาท วิสัยทัศน์ และพันธกิจของธนาคาร รวมทั้งตอกย้ำจุดยืนของ EXIM BANK ในฐานะ Green Development Bank ที่พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างประเทศสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำคณะผู้บริหาร EXIM BANK พบปะหารือกับนายโนบุมิตสึ ฮายาชิ ผู้ว่าการธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) และผู้บริหาร JBIC เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเสริมสร้างโอกาสในการขยายความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนระหว่างกัน การสนับสนุนธุรกิจสีเขียว โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and Governance : ESG) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำคณะผู้บริหาร EXIM BANK พบปะหารือกับนายทิม รีด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร UK Export Finance (UKEF) หน่วยงานของรัฐบาลสหราชอาณาจักรที่ดำเนินงานภายใต้กรมการค้ำประกันสินเชื่อ กระทรวงธุรกิจและการค้า สหราชอาณาจักร เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลง (MOU) และหารือแนวทางส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน โครงการด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร รวมถึงการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567
ทั้งนี้ ปัจจุบัน AEBF มีสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ ประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี และไทย รวมทั้ง JBIC องค์กรการส่งออกแห่งประเทศออสเตรเลีย (EFA) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเวียดนาม (VDB) โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เป็นผู้สังเกตการณ์ถาวร และมีหน่วยงานเข้าร่วมสังเกตการณ์ 5 องค์กร ได้แก่ ธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งมองโกเลีย (DBM) ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ (NDB) UK Export Finance (UKEF) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าซาอุดีอาระเบีย (Saudi EXIM Bank)
นายบัณฑิต สะเพียรชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พบปะหารือกับนายอดัม บอยตัน หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์ออสเตรเลีย ธนาคารออสเตรเลีย แอนด์ นิวซีแลนด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป ลิมิเต็ด (ANZ Bank) พร้อมด้วยผู้บริหาร ANZ Bank เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคของประเทศออสเตรเลีย และแนวทางความร่วมมือด้านการเงิน รวมทั้งการให้สินเชื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและออสเตรเลีย ณ นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567