November 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

กราบสักการะ ทาเคดะ ชินเก็น ณ ศาลเจ้า TAKEDA

January 20, 2018 4204

เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองโคฟุร่วมใจกันสร้างขึ้น ในปี ค.ศ.1919 เพื่อรำลึกและเป็นที่สักการะต่อ ทาเคดะ ชินเก็น (Takeda Shingen) นักรบและเจ้าเมืองผู้ยิ่งใหญ่ในยุคเซ็นโกกุ (ประมาณ 500 ปีก่อน) ณ ศาลเจ้าแห่งนี้ทีมงาน MBA ได้พบกับคุณป้าโอนิชิ ซุกิโกะ (Oonishi tsukiko) อาสาสมัครนำเที่ยว (Volunteerism) วัยเกษียณ โดยคุณป้าโอนิชิเป็นผู้มีความรู้ และความรักในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความเชื่อ และเรื่องราวของเมืองโคฟุเป็นอย่างดี

 

 

นอกจากข้อมูลและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แล้ว คุณป้าโอนิชิยังช่วยบอกเล่าเรื่องถึงวิถีชีวิตและวิถีชุมชน ตลอดจนการดำเนินชีวิต ความคิดและความเชื่อของชาวเมืองโคฟุ ที่คุณป้าโอนิชิเติบโต ใช้ชีวิตในเมืองนี้มาตั้งแต่เกิด คุณป้าโอนิชิเล่าให้ฟังว่าเหตุใดเจ้าเมืองทาเคดะ ชินเก็นจึงได้เป็นสัญลักษณ์ของบ้านเมืองแห่งนี้ว่า “เพราะทาเคดะชินเก็น เป็นบุคคลที่ชาวเมืองโคฟุเคารพรักและศรัทธา แม้จะผ่านไปเกือบ 500 ปี เพราะไดเมียวทาเคดะ เป็นผู้นำที่มีความรักและเห็นแก่ประโยชน์ของพลเมืองเป็นเรื่องใหญ่ในยุคที่ปกครองเมืองไค (Kai) ชื่อเดิมของเมืองโคฟุ

 

เจ้าเมือง ทาเคดะได้สร้างความเจริญจนอาณาจักรมีความแข็งแกร่งตัวอย่างเช่น ในยุคนั้นมีการค้นพบเหมืองทองคำ แต่เจ้าเมือง ทาเคดะก็มิได้ใช้อภิสิทธิ์ในการถือครองมาเป็นทรัพย์สินส่วนตัวหรือของตระกูล แต่กลับนำทองคำที่ขุดมาได้ ไปใช้ในการซื้ออาวุธเพื่อปกป้องและพัฒนาบ้านเมือง จนเข้มแข็งและมั่นคงขยายอาณาจักรออกไปได้กว้างไกล คุณป้าโอนิชิยังสำทับด้วยความเห็นต่อว่า “หากมิใช่ว่าเจ้าเมืองทาเคดะ ต้องมาเสียชีวิตลงก่อน ชาวเมืองไคเชื่อกันว่า เมืองไคน่าจะเป็นศูนย์กลางของญี่ปุ่นโดยการรวบรวมของผู้นำทาเคดะ”

 

 

ในยุคของเจ้าเมืองทาเคดะ มีการพัฒนาเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การวางผังเมือง สร้างถนนหนทาง และคูน้ำ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเรื่องเกษตร การค้า และอุตสาหกรรม ที่เป็นความเจริญสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน และนั่นคือเหตุผลที่ชาวเมืองโคฟุ จึงเคารพรักและศรัทธาต่อทาเคดะ เซ็นเก็น เช่นนั้นเอง

 

 

ในระหว่างเดินชมบริเวณในศาลเจ้าซึ่งยกคฤหาสน์ สึสึจิกะซะกิ (Tsutsujigasaki) ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของไดเมียวในยุคเซ็นโกกุ โดยที่คฤหาสน์จะมีการวางผังและบริเวณโดยรอบ โดยมีคูน้ำ กำแพงหิน และบ่อน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมตามยุคสมัย นอกจากนี้ ภายในศาลเจ้ายังมี “ต้นสน 3 ใบ” ซึ่งคุณป้าโอนิชิบอกว่ามีอายุหลายร้อยปี และมีเคล็ดในเรื่องนี้ว่า “ถ้าเก็บใบสน 3 ใบกลับไปด้วยจะช่วยในเรื่องโชคลาภ ในเรื่อง “เงินทอง” ดังนั้นแล้วทุกคนในคณะก็พากันเก็บสน 3 ใบใส่กระเป๋าโดยถ้วนหน้า และหวังว่าจะได้รับทรัพย์กันในเร็ววัน

 

 

นอกจากนี้ คุณป้าโอนิชิยังให้คำแนะนำเป็นความรู้ในเรื่องขนบธรรมเนียมของการเข้าศาลเจ้า อาทิเช่นวิธีแสดงความเคารพในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และต้องมีการล้างมือจากกระบวยน้ำในบ่อน้ำที่เตรียมไว้ ก่อนเข้าไปนมัสการที่ศาลเจ้า และที่สำคัญและหลายคนอาจคิดไม่ถึงคือ การเดินบนทางเดินภายในบริเวณศาลเจ้า เราไม่ควรเดินผ่ากลาง โดยคุณป้าโอนิชิอธิบายว่า “เราต้องเดินเฉพาะด้านข้างของทางเดิน เพราะตรงกลางคือทางเดินของเทพเจ้า”

 

 

 

 

X

Right Click

No right click