November 14, 2024

สสว. นำทีมพาตัวแทนจากรางวัลสุดยอด SME ไทย คว้า 3 รางวัล ทั้งเหรียญทองและเหรียญเงินจากเวที Silicon Valley International Invention Festival 2018 สร้างความภาคภูมิใจให้ SMEs ไทยที่ก้าวไกลในเวทีระดับโลก

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ได้เชิญผู้ประกอบการไทยนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน Silicon Valley International Invention Festival 2018 (SVIIF 2018) ณ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

สสว.ได้นำผู้ประกอบการ ที่คัดเลือก 3 ราย จากโครงการประกวดสุดยอด SME แห่งชาติ” ครั้งที่ 9  เป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงานดังกล่าว โดยผู้ประกอบการไทยคว้ารางวัลมาได้ถึง 3 รางวัล 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน จากจำนวนผู้ประกอบการทั่วโลกที่ส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 300 ผลงาน จาก 35 ประเทศทั่วโลก

โดยผู้ประกอบการ 2 รายที่คว้ารางวัลเหรียญทอง คือ บริษัท ควอลิตี้ พลัส เอสเทติค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ประกอบการรางวัล“สุดยอด SME แห่งชาติ” ครั้งที่ 9 ประเภทธุรกิจเพื่อสุขภาพ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น สารสกัด Purify Xanthone จากเปลือกมังคุด เพื่อผลิตภัณฑ์รักษาสิว ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากเปลือกมังคุด กับบริษัท คิง ฟรุทส์ จำกัด ผู้ประกอบการรางวัล“สุดยอด SME ดีเด่น” ครั้งที่ 9 กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ผลิตภัณฑ์กล้วยหอมทอง ฟรีดราย/ผงชงดื่มรสกล้วยแปรรูปเป็น energy drink ส่วน บริษัท กลัฟเท็กซ์ จำกัด ผู้ประกอบการรางวัล“สุดยอด SME แห่งชาติ” ครั้งที่ 9 กลุ่มธุรกิจสิ่งและแฟชั่นผลงานประดิษฐ์คิดค้น กรรมวิธีการทอถุงมือโดยใช้เส้นใยเคฟล่าร์ฟิลาเมนต์  คว้ารางวัลเหรียญเงินในผลิตภัณฑ์ถุงมือกันไฟ 

"ผมและผู้ประกอบการทั้ง 3 รู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ ผู้ประกอบการไทยเราเก่งมาก มีความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภํณฑ์จนเกิดนวัตกรรม ดังจะเห็นได้จากการคว้ารางวัลในครั้งนี้ นอกจากจะสร้างการยอมรับในระดับสากลแล้ว ผมเชื่อว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการไทยไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาสินค้า เพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ประเทศได้ต่อไป" นายสุวรรณชัย กล่าว

ทั้งนี้ งาน Silicon Valley International Invention Festival 2018   เป็นงานประกวดสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่สำคัญงานหนึ่งในทวีปอเมริกา จัดขึ้นปีนี้เป็นครั้งแรก โดย องค์กรส่งเสริมด้านการประดิษฐ์คิดค้นของสาธารณรัฐเกาหลี โดยได้รับการสนับสนุนจาก สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์นานาชาติ

โลกยุคดิจิทัลผันเปลี่ยนด้วยเทคโนโลยี ระเบียบการค้าและตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แม้ประเทศไทยจะมีจุดได้เปรียบด้านอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม จากการเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีผลิตผลการเกษตรหลากหลายตลอดปีแต่โรงงานอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปส่วนใหญ่ ยังประสบกับปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจและการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนายกระดับและสร้างนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับ EHEDG และ บ.เอ็นเดรส แอนด์ เฮาเซอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด จัดงาน"Technology Sharing Day for Food & Beverage" โดยมี รศ. ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนา วันเทคโนโลยีอาหารและเครื่องดื่ม "Technology Sharing Day for Food & Beverage" รศ.ดร.นวภัทรา หนูนาค ประธาน พร้อมด้วยรศ.ดร.ทวีพล ซื่อสัตย์ ประธานร่วม EHEDG Thailand และ คุณคาติกเคยัน เชอลาพัน (Kartikeyan Chellappen) จาก บ.เอ็นเดรส แอนด์ เฮาเซอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้นำเทคโนโลยีเครื่องมือด้านการวัดที่ใช้อุตสาหกรรม มากว่า 20 ปี ร่วมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีเครื่องดื่มและอาหารแก่ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มไทย ณ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและบริการวิศวกรรม (EIDTs) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

รศ. ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า การสร้างความเข้มแข็งในอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปอาหาร-เครื่องดื่ม จะช่วยยกระดับคุณภาพ สุขอนามัย คุณค่าทางโภชนาการและภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ การสัมมนาครั้งนี้มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใช้ในเรื่องของการออกแบบโครงสร้างการผลิต อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตถภัณฑ์อาหาร ซึ่งโรงงานส่วนมากมักพบกับปัญหาที่ต้องตามแก้ไขทั้งด้านสถานที่ตั้งเครื่องมือ เครื่องจักรที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ต้องเสียเวลาและงบประมาณจำนวนมากในการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ผ่านการรับรองระบบมาตรฐานต่างๆ

รศ.ดร.นวภัทรา หนูนาค ประธาน EHEDG THAILAND กล่าวว่า ภายในงานสัมมนา "Technology Sharing Day for Food & Beverage" ได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการออกแบบและการติดตั้งเครื่องจักรที่ถูกสุขลักษณะและการติดตั้งระบบเซนเซอร์ กล่าวคือ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรที่ถูกสุขลักษณะต้องไม่ทำจากวัสดุที่มีปฏิกิริยากับอาหารและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ไม่ก่อให้เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคตามมาตรฐานสากล ในส่วนการดำเนินการทุกขั้นตอนต้องมีการควบคุมตามหลักสุขาภิบาลที่ดีและถูกสุขลักษณะ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบ ชนิด ปริมาณ การรับวัตถุดิบและสารเคมีที่ใช้ในการผลิต รวมถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตได้ การจัดเก็บ การเตรียมการผลิต การบำบัดด้วยความร้อน การทำความสะอาด การบำรุงรักษา การทำความสะอาดและกำจัดกากของเสีย อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรเป็นประจำ การใช้สารเคมีที่ทำความสะอาด ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ปลอดภัยต่อการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและเป็นที่ไว้วางใจของคู่ค้าและผู้บริโภคโดยสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและตลาดโลก

สำหรับ EHEDG (European Hygienic Engineering and Design Group) ประจำประเทศไทย หรือ EHEDG Thailand เป็นเครือข่ายของ องค์กรสากล EHEDG ซึ่งเป็นองค์กรด้านสุขอนามัยและวิศวกรรมอาหาร ในสหภาพยุโรปที่ก่อตั้งขึ้น โดย EHEDG เป็นศูนย์รวมเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญการผลิตอาหาร การผลิตเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ รวมทั้งองค์กรเพื่อสุขภาพ EHEDG มีบทบาทเป็นผู้กำหนดแนวปฏิบัติ (EHEDG guidelines) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมีแนวทางที่ถูกต้องและสามารถปฏิบัติตามกฎหมายของยุโรปได้ ทั้งเน้นการส่งเสริมให้ข้อกำหนดและแนวปฏิบัติเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลก นอกจากนี้ EHEDG ยังกำหนดแนวปฏิบัติและให้การรับรองอุปกรณ์วิศวกรรม เครื่องมือเครื่องจักรในกระบวนการผลิตอาหารอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐานISO 14159 และ EN 1672-2 โดย EHEDG Thailand ได้จัดทำ คู่มือ EHEDG Guidelines Vol.2 เกี่ยวกับเกณฑ์การออกแบบอุปกรณ์และเครื่องมือตามหลักสุขลักษณะ ประกอบด้วยแนวปฏิบัติด้านการออกแบบอุปกรณ์แปรรูปอาหารเหลวในระบบปิดตามหลักสุขลักษณะ เช่น ปั๊ม ถังผสม ถังเก็บ ระบบเดินท่อ, ข้อกำหนดทางด้านสุขอนามัยของวาล์วสำหรับกระบวนการแปรรูปอาหาร, การต่อท่อแบบคัปปลิงตามหลักสุขลักษณะ และการออกแบบปั๊มโฮโมจิไนเซอร์และอุปกรณ์แดมพ์เพนนิ่งตามหลักสุขอนามัย 
ปัจจุบันองค์กรสากล EHEDG มีสำนักงานในภูมิภาคต่างๆเช่น เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ กลุ่มประเทศนอร์ดิค โปแลนด์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และกำลังขยายไปยังประเทศในเอเซียและยุโรปตะวันออก
สำหรับ EHEDG ประเทศไทยนั้น สจล.เป็นตัวแทนในภูมิภาคขององค์กรสากลนี้

ดุสิตธานี ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 100 บริษัทจดทะเบียนชั้นนำที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG) ประจำปี 2561 จากสถาบันไทยพัฒน์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จากจำนวนบริษัทจดทะเบียนทั้งสิ้น 683 แห่ง ขณะที่ผู้บริหารระบุ “ดุสิตธานี” พร้อมสร้างโอกาสในการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 สามารถเดินหน้าได้ตามแผนที่วางไว้ ทั้งการลงทุนในธุรกิจอาหารและการเปิดตัวโรงแรมใหม่ภายใต้แบรนด์ “อาศัย”

นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC เปิดเผยว่า เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ “ดุสิตธานี” ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG) ประจำปี 2561 จากสถาบันไทยพัฒน์ ซึ่งได้ดำเนินการประเมินบริษัทจดทะเบียนจากการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศจำนวน 683 แห่ง และบริษัทฯ มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเนื่องจากในปีนี้ ดุสิตธานีได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับ ESG 100 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 หรือนับตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งเป็นปีแรกที่สถาบันไทยพัฒน์ดำเนินการจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ การเก็บข้อมูลของสถาบันไทยพัฒน์ จะอ้างอิงจากเอกสารรายงานที่บริษัทจดทะเบียนเผยแพร่ไว้ต่อสาธารณะในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีหรือแบบ 56-1 รวมทั้งในรายงานประจำปี รายงานแห่งความยั่งยืน ตลอดจนข้อมูลผลการดำเนินงานที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท จากแหล่งข้อมูล 6 แหล่ง รวมจำนวนกว่า 12,648 จุดข้อมูล ก่อนจะทำการคัดเลือกบริษัทที่โดดเด่นจำนวน 100 บริษัทแยกตามหมวดอุตสาหกรรม โดย บมจ.ดุสิตธานี ได้รับคัดเลือกในหมวตอุตสาหกรรมบริการ

“การได้รับคัดเลือกให้ติดอันดับ ESG 100 สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของดุสิตธานี ที่ดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบที่เราวางไว้ 3 แนวทาง นั่นคือ การสร้างความสมดุลให้กับธุรกิจ การกระจายความเสี่ยง และการสร้างเป้าหมายในการเติบโต ภายใต้หลักธรรมาภิบาล เพื่อจะสร้างโอกาสในการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 ที่ผ่านมา เราสามารถเดินตามแผนการขยายการลงทุนได้ตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการขยายไปสู่ธุรกิจอาหารด้วยการจัดตั้งบริษัท ดุสิต ฟู้ดส์ จำกัด เพื่อลงทุนในบริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (NRIP)

รวมทั้งการเปิดตัวแบรนด์โรงแรมใหม่ “อาศัย” หรือ ASAI เพื่อตอบโจทย์การขยายตัวของนักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่รักการเดินทางท่องเที่ยว ขณะที่ครึ่งหลังของปีนี้ จากทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะในส่วนของการท่องเที่ยวและบริการ ทำให้เชื่อว่า ดุสิตธานีจะมองเห็นโอกาสใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น” นางศุภจีกล่าว

"กษัตริย์นักพัฒนา" คำที่ปวงชนชาวไทยได้สัมผัสและรับรู้ได้ผ่านพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จ-พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชตลอด 70 ปีที่ผ่านมา

โดยใน ENV 4.0 เราจะต้องเข้าใจคำนิยามต่างๆ ได้แก่ PER / Integration / Multi-disciplinary R&D for Community / Smart concept ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำพาเราไปสู่ ENV 4.0

บทเรียนเกี่ยวกับมลพิษสิ่งแวดล้อมในอดีตทำให้เราต้องตระหนักถึงหน้าที่ของเราทุกคนที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ดังนิยามที่ว่า "We drive Env 4.0" หรือ "พลังอันยิ่งใหญ่ (ของพวกเรา) มาพร้อมกับความรับผิดชอบ (ต่อสิ่งแวดล้อม) อันใหญ่ยิ่ง" 

ถ่านหิน คือ อะไร ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลายล้านปีทำให้เกิดเป็นแร่เชื้อเพลิงที่สามารถติดไฟได้

CSR ที่ถูกกล่าวถึงในยุค ENV 3.0 เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยองค์กรภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีแนวคิดจะชดเชยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ตนเองได้กระทำลงไป

สำนักพระราชวังออกประกาศสำนักพระราชวังใจความว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559

Who Drive Env 4.0

July 04, 2018

องค์ประกอบต่างๆ ของ ENV 4.0 ที่ถูกกล่าวถึงในฉบับที่ผ่านมาจะเกิดขึ้นได้ต้องมีผู้สนองตอบแนวทาง หลักการและเหตุผลตามที่ได้กำหนดไว้ เราจึงต้องอาศัยบุคลากรจากหลากหลายสาขาอาชีพรวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน

Page 7 of 7
X

Right Click

No right click