November 21, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

ทำไมต้องถ่านหิน + ภาคใต้

July 12, 2018 2690

โรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่กลายเป็นหนึ่งในประเด็นร้อนของสังคม ที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง หลังมีมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่

ซึ่งก่อให้เกิดความคิดเห็นที่หลากหลาย ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว รวมไปถึงยังมีคำถามจากสังคมในหลายประเด็น โดยเฉพาะคำถามที่มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางพลังงานและสถานการณ์ไฟฟ้าของประเทศ

ทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้า
จากสถิติการใช้ไฟฟ้าจริงย้อนในช่วงปี 2512–2559 (รูปที่ 1) จะพบว่ามีการเติบโตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4–5 โดยในปี 2559 ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศอยู่ที่ 29,618.80 เมกะวัตต์1 ในขณะที่กำลังผลิตไฟฟ้ารวมของประเทศ ณ สิ้นปี 2558 อยู่ที่ 36,171 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันยังสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศได้แต่การดำเนินนโยบายทางพลังงานของประเทศนั้นจะต้องมีการเตรียมการให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการ (ปัจจุบันพิจารณาครอบคลุมระยะเวลา 20 ปี) โดยแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558–2579 (PDP 2015) คาด- การณ์ว่าในปี 2579 ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของประเทศจะอยู่ที่ 49,655 เมกะวัตต์ จึงต้องมีการพิจารณาเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไปที่ 70,355 เมกะวัตต์2 ณ สิ้นปี 2579 โดยมีเป้าหมายให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 153 ซึ่งประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาแหล่งผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ไฟฟ้าดังที่กล่าวมา

โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ควรตั้งอยู่ในพื้นที่ใด
ภูมิภาคที่น่าเป็นห่วงในด้านพลังงานไฟฟ้าเรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) เขตนครหลวง 2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ภาคใต้ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหงสาลิกไนต์ ใน สปป.ลาว ส่วนในเขตนครหลวงนั้นสามารถเชื่อมต่อโดยตรงกับภาคเหนือและภาคกลางรวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นภาคใต้จึงอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วงที่สุดเพราะเชื่อมต่อกับภาคกลาง (ฝั่งตะวันตก) ได้เพียงภูมิภาคเดียว ดังเช่นเหตุการณ์ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ซึ่งมีการซ่อมบำรุงสายส่ง 1 เส้น แต่กลับเกิดฟ้าผ่าสายส่งอีก 1 เส้น ส่งผลให้เกิดให้ไฟฟ้าดับหลายชั่วโมงในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ การพิจารณาหาแหล่งผลิตไฟฟ้าเพิ่มในพื้นที่ภาคใต้จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วน

ชนิดของเชื้อเพลิงที่จะใช้ในการผลิตไฟฟ้า
เมื่อพิจารณาเหตุผลด้านความมั่นคงทางพลังงานแล้วจะพบว่าประเทศไทยในปัจจุบัน4 มีการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติสูงถึงร้อยละ 63.2 (รูปที่ 3) ซึ่งมีความแตกต่างจากสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยของโลก5 ที่มีสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าที่ใกล้เคียงกัน จึงส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในด้านความมั่นคงทางพลังงานและปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น การเลือกใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าต่อไปจึงทำให้เกิดความไม่สมดุลในการกระจายชนิดเชื้อเพลิงของประเทศ และทำให้เกิดความเสี่ยงเนื่องจากการพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียวในการผลิตไฟฟ้า
ดังนั้น ชนิดของเชื้อเพลิงที่เหมาะสมในการผลิตไฟฟ้า จึงเหลือเพียงเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เทคโนโลยีถ่านหิน และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ อย่างไรก็ตามการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ยังมีประเด็นทางด้านความพร้อมและการจัดการความปลอดภัย หรือในส่วนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนก็ยังจำกัดอยู่ที่โรงไฟฟ้าขนาดเล็กถึงเล็กมาก จึงเป็นเหตุผลให้ภาครัฐเลือกที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ตามที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง ทั้งนี้หากมีความจำเป็นจะต้องก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ภาคใต้ตามแผน PDP 2015 สิ่งสำคัญที่คนไทยควรจะต้องรับรู้ก็คือ ข้อเท็จจริงทางวิชาการในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับถ่านหิน (ความสะอาดและมวลสาร-เจือปน) รวมถึงต้องส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านการนำถ่านหินมาใช้งานอย่างปลอดภัยและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

 

เรื่องโดย : รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Wednesday, 02 October 2019 11:45
X

Right Click

No right click