September 19, 2024

นายสุรชัย นิ่มละออ Chief Innovation & Technology Officer บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด และนายวิเชษฐ์ ชูเชื้อ Chief Operating Officer บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลง

การศึกษาความเป็นไปได้ในการดักจับคาร์บอนและการใช้ประโยชน์จากก๊าซเผาไหม้ ที่ปล่อยจากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” กับนาย Takashi Suzuki (ทาคาชิ ซูซูกิ) BoD Environment Energy Sector - Nippon Steel Engineering Co., Ltd. (NSE) และ นาย Masaya Watanabe (มาซายะ วาตานาเบะ) CEO - Thai Nippon Steel Engineering and Construction Corporation, Ltd. (TNS) โดยความร่วมมือดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนบางส่วนจาก New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO) ของรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ นำโดย นายชนะ ภูมี Vice President – Cement and Green Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี และนาย Yukito Ishiwa (ยูกิโตะ อิชิวะ) Representative Director and President – NSE Group เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Cement & Concrete ในปี 2050

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 30 ล้านตันต่อปี ซึ่งอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ได้ให้ความสำคัญและเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อย่างเร่งด่วน หนึ่งในแผนการดำเนินงาน คือ การศึกษาและนำเอา Carbon Capture and Utilization (CCU) เทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับและเหมาะสำหรับการนำมาใช้ดักจับก๊าซเผาไหม้ที่มีความดันค่อนข้างต่ำและความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำในปริมาณมาก เช่น ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ทุกประเภท รวมถึงก๊าซจากปล่องของโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ เป็นต้น

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ทางเอสซีจี และ NSE จะได้ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในระบบการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แบบดูดซับสารเคมีที่พัฒนาขึ้นภายในบริษัท ที่เรียกว่า “ESCAP™”[1] เพื่อดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากก๊าซเผาไหม้ที่ปล่อยออกมาจากโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ของเอสซีจี ที่จังหวัดสระบุรี และจะพัฒนาโครงการ[2] และโมเดลทางธุรกิจในการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ โดยจะเปลี่ยนให้เป็นก๊าซมีเทน รวมถึงก๊าซออกซิเจนที่เกิดจากกระบวนการผลิต จะถูกนำกลับไปใช้ในโรงงานปูนซีเมนต์ นอกจากนี้ความร้อนที่เกิดจากระบบส่วนหนึ่งจะถูกนำไปหมุนเวียนในระบบ ESCAP™ เพื่อเป็นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตปูนซีเมนต์ด้วยความรับผิดชอบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม โดยเบื้องต้นเอสซีจี มีแผนเตรียมโรงงานนำร่อง (Demonstration Plant) ที่พัฒนาร่วมกับ NSE ในปี 2024 (โดยประมาณ) เพื่อนำผลการศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีดังกล่าว และนำข้อมูลไปออกแบบและติดตั้งโรงงานในเชิงพาณิชย์ (Commercial Plant) ต่อไป เพื่อให้ได้ระบบที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับโรงงานผู้ผลิตปูนซีเมนต์ อันเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นของเอสซีจี เพื่อบรรลุเป้าหมาย “Net Zero Cement & Concrete ภายในปี 2050” สอดคล้องตามแนวทาง ESG 4 Plus ได้แก่ “1. มุ่ง Net Zero 2. Go Green 3. Lean เหลื่อมล้ำ 4. ย้ำร่วมมือ Plus เชื่อมั่น โปร่งใส”

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ถ่ายทอดระบบ “ฟาร์มอัจฉริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm)” มุ่งสู่เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มมิ่ง มุ่งใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม IOT ในฟาร์มสุกร ช่วยยกระดับการบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สวัสดิภาพสัตว์ระดับสากล ลดการพึ่งพายาปฏิชีวนะ และเพิ่มความเชื่อมั่นผู้บริโภค

นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า การวิจัยและพัฒนาเป็นก้าวย่างสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินงานของธุรกิจเลี้ยงสัตว์ (Farm) รุดหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับธุรกิจสุกรให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยผนึกกำลังกับซีพีเอฟไอที เซ็นเตอร์ และทรู คอร์ปอเรชั่น ในการพัฒนาระบบ “ฟาร์มอัจฉริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm)” มาผนวกกับกิจการเลี้ยงสัตว์ของซีพีเอฟ เมื่อข้อมูลจำนวนมากของบริษัทที่ถูกเก็บรวบรวมแบบออนไลน์ ทำให้ได้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์และประมวลผล อีกทั้งยังนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาช่วยยกระดับและสร้างความเชื่อมั่นให้กับข้อมูลต่างๆ และบริษัทยังพัฒนาการเลี้ยงสุกรครบวงจร “SMART PIG” มาปรับใช้ในการเลี้ยงสุกรทุกช่วงอายุ เพื่อช่วยยกระดับการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ การเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต 

ขณะเดียวกัน ยังผลักดันให้เกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อย หรือ Contract Farming นำระบบสมาร์ทฟาร์มมาปรับใช้อย่างต่อเนื่อง อาทิ การตรวจสอบและควบคุมสภาพแวดล้อมแบบอัตโนมัติ (Automatic) การติดตั้งระบบกล้อง CCTV โดยร่วมกับทรูติดตั้งจนครบ 100% ในฟาร์มเกษตรกร 3,700 ราย และมีระบบตรวจวัดการไอของหมู หรือ Sound Talks เพื่อติดตามสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงผ่านออนไลน์ เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายในฝูงสัตว์

“ซีพีเอฟใช้เทคโนโลยีระบบสมาร์ทฟาร์ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มระบบปิด ที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ทำให้สัตว์มีสุขภาวะที่ดีจากภายใน ลดการพึ่งพายาปฏิชีวนะ ได้เนื้อสัตว์ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ปลอดภัย ส่งผลดีต่อสุขภาพผู้บริโภค พร้อมถ่ายทอดระบบสู่เกษตรกร ส่งผลการผลิตเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยตรวจสอบการป้องกันโรคในฟาร์มอย่างเข้มงวด ด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และ IOT (Internet of Things) ทำให้ซีพีเอฟและเกษตรกรมีเทคโนโลยีการผลิต (Operation Tech) ที่สามารถผลิตสุกรในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในราคาที่เข้าถึงได้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน” นายสมพร กล่าว

สำหรับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเลี้ยงสุกร ได้แก่ ระบบ SMART Farm Solution ทำให้ทราบถึงปริมาณการกินน้ำและอาหาร อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม ก๊าซแอมโมเนียที่จะมีผลต่อสุขภาพสุกร และสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนให้สม่ำเสมอตลอดทั้งหลัง เหมาะสมกับสุกรมากที่สุด หากอุปกรณ์เกิดความผิดพลาด ระบบจะแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ทันที, ระบบ SMART Eye AI Detector ทำการบันทึกและวิเคราะห์พฤติกรรมและสุขภาพสุกรแม่พันธุ์ก่อนคลอดได้อย่างแม่นยำ เจ้าหน้าที่จึงบริหารจัดการได้อย่างมีประสทธิภาพ, ระบบ Smart Pig (QR Code) บันทึกข้อมูลในระบบออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้านการจัดการสุกรแม่พันธุ์ผ่าน QR Code, ระบบตรวจวัดการไอของสุกร Sound Talks ตรวจวัดสุขภาพสุกรจากการไอ แล้วแปลงเป็นระบบคลื่นเสียง พร้อมแสดงแถบสีบนอุปกรณ์ และแจ้งข้อมูลในระบบทันที, ระบบกล้องวงจรปิด CCTV ติดตั้งในจุดที่สำคัญทั้งภายนอกและภายในโรงเรือน เพื่อตรวจสอบระบบการป้องกันโรค ลดโอกาสการนำเข้าเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม และ ระบบรายงานออนไลน์สำหรับเกษตรกร Chatbot เกษตรกรสามารถบันทึกข้อมูลสำคัญในกระบวนการผลิต ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งรวดเร็วกว่าการจดบันทึก และยังสามารถส่งภาพพฤติกรรมสุกรภายในโรงเรือนให้กับสัตวบาลและสัตวแพทย์ช่วยวิเคราะห์สุขภาพสุกรขุนได้ตลอดเวลา ช่วยให้ดำเนินแก้ปัญหาได้ทันท่วงที สามารถลดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง./ 

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด  นำร่องโครงการ “รถดิจิทัลเพื่อสังคม” เร่งสร้างความเท่าเทียมด้านทักษะดิจิทัล

เคยมีคำกล่าวว่า “แนวทางการตลาดที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปนานกว่าหกเดือน จะไม่มีวันย้อนกลับมาทำเหมือนเดิมได้อีกแล้ว”

นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ท้าทายมักจะนำไปสู่ความก้าวหน้าครั้งสำคัญ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นและการปรับใช้เทคโนโลยีดำเนินไปอย่างรวดเร็วมากขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

Page 5 of 8
X

Right Click

No right click