September 16, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

ครั้งแรกในไทยกับการจับมือระหว่างสองบริษัทใหญ่ของประเทศ ดีแทคและอีริคสัน ร่วมมือกันนำ 5G Ready Massive MIMO 64T6R ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่จะใช้เทคโนโลยีนี้บนเครือข่าย 4G TTD โดยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา ทางบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) ร่วมมือกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  พันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการดีแทค เทอร์โบ นำเทคโนโลยี 5G-Ready Massive MIMO บนเครือข่าย 4G TDD ที่โรมมิ่งบนคลื่นความถี่ 2300 MHz ของทีโอทีมาทดลองใช้งานครั้งแรกในประเทศไทย

ทางสองบริษัทได้เผยว่าการนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้นั้นเป็นนวัตกรรมด้านการอุปกรณ์สื่อสารของอีริคสันที่ไม่ใช่แค่ยกระดับประสบการณ์ใช้งานดาต้าในวันนี้ แต่ยังพร้อมรองรับเทคโนโลยี 5G บนบริการดีแทค เทอร์โบได้ในอนาคต ทางดีแทคเองก็ได้เผยถึงแผนการในอนาคตที่จะขยายการให้บริการกับลูกค้าบนเครือค่ายดีแทค เทอร์โบ ด้วยการเร่งขยายเสาสัญญาณคลื่น 2300 MHz แล้วยังนำ Massive MIMO 64R64R ที่เหนือกว่าในการรับส่งสัญญาณดาต้ามาให้ลูกค้าได้ใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้การใช้งานดาต้าในพื้นที่ที่ผู้ใช้บริการหนาแน่นมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น และยังเหมาะกับพื้นที่ใช้งานดาต้าสูงที่มีความต้องการใช้งานในรูปแบบต่างกัน โดยอุปกรณ์จะรับส่งสัญญาณเฉพาะจุด หรือ Beam forming เจาะจงเฉพาะให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่กำลังใช้งานขณะนั้นอย่างแม่นยำ และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสัญญาณไปยังอุปกรณ์อีกหลายจุดในพื้นที่เดียวกัน ภายในเวลาและความถี่เดียวกัน ทำให้เพิ่มขีดความสามารถการครอบคลุมของโครงข่ายได้มากขึ้นบนคลื่น 2300 MHz โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานหนาแน่นได้อย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ทางบริษัท อีริคสัน ยังได้ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้าน Radio Systemเพื่อสนับสนุนผู้ให้บริการในการเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่เทคโนโลยี 5G ได้อย่างไร้รอยต่อ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขยายเพิ่มเติมนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น เข้าถึง 5G แบบ end-to-end ซึ่งรวมไปถึง 5G NR Radio ครั้งแรกในอุตสาหกรรมระดับโลก

 

          บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดตัวซีอีโอคนใหม่ อเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งในช่วงเวลาที่สัมปทานซึ่งมีอยู่กำลังจะหมดลง เป็นช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นที่อาจจะส่งผลกระทบทั้งภายในและนอกองค์กรดีแทค

         อเล็กซานดรา เป็นชาวออสเตรียที่เคยผ่านงานมาหลายด้านทั้ง ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจออนไลน์เมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว และเริ่มเข้ามาสู่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเมื่อปี 2544 จนเข้ามาทำงานกับกลุ่มเทเลนอร์เมื่อปี 2559 เธอเล่าว่าเธอเป็นนักกีฬากอล์ฟ ความเป็นนักกีฬาทำให้เธอชอบการแข่งขันเพราะการแข่งขันจะทำให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นมา และเธอก็หวังว่าการบริหารงานดีแทคจะเป็นเช่นเดียวกับช่วงเวลาที่สามารถเล่นกีฬาได้ดี

         อเล็กซานดรามองดีแทคว่ามีองค์ประกอบที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ 3 ประการคือ มีแบรนด์ที่น่าภาคภูมิใจ มีลูกค้ากว่า 20 ล้านราย และมีพนังงานที่มุ่งมั่นในการทำงานให้ดีแทคประสบความสำเร็จ

         การเข้ามาทำงานในช่วงเวลานี้ซึ่งใกล้ถึงวันสิ้นสุดสัมปทานเดิมที่มีอยู่ในวันที่ 15 ก.ย. ทำให้ภารกิจแรกของซีอีโอหญิงคนแรกของดีแทคคือการดูแลลูกค้าของบริษัท โดยเธอบอกว่าจะทำทุกอย่างที่จะช่วยคุ้มครองลูกค้าให้สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้

         “เราให้ความสำคัญกับลูกค้าต้องมาก่อน โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่านสัมปทานเราจึงตั้งใจดูแลลูกค้าเราให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่เน้นย้ำ เราต้องได้รับอนุมัติแผนความคุ้มครองลูกค้าในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานจาก กสทช. เพื่อลูกค้าดีแทคได้ใช้คลื่น 1800 MHz และ 850 MHz ซึ่งเป็นช่วงคลื่นเดิมของดีแทคที่หมดสัมปทานและไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน โดยลูกค้าดีแทคควรได้สิทธิ์ใช้งานอย่างต่อเนื่อง ตามที่ผ่านมาที่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ได้รับการคุ้มครองตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน”

         ประเด็นสองคือลูกค้าอาจได้รับผลกระทบบ้างช่วงเปลี่ยนผ่าน เราพยายามทำให้ดีที่สุด ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญเราจะตรงไปตรงมากับลูกค้าให้มากที่สุด ถึงแม้จะเป็นช่วงที่ท้าทายแต่ก็เป็นช่วงที่จะมองไปสู่การปรับเปลี่ยนองค์กรที่มุ่งสู่การให้ความสำคัญกับลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น ดีแทคจะขยายโครงข่ายการบริการทั้งคลื่น 2100 MHz และบริการบนคลื่น 2300MHz ของทีโอที เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

         อเล็กซานดรา  กล่าวเพิ่มเติมว่า “การเข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานนั้นยังเป็นการทำรายได้ให้กับรัฐ ตามข้อกำหนดจะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการไม่สามารถแสวงหาผลประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวได้ อีกทั้งตามประกาศ กสทช ยังกำหนดให้รายได้ระหว่างการให้บริการในระยะเวลาคุ้มครองจะต้องเป็นของรัฐ ผู้ให้บริการเป็นเพียงผู้รับรายได้แทนรัฐเท่านั้น เมื่อได้รับรายได้มาผู้ให้บริการทำได้เพียงหักต้นทุนค่าใช้จ่าย และนำส่วนที่เหลือส่งเข้ารัฐเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป จึงจะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการไม่สามารถแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ ในช่วงดูแลลูกค้า”

         อเล็กซานดราให้ข้อมูลว่าปัจจุบันยังมีลูกค้าที่ใช้โครงข่าย 850 MHz อยู่ประมาณ 400,000 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ผู้สูงอายุ ยังใช้โทรศัพท์รุ่นเก่า ซึ่งต้องใช้เวลาในการโอนย้ายเครือข่ายตามความต้องการของลูกค้า

         แม้จะเข้ามารับตำแหน่งในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านขององค์กรแต่ซีอีโอคนใหม่ดีแทคก็มองว่าเป็นโอกาสดีในการปรับองค์กรโดยเน้นการให้ความสำคัญกับลูกค้ามากขึ้นแบบ outside in ปรับกระบวนการทำงานให้สนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น เธอบอกว่าจะมาทำให้ดีแทคแข็งแกร่งอีกครั้งหนึ่ง นำเสนอบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า โดยมีการตั้งหน่วยงานพิเศษที่รวบรวมพนักงานจากหลายแผนกมาทำงานเป็นทีมลดความเป็นไซโลในการทำงานลง เพื่อคิดหาวิธีบริการใหม่ๆ

         และเมื่อมีคำถามถึงการแข่งขันในอุตสาหกรรมเธอมองว่าเหมือนกับการวิ่งแข่งระยะสั้นที่หากมัวแต่หันไปมองคู่แข่งก็คงแพ้แน่นอน แต่หากมุ่งมั่นวิ่งไปข้างหน้าก็มีโอกาสที่จะชนะรออยู่ เป็นบทสรุปมุมมองที่น่าสนใจของซีอีโอหญิงคนใหม่ของดีแทคคนนี้

ทำความรู้จัก อีกหนึ่งสมาร์ตฟาร์มแห่งยุค 4.0 ในเส้นทางที่ไม่ธรรมดา กว่าจะเป็น “โคโค่ เมล่อนฟาร์ม” ต้นกำเนิดเมล่อนญี่ปุ่นปลอดสารพิษ ปลูกในโรงเรือน ด้วยเทคโนโลยี Iot (Internet of Things)

แรงบันดาลใจของ “ณัฐ มั่นคง” เริ่มต้นจากการเป็นพนักงานบริษัทเอกชน จากนั้นออกมาทำงานค้าขาย ในแวดวงธุรกิจปุ๋ยหมักชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงคุณภาพดิน ลดสารตกค้างในดิน กระทั่งปัจจุบันผันตัวมาเป็นเกษตรกรเจ้าของ โคโค่ เมล่อนฟาร์มอย่างภาคภูมิใจ

เขาเล่าถึงความคิดในอดีตกับนิตยสาร MBA ว่า “เมื่อเราจบใหม่ๆ เราอาจจะคิดแค่ว่าทำงานอะไรก็ได้ หรือแค่มีร้านกาแฟสักร้านก็คงจะเท่น่าดู แต่สังเกตว่าตั้งแต่ 3-5 ปีที่ผ่านมาจนปัจจุบัน เทรนด์การเกษตรมาแรงมาก ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าเป็นอาชีพที่ทำแล้วมีความสุข คงมีคนอยากคุยด้วยมาก และดูเท่ดี” จึงจะเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยในการเลือกเป็นเกษตรกร ที่มาจากทั้งความหลงใหล บวกกับความต้องการทำการเกษตรปลอดสารพิษด้วย และอีกส่วนหนึ่ง คือ การศึกษาจากคณะธุรกิจเกษตร สาขาการตลาด จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทำให้สามารถนึกภาพการค้าขายได้

“คนมักจะมองเกษตรกรว่าเป็นฝ่ายผลิตเท่านั้น เราจึงต้องเริ่มจากความคิดในการสร้างโมเดลของธุรกิจเกษตร เพื่อให้เกิดการครบวงจร ไม่อย่างนั้นเกษตรกรจะไปต่อไม่ได้”

เริ่มจากการผลิต ที่เราต้องกล้าทดลอง แต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างอย่างไร และต้องคิดว่าพื้นที่ในมือที่เรามีอยู่ในตอนนี้เท่าไร มี 100 ไร่หรือมี 10 ไร่ ถ้ามี 100 ไร่ รูปแบบการทำเกษตรของผมอาจจะเปลี่ยนไป อยากจะทำอะไรก็ได้

แต่เผอิญวันนี้ พื้นที่มีอยู่ 10 กว่าไร่ ก็ต้องคิดว่า 10 กว่าไร่ ถ้าทำนาแปลว่าปีหนึ่งจะไม่มีเงินหมุนเลย เพราะมันจะน้อยมากจนไม่เห็นตัวเลข ต้องมามองว่าจะทำพืชอะไรที่เป็นไปได้ และเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นจังหวะที่เมล่อน พืชเศรษฐกิจตัวใหม่กำลังมาแรง จึงตัดสินใจกระโดดเข้ามาทำ วันนั้นเมื่อตอนแรกเริ่มมีพื้นที่เพียง 3-4 ไร่ แต่สามารถมีเงินหมุนเป็นล้านบาทต่อปีได้

เสริมกับประสบการณ์ที่เราเคยอยู่ในแวดวงเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ ทำให้มีความรู้เรื่องปัญหาพืช โรคในดิน การให้ปุ๋ย มาช่วยในเรื่องผลผลิตอีกด้วย จากเริ่มต้นที่ 3.5 ไร่ ขยายออกไปอีก 7.5 ไร่ ต่อเนื่องพัฒนาไปถึงการรวมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ วันนี้รายได้ต่อเดือนสำหรับณัฐ เขาตอบว่า ไม่ได้หวือหวานัก แต่สามารถหล่อเลี้ยงทุกชีวิตที่ช่วยงานในฟาร์มได้อย่างสบาย โดยมีเงินหมุนต่อเดือนประมาณ 2-3 แสน และในอนาคตมีแผนจะพัฒนาเป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามทุกอย่างต้องเริ่มที่เงินทุน ซึ่งอยู่ระหว่างการสะสม และมีพันธมิตรร่วมกันที่จะทำให้ชุมชนแข็งแรง

คิดแบบเกษตรกรยุคดิจิทัล

ณัฐ ย้ำว่าจุดเริ่มต้นของแนวคิดการจะมาเป็นเกษตรกรนั้น เราต้องมองอาวุธในมือเราก่อน เช่น มีพื้นที่เท่าไร บางคนทำแค่ไร่อ้อยแต่เขาทำ 500-1,000 ไร่ ก็รวยได้แน่นอน แต่อย่างเรามีพื้นที่ไม่มากนัก 3 ไร่ หรือ 10 ไร่ ทำอะไรแล้วจะคุ้ม จึงต้องมองไปถึงค่าจัดการ ทั้งของตัวเราและลูกน้องของเรา เพราะการทำเกษตรนั้นทำคนเดียวไม่ได้แน่นอน จากนั้นก็ต้องมามองว่าจะปลูกอะไร

“ถ้าปลูกข้าวโพดหรือข้าวบนพื้นที่จำกัด คงจะมีรายได้เพียงหลักหมื่นต่อปี ต้องหันมามองพืชเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างที่ผมหันมามองเมล่อน”

จากนั้นต้องมีการสำรวจตลาดก่อนการทดลองปลูก ณัฐเล่าถึงวิธีสำรวจราคาในหลายช่องทางการขาย ทั้งตลาดไทย ห้างสรรพสินค้า การขายส่งเข้าห้าง และหลังการสำรวจ เขาก็เริ่มเพาะปลูกเมล่อนญี่ปุ่น ไม่ต่ำกว่า 20-30 สายพันธุ์ พร้อมกับเก็บข้อมูลจากการออกบูธวางหน้าร้านว่าสายพันธุ์ไหนอร่อย ถูกใจลูกค้า และซื้อง่ายที่สุด

“ในระยะเวลาทดลองประมาณ 1 ปี ที่ปลูกหมุนเวียนได้ประมาณ 3-4 ครั้งเราได้คัดเลือกมาที่ 3 สายพันธุ์”

นอกจากนั้นการพยากรณ์ผลการผลิตให้สัมพันธ์กับยอดขายในอนาคต ถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ ณัฐ มีการวางแผนเตรียมโรงเรือนในการเพาะเมล็ดหมุนเวียนเพื่อรอบการผลิตทุกสัปดาห์ เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนให้สอดคล้องกับทุกช่องทางการขาย และเนื่องจากผลผลิตที่ได้มามีหลายเกรด ดังนั้นช่องทางต้องทำแบบผสมผสาน โดยผลผลิตเกรด A ตัวท๊อป อาจไม่ได้มีจำนวนมากนัก แต่ได้ราคาที่สูง ในขณะที่ปานกลางนั้นสามารถขายส่งได้ เป็นต้น

“การพยากรณ์ผลผลิต ไม่ต่างจากการพยากรณ์หนี้เสียของธนาคารหรือบัตรเครดิต ในแต่ละ 10 รอบของการปลูก (Crop) เมล่อน เขาจะพยากรณ์ไว้เลยว่าจะได้ประมาณ 8 crops คำนวณต้นทุน 10 crops จะได้ประมาณ 8 crops เรียกได้ว่ามีหนี้เสียประมาณ 20% หากไม่เสียหายถึงระดับที่พยากรณ์ก็ถือว่าเป็นกำไร เขากล่าวว่าเป็นการมองต้นทุนที่แท้จริง ดีกว่าการมองแบบเดิมๆ ที่ว่า 1 ไร่จะได้ 40,000 เพราะฉะนั้น 10 ไร่ได้ 400,000 จะทำให้การคำนวณผิดเพี้ยน เพราะผลผลิตเกษตรสามารถเน่าจนเป็น 0 ได้”

ณัฐ บอกว่า หากในบางปีที่ผลผลิตเกิดความเสียหาย หรือตกเกรดไม่ได้ตามที่คาด ก็ต้องหาแผนสำรองไว้ด้วย เช่นการแปรรูป อาจจะเป็นแยม หรือน้ำเมล่อนสกัดเย็น ที่สำคัญคือทำอย่างไรจะทำให้ผลผลิตเหลือ 0 ให้ได้ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยราคาของพืชผลการเกษตรจะมีขึ้นมีลง แต่สังเกตได้ว่าราคาในห้าง นั้นไม่มีขึ้นลง ยกตัวอย่าง สับปะรดราคาตก แต่ก็ไม่เห็นราคาสับปะรดที่ในห้างราคาเท่ากับท้องตลาดทั่วไป

ในฐานะเกษตรกรที่เป็นต้น ก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิด เมื่อตัดสินใจว่าจะปลูกเมล่อน ตอนเปิดตัวราคาค่อนข้างดีทีเดียว 1 กิโลกรัมอย่างน้อย 100 -200 บาท แต่วันนี้เมื่อเริ่มมีผู้ปลูกจำนวนมาก ราคาจึงตกลงตามเงื่อนไขดีมานด์ซัพพลายโดยปกติ วิธีที่จะหาทางรอดมาได้ต้องแข่งขันกันที่ต้นทุนการจัดการฟาร์ม ให้ได้ผลผลิตเกรด A ในปริมาณสูงต่อ 1 โรงเรือน ถ้าใครจัดการได้ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น

เทคโนโลยีกับภาคเกษตร

ณัฐ บอกว่าเมล่อนญี่ปุ่นเป็นพืชที่มีฤดูกาล ดังนั้นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จ คือ เทคโนโลยีที่สามารถควบคุมระบบการเพาะปลูกได้ทุกขั้นตอน เกษตรกรมีหน้าที่เพียงติดตามดูข้อมูลว่า สิ่งไหนเกินกว่าความจำเป็น การลงทุนลงไป จะถึงจุดคุ้มทุน หรือลดต้นทุน ไม่ทำให้คุณภาพของผลผลิตด้อยลง เช่น เซนเซอร์วัดปริมาณแสงแดดในโรงเรือน ที่ในแต่ละฤดูกาลแสงไม่เท่ากันส่งผลต่อขนาดของผลผลิต เช่น แสงหน้าหนาวลูกจะเล็กและโตช้า เมื่อได้ข้อมูลจากเซนเซอร์เราก็ไปช่วยในส่วนนี้ เช่น ขยายระยะปลูก เพื่อให้ได้ขนาดเกรด A ตามที่ตลาดต้องการ

สำหรับเครื่องวัดความชื้นที่เป็นหัวเซนเซอร์ใส่ไปในดินเพื่อวัดค่า ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่ ในกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่ง ดีแทค (บริษัท เปอร์เซ็นต์เทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ) มีโครงการเข้ามาสนับสนุน โดยร่วมมือกับ NECTEC (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ) ที่นำเทคโนโลยี IoT ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพ และเลือกฟาร์มโคโค่ เมล่อนของณัฐ เป็นหนึ่งในฟาร์มนำร่องของโครงการฯ ที่นำอุปกรณ์มาวิจัยและเก็บข้อมูลในแปลงเกษตร โดยอุปกรณ์นี้ทำให้เกิดประสิทธิผลเพราะทำให้เกิดความแม่นยำ ค่าที่ได้เป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจน ไม่ใช้ความรู้สึกที่อาจผันแปรได้ตามบุคคล เป็นกระบวนการที่ทำให้มีคุณภาพสม่ำเสมอ

รวมถึงเทคโนโลยี ตรวจความชื้นดิน ที่การตรวจดูจากหน้ามอนิเตอร์จะทำให้รู้ว่าความชื้นในดินมีกี่เปอร์เซ็นต์ ควรจะปรับระดับน้ำเท่าไรให้พอดี ในขณะที่ในอดีต ถ้าเห็นว่าใบเหี่ยวจะคิดว่าเมล่อนขาดน้ำก็จะให้น้ำไปอีก แต่วันนี้มีมอนิเตอร์ทำให้พบสาเหตุได้ ถ้าความชื้นในดินยังมีค่าเท่าเดิม จะทำให้รู้เลยว่ารากเน่า อย่างนี้เป็นต้น เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสร้างผลผลิตในเชิงปริมาณที่ได้คุณภาพเกรด A สูงขึ้น

ณัฐ ทิ้งท้ายด้วยข้อคิดถึงให้เกษตรกรรุ่นใหม่ว่า ต้องสำรวจดูสเกลตนเอง ว่าจะควบคุมการจัดการฟาร์ม ควบคุมแสง ความชื้นในดิน ความชื้นในอากาศ และอุณหภูมิ เพราะทุกส่วนมีผลต่อผลผลิตที่ดี และเท่ากันทุกโรงเรือน อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดการทำเกษตรไม่มีสูตรตายตัว เช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ และอย่าทำการทำเกษตรเพราะกระแสมา ต้องรักและตั้งใจทำ จึงจะได้เงินจากตรงนี้จริง และเพียงพอต่อความต้องการ อย่าเพียงแค่เบื่องาน แล้วมาทำเกษตร

อย่างยั่งยืน (Sustainable) กลายเป็นคำที่ถูกนำมาใช้ในแทบทุกอุตสาหกรรม เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ผู้บริโภคเรียกร้องให้แบรนด์หรือธุรกิจที่ตนเองใช้บริการมีจริยธรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคมรอบตัวอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และแน่นอนว่าธุรกิจก็รับทราบเรื่องนี้และพยายามทำตัวเองให้เป็นที่พึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภค

และการใช้ชีวิตในโลกยุคดิจิทัล เครือข่ายสื่อสารคือสิ่งสำคัญที่คอยเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการกิจกรรมต่างๆ สภาพแวดล้อมและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค และการดำเนินธุรกิจของกิจการต่างๆ
อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค คือผู้หนึ่งที่สามารถอธิบายเรื่องความพยายามสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจผ่านกลไกต่างๆ ได้อย่างดี ด้วยหน้าที่รับผิดชอบที่เธอทำอยู่ ทั้งการดูแลงานสื่อสารองค์กร ที่มีหน้าที่ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของดีแทคทั้งหมด

ภายในองค์กรโดยเฉพาะพนักงานที่เธอเข้ามาเปลี่ยนวิธีการสร้างความมีส่วนร่วมกับพนักงานในองค์กร เพื่อให้พนักงานที่มีความหลากหลายทั้งเพศ วัย การศึกษา พื้นฐานครอบครัวให้เข้าใจและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์กร เพื่อผลักดันองค์กรไปสู่เป้าหมาย
ในขณะที่การสื่อสารกับภายนอกองค์กรผ่านการทำงานร่วมกับสื่อสารมวลชนต่างๆ ก็ต้องสร้างความเข้าใจจุดยืนของดีแทคต่อเรื่องราวต่างๆ รวมถึงเรื่องการช่วยสร้างประเทศไทย 4.0 ด้วยทรัพยากรที่ดีแทคมีอยู่ ซึ่งเชื่อมโยงกับอีกงานที่เธอทำอยู่คือเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน เธออธิบายผ่านตัวอย่างว่า “สิ่งที่ดีแทคเน้นย้ำคือเราต้องการเป็น CSR in Process คือการให้บริการต่างๆ เราแสดงความรับ
ผิดชอบต่อลูกค้า คู่ค้า ต่อพนักงาน อย่างไร ตัวอย่างเช่น เราเป็นบริษัทเดียวในประเทศไทย ที่ให้พนักงานลาคลอดได้ 6 เดือน โดยยังจ่ายเงินเดือน เรามองว่าเป็นความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทุกคนซึ่งควรจะได้รับจากดีแทค เวลาทำงานกับดีแทคคุณต้องรู้สึกว่า ดีแทคแคร์คุณ พร้อมจะช่วยลดอุปสรรคในการทำงานให้คุณ และพร้อมจะให้ผู้หญิงไต่บันไดความสำเร็จในการทำงานในองค์กรให้มากที่สุด”
อีกด้านหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืนของดีแทคคือการดูกระบวนการดำเนินธุรกิจภายในให้ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางธุรกิจ เช่นมีทีมตรวจสอบ Supply Chain Sustainability ตรวจสอบการทำงานต่างๆ มีรายการที่ผู้ที่มาทำงานร่วมด้วยต้องตอบหลากหลาย เช่น การใช้วัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การดูแลพนักงานในองค์กรนั้นๆ

“ดีแทคตั้งใจว่าดูไปจนสุดสาย ไม่ใช่เซ็นกับบริษัทใหญ่แล้วจบ เราตามไปจนสุดสายที่เขา Sub ไปจนสุด ทีมเราลงไปตรวจจนสุดสาย ไปตรวจโดยไม่บอกล่วงหน้า และถ้าพบจุดบกพร่องเราจะแจ้งเตือน 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 เราจะหยุดสัญญาแล้วไม่ทำธุรกิจร่วมทันที เราคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ธุรกิจในประเทศที่เป็นบริษัทเล็กบริษัทน้อยจะยกระดับตัวเองขึ้นมาตามมาตรฐานสากล”

และดังที่ทราบกันดีว่า ดีแทคเป็นธุรกิจสื่อสารที่สนับสนุนเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ การช่วยพัฒนาสังคมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จึงเป็นอีกสิ่งที่ดีแทคทำได้ดี ตัวอย่างเช่น Smart Farmer ที่เกิดขึ้นมานานแล้วและกำลังพัฒนาไปสู่การเป็นหน่วยธุรกิจเพื่อสร้างสังคมเกษตร-กรรมที่ยั่งยืน ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปให้บริการกับเกษตร

อีกโครงการคือ DTAC Safe Intenet ที่คอยให้คำปรึกษากับผู้ที่ถูกรังแกเริ่มจากการรังแกกันในโลกไซเบอร์สู่การรังแกในทุกด้าน โดยปีที่ผ่านมาโครงการนี้ช่วยเหลือคนไปกว่า 500 กรณี โดยทำงานร่วมกับ Path2Health และหน่วยงานด้านจิตวิทยาของภาครัฐที่มาร่วมสนับสนุนโครงการนี้
และล่าสุดคือโครงการพลิกไทย ที่มีโครงการร่วมสมัครเข้ามากว่า 500 โครงการ ผ่านการคัดเลือก 10 โครงการเพื่อที่ดีแทคจะช่วยระดมทุนและหาอาสาสมัครเข้าไปร่วมทำกิจกรรมดีๆ ให้เกิดขึ้น เช่น เครื่องสอนอักษรเบลล์ในรูปแบบเกม ของครูเบนซ์ ที่อยากให้คนตาบอดอ่านออกเขียนได้ และโครงการตะบันน้ำ ที่ช่วยสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักขึ้นไปให้พื้นที่ด้านบนสองข้างแม่น้ำใช้ทำเกษตรกรรม โดย
พี่ดิว เพื่อให้ผู้คนในบริเวณนั้นได้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและร่วมกันรักษาดูแลแม่น้ำป่าสัก ช่วยลดตะกอนดินที่จะตกมาทับถม จนรัฐบาลต้องใช้เงินหลายร้อยล้านบาทต่อปีเพื่อขุดลอกตะกอนดินที่ตกค้างในแม่น้ำป้องกันน้ำท่วม

ร่วมขับเคลื่อนสู่สังคมที่ยั่งยืน

อรอุมาเล่าว่าดีแทคเป็นองค์กรที่สนับสนุนให้คนที่มีความหลากหลาย ได้ทำงานร่วมกันโดยใช้ความหลากหลายนั้นผลักดันองค์กรด้วยวัฒนธรรมการทำงานที่อรอุมาบอกว่า เปิดกว้างที่สุดองค์กรหนึ่งในประเทศไทย การทำงานแบบไม่มีระบบสายการบังคับบัญชาที่ซับซ้อน ช่วยให้เธอสามารถผลักดันโครงการเช่น พลิกไทย ด้วยการเสนอแนวคิดและได้รับการอนุมัติอย่างรวดเร็ว โดยมีเงื่อนไขที่เป็นวัฒนธรรมหนึ่งขององค์กรคือ หากล้มต้องหยุดให้เร็วและลุกให้เร็ว

การทำงานที่ยืดหยุ่นมุ่งหวังผลงานที่ดีที่สุดให้กับองค์กร ทำให้คนทำงานสนุกกับงานที่ทำ “ที่ดีแทค งานเยอะมาก แต่ไม่เหนื่อย ทำงานแล้วสนุกทุกวัน เราอยากจะลองทุกวัน แต่ถ้าลองแล้วไม่เวิร์กก็หยุดนี่คือกฎของเรา หยุดแล้วแก้ไข แล้วลุกให้เร็ว”
ขณะเดียวกันค่านิยมขององค์กรในเรื่อง Integrity (การยึดหลักคุณธรรม ความถูกต้องชอบธรรม) เป็นอีกเรื่องที่ผูกพันกับพนักงานทั้งองค์กรตั้งแต่ซีอีโอลงมา

อรอุมาบอกว่าเป้าหมายการทำงานของเธอคือ “อยากเห็นคำว่า Sustainability by Design เข้าไปอยู่ในธุรกิจ หมายความว่า เวลาจะทำอะไรก็แล้วแต่ คิดผลิตภัณฑ์ บริการต่างๆ จะต้องฝังลงไปด้วยกับสิ่งนั้น อยู่บนหลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืน

“อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นอุตสาหกรรมที่แข่งขันกันสูงมาก ผู้บริโภคเองก็คาดหวังว่า อยากได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด บริการที่ดีที่สุด ในราคาที่ถูกที่สุด คือหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อของผู้บริโภคในประเทศไทยยังค่อนข้างอยู่กับเรื่องราคาและคุณภาพเป็นหลัก แต่ว่าเราอยากเห็น หรืออยากเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้าง Ethical Consumer คือผู้บริโภคที่เพิ่มเกณฑ์การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าอีกสักเรื่องคือ เลือกผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทที่มีหลักปฏิบัติทางธุรกิจที่มีจริยธรรม และทำเพื่อสร้างระบบแวดล้อมให้ดีขึ้นไปด้วย”

การจะสร้างผู้บริโภคที่มีจิตสำนึกเช่นนี้ได้ เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันสร้างการรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการอุดหนุนสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ที่ไม่มีจริยธรรมว่าจะส่งผลอย่างไรในเชิงโครงสร้างและระบบ ซึ่งต้องใช้พลังของมวลชนร่วมกันกดดันให้ธุรกิจประพฤติตัวให้ดี ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนเธอสนุกกับการทำงานเรื่องการสร้างความยั่งยืนมาก เพื่อขับเคลื่อนและยกระดับองค์กรท่ามกลางการแข่งขันที่สูง แต่ยังต้องรักษาเรื่องคุณธรรมจริยธรรมขององค์กรไปพร้อมกัน เป็นความท้าทายของทุกองค์กร

เธอประทับใจเวลาได้เห็นสิ่งที่ตนเองและทีมร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มาด้วยกันออกดอกออกผล ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เธอยกตัวอย่างเมื่อต้องเดินสายไปพูดคุยเรื่อง Smart Farmer และมีลูกค้าดีแทคเข้ามาพูดคุยด้วยว่า “คนเดินมาบอกว่าเขาภูมิใจนะ ใช้ดีแทคมา 20 กว่าปี ดีแทคทำแบบนี้เลยหรือ อย่างนี้ทำให้เรายิ้มและทำงานอย่างมีความสุข เป็นแรงผลักดันให้เราทำมาตลอด ตอนไปพูดที่เชียงใหม่ก็มีคนเดินมาพูดว่า ผมใช้ดีแทคมา 20 ปี วันนี้คุณทำให้ผมคิดว่าจะใช้ไป ไม่ย้ายค่ายเลย ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าจริงๆ แล้วผู้บริโภคส่วนหนึ่ง หัวก้าวหน้า เขาไม่ได้เลือกเพราะแค่ของของเรามีคุณภาพหรือถูก แต่เขาเลือกด้วยจิตวิญญาณของเรา เขามองทะลุไปถึงองค์กร คือฟังแล้วมีความสุข เป็นยาใจของทีม”

วิถีสู่ความสำเร็จ

เมื่อถามว่าใช้ความเป็นผู้หญิงในการทำงานจนเติบโตมาในระดับนี้ได้อย่างไร อรอุมา บอกว่า เธอใช้ความเป็นผู้หญิงให้เป็นประโยชน์ ด้วยธรรมชาติที่ผู้หญิงจะใช้อารมณ์ความรู้สึกมากกว่า แต่เธอเปลี่ยนอารมณ์เหล่านั้นให้เป็นเรื่องการทำงานด้วยความลุ่มหลง มีความอดทน

“ความเป็นผู้หญิงทำให้เราได้เปรียบ ที่สำคัญผู้หญิงสุภาพและนอบน้อมได้ดี ซึ่งบางครั้งในการทำงานเรารวมสิ่งเหล่านี้มาและจะได้ผลตอบแทนที่ดี ถ้าเราทำงานโดยใช้ความสามารถ และรู้จักการปกป้องตัวเอง ในการทำงานที่มีความหลากหลายเรื่องเพศ เราจะได้เปรียบ”
อย่างไรก็ตามเธอให้คำแนะนำว่าบางเรื่องผู้หญิงต้องฝึกและเตรียมตัวในการทำงาน เช่นเรื่องการวางตัว การสร้างความมั่นใจในตัวเองในการแสดงความคิดเห็น

“ต้องวางตัวและสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อให้ตัวเองปล่อยความสามารถของตัวเองออกมาให้มากที่สุด ต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้ตัวเองอยู่เสมอ เริ่มจากตัวเองก่อน พอตัวเองคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมนั้นแล้วก็จะสามารถปล่อยความคิดความสามารถของตัวเองออกมาให้คนอื่นได้รับทราบ เข้าใจ หรือสร้างความน่าเชื่อถือได้โดยง่าย เพราะบางครั้งเราจะเห็นว่าผู้หญิงชอบคิดว่าทำๆ กันไป หรือเหนียมอาย แต่ถ้าเรานำเสนอความคิดเห็นของเราอย่างสุภาพ รอบด้าน ใช้ความรู้ในการนำเสนอความคิดเห็นของตัวเอง ใครๆ ก็ฟัง ตัวเราต้องฝึกตัวเราเอง และ Set Stage ของตัวเองอยู่เสมอ อะไรที่ไม่เคยทำแต่จำเป็นต้องทำก็ทำซะ อย่าไปคิดว่าถ้าอย่างนี้ไม่ควรทำ หรือผู้หญิงทำไม่ได้หรอก เพศไม่ได้มีไว้เป็นข้อจำกัด แต่เป็นแรงผลักดันให้เราทำงานหนักขึ้นมากกว่า”

สังคมในอุดมคติ

อรอุมาตอบเรื่องนี้ว่า “อยากเห็นทุกคนมี Personal Leadership คือ คุณต้องมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและต่อผู้อื่น อย่างเช่น Ethical Consumer คือรับผิดชอบต่อตัวเอง ซื้อสินค้ามีคุณภาพ ราคาประหยัด ขณะเดียวกันคุณต้องคิดรับผิดชอบต่อสังคมว่าสิ่งที่ซื้อคุณสนับสนุนสิ่งที่ผิดในสังคมหรือเปล่า ถ้าใช่ไม่ควรทำ

“สองคือ คุณต้องเสียสละ คำนี้ยิ่งใหญ่ คือทุกคนชอบคิดว่า นี่คือสิทธิของฉัน ฉันไม่เอาเปรียบใคร แต่ใครอย่ามาเอาเปรียบฉัน เรากำลังขีดคั่นและสร้างสังคมเห็นแก่ตัว จริงๆ ควรจะเป็นว่า เราไม่เอาเปรียบใคร แต่คุณสามารถมาเอาจากฉันได้บ้าง ควรเป็นแบบนั้น สังคมที่เสียสละ คือคำที่ยิ่งใหญ่ เป็นคุณสมบัติส่วน

หนึ่งของคุณสมบัติ Leadership ของคนทุกคนในสังคม

“สามต้องมีคุณสมบัติในการนำ อย่ากลัวที่จะแตกต่าง สร้างความแตกต่างในสังคม คือสังคมบางครั้งต้องใช้ความกล้า กล้าที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง

“สามคุณสมบัตินี้เป็นสิ่งที่ยึดถือกับตัวเองมาตลอด และเวลาทำงานก็จะเอาหลักการนี้มา และการทำอย่างนี้จะสร้างพลังให้ตัวเอง ทุกครั้งที่คุณเสียสละจะรู้สึกเลยว่ามีพลัง คนที่รับไปรับรองไม่มีวันมองคุณเหมือนเดิม เขาจะรัก จะเคารพ เขาจะรู้สึกคราวหน้าถ้าเขามีโอกาสบ้างเขาจะให้คืนเหมือนกัน และไม่ใช่ให้คุณคนเดียวเขาจะให้คนอื่นด้วย ตรงนี้คือพลังถ้าเรารับผิดชอบต่อตัวเองและผู้อื่น รู้จักเสียสละ สิ่งที่มีเพื่อส่วนรวมบ้างในบางครั้ง และสุดท้ายจะช่วยสร้างพลังให้กับตัวเองและสังคม จะส่งต่อไปเรื่อยๆ”

     ในงาน“dtac Loop: The Shapes of Data” ที่จัดขึ้นโดยดีแทค มีการยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี Machine Learning, Big Data และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ต่อภาคธุรกิจและสังคม มานำเสนอเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีกับโลกธุรกิจและการทำงานภาคสังคม

X

Right Click

No right click