September 19, 2024

 นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (Mr. Aphinant Klewpatinond, Chief Executive Officer, Kiatnakin Phatra Financial Group) เปิดเผยว่าคณะกรรมการ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ได้มีมติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 3.25 บาทให้แก่ผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยเมื่อหักเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 ที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นไปแล้วในอัตราหุ้นละ 1.75 บาท จะมีอัตราเงินปันผลคงเหลือในงวดนี้เท่ากับหุ้นละ 1.5 บาท นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้มีมติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการออกและจัดสรร ‘วอร์แรนท์’ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 5 (KKP-W5) และครั้งที่ 6 (KKP-W6) อายุ 10 เดือนและ 2 ปี 10 เดือน ตามลำดับ ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น ในอัตราการจัดสรร 12 หุ้นเดิมต่อใบสำคัญแสดงสิทธิ KKP-W5 และ KKP-W6 อย่างละ 1 หน่วย โดยใบสำคัญแสดงสิทธิแต่ละหน่วยมีสิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารได้ 1 หุ้น ที่ราคาการใช้สิทธิ 70 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับกลยุทธ์การขยายธุรกิจในอนาคตของธนาคาร ตั้งเป้าขยายพอร์ตสินเชื่อร้อยละ 13 ในปีนี้

ผลประกอบการในระยะที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ของกลุ่มธุรกิจฯ ที่มุ่งเติบโตโดยระมัดระวัง (Smart Growth) โดยให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง การจัดกลุ่มลูกค้าและคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Segmentation) ตลอดจนการขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้อง (Cross-Selling) โดยใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งในธุรกิจตลาดทุนของบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจฯ ส่งผลให้สินเชื่อในภาพรวมของธนาคารเติบโตอย่างน่าพึงพอใจ เช่น ปี 2565 ที่สินเชื่อของธนาคารขยายตัวถึงร้อยละ 21.4 จากปีก่อนหน้า ด้วยเหตุนี้ กลุ่มธุรกิจฯ จึงมุ่งเตรียมความพร้อมในด้านทุน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการขยายธุรกิจ รองรับการขยายสินเชื่อให้เติบโตได้เต็มศักยภาพ อีกทั้งยังสามารถรักษาการปันผลในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ตั้งเป้าโตสินเชื่ออีกร้อยละ 13” นายอภินันท์ กล่าว

ทั้งนี้ ธนาคารมีแผนการลงทุนเพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันของธนาคาร โดยเฉพาะการรุกหน้าบริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ ไม่ว่าผ่านแอป KKP Mobile ของธนาคาร หรือบริการ Edge (เอดจ์) และ Dime (ไดม์) ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยขยายฐานลูกค้าของธนาคารไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อยอีกเป็นจำนวนมากที่มองหาเงินฝากดอกเบี้ยสูง ควบคู่ไปกับบริการด้านการลงทุนที่สะดวก ตอบโจทย์ และมีชื่อเสียงได้รับการยอมรับของเกียรตินาคินภัทร โดยบริการเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็น New S-Curve หรือหน่วยธุรกิจที่จะสร้างการเติบโตใหม่ให้กับกลุ่มธุรกิจฯ

ในโอกาสเดียวกัน คณะกรรมการธนาคารยังได้มติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการออกและจัดสรร KKP ESOP Warrants หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของธนาคาร และบริษัทย่อยที่กำหนดโดยไม่คิดมูลค่าจำนวนไม่เกิน 60,000,000 หน่วย ซึ่งมีราคาการใช้สิทธิ 72 บาทต่อหุ้น และมีอายุ 4 ปี นับจากวันที่ได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ เพื่อเป็นแรงจูงใจสำหรับบุคลากรในการสร้างการเติบโตและผลกำไรที่ดี ตลอดจนสร้างความผูกพันกับองค์กรในระยะยาวอีกด้วย

 

นายวิทัย รัตนากร ผู้อ่านวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ได้ผ่อนคลายลง ส่งผลให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจดีขึ้นและกลับมามีกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว มี จ านวนนักท ่องเที ่ยวต ่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยเพิ ่มขึ้นอย ่างต ่อเนื ่อง ดังนั้น เพื ่อเป็นการกระตุ้น เศรษฐกิจและเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการธุรกิจท ่องเที ่ยว สามารถด าเนินกิจการและให้บริการ อย่างราบรื่น คล่องตัว ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทุนหรือสภาพคล่อง ธนาคารออมสินจึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการ ธุรกิจโรงแรม และ Supply Chain ของโรงแรม ร้านอาหาร และกลุ่มผู้ประกอบการที่มีเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ ของท้องถิ่น ใช้บริการสินเชื่อ Soft Loan Re-Open อัตราดอกเบี้ยต่ ามาก 1.99% คงที่ 2 ปีแรก และสวนกระแส ของภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นในขณะนี้ โดยสามารถรับข้อเสนอและเงื่อนไขพิเศษได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th หรือที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 นี้เท่านั้น สินเชื่อ Soft Loan Re-Open เปิดให้กู้เพื ่อน าเงินไปปรับปรุง ซ่อมแซมสถานประกอบการ จัดซื้อ เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการกลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง โดยผู้กู้ต้องเป็นผู้ประกอบการที่เป็น บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่มีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน วงเงินกู้ต่อรายสูงสุด ถึง 5 ล้านบาท และมีระยะเวลากู้ได้นาน 10 ปี สามารถใช้หลักทรัพย์ หรือ บสย. อย่างใดอย่างหนึ่งในการค้ าประกัน ได้เต็มวงเงินกู้ หรือจะเลือกใช้ทั้งหลักทรัพย์และ บสย. ร่วมกันค้ าประกันก็ได้ คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก เพียง 1.99% ต่อปี โดยปีที่ 3-10 คิดอัตราดอกเบี้ยตามประเภทหลักทรัพย์ที่ใช้ค้ าประกัน และได้รับสิทธิพิเศษ ปลอดช าระเงินต้นเป็นเวลานานสูงสุดถึง 2 ปี ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GSB SME Call Center โทร. 02-2998899, GSB Contact Center โทร. 1115 และที่ facebook : GSB Society โดยธนาคารออมสินไม่มีนโยบายเชิญชวนให้ยื่นกู้ทางโซเชียล มีเดียหรือลิงก์ส่งทาง SMS แต่อย่างใด

สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ปรับตัว ผ่าน “มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว” ภายใต้พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ มุ่งเสริมศักยภาพการแข่งขันผู้ประกอบการ รับ 3 เมกะเทรนด์ธุรกิจโลกยุคใหม่“เทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต” หนุนธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนาน เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดบริบทโลกใหม่ (New Normal) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและทิศทางการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ เพื่อรับกับทิศทางธุรกิจในอนาคต จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนออกมาตรการ“สินเชื่อเพื่อการปรับตัว” ต่อยอดจากสินเชื่อฟื้นฟู ภายใต้ พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 (พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ สำหรับการลงทุนปรับปรุง พัฒนาและเสริมศักยภาพธุรกิจให้สอดรับกับ New Normal ใน 3 รูปแบบ คือ 1.กระแสเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital) 2.การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green) 3.นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต (Innovation) ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ธุรกิจของโลก

มาตรการ “สินเชื่อเพื่อการปรับตัว” เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อการลงทุนสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในช่วงที่เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและทิศทางอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยธปท. ได้ปรับหลักเกณฑ์ขยายวงเงินกู้สูงสุด 150 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี และเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี ขณะที่เงื่อนไขการค้ำประกันยืดหยุ่นขึ้น เพื่อเอื้อต่อการเข้าถึงสินเชื่อและส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทย สำหรับ SMEs ที่ไม่มีความประสงค์ในการกู้เพื่อลงทุนใหม่ สามารถขอสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อหมุนเวียนทั่วไป ผ่านมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ยังดำเนินการควบคู่กันได้

สมาคมธนาคารไทย และ ธนาคารสมาชิก พร้อมสนับสนุนมาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัวอย่างเต็มกำลัง ปัจจุบันมีสถาบันการเงินที่ได้จัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการปรับตัวแล้วจำนวน 16 แห่ง โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์ขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวสามารถติดต่อสถาบันการเงินได้โดยตรง สามารถดูรายชื่อสถาบันการเงินและศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ของ ธปท. ได้ที่ มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ภายใต้ พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ (bot.or.th)

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สมาคมธนาคารไทยได้ประสานความร่วมมือกับธปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในระยะสั้น โดยสามารถช่วยเหลือ SMEs ได้ถึง 7.7 หมื่นราย วงเงินรวม 1.4 แสนล้านบาท มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ให้ความช่วยเหลือ 5.9 หมื่นราย คิดเป็นยอดอนุมัติสินเชื่อกว่า 2.1 แสนล้านบาท มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ให้ความช่วยเหลือ 413 ราย คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอนราว 5.8 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือลูกค้าแก้ไขปัญหาหนี้ได้ตรงจุด ทันการณ์ และยั่งยืน เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผ่านวิกฤต มีความพร้อมกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน

EXIM BANK จัดเต็มแพ็กเกจของขวัญปีใหม่ 2566 เพื่อผู้ส่งออก “สินเชื่อพลิกฟื้นธุรกิจส่งออก” เพื่อบุคคลทำธุรกิจและ SMEs

 

 Funding Societies แพลตฟอร์มเงินทุนดิจิทัลสำหรับธุรกิจ SME ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการให้สินเชื่อแก่กลุ่มธุรกิจในประเทศไทย รวมอยู่ที่กว่า 1 พันล้านบาทนับตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2565 มาถึงปัจจุบัน

โดยบริษัท FinTech แห่งนี้ กำลังมุ่งขยายการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับ SME ในกลุ่มธุรกิจใหม่ ๆ ต่อไป เนื่องจากได้ตั้งเป้าการเติบโตเชิงรุกด้านการให้สินเชื่อกว่า 2 พันล้านบาท ในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้

นับตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 Funding Societies ได้ขยายการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับเจ้าของธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจ SME ในประเทศได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของประเทศไทยในอนาคตภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ Thailand 4.0 ของภาครัฐ

คุณศีล นวมานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Funding Societies ประเทศไทย กล่าวว่า “ความสำเร็จในการให้สินเชื่อรวมกว่า 1 พันล้านบาท ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเชื่อมั่นที่ธุรกิจ SME ในประเทศไทยมอบให้กับเรา และด้วยความพยายามอย่างเต็มที่ที่ทีมงานของเราได้แสดงให้เห็นมาตลอดทั้งปีนี้ เราเห็นความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งลูกค้าธุรกิจ SME ของเราจำนวนมากมีความพึงพอใจกับการให้บริการและความยืดหยุ่นในการสมัครยื่นขอสินเชื่อกับทาง Funding Societies

ด้วยศักยภาพของธุรกิจ SME ในประเทศไทย ที่สามารถเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตของมูลค่า GDP ของประเทศให้สูงขึ้นในอนาคต และยังคงยืนหยัดได้แม้จะมีความท้าทายทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม เราจึงมีความตั้งใจที่จะนำประโยชน์จากเทคโนโลยีมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อขยายโซลูชันทางการเงินของเรา และให้บริการแก่ธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ทั้งในพื้นที่นอกเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตามวิสัยทัศน์การทำงานของเราในการส่งเสริมธุรกิจ SME ในประเทศไทยให้เติบโตผ่านการใช้โซลูชันที่ปรับตามความเหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงง่าย และสะดวกสบาย” คุณศีล กล่าวเสริม

แม้ว่าธุรกิจ SME ในประเทศไทยนั้น เปรียบเหมือนกระดูกสันหลังทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน GDP ของประเทศกว่า 99% ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศไทย หรือเทียบเท่ากับจำนวนธุรกิจกว่า 3.1 ล้านแห่ง อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเหล่านี้ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายหลายประการในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อตอบสนองความต้องการด้านเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น ซึ่งอุปสรรคและความท้าทายเหล่านี้ ได้แก่ การขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน ข้อกำหนดด้านเอกสารที่ซับซ้อน และกระบวนการขออนุมัติที่ยาวนาน ทำให้ SME ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านสถาบันแบบดั้งเดิมได้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ปกติ ส่งผลให้ช่องว่างทางการเงินของ SME เพิ่มขึ้นกว่า 1.51 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ Funding Societies ยังได้รับใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องสำหรับการดำเนินกิจการในประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนีเซีย (ในนาม Modalku) รวมทั้งได้จดทะเบียนในประเทศมาเลเซีย และยังได้ประกอบกิจการให้บริการในประเทศเวียดนาม โดยตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2558 บริษัทฯ ได้มีการให้สินเชื่อรวมมากกว่า 1.03 แสนล้านบาท ผ่านธุรกรรมมากกว่า 5.1 ล้านรายการทั่วทั้งภูมิภาค บริษัท FinTech แห่งนี้ให้บริการทางการเงินแบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจ

ความต้องการเงินทุนหมุนเวียน หรือต้นทุนโครงการที่ต้องชำระล่วงหน้า โดยทั่วไปขั้นตอนดำเนินการในการสมัครเพื่อขอสินเชื่อดิจิทัลของธุรกิจ SME จะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์นับตั้งแต่การยื่นขออนุมัติ

ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังให้บริการแก่นักลงทุนรายย่อยในประเทศไทย โดยการเปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยสามารถลงทุนและรับผลตอบแทนตราสารหนี้สูงถึง 15% ต่อปีก่อนหักค่าธรรมเนียม ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท ในขณะเดียวกันทางบริษัทฯ ยังสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและช่วยให้สังคมในประเทศไทยมีการเติบโตผ่านแพลตฟอร์มการลงทุนของ Funding Societies และนับเป็นหนึ่งในบริษัท FinTech แห่งแรก ๆ ที่ได้รับใบอนุญาตหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

 

Page 4 of 9
X

Right Click

No right click