September 19, 2024

ธนาคารกรุงไทย เปิดเกมรุกตลาดสินเชื่อดิจิทัล เพิ่มช่องทางเข้าถึงสินเชื่อ “กรุงไทยใจป้ำ” ผ่านแอปฯ เป๋าตัง ช่วยคนไทยเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้สะดวก รวดเร็ว

ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ โดยมุ่งมั่นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ตอบโจทย์ลูกค้าในทุกมิติ ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ และสร้างโอกาสให้กับคนไทยทุกกลุ่มให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง

ธนาคารกรุงไทย มีนโยบายรุกตลาดสินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending) อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับชีวิตยุคใหม่ที่ต้องการความเร็ว สะดวก และไม่ต้องเดินทางได้เป็นอย่างดี ซึ่งในปี 2565 ธนาคารให้บริการสินเชื่อกรุงไทยใจป้ำ ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT โมบายแบงกิ้งที่ให้บริการแบบครบวงจร และสามารถขยายบริการของธนาคารในรูปแบบดิจิทัลได้อย่างก้าวกระโดด โดยได้รับการตอบรับดีจากกลุ่มผู้มีรายได้ประจำ และผู้ประกอบการรายย่อย โดยปี 2566 ตั้งเป้าสินเชื่อดิจิทัล ประมาณ 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้สะดวกยิ่งขึ้น ธนาคารจึงเพิ่มช่องทางการสมัครสินเชื่อกรุงไทยใจป้ำ ผ่านแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่คนไทยคุ้นเคย เข้าถึงได้ง่าย ตอบโจทย์ผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านคน ด้วยการออกแบบขั้นตอนในแอปฯให้ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล และช่วยลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงบริการทางการเงิน ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เป็นการตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ได้แก่ เป้าหมายส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน (Decent Work and Economic Growth) และเป้าหมายลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ (Reduced Inequalities)

สำหรับจุดเด่นของสินเชื่อกรุงไทยใจป้ำ คือ กู้ง่าย ไม่มีบัญชีเงินเดือนกับกรุงไทยก็กู้ได้ เพียงเปิดบัญชีออมทรัพย์ “เป๋ามีตัง” ผ่านแอปฯ เป๋าตัง โดยไม่มีกำหนดเงินฝากขั้นต่ำ อนุมัติไว ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน กรณีได้รับอนุมัติสินเชื่อ และกดยอมรับสินเชื่อในเวลาทำการของธนาคาร จะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีทันที ได้เงินก้อน วงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน และผ่อนสบาย เฉลี่ยหมื่นละ 10 บาทต่อวัน นานสูงสุด 60 เดือน สำหรับอัตราดอกเบี้ย บุคคลทั่วไปที่มีรายได้ประจำ อัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี ผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย 22% ต่อปี ผู้สนใจสมัครสินเชื่อได้ที่ https://paotang.onelink.me/UDQF/cnpvp5sw หรือ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://krungthai.com/link/jaipump-pr

 

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประชาสัมพันธ์แนวทางการอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ที่คาดว่าจะเริ่มให้บริการในปี 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของลูกค้าบุคคลและธุรกิจรายย่อย หลายๆ ท่านอาจสงสัยว่า ลูกค้ารายย่อยที่ธนาคารแบบดั้งเดิมยังไม่ให้กู้ แล้วธนาคารไร้สาขาที่ไม่รู้จักลูกค้าเลยจะให้กู้ได้อย่างไร

เงื่อนไขหนึ่งในหลักเกณฑ์การขอจัดตั้ง Virtual Bank คือ ความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่หลากหลาย โดยวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวต้องชัดเจนและเป็นไปได้ เราจะเห็นผู้ที่มีข้อมูลลูกค้าจำนวนมาก มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี จับมือกับสถาบันการเงิน ลงมาเล่นในสนามนี้ เพื่อให้บริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ทุกฝ่าย โดยทำการพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขอกู้เงินผ่านปัจจัยแวดล้อมที่สะท้อนแบบแผนการดำเนินชีวิต หรือเรียกว่าข้อมูลทางเลือก (Alternative data) เช่นความสม่ำเสมอในการชำระค่าโทรศัพท์ พฤติกรรมและประเภทของสินค้าที่ซื้อบ่อย หรือการใช้แบบสอบถามด้านจิตวิทยา (Psychometrics)

แบบสอบถามด้านทางจิตวิทยา เป็นชุดคำถามที่ค้นหาพฤติกรรมทางการเงินจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การตัดสินใจด้านการเงิน ความยับยั้งช่างใจในการจำกัดรายจ่าย คำถามเกี่ยวกับวินัยในการใช้ชีวิตและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความวิตกกังวล โดยแบบสอบถามดังกล่าวจะต้องพิจารณาปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อเฟ้นหาลักษณะนิสัยที่บ่งชี้พฤติกรรมการชำระหนี้ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด

มีการศึกษาในประเทศมองโกเลียที่ให้ผู้เข้าร่วมการศึกษาพิจารณาภาพโต๊ะทำงานต่างๆ ตั้งแต่โต๊ะทำงานที่มีข้าวของรกมาก จนถึงโต๊ะทำงานที่เป็นระเบียบ ผู้เข้าร่วมการทดลองต้องตอบคำถามว่า ท่านสามารถปล่อยให้โต๊ะทำงานของท่านรกถึงระดับใด ก่อนทำการลุกขึ้นมาจัดระเบียบ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่ชอบความเป็นระเบียบของโต๊ะ มักจะมีวินัยทางการเงินที่ดีกว่าผู้ที่ตอบว่าสามารถปล่อยให้โต๊ะทำงานรกได้มากกว่า หรืออีกการศึกษาหนึ่ง

ในรัฐอุตตรประเทศและรัฐมหาราษฏระของประเทศอินเดียพบว่า ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีพฤติกรรมวัตถุนิยมมักจะมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าปกติอย่างมีนัยสำคัญ

จุดอ่อนที่ธนาคารควรระวังในการอาศัยแบบสอบถามด้านทางจิตวิทยาเพียงอย่างเดียวคือผู้ตอบแบบสอบถามอาจจะเลือกตอบแบบสอบถามเข้าข้างตัวเอง โดยประเมินวินัยของตนเองดีกว่าความเป็นจริง ซึ่งธนาคารมีแนวโน้มที่จะชื่นชอบคุณสมบัติดังกล่าวและพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น หรือผู้ตอบแบบสอบถามอาจจะตอบตามสิ่งที่คิดว่าเป็นคำตอบที่ดูดี ไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองเป็นจริงๆ

วิธีหนึ่งในการปิดจุดอ่อนนี้คือการทำการทดสอบซ้ำเพื่อค้นหาความคงเส้นคงวาและอาจจะพิจารณานำข้อมูลทางเลือก มาใช้ประกอบกับข้อมูลทางด้านจิตวิทยา เพื่อให้ผลการประเมินที่ได้ครอบคลุมในหลายมิติและสะท้อนพฤติกรรมตัวบุคคลออกมาดียิ่งขึ้น เช่น สถาบันการเงินแห่งหนี่งในประเทศแคนาดาพบว่าลูกค้าที่นำบัตรเครดิตไปซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด พรมกันลื่น หรืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในบ้านในสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยและมีการซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่อง มักจะมีพฤติกรรมการชำระเงินที่ดีกว่าลูกค้าที่มักนำบัตรเครดิตไปรูดซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยในสัดส่วนที่สูง

อีกการศึกษาหนึ่งในประเทศจีนพบว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของเบอร์โทรศัพท์มือถือที่เปิดมานานและมีการโทรหาครอบครัวอย่างสม่ำเสมอมีความสัมพันธ์กับการจ่ายชำระหนี้ที่ดีกว่าบุคคลทั่วไป นอกจากนั้นอาจจะมีการพิจารณาจากประวัติการชำระค่าบริการและสาธารณูปโภคประกอบด้วย

นักวิจัยในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย พบว่าการนำข้อมูลโซเชียลมีเดียมาใช้พยากรณ์ความน่าเชื่อถือของลูกหนี้ สามารถเพิ่มความแม่นยำของแบบจำลองได้ถึงร้อยละ 7 ปัจจัยที่น่าสนใจจากการศึกษานี้คือ ผู้ที่โพสโซเชียลมีเดียบ่อยมักมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าปกติ แต่ผู้ที่เปิดบัญชีโซเชียลมีเดียมานาน จะมีโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำกว่าปกติปัจจุบันนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้สถาบันการเงินบางรายให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลทางเลือก มาใช้ในการให้บริการสินเชื่อในขั้นตอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาสินเชื่อแล้ว ดังนั้น Virtual Bank ซึ่งถือเป็น “ธนาคารดิจิทัลพันธุ์แท้” ที่มีข้อมูลพร้อมในมือทั้งจากตัวธนาคารเองและพันธมิตรต่างๆ ย่อมที่จะหันมาใช้ทั้งข้อมูลทางเลือกและข้อมูลทางด้านจิตวิทยาควบคู่กันเป็นหัวใจหลักในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่ออย่างแน่นอน

ธนาคารจึงควรสื่อสารถึงความโปร่งใสในการจัดเก็บและนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อให้ผู้ใช้งานเกิดความสบายใจว่าการพิจารณาสินเชื่อยังเป็นไปอย่างยุติธรรมตามกรอบการบริหารความเสี่ยงที่ดี อีกทั้งข้อมูลที่นำมาใช้จะต้องเป็นข้อมูลที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น ในขณะที่สำหรับผู้กู้รายย่อย การมีเครดิตที่ดีอาจไม่ได้หมายถึงการมีรายได้หรือหลักประกันจำนวนมากอีกต่อไป แต่อาจเป็นเพียงการปรับพฤติกรรมเล็กน้อยในชีวิตประจำวันของท่านอยู่แล้วเท่านั้นเอง

ศรัณย์  บุญชลากุลโกศล

ผู้อำนวยการ ที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางกาารเงิน / ดีลอยท์  ประเทศไทย

 

 

เคทีซีแจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 ธุรกิจเติบโตตามแผน โดยงบการเงินรวมมีกำไร 1,872 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จากการบริหารรายได้กับค่าใช้จ่ายอย่างสมดุล และการสร้างพอร์ตที่มีระดับความเสี่ยงสอดคล้องกับรายได้รับ โดยพอร์ตสินเชื่อทุกผลิตภัณฑ์ขยายตัว ทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลและลูกหนี้ตามสัญญาเช่า ด้วยมูลค่าพอร์ตรวม 103,312 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น 22.5% เท่ากับ 63,989 ล้านบาท ในขณะที่ NPL อยู่ในอัตราต่ำที่ 1.9% พร้อมเดินหน้ากลยุทธ์ จับมือพันธมิตรรักษาฐานสมาชิกเดิมและขยายฐานสมาชิกใหม่ที่มีคุณภาพเข้าพอร์ต

 

นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ดีขึ้น ส่งผลให้เกิดการจ้างงานสร้างรายได้ อีกทั้งมาตรการภาษี “ช้อปดีมีคืน” ล้วนนำไปสู่การใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น และเป็นผลให้ภาพรวมของตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566 เติบโตดีต่อเนื่อง โดยเคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตและลูกหนี้สินเชื่อบุคคล เทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 14.6% และ 3.7% ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรของเคทีซีขยายตัว 24.3% สูงกว่าอุตสาหกรรมที่เติบโต 18.6% ทำให้เคทีซีมีส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 12.2%

สำหรับไตรมาสแรก ผลการดำเนินงานของเคทีซีเป็นไปในทิศทางเดียวกับแผนและเป้าหมายที่วางไว้ โดยข้อมูลสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2566 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 เคทีซีมีกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการและงบการเงินรวมเท่ากับ 1,843 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 5.2%) และ 1,872 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 7.1%) ตามลำดับ ผลจากพอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัวสร้างรายได้เติบโตดี และมีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งสามารถรักษาคุณภาพพอร์ตได้อย่างเหมาะสมกับความเสี่ยงที่มีในแต่ละธุรกิจ โดยมีฐานสมาชิกรวม 3,333,227 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม 103,312 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 14.5%) อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (NPL) 1.9% (เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส 4/2565 ที่ 1.8%) แบ่งเป็นสมาชิกบัตรเครดิต 2,591,404 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 67,640 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 16.8%) NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.1% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรมูลค่า 63,989 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 22.5%) สมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 741,823 บัญชี (ลดลง 1.6%) เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม 32,371 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 11.1%) NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 2.8% และลูกหนี้ตามสัญญาเช่ามูลค่า 3,301 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 4.6%) NPL สินเชื่อตามสัญญาเช่าอยู่ที่ 8.8% โดยที่ยอดลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 334 ล้านบาท ขยายตัว 42% และสินเชื่อรถขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรม (Commercial Loan) เท่ากับ 944 ล้านบาท”

ในส่วนของรายได้รวมไตรมาส 1/2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เท่ากับ 6,055 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 13.0%) จากรายได้ดอกเบี้ย (รวมค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน) และรายได้ค่าธรรมเนียม (ไม่รวมค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน) ที่เพิ่มขึ้น 14.7% และ 21.8% ตามลำดับ และมีหนี้สูญได้รับคืน 822 ล้านบาท (ลดลง 4.1%) ค่าใช้จ่ายรวม 3,742 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 17.6%) จากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 1,367 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 30.8%) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการตัดหนี้สูญ และต้นทุนทางการเงิน 390 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 15.8%) จากดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นตามสภาวะตลาดการเงิน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริหารเท่ากับ 1,985 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 10.4%) จากค่าใช้จ่ายด้านบุคคลและค่าธรรมเนียมจ่ายที่เพิ่มขึ้น 14.6% และ 30.9% ตามลำดับ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายทางการตลาดลดลง 5.6% โดยมีอัตราค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานรวมต่อรายได้ (Cost to Income Ratio) ที่ 32.8%”

“ทั้งนี้ วันที่ 31 มีนาคม 2566 เคทีซีมีเงินกู้ยืมทั้งสิ้น 59,252 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.6% จากไตรมาส 1/2565 ที่ 50,367 ล้านบาท ต้นทุนการเงิน 2.6% เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีโครงสร้างแหล่งเงินทุนมาจากเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาว คิดเป็นสัดส่วน 28% ต่อ 72% อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับต่ำที่ 2.0 เท่า ไม่เกินกว่าภาระผูกพัน (Debt Covenants) ที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า และมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) 23,670 ล้านบาท”

“สืบเนื่องจากประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.ฝคง.ว. 951/2564 เรื่อง การยกระดับการกำกับดูแลการบริหารจัดการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) กลุ่มบริษัทของเคทีซีได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามแนวทางการบริหารจัดการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม โดยให้ความสำคัญและส่งเสริมการช่วยเหลือ ติดตามแก้ไขปัญหาหนี้สิน เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ รายย่อยที่ประสบปัญหาหนี้สินอย่างตรงจุดและทันท่วงที รวมถึงการพัฒนากระบวนการให้สินเชื่อตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ (End-to End process) อย่างยั่งยืน ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความเสี่ยง การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการจ่ายชำระคืน การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Debt Restructuring) การไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สิน (Debt Mediation) เพื่อบรรเทาภาระหนี้ให้แก่ประชาชน โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 เคทีซีได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในทุกสถานะเป็นจำนวน 1,995 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.0% ของพอร์ตลูกหนี้รวม”

“เคทีซีจะยังคงเน้นการรักษาพอร์ตคุณภาพลูกหนี้ โดยใช้เกณฑ์อนุมัติสินเชื่อที่สอดคล้องกับความเสี่ยง และบริหารจัดการติดตามหนี้อย่างเป็นธรรมต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับขยายฐานลูกค้าใหม่ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และปิดบัญชีลูกค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใช้งานตามเงื่อนไขที่กำหนด ตลอดจนบริหารรายได้และค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับที่สมดุล รวมทั้งตั้งสำรองและตัดหนี้สูญเพิ่มหรือลด ตามลักษณะของพอร์ตที่ควรจะเป็น โดยคาดว่าสิ้นปีพอร์ตสินเชื่อจะมีอัตราเติบโตตามเป้าหมาย พร้อมประมาณการกำไรของปี 2566 ที่สูงกว่าเดิม ส่วนปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรยังมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ”

พร้อมเปิดคลินิก EXIM เพื่อคนตัวเล็ก แก้หนี้ เติมทุน สร้างธุรกิจไทยเติบโตยั่งยืน

Page 3 of 9
X

Right Click

No right click