×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

“โฟร์เกิ้ล” (Fourgle) บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทย โชว์ศักยภาพคว้าทุนรอบ Seed Fund จำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มคอมมูนิตี้รูปแบบใหม่ เชื่อมต่อผู้มีความสนใจเดียวกัน อินฟลูเอนเซอร์ ผู้ประกอบการ และแบรนด์ต่างๆ นำร่องเปิดตัว CookKlick (คุกคลิก) คอมมูนิตี้ของคนชอบทำอาหารและเบเกอรี่ เป็นชุมชนแรก พร้อมเตรียมขยายธุรกิจสู่เป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นผ่านการระดมทุนในระดับ Series A ภายในปี 65

ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท โฟร์เกิ้ล (ประเทศไทย) จำกัด สตาร์ทอัพผู้พัฒนา Community Content Platform เปิดเผยว่า โฟร์เกิ้ล” (Fourgle) ได้เริ่มการพัฒนาแอปพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ตั้งแต่ต้นปี 2021 ด้วยการใช้เทคโนโลยี Big data และ Machine Learning เป็นเทคโนโลยีหลัก ในการสร้างคอมมูนิตี้รูปแบบเชิงลึกหรือ Vertical Social Community ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมากและประสบความสำเร็จจากการระดมทุนครั้งแรกรอบ Seed Fund จาก Angle Investor เป็นมูลค่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้บริษัทฯมีมูลค่าหลังการระดมทุนกว่า 400 ล้านบาท

“สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ผู้คนมีการสื่อสาร แบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์เรื่องต่างๆ บนออนไลน์มากขึ้น มีการสร้างพื้นที่เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเกิดการสร้างคอมมูนิตี้ออนไลน์ในเรื่องต่างๆเพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ข้อมูลในคอมมิวนิตี้ต่างเป็นข้อมูลเชิงลึก หลายคอนเท้นต์ที่เกิดขึ้นนับได้ว่ามีมูลค่าและความหลากหลายมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและธุรกิจ ไม่ว่าจะกระตุ้นการตัดสินใจ สร้างกระแสความนิยม ความรู้ความเข้าใจ ช่วยการสร้างแบรนด์ ตลอดจนช่วยกระตุ้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี”

Fourgle เป็นศูนย์รวมคอมมูนิตี้ที่สร้างปฏิสัมพันธ์ในเชิงลึก การเป็นพื้นที่พูดคุย แหล่งรวมข้อมูลของความสนใจหัวข้อต่างๆ พร้อมให้ผู้คนคอนเน็คกันด้วยฟีเจอร์มากมาย นอกจากนั้นยังสามารถแลกเปลี่ยนไอเดียต่างๆ การเปิดประสบการณ์ใหม่จากการค้นหาข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสามารถต่อยอดสร้างรายได้จากการพัฒนาคอนเทนต์ภายในคอมมูนิตี้นั้นๆ ได้อีกด้วย

แอปพลิเคชั่น Fourgle จะเริ่มต้นด้วยการสร้างคอมมูนิตี้สำหรับกลุ่มคนที่ชื่นชอบในการทำอาหารและเบเกอรี่เป็นคอมมูนิตี้แรก ภายใต้ชื่อ CookKlick (คุกคลิก) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงคอมมูนิตี้ให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้นผ่านฟังก์ชั่นที่หลากหลายทั้งการสอบถามแลกเปลี่ยน การแบ่งปันไอเดีย ความรู้ และสูตรการทำอาหาร ตอบโจทย์ในการแชร์ข้อมูล คอนเทนต์ และข่าวสารที่น่าสนใจระหว่างผู้ใช้งาน รวมถึงเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อระหว่างคนที่มีแพสชั่นเดียวกัน นักรีวิว มือสมัครเล่น อินฟลูเอนเซอร์ ผู้ประกอบการ และแบรนด์ต่างๆ ได้อย่างครบวงจร ให้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ก่อนขยายไปยังคอมมูนิตี้ที่มีความชอบในด้านอื่นๆต่อไป ซึ่งทางบริษัทฯ เตรียมเปิดตัวแอปพลิเคชั่น Fourgle และพร้อมให้บริการอย่างเป็นทางการ ภายในเดือนธันวาคมปี 2564 นี้

Fourgle มองเห็นถึงโอกาสในการต่อยอดและพัฒนาแอปพลิเคชั่นรูปแบบใหม่นี้ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของ New Gen ตลอดจนกระตุ้นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องในคอมมูนิตี้นั้นๆ พร้อมมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างอินฟลูเอนเซอร์ในแต่ละคอมมูนิตี้ และกลุ่มผู้ก่อตั้ง โฟร์เกิ้ล ซึ่งเป็นทีมที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์ในการก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพทั้งในประเทศไทยและซิลิคอนแวลลีย์

“เรามีความตั้งใจที่จะทำแพลตฟอร์มนี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยตั้งเป้าหมายการระดมทุนใน Series A เพื่อเพิ่มศักยภาพของแพลตฟอร์มและขยายการให้บริการไปยังต่างประเทศในช่วงปลายปี 2565 นี้” ดร. อนุชิต กล่าวทิ้งท้าย

# # #

โตเกียว--1 ต.ค.--เกียวโด เจบีเอ็น-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์

 - สตาร์ทอัพชั้นนำ 11 แห่งจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เตรียมเข้าร่วมด้วย -

 CyberAgent Capital Inc. ประกาศในวันที่ 28 กันยายนว่า บริษัทเตรียมจัดอีเวนต์สตาร์ทอัพระดับโลกที่มุ่งเจาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นอย่าง "Monthly Pitch Asia" ในชื่อใหม่ซึ่งก็คือ "CyberAgent Pitching Arena" ในวันที่ 6 ตุลาคม 2564 นี้ ในรูปแบบออนไลน์

เวลาเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีจำกัด CyberAgent Capital จึงได้เริ่ม "Monthly Pitch ( https://monthly-pitch.com/ )" ขึ้น เพื่อให้เหล่าผู้ประกอบการระยะแรกเริ่มพบปะกับนักลงทุนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้พวกเขาเสียเวลาน้อยที่สุดในการระดมทุน และนำเวลานั้นไปมุ่งพัฒนาธุรกิจของตนให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้

 เดือนกันยายน 2564 นับเป็นครั้งที่ 52 แล้ว โดยทาง CyberAgent Capital ได้จัดงานนี้เป็นประจำทุกเดือนมาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งนับจนถึงวันนี้มีบริษัทเข้าร่วมอีเวนต์รวมกัน 403 ราย (บริษัทในประเทศ 387 ราย และบริษัทต่างประเทศ 16 ราย) ขึ้นแท่นอีเวนต์ระดมทุนที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น

 อีเวนต์ที่กำลังจะมาถึงนี้ จะประกอบไปด้วยการนำเสนอบริษัทเพื่อหาทุน (pitch) ของสตาร์ทอัพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 แห่ง ทั้งยังมีการประชุมระหว่างสตาร์ทอัพกับนักลงทุนจากทั่วโลกด้วย

 กำหนดการ:

 การนำเสนอบริษัทเพื่อหาทุนซึ่งบันทึกไว้ล่วงหน้า (5-6 นาที) ตามด้วยช่วงถามตอบ (5 นาที)

 

นายสุทธิพงศ์ กนกากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นางนิสิตา ศิรธรานนท์ กรรมการบริหาร ฝ่ายการพัฒนา บริษัท บล็อคฟินท์ จำกัด (Blockfint) ฟินเทคสตาร์ทอัพ ที่มีความเชี่ยวชาญพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน เข้ารับรางวัลสตาร์ทอัพด้านดิจิทัลยอดเยี่ยมอันดับที่ 5 จากผลงาน mini-REC จากโครงการ Spark Ignite 2021 – Thailand Start-up Competition ซึ่งจัดขึ้นโดย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอีโคซิสเต็มในประเทศไทย พร้อมยกระดับบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัล ตลอดจนธุรกิจสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตในระดับภูมิภาค เมื่อเร็ว ๆ นี้

โครงการ “Spark Ignite 2021 – Thailand Start-up Competition” ในปีนี้ มีผู้เข้าแข่งขันรวม 132 ทีม คณะกรรมการ ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากแวดวงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้พิจารณาคัดเลือกผู้สมัคร ให้เข้ารอบชิงชนะเลิศ จำนวน 10 ทีม และตัดสินผลงานของสตาร์ทอัพแต่ละทีม จากปัจจัยด้านโอกาสในการทำตลาด รูปแบบบริการและธุรกิจ จุดขาย โอกาสทางธุรกิจ รวมไปถึงความแข็งแกร่งของทีมผู้เข้าแข่งขัน

 "ทีมงาน Blockfint รู้สึกดีใจและภูมิใจกับรางวัลนี้ เพราะประสบการณ์ และความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมการแข่งขัน ได้ก่อให้เกิดไอเดียใหม่ ที่จะเป็นประโยชน์ และนำไปปรับใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจต่อไป mini-REC เป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานแบบรายย่อย ที่สามารถซื้อขาย RECs ได้ในปริมาณหน่วยที่ต่ำกว่า 1 MWh ซึ่ง เป็นการพลิกโฉมประสบการณ์ดิจิทัลด้านพลังงาน และสร้างระบบนิเวศใหม่ที่จะเชื่อมโยงผู้บริโภค ผู้ซื้อ และพันธมิตร ให้เข้าถึงการซื้อขาย RECs ได้ง่ายขึ้น และยังจะช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ และบุคคลทั่วไป หันมาใช้พลังงาน หมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น” นายสุทธิพงศ์กล่าว

 ปัจจุบัน บล็อกฟิน มีโซลูชันที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Thinker โซลูชันที่ช่วยปฏิวัติระบบปฏิบัติการ ให้กับสถาบันการเงิน Gideon แพลตฟอร์มสำหรับซื้อขายพลังงาน (Energy Trading) และคาร์บอนเครดิต Finsdee แพลตฟอร์มที่เข้ามาช่วยการทำธุรกรรมด้านสินเชื่อ สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย Signfin ระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าตัวอื่นที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา เพื่อตอบโจทย์การใช้งานด้านดิจิทัลรูปแบบอื่น ๆ

# # #

CPR-INTOUCH 017 / 2564                                                                                                             Press Release

 

InVent ลงทุนรอบ Series A ใน Conicle สตาร์ทอัพ EdTech สัญชาติไทย สนับสนุนการพัฒนา All-in-one Learning Platform สำหรับลูกค้าองค์กร

 

กรุงเทพฯ – 29 มีนาคม 2564  อินเว้นท์ (InVent) โครงการธุรกิจร่วมลงทุนภายใต้บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช ร่วมกับ Humanica, 500 TukTuks, StormBreaker Venture, และ Stundi ลงทุนใน Conicle บริษัทสตาร์ทอัพด้าน EdTech ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มและโซลูชันด้านการเรียนรู้สำหรับองค์กร รอบ Series A มูลค่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 90 ล้านบาท) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและการเติบโตทางธุรกิจ มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้าน All-in-One Learning Platform และ HR Transformation Solution ให้กับลูกค้าองค์กร พร้อมขยายตลาดสู่ต่างประเทศ

 

ดร.ณรงค์พนธ์ บุญทรงไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริษัทร่วมทุนและพัฒนาธุรกิจ และหัวหน้าโครงการบริษัทร่วมทุนอินเว้นท์ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “อินทัชมีเป้าหมายลงทุนในสตาร์ทอัพที่เกี่ยวเนื่องกับ 5G มากขึ้น เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยี 5G มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และบริการของกลุ่มอินทัช โดยเน้นการลงทุนในเทคโนโลยีด้านต่างๆ เช่น การศึกษา (EdTech) สุขภาพ (HealthTech) การเงิน (FinTech) และ Emerging Technology ซึ่งการลงทุนใน Conicle เพราะเล็งเห็นศักยภาพในการเติบโตที่สอดรับกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป และยังตอบโจทย์แนวคิดของกลุ่มบริษัทที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนด้วยการยกระดับการศึกษาซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ”

 

“การลงทุนใน Conicle ถือเป็นการลงทุนใน EdTech Startup รายแรกของอินเว้นท์ ซึ่งการลงทุนครั้งนี้ถือเป็น Strategic Investment ที่สำคัญของอินทัช ในฐานะ lead investor เรายินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศไทยและการพัฒนาบุคลากรที่ขับเคลื่อนองค์กรให้มีศักยภาพสูงขึ้น เปิดโอกาสให้สามารถเพิ่มทั้งทักษะเดิม (upskill) และทักษะใหม่ (reskill) ได้ทุกที่ทุกเวลา และสามารถต่อยอดกับกลุ่มอินทัชในการหาโอกาสสร้างธุรกิจใหม่ในอุตสาหกรรมการศึกษาด้วย โดยเฉพาะกับเอไอเอสที่ได้สร้างฐานการรับรู้ในตลาดการศึกษามาหลายปีผ่าน AIS Academy ผมมองว่าเรื่องการศึกษาจะถูกให้ความสำคัญมากขึ้น จากตัวอย่างที่เห็นชัดในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา อีกทั้งแนวโน้มการลงทุนในสตาร์ทอัพด้าน EdTech ทั่วโลกก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2020 มีเม็ดเงินกว่า 16 พันล้านเหรียญสหรัฐที่สตาร์ทอัพกลุ่มนี้ระดมทุนจาก VC ทั่วโลก ซึ่งก้าวกระโดดกว่า 2 เท่าหากเทียบกับปี 2019 ซึ่งในระยะกลางถึงยาว ทั้งอินทัชและ Conicle มีแนวคิดทางธุรกิจที่สอดคล้องกัน ที่อยากเห็นประเทศไทยมีแพลตฟอร์มการศึกษาที่จะเสริมให้คนไทยสามารถเรียนรู้ได้ตลอดทุกช่วงอายุ (Lifelong Learning) ซึ่งหมายถึงการขยายฐานลูกค้าไปยังตลาดลูกค้าทั่วไป (Consumer) ซึ่งมีความน่าสนใจและมี pain points ที่ต่างจากกลุ่มลูกค้าองค์กร การเรียนในห้องเรียนแบบเดิมๆ อาจจะไม่ตอบโจทย์ผู้เรียนยุคใหม่ที่บริบทของสังคมและองค์ความรู้เปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว ซึ่งเราจะทำงานร่วมกับ Conicle รวมถึงพันธมิตรธุรกิจอื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสและลดช่องว่างให้เด็กไทยสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพต่อไป”

 

Conicle Platform และ ConicleX ตัวช่วยบริหารจัดการการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล

แพลตฟอร์มบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management Platform) เป็นเสมือนผู้ช่วยที่รู้ใจของผู้บริหารและ HR ในการพัฒนาบุคลากรขององค์กร ภายใต้แนวคิดหลัก “All-in-One Learning Experience” เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถสร้างการเรียนรู้และเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดเด่นในเรื่องการใช้งานที่ง่ายและตอบโจทย์ครอบคลุม การเรียนรู้ในกระบวนการต่างๆ ในรูปแบบ 70.20.10 คือ เรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และวัดประเมินผลการลงมือทำ ได้ครบจบในที่เดียว

 

นอกจากนี้ ได้พัฒนา ConicleX - The Cloud University มหาวิทยาลัยออนไลน์ที่รวบรวมการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัลเน้นองค์ความรู้และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะด้านธุรกิจ ด้านดาต้า ด้านบุคลากร และด้านการพัฒนาตนเอง เพื่อช่วยในการ Upskill และ Reskill เพิ่มศักยภาพในด้านต่างๆ ของบุคลากรได้อย่างดีมากขึ้น ปัจจุบัน Conicle ได้ให้บริการองค์กรชั้นนำกว่า 50 องค์กรจากหลากหลายอุตสาหกรรม มีผู้ใช้งานกว่า 1 ล้านราย

 

คุณนกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ CEO & Co-Founder Conicle กล่าวว่า “ที่ Conicle เราโฟกัสเรื่องการสร้างเทคโนโลยีและบริการที่ช่วยพัฒนาคนให้เรียนรู้ง่ายขึ้น ช่วยให้คนเก่งขึ้น ช่วยให้องค์กรมีเครื่องมือและกระบวนการที่ดีขึ้นในด้านการพัฒนาคน การเรียนรู้จะไม่จบแค่ในระดับมหาวิทยาลัย แต่จะกลายเป็น Lifelong Learning ที่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะความรู้และทักษะนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในอัตราเร่งที่มากขึ้นเรื่อย ๆ Conicle จึงสร้างแพลตฟอร์มที่เป็นเสมือนมหาวิทยาลัยออนไลน์ที่ผู้คนและองค์กรสามารถสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ และด้วยแนวคิดที่มุ่งยกระดับการเรียนรู้ให้เป็นมิติใหม่ ไม่ใช่แค่การเป็น E-Learning หรือ Online Courses เท่านั้น แต่มองการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผสมผสานวิธีการเรียนรู้ต่างๆ เข้าด้วยกัน (Blended Learning) แล้วจัดสรรให้เข้ากับความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล (Personalized Learning) และเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งถือเป็นจุดเด่นและแนวทางหลักของ Conicle”

 

ด้านคุณอนพัทย์ วิมลประภาพร CTO & Co-founder ของ Conicle กล่าวเสริมว่า “ผมมองว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราเติบโตอย่างต่อเนื่อง คือ การที่เรารับฟังและทำความเข้าใจลูกค้าอยู่เสมอ และเรามี Passion มากกับการสร้าง ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน เราเข้าไปดูกระบวนการทำงานของลูกค้า ได้เห็นปัญหา และตีโจทย์ออกมาเป็นโซลูชันที่สามารถช่วยองค์กรและผู้ใช้งานได้จริง ๆ ที่ผ่านมาเราได้พิสูจน์แล้วว่าเรามีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานจริง ๆ มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง และเราเองก็พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน”

 

Conicle จับมือกับ Humanica วางกลยุทธ์ในการเป็น All-in-One HR Platform ตอบโจทย์การใช้งาน HR

ที่ผ่านมา Conicle มีการพัฒนาเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยมี Strategic Partner ที่เป็นทั้งนักลงทุนและเป็นเสมือนพี่เลี้ยงที่สำคัญ คือ บริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด (มหาชน) ซึ่ง Humanica เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ HR Management และให้บริการ Outsourcing แก่องค์กรเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล ถือเป็นผู้นำทางด้าน HR Solution ของประเทศ โดย Humanica และ Conicle ได้จับมือและวางกลยุทธ์ร่วมกันในการเป็น All-in-One HR Platform ที่ตอบโจทย์กระบวนการ HR อย่างครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้บริการลูกค้าองค์กรแบบครบจบที่เดียวได้ ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญของการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันและสามารถเทียบเคียงกับแพลตฟอร์มจากต่างประเทศที่เป็น Global Player ชั้นนำของโลกได้

 

คุณสุนทร เด่นธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท  ฮิวแมนิก้า จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า  “สำหรับการจับมือกับ Conicle เพื่อรุกแพลตฟอร์ม Learning นับเป็นการเปิดแนวรบใหม่ โดยฮิวแมนิก้ามีความต้องการที่จะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจริงๆ โดยนำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มของ Conicle มารวมกับแพลตฟอร์มของฮิวแมนิก้า เพื่อเสริมสร้าง Employee Ecosystem ของเราให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น และตอบโจทย์ในการช่วยให้พนักงานของลูกค้าเราทำงานได้ดียิ่งขึ้น และมีความส่วนตัวที่มีความสุขยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นแนวคิดร่วมกัน คือการสร้าง The Ultimate Work-Life Platform”

 

อีกหนึ่งในผู้ร่วมลงทุนที่ได้ให้มุมมองความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพการเติบโตของตลาด EdTech - คุณกระทิง พูนผล Managing Partner แห่ง 500 TukTuks และผู้ก่อตั้ง StormBreaker Venture เปิดเผยว่า  “ทางเรามองว่าตลาดการลงทุนใน “EdTech” เป็นตลาดที่ใหญ่มาก มีมูลค่าการลงทุนทั่วโลก จะเห็นได้จากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมายกระดับศักยภาพของคนในประเทศ เพื่อเป็นตัวเร่ง ผลักดัน เพราะเราเชื่อว่า ในอนาคต 35% ของทักษะแบบเดิมจะใช้ไม่ได้ในการทำงาน อาทิ ถ้าอยู่ในอุตสาหกรรมไฟแนนซ์ 47% ของทักษะจะใช้ไม่ได้ ส่วนเทคโนโลยีที่จะมีผลในการเรียนการสอนในอนาคต ได้แก่ VR/AR, 3D printing ในการสอนเมกเกอร์, เซ็นเซอร์และเน็ตเวิร์ก และ AI”

 

“รวมถึงในอีกไม่เกิน 3-5 ปีข้างหน้า กว่า 47% ของงานจะถูกหุ่นยนต์มาแทนที่ แปลว่างานหายไปครึ่งหนึ่ง ต่อไป AI, โรโบติก จะเป็นฐานของดิจิทัลดิสรัปชั่นเวฟต่อๆ ไป ความไม่เท่าเทียมกันจะยิ่งขยาย แม้กระทั่งความรู้ด้านเทคโนโลยีก็ยิ่งห่าง ดังนั้น ต้องเร่งรีสกิล เพราะถ้าอีก 3 ปี ไม่มีการพัฒนาตัวเอง อยู่ไม่ได้แน่นอน รวมถึงบุคลากรในประเทศไทยต้องรีสกิลทั้ง 67 ล้านคน ดังนั้น การที่เราร่วมลงทุนกับ Conicle จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้”

 

นอกจากนี้ ผศ.ดร.นพพร เรืองวานิช ผู้อำนวยการหลักสูตรควบตรี-โท ทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ลงทุนอีกรายกับทาง Conicle ในรอบ Sereis A ได้กล่าวเสริมว่า “อนาคตของการศึกษาจะต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกมิติ ซึ่งจะไม่ใช่แค่ในห้องเรียน หรือรูปแบบคอร์สออนไลน์เท่านั้น แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดทั้งการเรียน แลกเปลี่ยน ลงมือทำ และวัดผล มาร้อยเรียงกันอย่างสอดคล้องเชื่อมโยง โดยใช้ข้อมูลเป็นตัวนำในการช่วยวิเคราะห์และแนะนำว่าผู้เรียนแต่ละคน ควรจะต้องเรียนอะไร พัฒนาศักยภาพของตัวเขาเองไปทางไหนซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ได้ผลสูงสุด ซึ่งผมเห็นว่า Conicle มีโอกาสที่ดีในการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้และ transform การศึกษาได้ด้วยแนวทางดังกล่าว” 

 

ดร.ณรงค์พนธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากขยายการลงทุนใหม่แล้ว อินทัชยังคำนึงถึงความสำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับ InVent Portfolio ใน 3 ด้าน คือ

1.Business Development & Strategic Value ส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพในการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายให้เติบโตอย่างยั่งยืนจากการ ร่วมมือระหว่างบริษัทในเครืออินทัช และพันธมิตรช่วยให้เข้าถึงตลาดใหม่ ช่องทางการขายใหม่ กลุ่มลูกค้าใหม่ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ

2.Nurturing พัฒนาศักยภาพของสตาร์ทอัพด้วยความรู้และผู้เชี่ยวชาญ และช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น กฎหมาย การเงิน บัญชี และการบริหารจัดการต่างๆ

3.Knowledge Sharing จัดงานพบปะทางธุรกิจ และแลกเปลี่ยนความรู้จากหลากหลายมิติ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ

 

ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา อินทัชลงทุนในสตาร์ทอัพทั้งหมด 26 ราย มีมูลค่าพอร์ตการลงทุนกว่า 1,300 ล้านบาท เติบโตขึ้น 26% จากปี 2019 

 

สตาร์ทอัพไทยเจ๋ง ลีฟคลีน เทคโนโลยี จับมือบริษัทเกาหลีพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นฆ่าเชื้อแบบแห้ง ซีทัช (Z-Touch)  นวัตกรรมแผ่นป้องกันและกำจัดเชื้อไวรัสโควิด-19 ติดตั้งบริเวณจุดสัมผัสร่วม

Page 4 of 6
X

Right Click

No right click