×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมแกร่งธุรกิจในประเทศไทยที่มีอย่างยาวนาน พร้อมสนับสนุนทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2021

หัวเว่ยจัดงานประชุมสุดยอด Huawei Global Analyst Summit (HAS) ครั้งที่ 17 ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน

กรุงเทพฯ/ 2 มีนาคม 2563 – บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ส์ จำกัด ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของโลก ครองอันดับ 5 ของบริษัทที่ทุ่มงบประมาณในด้านการวิจัยและพัฒนามากที่สุดของโลก ตามข้อมูลของ 2019 EU Industrial R&D Investment Scoreboard ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง ซึ่งการศึกษานี้จัดทำโดยคณะกรรมาธิการยุโรป

หัวเว่ยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะบริษัทที่ทุ่มเทเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละปีบริษัทจะทุ่มรายได้จากยอดขายราวร้อยละ 10 – 15 ไปกับงานด้าน R&D โดยเฉพาะ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทได้ใช้งบราว 70,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 2.2 ล้านล้านบาท) ไปในด้านวิจัยและพัฒนา และได้เริ่มดำเนินการวิจัยเทคโนโลยี 5G ตั้งแต่ปี 2552 ด้วยการลงทุนงบกว่า 4,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ราว 12.7 หมื่นล้านบาท)

ในขณะที่ทั่วโลกเริ่มเปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ มร. เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหัวเว่ย ได้เปิดเผยเมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า บริษัทได้เริ่มศึกษาพัฒนาเทคโนโลยี 6G แล้ว ซึ่งจะมอบความเร็วที่สูงกว่า 5G ถึง 100 เท่า “ความจริงแล้วเราพัฒนา 5G และ 6G ไปพร้อม ๆ กัน โดยเราเริ่มงานวิจัย ด้าน 6G มานานแล้ว” มร. เหริน กล่าว “แต่ตอนนี้ยังเป็นแค่เฟสแรก ๆ และเราก็คิดว่าการใช้งาน 6G เชิงพาณิชย์ยังต้องรอไปอีกประมาณ 10 ปี” เขาอธิบาย

ปัจจุบันหัวเว่ยเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี 5G ร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกเพื่อมอบบริการที่ครอบคลุมและครบวงจรมากขึ้น บริษัทเปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าได้ลงนามในสัญญา 5G เชิงพาณิชย์ไปแล้วกว่า 90 ฉบับทั่ว

เซินเจิ้นจีน, 11 กุมภาพันธ์ 2563 – บริษัทหัวเว่ยประกาศว่าได้ดำเนินการยื่นฟ้องบริษัทเวอไรซอน (Verizon) บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของสหรัฐฯ ด้วยข้อหาละเมิดสิทธิบัตร ที่ศาลแขวงแห่งสหรัฐอเมริกาประจำแขวงตะวันออกและตะวันตกรัฐเทกซัส โดยหัวเว่ยเรียกร้องเงินชดเชยกรณีที่เวอไรซอนใช้เทคโนโลยีจดสิทธิบัตรและได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิบัตรของหัวเว่ยในสหรัฐอเมริกา 12 รายการ

ดร. ซ่ง หลิ่วผิง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของหัวเว่ย ระบุว่า “ผลิตภัณฑ์และบริการของเวอไรซอนได้ผลประโยชน์จากเทคโนโลยีจดสิทธิบัตร ซึ่งเป็นผลงานที่หัวเว่ยใช้เวลาหลายปีทุ่มเทวิจัยและพัฒนา"

ในฐานะผู้ให้บริการสมาร์ทดีไวซ์และอุปกรณ์การสื่อสารชั้นนำ หัวเว่ยลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยงบประมาณร้อยละ 10-15 ของรายได้ต่อปี ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา บริษัททุ่มงบประมาณให้กับการวิจัยและพัฒนาไปมากกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.18 ล้านล้านบาท) ซึ่งให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นการยื่นจดสิทธิบัตรมากกว่า 80,000 รายการทั่วโลก และในจำนวนนี้มีสิทธิบัตรที่ยื่นจดในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวมากถึง 10,000 รายการ นวัตกรรมเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่เสาหลักแห่งความสำเร็จของหัวเว่ยแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ทว่ายังถูกนำไปใช้งานโดยบริษัทต่างๆ ทั่วโลก สร้างมูลค่าทั้งในสหรัฐฯ และในที่ต่างๆ มากมาย

ก่อนจะยื่นฟ้องในรัฐเทกซัส หัวเว่ยเคยเจรจากับเวอไรซอนมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งในช่วงเวลานั้น หัวเว่ยได้แจ้งรายละเอียดของสิทธิบัตรและหลักฐานข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ระบุว่าเวอไรซอนใช้สิทธิบัตรของหัวเว่ยแล้ว แต่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิได้

“เราลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาไปอย่างมหาศาลก็เพราะว่าเราต้องการจะมอบโซลูชันด้านโทรคมนาคมที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ให้กับลูกค้าของเรา เราแบ่งปันนวัตกรรมเหล่านี้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในวงกว้างผ่านสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ” ดร.ซ่ง กล่าว

“ตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน เราประสบความสำเร็จในการเจรจาสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรกับบริษัทหลายแห่ง แต่เมื่อไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ เราก็ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากการชดใช้ตามกฎหมาย”

“นี่เป็นวิถีปฏิบัติทั่วไปของแวดวงอุตสาหกรรมนี้ หัวเว่ยเพียงขอให้เวอไรซอนเคารพการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ย โดยจะชำระเป็นค่าใช้งานสิทธิบัตรของเราก็ได้ หรือจะเลิกใช้สิ่งที่เป็นสิทธิบัตรของเราในผลิตภัณฑ์และบริการของเวอไรซอนก็ย่อมได้”

หัวเว่ยเคารพและปกป้องลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา สนับสนุนการแบ่งปันเทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรอย่างถูกต้องตามกฎหมายผ่านสัญญาสิทธิบัตรแบบแลกเปลี่ยน (cross-license) หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแบบชำระเงิน (paid license agreements) ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา หัวเว่ยมีส่วนร่วมกับการเจรจาสิทธิบัตรแบบแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวางกับผู้ถือสิทธิบัตรรายใหญ่หลายรายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกับผู้ค้ารายใหญ่ในแวดวงไอซีทีมาแล้วมากกว่า 100 ฉบับ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา หัวเว่ยได้รับค่าธรรมเนียมสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรเป็นมูลค่ามากกว่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 43,736 ล้านบาท) และในปัจจุบัน หัวเว่ยยังคงชำระเงินเป็นมูลค่ามากกว่า 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 187,440 ล้านบาท) เพื่อใช้เทคโนโลยีที่ถือสิทธิบัตรโดยบริษัทร่วมแวดวงอุตสาหกรรมอย่างถูกกฎหมาย โดยร้อยละ 80 ของค่าธรรมเนียมสิทธิบัตรดังกล่าวถูกจ่ายให้กับบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

นวัตกรรมและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาคือเสาหลักแห่งความสำเร็จของหัวเว่ย ในปี 2018 ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ยพุ่งแตะ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 468,600 ล้านบาท) เกือบเทียบได้กับ ร้อยละ 15 ของรายได้ต่อปีของบริษัท ชื่อหัวเว่ยจึงขึ้นมาเป็นอันดับที่ ของกระดานคะแนนอุตสาหกรรมและ    การลงทุนแห่งสหภาพยุโรป ปี 2019 (2019 EU Industrial R&D Investment Scoreboard) ซึ่งเผยแพร่โดยคณะกรรมาธิการยุโรป

หัวเว่ยยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เดินหน้าแบ่งปันความสำเร็จชั้นนำทางด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ยกับ  แวดวงอุตสาหกรรมและสังคมในภาพรวม ซึ่งรวมทั้งบริษัทและผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา เพราะการแบ่งปันนวัตกรรมออกสู่วงกว้างนั้นยิ่งผลักดันทั้งอุตสาหกรรมให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน

มร. เคน หู รองประธานบริหาร หัวเว่ย ได้ขึ้นกล่าวถึง สถานะปัจจุบันของการพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วโลก ในงาน Global Mobile Broadband Forum ครั้งที่ 10 ซึ่งเปิดฉากขึ้น ณ เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวานนี้ (15 ตุลาคม 2562) นอกจากการเน้นย้ำถึงประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ที่มีต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศที่ได้ริเริ่มการใช้โครงข่าย 5G กันแล้ว มร. เคน หู ยังกล่าวถึงความสำคัญของนโยบายและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่จะเอื้อต่อการเร่งพัฒนาเครือข่าย 5G ในขั้นต่อไป

“เราได้ขับเคลื่อนจนเกิดความก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จาก 5G ได้สูงสุด เราต้องร่วมมือกันเพื่อพิชิตความท้าทายต่างๆ ที่รอเราอยู่เบื้องหน้า ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่ แหล่งทรัพยากรต่างๆ รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เครือข่าย 5G ไม่เพียงแต่เร็วกว่า 4G แต่จะมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของเราที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น ในฐานะผู้ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม เราจำเป็นต้องมีวิธีคิดที่สดใหม่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต” มร. เคน หู กล่าว

ทั่วโลกเดินหน้า 5G เต็มกำลัง

เพียงเวลาไม่ถึงหนึ่งปีหลังจากที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานขึ้นมาอย่างชัดเจน ได้เกิดการใช้งานเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง ซึ่งมีความเร็วกว่า 4G อย่างมาก ผู้ให้บริการเครือข่ายในกว่า 20 ประเทศ ได้เปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ รวมกว่า 40 เครือข่าย ภายในปลายปีนี้ คาดว่าจะมีเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีกเป็น 60 ราย

5G เปิดประสบการณ์ที่เหนือกว่าให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสความเร็วสูงสุด โดยเกาหลีใต้เป็นประเทศแรกที่เปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ และตอนนี้มีผู้ใช้งานมากกว่า 3.5 ล้านรายสมัครใช้งานเครือข่าย 5G กับผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศ ภายในช่วงเวลาเพียงไม่ถึงหกเดือน อัตราการเติบโตดังกล่าวมีผลมาจากบริการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น AR/VR ที่ใช้เทคโนโลยี 5G และการถ่ายทอดสดกีฬาด้วยภาพคมชัดระดับเอชดีแบบ 360º บริการทั้ง 3 รูปแบบนี้ทำให้ผู้ใช้งาน 5G กลุ่มแรกเริ่มใช้ปริมาณดาต้าเพิ่มขึ้นถึง 1.3 กิ๊กกะไบท์ต่อเดือน

 

นอกจากปริมาณการใช้ดาต้าที่เติบโตเพิ่มขึ้น ผู้ให้บริการเครือข่ายรายต่างๆ ยังมีช่องทางรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น LG U+ ผู้ให้บริการเครือข่ายในเกาหลีใต้ได้เปิดตัวบริการด้าน VR/AR ซึ่งรวมอยู่ในแพ็กเกจดาต้า 5Gแบบพรีเมียม และในช่วงเวลาเพียงสามเดือนหลังการเปิดให้บริการ 5G สัดส่วนผู้ใช้งานแพ็กเกจดาต้าแบบพรีเมียมเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 3.1% เป็น 5.3%

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอื่นๆ ยังสร้างมูลค่าทางธุรกิจใหม่ๆ จากการเริ่มใช้งาน 5G ในระดับอุตสาหกรรม โดย มร. เคน หู กล่าวว่า “แอพพลิเคชั่น 5G เพื่อช่วยยกระดับทั้งด้านการสื่อสารความเร็วสูงบนโทรศัพท์มือถือ ด้านบันเทิง และด้านการผลิต ซึ่งได้เริ่มใช้งานกันไปบ้างแล้ว แม้เรายังบอกไม่ได้ว่าแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นไปในรูปแบบใด ในอนาคต แต่ขณะนี้เราได้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าทุกอุตสาหกรรมต่างได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G”

 นโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนาคลื่นความถี่และไซท์กระจายสัญญาณ

มร. เคน หู ให้ข้อสังเกตว่า แหล่งจ่ายและต้นทุนของคลื่นความถี่เป็นสองความท้าทายหลักที่เรากำลังเผชิญ “เราหวังว่าภาครัฐจะสามารถจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ให้มากขึ้นและพิจารณารูปแบบการตั้งราคาที่มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม เพราะจะช่วยลดภาระรายจ่ายลงทุนเบื้องต้นให้แก่ผู้ให้บริการเครือข่ายได้”

นอกจากนี้ มร. เคน หู ยังเสนอแนะให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มวางแผนที่จะตอบรับความต้องการในคลื่นความถี่ใหม่ให้ครอบคลุมภายใน 5-10 ปีข้างหน้านี้ พร้อมชี้ว่า คลื่นความถี่ในช่วง 6GHz เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

“อุตสาหกรรมของเราต้องการการสนับสนุนด้านทรัพยากรของไซท์สัญญาณเพิ่มขึ้นด้วย ปัจจุบัน ต้นทุนยังสูงอยู่มาก ในขณะที่ไซท์สัญญาณไม่เพียงพอกับความต้องการเสมอ หน่วยงานกำกับดูแลควรริเริ่มและส่งเสริมให้มีการเปิดให้ใช้โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะในรูปแบบของการแบ่งปัน รวมถึงออกแนวทางสำหรับการก่อสร้างไซท์สัญญาณ” มร. เคน หู กล่าวต่อ

 มหานครเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองตัวอย่างที่รัฐบาลได้สร้างเสาไฟฟ้าอเนกประสงค์มาตรฐานใหม่ ภายในปี 2020 เซี่ยงไฮ้จะติดตั้งเสาไฟฟ้ารูปแบบใหม่นี้ตลอดระยะทาง 500 กิโลเมตรของถนนสาธารณะ เพื่อเพิ่มแหล่งจ่ายสัญญาณ 5G อีก 30,000 แห่ง คิดเป็น 75% ของสถานีกระจายสัญญาณไร้สายทั่วเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ส่วนในยุโรป กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายโดยตรง เพื่อกำหนดความต้องการและระบุข้อบังคับในการใช้แหล่งจ่าย 5G และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะร่วมกัน (เช่น ไฟจราจร ป้ายจราจร และป้ายรถเมล์) เพื่อลดต้นทุนให้ทุกภาคส่วนด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้ร่วมกันได้

ขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

มร. เคน หู กล่าวปิดท้ายด้วยการเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เรายังมีความท้าทายในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองก์ความรู้ของภาคอุตสาหกรรมแบบเดียวกันในแนวดิ่ง กรณีศึกษาตัวอย่าง และการพัฒนาให้สามารถทำเป็นธุรกิจได้ เราจึงจำเป็นต้องร่วมมือร่วมแรงกัน ด้วยการเปิดใจ ทำงานร่วมกันกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อหาปัญหาที่แท้จริงและค้นหาว่าอะไรที่ได้ผลหรือไม่ได้ผล ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถใช้ศักยภาพของ 5G ได้สูงสุด”

ในการส่งเสริมนวัตกรรมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนและความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่กว้างขวางขึ้น หัวเว่ยได้เปิดศูนย์นวัตกรรมความร่วมมือ 5G สำหรับยุโรปเป็นแห่งแรกในเมืองซูริค ศูนย์นี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและซันไรส์ ซึ่งนับเป็นแพลตฟอร์มนวัตกรรมที่ช่วยให้ทั้งสองบริษัทสามารถทำงานร่วมกันและพัฒนาโซลูชั่น 5G เฉพาะทางสำหรับภาคอุตสาหกรรม

“เห็นได้ชัดว่าแต่ละประเทศมีจุดแข็งทางเศรษฐกิจของตัวเอง ซึ่งเป็นขอบเขตที่เราสามารถนำเทคโนโลยี 5G เข้าไปเสริมโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อเป็นการต่อยอดความสามารถในการแข่งขันของประเทศนั้นๆ ” มร. เคน หู กล่าวสรุป

สำหรับงาน Global Mobile Broadband Forum ในปีนี้ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน จากผู้ให้บริการเครือข่าย อุตสาหกรรมแบบเดียวกันในแนวดิ่ง บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ องค์กรที่กำหนดมาตรฐานต่างๆ หน่วยงานวิเคราะห์การตลาด และสื่อมวลชน โดยมีการจัดแสดงเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G โซลูชั่นเชิงพาณิชย์ รวมถึงการใช้ 5G ในระดับผู้บริโภค ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมบริการคลาวด์ AR/VR ผ่าน 5G การถ่ายทอดสัญญาณภาพบนความละเอียด 8K การเล่นเกมผ่านคลาวด์ แมชชีนวิชั่น และโซลูชั่นที่ใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อการควบคุมทางไกล

X

Right Click

No right click