October 04, 2024

From FAM to FAMOUS

March 13, 2019 3540

“We develop people, people develop country.” ดร.สุดาพร สาวม่วง คณบดี คณะการบริหารและจัดการ (FAM) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) กล่าวภายหลังได้รับ รางวัล Thailand Leadership Award 2019 ซึ่งจัดขึ้นโดย World Federal Education

ประโยคนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการ บริหารจัดการการศึกษาเพื่อสร้างคน เพื่อเป็นพลังในการพัฒนาชาติต่อไปของ คณบดีคนใหม่ของ FAM ที่มีผลงานเป็น ที่ประจักษ์ด้านการศึกษาจนได้รับรางวัล ดังกล่าวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ดร.สุดาพรเปิดเผยแนวนโยบายในการบริหารสถาบันในช่วงที่รับตำแหน่งว่า  มีนโยบายที่ทำให้จำกันง่ายๆ คือ ‘FAM to FAMOUS’ จากชื่อคณะในภาษาอังกฤษ  Faculty of Administration and Management (FAM) ก็จะต่อยอดให้ไปสู่คำว่า Famous ที่แปลว่ามีชื่อเสียง โดยเป็นตัวย่อของนโยบายที่ตั้งเป้าไว้คือ

Family คณะจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมนำพา สจล. สู่มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการจัดอันดับในระดับอาเซียนและภูมิภาค

Ability การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะฝีมือ ประกอบด้วยนวัตกรรม

Management โดยคณะจะจัดการเรียนการสอนแบบมืออาชีพ เน้นการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นนวัตกรรมในการบริหารจัดการการเรียนการสอน การบริหารงาน การตัดสินใจดำเนินงานอย่างสร้างสรรค์ มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

Outstanding คือจะเป็นคณะการบริหารที่ได้รับการจัดอันดับ เป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ ของอาเซียน และของโลก

Universal คือการก้าวสู่ความเป็นสากล มีความเป็นนานาชาติ (International Outlook) ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่ หลักสูตร อาจารย์ บุคลากร สิ่งแวดล้อมต่างๆ

หลักสูตรสายพันธุ์ใหม่

การจะทำให้แนวนโยบายให้บรรลุผลสำเร็จได้ ดร.สุดาพร เตรียมใช้ประสบการณ์ ที่เคยทำงานในภาคเอกชนมาก่อนเข้ามาทำงานด้านการศึกษาเพื่อผสมผสานจุดเด่น ของ FAM เพื่อสร้างผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

คณบดี FAM มองว่า การบริหารงานในยุคปัจจุบันต้องเน้นเรื่อง Disruption  เพราะการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างก้าวกระโดด เช่นเดียวกันกับ ทางสถาบันก็ที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสอดรับกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่  โดยคำนึงถึงคุณภาพของนักศึกษาเป็นหลัก

หากมองการบริหารการศึกษาในแง่ มุมของการตลาด ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของ สถาบันการศึกษานั่นก็คือหลักสูตร งานวิจัย  สิทธิบัตรต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา ใน ส่วนของหลักสูตรซึ่งเรียกว่า หลักสูตร สยพันธุ์ใหม่’ แบ่งเป็น 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

Entrepreneurial & Science-based Degree เป็นการผสมผสาน ความโดดเด่นของ สจล. ในด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับการบริหาร ด้วยหลักสูตรที่เปิดช่องให้นักศึกษา สามารถเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ แล้วมาเรียนต่อ ในคณะบริหารธุรกิจ หรือหลักสูตร 4+1 เพื่อช่วยให้บัณฑิตที่จบไปมีความรู้ทั้ง ด้านการบริหารจัดการและวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยจะเป็นหลักสูตรนานาชาติ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็น อันดับแรก และมีโครงการขยายไปยัง คณะอื่นๆ ต่อไป

Corporate-based Degree เป็นหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับภาค อุตสาหกรรม เช่น การจัดหลักสูตรร่วมกับ ผู้ประกอบการเครือเบทาโกร และไทยเบฟ  เพื่อให้บัณฑิตที่จบออกไปสามารถทำงานได้ทันที มีความรู้ความสามารถ ตรงตามความต้องการของภาค อุตสาหกรรม

Area-based Degree จะเป็นการจัดการศึกษาโดย คำนึงถึงพื้นที่ของผู้เรียน ทั้งในชุมชนท้องถิ่นและพื้นที่ที่คณะจะ ขยายตัวไป เช่น กลุ่มประเทศอาเซียน จีน รวมถึงการมีห้องเรียน ที่เชื่อมโยงกับศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ  ผ่านโครงการห้องเรียน 108 โลกจริง 108 อรหันต์ ที่จะให้ศิษย์เก่า มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดเรื่องราวการทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ ให้กับนักศึกษารุ่นน้อง

Global-based Sandwich Degree จะเป็นการ ทำหลักสูตรร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ เช่น MIT, Oxford, King College และ LSE ผ่านรูปแบบการเรียนที่ ประเทศไทยส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ในต่างประเทศ

Training Online Degree ที่มีการวางเป้าหมายไว้ 3 กลุ่ม  คือผู้เรียนในหลักสูตรปกติ ที่จะมีการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ออนไลน์ผสมผสานกับการเรียนในห้องเรียน กลุ่มที่สองคือ  ผู้ที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจที่ต้องการเรียน วิชาต่างๆ และหากต้องการวุฒิก็สามารถนำเครดิตที่ได้มา ลงเทียบกับคณะได้ในอนาคต และกลุ่มที่สามคือกลุ่มที่ต้องการ มา Upskill และ Reskill (เพิ่มและปรับเปลี่ยนทักษะ) ที่จะเปิดเป็น คอร์สให้กับผู้สนใจทั้งศิษย์เก่าและผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ มาเรียนคอร์สตามที่สนใจ ซึ่งเมื่อเรียนแล้วก็สามารถเทียบโอน รายวิชาได้หากต้องการจะได้วุฒิเพิ่มเติมเช่นกัน

FAM Impact

ดร.สุดาพรระบุว่าภายใต้แผนบริหารงานที่วางไว ต้องการให้ส่งผลกระทบใน 4 ด้านประกอบด้วย

  1. Academic คือเรื่องวิชาการวิจัย ที่อาจารย์และบุคลากรจะต้องมีการวิจัยเพื่อตอบโจทย์แก้ปัญหา สังคม มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการ ยอมรับ รวมถึงการจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร เพื่อใช้ก่อประโยชน์ได้จริง
  2. Educational คือมีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ มีหลักสูตรที่มีคุณภาพ สามารถสรรหา อาจารย์ที่มีคุณภาพ มีห้องเรียน อาคารสถานที่รวม ถึงเครื่องไม้เครื่องมือในการเรียนการสอนที่ทันสมัย
  3. Social ทางด้านสังคม โดยคณะจะคิดจะทำกิจกรรมใดเพื่อสังคมจะต้องสร้างผลกระทบในเชิงบวก ต่อสังคมและชุมชน เช่นงานวิจัยที่ทำขึ้นมาจะต้องมี ส่วนช่วยทำให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คนในชุมชน มีรายได้เพิ่มขึ้น มีความสุขมากขึ้น
  4. Industry ภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเอกชน ซึ่งจะต้องได้ผลผลิตที่ดีของคณะไปใช้งาน หมายถึง บัณฑิตผู้มีคุณภาพ สามารถเข้าไปทำงานได้ทันที เป็นคนดีคนเก่งขององค์กรบริษัท และสามารถตอบ โจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจได้

พัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติ

แผนงานบริหารจัดการของ ดร.สุดาพร ที่ใช้แนวทาง การตลาดมาปรับใช้กับการบริหารจัดการสถาบันการศึกษา ยังมี ปัจจัยอื่นๆ ที่จะมาช่วยกันเสริมสร้างให้ FAM to FAMOUS โดย ปัจจัยต่อมาคือสถานที่ Place ที่ไม่ได้จำกัดแค่ตัวอาคารแต่ยัง รวมถึงโลกออนไลน์ที่ต้องมีแพลตฟอร์มที่ทันสมัยสามารถนำส่ง ความรู้ให้กับนักศึกษาได้ ขณะเดียวกันก็ทุ่มงบประมาณกว่า  100 ล้านบาทปรับปรุงอาคาร 5 ชั้น เพื่อจัดทำห้องเรียนที่ ทันสมัย มีพื้นที่ Co Working Space และสิ่งอำนวยความสะดวก ต่างๆ รองรับการเรียนการสอนรูปแบบใหม่

เรื่องต่อมา คือการทำโปรโมชันเพื่อรองรับการแข่งขันใน ระดับโลกของสถาบันการศึกษา ดังนั้นจะเน้นการประชาสัมพันธ์ ในส่วนของนานาชาติเพิ่มขึ้น เพื่อสื่อสารไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่อยู่ในและต่างประเทศ ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ การทำ โรดโชว์ จัดทำเว็บไซต์ภาษาอังกฤษที่ทันสมัย รวมถึงการมี ช่องทางในต่างประเทศเพื่อสื่อสารข้อมูลของคณะ

ทางด้านบุคลากร คณาจารย์คือผู้ที่มีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ให้กับผู้เรียน ดังนั้น FAM จะเน้นการเฟ้นหาอาจารย์ที่มีศักยภาพ มีแนวคิดเข้าใจในเรื่อง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีรูปแบบการสอนที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันจะขยาย จำนวนอาจารย์ต่างชาติ เพื่อมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาในหลักสูตรนานาชาติโดย ตั้งเป้าจะให้อาจารย์ต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักสอนในหลักสูตร 90-100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2562 นี้

ในส่วนของบุคลากรที่ให้การสนับสนุนก็มีการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ โดย จัดหลักสูตรฝึกอบรมให้ทุกสัปดาห์และหากบุคลากรคนใดสามารถสอบผ่าน IELTS หรือ TOEFL ได้ก็จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น เป็นการเตรียมบุคลากรรองรับคณาจารย์และ นักศึกษาจากต่างประเทศที่จะมีจำนวนมากขึ้นตามแผนงานที่วางไว้

และปัจจัยที่สำคัญอีกด้าน คือการสร้างเครือข่าย ทั้งภายในสถาบันที่มีทั้งหมด 16 คณะ  ซึ่งจะต้องผสมผสานศาสตร์ด้านต่างๆ ผ่านการทำหลักสูตรร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ต้อง มีความสัมพันธ์กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและภาคสังคม ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย โดยจะเชื่อมโยงกับทั้งชุมชน อุตสาหกรรมทุกขนาด ผ่านการบริการทางวิชาการ และ การช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและอุตสาหกรรม

FAM กับการช่วยเหลือชุมชน

ตัวอย่างหนึ่งของการสร้าง เครือข่ายให้ความช่วยเหลือชุมชน ของ FAM ที่ทำโดย ดร.สุดาพร คือ ชุมชนชาวนาที่ จ.สระบุรี ซึ่งมี ความต้องการจะกลับมาปลูกข้าวพันธุ์ เจ๊กเชย” ซึ่งเป็นข้าวของ จังหวัดสระบุรีที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือมีไฟเบอร์สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการบริโภคแป้ง จำนวนมาก

“ก็ไปรณรงค์ให้มีเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์เจ๊กเชยเกิดขึ้น แล้วก็ให้ความรู้ ในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ข้าว เรื่อง การปลูกข้าว เมื่อได้ผลผลิตออกมา  ชาวนาก็บอกว่าจะทำอย่างไรที่จะ แบ่งข้าวไว้ที่บ้านบางส่วนแล้วสีข้าว กินเอง หรือสีขายเชิงพาณิชย์ได้ อาจารย์ช่วยทำเครื่องสีให้หน่อย ได้ไหม ก็จัดงบประมาณโครงการ บริการวิชาการเพื่อสังคมออกมา ส่วนหนึ่งและพัฒนาออกแบบ สรรหาวิศวกรมาประจำโครงการ ทำตามการออกแบบของอาจารย์ และชาวนาที่ต้องการใช้ คือ ต้องการเครื่องสีขนาดเล็ก เคลื่อนที่ที่สามารถทำงานได้คนเดียว  เคลื่อนย้ายได้สะดวก เครื่องสีนี้ สามารถแยกได้เป็น 4 ช่อง มีแกลบ ข้าว รำ และมีข้าวท่อน เราพัฒนา จนได้ตามความต้องการของ ชาวนา เป็นต้นแบบและใช้งานได้จริง และเราก็ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรก็เป็น งานวิจัยที่สามารถต่อยอดจด อนุสิทธิบัตรได้ ผลิตขึ้นมาใช้งาน ได้จริงและสามารถต่อยอดขาย เชิงพาณิชย์ได้”

เมื่อได้ผลผลิตออกมา ทางด้านการตลาด เนื่องจากเป็นข้าว ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจึงมีตลาดที่รองรับอย่างเช่นโรงพยาบาล ในจังหวัดสระบุรี และกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ที่มาหาซื้อ ข้าวชนิดนี้ไปบริโภค

โครงการนี้เป็นตัวอย่างการจัดการทั้งห่วงโซ่อุปทานที่ FAM เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนพัฒนาในเรื่องที่ชุมชนสนใจ และสร้าง มูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นทั้งแก่ชุมชนและสถาบันต่อมา

FAM for the next generation to ASEAN and to the world

คณะการบริหารและจัดการเพื่อคนรุ่นใหม่ก้าวไกล สู่อาเซียนและโลก’ คือวิสัยทัศน์ของ ดร.สุดาพร โดยมีเป้าหมาย ในการผลิตบัณฑิตผู้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นคือ การมีมุมมอง ความเข้าใจในเรื่องธุรกิจที่ผสมผสานกับเรื่องวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

เพระใครก็รู้ว่พระจอมเกล้ดกระบังเป็นผู้นำ ด้นเทคโนโลยี ท่นอธิกรก็ให้นำมผสมผสนกับบริหร จึงต้องผลักดันให้มีหลักสูตร 4+1 กับคณะวิศวกรรมศสตร์ วิศวะต้องมี Mindset เรื่องบริหรธุรกิจเทคโนโลยี

ตัวอย่างที่ ดร.สุดาพร ยกขึ้นมา คือเรื่องปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เป็นข่าวทางสื่อต่างๆ ว่าจะมาแย่งงานของมนุษย์ แต่ สำหรับนักศึกษาของ FAM แล้ว เรสร้งคนให้ประดิษฐ์ AI เรสร้งคนให้ทำงนร่วมกับ AI นี่คืออัตลักษณ์ของ สจล. เพระฉะนั้นสิ่งนี้ คือสิ่งที่ สจล. ทำอยู่แล้ว วิธีกรประเมินผล และวัดผลในรยวิชออนไลน์ อรย์ก็บอกว่ใช้ระบบ Computer Base AI Base สิ่งเหล่?นี้ก็ต้องคิดมกคน  คนของเรจะมีควมรู้ในกรจัดกร AI และยิ่งถ้เขา จบปริญญตรีสใดก็ได้มเรียนต่อยอดบริหรปริญญโท  ปริญญเอก ก็จะได้อัตลักษณ์นี้ออกไป เพระรยวิชต่งๆ ในหลักสูตรจะสะท้อนให้เรเกิดสติปัญญที่จะสั่งสม เรื่องเหล่นี้ไปควบคู่กับกรบริหร”

การสร้างคนรุ่นใหม่ให้กับโลกของ FAM จึงต้องเตรียมความ พร้อมในด้านต่างๆ ตามที่คณบดีได้อธิบายมาข้างต้น ขณะเดียวกัน ก็เพิ่มเติมด้วยการสร้างสมความเป็นนานาชาติให้กับสถาบัน เพิ่มขึ้นด้วยการเตรียมการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติปี และ 2-3 ครั้ง โดยตั้งใจจะเชิญนักวิชาการจากทั่วโลกมาเพื่อ ยกระดับมาตรฐานความเป็นนานาชาติของคณะ พร้อมกันก็มี แผนจะพัฒนาวารสารวิชาการภาษาอังกฤษขึ้นมาอีกหนึ่งฉบับ

เพื่อยกระดับมาตรฐานงานวิชาการของ คณะ ให้สามารถถูกบรรจุเข้าไปอยู่ใน ฐานข้อมูลทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับ ในระดับโลกได้ ซึ่งจะเป็นเครื่องยืนยัน คุณภาพมาตรฐานของบัณฑิต มหาบัณฑิต  และคณาจารย์ของคณะ

แผนงานทั้งหมดจะผลักดันโดย โครงสร้างการบริหารจัดการที่ใช้รูปแบบ เดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก คือ แบ่งการบริหารจัดการเป็น 2 สาย สายหนึ่งคือ สายวิชาการ และอีกทางคือ สายบริหารจัดการ ที่ดูแลเรื่องแผนงาน อาคารสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ

จะต้องเริ่มจกตรงนี้ก่อน แล้ว ข้อมูลก็จะไปในทิศทงเดียวกัน” ดร.สุดาพรกล่าวและอธิบายต่อว่า เรต้องจัดกองทัพเรให้ดี อรย์ก็ จะคุยแค่สองคนให้นโยบยไป ต่งประเทศเขทำแบบนี้ถึงไม่มีภพงน ช้า ไม่มีควมขัดแย้ง และข้อมูลอยู่ เป็นกลุ่มเป็นก้อนกระชับ ก่อนจะทำ แบบนี้ได้ ควมคิดอรย์ต้องเปลี่ยน แต่ก่อนผู้บริหรอยู่ลอยๆ ทำตมที่ คณบดีบอก แต่ตอนนี้ ท่นต้องทำตัว เหมือนเป็นคณบดีอีกคน เหมือนเรมี คณบดี 3 คน อรย์ก็ทำงนในเชิง พัฒนได้มกขึ้น ไม่ต้องมนั่งคิดเรื่อง ยิบย่อยเป็นลักษณะงนที่มหวิทยลัย ชั้นนำเขทำ คนทำงนมกขึ้นและ ทำงนเป็นทีม ทีมเวิร์กสำคัญมก  ทุกคนคือทีม ไม่ได้เก่งคนเดียว” ซึ่งทั้งหมดนั้นก็เพื่อเป้าหมายดังที่ ดร.สุดาพร กล่าวในงานรับรางวัล Thailand Leadership Award 2019 ว่า

We develop people, people develop country


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Friday, 08 July 2022 11:44
X

Right Click

No right click