จริงอยู่ที่ข้อเท็จจริงจะทำให้ผู้รับสารสามารถเข้าถึงข้อมูลและเกิดการเรียนรู้ ข้อเท็จจริงสามารถบ่งชี้ถึงปริมาณหรือข้อพิสูจน์ที่ทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อ
ในครึ่งปีหลัง ความไม่แน่นอนต่างๆ ได้เริ่มก่อตัวให้เห็นและมีอิทธิพลต่อผลตอบแทนของการลงทุนเรามากมาย
สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผย ว่า “ในครึ่งปีแรกบริษัทฯ มียอดขายรวม 24,376 ล้านบาท รายได้ 19,282 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.1 เปอร์เซ็นต์ จากผลของการปรับพอร์ตผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้เข้าสู่สัดส่วน คอนโดมิเนียม 40เปอร์เซ็นต์ ทาวเฮาส์ 40 เปอร์เซ็นต์ และบ้านเดี่ยว 20 เปอร์เซ็นต์ และการเปลี่ยนแผนการขายที่เน้นการขายบ้านพร้อมอยู่เพิ่มขึ้นทำให้การเปิดโครงการในช่วงครึ่งปีแรกลดลง ขณะที่กำไรสุทธิในครึ่งปีแรกอยู่ที่ 2,426 ล้านบาทเท่ากันกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านต่างๆ
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีมีการเปิดโครงการใหม่แล้ว 26 โครงการ มูลค่า 19,900 ล้านบาท โดยในครึ่งปีหลังจะเปิดโครงการใหม่เพิ่มอีก 42 โครงการ มูลค่ารวม 41,500 ล้านบาท โดยมีโครงการไฮไลท์หลายโครงการทั้งในกลุ่มธุรกิจพรีเมียม และกลุ่มธุรกิจแวลู อาทิ “เดอะรีเซิร์ฟ สาทร” “ภัสสร บางนา-วงแหวน” “เดอะไพรเวซี่ จตุจักร”, และ “พฤกษาวิลล์ รามคำแหง-วงแหวน” โดยจะใช้กลยุทธ์การตลาดรูปแบบใหม่ที่เน้นคุณภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ สร้างความแตกต่างของโปรดักส์ให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม รวมถึงเพิ่มสัดส่วนการใช้สื่อดิจิตอลในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ในกลุ่มทาวน์เฮาส์จะมุ่งรักษาความเป็นเจ้าตลาดทาวน์เฮาส์อย่างต่อเนื่อง โดยจะขยายตลาดไปยังต่างจังหวัดในหัวเมืองใหญ่ และในเขต EEC มากขึ้น
อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้เพิ่มช่องทางการขาย New Sales Channel อีก 3 ช่องทางได้แก่ “โบรกเกอร์” ซึ่งจะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าคอนโดมิเนียมที่เป็นชาวต่างชาติได้มากยิ่งขึ้น “B2B” การมอบส่วนลดพิเศษกับองค์กรพันธมิตรกับพฤกษา ปัจจุบันมีองค์กรที่เป็นพาร์ทเนอร์แล้วถึง 1,314 แห่ง (รวมบริษัทในเครือ) โดยในครึ่งปีแรกมียอดขายจากสองช่องทางใหม่นี้ คิดเป็นสัดส่วนถึง 28% ของยอดขายทั้งหมด และอีกช่องทางการขายที่เพิ่มขึ้นได้แก่ Pruksa Member ที่เน้นให้สมาชิกพฤกษาแนะนำผู้ซื้อ ซึ่งผู้แนะนำจะได้รับสิทธิพิเศษตามเงื่อนไขที่กำหนด ที่ผ่านมาพบว่า 47% ของลูกค้าที่ถูกแนะนำจะซื้อที่อยู่อาศัยของพฤกษา และพฤกษามีฐานข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าขนาดใหญ่มากกว่า 1 ล้านข้อมูล ซึ่งจะช่วยเข้าถึงกลุ่มลูกค้าต่างๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูลเพื่อผลักดันยอดขายได้ดียิ่งขึ้น
ด้านความคืบหน้าของการลงทุนในธุรกิจเฮลท์แคร์นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงพยาบาลวิมุต คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2563 ซึ่งระหว่างนี้มีแผนเปิดคลีนิค “บ้านหมอวิมุต” ซึ่งเป็นคลินิกที่เปิดให้บริการรักษาโรคทั่วไป รวมถึงให้คำปรึกษาด้านสุขภาพกับผู้อาศัยในชุมชน เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต่อยอดจากโรงพยาบาลวิมุต โดยจะเปิดโครงการนำร่องให้บริการที่แรกในย่านรังสิต คลอง 3 จ.ปทุมธานี ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งย่านรังสิตถือเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ และมีโครงการของพฤกษาอยู่เป็นจำนวนมาก และจะขยายไปยังชุมชนอื่นต่อไปในอนาคต
ทางด้านปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท แวลู บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ในครึ่งปีหลังจะมีการปรับพอร์ตเน้นเปิดโครงการคอนโดมิเนียมมากขึ้น เพื่อเป็นการวางเป้าหมายรายได้ในระยะยาว โดยจะเปิดโครงการคอนโดมิเนียมเพิ่มอีก 10 โครงการ คิดเป็น 40% ของพอร์ตรวมทั้งหมด ซึ่งมีหลากหลายทำเลทั้งใจกลางเมืองย่านธุรกิจและตามแนวรถไฟฟ้า คาดว่าจะช่วยเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ในกลุ่มคอนโดได้มากยิ่งขึ้น ในส่วนของบ้านเดี่ยวจะเน้นการสร้างความแตกต่างทั้งในด้านของดีไซน์ ฟังก์ชั่น สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการ และนวัตกรรมการอยู่อาศัย ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าให้มากที่สุด และในครึ่งปีหลังนี้จะมีการรับรู้รายได้จากการโอนคอนโดมิเนียมจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ พลัมคอนโด ปิ่นเกล้า สเตชั่น, พลัมคอนโด รามคำแหง สเตชั่น, เออร์บาโน่ ราชวิถี และแชปเตอร์วัน อีโค รัชดา-ห้วยขวาง มูลค่าราว 12,200 ล้านบาท ประกอบกับแนวโน้มของอัตราการปฏิเสธธนาคารของลูกค้าพฤกษาในครึ่งปีแรกที่ผ่านมาซึ่งอยู่ในระดับต่ำเพียง 4.6% จากกลยุทธ์บ้านพร้อมขาย (Ready to Move in) และ Pre-Approve ทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ จึงคาดว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายรายได้ตามแผนที่วางไว้อย่างแน่นอน
ท่ามกลางโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วรวมถึงความต้องการของผู้บริโภค ฮาร์ลีย์-เดวิดสันประกาศแผนการลงทุนเชิงกลยุทธ์เพื่อรองรับธุรกิจในสหรัฐฯ พร้อมกระตุ้นการเติบโตของแบรนด์ในระดับสากลเพื่อกระตุ้นการเติบโตที่จะช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายปี ค.ศ. 2027 ด้วย ด้วยแผนกลยุทธ์ “More Roads to Harley-Davidson” ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานไปจนถึงปี ค.ศ. 2022
แมตต์ ลาวาทิช ประธานบริษัทและประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน บอกว่าแผนการดำเนินงานนี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของฮาร์ลีย์-เดวิดสัน ประกอบด้วยความเป็นเลิศในการพัฒนาและการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ความนิยมต่อแบรนด์ในระดับสากล และ เครือข่ายผู้จำหน่ายที่กว้างขวาง ฮาร์ลีย์-เดวิดสันจะปฏิวัตินิยามของอิสรภาพแห่งการขับขี่ยานยนต์สองล้อไปอีกขั้น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่นักขี่รุ่นใหม่ในอนาคต ซึ่งอาจยังไม่เคยสัมผัสกับความตื่นเต้นเร้าใจในการพุ่งทะยาน ควบคู่ไปกับการรักษากลุ่มนักขี่ที่ภักดีต่อแบรนด์ฮาร์ลีย์-เดวิดสันในปัจจุบัน โดยแผนกลยุทธ์ More Roads to Harley-Davidson เกิดจากการประเมินผ่านมุมมอง ลูกค้ามาเป็นอันดับหนึ่ง จนออกมาเป็นแผนงาน 3 ด้านประกอบด้วย
ผลิตภัณฑ์ใหม่
เพื่อรุกแข่งขันในตลาดผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่และมีอัตราการเติบโตรวดเร็ว ด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์มอเตอร์ไซค์ที่ครอบคลุมทุกความต้องการทั้งในเรื่องระดับราคา แหล่งพลังงาน ความจุเครื่องยนต์ รูปแบบการขับขี่ และตลาดสากล โดยให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย
เพิ่มการเข้าถึงแบรนด์
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน จะขยายแนวทางการกระจายสินค้าในตลาด และตอบสนองความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน ด้วย
ผู้จำหน่ายฮาร์ลีย์-เดวิดสัน
บริษัทจะยกระดับประสิทธิภาพของเครือข่ายผู้จัดจำหน่าย ช่วยให้ผู้จัดจำหน่ายฮาร์ลีย์-เดวิดสัน สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างความสำเร็จให้แก่ตนเองและฮาร์ลีย์-เดวิดสัน ไปพร้อมกับการมอบประสบการณ์ผู้บริโภคระดับพรีเมียมของแบรนด์ ให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์และฐานลูกค้าที่มีความหลากหลาย แมตต์ ลาวาทิช สรุปว่าแผนงานทั้ง 3 ด้านของบริษัทคือการกำหนดขอบเขตแบรนด์ขึ้นใหม่ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น
การระดมทุนและการเงิน
นอกจากการสร้างนักขี่หน้าใหม่ บริษัทยังคาดหวังให้แผนกลยุทธ์ More Roads to Harley-Davidson สามารถสร้างมูลค่าที่เพิ่มมากขึ้น ช่วยให้ธุรกิจมั่นคงและแข็งแกร่ง เพิ่มอัตราผลตอบแทนของกิจการฮาร์ลีย์-เดวิดสัน มอเตอร์ และทำให้บริษัทสามารถจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นได้เพิ่มขึ้น โดยบริษัทได้วางแผนด้านทุนทั้งหมดด้วยการลดค่าใช้จ่ายทุกด้านและการจัดสรรการลงทุนและทรัพยากรที่เคยวางแผนไว้ก่อนหน้านี้ใหม่ทั้งหมด ซึ่งรวมถึงงบลงทุนด้านการดำเนินงานถึงปี ค.ศ. 2022 จากเดิม 450 ล้านดอลลาร์ เป็น 550 ล้านดอลลาร์ และการลงทุนด้วยเงินทุนจนถึงปี ค.ศ. 2022 จาก 225 ล้านดอลลาร์ เป็น 275 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัทคาดหวังว่าแผนกลยุทธ์นี้จะสามารถสร้างรายได้ต่อปีเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2022 เมื่อเปรียบเทียบกับปี ค.ศ. 2017
กฤติยา ศรีสนิท กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กรุงศรี ออโต้ สามารถรักษาการเติบโตของธุรกิจในกลุ่มสินเชื่อรถจักรยานยนต์ได้อย่างต่อเนื่องในครึ่งปีแรก 2561 โดยมียอดสินเชื่อใหม่สินเชื่อรถจักรยานยนต์ รถบิ๊กไบค์ และรถบิ๊กไบค์ มือสอง รวมอยู่ที่ 8,900 ล้านบาท หรือเติบโตถึง 19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสวนทางกับยอดขายรถจักรยานยนต์และตลาดสินเชื่อรถจักรยานยนต์ที่หดตัว 2%
เบื้องหลังการรักษาอัตราการเติบโตมาจากกลยุทธ์ 3 ด้านที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ เปิดเผยออกมาว่าประกอบด้วย การขยายพื้นที่บริการดีลเลอร์ในเชิงราบและเชิงลึก เพื่อเจาะตลาดที่มีศักยภาพ ผ่านสาขาของกรุงศรี ออโต้ 51 แห่งทั่วประเทศ และการปรับระบบโซนนิ่งเชิงกลยุทธ์โดยเพิ่มกำลังคนในการให้บริการดีลเลอร์ในแต่ละพื้นที่ และเพิ่มจำนวนโซนเพื่อลดปริมาณพื้นที่ที่พนักงานต้องดูแลลง ส่งผลให้บริการรวดเร็วขึ้น
สร้างการรับรู้แบรนด์ในกลุ่มผู้บริโภค ด้วยการเปิดช่องทางบริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ช่วยให้บริการลูกค้าได้ตามความต้องการ และรุกให้บริการในงานมหกรรมยานยนต์ทั่วประเทศ เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการสินเชื่อมอเตอร์ไซค์ได้ง่ายขึ้น รวมถึงออกแบบแคมเปญสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อขยายฐานลูกค้าในกลุ่มรถบิ๊กไบค์
พัฒนาผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพบริการ ผ่านการทำความเข้าใจลูกค้า ดีลเลอร์ และตลาด เพื่อให้สามารถออกแบบข้อเสนอที่ตอบโจทย์ทั้งดีลเลอร์และผู้บริโภคซึ่งมีความต้องการแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ รวมถึงใช้เทคโนโลยีเช่นแท็บเล็ตเพื่อให้บริการที่ฉับไวยิ่งขึ้น
กฤติยามองว่าโอกาสเติบโตของตลาดสินเชื่อมอเตอร์ไซค์ยังมีอยู่ตามต่างจังหวัดที่ยังมีดีลเลอร์ปล่อยสินเชื่อเองอยู่ โดยกรุงศรี ออโต จะสามารถนำเอาความชำนาญด้านการปล่อยสินเชื่อไปสนับสนุนให้ดีลเลอร์สามารถมุ่งมั่นกับงานขายที่ถนัดได้