บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส กรุ๊ปฯ ประกาศอัตราดอกเบี้ยเบื้องต้นของหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bonds : SLB) จำนวน 4 รุ่น ที่จะเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกในประเทศไทย อายุประมาณ 2 ปี ถึงอายุประมาณ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 2.80% – 4.70% ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือน พร้อมเสนอขายระหว่างวันที่ 25 และ 28-29 พฤศจิกายนนี้ ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 5 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย โดยหุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ “A” จากทริสเรทติ้ง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565

สำหรับหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน จำนวน 4 รุ่น ประกอบด้วย รุ่นอายุ 1 ปี 11 เดือน 30 วัน อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 2.80% – 2.95% ต่อปี รุ่นอายุ 4 ปี 5 เดือน 29 วัน อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 3.70% – 3.85% ต่อปี รุ่นอายุ 7 ปี 5 เดือน 29 วัน อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 4.20% – 4.35% ต่อปี และรุ่นอายุ 9 ปี 11 เดือน 30 วัน อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 4.55% – 4.70% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน โดยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยสุดท้ายของแต่ละรุ่นอีกครั้งหนึ่

นายสุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้เสนอขายหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ มั่นใจว่า หุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืนหรือ SLB ที่จะออกและเสนอขายในครั้งนี้ จะได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุน เพราะหุ้นกู้ SLB เป็นมิติใหม่สำหรับการลงทุนที่จะตอกย้ำว่า เรื่องของความยั่งยืนไม่ได้เป็นเรื่องของใครคนใดคนหนึ่งอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องของส่วนรวมที่เกี่ยวข้องกับทุกคน และเป็นพัฒนาการด้านการลงทุนที่ผู้ลงทุนจะสร้างความยั่งยืนไปพร้อมๆ กับบริษัท ด้วยผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าพอใจ และความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้

ทั้งนี้ หุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืนเป็นหุ้นกู้ที่มีข้อตกลงหรือเงื่อนไขให้ผู้ออกหุ้นกู้ต้องดำเนินการตามภาระผูกพันเพิ่มเติม โดยข้อตกลงหรือเงื่อนไขในการดำเนินงานตามภาระผูกพันดังกล่าว จะอ้างอิงกับผลสำเร็จหรือผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด (KPI) และเป้าหมายด้านความยั่งยืน (SPT) ของผู้ออกหุ้นกู้ในอนาคตที่จะทำให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวม

สำหรับตัวชี้วัดและเป้าหมายด้านความยั่งยืนของ “บีทีเอส กรุ๊ปฯ” ที่ใช้ในการอ้างอิงสำหรับการออกและเสนอขายหุ้นกู้ฯ ในครั้งนี้ มี 2 ด้าน ได้แก่ 1) ตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าในการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ซึ่งเป็นสายหลักของบริษัทฯ ในปัจจุบัน) โดยบีทีเอส กรุ๊ปฯ มีเป้าหมายลดการใช้ไฟฟ้าให้ได้ 8% จากการดำเนินงานปกติ ภายใน 9 ปี หรือ ภายในปี 2574 และ 2) ตัวชี้วัดด้านปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน โดยบริษัทมีเป้าหมายในการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 10% ในแต่ละปีของการใช้ไฟฟ้าสำหรับการดำเนินงานของรถไฟฟ้าสายสีเขียว สำหรับรายละเอียดของตัวชี้วัดและเป้าหมายด้านความยั่งยืนดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง)

การออกหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืนของบริษัทฯ ในครั้งนี้สอดรับกับกลยุทธ์ระยะยาวด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Strategy) ของบีทีเอส กรุ๊ปฯ โดยการคงสถานะความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) และกำหนดให้เพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าที่มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) อย่างน้อย 10% ของการดำเนินงาน” นายสุรยุทธ กล่าว

โดยปัจจุบันบริษัทฯ ได้รับการยอมรับในด้านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนทั้งในระดับประเทศและระดับสากล อาทิ ได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ (DJSI) เป็นระยะเวลา 4 ปี ติดต่อกัน (ปี 2561-2564) ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกดัชนี FTSE4Good Index Series ประจำปี 2565 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 และได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ 1 ของโลก 2 ปีซ้อน จาก DJSI (DJSI Industry Leader) ในกลุ่มอุตสาหกรรมคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม รวมถึงได้รับคัดเลือกให้เป็นบริษัทในกลุ่มขนส่งทางรางแห่งแรกและแห่งเดียวในโลกที่ได้รับการรับรองว่าเป็นบริษัทที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์หรือ Carbon Neutral Transportation Company จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย

ล่าสุด บีทีเอส กรุ๊ปฯ ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 170 บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนหรือ Thailand Sustainability Investment (THSI) ประจำปี 2565 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยผ่านเกณฑ์การคัดเลือกให้เป็นหุ้นยั่งยืนในกลุ่มบริการ (Services) โดย บีทีเอส กรุ๊ปฯ ได้รับคัดเลือกให้อยู่ใน THSI ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 สะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจในฐานะบริษัทจดทะเบียนที่มุ่งเน้นพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน จนเป็นที่ยอมรับทั้งด้านผลประกอบการ ตลอดจนมีจริยธรรม รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ควบคู่กับการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม หรือ ESG (Environmental Social and Governance)

หุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน ของบีทีเอส กรุ๊ปฯ กำหนดมูลค่าจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับ สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจจองซื้อ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sec.or.th/ หรือติดต่อผ่านผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งดังปรากฏเบื้องต้น

 

 

กรุงเทพฯ 31 ตุลาคม 2565 : TPIPL เตรียมออกหุ้นกู้ 3 ชุด อายุ 4 ปี ดอกเบี้ย 4.25% ต่อปี อายุ 4 ปี 3 เดือน ดอกเบี้ย 4.32% ต่อปี และอายุ 5 ปี ดอกเบี้ย 4.50% ต่อปี เสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน ระหว่างวันที่ 9-11 และ 14 พ.ย.นี้ ผ่านสถาบันการเงินผู้จัดจำหน่าย 18 แห่ง เผยหุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากทริสเรทติ้ง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ที่ระดับ “BBB+” แนวโน้ม “Positive” สะท้อนผลการดำเนินงานที่ดีกว่าที่คาด รวมถึงโอกาสในการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคตตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและอาเซียน มั่นใจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่สามารถเข้าถึงหุ้นกู้ในระดับที่ “กลุ่มระดับลงทุน” (Investment Grade) ภายใต้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมทั้งผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างรายใหญ่ของประเทศ ธุรกิจโพลีเมอร์ชนิดพิเศษ (Specialty Polymer) ธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จ และธุรกิจโรงไฟฟ้า (ผ่านบริษัทย่อย) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมที่จะออกและเสนอขายหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวนรวม 3 ชุด วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท ประกอบด้วย หุ้นกู้อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.25% ต่อปี หุ้นกู้อายุ 4 ปี 3 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.32% ต่อปี และหุ้นกู้อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.50% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ โดยจะเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน ในระหว่างวันที่ 9-11 และ 14 พฤศจิกายน 2565

สำหรับหุ้นกู้ชุดดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ “BBB+” แนวโน้ม “Positive” หรือ “บวก” จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2565 โดยทริสเรทติ้ง ระบุว่า แนวโน้มอันดับเครดิต “Positive” สะท้อนถึงผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของบริษัทฯ ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จในการเปลี่ยนธุรกิจโพลีเมอร์ (Polymer) ไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงและอัตรากำไรที่ดีขึ้นของธุรกิจปูนซีเมนต์ ซึ่งอัตรากำไรจากธุรกิจปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นสูงนั้น เป็นผลมาจากการปรับเพิ่มราคาขาย และต้นทุนที่ลดลงจากการทดแทนการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินด้วยขยะชุมชนที่บริษัทฯ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

ทริสเรทติ้ง ระบุด้วยว่า คาดว่า บริษัทฯ จะยังคงมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ต่อเนื่องไปถึงปี 2566 ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน

ทั้งนี้ บริษัทฯ มั่นใจว่า หุ้นกู้ TPIPL จะได้รับการตอบรับจากผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน โดยเฉพาะผู้ลงทุนทั่วไปที่สามารถเข้าถึงหุ้นกู้อันดับความน่าเชื่อถือในระดับ “กลุ่มระดับลงทุน” (Investment Grade) ภายใต้

ผลตอบแทนที่น่าพอใจ รวมถึงเป็นการออกและเสนอขายโดยบริษัทฯ ที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ รวมถึงธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค ธุรกิจการเกษตร และอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสและศักยภาพในการเติบโตในอนาคต สะท้อนจากผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ซึ่งบริษัทฯ มีรายได้รวม 12,476 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิสำหรับงวดอยู่ที่ 2,680 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้หุ้นกู้ TPIPL ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุนได้อย่างแน่นอน

สำหรับผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ TPIPL จำนวน 18 ราย ประกอบด้วย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส, บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง, บล.หยวนต้า (ประเทศไทย), บล. เมย์แบงก์ (ประเทศไทย), บล.โนมูระ พัฒนสิน, บล.ดาโอ (ประเทศไทย), บล.พาย, บล.เคจีไอ (ประเทศไทย), บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย), บล.ฟินันเซีย ไซรัส, บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ , บล.โกลเบล็ก, บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) , บล.เอเชีย เวลท์, บล.ไอ วี โกลบอล , บล.เอเอสแอล และ บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กำหนดจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท

ปัจจุบัน บมจ. ทีพีไอ โพลีน และบริษัทในเครือประกอบธุรกิจหลัก แบ่งเป็น 4 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้ (1) ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ ปูนเม็ด ปูนสำเร็จรูป คอนกรีตผสมเสร็จ กระเบื้องคอนกรีต ไฟเบอร์ซีเมนต์ อิฐมวลเบา และสี เป็นต้น (2) ธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ได้แก่ ธุรกิจผลิตและจำหน่าย โพลีเมอร์ชนิดพิเศษ (Specialty Polymer) กาวน้ำ (EVA Emulsion) กาวผง (EVA Powder) ฟิล์ม Polene Solar ฟิล์ม Vista Solar และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ แอมโมเนียมไนเตรท และกรดไนตริก เป็นต้น (3) ธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค ได้แก่ ธุรกิจโรงไฟฟ้าจากพลังงานเชื้อเพลิงขยะ โรงไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนทิ้ง โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงงานแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงทดแทน โรงงานผลิตเชื้อเพลิงเหลว สถานีให้บริการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (NGV) และโรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรม เป็นต้น และ (4) ธุรกิจการเกษตรและอื่น ๆ ประกอบด้วย (4.1) ผลิตภัณฑ์สำหรับพืช ได้แก่ ปุ๋ยชีวะอินทรีย์ สารปรับปรุงสภาพดิน (4.2) ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์ ได้แก่ สารเสริมชีวนะ สำหรับปศุสัตว์และประมง (4.3) ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้แก่ Bio Knox สำหรับชงดื่มเพื่อกำจัดเชื้อก่อโรค น้ำยาบ้วนปาก ผลิตภัณฑ์ไมโครมน็อคโซลูชั่น สำหรับพ่นบริเวณที่อยู่อาศัยเพื่อลดเชื้อก่อโรค สบู่เหลว เป็นต้น รวมถึง น้ำดื่มตราทีพีไอพีแอล นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจประกันชีวิตที่ดำเนินการภายใต้บริษัทและบริษัทในเครือทีพีไอโพลีน อีกด้วย

สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้ TPIPL สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวนการเสนอขายได้ที่ www.sec.or.th และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้ง 18 แห่ง ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป 

 

วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง (WEH) แต่งตั้ง AWAM เป็นนายหน้าซื้อขายตราสารหนี้ และ DAOL SEC เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ผนึกบล. 4 แห่ง UOBKH PI GLOBLEX และ ASL ร่วมจัดจำหน่าย ออกหุ้นกู้ อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ย 6.75% ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน-ผู้ลงทุนรายใหญ่ เตรียมเงินลงทุนศึกษาความพร้อมการขยายแผนธุรกิจพลังงานและลงทุนในธุรกิจอื่นๆ พร้อมเป็นเงินทุนหมุนเวียน เปิดจองซื้อ 25-27 ต.ค. ออกหุ้นกู้ 28 ต.ค. นี้

นายณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH ผู้นำด้านอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนในประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมความพร้อมขยายศักยภาพการเสนอขายไฟจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยมีแผนจะยื่นข้อเสนอทั้งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ (COD) ให้ได้ในระดับ 1,500 เมกะวัตต์ ภายในระยะ 5 ปี ตามแผนที่วางไว้ รวมถึงศึกษาการลงทุนสู่ธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตสูง

ทั้งนี้ บริษัทได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอเชีย เวลท์ จำกัด เป็นนายหน้าซื้อขายตราสารหนี้ และบริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ เพื่อเสนอขายหุ้นกู้ระยะยาวชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ มูลค่าที่ตราไว้ 1,000 บาทต่อหน่วย มูลค่าเสนอขายไม่เกิน 2,000 ล้านบาท อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 6.75 ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้

สำหรับวัตถุประสงค์การใช้เงินภายหลังจากการเสนอขายหุ้นกู้ WEH ในครั้งนี้ เพื่อลงทุนศึกษาความพร้อมการขยายแผนธุรกิจพลังงาน และการลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ประมาณ 1,400 ล้านบาท รวมถึงเป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ 600 ล้านบาท

โดยแผนขยายธุรกิจพลังงาน บริษัทเตรียมความพร้อมยื่นเสนอขายไฟโครงการพลังงานลม 9 โครงการ กำลังการผลิต 810 เมกะวัตต์ และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 2 โครงการ กำลังการผลิต 60 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 50,000 ล้านบาท

ในขณะเดียวกัน บริษัทมีแผนศึกษาธุรกิจอื่นๆ เพิ่มเติมทั้งในและต่างประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตสูง อาทิ ธุรกิจสุขภาพและความงาม ธุรกิจการเงิน รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน เพื่อสร้างการเติบโตต่อเนื่อง สามารถกระจายความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับบริษัทอย่างยั่งยืนในอนาคต

ด้าน นายฐิติพัฒน์ ทวีสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่าย Corporate Finance Solutions & REIT บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DAOL SEC) หนึ่งในผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ กล่าวว่า การเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ได้กำหนดวันจองซื้อช่วงระหว่างวันที่ 25-27 ต.ค. 2565 และออกหุ้นกู้ในวันที่ 28 ต.ค. 2565 โดยเป็นการเสนอขายให้แก่กลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ เพื่อให้ผู้ลงทุนที่สนใจได้พิจารณาลงทุน มีส่วนร่วมในการสร้างการเติบโตไปกับกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตมั่นคง ซึ่ง WEH มีศักยภาพการดำเนินงานโดดเด่น มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันจากการเป็นผู้นำด้านพลังงานลมใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีแผนบริหารจัดการความเสี่ยงครอบคลุมในทุกมิติ อีกทั้งอัตราการทำกำไรอยู่ในระดับสูง

สำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ WEH มีผู้จัดการการจำหน่ายฯ ร่วมอีก 4 แห่ง ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ด้านนายทะเบียนหุ้นกู้มี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการ

เสนอขายผู้ลงทุนทั่วไป ระหว่างวันที่ 11-12 และ 14 ตุลาคม 2564

กลุ่มทรู เดินเครื่องธุรกิจเต็มสูบ รับกระแสการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีที่พุ่งแรงอย่างต่อเนื่อง

Page 8 of 9
X

Right Click

No right click