ทรูบิสิเนส ผู้นำบริการสื่อสารและดิจิทัลโซลูชันครบวงจรสำหรับลูกค้าธุรกิจ ร่วมมือกับ อินโฟบิป ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการสื่อสารบนระบบคลาวด์ระดับโลก เปิดตัว “True CPaaS” (True Communications Platform as a Service) โซลูชันอัจฉริยะที่ใช้ AI ช่วยภาคธุรกิจจัดการทุกช่องทางสื่อสารกับลูกค้าแบบครบวงจร ยกระดับประสบการณ์ดิจิทัลของผู้บริโภคชาวไทย

เปลี่ยนความยุ่งยาก ซับซ้อน ในการบริหารการสื่อสารแบบ Omni-Channel และสร้างความสัมพันธ์ได้ต่อเนื่องตลอดการเดินทางของลูกค้า (customer journey) ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว พร้อมนำ AI เสริมการทำงานของแพลตฟอร์ม มอบประสบการณ์ให้กับลูกค้าเฉพาะบุคคล โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าและการสื่อสารแบบอัตโนมัติ พร้อมตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันทีและตลอดเวลา ครอบคลุมทั้งการตลาด การขาย และบริการ เหมาะกับองค์กรธุรกิจทุกขนาดในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ การเงิน ประกันภัย ค้าปลีก ค้าขายออนไลน์ ท่องเที่ยว และสุขภาพ เริ่มต้นใช้งานได้ทันทีหลังสมัครใช้บริการ ด้วยบริการในรูปแบบ as-a-service ที่ยืดหยุ่นได้ สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการใช้งานและรองรับการขยายตัวของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและมีความปลอดภัยของข้อมูลขั้นสูง

นายฮาว ริ เร็น หัวหน้าสายงานการพาณิชย์ พันธมิตรเชิงกลยุทธ์และเทเลคอม-เทค บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ทรูบิสิเนส พัฒนาโซลูชันเพื่อการสื่อสารสำหรับลูกค้าธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้เข้าใจความต้องการขององค์กรธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตามพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่องค์กรธุรกิจต้องการเครื่องมือด้านการสื่อสารที่ไม่เพียงแค่ช่วยจัดการสื่อสารหลากรูปแบบในหลายช่องทางเท่านั้น แต่ยังต้องเสริมความสัมพันธ์อันดีให้กับ แบรนด์ด้วย เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดตลอดการเดินทางของลูกค้า ทรูบิสิเนส จึงร่วมมือกับ อินโฟบิป เปิดให้บริการ “True CPaaS” โซลูชันอัจฉริยะที่ใช้ AI ช่วยภาคธุรกิจจัดการทุกช่องทางสื่อสารกับลูกค้าแบบครบวงจรบนแพลตฟอร์มเดียว เชื่อมโยงการสื่อสารในรูปแบบ Omni-Channel อย่างไร้รอยต่อ ทั้ง การโทร SMS MMS อีเมล์ การแจ้งเตือนผ่านเว็ป การส่งข้อความในแอปพลิเคชัน แชตและโซเชียลมีเดีย ยกระดับประสบการณ์และสร้างความประทับใจลูกค้าเฉพาะบุคคล ผสานศักยภาพ AI ช่วยเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพด้านการสื่อสาร นำไปสู่การเพิ่มยอดขายและโอกาสสำเร็จของแคมเปญการตลาดต่างๆ ตลอดจนลดต้นทุนการสื่อสารที่ซ้ำซ้อน โดยองค์กรธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมสามารถใช้โซลูชันนี้ได้ง่ายๆ ด้วยโมเดลบริการแบบ as-a-service

 

นายโจฮัน เจนเซ่น หัวหน้าระดับภูมิภาคด้านการเติบโตธุรกิจโทรคมนาคม บริษัท อินโฟบิป (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับทรูครั้งนี้ ถือเป็นการปฏิวัติวงการตลาดไทย ด้วยการเปิดตัวโซลูชันการสื่อสารบนคลาวด์ขั้นสูง ช่วยยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยเรามุ่งหวังว่าให้ความร่วมมือครั้งนี้ ส่งผลให้องค์กรธุรกิจขับเคลื่อนไปข้างหน้าพร้อมทรานสฟอร์มองค์กรสู่ยุคดิจิทัล ตลอดจนสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า ช่วยให้ธุรกิจสามารถยกระดับการมีส่วนร่วมกับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งการเดินทางของลูกค้า (customer journey) ด้วยการส่งข้อความที่ตรงใจ ผ่านโซลูชันที่ดีที่สุด

True CPaaS ครอบคลุมทุกช่องทางการสื่อสารในแพลตฟอร์มเดียว มาพร้อม 3 จุดเด่น ได้แก่ 1) personalized conversational experience มอบประสบการณ์การสื่อสารระหว่างองค์กรธุรกิจกับลูกค้าที่ออกแบบเฉพาะบุคคล 2) automated & always-on communication - การสื่อสารกับลูกค้าแบบอัตโนมัติ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันทีและตลอดเวลา 3) empowered customer insight data - เก็บรวบรวมและจัดการข้อมูลลูกค้าในเชิงลึก เพื่อนำมาปรับเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร นอกจากนี้ True CPaaS ยังสามารถผสานกับระบบการทำงานขององค์กรทั้งระบบ CRM และ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น Microsoft Dynamics 365, Service Now, Oracle Responsys, Adobe Commerce, HubSpot และ Meta เพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการประสบการณ์ของลูกค้าตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มจากทีมการตลาดจะเห็นถึงความต้องการของลูกค้า สามารถออกแบบและนำเสนอสินค้าและโปรโมชันตามช่องทางการสื่อสารได้ตรงความสนใจของลูกค้า ซึ่งจะทำการขายผ่านหลากหลายช่องทาง ทั้งกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ, การพูดคุยโต้ตอบ หลังจากนั้นลูกค้าสามารถได้รับบริการจากแชตบอตและเจ้าหน้าที่บริการลูกค้า โดยประวัติการสนทนาและข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บรวบรวมไว้เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับธุรกิจ

สำหรับองค์กรธุรกิจที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://truebusiness.info/TrueCPaaS หรือ ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ โทร. 1239

ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดงานสัมมนา “Digital Marketing Trends 2024 เจาะลึก AI ช่วยการตลาดธุรกิจ SME” ณ ศูนย์ฝึกอบรมตะวันรอน จ.ชลบุรี เพื่อสานต่อภารกิจเสริมแกร่งเอสเอ็มอีด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า กลุ่ม ลูกค้า Supply chain ให้เริ่มเตรียมพร้อมปรับตัวใช้นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยธุรกิจ SME พร้อมกับแนะเคล็ดลับการเลือกใช้ AI อย่างเหมาะสมและทันสถานการณ์ ตอบสนองความสนใจของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ ขยายโอกาสในการเพิ่มยอดขายให้ปัง และสร้างแต้มต่อในการแข่งขัน โดยมี นางกนกวรรณ ใจศรี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน SME Upcountry 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้การต้อนรับ

ภายในงานสัมมนา ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร่วมรับฟังการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญที่มาวิเคราะห์เจาะลึกภาพรวมธุรกิจในปีนี้ จาก นางสาวชญานิศ สมสุข และ นางสาววรรณโกมล สุภาชาติ นักวิเคราะห์ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ในหัวข้อ “เจาะลึก Trends ธุรกิจในปี 2024” พร้อมทั้งเรียนรู้การตลาดดิจิทัลและการใช้ AI ช่วยในเรื่องการตลาดเพื่อให้ธุรกิจไปได้ในยุคปัจจุบัน จาก ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และการใช้เครื่องมือ AI ด้าน Digital Marketing เพิ่มยอดขายอย่างไรให้ปัง จาก นายชนกานต์ ชินชัชวาล CEO และ Founder บริษัท โรโบลิงโก้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ AI Chatbot และ Automation Platform สำหรับการตลาดใน Social Media นายอดิศักดิ์ จิระกิตติดุลย์ Business Development Manager บริษัท ช็อคโก้ คาร์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้าน CRM และการตลาดดิจิทัล นอกจากนี้ยังได้รับฟังประสบการณ์ตรงจาก ดร.พงศ์ศักดิ์ ตฤณธวัช Head of Robinhood Academy บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ที่มาบอกเล่ากรณีศึกษา แบรนด์ที่ใช้ Digital Marketing จนประสบความสำเร็จ

DDPAI แบรนด์กล้องติดรถยนต์ชั้นนำ เปิดตัวสองรุ่นล่าสุด N5 Dual และ RANGER Riding ที่มีการนำเทคโนโลยี AI ขั้นสูงเข้ามาพัฒนาฟังก์ชันการใช้งานในทั้งสองรุ่น ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของแบรนด์ในการยกระดับประสบการณ์การขับขี่ที่ปลอดภัยภายใต้แนวคิด "Discover Freely, Capture Lightly" ด้วยการบันทึกภาพและวิดีโอทุกช่วงเวลาบนท้องถนนได้อย่างคมชัดและแม่นยำ

 

DDPAI รุ่น “N5 Dual” มีความละเอียดภาพคมชัดระดับ 4K และสามารถบันทึกภาพได้ครอบคุลมทุกมุมด้วยกล้องด้านหน้า (4K) และด้านหลัง (1080P) มาพร้อมเทคโนโลยี NightVIS ที่ช่วยให้สามารถบันทึกภาพทุกสถานการณ์ได้อย่างคมชัดแม้อยู่ในสถานที่แสงน้อย และยังมีโหมดการจอดรถด้วยเรดาร์คลื่นมิลลิเมตรที่ทำงานด้วยระบบ AI ซึ่งจะตรวจจับสภาพแวดล้อมรอบรถโดยใช้พลังงานน้อยที่สุด ลดการใช้พลังงานลงถึง 87% เมื่อเทียบกับการบันทึกแบบไทม์แลปส์ และสามารถบันทึกได้นานสูงสุด 15 วัน เสริมด้วยระบบ GPS สำหรับการติดตามตำแหน่งที่แม่นยำเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ รวมทั้งมีพื้นที่เก็บข้อมูลที่มีหน่วยความจำคู่ eMMC 32GB และรองรับ MicroSD ได้สูงสุดถึง 512GB นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีบลูทูธที่สามารถเชื่อมต่อกับแอป DDPAI ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

DDPAI ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการใช้งานอย่างครอบคลุม จากตลาดผู้ใช้รถยนต์สู่ตลาดผู้ขับขี่จักรยานยนต์ ด้วยการเปิดตัว “RANGER Riding Camera” กล้องติดรถจักรยานยนต์คุณภาพสูงที่สามารถบันทึกภาพได้คมชัดด้วยมุมมองกว้าง 150° ในความละเอียดระดับ 4K พร้อมหน้าจอระบบสัมผัสขนาด 1.3 นิ้ว รวมถึงเซ็นเซอร์ที่แม่นยำและระบบ AI ที่ทันสมัย สามารถบันทึกข้อมูลการขับขี่ได้อย่างครอบคลุมทั้งความเร็ว ระยะเวลา เข็มทิศ ความลาดชัน และเส้นทาง พร้อมชิป AI-ISP ขั้นสูงที่ DDPAI นำมาใช้ในกล้องรุ่นนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี Realcube และ NightVIS ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของภาพในสภาพย้อนแสงหรือแสงน้อย

 

RANGER Riding Camera รุ่นนี้ยังได้รับการออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา และใช้งานง่ายเพื่อผู้ขับขี่จักรยานยนต์โดยเฉพาะ พร้อมระบบป้องกันการสั่นแบบ Triple Ride เทคโนโลยีป้องกันภาพสั่นไหว D-Flow ปรับแต่งพิเศษเพื่อลดความผิดเพี้ยนของมุมกว้างในขณะขับ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ให้กับผู้ใช้งาน

นายอรรจน์ อังศุธนาธาร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เอสเอชดี เทคโนโลยี จํากัด กล่าวว่า “ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของแบรนด์ DDPAI ที่ได้เปิดตัวในประเทศไทยอย่างเป็นทางการโดย DDPAI นั้น มีประสบการณ์ในตลาดกล้องติดรถยนต์มายาวนานกว่า 11 ปี มุ่งเน้นในการคิดค้นนวัตกรรมเกี่ยวกับยานยนต์เป็นหลัก และมีการพัฒนาเทคโนโลยีเชื่อมต่ออุปกรณ์ของ DDPAI ผ่านแพลตฟอร์ม AloT และเทคโนโลยี 4G ทำให้สามารถใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบายด้วยฟังก์ชันต่างๆผ่านโทรศัพท์มือถือ ยานพาหนะ และบ้าน ซึ่งในปัจจุบัน DDPAI ได้ขยายตลาดครอบคลุมไปกว่า 120 ประเทศทั่วโลก มีผู้ใช้งานมากกว่า 10 ล้านคน ร่วมถึงมีพันธมิตรคู่ค้ามากกว่า 10,000 รายทั่วโลก”

 

DDPAI N5 Dual เริ่มต้นในราคา 4,599 บาท และ RANGER Riding Camera เริ่มต้นในราคา 8,290 บาท

 

OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP ขอนำเสนอมุมมองในการเตรียมความพร้อมขององค์กรในการใช้ AI จาก คุณโชติวิทย์ จารุวรรณสถิต และ คุณบุญชัย รัตนพิเศษ สองผู้บริหารจากเดลล์ เทคโนโลยีส์ ที่มาร่วมกันแบ่งปันข้อมูลบนเวทีให้ความรู้ภายใต้หัวข้อ “Navigating AI Frontier” ซึ่ง ทีซีซี เทคโนโลยี (TCCtech) และเดลล์ เทคโนโลยีส์ (Dell Technologies) ร่วมกันจัดขึ้น โดยทั้งสองท่านเห็นพ้องกับประเด็นบนเวที World Economic Forum 2024 ในเรื่องการทำงานที่ต้องสอดประสานกันของทั้ง 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ M+A+D; Machine Learning, กระบวนการทำ Analytics และ Data ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลเป็นสิ่งที่ผลักดันให้เกิดการนำ AI มาใช้งาน บนแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่น ชาญฉลาด โดยที่ไม่สามารถละเลยข้อคำนึงในหลักการ AI TRiSM (Trust, Risk, and Security Management) และผสมผสานเทคโนโลยีที่เหมาะสม

 AI ส่งผลกระทบต่อทุกระดับ

ในยามที่ AI กำลังเข้ามามีอิทธิพลและแทรกซึมในองค์กรด้านใดด้านหนึ่งไม่มากก็น้อย หลักการของ “AI in Everything” ได้ถูกนำมาปรับใช้กับหลาย ๆ กระบวนการ เช่น Product Development, Sales Process, Training System, Post Sales Support การตระหนักว่า AI จะไม่ได้เข้ามาแทนที่แรงงาน แต่เป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ซึ่งยังต้องอาศัยประสบการณ์ ความเข้าใจ ที่พัฒนาเป็นองค์ความรู้ และมุมมองการตัดสินใจของทีมงาน ทำงานร่วมกันในลักษณะ “Human-Machine Interaction” เป็นการปูทางไปสู่ Digital Transformation ที่ประสบความสำเร็จ ตัวอย่างการทำงานร่วมกันในปัจจุบัน เช่น Software Development, Productivity Improvement, Knowledge Management ฯลฯ

แนวทางสำคัญสำหรับการนำ AI มาใช้ในระดับองค์กร

AI กำลังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่อนาคต องค์กรชั้นนำทั่วโลกต่างมุ่งนำ AI มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พัฒนาสินค้าและบริการ ตลอดจนสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหนือชั้น แต่การนำ AI มาใช้ในระดับองค์กรนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ คุณโชติวิทย์และคุณบุญชัย ได้เชื่อมโยง 2 แนวทางสำคัญที่ผนวกกับแนวคิดของ AI Maturity Index ดังนี้

1. การตระหนักรู้ในตนเองและความพร้อม

· ความสอดคล้องของการจัดการการกำกับดูแลข้อมูล (Compliance) ความพร้อมของบุคลากรด้วยทักษะที่เหมาะสม (People Skills Set) และการนำทางลำดับชั้นขององค์กร (Hierarchy) ถือเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญ

· การระบุเป้าหมายและปัญหาทางธุรกิจ (Business Use Case) และจัดลำดับความสำคัญของโครงการตามผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการต้นทุน การส่งเสริมความยั่งยืน หรือการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์อื่น ๆ

· การวัดผล การทดสอบความเป็นไปได้ และความคุ้มค่าของการลงทุน AI ผ่านตัวชี้วัดที่ชัดเจนและผลลัพธ์ที่จับต้องได้ถือเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณา

2. กระบวนการทำ Data Operation

· ร้อยละ 80 ของเวลาในการดำเนินงานด้านข้อมูล หมดไปกับขั้นตอนการแยก การแปลง และการถ่ายโอนข้อมูล (ETL) พร้อมทั้งจัดการกับข้อกังวลด้านความปลอดภัย กับการรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายรูปแบบและแหล่งที่มา

· การเลือกใช้โซลูชัน หรือ Software Ecosystem ที่ยืดหยุ่น เป็นแบบเปิดและปรับเปลี่ยนได้ (open-source and adaptable platforms) เริ่มต้นจากส่วนงานย่อย ๆ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายขนาด และจัดลำดับความสำคัญของมุมมองการจัดการด้านไอทีช่วยให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะราบรื่น

 แม้การนำ AI มาใช้ในองค์กรจะเต็มไปด้วยโอกาสและประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีความท้าทายและข้อควรพิจารณา หลายประการที่องค์กรต้องเผชิญ ได้แก่

· ความซับซ้อนและปริมาณข้อมูลที่ต้องการของ Deep Learning: การผสมผสานระหว่าง Data Lake และ Data Warehouse ไปสู่รูปแบบ “Data Lakehouse” ด้วยการจัดการแบบผสมผสาน (Hybrid Approach) โดยใช้ Data Lake เพื่อการจัดเก็บข้อมูลที่หลากหลาย ร่วมกับ Data Warehouse สำหรับข้อมูลที่มีโครงสร้างที่ใช้ในการรายงานและการวิเคราะห์

· IT infrastructure & Data Architecture: ทีมไอทีต้องมีการวางแผนและการจัดการที่ดี เพื่อเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ และ Architecture ที่เหมาะสมกับ Use Case ให้พร้อมรองรับความสามารถในการรัน AI Workloads โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ Large Language Models (LLMs) ที่ต้องใช้ GPU ที่มีประสิทธิภาพและพลังงาน รวมถึงการพิจารณาปรับใช้ On Premise, Cloud หรือในลักษณะ Hybrid ที่เหมาะสมกับธุรกิจ

เข็มทิศสู่ความสำเร็จในการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่

· AI Deployment Model สามารถเริ่มได้จากสิ่งใกล้ตัวและเทคโนโลยีภายในองค์กรที่พร้อมใช้งาน เพียงแค่อาศัยการเทรนเพิ่มเติมภายใต้องค์ความรู้เดิม

· เลือกใช้โซลูชันต่าง ๆ ที่เหมาะสม จากผู้ให้บริการมากมายที่ตอบโจทย์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

· ลงทุนในระบบที่ยืดหยุ่น คล่องตัวและปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งสามารถพัฒนาให้สอดรับกับความท้าทายที่ไม่หยุดนิ่ง

· วางแผนและจัดสรรการลงทุนการใช้ทรัพยากรให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

เมื่อได้เห็นความสามารถที่เพิ่มขึ้นของ AI ก็ชัดเจนว่าอนาคตนั้น อุตสาหกรรมต่าง ๆ จะมีความชาญฉลาด ตั้งแต่อาคารและโรงงาน ไปจนถึงทุกหน่วยในองค์กรที่ได้พยายามนำ AI มาใช้ ซึ่งการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ทั้งในฝั่ง Solution Provider และ Technology Provider จะสามารถสร้างสรรรค์พลังของ AI ให้ปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริง

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่ OPEN-TEC ได้รวบรวมไว้จากงานสัมมนา “Navigating AI Frontier” ที่จัดขึ้นโดย ทีซีซี เทคโนโลยี และเดลล์ เทคโนโลยีส์

Generative AI เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และการพัฒนาชิป จากรายงาน Deloitte 2024 global semiconductor industry outlook ดีลอยท์คาดการณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 ว่ายอดขายชิป Gen AI จะสูงถึงห้าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯภายในปี 2567 และคาดว่าจะคิดเป็นประมาณ 8.5% ของยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมด ซึ่งการเติบโตนี้ได้รับแรงหนุนจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชิปที่สำคัญหลายประการ รวมถึง logic processor ที่สร้างขึ้นบนโหนดที่ทันสมัย หน่วยความจำแบนด์วิดท์สูง (HBM3) บรรจุภัณฑ์2.5D ขั้นสูง และความสามารถในการเชื่อมต่อขั้นสูงของชิป

แม้จะมีการคาดการณ์ว่าปีนี้ยอดขายชิป Gen AI จะอยู่ในระดับสูง การคำนึงถึงเชิงปริมาณก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ในปี 2565 จะมียอดขายชิปรวมกันกว่าล้านล้านชิ้นในราคาเฉลี่ยต่อชิ้นเพียงราวๆ ครึ่งดอลลาร์สหรัฐ แต่สำหรับชิป Gen AI กลับไม่เป็นเช่นกัน ชิป Gen AI อาจมีราคาสูงถึงชิ้นละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือสูงกว่า 7 หมื่นเท่าของราคาเฉลี่ยของชิปทั้งหมด ดังนั้นยอดขายชิป Gen AI ห้าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1.25 ล้านหน่วย อาจเป็นเพียงสัดส่วนเล็กน้อย อยู่ที่ประมาณ 0.1% ของปริมาณชิปทั้งหมด ประเด็นดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความพิเศษของเซมิคอนดักเตอร์ที่มีความสามารถเฉพาะทางกลุ่มนี้ เมื่อเทียบกับชิปราคาที่ต่ำกว่าจำนวนมากที่นำมาใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวัน

ชิป Gen AI คือบรรจุภัณฑ์ Graphics processing units (GPUs) แบบพิเศษ Central processing units (CPUs) แบบพิเศษหรือ หน่วยความจำแบนด์วิดท์สูง (HBM3) ในบรรจุภัณฑ์ 2.5D ขั้นสูง รวมถึงชิปแบบพิเศษอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่อในศูนย์ข้อมูล บริษัทซอฟต์แวร์ระดับองค์กรมีส่วนทำให้ชิป Gen AI เป็นที่ต้องการ ทั้งสำหรับการใช้งานในองค์กร และการใช้ผ่านผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่ให้บริการการประมวลผลโดยใช้ Gen AI ซึ่งบริษัทเหล่านี้อาจรวมคุณสมบัติของ Gen AI เข้ากับบริการซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อเป็นโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

 

Gen AI กับการผลิตชิป

อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ใช้ประโยชน์จาก Gen AI นอกเหนือจากความสามารถในการประมวลผล เครื่องมือเหล่านี้เข้ามาเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่คุณค่าของเซมิคอนดักเตอร์ อาทิ

· การกำหนดเวลาและคาดการณ์ที่ดีขึ้น Gen AI สามารถสร้างตารางการผลิต และคาดการณ์ห่วงโซ่อุปทานได้แม่นยำขึ้น

· การวิจัยและพัฒนาที่ดีขึ้น การส่งเสริมของงานวิจัยที่ขับเคลื่อนโดย Gen AI มีส่วนช่วยในการเร่งการสร้างนวัตกรรมได้

· การตรวจจับข้อบกพร่องขั้นสูง ข้อมูลสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นโดย Gen AI สามารถเร่งการตรวจจับความผิดปกติและข้อบกพร่องในการผลิตชิปได้

· การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจำลองกระบวนการผลิตและ digital twins สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการทรัพยากรได้

· การตลาดแบบกำหนดเป้าหมาย Gen AI สามารถปรับแต่งเนื้อหาทางการตลาดให้ได้การเข้าถึง (reach) และการมีส่วนร่วม (engagement) ที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ราคาของต้นทุนยังคงเป็นความท้าทายอยู่ เช่น การสร้างและกำหนดโมเดล Gen AI เองมักมีราคาแพงเมื่อเทียบกับรูปแบบดั้งเดิม รวมทั้งโมเดลขนาดใหญ่อาจมีต้นทุนการดำเนินการที่สูงกว่าการได้ประโยชน์จากความเร็วของระบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังอาจต้องใช้การตรวจสอบโดยมนุษย์เพื่อรับรองความถูกต้องและหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่มีอคติ

 

ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์มีการใช้ Gen AI อย่างไร

โรงงานเซมิคอนดักเตอร์ต่างๆ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบอัตโนมัติและประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือ Gen AI นำความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการพัฒนาโรงงานการผลิตอัจฉริยะ อาทิ

· ช่วยจัดเตรียมข้อมูลเชิงลึกขั้นสูง Gen AI สามารถวิเคราะห์ชุดข้อมูลจำนวนมหาศาลเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการต่างๆ เช่น เชื่อมต่ออุปกรณ์ในโรงงาน สร้างกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และการคาดการณ์ในส่วนการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงจากการหยุดงาน

· การให้ความสำคัญกับความยั่งยืน การผลิตที่โหนดขั้นสูงมีการใช้พลังงานมาก เครื่องมือการผลิตแบบอัจฉริยะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการต่างๆ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตชิปได้

การประกอบและทดสอบชิปในภูมิรัฐศาสตร์ใหม่

แม้ว่าจะมีการผลิตชิปในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก การประกอบและการทดสอบชิปมักจะพบในเขตพื้นที่เอเชีย ซึ่งความไม่สมดุลทางภูมิรัฐศาสตร์นี้สร้างความท้าทายให้กับสหรัฐอเมริกาและยุโรปในการเพิ่มกำลังการผลิตชิปภายในประเทศ และต้องมีการลงทุนทั้งด้านการประกอบและทดสอบควบคู่ไปกับการผลิตเพื่อลดความซับซ้อนต่อ

ห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ ชิปประสิทธิภาพสูงยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีสิ่งที่ช่วยจัดการความท้าทายเหล่านี้ เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการทดสอบใหม่อย่างรวดเร็ว การสร้างทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการประกอบและทดสอบชิป การเสนอทางเลือกบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร เสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีสำหรับการบูรณาการ AI/ML และใช้ความสามารถในการทดสอบขั้นสูงเพื่อการออกแบบชิปที่มีความซับซ้อน

ข้อกังวลด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เผชิญกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่แตกต่าง นอกเหนือจากการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware attack) แล้ว ผู้ผลิตชิปยังมีทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมูลค่าสูง ทำให้ตกเป็นเป้าหมายหลักสำหรับผู้ไม่ประสงค์ดี โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ชิปมีความสำคัญมากขึ้นท่ามกลางความขัดแข้งระหว่างประเทศ การโจมตีขั้นสูงโดยแอบอ้างว่าเป็นการโจมตีแบบมัลแวร์เรียกค่าไถ่ทำให้อุตสาหกรรมชิปและผู้บริหารพบกับภัยคุกคามที่ซับซ้อนมากขึ้น

ในอนาคตผู้บริหารในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ควรคำนึงถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ เช่น การจัดการสินค้าคงคลังจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างความต้องการที่มีมาแต่เดิมที่ลดลง กับความต้องการชิปเฉพาะทางที่อาจเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงโอกาสในการควบรวมกิจการเชิงกลยุทธ์อีกมากมายในด้านการออกแบบ วัสดุ และบรรจุภัณฑ์ ในส่วนความขัดแย้งระหว่างประเทศส่งผลให้มีการประเมินความร่วมมือด้านช่องทางการขาย และแหล่งที่มาของทรัพยากร เนื่องด้วยข้อตกลงระหว่างประเทศอาจเกี่ยวข้องกับภาษีและกฎระเบียบที่ซับซ้อน นอกจากนี้ ต้องอาศัยความรอบคอบทางการเงินในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูงขึ้น สำหรับด้านทรัพยากรบุคคลจำเป็นต้องเฟ้นหาบุคลากรที่มีความสามารถหลากหลายกลุ่มและเสริมสร้างทักษะให้กับพนักงาน การใช้ Gen AI อาจทำให้เกิดความต้องการด้านทรัพยากรบุคคลแบบใหม่ๆ อีกด้วยด้วย

 สถานการณ์เซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าระบุว่า การค้าเซมิคอนดักเตอร์ของไทย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแผงวงจรไฟฟ้า (IC) และกลุ่มอุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด (O-S-D) สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์รายงานว่า อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ของไทยปรับตัวสูงขึ้นจากการนำเข้ากลุ่ม IC เพิ่มขึ้นจาก 6.7 แสนล้านบาทในปี 2565 เป็น 6.8 แสนล้านบาท ล้านบาทในปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน การนำเข้าในปี 2566 มาจากไต้หวันเป็นหลักที่ 2.5 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นญี่ปุ่น ที่ 7.3 หมื่นล้านบาท และจีนที่ 6.9 หมื่นล้านบาท โดยการนำเข้าทั้งหมดในเดือนมกราคม 2567 นี้คิดเป็นมูลค่า 7.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน

สำหรับกลุ่มอุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์ และไดโอด การนำเข้าเพิ่มขึ้นจากประมาณ 1 แสนล้านบาทในปี 2565 เป็นมูลค่าประมาณ 1.2 แสนล้านบาทในปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ซึ่งการนำเข้าในปี 2566 มาจากจีนมากที่สุดที่ 6.4 หมื่นล้านบาท รองลงมาเป็นญี่ปุ่นที่ 1.6 หมื่นล้านบาท และสหรัฐอเมริกาที่ 1.1 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ การนำเข้าทั้งหมดในเดือนมกราคม 2567 นี้มีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน

นอกจากนี้ประเทศไทยกำลังเร่งเจรจากับสหรัฐอเมริกาเรื่องการลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในไทย เพื่อผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้นำเสนอความพร้อมของประเทศไทย ในการเป็นฐานการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ให้แก่ผู้นำรัฐบาลและภาคเอกชนหลากหลายพื้นที่ ซึ่งการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างสองประเทศ เพื่อเจรจาเรื่องการลงทุนดังกล่าว ถือเป็นก้าวสำคัญในการสานสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และเสริมสร้างแรงงานทักษะสูงในไทย นอกจากนี้ข้อมูลจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า จะมีการลงทุนโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ต้นน้ำในไทยเพื่อผลิตแผ่นเวเฟอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของชิปต้นน้ำในเร็วๆ นี้อีกด้วย

บทความ   ปาริชาติ จิรวัชรา Partner Risk Advisory และ

              ทัศดา แสงมานะเจริญ Senior Consultant-Clients & Markets

              ดีลอยท์ ประเทศไทย

X

Right Click

No right click