สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีลอยท์ ประเทศไทย และบริษัท ล็อตเต้ ไฟน์ เคมิคอล จำกัด นำ 8 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารในโปรแกรมเร่งการเติบโต ภายใต้โครงการ SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 4 ร่วมนำเสนอผลงานแก่นักลงทุน และผู้ที่สนใจในนวัตกรรมด้าน FoodTech บนเวที SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day ในงาน Startup x Innovation Thailand Expo 2023 (SITE2023) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

สตาร์ทอัพภายใต้โครงการ SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 4 นั้นได้เข้าร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตเป็นระยะเวลา 4 เดือน โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างโอกาสทางธุรกิจและพัฒนานวัตกรรมร่วมกับบริษัทคู่ค้า สร้างความร่วมมือและเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย

โดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวเปิดงาน SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day ว่า “โครงการ SPACE-F เป็นโครงการที่สนับสนุนสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมอาหารในระดับนานาชาติ พร้อมส่งเสริมความร่วมมือกันของเครือข่ายและระบบนิเวศของสตาร์ทอัพให้แข็งแกร่ง โดยมีจุดประสงค์ที่จะเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมอาหารของโลก สตาร์ทอัพทั้ง 8 ในโปรแกรม Accelerator ของ SPACE-F รุ่นที่ 4 จะเป็นผู้นำเสนอเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาและเปลี่ยนแปลงอนาคตของอุตสาหกรรมอาหารที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนบนโลก โดย SPACE-F เป็นผู้นำของโลกยุคใหม่ด้านนวัตกรรมอาหาร ทั้งการเป็นผู้ประกอบการ การสร้างนวัตกรรม และการสร้างการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนมาบรรจบกันเพื่อเปลี่ยนโลกของเราให้ดียิ่งขึ้น ความสำเร็จของสตาร์ทอัพเหล่านี้เป็นสิ่งยืนยันถึงศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดที่อยู่ในภาคส่วนเทคโนโลยีอาหาร”

ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างผู้สนับสนุนของโครงการตั้งแต่เริ่มต้นและการให้ความร่วมมือกับสตาร์ทอัพเพื่อพัฒนานวัตกรรมอาหารว่า “โครงการ SPACE-F ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างเครือข่ายและระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีอาหารให้แข็งแกร่ง พร้อมทั้งสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพในโครงการตลอดจนต่อยอดโอกาสด้านธุรกิจสู่ระดับสากล และด้วยเครือข่ายของ SPACE-F ที่เข้มแข็งขึ้นทำให้สตาร์ทอัพที่เคยร่วมโครงการมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน นักลงทุน พันธมิตร รวมถึงโอกาสต่างๆ ในการขยายธุรกิจในเวทีโลก

ทั้งนี้ สตาร์ทอัพที่นำเสนอผลงานได้รับการคัดเลือกโดยพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ได้รับโอกาสในการสร้างนวัตกรรมอาหาร ไทยยูเนี่ยนจึงได้ถือโอกาสนี้ในการเข้าไปสนับสนุนและทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อเร่งสปีดความสำเร็จ โดยเราคาดหวังว่าจะได้สนับสนุนและทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องกับสตาร์ทอัพเหล่านี้ในอนาคตแม้หลังจากจบโครงการแล้ว”

คุณต้องใจ ธนะชานันท์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานความยั่งยืนและกลยุทธ์ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้สนับสนุนหลักของโครงการ SPACE-F Batch 4 ได้เสริมอีกว่า “ความหลากหลายของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารในรุ่นที่ 4 นี้ ครอบคลุมไปในส่วนของนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเรามองเห็นความสามารถและศักยภาพของสตาร์ทอัพในรุ่นนี้ที่มาจากนานาประเทศ พวกเขาทำให้เรามั่นใจว่า SPACE-F จะกลายเป็นตัวกลางในการสนับสนุนนวัตกรรมที่โดดเด่นเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางระดับโลกสำหรับนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มอย่างแน่นอน

ไทยเบฟเวอเรจ ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SPACE-F ในตลอด 3 ปีที่ผ่านมา และเรามองว่า SPACE-F จะเป็นเวทีสำคัญในการผลักดันวาระความยั่งยืนในระดับโลก”

ทำความรู้จักกับ 8 สตาร์ทอัพที่ร่วมโชว์ผลงาน

· AlgaHealth (อิสราเอล): ผู้คิดค้นและผลิตอาหารเสริมสารสกัด Fucoxanthin จากสาหร่าย ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดไขมันในเลือด

· AmbrosiaBio (อิสราเอล): ผู้พัฒนาและออกแบบสารทดแทนน้ำตาลที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคอ้วน หรือเบาหวาน โดยไม่ทำให้รสชาติเปลี่ยนแปลง

· Lypid (สหรัฐอเมริกา): ไขมันจากพืชสำหรับการผลิตโปรตีนทดแทนที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์

· MOA (สเปน): ผู้พัฒนาและผลิตแหล่งโปรตีนใหม่ ๆ อย่างยั่งยืนจากการ Upcycling วัตถุดิบจากกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร

· Pullulo (สิงคโปร์): ผู้ผลิตโปรตีนทดแทน จากการ Upcycling วัตถุดิบจากภาคการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีการหมัก (Fermentation technology)

· Seadling (มาเลเซีย): ผลิตภัณฑ์อาหารและอาหารเสริมสำหรับสัตว์เลี้ยงผลิตจากสาหร่าย

· TeOra (สิงคโปร์): ผู้คิดค้นเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันโรคและส่งเสริมการเจริญเติบโตของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

· The Leaf Protein Co. (ออสเตรเลีย): ผู้สร้างและผลิตโปรตีนทดแทนจากใบไม้ด้วยกรรมวิธีที่ยั่งยืน

สตาร์ทอัพผู้เข้าร่วมโครงการได้ให้สัมภาษณ์ และกล่าวถึงความรู้สึกเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการ และกิจกรรม SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day ว่า พวกเขารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม SPACE-F โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเข้าร่วมวัน Accelerator Demo Day นี้ พวกเขาได้พบกับผู้ที่มีความสามารถอันหลากหลาย พร้อมได้สร้างเสริมสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายในงานอันเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ด้านเทคโนโลยีอาหาร โปรแกรมนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับพวกเขาในการร่วมมือกับพันธมิตรองค์กรและทุก ๆ ภาคส่วน พวกเขาได้เรียนรู้หลายอย่างจากประสบการณ์ต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญในโครงการ พร้อมทั้งได้รับข้อมูลและข้อเสนอแนะมากมายที่พวกเขาสามารถนำไปใช้กับแผนการนำร่องนวัตกรรมของตัวเองได้

ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปิดท้ายงาน SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day ว่า รู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานที่ประสบความสำเร็จ จากที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากให้ความสนใจนวัตกรรมด้านอาหาร และอยู่ร่วมกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบช่วง Pitching “มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้สนับสนุนในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์การวิจัยด้านเทคโนโลยีอาหาร พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่พร้อมให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีอาหาร ซึ่งในโครงการ SPACE-F รุ่นต่อ ๆ ไป ทางคณะวิทยาศาสตร์ และสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทุ่มเทและพยายามอย่างเต็มที่เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการขับเคลื่อนนวัตกรรมตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของโครงการ SPACE-F เพื่อช่วยส่งเสริมสตาร์ทอัพและสร้าง “ระบบนิเวศน์ด้านเทคโนโลยีอาหาร ทั้งในมหาวิทยาลัยของไทยและในระดับประเทศ”

คุณแจโฮ ลี หัวหน้าทีมพัฒนาอาหารและยา บริษัท ล็อตเต้ ไฟน์ เคมิคอล จำกัด ในฐานะตัวแทนจากบริษัทที่ล่าสุดได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้สนับสนุนของโครงการ ได้เสริมอีกว่า “สำหรับโครงการ SPACE-F ทางล็อตเต้ได้ให้การสนับสนุนในเรื่องของการลงทุนและได้ให้ความร่วมมือกับองค์กรทุกภาคส่วนในโครงการ ตั้งแต่รุ่นที่ 3 เป็นต้นมา โดยล็อตเต้วางแผนที่จะลงทุนในสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่องรวมถึงการแบ่งปันความรู้ของล็อตเต้ให้กับสตาร์ทอัพ โดยเรามีจุดประสงค์เพื่อสร้างรากฐานความยั่งยืนของนวัตกรรมอาหารเพื่อเด็ก ๆ มนุษยชาติ และโลกของเราที่สวยงาม มาร่วมสร้างการเดินทางสู่ความสำเร็จครั้งใหม่ไปด้วยกัน”

ด้วยผู้เข้าร่วมที่มากกว่า 200 คน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหาร และพนักงานจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน นักลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งไทย และต่างประเทศ และผู้เข้าร่วมอื่น ๆ ที่ให้ความสนใจ นับเป็นความสำเร็จของ SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day ที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพภายใต้โครงการได้เปิดตัวต่อเครือข่ายคู่ค้า เพื่อเชื่อมโยงความเป็นไปได้ และโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมในประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

การศึกษาฉบับใหม่ “อนาคตของไทยสตาร์ทอัพ และ Venture Capital”โดยดีลอยท์ คอนซัลติ้ง (“ดีลอยท์”) ชี้ว่า Startup ไทยจำนวนมากเผชิญความยากลำบากในการแข่งขันและดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Startup ในไทยยังคงประสบปัญหาในการเข้าถึงเงินทุนระยะเริ่มต้นจากแหล่งเงินทุนอย่างเช่น Venture Capital Firm (VC) ส่งผลให้ Startup ในไทยขาดแคลนเงินทุนที่ต้องการเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ

การศึกษาครั้งนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ Startup ไม่ว่าจะเป็น ผู้ก่อตั้ง Startup VC และหน่วยงานภาครัฐมากกว่า 20 ราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงอ้างอิงผลการวิจัยจากสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการศึกษาฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวทางที่เป็นไปได้ในการพัฒนาสตาร์ทอัพและ Venture Capital ในประเทศไทย

 

ปัญหาหลักของระบบนิเวศในประเทศไทยที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข

จากการศึกษาระบบนิเวศในประเทศไทย เราพบว่าระบบนิเวศในประเทศไทยนั้นประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน โดยปัญหาหลักที่ขัดขวางการเติบโตของระบบนิเวศนั้น มีตั้งแต่ปัญหาการเข้าถึงเงินทุน จนไปถึงความยากลำบากในการหาผู้ประกอบกิจการที่มีความสามารถ ยกตัวอย่างเช่น

· Startup ในไทยประสบปัญหาในการเข้าถึงเงินทุน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุนในระยะเริ่มต้น หรือ Seed Stage) จำนวนรอบระดมทุนของ Startup ในระยะเริ่มต้น หรือ Seed Stage ลดลงตั้งแต่ปี 2562 จากเดิมจำนวนรอบระดมทุน 33 รอบ ลดลงไปกว่าครึ่งในปี 2563 ตามข้อมูลจาก Innovation Club Thailand หนึ่งในสาเหตุของการลดจำนวนลง เกิดจากการที่ Accelerator แบบไม่เฉพาะเจาะจงประเภทธุรกิจของ Startup ระยะเริ่มต้นนั้นมีจำนวนลดลง นอกจากนั้น พื้นฐานของตลาด VC ในไทยยังมี VC จากบริษัทใหญ่ หรือ Corporate VCs (CVCs) ถือครองอยู่ ที่มักจะเน้นลงทุนใน Startup ระยะท้าย หรือ Later Stage

· โครงการสนับสนุน Startup จากหน่วยงานภาครัฐนั้นยังไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ความต้องการของ Startup อันเนื่องมาจากมูลค่าเงินทุนสนับสนุนของโครงการนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของ Startup การออกแบบโครงการที่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของ Startup ยกตัวอย่างเช่น การที่โครงการให้การสนับสนุน Startup ด้วยเงินทุนจำนวน 20,000 ถึง 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยที่แท้จริงแล้ว Startup ต้องการเงินทุนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ดำเนินการสำหรับ 1-2 ปี นอกจากนั้น จากการสัมภาษณ์ Startup เกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานภาครัฐ Startup หลายๆ ที่ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับการทำเอกสาร และการเบิกจ่ายเงินสนับสนุน ซึ่งมีความยุ่งยากและใช้เวลานาน ความลำบากในการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนนั้น ยังได้เพิ่มความกดดันให้กับผู้ประกอบกิจการในการบริหารเงินสะพัดของ Startups อีกด้วย

· Startup ไทยประสบปัญหาในการเข้าถึงที่ปรึกษาในประเทศเนื่องจากจำนวนที่ปรึกษาในประเทศไทยนั้นมีจำนวนจำกัด โดยปัญหานี้เกิดขึ้นจากการที่ประเทศไทย ไม่ได้มีจำนวนผู้ประกอบการ Startup เกิดขึ้นภายในประเทศเยอะ ส่งผลให้จำนวนปรึกษาที่สามารถให้คำปรึกษาแก่ Startup รุ่นใหม่นั้น มีจำนวนน้อยตาม ถึงแม้ว่าปัญหานี้จะสามารถแก้ไขได้ในอนาคตโดยอาศัยเวลาและประสบการณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้ก่อตั้ง Startup ในไทย มีปัญหาในการเปิดรับแนวคิดความกล้ายอมรับความเสี่ยง และวิสัยทัศน์การขยายธุรกิจออกสู่สากล ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้าง Unicorn Startups ในไทย

“ปัญหาที่ Startup ไทยเผชิญอยู่นั้นเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน” ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง กรรมการผู้จัดการ ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว “เงินทุนระยะเริ่มต้นนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อ Startup ในการดำเนินธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันนั้นเอง VC หลายๆ เจ้ายังคงมองว่าระบบนิเวศ Startup ในประเทศไทยนั้นยังมีขนาดเล็กและยังไม่ได้พัฒนามากนัก รวมถึง Startup ไทยที่ประสบความสำเร็จยังมีจำนวนน้อย ส่งผลให้ VC ยังไม่กล้าที่จะลงทุนใน Startup ไทยซักเท่าไหร่”

“มีคำกล่าวที่ว่า It takes a village to raise a startup ในกรณีของประเทศไทยเราเชื่อว่าระบบนิเวศที่สนับสนุน Startup นั้นเป็นสิ่งที่ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาเป็นอย่างแรก” ดร.เมธินี กล่าว

 

แนวทางในการพัฒนาระบบนิเวศในประเทศไทย:

จากการศึกษาระบบนิเวศในประเทศต่างๆ เราพบว่าระบบนิเวศที่ประสบความสำเร็จนั้น เกิดจากการร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมไปถึงความเพียงพอของช่องทางในการรับแหล่งเงินทุน โดยเราเห็นว่า หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำในการแก้ปัญหาต่างๆ ในระบบนิเวศและส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศในประเทศผ่านแนวทางต่อไปนี้

1) จัดตั้งโครงการร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เหมือนอย่างในประเทศต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น โครงการ SEEDS Capital ในประเทศสิงคโปร์ โครงการ London Co-Investment Fund

ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อเป็นการดึงดูด VC ให้เข้าร่วมโครงการ หน่วยงานภาครัฐสามารถที่จะพิจารณาออกแบบโครงการร่วมลงทุนนี้ให้ช่วยลดความเสี่ยงที่ VC ต้องแบกรับในการลงทุนใน Startup และนำเสนอโอกาสสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Upside Return) แก่ VC โดยโครงการเหล่านี้ ไม่เพียงแต่สนับสนุนด้านการเงินแก่ Startup แต่ยังช่วยให้ Startup ได้ความรู้ความสามารถในการดำเนินการธุรกิจ ความเข้าใจตลาด และเครือข่ายในการดำเนินธุรกิจ จาก VC อีกด้วย

2) พิจารณาการเพิ่มงบประมาณสำหรับการส่งเสริม Startup และพัฒนาโครงการเงินทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มเงินทุนสนับสนุน Startup สำหรับแต่ละโครงการให้มีมูลค่าเพียงพอต่อการสนับสนุน Startup เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี (เช่น การให้เงินสนับสนุนจำนวนอย่างน้อย 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ) นอกจากนี้ โครงการควรที่จะลดความยุ่งยากในการรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ และเบิกจ่ายเงินสนับสนุน (เช่น การเปิดรับสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ และการเพิ่มความรวดเร็วในการเบิกจ่ายเงินสนับสนุน)

3) จัดตั้งและมอบหมายอำนาจให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการพัฒนาระบบนิเวศ โดยหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย จะช่วยพัฒนาและดูแลโครงการส่งเสริม Startup และ VC ในระบบนิเวศ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรม กำกับดูแลให้โครงการสนับสนุน Startup จากหน่วยงานต่างๆ ให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน และจัดโครงสร้างให้กับโครงการที่มาจากแต่ละภาคส่วน อีกทั้ง หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายนั้น จะช่วยพัฒนาการสื่อสาร และร่วมมือ ระหว่าง Startup และหน่วยงานของภาครัฐ นอกจากนั้น ยังสามารถช่วยจัดหาทรัพยากรที่ Startup สามารถเข้าถึงได้ง่ายอีกด้วย

เราได้เห็นแล้วว่า โครงการร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่ผ่านการออกแบบมาเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น โครงการในประเทศสิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และ ประเทศอิสราเอล นั้นมีความสามารถที่จะช่วยผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาด้านนวัตกรรมของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงโครงการเหล่านี้ยังช่วยดึงดูด VC จากทั้งในประเทศและนอกประเทศให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบนิเวศ Startup อีกด้วยดร.เมธินี กล่าว

จากการศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบนิเวศในประเทศต่างๆ เราค้นพบว่าแต่ละประเทศนั้นล้วนมีปัญหาหรือความท้าทายในการพัฒนาระบบนิเวศที่แตกต่างกันไป และประเทศเหล่านั้นมีการพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป การค้นพบครั้งนี้ช่วยยืนยันกับเราว่า โครงการหรือแนวทางแก้ปัญหาแบบ One-size Fits All นั้นไม่มีอยู่จริง และเราควรที่จะทำการศึกษาแนวทางแก้ปัญหาที่แตกต่างกันเหล่านั้นเพื่อเรียนรู้ว่าเราจะสามารถปรับปรุงและนำบทเรียนจากโครงการเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาระบบนิเวศในประเทศไทยต่อไปได้อย่างไรเคนเนท เทย์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายอุตสาหกรรมการเงิน ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว

“การพัฒนาระบบนิเวศนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา” เคนเนท กล่าวเสริม “การพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ การปลูกฝังแนวคิดที่กล้ายอมรับความเสี่ยง รวมไปถึงการค้นพบไอเดียใหม่ๆ ล้วนแต่จำเป็นต้องใช้เวลา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่สามารถจะพัฒนาหรือสร้างขึ้นได้ชั่วข้ามคืน”

เราเชื่อว่าระบบนิเวศในประเทศไทยนั้นมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นระบบนิเวศที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในอนาคต เป็นระบบนิเวศที่เต็มไปด้วย Startup ที่ประสบความสำเร็จ เป็นระบบนิเวศที่สามารถดึงดูด VC ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศให้มาลงทุนใน Startup ไทย รวมไปถึงเป็นระบบนิเวศที่เต็มไปด้วยที่ปรึกษาที่พร้อมจะให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือแก่ Startup หน้าใหม่ สุดท้ายนี้เราเชื่อว่าหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการพัฒนาครั้งนี้” ดร.เมธินี กล่าวเสริม

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่  https://www2.deloitte.com/sg/en/pages/human-capital/articles/venture-capital-ecosystem-thai.html

นายแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เปิดเผยผ่าน “Finnovate Update” รายการใหม่ล่าสุดของกรุงศรี ฟินโนเวต ที่จะมาอัปเดตผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัท แผนงานในอนาคต และเป้าหมายของบริษัทที่ต้องการบรรลุให้สำเร็จ

· Krungsri Finnovate ทำให้กรุงศรีเป็นธนาคารที่ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำงานกับสตาร์ทอัพกว่า 72 บริษัท กว่า 122 โปรเจกต์ และส่งเสริมการทำงานด้านดิจิทัลของกรุงศรีและบริษัทในเครือถึง 38 หน่วยธุรกิจ

· ปัจจุบัน Krungsri Finnovate ลงทุนไปแล้ว 18 บริษัท โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 5,000 ล้านบาท

· บริษัทฯ ได้ตั้ง Finnoventure Private Equity Trust 1 กองทุนมูลค่า 3,000 ล้านบาท กองแรกในไทยที่มุ่งลงทุนในสตาร์ทอัพและเปิดให้นักลงทุนรายบุคคล (UI) ได้ร่วมลงทุน

· Krungsri Finnovate ได้ทุ่มกว่า 1,000 ล้านบาท ลงทุนในสตาร์ทอัพไทยด้าน DeFi ผ่านกองทุน Finnoverse

· และ Krungsri Finnovate จะมุ่งสู่เป้าหมายในการผลักดัน FinTech Startup ให้เติบโตสู่ยูนิคอร์น

แซม ตันสกุล เริ่มต้นในรายการ โดยเปิดเผยว่า ‘Krungsri Finnovate ได้ลงทุนในสตาร์ทอัพมาได้ 5 ปีแล้ว จนหลายๆ คนเริ่มถามว่า ในพอร์ตการลงทุนของเรามียูนิคอร์นอยู่แล้วถึง 2 บริษัท ไม่ว่าจะเป็น Flash Express และ Grab ซึ่งมีความน่าสนใจมาก และนำมาสู่คำถามที่นักลงทุนหลายๆ คนเริ่มถามว่า ถ้าอยากจะร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพเหล่านั้นด้วยต้องทำอย่างไร นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Krungsri Finnovate กลับมาพิจารณาถึงรูปแบบและความเป็นไปได้ว่า จริงๆ แล้ว เราไม่จำเป็นต้องลงทุนเองรายเดียว แต่สามารถสร้างการลงทุนร่วมได้ ซึ่งนำมาสู่การสร้างโมเดลการลงทุนในรูปแบบ Private Equity ที่

เป็นการรวบรวมเงินทุนจากลูกค้าสถาบันรายใหญ่และลูกค้า Private Banking ของธนาคารมาร่วมลงทุนด้วยกัน โดยมีมูลค่าเกือบ 3,000 ล้านบาท โดยในมูลค่าดังกล่าวมีส่วนที่ Krungsri Finnovate ร่วมลงทุนอยู่ด้วยที่ 500 ล้านบาท และบริษัทยังได้พันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่าง OR ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สยามราชธานี ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ซึ่งเป็นกลุ่มของมาม่า และยังมี NTT Data ที่เป็น Global Tech จากทางญี่ปุ่นมาร่วมลงทุน เราเรียกกลุ่มนักลงทุนเหล่านั้นว่าเป็น Avengers รวมกับเงินลงทุนจากนักลงทุนในกลุ่ม Private Banking ซึ่งรวมกันทั้งหมดเป็น 3,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในกิจการสตาร์ทอัพทั้งไทยและอาเซียน โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้สตาร์ทอัพที่มีศักยภาพเหล่านั้นโตไปเป็นยูนิคอร์นไปด้วยกัน สำหรับกองทุน Private Equity นี้หลักๆ จะเลือกลงทุนใน 3 ด้านคือ 1) FinTech 2) E-Commerce Tech และ 3) Automative Tech ซึ่งกองทุนนี้จะถูกรู้จักในชื่อ “Finnoventure Fund’

แซม เล่าต่อว่า ‘นอกจากเรื่องของการจัดตั้งกองทุนแล้ว ยังมีในส่วนของการทำโปรเจกต์ความร่วมมือระหว่างกรุงศรีกรุ๊ป กับสตาร์ทอัพด้วย ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานในกรุงศรีกรุ๊ปถึง 38 หน่วยงานแล้วที่ได้ร่วมทำงานกับสตาร์ทอัพ โดยมีทีมกรุงศรี ฟินโนเวต เป็นผู้นำเสนอและจับคู่ให้ ในปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ เองเล็งเห็นว่าการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้น หากจะกระโดดมาลงมือทำเองต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุนที่สูงมาก ซึ่งกลับกันหากเลือกทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพ ก็จะช่วยลดทอนในเรื่องของทั้งต้นทุนและเวลา ซึ่งอาจจะใช้เวลาเพียง 3-6 เดือน ก็สามารถเริ่มโปรเจ็คใหม่ หรือโซลูชั่นใหม่ได้แล้ว ขณะที่สตาร์ทอัพเองก็มี Mindset พร้อมลุย พร้อมที่จะต่อยอด ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นที่มาของความสำเร็จในวันนี้ ที่เราได้ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากมายกว่า 72 บริษัท กับอีก 122 โปรเจกต์ เรียกได้ว่าเราทำงานกับสตาร์ทอัพมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของทีมงาน Krungsri Finnovate’

แซม เผยเพิ่มเติมถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้และต้องการบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จว่า “ปัจจุบันจากทั้งหมด 18 กิจการสตาร์ทอัพที่กรุงศรี ฟินโนเวตได้ลงทุนไปนั้น มีสตาร์ทอัพที่เป็นยูนิคอร์นแล้ว 2 ราย ขณะที่อีก 5 สตาร์ทอัพไทยกำลังเตรียมตัวทำ IPO สิ่งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเรามี Track record ที่ดี เราดูแลสตาร์ทอัพในพอร์ตของเราอย่างดี โดยไม่ใช่แค่เพียงเข้าไปลงทุนอย่างเดียวแต่ยังพร้อมสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างจริงใจ และคิดเสมอว่าจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาธุรกิจให้สตาร์ทอัพเหล่านั้นได้อย่างไร ดังนั้นเราจึงไม่ได้เป็น Passive investor แต่เราเป็น Active investor นั่นเอง นอกจากนี้เรายังพยายามหาทางต่อยอดธุรกิจสตาร์ทอัพกับกรุงศรีกรุ๊ป และ Investor ในกลุ่ม Avengers ของเราด้วย ดังนั้น Krungsri Finnovate และ Avengers พร้อมที่จะผลักดันให้สตาร์ทอัพเหล่านั้นเติบโต โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า

เราจะมี 5 ยูนิคอร์นที่เราสร้างเอง เหมือนกับ Flash ที่เราเลือกลงทุนตั้งแต่ยังไม่เป็นยูนิคอร์น และในที่สุดก็สามารถขึ้นมาเป็นยูนิคอร์นได้ นี่คือเป้าหลักสำคัญของเราครับ”

 

 กันยายน 2565 – ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนสตาร์ทอัพทั่วไทยในกิจกรรม “Microsoft Founders Society” ที่เชิญชวนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ B2B (Business-to-Business) มาตามติดความเคลื่อนไหวล่าสุดจากไมโครซอฟท์ ต่อยอดจากโครงการ “Microsoft Founders Program for Startups” โครงการสนับสนุนสตาร์ทอัพของไมโครซอฟท์ ที่มุ่งยกระดับสตาร์ทอัพไทย พร้อมช่วยสร้างโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นมากมาย อาทิ โอกาสในการเข้าถึงเงินทุน ความรู้ความเชี่ยวชาญจากที่ปรึกษามืออาชีพ ตลอดจนข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญ เพื่อผลักดันผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพและทีมงานให้เดินหน้าไปได้อย่างเต็มกำลัง ภายใต้ความเชื่อที่ว่าทุกคน ทุกแนวคิด ควรได้รับโอกาสให้สร้างสรรค์และเติบโต พร้อมแนะนำโครงการ Microsoft for Corporate Venture Building และ M12 กองทุน Venture Capital ระดับโลกของไมโครซอฟท์ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมพูดคุยเกี่ยวกับอนาคตของสตาร์ทอัพไทยในตลาดโลก ความร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพและหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงมองหาโอกาสในการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเมืองร่วมกันในอนาคต

คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้มองเห็นศักยภาพของสตาร์ทอัพไทยที่จะเข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันสร้างเศรษฐกิจและสังคมในหลายภาคส่วน ดังนั้นเพื่อยกระดับและขับเคลื่อนศักยภาพของสตาร์ทอัพไทยให้เดินหน้าอย่างเต็มกำลังความสามารถ เราจึงขอร่วมเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการผลักดันและส่งเสริมสตาร์ทอัพในประเทศเดินหน้าสร้างสรรค์ธุรกิจไปพร้อมๆ กับเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ด้วยการผสานความรู้ความเชี่ยวชาญ ขยายความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรทางเทคโนโลยี พร้อมมอบโอกาสในการเข้าถึงตลาดร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลาย เพื่อปลดล็อคสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”

สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการ “Microsoft Founders Program for Startups” จะได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านเทคโนโลยี การเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงสิทธิประโยชน์ในสองด้านหลักๆ ดังต่อไปนี้

· เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนการสรรสร้างนวัตกรรมและดำเนินธุรกิจ

o ได้รับเครดิตสำหรับใช้งานคลาวด์ Azure (มูลค่าตามระดับของสตาร์ทอัพแต่ละราย)

o สามารถใช้งานโซลูชันจากไมโครซอฟท์อย่าง Microsoft 365 Business Standard, Power BI Pro, GitHub Enterprise, Dynamics และ Power Platform เพื่อดำเนินธุรกิจและสร้างสรรค์ผลงานต่อไป

o ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนักพัฒนาและสตาร์ทอัพของไมโครซอฟท์

o ร่วมเรียนรู้การใช้งาน Azure และสอบรับ certificate ระดับมืออาชีพแบบฟรีๆ

· โอกาสในการเข้าถึงลูกค้าและพัฒนาธุรกิจ พร้อมคำปรึกษาแบบเฉพาะตัว

o ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของไมโครซอฟท์ 12 ชั่วโมงเต็มในปีแรกที่เข้าร่วมโครงการ

o ได้รับงบการตลาดสูงสุดเป็นมูลค่า 2,000 USD ต่อไตรมาส

o มีโอกาสในการร่วมงานสัมมนาออนไลน์ของไมโครซอฟท์ในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อนำเสนอโซลูชันให้ลูกค้าได้สัมผัส

o โซลูชันที่ผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัยจะรับตรารับรองในด้านดังกล่าวจากไมโครซอฟท์

o มีโอกาสในการร่วมกันเสนอขายโซลูชันออกสู่ตลาดร่วมกับไมโครซอฟท์และเครือข่ายพันธมิตร

ทางไมโครซอฟท์ยังมี Microsoft for Corporate Venture Building ซึ่งเป็นโครงการใหม่ที่มุ่งให้การสนับสนุนกลุ่มธุรกิจใหม่ในเครือขององค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งอาจมีคุณสมบัติไม่ตรงกับโครงการสนับสนุนธุรกิจในระดับสตาร์ทอัพ โดยโครงการนี้ให้การสนับสนุนทั้งในเชิงความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม การเข้าถึงเครือข่ายพันธมิตร การลงทุน และช่องทางการทำตลาด ซึ่งธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนมากมาย อาทิ

· เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนการพัฒนาโซลูชัน อย่าง คลาวด์ Azure และ GitHub ตามมาด้วยนวัตกรรมด้านความปลอดภัยอย่าง Azure Confidential Computing ครอบคลุมการใช้งาน หรือแบ่งปันข้อมูลโดยที่เข้ารหัสเพื่อรักษาข้อมูลให้เป็นความลับจากบุคคลภายนอก และอื่นๆ อีกมากมาย

· การดำเนินธุรกิจแบบวันต่อวันด้วยแรงสนับสนุนจากเครือข่ายพาร์ทเนอร์ของไมโครซอฟท์ พร้อมด้วยตัวช่วยอย่าง LinkedIn เพื่อการเฟ้นหาบุคลากร นวัตกรรมด้านความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ เพื่อบริหารจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ในองค์กร และ Microsoft 365 เพื่อการทำงานเอกสารและติดต่อประสานงาน เป็นต้น

 

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการแนะนำ M12 กองทุน Venture Capital ของไมโครซอฟท์ให้กับเหล่าบรรดาสตาร์ทอัพได้รู้จักกัน โดย M12 เฟ้นหาธุรกิจและสตาร์ทอัพเฉพาะในกลุ่ม B2B (Business to Business) หรือ B2B2C (Business to Business to Consumer) ที่มีศักยภาพ เพื่อร่วมลงทุนและสนับสนุนให้เติบโตสู่ตลาดโลก โดยปัจจุบัน M12 มีบริษัทที่ลงทุนไปในพอร์ทโฟลิโอรวมทั้งสิ้น 120 บริษัท ซึ่งในจำนวนนี้ มีสตาร์ทอัพที่เข้าตลาดหลักทรัพย์หรือขายกิจการ (exit) รวมแล้วเกินกว่า 20 ราย และมีสตาร์ทอัพในระดับยูนิคอร์นเกินกว่า 15 ราย ขณะที่ M12 มุ่งลงทุนกับสตาร์ทอัพที่พัฒนาเทคโนโลยีใน 7 ด้านใหญ่ๆ ได้แก่

1. Vertical Software-as-a-Service เช่น โซลูชัน Fintech, Supply chain หรือ Commerce

2. โครงสร้างพื้นฐานบนคลาวด์

3. ความปลอดภัยและการยืนยันตัวตนในโลกดิจิทัล

4. Web3, Metaverse และเกม

5. DevOps และเครื่องมือเพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์

6. โซลูชันด้านสุขภาพและร่างกาย

7. ระบบอัตโนมัติต่างๆ

การรวมตัวของคอมมูนิตี้สตาร์ทอัพในครั้งนี้ ปิดท้ายด้วยการพูดคุยพิเศษระหว่าง คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย และคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ “อนาคตของสตาร์ทอัพไทยในตลาดโลก” สะท้อนมุมมองการทำงานร่วมกันระหว่างสตาร์ทอัพและหน่วยงานภาครัฐ มองหาโอกาสในการสร้างความร่วมมือร่วมกัน ตลอดจนการดึงดูดสตาร์ทอัพและบุคคลที่มีความสามารถจากทั้งในไทย และทั่วโลกให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเมือง

คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “ผู้บริหารต้องมีความชื่อมั่นในเทคโนโลยีว่าจะสามารถแก้ปัญหาเมืองได้ รวมถึงมั่นใจในสตาร์ทอัพว่าจะเข้ามาช่วยได้เช่นกัน ส่วนตัวเชื่อว่า การดิสรัปโมเดลธุรกิจเดิม กับ การสเกล คือหัวใจของการแก้ไขปัญหาเมืองที่แท้จริง เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเมืองอย่างมหาศาล เช่น โครงการนวัตกรรมโรงเรียนของกทม. ที่ตอนนี้มีโรงเรียนกว่า 54 โรงนำร่องเข้าร่วม Sandbox โดยการนำเอา EdTech (Education Technology) เทคโนโลยีการศึกษาเข้าไปช่วยยกระดับการศึกษาให้ทันสมัยและกว้างไกลยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ขณะที่กรุงเทพมหนครพร้อมเป็น Sandbox ขนาดใหญ่เปิดรับสตาร์ทอัพที่สนใจ มีแนวทางการแก้ไข และแผนงานรองรับเข้ามาพูดคุยและแก้ไขปัญหาเมืองร่วมกัน”

คุณชัชชาติย้ำถึงพื้นฐานในการแก้ปัญหาเมืองของสตาร์ทอัพอีกว่าต้องยึดแนวคิด People Centric หรือมอง

ประชาชนเป็นที่ตั้ง ถือเป็นหลักในการคิดโซลูชันต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้คน ขณะเดียวกันตัวสตาร์ทอัพเองก็ต้องอยู่รอดให้ได้ ซึ่งมีด้วยกัน 3 องค์ประกอบหลัก คือ

1. เทคโนโลยีต้องเป็นไปได้: Technology → Possible

2. ธุรกิจเปลี่ยนแปลงได้: Business → Variable

3. ผู้คนออกแบบการใช้ชีวิตของตัวเองได้: People → Designable

โดยจุดร่วมของทั้ง 3 วงนั้นคือคำตอบในการแก้ไขปัญหาของเมือง ส่วนการดึงดูดคนที่มีความสามารถและศักยภาพ รวมถึงสตาร์ทอัพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานครนั้น สามารถดำเนินการได้ทางอ้อมด้วยการ “สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่” ผ่านนโยบายและกิจกรรมต่างๆ อาทิ ดนตรีในสวนเพื่อสร้างความรู้สึกร่วม (Sense of Belonging) สร้างพื้นที่ให้ผู้คนได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน ตลอดจนจัดกิจกรรมให้หลากหลายมากขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้เลือกสรรกิจกรรมตามความชอบ และมีกิจกรรมอื่นทำนอกเหนือจากการเดินห้าง เป็นต้น

สตาร์ทอัพที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Microsoft Founders Program for Startups สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.microsoft.com/th-th/smb/isv

Selfie (เซลฟี่) สตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีทันตกรรมเพื่อความงามและการดูแลช่องปากระดับพรีเมียมอันดับ 1 ของเมืองไทย

Page 2 of 6
X

Right Click

No right click