September 19, 2024

ประเทศไทยถือเป็นเดสติเนชั่นอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ด้วยความสวยงามของธรรมชาติ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย และการให้บริการที่คงเสน่ห์ความเป็นไทย ทำให้ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก ยิ่งปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ทุกคนสามารถหาข้อมูลและเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเองได้ เราจึงเห็นนักท่องเที่ยวเริ่มกระจายตัวไปตามเมืองรอง ไม่ได้กระจุกอยู่แค่ในเมืองใหญ่เหมือนแต่ก่อน ซึ่งหนึ่งในกลุ่มคนเบื้องหลังที่ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสามารถขับเคลื่อนไปได้ คือคนขับรถรับจ้างที่คอยอำนวยความสะดวก และตั้งใจที่จะพานักท่องเที่ยวไปสู่จุดหมายได้อย่างปลอดภัย อย่างเช่น อุทัย หนองขอม คนขับแท็กซี่ที่ให้บริการประจำอยู่แถวสนามบินสุวรรณภูมิ หรือ ธนิต อินต๊ะเขียว คนขับแกร็บในจังหวัดเชียงรายที่สนุกกับการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้กับชาวต่างชาติในทุกๆ วัน

ลบภาพจำเก่า สร้างความประทับใจใหม่ ให้กับแท็กซี่ในเมืองกรุง

“อุทัย หนองขอม” หรือ พี่อุทัย วัย 55 ปี ชาวนครนายกที่เข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ และยึดอาชีพคนขับแท็กซี่ มานานกว่า 13 ปี และหันมาให้บริการ GrabTaxi เพื่อหารายได้เสริม จากความสนุกที่ได้ขับรถไปส่งผู้โดยสารตามสถานที่ต่างๆ เกิดเป็นความรักในงานบริการที่อยากจะส่งมอบประสบการณ์การเดินทางที่ดีที่สุดให้กับผู้โดยสาร 

“ทุกวันนี้ผมชอบไปประจำอยู่แถวสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะบางครั้งจะได้โอกาสขับรถไปที่ไกลๆ ซึ่งการได้ขับรถพานักท่องเที่ยวไปสถานที่ต่างๆ เหมือนเป็นการเปิดโลกให้เรารู้จักสถานที่ใหม่ๆ อย่างทุกวันนี้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมักจะวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตัวเอง พวกเขาเตรียมตัวทำการบ้านกันมาแล้วเรียบร้อยผ่านข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ที่ไหนฮิต คนรีวิวเยอะ เขาก็จะไปตามรอยกัน โดยช่วงนี้สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ อย่าง กาญจนบุรี ดูจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ"

พี่อุทัยเล่าถึงประสบการณ์ที่ได้ให้บริการกับนักท่องเที่ยวที่ผ่านมาว่า “ทุกครั้งที่ผมเจอผู้โดยสารเรียกไปสถานที่ที่เค้าไม่เคยไป โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่อาจจะไม่รู้ข้อจำกัดของสถานที่ ผมจะชอบให้คำแนะนำเค้าตั้งแต่ก่อนจะเริ่มเดินทาง เช่น ถ้าผู้โดยสารเรียกรถเพื่อไปตั้งแคมป์ แต่ไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานที่ ผมจะแจ้งให้ผู้โดยสารทราบก่อนไปถึงจุดหมายเลย เพื่อให้พวกเขาสามารถเตรียมตัวหรือรับมือได้ล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวผู้หญิง ที่เรื่องการใช้ห้องน้ำถือเป็นเรื่องสำคัญ”

พี่อุทัยเสริมว่า “ผมเชื่อว่าแท็กซี่หลายๆ คนคงเคยเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด อย่างการที่เราไปส่งผู้โดยสารแล้วปรากฏว่ามันผิดที่ หรือติดต่อคนที่ไปหาไม่ได้ ด้วยจรรยาบรรณของแท็กซี่แล้ว เราไม่ควรทิ้งผู้โดยสารไว้ตรงนั้น อย่างผมเคยมีนักท่องเที่ยวที่จองที่พักไว้ที่กาญจนบุรี แต่พอถึงที่หมายตอนกลางคืน กลับไม่สามารถติดต่อที่พักได้ ผมจึงพาพวกเขาไปส่งยังสถานที่ปลอดภัยในเมืองเพื่อให้เขาสามารถหาที่พักใหม่ หรือสามารถขอความช่วยเหลือจากสถานีตำรวจได้” 

พี่อุทัยทิ้งท้ายความในใจที่อยากจะให้ทุกคนเห็นว่ายังมีคนขับแท็กซี่อีกมากมายที่พร้อมให้บริการที่ดีที่สุดกับผู้โดยสารทุกคน 

“หลายคนมองว่าหน้าที่ของคนขับแท็กซี่คือแค่การพาผู้โดยสารไปให้ถึงจุดหมาย แต่ผมมองว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างวันดีๆ ให้กับผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางไปกับเรา เราอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวหรือรีวิวเกี่ยวกับปัญหาของการนั่งแท็กซี่ โดยเฉพาะเคสของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีกับแท็กซี่ เราอยากจะเป็นคนหนึ่งที่ลบภาพเหล่านั้น และสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว ให้เขารู้ว่าแท็กซี่ไทยปลอดภัยและซื่อสัตย์ยังมีอีกมาก” 

เผยเสน่ห์เมืองรอง ในมุมมองคนท้องถิ่น

อีกหนึ่งเรื่องราวจาก “ธนิต อินต๊ะเขียว” หรือ บอส หนุ่มพะเยาวัย 29 ปี ที่หลงเสน่ห์ความงามของเมืองเชียงราย จนตัดสินใจลงหลักปักฐาน และได้มายึดอาชีพขับรถรับจ้างผ่านแกร็บเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว 

“แต่ก่อนผมทำงานอยู่ในห้าง ทำจนจะได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการ แต่พอภรรยาผมตั้งครรภ์ การทำงานเป็นกะตามเวลาห้างทำให้ผมไม่มีเวลาดูแลครอบครัว อีกทั้งความเหนื่อยล้าจากการทำงานติดต่อกันทั้งอาทิตย์ทำให้ผมไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ผมจึงตัดสินใจลาออกมาลองขับแกร็บเพื่อจะได้มีเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น”

บอสเล่าถึงประสบการณ์การขับรถรับจ้างในต่างจังหวัดว่า “สมัยก่อนจำเป็นต้องมีทุนทรัพย์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเส้นทาง และคอนเนคชั่นในการติดต่อกับลูกค้า ทำให้ผมแทบไม่มีโอกาสเลย แต่พอมีบริการเรียกรถของแกร็บเข้ามา มันทำให้ผมสามารถเข้าถึงผู้โดยสารได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งเหล่านั้น เราไม่ต้องวิ่งไปหาผู้โดยสาร แถมยังไม่จำเป็นต้องรู้ทางไปทุกที่ เพราะแกร็บมีแผนที่ GPS ในแอป ทำให้ผมสามารถพาผู้โดยสารไปในที่ที่เขาอยากไปได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย” 

บอสเล่าต่อว่า แต่ก่อนถ้าเราไม่ใช่คนท้องถิ่นที่เชียงราย ถ้าจะเดินทางไปไหน อาจจะต้องเช่าเหมารถตู้หรือเช่ารถขับเอง ทำให้นักท่องเที่ยวอาจจะไม่นิยมมาเชียงรายเพราะข้อจำกัดในเรื่องการเดินทาง แต่พอนักท่องเที่ยวมีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น อย่างบริการเรียกรถของแกร็บ ทำให้พวกเขารู้สึกสะดวก และมั่นใจในความปลอดภัย ทำให้ช่วงหลังๆ เราเห็นนักท่องเที่ยวเดินทางมาเชียงรายมากขึ้น

“ผมอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยโปรโมทการท่องเที่ยวในประเทศไทย ถึงผมจะเป็นแค่คนขับรถรับจ้าง แต่ผมว่าเรามีส่วนในการสร้างความประทับใจ และประสบการณ์การเดินทางที่ดีให้กับให้กับนักท่องเที่ยวได้ คนขับเราเป็นเหมือนอาชีพบริการด่านหน้าที่ได้เจอกับนักท่องเที่ยว ดังนั้นเรามีโอกาสที่จะแสดงให้พวกเขาเห็นถึงน้ำใจของคนไทย หรือสามารถแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้เป็นที่รู้จักกับนักท่องเที่ยวได้” 

“ผมได้แนะนำนักท่องเที่ยวหลายคนให้ลองไปที่ปางช้างเผือก ที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดร่องขุ่น ซึ่งเป็นสถานที่ที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก นักท่องเที่ยวหลายคนประทับใจมาก เพราะเป็นสถานที่ที่มีกิจกรรม มีการแสดงโชว์ คือไปแล้วได้ความสุข ความสนุกกลับมา ผมก็มีความสุขไปด้วยที่ได้รับรู้ว่านักท่องเที่ยวพอใจกับคำแนะนำของเรา” บอสเล่าทิ้งท้ายด้วยความภาคภูมิใจ

 

คว้าร้านในกระแส อัดสื่อออฟไลน์-ออนไลน์ มัดใจสายกิน

ฉายภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หนุนซอฟต์พาวเวอร์-ผลักดันเศรษฐกิจไทย

ส่งเสริมการสร้างอาชีพ - พัฒนาสิทธิประโยชน์ – ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ระหว่าง นางโสภา เกียรตินิรชา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเอกชาติ นาคาไชย รองผู้อำนวยการ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เป็นผู้ลงนาม ณ ห้องประชุม ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยว่า “แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นรูปแบบธุรกิจ ที่ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังเป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกระหว่างผู้บริโภค ผู้ให้บริการ และผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งรัฐบาล โดยกระทรวงแรงงานได้กำหนดนโยบาย ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับการดูแลสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยในการทำงาน กระทรวงแรงงาน จึงมีแนวคิดในการจัดทำบันทึกความร่วมมือ ว่าด้วยการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในสังกัดกระทรวงแรงงาน ร่วมกับ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ในการหาแนวทางยุติปัญหาที่เกิดขึ้น ระหว่างคนทำงานในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลกับผู้ให้บริการฯ หรือมีช่องทางในการบริหารจัดการกับปัญหาที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่ชัดเจน รวมถึงการสร้างงาน ให้กับผู้สูงอายุ ที่ต้องการเลือกประกอบอาชีพอิสระ หรือผู้ที่ต้องการหารายได้เสริม โดยได้ร่วมมือกับกรมการจัดหางาน ในการส่งตำแหน่งงานว่างเพื่อสร้างอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมการทำงาน หรือสร้างมาตรฐานในการทำงาน ที่ปลอดภัย โดยร่วมกับสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ซึ่งการลงนามร่วมกันในครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจบริการระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลกับผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล และเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงอาชีพของ ผู้ว่างงานและผู้สูงอายุที่ประสงค์จะทำงานอีกด้วย”

 

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแพลตฟอร์มดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้นและกลายเป็นส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการทำงานในรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ผ่านการใช้เทคโนโลยี แกร็บให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดูแลพาร์ทเนอร์คนขับ ซึ่งใช้แพลตฟอร์มของเรา เป็นช่องทางในการหารายได้ โดยที่ผ่านมาแกร็บมุ่งเน้นการบริหารค่าตอบแทนที่เหมาะสมและสอดคล้อง กับระบบอุปสงค์อุปทาน ทั้งยังพัฒนาสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของพาร์ทเนอร์คนขับ และสร้างมาตรฐานให้กับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น การจัดทำประกันอุบัติเหตุเพื่อให้คุ้มครองระหว่างการให้บริการ การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมและเป็นไปตามข้อกำหนดของ ธปท. รวมไปถึงการจัดทำคอร์สอบรมเพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นผ่านโครงการ GrabAcademy เป็นต้น”

“การผนึกความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของแกร็บในการร่วมผลักดันมาตรฐานการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลให้เป็นรูปธรรม โดยเราพร้อมสนับสนุนและ ให้ความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการพัฒนาแนวทางในการคุ้มครองแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแพลตฟอร์มเพื่อหารายได้ ตลอดจนดูแลให้แรงงานเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์ และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น” นายวรฉัตร กล่าวเสริม

 

ทั้งนี้ บันทึกความร่วมมือระหว่าง แกร็บ ประเทศไทย และ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมการจัดหางาน และสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในครั้งนี้มีเป้าหมายหลัก ที่จะส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านการดำเนินงานใน 3 ส่วนสำคัญ คือ

· การส่งเสริมการให้สิทธิประโยชน์ที่เป็นมาตรฐานกับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและแกร็บจะร่วมหาแนวทางในการสนับสนุนและจัดทำมาตรการในการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เหมาะสม ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดสิทธิประโยชน์ที่เป็นมาตรฐาน ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยที่ผ่านมา แกร็บให้ความสำคัญกับการจัดสรรสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติมให้กับพาร์ทเนอร์คนขับ นอกเหนือจาก การบริหารค่าตอบแทนที่เหมาะสม โดยเฉพาะ การจัดทำประกันอุบัติเหตุเพื่อให้ความคุ้มครองพาร์ทเนอร์

คนขับทุกคนตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังให้บริการแล้ว โดยมีวงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ และวงเงินชดเชยสูงสุด 200,000 บาท ในกรณีเสียชีวิต นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการด้านสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพของพาร์ทเนอร์คนขับโดยมีวงเงินสูงสุด 100,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม โดยสามารถแบ่งชำระได้แบบรายวัน เป็นต้น

· การส่งเสริมการสร้างอาชีพและโอกาสในการหารายได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลให้กับผู้ที่ว่างงาน รวมถึงผู้สูงอายุ โดยแกร็บและกรมการจัดหางานจะร่วมกันส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ จากแพลตฟอร์มของแกร็บในการหารายได้ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน หรือ บริการด้านเดลิเวอรี ซึ่งที่ผ่านมา แกร็บเปิดโอกาสให้กับคนไทยหลายแสนคน สามารถเข้ามา เป็นพาร์ทเนอร์คนขับเพื่อหารายได้เสริม โดยไม่จำกัดเพศ วัย การศึกษา หรือแม้แต่ผู้ที่มีข้อจำกัด ทางด้านร่างกาย เช่น ผู้พิการทางการได้ยิน นอกจากนี้ ยังได้ริเริ่มโครงการ ‘แกร็บวัยเก๋า’ เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยวัยเกษียณสามารถหารายได้และส่งเสริมคุณค่าในตัวเองผ่านแพลตฟอร์มของแกร็บ โดยปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์คนขับกลุ่มนี้มากกว่า 13,000 คน

· การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยสำหรับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยแกร็บและ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจะร่วมกันพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในระหว่างการทำงานให้กับผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น การจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงาน หรือการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อป้องกันภัยต่างๆ เป็นต้น โดยที่ผ่านมา แกร็บให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความปลอดภัย เป็นอันดับต้นๆ เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับทุกคนที่ใช้แพลตฟอร์มของแกร็บ โดยได้พัฒนาเทคโนโลยี และมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ ระบบตรวจสอบการเดินทางแบบเรียลไทม์ ฟีเจอร์ Safety Centre ที่ทั้งผู้โดยสารและพาร์ทเนอร์คนขับสามารถแชร์ข้อมูลการเดินทางให้กับเพื่อน หรือครอบครัวได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงสามารถขอความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน และฟีเจอร์ Audio Protect ที่ช่วยบันทึกเสียงระหว่างการเดินทางเพื่อป้องกันเหตุร้ายและใช้เป็นหลักฐานหากเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างการเดินทาง เป็นต้น

แกร็บ ประเทศไทย ประกาศความสำเร็จในปี 2566 ตอกย้ำความเป็นผู้นำซูเปอร์แอปในตลาดเรียกรถผ่านแอปและเดลิเวอรี เร่งเครื่องรุกธุรกิจเต็มสูบโดยชูไฮไลท์ “4A” มุ่งรักษาฐานลูกค้าหลัก (Active Users) ผุดบริการใหม่ที่เน้นความคุ้มค่า (Affordability) ใช้เทคโนโลยีเอไอเสริมแกร่ง (AI Technology) โหมธุรกิจโฆษณา-บริการใหม่ (Ads & New Services) พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนโดยมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและผลักดันโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมการใช้รถ EV การชดเชยคาร์บอน และการพัฒนาศักยภาพ-เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้หญิง

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า “ปี 2566 ถือเป็นอีกหนึ่งปีทองของ แกร็บ ประเทศไทย ภายหลังจากที่เราได้ประกาศนโยบายขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยผลประกอบการทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง และความสำเร็จ จากการเปิดตัวบริการใหม่ๆ ตลอดจนโครงการความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจการเดินทางที่เติบโตขึ้นอย่างมากภายหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ด้วยอานิสงส์ของนโยบายการเปิดประเทศและการส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล ทำให้ใน ปีที่ผ่านมายอดใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน Grab ในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตขึ้นถึง 139%1 ขณะที่ธุรกิจเดลิเวอรีของเรา ก็ยังคงแข็งแกร่ง โดยบริการ GrabFood และ GrabMart ยังคงครองใจผู้ใช้บริการยุคใหม่ที่มองหาความสะดวกสบายและบริการ ที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันเราก็ได้พัฒนาฟีเจอร์และบริการใหม่ๆ ออกมาเพื่อตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างบริการรับเองที่ร้าน

(Pickup) บริการสั่งอาหารแบบกลุ่ม (Group Order) หรือแม้แต่บริการกินที่ร้าน (Dine-in) ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนของธุรกิจทางการเงิน เราได้เพิ่มช่องทางการชำระเงินสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยร่วมมือกับ Alipay และ Kakao Pay พร้อมขยาย ฐานผู้ใช้บริการในต่างจังหวัดผ่านการผนึกพันธมิตรกับธนาคารกรุงไทยโดยได้เชื่อมต่อระบบชำระเงินของแกร็บเพย์ วอลเล็ต (GrabPay Wallet) เข้ากับแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT”

“แกร็บมองเห็นสัญญาณเชิงบวกและเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของทั้งภูมิภาค รวมถึงประเทศไทย ยังคงมีแนวโน้ม การเติบโตที่ดี โดยปัจจุบันประเทศไทยมีมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลสูงถึง 3.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ2 โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจเรียกรถผ่านแอปและฟู้ดเดลิเวอรี ซึ่งเป็นที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงถึง 15%3 ภายในปี 2568 โดยในปีนี้ แกร็บ ประเทศไทย เตรียมเดินหน้ารุกธุรกิจเต็มสูบเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ โดยมุ่งเน้นไป ที่ 4 ประเด็นหลัก (หรือ 4A) ควบคู่ไปกับการสานต่อโครงการต่างๆ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน และสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นกับทุกคนในอีโคซิสเต็มของเรา” นายวรฉัตร กล่าวเสริม

สำหรับในปีนี้ แกร็บ ประเทศไทย มุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจโดยเน้นไปที่ 4 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย

· Active Users: แกร็บให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าหลักโดยมุ่งรักษาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้บริการโดยเฉพาะ 3 กลุ่มหลัก คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สมาชิกแพ็กเกจ GrabUnlimited และลูกค้าคุณภาพ ที่ใช้บริการเป็นประจำ (Quality User) ผ่านการผนึกความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับพันธมิตร อาทิ การร่วมมือกับการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยและ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและผลักดันซอฟต์พาวเวอร์อย่างต่อเนื่อง พร้อมยกระดับความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยว การพัฒนาสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าการ ให้ส่วนลดสำหรับสมาชิก GrabUnlimited รวมถึงการเปิดตัวแพ็กเกจสมาชิกแบบรายปีเพื่อรักษาฐานลูกค้าในระยะยาว ตลอดจนการพัฒนาสองแฟล็กชิพแบรนด์ของบริการ GrabFood อย่าง #GrabThumbsUp และ Only at Grab เพื่อรักษามาตรฐานและประสบการณ์ความอร่อยให้กับผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

· Affordability: เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการและขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ แกร็บได้นำเสนอบริการใหม่โดยชูจุดเด่นใน เรื่องความคุ้มค่าเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้บริการที่ให้ความสำคัญกับเรื่องราคาเป็นหลัก โดยแกร็บได้เปิดตัวบริการ “GrabCar SAVER” สำหรับการเดินทางด้วยรถยนต์ขนาดเล็กในราคาประหยัดลงสูงสุดถึง 15% (เมื่อเทียบกับบริการ GrabCar) ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มทดลองให้บริการแล้วใน 20 จังหวัด และบริการ “GrabBike SAVER” สำหรับการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ ในระยะทางไม่เกิน 4 กิโลเมตรในราคาเริ่มต้นเพียง 26 บาท ในส่วนของธุรกิจเดลิเวอรี นอกจากการเพิ่มทางเลือกในการจัดส่งอาหารแบบประหยัดหรือ “SAVER Delivery” แล้ว ล่าสุด แกร็บได้เปิดตัวซับแบรนด์ใหม่ “Hot Deals” เป็นเครื่องหมายการันตีความคุ้ม เอาใจสายประหยัดด้วยการนำเสนอเมนูเด็ดที่ลดราคาเป็นพิเศษจากหลากหลายร้านอาหาร มาพร้อมส่วนลดออนท็อป ในทุกช่วงเวลาให้ได้อิ่มคุ้มทั้งวัน

 

· AI Technology: ในปีที่ผ่านมาแกร็บได้พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) และแมชชีนเลิร์นนิง (ML: Machine Learning) มากกว่า 1,000 โมเดลเพื่อพัฒนาบริการและเสริมประสิทธิภาพ ในการดำเนินธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาค สำหรับในปีนี้ แกร็บ ประเทศไทย ยังคงนำเทคโนโลยีที่พัฒนาเองเหล่านี้ มาใช้ต่อยอดเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้แพลตฟอร์มให้กับผู้ใช้บริการ รวมถึงพาร์ทเนอร์คนขับและร้านค้า อาทิ การนำ AI และ ML มาใช้ปรับปรุงและพัฒนาระบบพิจารณาเครดิตสำหรับการให้สินเชื่อกับพาร์ทเนอร์ หรือการพัฒนา GrabGPT เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำคอนเทนต์หรืองานออกแบบภายในองค์กร เป็นต้น

· Ads & New Services: แกร็บเตรียมขยายบริการ GrabAds เต็มสูบเพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจโฆษณา โดยนอกจากการ เจาะตลาดลูกค้าองค์กร โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว สินค้าสุขภาพ-ความงาม และสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว ในปีนี้แกร็บ ยังเตรียมผลักดัน “Self-serve Ads” เครื่องมือในการโฆษณาสำหรับพาร์ทเนอร์ร้านค้า ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง และเล็กสามารถเพิ่มยอดขายจากการทำโฆษณาและแนะนำโปรโมชันกับลูกค้าได้ด้วยตัวเอง โดยมีผลตอบแทนจากการโฆษณา (Return on Ad Spend) เฉลี่ยสูงถึง 6 เท่า4 นอกจากนี้ แกร็บยังวางแผนที่จะพัฒนาและปรับปรุงบริการใหม่ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เรียกรถและเดลิเวอรี อาทิ บริการจองการเดินทางล่วงหน้า (Advance Booking) และกินที่ร้าน (Dine-in) ให้มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ผู้ใช้บริการยิ่งขึ้น

นอกจากการพัฒนาในด้านธุรกิจแล้ว แกร็บ ประเทศไทย ยังคงยึดมั่นเจตนารมณ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้คน ในสังคมควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยในปีนี้เรายังเดินหน้าสานต่อโครงการสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงการ GrabEV เพื่อผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มพาร์ทเนอร์คนขับให้ได้ 10% ภายในปี 2569 โครงการ Carbon Offset ที่ยังคงร่วมปลูกต้นไม้เพื่อชดเชยคาร์บอนจากการใช้บริการ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับพาร์ทเนอร์คนขับและร้านค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง เพื่อเป้าหมายในการสร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้คนไทย” นายวรฉัตร กล่าวทิ้งท้าย

Page 4 of 8
X

Right Click

No right click