September 19, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

ไม่มีธุรกิจไหนในปัจจุบันที่สามารถแข่งขันได้ ถ้าไม่มีการนำเอา Digital Technology เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจขององค์กร

Telemedicine Era

April 20, 2020

ในเหล่า "ผู้รู้" หรือ "กูรู" สายทอร์คที่พูดกว้าง มองไกลและฉายภาพอนาคตชัด โดยเฉพาะ ในประเด็นที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและดิสรัปชั่นที่กระหน่ำสร้างความเปลี่ยนแปลงในภาคส่วนๆ

ในโลกนี้มีกฎเพียงไม่กี่กฎซึ่งมนุษย์ค้นพบจากการเฝ้าสังเกตธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ที่สามารถให้อรรถาธิบายสรรพสิ่งและความเป็นไปของธรรมชาติได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

มีคนขับแท็กซี่นับหลายหมื่นรายที่หันมาใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อรับผู้โดยสารในปัจจุบัน เนื่องจากเห็นถึงประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และพร้อมปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หนึ่งในนั้นคือ จิรภัทร โสภาลัย ประธานเครือข่ายชมรมผู้ขับแท็กซี่ 4.0 และ กมลาสน์ กุลบันลือพิชญ์ ประธานชมรมแท็กซี่ไทยพัฒนา

1. เพิ่มช่องทางในการหารายได้

  

นายจิรภัทร โสภาลัย ประธานเครือข่ายชมรมผู้ขับแท็กซี่ 4.0 กล่าวว่า “แต่ก่อนเราต้องขับรถไปเรื่อย ๆ รอให้ผู้โดยสารเรียก ทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนค่าแก๊ส ค่าน้ำ

มัน รายได้ในแต่ละวันก็ไม่แน่นอน แต่ปัจจุบันพอมีเทคโนโลยีเข้ามา การใช้แอปเรียกรถทำให้คนขับแท็กซี่อย่างเรามีช่องทางในการหารายได้เพิ่มมากขึ้น สามารถเลือกไปในพื้นที่ที่มีลูกค้าอยู่หนาแน่นได้ เพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะกดเรียก จากที่สอบถามเพื่อน ๆ สมาชิกในเครือข่ายที่ใช้แอปเรียกรถ 

 2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

บริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีหรือผู้ให้บริการแอปพลิเคชันต่างให้ความสำคัญกับการลงทุนและการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัย ซึ่งไม่เพียงจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ แต่ยังทำให้คนขับทำงานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) มาช่วยจับคู่ตำแหน่งของคนขับกับจุดหมายปลายทางของผู้โดยสาร ทำให้คนขับแท็กซี่ทราบจุดรับ-ส่งล่วงหน้า ซึ่งช่วยลดปัญหาการโบกแล้วไม่จอดรับหรือการปฏิเสธผู้โดยสารอย่างเป็นรูปธรรม หรือการนำระบบจีพีเอส (GPS) มาใช้ ซึ่งช่วยแนะนำเส้นทางที่รวดเร็วที่สุดให้กับคนขับ เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัด 

 

3. เพิ่มความอุ่นใจด้านความปลอดภัย

  

ไม่ใช่แค่ผู้โดยสารเท่านั้นที่ต้องการความปลอดภัยในการเดินทาง คนขับแท็กซี่เองก็เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่ต้องขับรถไปส่งผู้โดยสารในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย สถานที่เปลี่ยว หรือในเวลาค่ำคืน ซึ่งอาจทำให้เกิดความกังวลในด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยหรือการก่ออาชญากรรม แต่ประเด็นเหล่านี้หมดไปเมื่อมีแอปเรียกรถซึ่งมีเทคโนโลยีและมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับคนขับ เนื่องจากผู้ให้บริการแอปพลิเคชันมีเทคโนโลยีการยืนยันตัวตน (Biometric Authentication) ของทั้งคนขับและผู้โดยสาร จึงสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันทีหากเกิดเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ 

ในกรณีที่มีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ คนขับยังสามารถติดต่อ Call Center ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือในกรณีฉุกเฉินก็มีปุ่ม SOS ให้สามารถติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือได้ทันที นอกจากนี้ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ แอปเรียกรถอย่างแกร็บยังได้ทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล

4. เพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน

         

ประโยชน์อีกประการที่หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อน คือ แอปเรียกรถช่วยให้คนขับแท็กซี่ ซึ่งเป็นกลุ่ม Unbanked หรือผู้ที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินพื้นฐานจากสถาบันการเงินในระบบ อย่างบริการโอนเงิน ชำระเงิน ฝากเงิน และกู้เงิน มีโอกาสเข้าถึงบริการดังกล่าวมากขึ้น เนื่องจากคนขับจะได้รับเอกสารรับรองทางการเงิน จากบริษัทผู้ให้บริการแอป ซึ่งได้รับการยอมรับจากสถาบันการเงิน ทำให้สามารถใช้เป็นหลักฐานในการสมัครบริการสินเชื่อเงินสด (Digital lending) ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้นอกระบบถึง 30 เท่า 

กมลาสน์ กุลบันลือพิชญ์ ประธานชมรมแท็กซี่ไทยพัฒนา กล่าวเสริมว่า "นอกจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากทั้งค่าโดยสาร โบนัส เงินจูงใจและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ แล้ว การใช้แอปเรียกรถทำให้เรามี statement ที่ช่วยรับรองรายได้ของคนขับแท็กซี่ ซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ เชื่อถือและให้การยอมรับ ทำให้คนขับหลายคนที่เคยเช่ารถและอยากมีรถเป็นของตัวเองสามารถกู้เงินเพื่อซื้อรถเป็นของตัวเองได้”

 

5. เพิ่มศักยภาพและมาตรฐานการให้บริการ

   

การเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ อย่างแอปเรียกรถทำให้คนขับแท็กซี่ต้องปรับตัวเพื่อพัฒนาความเข้าใจและศักยภาพเพื่อให้สามารถก้าวทันยุคดิจิทัลและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ถือเป็นโอกาสในการเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนาตนเอง โดยแอปเรียกรถอย่างแกร็บยังมีการจัดอบรมต่าง ๆ ให้กับคนขับอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น เทคนิคการให้บริการ การขับขี่ปลอดภัย การดูแลสภาพรถยนต์ หรือแม้แต่คอร์สภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดหลักปฏิบัติและจรรยาบรรณของคนขับ รวมทั้งมีระบบควบคุมคุณภาพการให้บริการของคนขับแบบเรียลไทม์

มร. เคน หู รองประธานบริหาร หัวเว่ย ได้ขึ้นกล่าวถึง สถานะปัจจุบันของการพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วโลก ในงาน Global Mobile Broadband Forum ครั้งที่ 10 ซึ่งเปิดฉากขึ้น ณ เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวานนี้ (15 ตุลาคม 2562) นอกจากการเน้นย้ำถึงประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ที่มีต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศที่ได้ริเริ่มการใช้โครงข่าย 5G กันแล้ว มร. เคน หู ยังกล่าวถึงความสำคัญของนโยบายและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่จะเอื้อต่อการเร่งพัฒนาเครือข่าย 5G ในขั้นต่อไป

“เราได้ขับเคลื่อนจนเกิดความก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จาก 5G ได้สูงสุด เราต้องร่วมมือกันเพื่อพิชิตความท้าทายต่างๆ ที่รอเราอยู่เบื้องหน้า ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่ แหล่งทรัพยากรต่างๆ รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เครือข่าย 5G ไม่เพียงแต่เร็วกว่า 4G แต่จะมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของเราที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น ในฐานะผู้ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม เราจำเป็นต้องมีวิธีคิดที่สดใหม่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต” มร. เคน หู กล่าว

ทั่วโลกเดินหน้า 5G เต็มกำลัง

เพียงเวลาไม่ถึงหนึ่งปีหลังจากที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานขึ้นมาอย่างชัดเจน ได้เกิดการใช้งานเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง ซึ่งมีความเร็วกว่า 4G อย่างมาก ผู้ให้บริการเครือข่ายในกว่า 20 ประเทศ ได้เปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ รวมกว่า 40 เครือข่าย ภายในปลายปีนี้ คาดว่าจะมีเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีกเป็น 60 ราย

5G เปิดประสบการณ์ที่เหนือกว่าให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสความเร็วสูงสุด โดยเกาหลีใต้เป็นประเทศแรกที่เปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ และตอนนี้มีผู้ใช้งานมากกว่า 3.5 ล้านรายสมัครใช้งานเครือข่าย 5G กับผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศ ภายในช่วงเวลาเพียงไม่ถึงหกเดือน อัตราการเติบโตดังกล่าวมีผลมาจากบริการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น AR/VR ที่ใช้เทคโนโลยี 5G และการถ่ายทอดสดกีฬาด้วยภาพคมชัดระดับเอชดีแบบ 360º บริการทั้ง 3 รูปแบบนี้ทำให้ผู้ใช้งาน 5G กลุ่มแรกเริ่มใช้ปริมาณดาต้าเพิ่มขึ้นถึง 1.3 กิ๊กกะไบท์ต่อเดือน

 

นอกจากปริมาณการใช้ดาต้าที่เติบโตเพิ่มขึ้น ผู้ให้บริการเครือข่ายรายต่างๆ ยังมีช่องทางรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น LG U+ ผู้ให้บริการเครือข่ายในเกาหลีใต้ได้เปิดตัวบริการด้าน VR/AR ซึ่งรวมอยู่ในแพ็กเกจดาต้า 5Gแบบพรีเมียม และในช่วงเวลาเพียงสามเดือนหลังการเปิดให้บริการ 5G สัดส่วนผู้ใช้งานแพ็กเกจดาต้าแบบพรีเมียมเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 3.1% เป็น 5.3%

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอื่นๆ ยังสร้างมูลค่าทางธุรกิจใหม่ๆ จากการเริ่มใช้งาน 5G ในระดับอุตสาหกรรม โดย มร. เคน หู กล่าวว่า “แอพพลิเคชั่น 5G เพื่อช่วยยกระดับทั้งด้านการสื่อสารความเร็วสูงบนโทรศัพท์มือถือ ด้านบันเทิง และด้านการผลิต ซึ่งได้เริ่มใช้งานกันไปบ้างแล้ว แม้เรายังบอกไม่ได้ว่าแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นไปในรูปแบบใด ในอนาคต แต่ขณะนี้เราได้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าทุกอุตสาหกรรมต่างได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G”

 นโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนาคลื่นความถี่และไซท์กระจายสัญญาณ

มร. เคน หู ให้ข้อสังเกตว่า แหล่งจ่ายและต้นทุนของคลื่นความถี่เป็นสองความท้าทายหลักที่เรากำลังเผชิญ “เราหวังว่าภาครัฐจะสามารถจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ให้มากขึ้นและพิจารณารูปแบบการตั้งราคาที่มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม เพราะจะช่วยลดภาระรายจ่ายลงทุนเบื้องต้นให้แก่ผู้ให้บริการเครือข่ายได้”

นอกจากนี้ มร. เคน หู ยังเสนอแนะให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มวางแผนที่จะตอบรับความต้องการในคลื่นความถี่ใหม่ให้ครอบคลุมภายใน 5-10 ปีข้างหน้านี้ พร้อมชี้ว่า คลื่นความถี่ในช่วง 6GHz เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

“อุตสาหกรรมของเราต้องการการสนับสนุนด้านทรัพยากรของไซท์สัญญาณเพิ่มขึ้นด้วย ปัจจุบัน ต้นทุนยังสูงอยู่มาก ในขณะที่ไซท์สัญญาณไม่เพียงพอกับความต้องการเสมอ หน่วยงานกำกับดูแลควรริเริ่มและส่งเสริมให้มีการเปิดให้ใช้โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะในรูปแบบของการแบ่งปัน รวมถึงออกแนวทางสำหรับการก่อสร้างไซท์สัญญาณ” มร. เคน หู กล่าวต่อ

 มหานครเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองตัวอย่างที่รัฐบาลได้สร้างเสาไฟฟ้าอเนกประสงค์มาตรฐานใหม่ ภายในปี 2020 เซี่ยงไฮ้จะติดตั้งเสาไฟฟ้ารูปแบบใหม่นี้ตลอดระยะทาง 500 กิโลเมตรของถนนสาธารณะ เพื่อเพิ่มแหล่งจ่ายสัญญาณ 5G อีก 30,000 แห่ง คิดเป็น 75% ของสถานีกระจายสัญญาณไร้สายทั่วเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ส่วนในยุโรป กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายโดยตรง เพื่อกำหนดความต้องการและระบุข้อบังคับในการใช้แหล่งจ่าย 5G และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะร่วมกัน (เช่น ไฟจราจร ป้ายจราจร และป้ายรถเมล์) เพื่อลดต้นทุนให้ทุกภาคส่วนด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้ร่วมกันได้

ขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

มร. เคน หู กล่าวปิดท้ายด้วยการเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เรายังมีความท้าทายในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองก์ความรู้ของภาคอุตสาหกรรมแบบเดียวกันในแนวดิ่ง กรณีศึกษาตัวอย่าง และการพัฒนาให้สามารถทำเป็นธุรกิจได้ เราจึงจำเป็นต้องร่วมมือร่วมแรงกัน ด้วยการเปิดใจ ทำงานร่วมกันกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อหาปัญหาที่แท้จริงและค้นหาว่าอะไรที่ได้ผลหรือไม่ได้ผล ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถใช้ศักยภาพของ 5G ได้สูงสุด”

ในการส่งเสริมนวัตกรรมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนและความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่กว้างขวางขึ้น หัวเว่ยได้เปิดศูนย์นวัตกรรมความร่วมมือ 5G สำหรับยุโรปเป็นแห่งแรกในเมืองซูริค ศูนย์นี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและซันไรส์ ซึ่งนับเป็นแพลตฟอร์มนวัตกรรมที่ช่วยให้ทั้งสองบริษัทสามารถทำงานร่วมกันและพัฒนาโซลูชั่น 5G เฉพาะทางสำหรับภาคอุตสาหกรรม

“เห็นได้ชัดว่าแต่ละประเทศมีจุดแข็งทางเศรษฐกิจของตัวเอง ซึ่งเป็นขอบเขตที่เราสามารถนำเทคโนโลยี 5G เข้าไปเสริมโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อเป็นการต่อยอดความสามารถในการแข่งขันของประเทศนั้นๆ ” มร. เคน หู กล่าวสรุป

สำหรับงาน Global Mobile Broadband Forum ในปีนี้ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน จากผู้ให้บริการเครือข่าย อุตสาหกรรมแบบเดียวกันในแนวดิ่ง บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ องค์กรที่กำหนดมาตรฐานต่างๆ หน่วยงานวิเคราะห์การตลาด และสื่อมวลชน โดยมีการจัดแสดงเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G โซลูชั่นเชิงพาณิชย์ รวมถึงการใช้ 5G ในระดับผู้บริโภค ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมบริการคลาวด์ AR/VR ผ่าน 5G การถ่ายทอดสัญญาณภาพบนความละเอียด 8K การเล่นเกมผ่านคลาวด์ แมชชีนวิชั่น และโซลูชั่นที่ใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อการควบคุมทางไกล

Page 7 of 8
X

Right Click

No right click