November 21, 2024

ผลสำรวจ Millennial Survey ปี 2021 โดย Deloitte เผย ความคิดเห็นกลุ่ม Gen Z ต่อประเด็นความเปลี่ยนแปลงใหญ่ของโลก

July 08, 2021 2216

 

หลังจากหนึ่งปีแห่งความไม่แน่นอน อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

 ความไม่มั่นคงทางการเมือง การแบ่งแยกทางเชื้อชาติ และเหตุการณ์ความรุนแรงของสภาพภูมิอากาศ คนกลุ่มมิลเลนเนียลและเจน ซี ทั่วโลก รู้สึกว่าปัญหาเร่งด่วนของโลกเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้โลกมีความเท่าเทียมและยั่งยืนมากขึ้น   คนรุ่นนี้ได้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาเป็นเวลานาน แต่หลายๆ คนรู้สึกว่าโลกของเราอยู่ในจุดเปลี่ยนที่สำคัญ   

  • กลุ่มมิลเลนเนียลและกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ส่วนใหญ่เชื่อว่า ประเด็นสำคัญทางสังคมหลายๆ เรื่องมาถึงจุดที่ยากต่อการแก้ไข เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ ความไม่เท่าเทียม และการเลือกปฏิบัติ
  • กลุ่มมิลเลนเนียลและเจเนอเรชั่นซี ประมาณ 40% รู้สึกว่าผู้ว่าจ้างดูแลเอาใจใส่สุขภาพจิตของพวกเขาได้ไม่ดีพอในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
  • หนึ่งในห้าของกลุ่มมิลเลนเนียล รู้สึกถูกเลือกปฎิบัติตลอดเวลา หรือบ่อยครั้ง เนื่องจากภูมิหลังของพวกเขา 

 

จารายงานการสำรวจ Millennial and Gen Z ประจำปี 2021 ของ Deloitte ครบรอบปีที่ 10 ในปีนี้ พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจทุ่มเทแรงกายให้กับการกระทำที่มีความหมาย เช่น การมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้น  การจัดสรรการใช้จ่าย   เลือกอาชีพให้สอดคล้องกับค่านิยมของพวกเขา และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในประเด็นทางสังคมที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเขา   อย่างไรก็ตามผลสำรวจในอดีตหลายปีที่ผ่านมา พบว่า คนกลุ่มนี้คาดหวังให้สถาบันต่างๆ เช่น ภาคธุรกิจ และรัฐบาลลงมือดำเนินการสร้างความเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้

 “ในช่วง 10 ปีที่ Deloitte ได้ทำการสำรวจ Millennial Survey  ชีวิตของคนรุ่นมิลเลนเนียลและ Gen Z มีการเปลี่ยนแปลงไป แต่พวกเขายังคงยึดมั่นค่านิยมของพวกเขาอย่างแน่วแน่ พวกเขายังยึดมั่นในอุดมการณ์ของตนเองที่ต้องการที่จะสร้างโลกที่ดีกว่าเดิม และความเชื่อที่ว่าภาคธุรกิจสามารถ และสมควรที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยเหลือสังคมได้มากกว่านี้” มิเชล พาร์มาลี, Deloitte Global Deputy CEO and Chief People and Purpose Officer กล่าว

ปัญหาสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นหลัก  การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศและการปกป้องสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่กลุ่มมิลเลนเนียลให้ความสนใจเป็นอันดับหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ในปีนี้ ไม่น่าประหลาดใจที่ความกังวลด้านสุขภาพและการว่างงานก้าวขึ้นมาเป็นสิ่งที่กลุ่มมิลเลนเนียลรู้สึกกังวลเป็นอันดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมก็ยังเป็นประเด็นที่สำคัญอันดับต้นๆ (เป็นอันดับที่สาม) และยังเป็นสิ่งที่กลุ่มเจน ซี  กังวลมากที่สุดเช่นกัน แม้ว่าในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความกังวลที่ส่งผลต่อสุขภาพ สวัสดิภาพของครอบครัว และอาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า  ผลสำรวจดังกล่าวตอกย้ำให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน

37% ของมิลเลนเนียล และ 40% ของเจน ซี เชื่อว่า ยังมีอีกหลายๆ คนมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศอย่างจริงจังหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สิ้นสุดลง  ตามวิธีการต่างๆ เช่น การรีไซเคิลมากขึ้น เดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค   กลุ่มมิลเลนเนียลและเจน ซี ยังคงตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่สอดคล้องกับค่านิยมของพวกเขา ผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่าหนึ่งในสี่ กล่าวว่า ผลกระทบจากธุรกิจ (ทั้งด้านบวกและด้านลบ) ต่อสิ่งแวดล้อมล้วนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของพวกเขา

ประมาณ 60% ของมิลเลนเนียลและเจน ซี เกรงว่า พันธสัญญาที่ภาคธุรกิจจะส่งเสริมการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจะถูกลดความสำคัญลดลง เนื่องจากผู้นำทางธุรกิจเผชิญกับความท้าทายที่เป็นผลกระทบมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

คนรุ่นมิลเลนเนียลและเจน ซี เชื่อว่าการเลือกปฏิบัติมีอยู่ทั่วไปในทุกที่  ซึ่งอาจเกิดจากการเหยียดเชื้อชาติอย่างเป็นระบบในสังคมและสถาบันหลักต่างๆ                                                                        ปีที่ผ่านมา การเหยียดเชื้อชาติเป็นปัญหาที่ได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรก จากการสำรวจ พบว่า 55% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดเชื่อว่า สังคมอยู่ใน “จุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญและการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปในเชิงบวกหลังจากนี้” คนรุ่นมิลเลนเนียลและเจน ซี ทำทุกวิถีทางที่สามารถทำได้เพื่อแก้ไขปัญหา แต่ยังคงเรียกร้องให้ภาครัฐและองค์กรอื่นๆ ร่วมผลักดันเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น

หกในสิบของเจนซี และมิลเลนเนียลจำนวน 56% กล่าวว่าการเหยียดเชื้อชาติมีอยู่ทั่วไปในสังคม อย่างไรก็ตามในประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหาส่วนตัวสำหรับหลายๆ คน อย่างน้อยหนึ่งในห้าของผู้ตอบแบบสำรวจ กล่าวว่าพวกเขารู้สึกถูกเลือกปฏิบัติ “ตลอดเวลา” หรือบ่อยครั้งเนื่องมาจากภูมิหลังของพวกเขา จำนวนผู้ตอบหนึ่งในสี่ รู้สึกว่าพวกเขาเคยถูกเลือกปฎิบัติจากรัฐบาลของตน และจำนวนผู้ตอบที่ใกล้เคียงกันรู้สึกว่าพวกเขาตกเป็นเป้าหมายในโซเชียลมีเดีย       

 

 

34% ของมิลเลนเนียล และ 38% ของเจน ซี เชื่อว่าการเหยียดเชื้อชาติในสถานที่ทำงานเป็นเรื่องที่ฝังลึกในระบบเนื่องจากการเลือกปฏิบัติสามารถฝังรากลึกในระบบขององค์กรเป็นเวลานาน สามในห้าของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกจะเริ่มจากระดับบนลงล่างเท่านั้น จากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการปฏิบัติของผู้ที่มีอำนาจ อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่เชื่อว่าสถาบันต่างๆ ดำเนินการอย่างเต็มความสามารถ เมื่อขอให้ผู้ตอบแบบสำรวจจัดอันดับว่าใครคือผู้ดำเนินการอย่างเต็มความสามารถเพื่อลดปัญหาการเหยียดเชื้อชาติในระบบ พบว่า การดำเนินการปฏิบัติในระดับบุคลและนักเคลื่อนไหวมาเป็นอันดับต้น สูงกว่า ระบบการศึกษา ระบบกฎหมาย และรัฐบาล 

บทบาทของธุรกิจในการสื่อสารนั้นมีความไม่แน่นอน และอาจถูกคนรุ่นมิลเลนเนียลและเจน ซี มองข้ามไป ในมุมมองของมิลเลนเนียลและ เจน ซี ศักยภาพของธุรกิจที่จะช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของบุคคล ระบบการศึกษา และรัฐบาล และในการจัดลำดับผู้ที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาการเหยียดเชื้อชาติในระบบ ธุรกิจและผู้นำทางธุรกิจมาเป็นอันดับท้ายสุดจากแปดอันดับ

เพื่อเติมเต็มช่องว่างที่เกิดขึ้นจากสถาบันต่างๆ คนรุ่นมิลเลนเนียลและเจน ซี จึงลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง ผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าพวกเขาให้ความรู้กับผู้อื่น แชร์ข้อมูลผ่านทางโลกโซเชียล และลงคะแนนเลือกตั้งให้กับนักการเมืองที่มีแนวคิดก้าวหน้า รวมถึงไม่สนับสนุนธุรกิจและแบรนด์ที่ไม่ได้มีแนวคิดเรื่องประเด็นการแบ่งแยกที่ตรงกันกับพวกเขา

ความเครียดและความวิตกกังวลเกิดขึ้นทั่วไปในสถานที่ทำงาน สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีขึ้นต่อสุขภาพทางใจ                                            การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ปัญหาความเครียดเป็นสิ่งที่สังคมให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ  41% ของกลุ่มมิลเลนเนียล และ 46% ของเจนซี รู้สึกเครียดตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดความเครียดได้แก่การเงิน ความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัว และโอกาสในการทำงาน ความเครียดเหล่านี้เกิดขึ้นทั่วไปในสถานที่ทำงาน ประมาณหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด กล่าวคือ 31% ของกลุ่มมิลเลนเนียล และ 35% ของกลุ่มเจน ซี มีการลาหยุดงานจากความเครียดและความกังวลที่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม จำนวนเกือบครึ่งของคนกลุ่มนี้ให้เหตุผลของการลาหยุดกับนายจ้างด้วยเหตุผลที่ต่างกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะประเด็นเรื่องการดูแลสุขภาพจิตในสถานที่ทำงาน  ในความเป็นจริง มีเพียง 38% ของมิลเลนเนียลและ 35% ของเจน ซี ที่รู้สึกสบายใจมากพอที่จะเปิดใจพูดคุยกับหัวหน้างานเกี่ยวกับความเครียดที่พวกเขาเผชิญ และประมาณ 40% กล่าวว่าผู้ว่าจ้างดำเนินการไม่ดีพอในการดูแลสุขภาพจิตในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

มิเชล พาร์มาลี กล่าวเสริมว่า “การส่งเสริมให้สถานที่ทำงานเปิดรับและมีส่วนร่วมส่งเสริมให้ผู้คนรู้สึกสบายใจที่จะเปิดใจพูดคุยเกี่ยวกับความเครียด ความกังวล หรือประเด็นด้านสุขภาพจิตอื่นๆที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่นั้น เป็นสิ่งสำคัญ ผู้ว่าจ้างจะต้องแสดงความรับผิดชอบการในสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อสุขภาพจิต และสวัสดิภาพของพนักงาน และสนับสนุนให้เขาเติบโตในการทำงาน”

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ความวิตกกังวลด้านการเงิน และความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งพุ่งสูงขึ้น                                                                                                                               การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ความไม่มั่นคงในด้านการเงินในอนาคตของคนรุ่นมิลเลนเนียลและเจนซี พุ่งสูงขึ้น สองในสามของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าพวกเขา “รู้สึกกังวลหรือเครียด” อยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเงินของพวกเขา และผู้ตอบในจำนวนเดียวกันนี้กล่าวว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้พวกเขาต้องประเมินและเปลี่ยนแนวทางการวางเป้าหมายทางการเงินใหม่                เมื่อมองถึงอนาคต เพียง 36% ของมิลเลนเนียล และ40% ของเจนซี เชื่อว่าสถานการณ์ทางการเงินของตนจะดีขึ้นภายในพ.ศ. 2565  ในขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลเพิ่งสูงขึ้น ประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งนั้นกลายเป็นปัญหาทางสังคมที่ใหญ่ขึ้นเช่นกัน สองในสามของกลุ่มมิลเลนเนียล (69%) และเจน ซี (66%) ที่ได้สำรวจ คิดว่าความมั่งคั่งและรายได้ กระจายตัวอย่างไม่เท่าเทียมในสังคม

หลายๆ คน เชื่อว่าการแทรกแซงของรัฐบาลอาจเป็นสิ่งจำเป็นในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เกือบหนึ่งในสามลงคะแนนเลือกตั้ง หรือสนับสนุนนักการเมืองที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำของรายได้  60% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่า การออกกฎหมายเพื่อลดช่องว่างของผลตอบแทนระหว่างผู้บริหารและพนักงานจะช่วยลดปัญหาได้อย่างมาก เช่นเดียวกับกฎหมายที่กำหนดให้ธุรกิจต้องจ่ายเงินเดือนขั้นต่ำให้คนงาน  และผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่าครึ่งกล่าวว่ารายได้พื้นฐานระดับสากลสามารถช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้

มุมมองเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมของธุรกิจลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อความจงรักภักดีต่องานร่วง น้อยกว่าครึ่งของกลุ่มมิลเลนเนียล (47%) และเจน ซี (48%) คิดว่าธุรกิจสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคม โดยจำนวนดังกล่าวมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่องในห้าปีที่ผ่านมา สิ่งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ผลการสำรวจลดลงต่ำกว่า 50% โดยมีปริมาณลดลงกว่า 30 คะแนนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560

 ความจงรักภักดีต่องานลดลงเล็กน้อยจากปีที่แล้วที่พุ่งสูงสุดทุบสถิติ  คนรุ่นมิลเลนเนียลและเจนซีจำนวนมากขึ้นอาจลาออกจากผู้ว่าจ้างปัจจุบันภายในอีกสองปีหากได้รับโอกาสงานอื่น  (36% และ53% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับ 31% และ 50% ในปี 2020) ในขณะที่ผู้ตอบในจำนวนเดียวกัน กล่าวว่าพวกเขามีแผนจะทำงานที่เดิมอย่างน้อย 5 ปี (34% ของกลุ่มมิลเลนเนียลและ 21% ของกลุ่มเจน ซี ) และ 44% ของมิลเลนเนียลและ 49% ของเจน ซี กล่าวว่าเขาตัดสินใจเลือกประเภทของงานที่จะทำและองค์กรที่ต้องการร่วมงานด้วยจากหลักจริยธรรมของแต่ละคนในช่วงสองปีที่ผ่านมา

มิเชล พาร์มาลี กล่าวว่า “ตลอดหลายปีที่ผ่านมา การสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าคนุร่นมิลเลนเนียลและเจนซี เป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนด้วยค่านิยมและเน้นการปฏิบัติ และเชื่อมั่นว่าตนเองและธุรกิจมีส่วนรับผิดชอบ แม้ว่าจะเป็นช่วงปีที่ยากลำบาก พวกเขายังคงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์ตรงกันกับพวกเขาและสนับสนุนพวกเขาให้สามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าจะได้รับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ  

รายงานการสำรวจ Millennial Survey ประจำปี 2021 ฉบับเต็ม ได้ที่ www.deloitte.com/millennialsurvey.

 

หมายเหตุ :

ระเบียบวิธีวิจัย  รายงานประจำปีพ.ศ. 2564 สะท้อนความคิดเห็นจากกลุ่มมิลเลนเนียล 14,655 คน และเจน ซี 8,273 คน (ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 22,928 คน) จาก 45 ประเทศทั่วอเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา ยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียแปซิฟิก การสำรวจจัดทำขึ้นผ่านการกรอกตอบแบบสัมภาษณ์ด้วยตนเองทางออนไลน์ สำหรับการสำรวจภาคสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 8 มกราคม – 18 กุมภาพันธ์ 2564

 

 

 

 

X

Right Click

No right click