×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

ดร.สุดาพร สาวม่วง  คณบดีคณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า คณะการบริหารและจัดการมีแผนการดำเนินงานเพื่อนำคณะก้าวไปสู่อันดับต้นๆของอาเซียนและโลก โดยยึดหลัก 5 P กับ 1 N  คือ Product-หลักสูตรสายพันธ์ใหม่  Place –สถานที่ใหม่ทันสมัย และเรียนแบบ Online/City Campus Promotion - Agent ในต่างประเทศ  ,People –เพิ่มสัดส่วนอาจารย์ชาวต่างชาติ 100 %  Process -Profit Center  และ Net Working-15 คณะ + MIT Sloan & Oxford โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนหลักสูตร  จำนวนอาจารย์  Rank จำนวนงานวิจัย จำนวนนักศึกษา และรายได้ที่เพิ่มขึ้นในที่สุด

ดร.สุดาพร  สาวม่วง คณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

ทั้งนี้  5 พันธกิจหลักในการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1.พัฒนากระบวนการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมกำกับความรู้ และมีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับและตรงความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน  2.พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการและวิจัยในแนวทางที่ยั่งยืน 3.พัฒนาและส่งเสริมบุคลากรในทุกด้าน เน้นการเพิ่มศักยภาพสวัสดิการ ความมั่นคง และความก้าวหน้าในวิชาชีพ ด้วยระบบคุณธรรมและยุติธรรม 4.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมที่จะเผชิญกับสภาวะเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม 5.ประสานความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกสถาบันให้มีความเป็น นานาชาติ (International Outlook)  อันจะนำไปสู่เป้าหมายของการเป็น   “คณะการบริหารและจัดการ เพื่อคนรุ่นใหม่ก้าวไกลสู่อาเซียนและโลก”

ผศ.ดร.สุทธิ สูอำพัน รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

ดร.สุดาพร กล่าวด้วยว่า ภายในระยะเวลา 4 ปี ของการบริหารงาน ตั้งเป้าให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีใน 4 มิติ ทั้ง เรื่องของงานวิชาการและงานวิจัยของอาจารย์ บุคลากร ตอบโจทย์แก้ปัญหาสังคม ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ มีสิทธิบัตร เพื่อที่จะใช้ในเชิงที่จะก่อประโยชน์จริง (Academic  Impact) หรือการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรที่มีคุณภาพ  สรรหาอาจารย์คุณภาพเข้ามาสู่ขบวนการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน  เครื่องมือมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย  

ผศ.ดร.สิงหะ ฉวีสุข  รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

สจล.จะเป็นเจ้าแรกที่ทำหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ (Education Impact) รวมทั้ง ผลต่อภาคอุตสาหกรรม  ซึ่งจะได้ผลผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบ โดยนายจ้างจะต้องได้บัณฑิตที่มีคุณภาพเรียนจบแล้วสามารถทำงานได้เลย เป็นคนเก่งและดีของบริษัทและสังคม (Industrial Impact) และสุดท้ายผลลัพธ์ทีดีต่อสังคม โดยงานวิจัยที่ออกมาจะต้องนำพาสังคมให้ดีขึ้น มีรายได้มีชีวิตที่ดีขึ้นมีความสุขมากขึ้น (Social Impact)

ดร.ทัศไนย ปราณี  รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

“การดำเนินงานทั้งหมดอยู่ภายใต้นโยบาย FAM to FAMOUS  อันหมายถึง คณะการบริหารและจัดการ เป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมมือกันนำพา สจล.สู่ Top 10 ในอาเซียนและระดับโลก(Family)  คณะการบริหารและจัดการ ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ มีฝีมือ มีทักษะ มีสมรรถภาพ มีนวัตกรรม ( Ability)  และการจัดการเรียนการสอนแบบมืออาชีพจะเน้นการ ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (Management) การพัฒนาไปถึงการติดอันดับต้นๆ ของประเทศ  ของอาเซียนรวมทั้งระดับโลก ( Outstanding) เข้าสู่ความเป็นนานาชาติในทุกด้าน( Universal) และ รูปแบบการบริหารและการจัดการเรียน การสอนที่มีคุณภาพ ตามหลักการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับสากล (Standardize)” ดร.สุดาพรกล่าวในตอนท้าย

ผศ.ดร.ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

 


 

 

 

ดร.สุดาพร สาวม่วง คณบดี คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (Faculty of Administration and Management) เข้ารับรางวัล Education Thailand Leaderships Awards 2019 จาก World Federation of Academic and Education Institue เมื่อเร็วๆนี้ ที่ โรงแรมแอททินี สุขุมวิท


ในงานมอบรางวัลครั้งนี้มีมหาวิทยาลัยไทยได้รับรางวัล 2 แห่ง คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ มหาวิทยาลัยมหิดล

“Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ คือเมืองที่มีพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมด ที่นำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารทรัพยากรของเมือง ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างและเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนในเมืองให้สูงขึ้น และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนอีกครั้งหนึ่ง ผ่านการใช้บริการข้อมูล และเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบและรูปแบบต่างๆ มากมายที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวก และตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวันของคนในเมืองหรือในสังคม” ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมืองให้เป็น Smart City ไว้อย่างน่าสนใจและอธิบายต่อว่า

หัวใจสำคัญของการสร้างเมืองเป็น Smart City เป็น Smart Community เมืองอัจฉริยะ ชุมชนอัจฉริยะ คือต้องมี “ผู้นำ” ไม่ว่าจะมาจากหน่วยงาน องค์กรใด และตำแหน่งอะไรก็ตาม หากผู้นำท่านนั้นเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มและมีความคิดสร้างสรรค์ มีมุมมองและรู้จักหรือยอมรับที่จะนำเอาเทคโนโลยีมีมากมายในโลกใบนี้มาใช้ และเป็นเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นต้องแพง แต่ทำให้ทุกคนในเมืองหรือชุมชนสามารถเข้าถึงได้ ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงชุมชนเมืองให้เป็น Smart City ขึ้นมาได้

เพราะเมืองที่ฉลาด ก็คือเมืองที่สามารถตอบโจทย์ชีวิตของประชากรในเมืองได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่เกิดจนถึงเชิงตะกอน การที่เมืองจะตอบโจทย์คนในเมืองได้จึงอยู่ที่ผู้นำผู้เข้าใจและรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในเมืองนั้นๆ สามารถนำสิ่งเหล่านี้มาสร้างเป็นโจทย์พัฒนาระบบต่างๆ เพื่อให้บริการกับคนในเมือง โดยเหตุผลที่ผู้นำต้องเข้าใจและรู้จักการใช้เทคโนโลยี ก็เพราะว่าเทคโนโลยีจะมาเป็นเครื่องมือที่เข้าช่วยให้คนสามารถพัฒนาและแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งนับวันศักยภาพของเทคโนโลยีก็มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นในทุกๆ วัน

โดยเฉพาะเทคโนโลยี 5G ซึ่งจะมาพร้อมกับประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อการสื่อสารที่รวดเร็วมากขึ้นและสามารถส่งข้อมูลจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ความสามารถนี้ทำให้เราส่งภาพที่คมชัด บันทึกไฟล์ได้ต่อเนื่องไม่ติดขัด ประมวลผลที่มีความซับซ้อนได้ดีมากขึ้น นำไปใช้ได้ในหลายด้าน

ยกตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร ปัญหาหนึ่งของเราคือ การเดินทางไม่ว่าจะโดยรถส่วนตัวหรือรถสาธารณะคนในเมืองต้องคิดเผื่อเวลากันเองเพราะไม่รู้ว่าปริมาณรถในเส้นทางที่เราต้องการจะเดินทางเป็นอย่างไร มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในเส้นทางนั้นหรือไม่ หรือรถโดยสารที่เราต้องการใช้บริการจะมาถึงป้ายรถหรือสถานีเวลาใด คน กทม. ไม่สามารถประเมินเวลาการเดินทางในแต่ละวันได้เลย โดยเฉพาะวันไหนฝนตกลงมาการจราจรก็จะติดขัดมากกว่าปกติและหากเส้นทางหลักๆ เกิดสถานการณ์น้ำระบายไม่ทันก็จะเป็นอัมพาตกันทั้งเมือง 

แต่หากกรุงเทพมหานครเป็นเมืองอัจฉริยะ ก็อาจจะมีการพัฒนาและเชื่อมโยงระบบการคมนาคมร่วมกับระบบผังเมือง ระบบการจราจร และระบบรายงานอากาศ เข้าด้วยกัน กลายเป็นระบบที่เข้ามาช่วยให้คนในเมืองสามารถทราบตารางรถสาธารณะที่จะผ่านเข้ามายังจุดที่ต้องการ ว่าแต่ละคันจะมาถึงเวลาใด และใช้เวลาในการเดินทางถึงที่หมายเท่าไร รู้สภาพการจราจรล่วงหน้า สามารถเลือกเส้นทางการเดินทางที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาของวัน หรือสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศตลอดทั้งวันโดยเฉพาะในฤดูฝน เพื่อให้คนในเมืองได้จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันฝน หรือทราบว่าบริเวณไหนจะมีน้ำขังรอการระบาย ก็จะได้หลีกเลี่ยงเส้นทางนั้น นี่คือตัวอย่างส่วนหนึ่งของระบบในเมืองอัจฉริยะที่มาตอบโจทย์ชีวิตของคน กทม.

จากแนวคิดข้างต้นของ ดร.สุชัชวีร์ ข้างต้น นำมาสู่การศึกษาพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเมืองอัจฉริยะ 6 ด้านอย่างเป็นรูปธรรม ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกำลังศึกษา พัฒนา และเชื่อมโยง เพื่อนำไปสู่ทางออกใหม่ให้กับคนในเมืองกรุง ผ่านสถาบันวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (SCiRA) ของสถาบันฯ เกี่ยวกับเรื่อง Smart Living หรือ ระบบการอยู่อาศัยอัจฉริยะ Smart Utility หรือระบบสาธารณูปการอัจฉริยะ Smart Environment หรือระบบสภาพแวดล้อมอัจฉริยะ Smart Economy หรือ ระบบเศรษฐกิจอัจฉริยะ Smart IT หรือ ระบบสารสนเทศอัจฉริยะ และ Smart Mobility หรือ ระบบการขนส่งอัจฉริยะ


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ “Smart City” ชีวิตยุคใหม่ในเมืองอัจฉริยะ โดย ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จากงาน Thailand MBA Forum 2018 ได้ที่นี่

หลักสูตรบริหารธุรกิจ นานาชาติ ลาดกระบัง เป้าหมายของหลักสูตร คือการสร้างบัณฑิตเพื่อเตรียมความพร้อมกับการเข้าสู่โลกธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างมืออาชีพ ไม่ว่าการเป็นผู้ประกอบการเองหรือการเป็นมืออาชีพในสถานประกอบการ โดยเฉพาะองค์การแบบนานาชาติ (Multinational Organization : MNC’ s) และเตรียมความพร้อมกับก้าวไปสู่นักบริหารในอนาคตที่มีความเป็น World Citizen ที่มีองค์ความรู้ด้านบริหารธุรกิจ (Business Acumen) มีทักษะในการบริหารจัดการ (Management Concepts) ความคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) การคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking Process) มีความรู้ความเข้าใจต่อการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการให้สอดรับกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตามพลวัตของดิจิทัล

หลักสูตรได้จัดให้มีการเรียนการสอนสอดแทรกรายวิชาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในหลักสูตร และทุกวิชาจะมีการเชื่อมความสำคัญหรือความสัมพันธ์เทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกธุรกิจในปัจจุบันกับ Functions และกิจกรรมทางธุรกิจ (Business Acitivities) เช่น Digital Online Marketing, Innovation Entrepreneurships, Technology Start Up, Digital Disruptiveกับ แนวความคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปอื่นๆ และตอกย้ำกับวิสัยทัศน์และพันธะกิจความเป็นผู้นำของสถาบัน ในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดรวมถึงอัตลักษณ์ของสถาบันที่ว่า “ซื่อสัตย์ ใฝ่รู้ สู้งาน”

แม้โลกธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นใด สิ่งสำคัญที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นนักศึกษาที่จบจากหลักสูตรนี้ต้องมี Competencies & Soft Skills ที่สำคัญในการทำงาน ได้แก่การมีภาวะผู้นำที่ดี (Leadership) ทักษะในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นๆ ในทุกระดับ (Interpersonal Skills) ที่สำคัญมากที่ตอกย้ำความเป็นนานาชาติ คือการมี Global Mindset ที่เข้าใจความแตกต่างในวัฒนธรรมข้ามชาติ (Cross Cultural) เข้าใจความหลากหลายในสถานที่ทำงาน (Diversity) แบบบริบทนานาชาติ แต่ต้องไม่ลืมรากเหง้าความเป็นไทย หรือหากเป็นนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนในหลักสูตรนักศึกษาต่างชาติต้องได้รับการถ่ายทอดในกลิ่นอายความเป็นไทย เข้าใจในวัฒนธรรม ความมีเสน่ห์ของความเป็นไทย (Thai Culture & Traditional) ทางหลักสูตรจะมีกิจกรรมที่เสริมสร้างความเป็นนานาชาติให้กับนักศึกษาไทย และความเป็นไทยให้กับนักศึกษาจากหลากหลายประเทศในอนาคต เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติในหลากหลายรูปแบบ การให้นักศึกษาไปมีส่วนร่วมในการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ การจัดให้มีการเยี่ยมชมสถานประกอบการต่างชาติทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

แน่นอนการจะผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติดังที่กล่าวคงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ด้วยความตั้งใจของอาจารย์ในหลักสูตรทุกท่าน เราจึงได้ข้อสรุปต่างๆ ในระบบการเรียนการสอนต้องเชื่อมโยงอย่างชัดเจนจึงเป็นความจำเป็น เราเชื่อในหลักการของทฤษฎีระบบ (System Theory) ที่องค์ประกอบต้องเชื่อมต่อกันอย่างมีคุณภาพ ทั้ง Input, Process and Output

คุณภาพนักศึกษา

หลักสูตรตระหนักดีว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนของนักศึกษาคือสิ่งสำคัญที่สุด เพราะองค์ประกอบนี้จะเป็นตัวชี้วัดที่จะทำให้หลักสูตรมีคุณภาพและประสบผลสำเร็จหรือไม่ตั้งแต่แรก แม้ว่าเราจะเป็นหลักสูตรใหม่ แต่เราก็เข้มงวดกับระบบการคัดเลือก สรรหานักศึกษาเข้ามาในระบบ สิ่งที่เน้นเป็นอันดับแรก คือพื้นฐานและทักษะภาษาอังกฤษ เพราะคือทักษะจำเป็นของกระบวนการเรียนรู้ในหลักสูตร อันดับต่อมาคือบุคลิกลักษณะเหมาะสมกับหลักสูตรบริหารธุรกิจนานาชาติที่ต้องการนักศึกษาที่มุ่งมั่นในการเข้าสู่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม บุคลิกที่ว่าคือการมีภาวะผู้นำ (Leadership) กล้าแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ใช่ และถูกต้องอย่างสร้างสรรค์ (Assertiveness) ความกระตือรือร้น คล่องแคล่ว (Alert and Agility) การเปิดใจรับกับความคิดเห็นที่แตกต่าง (Open Minded) การทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่าง (Interpersonal Skills) ทักษะการสื่อสารและ ความคิดรวบยอด (Communication and Conceptual Skill)

กระบวนการและวิธีการเรียนการสอน

คณาจารย์ทุกท่านในหลักสูตร รวมทั้งคณาจารย์ที่ได้รับเชิญมาสอนต้องกำหนดวิธีการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะครบเครื่อง เช่น ทักษะการค้นคว้าความรู้จากสื่อประเภทต่างๆ ในโลกอินเทอร์เน็ต ออนไลน์ การระดมสมองเพื่อค้นหาคำตอบกรณีศึกษาในเชิงธุรกิจ การแชร์ประสบการณ์ การเสนอแนะความคิดเห็น การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ดังนั้น กระบวนการหรือวิธีการเรียนการสอนของคณาจารย์ อาจเป็นไปในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งได้แก่ Active Learning, Problem Base learning, Best Practices, Case Study, Phenomenon-Based Learning (PBL) วิธีการอื่นๆ ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ

คณาจารย์ อาจารย์พิเศษ ผู้ทรงคุณวุฒิ

นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากคณาจารย์ อาจารย์พิเศษผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวต่างชาติ และชาวไทยที่จบการศึกษาในสายการศึกษาที่ตรงกับวิชาที่เรียน มีตำแหน่งทางวิชาการที่สอดคล้อง มีความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน ทั้งหมดจบจากสถาบันในต่างประเทศ และหรือจบหลักสูตรนานาชาติในประเทศ และคณาจารย์ส่วนใหญ่ในหลักสูตรมีประสบการณ์ตรงในภาคธุรกิจ เอกชน โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เช่น General Electric (GE), Ford Motor, Electronic Industry, Oil & Gas industry และส่วนหนึ่งเป็นที่ปรึกษาและทำงานวิจัยร่วมกับกับบริษัท อุตสาหกรรมต่างๆ ด้วย

กระบวนการดูแลนักศึกษาตลอดหลักสูตรการเรียน การสอน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบในหลักสูตรมีจิตวิญญาณของความเป็นครูสูง ทุกคนมีแนวทางที่ชัดเจนที่เหมือนกันคือต้องการให้ศิษย์ได้ดี ดังนั้น คณาจารย์ในหลักสูตรนานาชาติที่นี่จึงตั้งใจมากต่อการดูแล เอาใจใส่ลูกศิษย์ของตนเองเปรียบเสมือนลูกหลานตนเองตั้งแต่การเรียนการสอน การแนะนำการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง การเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ เราอยากเรียกกระบวนการนี้ว่า “Student Engagement”

การเรียนรู้จากโลกธุรกิจจริง

หลักสูตรออกแบบเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ จากโลกธุรกิจจริง ได้แก่ การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ บุคคลในโลกธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จและมีชื่อเสียง เราออกแบบให้คณาจารย์เชิญผู้มีประสบการณ์ภายนอกมาแชร์ประสบการณ์ให้กันักศึกษา หรือออก Field Trips ไปดูงานในอุตสาหกรรม ตลอดรวมทั้งการฝึกงาน (Internship) โครงการสหกิจศึกษา (Co-Operative Program) หรือ การเข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนระหว่างสถาบันระหว่างประเทศ (Student Exchanges Programs) อื่นๆ

ดร.สรศักดิ์ ในฐานะประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจ นานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง มีประสบการณ์โดยตรงจากภาคธุรกิจมากกว่า 25 ปีโดยเฉพาะกับบริษัทต่างชาติทั้งในฐานะทีมผู้บริหารระดับสูงที่มีมูลค่าขององค์การหลายหมื่นล้าน มีพนักงานในองค์การแบบหลากหลายชาติ พนักงานในองค์การมากกว่า 1,000 คน ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ ค่ายอเมริกา อุตสาหกรรมรองเท้าค่ายยุโรป อุตสาหกรรมค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุด อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมสีและท่ออุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ การเป็นผู้ประกอบการด้านที่ปรึกษาองค์กรธุรกิจ (Business Consultant) และธุรกิจการสรรหาผู้บริหาร (Head Hunter and Recruitment Agency) ในทุกระดับให้กับบริษัทต่างชาติจำนวนมาก ประสบการณ์ทั้งหมดเป็นทั้งหนึ่งในฐานะผู้ริเริ่มก่อตั้งธุรกิจ (Pioneer Green Field Start Up Management Team) หรือเป็นผู้ก่อตั้งหลัก (Founder) ก่อนที่จะมาเป็นอาจารย์ และเป็นประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจนานาชาติ ลาดกระบัง และผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการต่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ ของคณะการบริหารและจัดการ จึงเข้าใจความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมว่าบัณฑิตแบบไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจ จึงมุ่งมั่นขอเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบัณฑิตเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติความยั่งยืนต่อไปในอนาคต 


บทความ โดย : ดร สรศักดิ์ แตงทอง
ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง

ภาพ โดย : ฐิติวุฒิ บางขาม /  MBA magazine


 สามารถรับชมคลิปวิดีโอ "Faculty of Administration and Management King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang" ได้ที่นี่

ดร.ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึง จุดเด่นของการเรียนเศรษฐศาสตร์ที่นี่ว่า เราไม่ได้มุ่งหวังผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์เชิงทฤษฎีเท่านั้น แต่ต้องสามารถนำความรู้และเครื่องมือต่างๆ ทางด้านเศรษฐศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ นั่นจึงเป็นที่มาของการพัฒนาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ให้มีศาสตร์ทางด้านธุรกิจและการจัดการเข้ามาเกี่ยวข้อง

การพัฒนาปรับหลักสูตรให้ทันยุคสมัย ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อปรับภาพของการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ให้เห็นถึงการนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้นและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นสาขาวิชาที่เรียนยากหรือเรียนแล้วเอาไปทำอะไร และการพัฒนาหลักสูตรก็ไม่ตีวงแคบแค่เพียงการใช้ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ไปจัดการกับธุรกิจเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงเรื่องของเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศและโลกในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เมื่อพัฒนาหลักสูตรแล้วจะอยู่เฉยหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์และกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจากเดิมรอบของการปรับหลักสูตรจะเกิดขึ้นทุก 5 ปีขึ้นไป วันนี้เพียง 2-3 ปีก็ต้องปรับหลักสูตรและเนื้อหาใหม่ให้ทันสมัย และตอบโจทย์เทคโนโลยีที่มีการเกิดขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว

ให้สมกับชื่อภาควิชา “เศรษฐศาสตร์ประยุกต์” ที่ต้องสามารถประยุกต์ศาสตร์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ไปใช้กับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที ให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัลที่มีแอปพลิเคชันเกิดขึ้นมาให้เลือกใช้งานมากมาย รวมถึงการมีข้อมูลปริมาณมหาศาลที่หลั่งไหลมาไม่หยุด ดังนั้นเราจะสามารถตัดสินใจเลือกหรือจัดสรรการใช้งานเทคโนโลยีหรือข้อมูลต่างๆ ที่มีมากมายเหล่านั้นได้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้การสร้างนักเศรษฐศาสตร์ให้มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือต่างๆ มาจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ ให้ได้โซลูชันที่ตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือแม้แต่สังคม เหล่านี้เป็นธงหลักๆ ที่ใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้เป็นที่ต้องการของดีมานด์ตลาดที่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ

หลักการปรับหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับโลกในยุคนี้ ดร.ปรเมศร์ เล่าว่า ได้อาศัยมุมมองหรือความคิดเห็นจาก Stakeholder หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิตทางด้านเศรษฐศาสตร์ ตั้งแต่ผู้ประกอบการ นักวิชาการ รวมไปถึงคณาจารย์ โดยนำความเห็นเหล่านี้มาประมวลหาทิศทางของหลักสูตร เพื่อกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่า บัณฑิตเมื่อจบการศึกษาไป ควรจะมีศักยภาพอย่างไร ทำอะไรได้ ทำอะไรเป็น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ บัณฑิตจะต้องมีความรู้ในการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม และเมื่อนำแนวทางดังกล่าวไปสำรวจตลาดพบผลการตอบรับหลักสูตรเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์ดีมาก เรียกว่ามีโอกาสในตลาดแรงงานสูง สังเกตได้จากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องมีฝ่ายวิเคราะห์และวางแผน และส่วนที่สำคัญในฝ่ายฯ คือนักเศรษฐศาสตร์ที่มีทักษะการประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางการพัฒนาให้แก่องค์กร

ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนจึงเน้นภาคปฏิบัติมากขึ้น โดยส่งนักศึกษาไปในโครงการสหกิจที่มีความร่วมมือกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสนำความรู้ในด้านเศรษฐศาสตร์มาทดลองใช้กับภาคธุรกิจ ได้นำสิ่งที่ศึกษามาช่วยเมื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง

ภาพรวมหลักสูตร

ดร.ปรเมศร์ กล่าวว่าหลักสูตร ระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ มีแนวโน้มการตอบรับที่ดีมาก จากจำนวนนักศึกษาปีแรก 120 คน และในปี 2561 นี้การรับยังไม่เสร็จสิ้น อยู่ที่ประมาณ 200 คน โดยแบ่งเป็นวิชาเอก 3 กลุ่มคือ 1.เศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและอาหาร ที่เนื้อหาหลักสูตรไม่ได้เลือกโฟกัสเกษตรขั้นปฐมภูมิเท่านั้น แต่มองเห็นถึงการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร 2.เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ของกระแสหลักในปัจจุบันที่เข้าสู่ยุคดิจิทัล และเสริมความสามารถในการประเมินและการเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.เศรษฐศาสตร์ธุรกิจระหว่างประเทศ ตอบโจทย์การค้าเสรีที่เป็นกระแสหลักของโลกการค้าปัจจุบัน เราต้องเข้าใจเงื่อนไขทางธุรกิจในแต่ละประเทศ และแต่ละภูมิภาคที่แตกต่างกัน โดยวิชาทั้งหมดล้วนแล้วแต่ทันสมัยและอยู่ในกระแสของโลก

นอกจากนี้ ยังมีโครงการจะพัฒนาไปสู่ระดับปริญญาโทในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่คาดว่าจะเปิดรับสมัครนักศึกษาในปี 2562 มีแผนจะเปิดรับประมาณ 20 -30 คน ต่อรุ่น เป็นหลักสูตรที่เรียนเพียง 1 ปีเท่านั้น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1.การวิเคราะห์ข้อมูล เน้นพัฒนานักศึกษาที่เป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณ ที่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ พัฒนาแบบจำลองสำหรับการแก้ปัญหาต่างๆ ทางเศรษฐกิจได้ 2. การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ทำการศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนเพื่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมให้มีความยั่งยืน ต่อยอดไปถึงการพัฒนาประเทศ 3.เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ที่ตอบโจทย์กับกระแสหรือทิศทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตที่ใช้ความสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างมูลค่าและความได้เปรียบทางการแข่งขัน และ 4.ฟินเทค (Fin Tech) ที่จะทำให้นักศึกษาสามารถเลือกและพัฒนาการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะระบบการสื่อสารออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจด้านการเงิน การธนาคาร และการลงทุนได้อย่างเหมาะสม

ส่วนระดับปริญญาเอกมีแผนจะเปิดรับสมัครในปีการศึกษา 2562 หรือ 2563 ที่มีทิศทางของหลักสูตรต่อยอดจากระดับปริญญาโท ที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความสามารถในการบริหารและจัดการในระดับมหภาค (Macro)

นอกจากนี้ทางภาควิชายังมีการพัฒนาหลักสูตรที่เรียกว่า Sandwich Program (ที่มีการเรียนการสอนบางส่วนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ) และ Dual Degree (โปรแกรมนี้นักศึกษาจะได้ 2 ปริญญา) ที่จะมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก และคาดว่าจะเปิดรับนักศึกษาได้ในปี 2563

สถานการณ์โลกกับการนำเศรษฐศาสตร์มาใช้

ดร.ปรเมศร์ กล่าวว่าไม่ว่าจะเป็นสาขาหรือวิชาชีพใดๆ ก็จะหนีไม่พ้นการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับศาสตร์ในสาขาของตน ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นในปัจจุบัน ประเด็นนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เรียนเศรษฐศาสตร์ต้องมีทักษะทางด้านเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์โลก สอดคล้องกับตัวตนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำทางด้านเทคโนโลยี ที่จะทำให้หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ต่างๆ ที่นี่มีความเข้มแข็ง

ดังนั้นสำหรับคนที่สนใจจะศึกษาต่อในวันนี้ แต่ยังกล้าๆ กลัวๆ กับวิชาเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ รวมถึงหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ของ สจล. จะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการศึกษาในยุคปัจจุบันต่อไปยังอนาคต เพราะไม่ได้เน้นหนักในเชิงทฤษฎี แต่เน้นในเชิงคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ด้านการประยุกต์ใช้ความรู้และเครื่องมือต่างๆ ทางเศรษฐศาสตร์กับสถานการณ์ และการแก้ปัญหา ทั้งภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี การเงิน และก็ไม่ทิ้งภาคการเกษตร

“จากการบูรณาการศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ จนกระทั่งเป็นเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ เราจะมุ่งมั่นพัฒนานักศึกษาในระดับปริญญาตรีให้เป็นนักปฏิบัติงานที่เก่ง สถานประกอบการใช้งานได้ทันที สำหรับระดับปริญญาโท เรามุ่งที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนก้าวไปสู่การเป็นผู้บริหารที่มีศักยภาพด้วยความมั่นใจ และในระดับปริญญาเอก เราจะสร้างผู้บริหารระดับสูง ที่เน้นทักษะการวิเคราะห์และกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ ในระดับชาติและสากล”   


 

Page 10 of 11
X

Right Click

No right click