การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก เผยรายงาน Market Share: IT Services, Worldwide 2023 ชี้หัวเว่ยทำรายได้ขึ้นแท่นอันดับ 2 ในตลาด IaaS ของจีน และทำรายได้ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 3 ในประเทศไทย

นอกจากนี้ รายงาน Emerging Asia-Pacific Hybrid Cloud Market Report 2022 โดยฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน, องค์กรวิจัยตลาดชั้นนำ, เผยว่าหัวเว่ย คลาวด์ทำรายได้อันดับ 1 ในตลาดไฮบริดคลาวด์ในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2566 หัวเว่ย คลาวด์ ทำรายได้ทั่วโลกประมาณห้าหมื่นห้าพันล้านหยวน โดยรายได้จากบริการคลาวด์สาธารณะนอกประเทศจีนเติบโตเพิ่มขึ้น 110% เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้หัวเว่ยเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยหัวเว่ย คลาวด์ครองตำแหน่งผู้ให้บริการคลาวด์ที่น่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าและพาร์ทเนอร์หลากหลายองค์กรในประเทศไทย

หัวเว่ย คลาวด์ขยายขอบเขตการดำเนินงานทั่วโลกผ่านคูเวิร์ส (KooVerse) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ระดับโลก โดยมุ่งมั่นให้บริการคลาวด์ประสิทธิภาพสูงที่มอบประสบการณ์ใช้งานที่มีความเสถียรให้แก่ผู้ใช้บริการทั่วโลก หัวเว่ย คลาวด์มุ่งดำเนินการตามพันธกิจ “บริการในท้องถิ่น เพื่อท้องถิ่น” (In Local, For Local) และนำเสนอเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมและบริการที่สอดรับกับความต้องการของลูกค้าในพื้นที่เพื่อปูทางสู่ยุคดิจิทัลสำหรับหลากหลายอุตสาหกรรม ปัจจุบัน หัวเว่ย คลาวด์มีศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) 93 แห่ง พร้อมโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค (Region) 33 แห่ง มอบบริการคลาวด์เปี่ยมประสิทธิภาพให้กับลูกค้าในกว่า 170 ประเทศและดินแดนทั่วโลก

หัวเว่ยเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลกรายแรกที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย นับตั้งแต่การเปิดตัวหัวเว่ย คลาวด์ในไทยเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 บริษัทได้เปิดตัวบริการคลาวด์มากกว่า 100 รูปแบบ พัฒนาความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในท้องถิ่นมากกว่า 300 ราย และให้บริการลูกค้าหลายพันราย หัวเว่ย คลาวด์เปิดตัวศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) จำนวน 3 แห่งในประเทศไทย โดยศูนย์ข้อมูลล่าสุดเริ่มดำเนินการในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการดำเนินงานในประเทศไทยโดยสมบูรณ์ และรองรับการชำระเงินและการเรียกเก็บเงินในสกุลเงินท้องถิ่นอีกด้วย นอกจากนี้ หัวเว่ยยังจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม OpenLab ในประเทศไทยเพื่อผนึกกำลังกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในพื้นที่

หัวเว่ยวางรากฐานอันแข็งแกร่งในประเทศไทย เป็นเวลากว่า 25 ปี โดยมีพนักงานคนไทยเป็นจำนวน 77% ของพนักงานทั้งหมด หัวเว่ย คลาวด์ ในประเทศไทย ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์คลาวด์ในไทยกว่า 300 ราย และสตาร์ทอัพ 120 ราย เพื่อปลูกฝังอีโคซิสเต็มในท้องถิ่นที่เจริญรุดหน้า นอกจากนี้ หัวเว่ยยังผนึกกำลังกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยกว่า 40 แห่ง และฝึกอบรมนักพัฒนาคลาวด์กว่า 10,000 ราย โดยบริษัทมีเป้าหมายที่จะฝึกอบรมนักพัฒนาคลาวด์ให้ถึง 20,000 คนในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า เพื่อบ่มเพาะทักษะด้านเทคนิคที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สานต่อโครงการดิจิทัลบัส จัดกิจกรรมแรกของปี 2567 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนค็อกนิสไทยฯ จังหวัดสกลนคร ตามเป้าหมายด้านการลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านดิจิทัลในประเทศไทย ผ่านการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรให้ได้อีก 2,000 คน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 6 จังหวัดทั่วประเทศไทยในปีนี้

โครงการดิจิทัลบัสครั้งนี้ถือเป็นการร่วมมือระหว่างหัวเว่ย ประเทศไทย กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนค็อกนิสไทยฯ จังหวัดสกลนคร ซึ่งถือว่าศูนย์การศึกษาในพื้นที่ห่างไกล รองรับนักเรียนจาก 9 พื้นที่เขตหมู่บ้าน ทั้งหมด 262 คน ตั้งแต่ระดับการศึกษาชั้นอนุบาล 1 จนถึงประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 โดยการจัดโครงการดิจิทัลบัสร่วมกับโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ครั้งนี้ได้มีการปรับเนื้อหาหลักสูตรให้มุ่งเน้นเรื่องการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการนำเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทย โดยเฉพาะเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล

หัวเว่ยได้จัดโครงการดิจิทัลบัสผ่านการร่วมมือกับโรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เพื่อนำความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาให้เยาวชนได้ประยุกต์ใช้กับความรู้จากสถาบันการศึกษา ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และวัฒนธรรมในพื้นที่ห่างไกล จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เราพบว่าประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัลยังเป็นปัญหาที่พบได้ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงพื้นที่ห่างไกลในไทยซึ่งมีการพัฒนาและขยายตัวทางเทคโนโลยีค่อนข้างต่ำ ทำให้เกิดช่องว่างในการเข้าถึงองค์ความรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล

ทั้งนี้ หัวเว่ยตั้งเป้าหมายฝึกอบรมนักเรียนและบุคลากรในประเทศไทยจำนวน 2,000 คน ผ่านโครงการดิจิทัลบัส ในปี 2567 ครอบคลุมในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ นครพนม กระบี่ กาญจนบุรี ชัยภูมิ นครนายก และระยอง โดยโครงการในจังหวัดนครนายกและระยองเป็นความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยกับองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO และเป็นการต่อยอดจากโครงการที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2566 โดยในปีนี้ หัวเว่ยยังได้ปรับหลักสูตรดิจิทัลบัสให้เข้ากับโรงเรียนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างความตระหนักรู้เรื่องการนำเทคโนโลยีประยุกต์ใช้ภาคการเกษตร การนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาเกษตรกรรมในครัวเรือนให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการมอบความรู้เรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชนในการป้องกันภัยที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์

ดร.อภิสิทธิ์ พึ่งพร ผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้กล่าวถึงโครงการดิจิทัลบัสของหัวเว่ยว่า “ผมต้องขอขอบคุณหัวเว่ยที่ให้การสนับสนุนเยาวชนและบุคลากรในประเทศไทยด้วยการส่งมอบองค์ความรู้ดิจิทัลผ่านโครงการดิจิทัลบัสมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในครั้งนี้ยังเสริมด้วยกิจกรรมสันทนาการให้แก่เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 การมอบอาหารกลางวัน ร่วมปลูกต้นไม้ ปรับแต่งทัศนียภาพสถานศึกษา เป็นต้น โครงการดิจิทัลบัสถือเป็นโครงการที่สร้างแรงบันดาลใจที่ดี รวมทั้งช่วยสร้างโอกาสและสร้างความฝันให้กับเด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย”

ตลอดช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โครงการดิจิทัลบัสของหัวเว่ยได้ให้การฝึกอบรมองค์ความรู้ด้านดิจิทัลให้แก่นักเรียนช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลายถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รวมทั้งเจ้าหน้าที่พาณิชย์จังหวัด แพทย์อาสา และแรงงานท้องถิ่นรวมแล้วกว่า 4,500 คน ครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี สงขลา พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ นครราชสีมา พิจิตร พะเยา กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงราย ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช และนครนายก

นอกจากนี้หัวเว่ยยังมีโครงการให้การสนับสนุนด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล ร่วมมือกับโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนโครงการส่วนพระองค์ฯ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การสนับสนุนอุปกรณ์หน้าจออัจฉริยะ Ideahub จำนวน 24 เครื่องให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สุขศาลาพระราชทานทั่วประเทศไทย ตลอดจนโครงการนำร่อง Huawei Smart PV solution สนับสนุนโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหม่องกั๊วะ จังหวัดตาก เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงไฟฟ้าและการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการดิจิทัลบัสถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจ “เติบโตพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” ของหัวเว่ย ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งการสนับสนุนเรื่องความเท่าเทียมทางดิจิทัลผ่านภารกิจของหัวเว่ยเรื่อง ‘นำทุกฝ่ายก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ (Lead Everyone Forward, Leave No One Behind)

พบกับโปรพร้อมไลฟ์แขกรับเชิญสุดพิเศษแจกโค้ดลดโหดที่ Shopee

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), กระทรวงแรงงาน, และเครือข่ายมหาวิทยาลัยรวทถึงองค์กรชั้นนำในประเทศไทย จัดงานมหกรรม ‘Thailand Digital Talent Summit and Job Fair: Building Talent Hub for a Digital, Intelligent, and Green Thailand’ ภายใต้แนวคิด ‘สร้างศูนย์กลางบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ นำประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 200 ราย ทั้งบุคลากรจากภาครัฐ, สถาบันการศึกษา, และภาคอุตสาหกรรม โดยการประชุมสุดยอดครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในด้านการบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัล และสร้างโอกาสทางอาชีพซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทย บนเส้นทางสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน

นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ตอกย้ำแนวคิดและความรุดหน้าด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลว่า “Huawei ASEAN Academy (ประเทศไทย) มุ่งพัฒนากลยุทธ์ 4 ประการสำคัญ ได้แก่สถาบันธุรกิจ (สำหรับระดับผู้บริหาร) เพื่อบ่มเพาะภาวะผู้นำด้านดิจิทัลสำหรับผู้บริหารองค์กร, สถาบันเทคนิค (สำหรับระดับนักพัฒนา) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เอสเอ็มอี และนักพัฒนาซอฟต์แวร์, สถาบันวิศวกรรม (สำหรับระดับผู้ประกอบวิชาชีพ) ที่มุ่งเน้นทักษะการปฏิบัติจริงสำหรับกลุ่มคนทำงาน และประการสุดท้ายคือการลดความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล (สำหรับระดับผู้ใช้งาน) เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงความรู้ด้านดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม”

นายเดวิด กล่าวเสริมว่า “ในปัจจุบัน หัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ผนึกกำลังพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลไปแล้วกว่า 96,000 คน ซึ่งรวมถึงบุคลากรผู้มีทักษะด้านดิจิทัล 72,000 คน, ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ 8,000 คน, วิศวกรด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (green engineer) 2,000 คน, บุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 5,000 คน, เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ 3,500 ราย ทั้งยังจัดการฝึกอบรมให้กับนักเรียนและชุมชนในชนบท 6,000 คน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้หัวเว่ยได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งสถาบัน ICT Academy ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยกว่า 42 แห่งทั่วประเทศ”

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กล่าวถึงความร่วมมือในมหกรรม Thailand Digital Talent Summit ว่า “ในนามกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต้องขอขอบคุณหัวเว่ยสำหรับความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัล เพื่อบ่มเพาะศักยภาพบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น กระทรวง อว.มีภารกิจสำคัญคือการสร้างกำลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านดิจิทัลที่กลายเป็นหัวใจสำคัญและเป็นพื้นฐานการพัฒนาของโลกยุคนี้ในทุกๆ มิติ เราพร้อมผนึกกำลังกับหัวเว่ยเพื่อผลักดันนวัตกรรมดิจิทัลและนโยบายการวิจัยที่ออกแบบโดยเฉพาะในการจัดหาบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบ พร้อมทั้งผลักดันนโยบายส่งเสริมการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21”

นางจิรวรรณ สุตสุนทร รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้กล่าวว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับหัวเว่ยซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะระดับโลกในการส่งเสริมบุคลากรด้านดิจิทัลให้สอดรับกับความต้องการที่หลากหลายของอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเราจะมุ่งตอบสนองความต้องการและมุ่งยกระดับและเสริมสร้างทักษะบุคลากรร่วมกัน ภายใต้ความร่วมมือด้านวิชาการและอุตสาหกรรมในการพัฒนาทักษะบุคลากรที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัลในอนาคต”

ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ หัวเว่ยได้ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งใหม่กับพันธมิตรที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง:

  1. สร้างผลกระทบเชิงบวกกับภาครัฐบาลและนโยบาย: ในการผนึกกำลังกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงแรงงาน ทั้ง 3 หน่วยงานตั้งเป้าฝึกอบรมบุคลากรด้านไอซีทีให้ได้รวม 10,000 คน, นักพัฒนาด้านคลาวด์และ AI จำนวน 5,000 คน, และวิศวกรด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมอีก 2,000 คนภายในปี พ.ศ. 2568 โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 20 แห่ง เพื่อสร้างองค์ความรู้ผ่านหลักสูตรนักพัฒนาด้านคลาวด์และด้านดิจิทัลของหัวเว่ย
  2. แบ่งปันองค์ความรู้ด้านวิชาการ: มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (Beijing University of Post and Telecommunications), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัวโครงการใหม่กับหัวเว่ย ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อผลักดันการถ่ายทอดประสบการณ์ ส่งต่อองค์ความรู้ และพัฒนาบุคลากรเพื่อโลกการทำงานในอนาคต
  3. มอบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน: เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนสนใจเข้าสู่อุตสาหกรรมไอซีที หัวเว่ยจัดโครงการแข่งขันด้านไอซีทีเพื่อชิงทุนการศึกษาในปี พ.ศ. 2566-2567 โดยได้มอบ 9 รางวัลให้กับทีมผู้ชนะรางวัลใน 3 สาขา ได้แก่ ด้านเครือข่าย (Network) ด้านคลาวด์ (Cloud) และด้านการประมวลผล (Computing) โดยมีมูลค่ารางวัลรวมกว่า 1.4 ล้านบาท
  4. การมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมและการสร้างอาชีพ: หัวเว่ยร่วมกับพันธมิตร 15 รายในธุรกิจองค์กร, คลาวด์, พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์ จัดมหกรรมจัดหางานเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมและประกาศนียบัตรรับรองจากหัวเว่ยได้เข้าถึงงานในสาขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบ, ธุรกิจองค์กร, และการพัฒนาซอฟต์แวร์

ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยได้ร่วมมือกับหน่วยงานด้านการกำหนดนโยบายและพันธมิตรโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทักษะดิจิทัลให้ได้รวม 100,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2568 โดยหัวเว่ย ประเทศไทย ได้ผนึกกำลังร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เพื่อจัดการแข่งขันด้านความปลอดภัยไซเบอร์ซึ่งมีผู้เข้าร่วมถึง 4,000 คน รวมทั้งได้ร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ฝึกอบรมเอสเอ็มอีไทย 160 ราย เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G, เมืองอัจฉริยะ, AI และหุ่นยนต์แบบอิมเมอร์ซีฟ และจัดกิจกรรมการแข่งขันด้านไอซีทีครอบคลุมเทคโนโลยีคลาวด์, ทรัพย์สินทางปัญญา, และความปลอดภัยทางไซเบอร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา และมอบทุนการศึกษาคิดเป็นมูลค่า 1 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2566 รวมถึงโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม (Digital Bus) ซึ่งมอบการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลให้แก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลใน 14 จังหวัดในประเทศไทย

หัวเว่ยได้วางรากฐานในประเทศไทยมากว่า 25 ปี โดยมุ่งมั่นผลักดันกลยุทธ์ด้านดิจิทัลในประเทศไทยตามพันธกิจ ‘เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย’ (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) ผ่านแพลตฟอร์ม Huawei ASEAN Academy ประเทศไทย และหลักสูตรการฝึกอบรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ หัวเว่ยจะมุ่งมั่นสร้างอีโคซิสเต็มครบวงจรที่รวมการฝึกอบรม, มาตรฐานการรับรองจากหัวเว่ย, การคัดเลือกพันธมิตร, และแอปพลิเคชันต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ด้วยการบ่มเพาะสภาวะความร่วมมือที่เปลี่ยนความคิดและนวัตกรรม ไปสู่การแบ่งปันองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งานจริง โดยหัวเว่ยพร้อมจะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัล ที่เปี่ยมด้วยความอัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การปฏิรูปทางดิจิทัล (Digital Revolution) กำลังเข้ามาเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา บริการออนไลน์และบริการต่าง ๆ บนมือถือกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เราเริ่มเห็นเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น แอปพลิเคชัน AI ได้รับการนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกมากขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยวางเป้าหมายเพื่อขึ้นเป็นศูนย์กลางทางด้านดิจิทัลของอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ เราจำเป็นจะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งเพื่อรองรับเทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นทั่วประเทศ เทคโนโลยีฐานข้อมูลจึงเป็นหนึ่งในรากฐานที่สำคัญที่สุดในกระบวนการปฏิรูปทางดิจิทัลนี้ ขณะเดียวกัน ฐานข้อมูลยังเป็นหัวใจหลักในการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตลอดเวลาห้าทศวรรษที่ผ่านมา คำถามสำคัญคือเทคโนโลยีฐานข้อมูลรุ่นใหม่ล่าสุด จะช่วยปลดล็อคคุณค่าสูงสุดให้กับประเทศไทยในยุคสมัยของ Big Data และ AI ได้อย่างไร

นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีฐานข้อมูลยุคใหม่ว่า “สำหรับภาคอุตสาหกรรมแนวดิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงอุตสาหกรรมธนาคาร แอปพลิเคชันที่ใช้งานแบบเรียลไทม์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ภาคอุตสาหกรรมหลายแห่งยังมีความต้องการใช้งานธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาคธนาคารที่มีการทำธุรกรรมข้อมูลออนไลน์เกิดขึ้นหลายล้านรายการ เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของทุกคนไปแล้ว นั่นหมายความว่าแอปพลิเคชันจำนวนมากที่ให้บริการผู้บริโภคจำเป็นต้องมีระบบและอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลในประเทศ หัวเว่ย ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านบริการโซลูชันดิจิทัล จะเข้ามาช่วยสร้างและบ่มเพาะอีโคซิสเต็มให้กับเหล่าพันธมิตรในประเทศ พร้อมไปกับการให้บริการแก่อุตสาหกรรมแนวดิ่งและหน่วยงานภาครัฐ หัวเว่ยมีความมั่นใจในศูนย์ข้อมูลที่ได้ลงทุนไว้ ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจอย่างมาก โดยปัจจุบันเรามีศูนย์ข้อมูล (Data Center) 3 แห่งในประเทศไทย ซึ่งตอกย้ำถึงความทุ่มเทในระยะยาวและความเชื่อมั่นที่เรามีต่อประเทศไทย”

ปัจจุบัน เทคโนโลยีฐานข้อมูลยังพบกับความท้าทายหลัก 4 ประการ ประการแรก คือวิธีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หลากหลาย และกระจัดกระจาย ในการรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ เราจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลที่สามารถขยายขนาดได้อย่างไร้รอยต่อ และสามารถปรับให้เข้ากับภาระงานหลากหลายรูปแบบ ประการที่สอง คือวิธีการคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานในระดับสูง ภายใต้กระบวนการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากพร้อม ๆ กัน เนื่องจากมีความต้องการใช้งานแอปพลิเคชันในแบบเรียลไทม์มากขึ้น รวมไปถึงการทำธุรกรรมออนไลน์จากธนาคารและภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น ประการที่สาม คือวิธีการสร้างความปลอดภัยได้อย่างครอบคลุม รวมทั้งการรับมือกับความท้าทายจากการละเมิดข้อมูลออนไลน์และการโจมตีทางไซเบอร์ โดยในปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลกได้เพิ่มสูงถึง 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะทะลุ 10.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2568 ประการสุดท้าย คือการรับมือกับเทรนด์ดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการอีโคซิสเต็มดิจิทัลภายในประเทศที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งผู้ติดตั้งระบบ ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ และผู้พัฒนาแอปพลิเคชันในประเทศล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนา 

ประเทศไทยมีจุดแข็งด้านจำนวนผู้ใช้งานดิจิทัลจำนวนมาก แต่ยังคงขาดแคลนผู้สร้างสรรค์ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นี่คือปัญหาในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศในยุคของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เนื่องจากหลายประเทศต่างนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน แต่ไม่ได้คาดการณ์ถึงความสามารถที่จำเป็นต่อการสร้างและบ่มเพาะอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลในประเทศ อย่างไรก็ตาม หัวเว่ยมองเห็นศักยภาพระดับสูงของประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลไทยมีความตระหนักในความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ ทั้งยังมีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนหลายโครงการเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศด้านดิจิทัลของประเทศ ไม่เพียงเท่านั้น หัวเว่ยยังมองเห็นความตระหนักที่เพิ่มขึ้นของภาคสาธารณะและภาคเอกชนที่มีต่อเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งทุกฝ่ายต่างมีความตั้งใจที่จะลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เทคโนโลยีฐานข้อมูลจึงกำลังเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมแนวดิ่งของหลาย ๆ อุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี เนื่องจากเมื่อใดที่มีการลงทุน ย่อมนำมาซึ่งโอกาสทางอาชีพที่มากขึ้นตามไปด้วย

นี่จึงเป็นสาเหตุให้หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะลงทุนในประเทศไทย พร้อมไปกับการบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลและสร้างสรรค์ระบบนิเวศทางดิจิทัลให้เกิดขึ้นในประเทศ เพราะนี่คือส่วนสำคัญของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศชาติ นอกจากนี้ หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าให้ความสำคัญกับการนำเสนอประโยชน์จากการลงทุนในด้านไอซีที พร้อมส่งมอบเทคโนโลยีล้ำยุคให้กับประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของภาครัฐ ภาคการขนส่ง ภาคธนาคาร และภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศ

นายเดวิด หลี่ เปิดเผยว่าหัวเว่ยได้ลงทุนในเทคโนโลยีฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องมากว่า 20 ปี และล่าสุดได้เปิดตัว GaussDB เทคโนโลยีฐานข้อมูลรุ่นใหม่ล่าสุดที่จะเข้ามาปลดล็อคคุณค่าสูงสุดทางด้านข้อมูลในประเทศไทย โดย GaussDB จะช่วยให้หัวเว่ยสามารถทำงานและให้การสนับสนุนพันธมิตรในประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจาก GaussDB สามารถใช้งานได้ทั้งบนระบบคลาวด์สาธารณะและคลาวด์ส่วนบุคคล ไม่เพียงเท่านั้น การใช้งานฐานข้อมูลล้ำสมัยอย่าง GaussDB จะช่วยเสริมศักยภาพโซลูชันอัจริยะในปัจจุบัน ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพและสร้างประโยชน์เพิ่มเติมให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการช่วยบ่มเพาะอีโคซิสเต็มดิจิทัลโดยรวมของประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยได้เปิดตัวฐานข้อมูล GaussDB ในประเทศจีนเพื่อทดสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพเทคโนโลยี เมื่อโซลูชันนี้ได้รับการพัฒนาจนให้ประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดแล้ว หัวเว่ยจึงได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดต่างประเทศแห่งแรกภายใต้โครงการนำร่องของหัวเว่ยเพื่อสนับสนุนพันธมิตรและหน่วยงานในท้องถิ่น โดยหัวเว่ยเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าฐานข้อมูล GaussDB จะเข้ามาพลิกโฉมตลาดผลิตภัณฑ์ฐานข้อมูล ด้วยข้อเสนอที่ดีกว่าสำหรับหลายภาคอุตสาหกรรม

เมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ย คลาวด์ ถือเป็นผู้ให้บริการคลาวด์เพียงรายเดียวในตลาดที่ได้รับรางวัล ‘ตัวเลือกดีเด่นของลูกค้าในปี 2023’ จากผลสำรวจเสียงตอบรับของลูกค้าโดยการ์ทเนอร์ (Gartner Peer Insights™) โดยหัวเว่ย คลาวด์ จะยังมุ่งให้ความสำคัญกับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพสำหรับรองรับการใช้งานในภาคธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยลูกค้าในการสร้างรากฐานของข้อมูลอัจฉริยะที่มีความเสถียร ยืดหยุ่น และมีศักยภาพสูงต่อไป ทั้งนี้ หัวเว่ยได้เข้ามาสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งในประเทศไทยมากว่า 24 ปี ด้วยความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาทางดิจิทัลให้กับประเทศ ภายใต้พันธกิจ ‘เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย’ (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) สำหรับก้าวต่อไปภายใต้ภารกิจ ‘นำทุกฝ่ายก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ (Lead Everyone Forward, Leave No One Behind) หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าส่งมอบเทคโนโลยีฐานข้อมูลที่ล้ำสมัยและโซลูชันอัจฉริยะต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโต เพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศไทย พร้อมทั้งกระชับความร่วมมือกับพันธมิตรในท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีอัจฉริยะ สนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัล และผลักดันให้ประเทศไทยได้ขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของอาเซียน

Page 1 of 31
X

Right Click

No right click