December 23, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

ความภูมิใจของการเป็นโค้ช

June 13, 2018 6080

เจียมจิต จิวะสิทธิกุล Vice President , Executive Coach and Instructor ของ บริษัท แอคคอม แอนด์ อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ แอคคอมฯ

หนึ่งในโค้ชมากฝีมือของ แอคคอมฯ ผู้เคยผ่านงานประจำในอุตสาหกรรมต่างๆ มาหลากหลายในสายงานด้านทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาองค์กร หรือ HR & OD มาจนอยู่ในระดับผู้บริหารสูงสุดของสายงาน HR ประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการบุคลากรจึงมีอยู่เต็มเปี่ยม ขณะเดียวกันด้วยใจที่รักด้านการ ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร พัฒนาองค์กร ทำให้เธอตัดสินใจหันมาทำอาชีพวิทยากรและเป็นโค้ชอย่างเต็มตัว

อาจารย์เจียมจิตมองว่าการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนต้องมาจากการพัฒนาคนหรือพนักงานในองค์กร เพราะฉะนั้นการพัฒนาบุคลากรจึงเป็นหัวใจสำคัญของทุกๆ องค์กร ซึ่งไม่หยุดเพียงแค่การพัฒนาธุรกิจ แต่ยังต้องพัฒนาทีมงานและพัฒนาองค์กรไปพร้อมๆ กัน

อาจารย์เจียมจิตเล่ากระบวนการทำงานของแอคคอมฯ ว่า ลูกค้าจะมี 2 แบบ คือลูกค้าที่มีโจทย์ของตัวเองว่าต้องการอะไรและ แอคคอมฯ สามารถเข้าไปช่วยจัดเตรียมโปรแกรมการพัฒนาที่มีให้เหมาะสมกับความต้องการนั้น

และอีกประเภทหนึ่งคือลูกค้ากลุ่มที่ให้ แอคคอมฯ เข้าไปช่วยเป็นที่ปรึกษาองค์กร เช่นให้ไปช่วยวิเคราะห์องค์กรว่าปัญหาอยู่ที่ใด และควรจะแก้ไขปัญหาและพัฒนาในด้านใดอย่างไรก็ตามเป้าหมายคือการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ที่ต้องการพัฒนาองค์กรไปตามที่เขาต้องการ

อาจารย์เจียมจิต ยกตัวอย่างกรณีหากลูกค้ามีปัญหาพนักงานลาออกจำนวนมาก แต่ไม่ทราบสาเหตุ ทางทีมงานก็จะเข้าไปช่วยวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ก็เสนอว่าควรจะทำ Exit Interview หรือการสัมภาษณ์พนักงานที่ยังทำงานอยู่ด้วย คือ Stay Interview แทนการสัมภาษณ์พนักงานที่ลาออกหรือ Exit Interview อย่างเดียว เพื่อทำให้องค์กรได้รับทราบข้อมูล เพื่อนำไปพัฒนาออกแบบโปรแกรมที่เหมาะกับองค์กรของเขามากยิ่งขึ้น

โดยปัจจัยที่ทำพนักงานลาออกมากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องหัวหน้างานซึ่งอาจมาจากภาวะผู้นำ ดังนั้นแอคคอมฯ สามารถเข้าไปช่วยได้ โดยมีโปรแกรมยอดนิยมคือ Leadership Development Program เป็นหนึ่งในโปรแกรมที่แอคคอมฯ ภูมิใจมาก เนื่องจากเพิ่งได้รับรางวัล “Best Leadership Development”

สาเหตุที่รองลงมาคือ เรื่องที่มาจากโครงสร้างองค์กรหรือโครงการการบริหารต่างๆ เช่น สายการบังคับบัญชา โครงสร้างเงินเดือนซึ่งเรื่องนี้สามารถช่วยได้โดยให้คำปรึกษากับทีม HR ขององค์กรเพื่อแก้ไข และปัจจัยที่3 อาจจะมาจากปัญหาในระดับบุคคลเช่นทีมขาย ทีมการตลาด ทีมการผลิต ซึ่งแอคคอมฯ เข้าไปช่วยดูว่ามีโปรแกรมอะไรที่สามารถช่วยเหลือได้บ้าง เช่นโปรแกรมการสื่อสาร และการสร้างแรงจูงใจต่างๆ

“เราไปช่วยเขาตั้งแต่ ออกแบบโปรแกรมพัฒนาเสร็จ เรามีโปรแกรมติดตามผลของเขา ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แบบทางการคือเรามีจัด Follow-up Sessions ด้วย แบบไม่เป็นทางการคือเขาจะมีเบอร์อาจารย์ มีไลน์อาจารย์ด้วยเขาอยากให้ช่วยเหลืออะไรก็สามารถติดต่อได้ เราไม่ได้ธุรกิจจ๋า
นี่คือเสน่ห์ของ แอคคอมฯ ”

 

 3 โจทย์ใหญ่ขององค์กร

 อาจารย์เจียมจิต เล่าถึงโจทย์ขององค์กรที่มักจะพบว่าประกอบด้วย 3 เรื่อง คือ

1. องค์กรเปลี่ยนแปลงไม่ทันกับโลกปัจจุบัน เราก็จะทำเรื่อง Change Management อาจจะเพราะองค์กรเปลี่ยนไม่ทันหรือผู้นำไม่รู้สึกว่าต้องเปลี่ยน เราจะใช้โปรแกรม ที่ดีมากคือ Navigating in times of change คือสร้างผู้นำให้สามารถพัฒนาและนำพาทีมไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้ถูกเรื่อง ถูกที่ ถูกเวลา

2. การพัฒนาภาวะผู้นำ เช่น มีผู้นำโตมาจากระดับ Supervisor แล้วมาเป็นระดับ Manager ระดับ Director เรามีโปรแกรมเตรียมความพร้อมให้พวกเขา เหมือนเตรียมความพร้อมให้เขาพร้อมเป็นผู้นำ เราก็จะมี 3 โปรแกรมคือ

• Leading yourself พัฒนาตัวเองก่อนเพื่อเตรียมตัวเป็นผู้นำ

• Leading your team เป็นผู้นำแล้วก็เตรียมให้เขาพัฒนา เป็นผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารเป็นผู้นำทีม

• Leading for success เป็นการนำทีม นำองค์กรใปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร

 3. คือปัญหาเรื่องการสื่อสาร สื่อสารในองค์กรอย่างไร สื่อสารต่างสไตล์สื่อสารอย่างไร สื่อสารต่าง Generation สื่อสารอย่างไร สื่อสารข้าม Fuction ทำอย่างไร บางทีทีมวิศวกรคุยกับเซลล์ไม่รู้เรื่อง ทีมเซลล์คุยกับบัญชีไม่รู้เรื่อง เรามีโปรแกรมการพัฒนาเรื่องทักษะการสื่อสารให้ประสบความสำเร็จ

 

 เมื่อก่อนนี้ หนึ่งในความท้าทายที่เผชิญอยู่คือ การที่คนไม่รู้ว่าตนเองต้องพัฒนา (Self-Awareness) คนจะไม่เรียนรู้ ไม่เปลี่ยนแปลง หากเขาไม่รู้ว่าเขาจำเป็นต้องพัฒนา ซึ่งเป็นความท้าทายที่สุดในทำงาน เมื่อมาร่วมงานกับแอคคอมฯ จึงได้คำตอบ เพราะเรามีเทคนิคและเครื่องมือเยอะมาก จึงไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป

 

ในฐานะวิทยากรและโค้ช อาจารย์เจียมจิตเห็นความเปลี่ยนแปลงจากผลงานที่ได้ทำไป โดยวัดจาก 3 ระดับ คือ

• ระดับที่หนึ่งคือ ตัวผู้เรียนที่บอกมาเองว่าได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียนไปอย่างไร บางครั้งบอกในห้องเรียน บางครั้งไลน์มาคุยหรือบางครั้งโทรมาเล่าให้ฟัง ว่านำไปใช้แล้วได้ผล

• ระดับที่สองคือ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กรที่มาบอกฟีดแบ็ก ว่าผลการเรียนทำให้เป้าหมายดีขึ้นหรือการลาออกลดลง

• ระดับที่สามคือ ได้เห็นด้วยตนเองจากการเข้าไปใช้บริการในองค์กรที่เรียนกับเราไป ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และการกลับมาเรียกใช้บริการ แอคคอมฯ ซ้ำ

 

อาจารย์เจียมจิต ปิดท้ายด้วยการเล่าถึงความภูมิใจในบทบาทที่ทำอยู่ในปัจจุบันว่า กับบทบาทวิทยากรกรได้ทำให้คนได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เปิดโลกทัศน์ ได้รับคำถาม เสียงปรบมือ การตอบรับจากผู้เรียน การโทรศัพท์มาพูดคุยด้วย คือสิ่งที่ทำให้ตัวเธอภาคภูมิใจในทุกวันที่ทำงาน

ด้านการเป็นโค้ช เธอบอกว่า การทำให้โค้ชชี่ หาทางออกได้ด้วยตัวเอง มีวิธีคิดที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถเข้าใจสถานการณ์ของตัวเอง มีแรงบันดาลใจ นอกจากความภูมิใจแล้วยังถือว่าได้บุญด้วยในตัว

กับบทบาทที่ปรึกษา การเข้าไปช่วยวิเคราะห์องค์กร ออกแบบพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ให้ ทำให้เกิดความภูมิใจว่าได้ช่วยฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กร ได้ใช้ความรู้ที่มีไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทั้งตัวเองและองค์กรลูกค้า

อาจารย์เจียมจิตบอกว่า “บางวันกลับบ้านสลบนะ แต่มีความสุขทุกวัน ไม่เคยเบื่อที่จะสอนและไม่เบื่อที่จะโค้ช เป็นอาชีพที่มีความสุขที่สุดในทุกวัน” 

X

Right Click

No right click