×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

 ดิจิทัล เวนเจอร์ส บริษัทในเครือด้านการลงทุนและการค้นคว้านวัตกรรมการเงิน ของธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศเพิ่มงบลงทุนในหน่วยงานทุนองค์กร หรือ Corporate Venture Capital อีก 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ทำให้มีขนาดเงินลงทุนใหญ่ที่สุดในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ   

โดยดร. อารักษ์ สุธีวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Financial Officer and Chief Strategy Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ธนาคารฯ ประสบความสำเร็จในด้านการลงทุน รวมทั้งการร่วมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับเวนเจอร์แคปปิตอลและสตาร์ทอัพต่างๆ ทำให้ธนาคารฯ สามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีชั้นสูง (Deep Technology) โดยในปัจจุบันธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีเครือข่ายพันธมิตรกับสตาร์ทอัพ  ทั่วโลกกว่า 800 ราย และเวนเจอร์แคปปิตอลในต่างประเทศอีกกว่า 60 ราย จาก 29 ประเทศทั่วโลก ทำให้  ธนาคารฯ สามารถเข้าถึง และเรียนรู้นวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดจากกิจการที่ได้เข้าไปลงทุน อาทิ บล็อคเชน ควอนตัมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งการทำงานขององค์กรธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป และจากความสำเร็จที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์จึงมีความมั่นใจที่จะเพิ่มเงินลงทุนอีก 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,750 ล้านบาท รวมเป็นเงินลงทุนตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 3,000 ล้านบาท

ดร.อารักษ์ เปิดเผยว่า เงินทุน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐก้อนแรก นั้นเปรียบเหมือนกับเงินที่ใช้กับการเรียนรู้ด้านการลงทุน ทั้งผ่านเวนเจอร์แคปปิตอล และการมองหาผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งวันนี้เริ่มเห็นศักยภาพการลงทุนในสตาร์ทอัพโดยตรง ดังนั้นเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นจะเน้นไปที่การลงทุนตรงกับสตาร์ทอัพที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น แต่ยังคงรักษาเป้าหมายการมองหานวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ให้กับองค์กรไว้อยู่ด้วย

ทางด้านพลภัทร อัครปรีดี กรรมการผู้จัดการ หน่วยงานทุนองค์กร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวเสริมว่า ในการเพิ่มงบลงทุนในครั้งนี้ ดิจิทัล เวนเจอร์สจะมุ่งเฟ้นหาบริษัทสตาร์ทอัพและเวนเจอร์แคปปิตอลจากทั่วโลกที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีหลักที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจ และสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ของธนาคาร เพื่อประโยชน์แก่ลูกค้าองค์กรและลูกค้าทั่วไปของธนาคาร

ดร. อารักษ์ เปิดเผยว่า นโยบายการลงทุนจะมุ่งเน้นในผลิตภัณฑ์และบริการ และเทคโนโลยีชั้นสูง อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บล็อกเชน ความปลอดภัยบนไซเบอร์ (Cybersecurity) กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data / Data Analysis) และอื่นๆ ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้กับบริการต่างๆ ของธนาคาร  การเพิ่มเงินลงทุนเชิงกลยุทธ์ในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการเฟ้นหาและเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับธนาคาร เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินให้แก่ลูกค้าในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้กลยุทธ์นี้ยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ Going Upside Down หรือตีลังกากลับหัว ที่จะทำให้ธนาคารมีศักยภาพด้านดิจิทัล และมีโมเดลการทำงานที่เหมาะสมกับความท้าทายของโลกดิจิทัลในอนาคต สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการเงินการธนาคาร เศรษฐกิจในภาพรวม และการพัฒนาสังคมของประเทศไทยให้ก้าวทันโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดิจิทัล เวนเจอร์ส ได้ลงทุนเชิงกลยุทธ์ทั้งในเทคสตาร์ทอัพโดยตรง และลงทุนในเวนเจอร์ส แคปปิตอล ได้แก่

  • Golden Gate Ventures หนึ่งในกองทุนสตาร์ทอัพชั้นนำที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เน้นการลงทุนในสตาร์ทอัพระยะเริ่มต้น (Early Stage)
  • Nyca Partners เวนเจอร์แคปปิตอลชั้นนำด้านฟินเทคของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวม ความเชี่ยวชาญจากสองยักษ์ใหญ่แห่งโลกการเงินและเทคโนโลยีอย่างวอลล์สตรีทและซิลิคอนแวลลีย์
  • Dymon Asia Ventures เวนเจอร์แคปปิตอลชั้นนำของสิงคโปร์ มุ่งเน้นการลงทุนในสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทคที่ทำธุรกิจแบบ B2B
  • Arbor Ventures เวนเจอร์แคปปิคอลชั้นนำด้านฟินเทคของฮ่องกง ที่มีการลงทุนครอบคลุมทั้งในเอเชีย อเมริกาเหนือ ยุโรป และภูมิภาคตะวันออกกลาง
  • Ripple บริษัทผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านการชำระเงินชั้นนำของโลกจากสหรัฐอเมริกา โดยธนาคารไทยพาณิชย์นับเป็นสถาบันการเงินไทยแห่งแรกที่ริเริ่มลงทุน ศึกษา และทดลองการโอนเงินระหว่างประเทศบนเทคโนโลยี Blockchain
  • Pulse iD สตาร์ทอัพด้านการบริการข้อมูลเพื่อระบุพิกัดซึ่งก่อตั้งขึ้นในฮ่องกง มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อระบุตัวตนสำหรับใช้ในธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างระบบความปลอดภัยทางการเงิน การระบุตัวตนลูกค้า และการสร้างความผูกพันกับลูกค้าให้เหนือระดับยิ่งขึ้น
  • PayKey สตาร์ทอัพจากอิสราเอล ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มปฏิวัติการชำระเงินรูปแบบใหม่บนคีย์บอร์ด ของอุปกรณ์สื่อสารที่ช่วยให้ลูกค้าธนาคารสามารถโอนเงินผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คที่หลากหลาย โดยเชื่อมโยงเข้ากับแอพพลิเคชั่นโมบายแบงกิ้งของธนาคาร
  • IndoorAtlas ผู้พัฒนาเทคโนโลยีระบุพิกัดตำแหน่งพื้นที่ในร่มจากฟินแลนด์ ซึ่งดิจิทัล เวนเจอร์ส ได้ใช้เทคโนโลยีนี้ร่วมพัฒนาในแอพพลิเคชั่น Chatuchak Guide ที่เป็นหน้าร้านออนไลน์ให้กับร้านค้าในตลาดนัดจตุจักร ซึ่งเทคโนโลยีนี้ช่วยอำนวยความสะดวกในการนำทางให้ผู้ซื้อเดินหาร้านค้าได้แม่นยำและรับข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ จากร้านค้าได้แบบเรียลไทม์
  • 1QBit ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านเทคโนโลยีควอนตัมและควอนตัมคอมพิวเตอร์จากแคนาดา มีศักยภาพในการแก้ปัญหาทางธุรกิจที่มีความสำคัญสูง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน การบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ และการรักษาความปลอดภัย

ภูริต ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการบริหาร Singha Ventures เปิดเผยว่า บริษัทแสวงหาโอกาสใหม่ๆในการขยายธุรกิจ ให้กว้างมากขึ้น สร้างความเจริญเติบโตในระยะยาวให้กับองค์กร เมื่อมองเทรนด์การลงทุนทั่วโลก พบว่าธุรกิจ “Start-ups” ถือเป็นหนึ่งใน New S-Curve หรือธุรกิจแห่งอนาคตที่น่าสนใจ เพราะสตาร์ทอัพมักมีแนวคิดที่แปลกใหม่ ตอบสนองการใช้ชีวิตในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ด้วยโมเดลทางธุรกิจแบบใหม่ที่แตกต่าง แต่เจาะตลาดใหญ่(Mass) ได้ ที่สำคัญสร้างการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่ในระยะเวลาอันสั้น

Singha Ventures มองเห็นโอกาสที่จะร่วมงานกับบรรดาสตาร์ทอัพดาวรุ่งเหล่านั้น ในฐานะพาร์ทเนอร์ และพร้อมจะเป็นกลไกสำคัญช่วยให้ความคิดดีๆดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นจริง ต่อยอดเป็นโมเดลธุรกิจที่ผงาดและพลิกโลกได้เช่นเดียวกับธุรกิจสตาร์ทอัพชื่อก้องโลกหลายรายที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้

Singha Ventures ที่เป็นธุรกิจเงินร่วมลงทุน(Venture Capital Fund หรือ CVC)  จึงมีบทบาทในการเป็นผู้สนับสนุนการลงทุนในนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสตาร์ทอัพดาวรุ่งระดับโลก(World Start-up) เพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกันในอนาคต

ทั้งนี้มีกลุ่มอุตสาหกรรมที่ Singha Ventures ให้ความสนใจเข้าไปลงทุน ประกอบด้วย 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ 1.สินค้าอุปโภคบริโภค(Consumer products) ทั้งกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เครื่องปรุงรส รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ 2.เทคโนโลยีในการจัดการห่วงโซ่การผลิต(Supply chain) ด้านการขนส่งและการจำหน่ายสินค้า เช่น การขนส่งถึงลูกค้าปลายทางโดยตรง(last mile) การขนส่งระหว่างภาคธุรกิจ(business to business solution : B2B) และการส่งสินค้าและบริการ e-commerce และ 3.ลงทุนในระบบหรือโปรแกรมต่างๆ เพื่อช่วยในการทำงานขององค์กร(Enterprise solutions) เช่น Software as a service (SaaS) Cloud computing ระบบการจ่ายเงิน และระบบการให้สินเชื่อแก่คู่ค้า

นอกจากนี้ ยังเปิดกว้างความสนใจในการลงทุนธุรกิจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพ(Healthcare) เทคโนโลยีชีวภาพ(Biotech) เทคโนโลยีสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์(Property technology) และ Internet of Things(IoT) เป็นต้น  และการลงทุนจะโฟกัสธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีโมเดลธุรกิจชัดเจน มีตลาด และมีรายได้แล้ว(ระดับ Series A) และมีความเป็นไปได้ในการเข้าไปลงทุนในระดับ Seed Funding stage หากธุรกิจดังกล่าวเป็นไอเดียที่โดดเด่น และอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีสามารถนำมาพัฒนาต่อยอด เสริมศักยภาพองค์กร(Synergy) สิงห์ได้ และเป็นประโยชน์ต่อพันธมิตรควบคู่กัน

ปี 2560 ที่ผ่านมา บริษัทได้เข้าไปลงทุนแล้ว ในกองทุน 2 กองทุน(Fund of Funds ได้แก่ Kejora Ventures แพลตฟอร์มนระบบนิเวศน์ทางเทคโนโลยี(Technology ecosystem) ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย มีการลงทุนในธุรกิจแล้วกว่า 29 ธุรกิจ และ Vertex Ventures จากสิงคโปร์ มีเครือข่ายของบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ในวงการ Technology และ Venture Capital อย่างกว้างขวางทั่วโลก

Page 6 of 6
X

Right Click

No right click