February 22, 2025

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ร่วมกับ ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ และเอ็มสเฟียร์ มอบประสบการณ์การช้อปปิ้งสุดพิเศษในเดือนแห่งความรักให้กับผู้ถือบัตรเครดิต ttb และบัตรเครดิต ttb Global House ประเภทบุคคลธรรมดา ด้วยแคมเปญEM District Love Unstoppable 2025” พร้อมรับคูปองแทนเงินสด สูงสุด 11,500 บาท / วัน เมื่อช้อปตามเงื่อนไข ตั้งแต่วันนี้ – 28 กุมภาพันธ์ 2568

พิเศษ! 3 วันเท่านั้น รับเพิ่ม Erb Dazzling Couple Gift เซตคู่ดูแลผิวสวยและผิวหอม มูลค่า 2,280 บาท จำนวน 1 สิทธิ์ / ท่าน ตลอดรายการ เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ttb และบัตรเครดิต ttb Global House ตั้งแต่ 14,000 บาท ขึ้นไป / เซลล์สลิป ในระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 - 16 กุมภาพันธ์ 2568 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของโปรโมชัน ได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/emdistrict-feb25

ทีทีบีส่งเสริมให้ลูกค้าบัตรเครดิตใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 7% - 16% ต่อปี เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งในวันนี้ และอนาคต

คนมีรถคงเข้าใจกันดีว่า เมื่อซื้อรถสักคันแล้ว ค่าใช้จ่ายจะยังไม่จบแค่วันที่ขับรถออกจากศูนย์ เพราะในทุก ๆ ปีจะมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เจ้าของรถจำเป็นต้องใช้เงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าดูแลสภาพรถ ค่าน้ำมัน ค่าผ่อนงวดรถ ค่าประกันภัย ค่าภาษีและพ.ร.บ. หรือค่าจอดรถและค่าทางด่วน ดังนั้น ผู้ขับขี่ทุกคนต้องวางแผนอย่างรัดกุม เพื่อให้รายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือนอยู่ในสภาพคล่อง ไม่ให้เงินที่ดูแลรถกระทบค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และไม่ให้ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ กระทบเงินที่ต้องใช้เกี่ยวกับรถ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงอยากให้คนมีรถวางแผนค่าใช้จ่ายอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สภาพการเงินหลังซื้อรถราบรื่น วันนี้จึงชวนมาเช็กลิสต์กันว่าเมื่อมีรถเป็นของตัวเอง 1 คัน ภายใน 1 ปีจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

  1. ค่าผ่อนรถยนต์ และดอกเบี้ย

หลายคนเลือกซื้อรถยนต์ด้วยการผ่อน แบ่งชำระเป็นงวด ๆ เพราะรถยนต์เป็นทรัพย์สินมูลค่าสูง การควักเงินก้อนใช้ซื้อรถในครั้งเดียว อาจไม่สะดวกต่อใครหลายคน การผ่อนชำระรถยนต์มีการคำนวณดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) ซึ่งเป็นรูปแบบที่เงินต้นลด แต่ดอกเบี้ยไม่ลดตาม ต้องชำระค่าผ่อนรถจำนวนเต็มให้ตรงกำหนดทุกงวด หากไม่ชำระและมียอดค้างหลาย ๆ งวด อาจถูกยึดรถคันนั้นไปอย่างน่าเสียดาย

  1. ค่าน้ำมัน และ ค่าไฟฟ้า

เงินที่ใช้ไปกับการเติมน้ำมันถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำสำหรับคนมีรถ ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันไม่มีทีท่าว่าจะถูกลง ทำให้หลายคนมองหาทางเลือกใหม่อย่าง รถยนต์ไฟฟ้าที่มีค่าเติมพลังงานราคาถูกกว่า แต่เจ้าของรถยนต์เติมน้ำมันไม่ต้องกังวลไป เพราะสามารถแบ่งเบาภาระค่าน้ำมันได้ด้วยการชำระผ่านบัตรเครดิตทีทีบี ที่ไม่เพียงแค่รูดจ่ายได้สะดวกรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังมีโปรโมชันจากบัตรเครดิตที่คุ้มค่าได้มากขึ้น เมื่อเติมน้ำมันที่ปั๊มบางจากและปั๊มคาลเท็กซ์ รับเครดิตเงินคืนได้สูงสุดถึง 5%

  1. ค่าเบี้ยประกันรถยนต์

ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ขับขี่รถจำเป็นต้องซื้อกรมธรรม์ประกันภัย ก็จะสามารถเป็นหลักประกันความเสียหายในอนาคต ซึ่งประกันรถยนต์มีหลายราคา แบ่งตามความคุ้มครองที่ผู้ซื้อประกันจะได้รับ ก่อนจะตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันภัยควรสำรวจให้ดีว่าตนเองมีพฤติกรรมการใช้รถยนต์อย่างไร โดยแผนประกันภัยมีความแตกต่าง ดังนี้

  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 : คุ้มครองอุบัติเหตุทั้งเจ้าของรถและสภาพรถยนต์ ให้ความคุ้มครองมากกว่าประกันภัยประเภทอื่น ๆ เหมาะกับผู้ขับขี่มือใหม่หรือรถใหม่ป้ายแดง
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และ 2 พลัส (2+) : ประกันชั้น 2 จะคุ้มครองความเสียหายแค่ภายนอกของรถ และแผนประกันแบบชั้น 2+ จะเพิ่มความคุ้มครองรถยนต์ในกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเท่านั้น เหมาะกับเจ้าของรถที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญการขับขี่
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 และ 3 พลัส (3+) : ไม่คุ้มครองสภาพรถยนต์ ประกันชั้น 3 จะชดเชยค่าเสียหายให้คู่กรณีเท่านั้น แต่ถ้าซื้อประกันรถยนต์ชั้น 3+ จะได้รับการดูแลรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุระหว่างรถชนรถ เหมาะกับรถยนต์ที่ไม่ได้นำไปขับบ่อย
  1. ค่าภาษีรถยนต์และค่าพ.ร.บ.

รถยนต์มีค่าภาษีประจำปี กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถต้องเสียภาษีรถยนต์ทุกปี หากไม่จ่ายภาษีรถยนต์ติดต่อกัน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับ เจ้าของรถต้องดำเนินเรื่องเพื่อขอทะเบียนใหม่ และโดนเรียกเก็บค่าภาษีย้อนหลัง ราคาค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีประจำปี สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ขนาดเครื่อง 600 ซีซีแรก คำนวณซีซีละ 50 สตางค์, ขนาดเครื่อง 601-1,800 ซีซี คำนวณซีซีละ 1.50 บาท และขนาดเครื่อง 1,801 ซีซีขึ้นไป คำนวณซีซีละ 4 บาท

ส่วนค่าประกัน พ.ร.บ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นข้อบังคับที่รถทุกคันต้องทำ หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้นมา ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองนั่นเอง และค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่งอยู่ที่ 645.21 บาท

  1. ค่าดูแลรักษาสภาพรถยนต์

แน่นอนว่าต้องมีรายจ่ายค่าดูแลรักษาสภาพรถยนต์ อะไหล่และอุปกรณ์ของรถยนต์จะเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมรถ ค่าเปลี่ยนอุปกรณ์อะไหล่ ค่าเปลี่ยนถ่ายของเหลวในรถยนต์ ทั้งน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันเกียร์ก็จะตามมา แนะนำให้นำรถยนต์เข้าไปเช็กสภาพเป็นประจำ ไม่ว่าจะเดินทางไกลหรือใกล้ รถทุกคันที่ใช้งานควรได้รับการตรวจสภาพทุก ๆ 6 เดือนหรือ 1 ปีเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนนคนอื่น

  1. ค่าที่จอดรถ ค่าทางด่วน ค่าล้างรถ

ค่าที่จอดรถ ค่าผ่านทางด่วน ค่าล้างรถ ค่าปรับกรณีฝ่าฝืนกฎจราจร ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เรียกว่าค่าใช้จ่ายแฝง เจ้าของรถบางคนอาจมีที่จอดรถฟรีในบ้าน แต่เมื่อขับออกมาก็ต้องยอมจ่ายค่าจอดรถที่รอเรียกเก็บ ณ ปลายทางอยู่ดี ค่าใช้จ่ายแฝงแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ต้องจ่าย หลายอย่างขึ้นอยู่กับพฤติกรรมส่วนตัวของผู้ขับขี่ เช่น ค่าปรับที่ขับรถฝ่าไฟแดง แน่นอนว่าคนขับที่มีความประพฤติดีจะไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หรือ ค่าล้างรถที่เจ้าของรถบางคันก็ล้างด้วยตัวเอง แต่บางรายก็ใช้บริการล้างรถตามจุดให้บริการต่าง ๆ

 

แม้ว่าการมีรถยนต์จะนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายมากมาย แต่สำหรับใครที่ “รถยนต์” คือสิ่งจำเป็นต้องใช้เดินทางทุกวัน และสามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ต้องกังวล ส่วนคนที่ยังไม่พร้อมต้องคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ขยันเก็บออมให้มากขึ้น เพื่อรถในฝันจะได้ไม่ต้องเป็นภาระอันหนักอึ้งจนสั่นคลอนสถานะทางการเงิน

 

โดยกำหนดซื้อหุ้นคืนรอบแรกด้วยวงเงิน 7,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2568 เป็นไปตามแผนการบริหารส่วนทุนเพื่อสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นผ่านการปรับโครงสร้างและขนาดงบดุลให้มีความเหมาะสม

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ร่วมกับ ปั๊มน้ำมันบางจาก จัดแคมเปญ “เติมสบาย รับชิล ๆ” ให้กับผู้ถือบัตรเครดิต ttb และบัตรเครดิต ttb Global House ทั้งบัตรหลักและบัตรเสริม ประเภทบุคคลธรรมดา รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5% เมื่อเติมน้ำมันครบ 600 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป ที่ปั๊มน้ำมันบางจากทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2568

· บัตรเครดิต ttb reserve infinite และบัตรเครดิต ttb reserve signature จำกัดเครดิตเงินคืนสูงสุด 30 บาท / ครั้ง สูงสุด 4 ครั้ง หรือ 120 บาท / เดือน และสูงสุด 1,440 บาท / บัญชีบัตรหลัก ตลอดรายการส่งเสริมการขาย

· บัตรเครดิต ttb และบัตรเครดิต ttb Global House จำกัดเครดิตเงินคืนสูงสุด 18 บาท / ครั้ง สูงสุด 4 ครั้ง หรือ 72 บาท / เดือน หรือสูงสุด 864 บาท / บัญชีบัตรหลัก ตลอดรายการส่งเสริมการขาย

สามารถลงทะเบียนภายในเดือนที่ทำรายการเพื่อรับสิทธิ์ผ่านแอป ttb touch หรือส่ง SMS พิมพ์ BKC เว้นวรรค ตามด้วยหมายเลขบัตรเครดิต 12 หลักสุดท้าย ส่งมาที่ 4899777 ลงทะเบียนเพียงครั้งเดียวรับสิทธิ์ตลอดรายการ สำหรับบัตรเครดิต ttb reserve สามารถรับสิทธิ์ได้โดยไม่ต้องลงทะเบียน ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของโปรโมชัน ได้ที่  http://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/bangchak-jan25 

 **ทีทีบีส่งเสริมให้ลูกค้าบัตรเครดิตใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 7-16% ต่อปี เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งในวันนี้ และอนาคต

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า ไทยมีความเสี่ยงจะถูกเพ่งเล็งจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้นโยบาย Trump 2.0 สูงเป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน จากการที่สหรัฐฯ เสียเปรียบทางการค้ากับไทยในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเกินดุลการค้าของไทยสูง ข้อได้เปรียบด้านต้นทุนจากการอ่อนค่าของค่าเงินบาท จำนวนคำสั่งมาตรการ AD และ CVD ในหลายประเภทสินค้าสูงกว่าคู่เทียบ โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยในอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคู่ค้ารายอื่น ซึ่งอาจทำให้สหรัฐฯ นำมาเป็นข้อต่อรองในการพิจารณาขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าระลอกใหม่ ส่งผลให้ไทยมีความเสี่ยงที่จะถูกกดดันให้เปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตรที่สำคัญเพิ่มเติม อาทิ เนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ชี้ไทยอาจถูกเพ่งเล็งจากสหรัฐฯ หลังได้เปรียบการค้าสูงเป็นอันดับสองของอาเซียน

นับตั้งแต่สงครามการค้าระลอกแรก (Trump 1.0) ในปี 2561 อาเซียนกลายเป็นภูมิภาคที่น่าจับตามองอย่างมาก หลังได้อานิสงส์จากการที่จีนใช้อาเซียนเป็นฐานในการเปลี่ยนเส้นทางการค้า รวมถึงย้ายฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ มากขึ้น จึงทำให้หลายประเทศเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1-2 เท่า เมื่อเทียบกับก่อนสงครามการค้าในปี 2560 โดยเฉพาะเวียดนามที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 3 เท่า

สำหรับปี 2568 สงครามการค้าครั้งใหม่ที่กำลังจะมาถึงภายใต้ผู้นำสหรัฐฯ คนเดิมสมัยที่ 2 อย่างโดนัลด์ ทรัมป์ (นโยบาย Trump 2.0) คาดว่าจะสร้างความปั่นป่วนแก่ตลาดการเงินและการค้าโลกอีกระลอก โดยทรัมป์มีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขกฎหมายให้เอื้อต่อการแข่งขัน การลดภาษีบุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคล การจัดการปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย การกระตุ้นการลงทุนในอุตสาหกรรมหลักของประเทศ และที่สำคัญคือ การประกาศกีดกันทางการค้าผ่านการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 60-100% เมื่อเทียบกับสงครามการค้าระลอกแรกที่อัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเฉลี่ย 21.5% อีกทั้งยังมีแผนจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าที่มาจากประเทศอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก 10-20% จากเดิมที่เก็บในอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยเพียง 3%

ttb analytics มองว่า การที่ทรัมป์ยังไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าในพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งสหรัฐฯ อยู่ระหว่างแต่งตั้งคณะผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (The United States Trade Representative : USTR) แต่ก็สะท้อนท่าทีของทรัมป์ต่อมาตรการทางการค้า Trump 2.0 ว่าจะมีความแตกต่างจาก Trump 1.0 โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ การที่ทรัมป์หยิบยกนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าครอบคลุมทุกประเทศในช่วงหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อปูทางไปสู่ “การเจรจาต่อรองทางการค้าแบบเจาะจงเป็นรายประเทศและรายกลุ่มสินค้า” (Bilateral Agreement) เมื่อเทียบกับนโยบาย Trump 1.0 ที่พุ่งเป้าลดการขาดดุลการค้ากับจีนเป็นหลัก (เนื่องจากสหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนมากที่สุด สูงถึง 4.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ขณะนั้น (ปี 2561))

 ทั้งนี้ ระดับความเข้มข้นของกรอบการเจรจาการค้าภายใต้นโยบาย Trump 2.0 ที่มีต่อประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ จะมีความแตกต่างกันไปตามความได้เปรียบทางการค้ากับสหรัฐฯ โดย ttb analytics ประเมินจาก 5 ด้านหลัก ได้แก่ 1) ระดับการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ (Bilateral Trade Surplus) 2) ข้อได้เปรียบด้านต้นทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเทียบดอลลาร์สหรัฐ (Exchange Rate Adjusted Cost Advantage) 3) ส่วนต่างอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าปลายทางในกลุ่มสินค้าเกษตร (MFN Tariff Excess on Agricultural Products) 4) ส่วนต่างอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าปลายทางในกลุ่มสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สินค้าเกษตร (MFN Tariff Excess on Non-agricultural Products) และ 5) ระดับการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศของสหรัฐฯ ผ่านจำนวนคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทุ่มตลาด (Anti-dumping : AD) และมาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty : CVD) ที่ได้รับรายงานจากคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (US International Trade Commission : USITC)

ttb analytics ประเมินว่า ไทยมีแนวโน้มถูกเพ่งเล็งจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้ Trump 2.0 สูงเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มประเทศอาเซียนรองจากเวียดนาม เนื่องจากสหรัฐฯ เสียเปรียบทางการค้ากับไทยในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น การเกินดุลการค้าของไทยสูงและเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ข้อได้เปรียบด้านต้นทุนจากการอ่อนค่าของค่าเงินบาทระยะหลัง จำนวนคำสั่งมาตรการ AD และ CVD ในหลายประเภทสินค้า (เช่น เหล็กและโลหะ แผงโซลาร์ และเคมีภัณฑ์) สูงกว่าคู่เทียบ รวมถึงการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยในอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคู่ค้ารายอื่น นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย ด้วยมูลค่าการส่งออกสูงถึง 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 17% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด คิดเป็นกว่า 9.4% ของจีดีพีไทย ทำให้การยกมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสูงสุดถึง 20% ในระลอกนี้จะสร้างผลกระทบต่อภาคส่งออกของไทยอย่างมหาศาล ซึ่งจะเป็นการง่ายกับสหรัฐฯ ในการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ทางการค้ากับไทย

คาดสหรัฐฯ อาจกดดันให้ไทยเปิดตลาดสินค้าเกษตรเพิ่มเติม หลังไทยพยายามลดการนำเข้ามาโดยตลอด

ที่ผ่านมา ไทยเป็นคู่ค้าในการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 16 เทียบกับคู่ค้าทั้งหมดกว่า 200 ประเทศ ด้วยมูลค่าส่งออกราว 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 แต่ปัจจุบันมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรกลับเหลือเพียง 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงเฉลี่ยปีละ 6.8% จนทำให้อันดับของไทยในฐานะคู่ค้าสำคัญในหมวดสินค้าเกษตรตกลงมาอยู่ที่อันดับที่ 25 ซึ่งแม้ส่วนหนึ่งจากการที่บริษัทสัญชาติสหรัฐฯ หันมาตั้งโรงงานผลิตสินค้าเกษตรในไทยมากขึ้นแล้ว ยังมาจากการที่ไทยมีกลไกการปกป้องภาคการเกษตรซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมในประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์กำหนดมาตรการควบคุมการนำเข้าสินค้า ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน 23 รายการ เช่น นม ครีม และเครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง ผักและผลไม้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กาแฟ และ ยาสูบ (ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง)

การถูกเพ่งเล็งจากสหรัฐฯ เรื่องการจัดเก็บอัตราภาษีนำเข้าสูงและจำกัดโควตาสินค้าเกษตรไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับไทย ยกตัวอย่างเช่น ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ทรัมป์ได้ลงนามยกเลิกการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) เป็นครั้งที่ 2 กับสินค้าไทย 231 รายการ คิดเป็นมูลค่า 817 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยให้เหตุผลว่าไทยเปิดตลาดสินค้าและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับหมูอย่างไม่เป็นธรรม (โดยสหรัฐฯ เคยตัดสิทธิ GSP ไทยครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2563 จากการที่ไทยล้มเหลวเรื่องการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามหลักสากลในอุตสาหกรรมประมง) ด้าน USITC ยังชี้ว่าไทยมีการบริหารจัดการอัตราภาษีในและนอกโควตาที่ไม่โปร่งใส การควบคุมใบอนุญาตนำเข้าโดยพลการ และมาตรฐานอาหารที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ไทยยังคิดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรเฉลี่ยค่อนข้างสูงอยู่ที่ 42% เมื่อเทียบกับการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าประเภทอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดสินค้าอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป (Unprocessed Food) อาทิ ผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้สด ซึ่งทำให้

สหรัฐฯ เสียอัตราภาษีนำเข้าสูงสุดถึง 216% เทียบกับประเทศอื่นที่ไทยมีข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศซึ่งทำให้อัตราภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ลดลงเหลือ 0% ส่งผลให้อัตราภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรที่มาจากสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง

คาดสหรัฐฯ อาจกดดันไทยให้เปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตรที่สำคัญเพิ่มเติม เพื่อต่อรองกับการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าที่มาจากประเทศไทยในกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ พยายามเจรจาขอให้ไทย รวมถึงประเทศคู่ค้าอื่นนำเข้าสินค้าเกษตรหลายประเภท รวมถึงกดดันผ่านการตัดสิทธิประโยชน์ด้านการค้า การเรียกร้องให้แก้ไขกฎระเบียบการค้าขององค์การการค้าโลก ซึ่งคาดว่าแรงกดดันจาก Trump 2.0 จะส่งผลต่อท่าทีของไทยเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าเกษตรหลายประเภท อาทิ เนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่สุดแล้ว ttb analytics มองว่า ไทยอาจจำเป็นต้องผ่อนปรนมาตรการทางการค้ากับสหรัฐฯ ในบางข้อ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากมาตรการขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าในครั้งนี้

โดยสรุป ท่ามกลางกติกาการค้าโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ผู้ประกอบการไทยควรกระจายความเสี่ยงผ่านการขยายช่องทางตลาดไปยังภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป ซึ่งถือเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและการส่งออกสูง ประกอบกับไทยมีสิทธิประโยชน์ทางการค้า FTA กับอาเซียน ซึ่งจะช่วยสร้างแต้มต่อทางการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตรของไทยในตลาดโลก

Page 1 of 68
X

Right Click

No right click