September 19, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา (กลาง) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนางลลิดา จิวะนันทประวัติ (ที่ 3 จากขวา) รองอธิบดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ร่วมเปิดงานสัมมนา “พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทยก้าวสู่สากล” จัดโดย EXIM BANK ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อนำเสนอโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะใน CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และบริการใหม่ของ EXIM BANK “สินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ไทย/เชนไทย (Loan for Thai Franchise/Thai Chain Buyers)” เป็นวงเงินสินเชื่อระยะยาวที่มีระยะเวลากู้ยืมไม่เกินระยะเวลาของสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์/เชน เพื่อสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ไทยไปเปิดให้บริการในต่างประเทศ หรือว่าจ้างเชนไทยในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ

เคทีซี ร่วมกับ ยูเนี่ยนเพย์ สร้างประสบการณ์สุดประทับใจกับทุกการใช้จ่ายในจีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน ยุโรป และทั่วโลก เปิดตัวบัตรเครดิต “เคทีซี ยูเนี่ยนเพย์” ครั้งแรกกับ 3 ประเภทบัตร: แพลทินัม / ไดมอนด์ และเอเชีย เพรสทีจ ไดมอนด์ คุ้มค่าด้วยสิทธิประโยชน์คะแนน KTC FOREVER สูงสุด 3 เท่า และรองรับการชำระเงินแบบ Contactless ที่ร้านค้าเครือข่ายยูเนี่ยนเพย์ทั่วโลก สมาชิกสมัครบัตรง่าย ไม่เสียค่าธรรมเนียม คาดสิ้นปีมีจำนวนสมาชิกไม่ต่ำกว่า 1 แสนราย

นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เคทีซียึดแนวทางการทำธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับเรื่อง Customer Experience เป็นหลัก โดยระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่ใช้จ่ายผ่านบัตรในจีน ฮ่องกง  มาเก๊า และไต้หวัน ไม่ต่ำกว่า 100,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เคทีซีก็ได้รับทราบถึงความไม่สะดวกสบายในการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตในกลุ่มประเทศจีน จึงเป็นที่มาของการจับมือกันระหว่างเคทีซี และยูเนี่ยนเพย์ ผู้นำด้านเครือข่ายการชำระเงินระดับโลก  เปิดตัว “บัตรเครดิตเคทีซี     ยูเนี่ยนเพย์” เพื่อสร้างประสบการณ์ที่สุดประทับใจให้กับสมาชิกเคทีซีที่เดินทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศจีน ยุโรป และทั่วโลก ด้วย 3 ประเภทบัตรเครดิต ประกอบด้วย บัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ แพลทินัม (สำหรับผู้ที่มีรายได้ 15,000 บาทขึ้นไป) บัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ ไดมอนด์ (รายได้ 50,000 บาทขึ้นไป) และบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ เอเชีย เพรสทีจ ไดมอนด์ (ได้รับเชิญเท่านั้น) โดยหน้าบัตรเครดิตทั้ง 3 ประเภทได้รับการออกแบบให้มีความแตกต่างบนพื้นฐานของความเป็นจีนสากลที่งดงาม

สำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ จะได้รับสิทธิพิเศษสูงสุด x3 คะแนน KTC FOREVER ตามรายละเอียดดังนี้

  1. รับ x2 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ แพลทินัม เป็นสกุลเงินท้องถิ่นที่จีน ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน (CNY/HKD/MOP/TWD)
  2. รับ x2 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ ไดมอนด์ เป็นเงินสกุลต่างประเทศทั่วโลก
  3. รับ x2 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ เอเชีย      เพรสทีจ ไดมอนด์ เป็นเงินสกุลต่างประเทศทั่วโลก และรับ x3 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรที่ประเทศไทยในหมวดร้านอาหาร ช้อปปิ้ง และ/หรือท่องเที่ยวครบทุก 600,000 บาท
  • ส่วนลด และสิทธิพิเศษจากร้านอาหารชื่อดังกว่า 100 ร้านค้าทั่วประเทศไทย เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่นเซน (Zen) ระหว่างวันที่1 มิถุนายน 2562 – 30 กันยายน 2562 /  ร้านไมเซน (Maisen) / ร้านอาหารเอส แอนด์ พี (S&P) และร้านวานิลลา (Vanilla Restaurant) เป็นต้น ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 – 30 พฤศจิกายน 2562

นายเหวินฮุ่ย หยาง ผู้จัดการทั่วไป ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับยูเนี่ยนเพย์ เรามุ่งมั่นที่จะมอบสิทธิประโยชน์และความคุ้มค่าให้กับลูกค้าอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของแคมเปญการตลาด การเป็นสปอนเซอร์กิจกรรมที่น่าสนใจ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การร่วมมือกับเคทีซีในครั้งนี้เป็นก้าวที่สำคัญของ ยูเนี่ยนเพย์ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ยูเนี่ยนเพย์เปิดตัวบัตรเครดิต 3 ประเภทพร้อมกันในประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้น บัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ ยังรองรับวิธีการชำระเงินที่ครอบคลุมตั้งแต่การชำระเงินออนไลน์ไปจนถึงการชำระเงินแบบ Contactless ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำความตั้งใจของเราในการสร้างความผูกพันกับกลุ่มผู้บริโภคไทยที่กว้างยิ่งขึ้น ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย”

“การเปิดตัวครั้งนี้ยังนับเป็นครั้งแรกที่ผู้บริโภคไทยจะได้สัมผัสกับสิทธิประโยชน์เหนือระดับของ 2 ประเภทบัตรระดับพรีเมี่ยมของยูเนี่ยนเพย์ คือ บัตรเอเชีย เพรสทีจ ไดมอนด์ และบัตรไดมอนด์ โดยสมาชิกสามารถรับสิทธิพิเศษของยูเนี่ยนเพย์กว่า 1,000 รายการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึง U Collection ซึ่งรวบรวมสิทธิประโยชน์และส่วนลดบริการไลฟ์สไตล์สุดเอ็กซ์คลูซีฟทั่วโลก ครอบคลุมทั้งโรงแรมระดับ 5 ดาว ร้านค้าแบรนด์เนมชื่อดัง และร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ นอกจากนี้ บัตรเครดิตทั้ง 3 ประเภทยังจะช่วยให้ผู้บริโภคไทยสามารถใช้จ่ายอย่างสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยได้ที่ร้านค้ากว่า 55 ล้านแห่งในเครือข่ายของยูเนี่ยนเพย์ รวมถึงการทำธุรกรรมที่ตู้เอทีเอ็ม 3 ล้านเครื่อง ใน 174 ประเทศและเขตการปกครองอีกด้วย”

“ยูเนี่ยนเพย์ มุ่งมั่นนำเสนอโซลูชั่นการชำระเงินที่ทันสมัย และร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความเข้าใจความต้องการของลูกค้าในแต่ละตลาด เราเชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนสำคัญในการขยายฐานผู้ถือบัตรเครดิต และยอดการใช้จ่ายของลูกค้าไทย”

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 เว็บไซต์ www.ktc.co.th หรือสมัครบัตรเครดิตได้ที่ศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือคลิกลิงค์เพื่อสมัครบัตรเครดิตได้ที่นี่: http://bit.ly/2FnvYSj #สุขไม่จำกัด กับบัตรเคทีซี

เคทีซีเผยธุรกิจสินเชื่อบุคคลแข่งขันเข้มข้น ครึ่งปีหลังเตรียมรุกสร้างธุรกิจเติบโตยั่งยืน จากพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า มุ่งปล่อยสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูง ประเดิมด้วยสินเชื่อเพื่อการศึกษากับ 4 สถาบันสอนภาษา เจาะกลุ่มบุคคลที่ต้องการพัฒนาการศึกษาตนเองเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลูกค้าที่จะมีรายได้เติบโตกว่าเกณฑ์และมีวินัยในการชำระคืน รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล ควบคู่กับการจัดกิจกรรมการตลาดยิงยาว เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับสมาชิกตั้งแต่เริ่มสมัครจนถึงฐานลูกค้าเดิมเกือบ 1 ล้านบัญชี โดยคาดว่าสิ้นปีนี้ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลจะโตตามคาด 10% จากปีที่ผ่านมา

นางสาวพิชามน  จิตรเป็นธรรม  ผู้อำนวยการ - ธุรกิจสินเชื่อบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การทำธุรกิจสินเชื่อบุคคลนับวันยิ่งมีความท้าทายมากขึ้น จากหลายผู้ประกอบการที่เข้ามาแข่งขัน รวมทั้งพฤติกรรมของลูกค้าในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลง ความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคแสวงหา โจทย์หลักที่ท้าทายของคนทำธุรกิจในวันนี้ จึงต้องคิดหาวิธีจะทำอย่างไรให้เข้าถึงลูกค้า “ถูกกลุ่ม” “ถูกเวลา” และ “ถูกใจ”

“แผนการตลาดธุรกิจสินเชื่อบุคคลของเคทีซีในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เราจึงรุกธุรกิจเข้มข้นขึ้น ด้วยการมุ่งเน้นคุณภาพลูกหนี้และการเติบโตอย่างยั่งยืนบน 4 แกนหลักคือ 1) มุ่งปล่อยสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ 2) รักษาและผูกสัมพันธ์ระยะยาวกับฐานสมาชิก 3) พัฒนาคุณสมบัติและบริการสินเชื่อ “เคทีซี พราว” ตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่ชอบความสะดวก รวดเร็วในยุคดิจิทัล 4) สร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า (Customer Engagement) เพื่อเข้าถึงตัวตนที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย”

“สำหรับแนวทางการให้สินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์นั้น เคทีซีจะมุ่งขยายความร่วมมือกับธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงและมีความต้องการในตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยได้นำร่องเปิดตัวสินเชื่อเพื่อการศึกษา (Education Loan) ร่วมกับสถาบันสอนภาษา 4 สถาบัน รวม 44 สาขา ได้แก่ วอลล์สตรีท อิงลิช (Wall Street English) แชมป์ อิงริช (Champ EngRish) แลงเกวจ เอ็กซ์เพรส (Language Express) และอินสไปร์ อิงลิช (Inspire English) เพื่อให้สินเชื่อกับสมาชิกที่ต้องการเงินทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพความรู้กับสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ ผู้สนใจสามารถสมัครและยื่นเอกสารที่สถาบันนั้นๆ ได้โดยตรง และสามารถทราบผลการอนุมัติภายใน 1 ชั่วโมง โดยสมาชิกจะได้รับอัตราดอกเบี้ยฯ พิเศษ 0% นานสูงสุด 24 เดือน ทั้งนี้ จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคในฐานข้อมูลเคทีซีพบว่า กลุ่มลูกค้าที่ต้องการพัฒนาตนเองเพื่อสร้างความก้าวหน้าในอาชีพมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และกลุ่มคนเหล่านี้ยังมีเกณฑ์ที่รายได้จะสูงขึ้นในอนาคต

การเพิ่มปริมาณลูกค้าในกลุ่มนี้จึงนอกจากจะส่งผลดีกับค่าเฉลี่ยการใช้วงเงินสินเชื่อโดยรวมของเคทีซีแล้ว การกู้ยืมแบบมีวัตถุประสงค์ยังเป็นที่มั่นใจได้ว่า พฤติกรรมการชำระคืนของผู้บริโภคกลุ่มนี้จะมีวินัยมากกว่าการกู้ยืมแบบทั่วไป ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับเคทีซีในระยะยาว นอกจากนี้บริษัทมีแผนจะขยายจำนวนพันธมิตรในกลุ่มธุรกิจการศึกษาให้มากขึ้น รวมทั้งจะมีการออกสินเชื่อเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ออกมาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง”

“การรักษาและผูกสัมพันธ์กับฐานสมาชิกในระยะยาวในครึ่งปีหลังนี้ จะยังคงใช้กลยุทธ์การแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายซึ่งได้ผลและมีการตอบรับที่ดีมาก ตั้งแต่เริ่มแรกที่สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกสินเชื่อใหม่ไปจนถึงสมาชิกเดิมในพอร์ต โดยเน้น “จัดเต็ม” “ให้ก่อน” “ให้มากกว่า” และ “ให้ต่อเนื่อง” ผ่าน 2 แคมเปญฮิต

1) “เคทีซี พราว โปรฯ เหมาๆ 199” สำหรับสมาชิกสมัครใหม่ รับสิทธิเหมาจ่ายดอกเบี้ยฯ 2 รอบบัญชีแรก เพียงรอบบัญชีละ 199 บาท เมื่อสมัครตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2562 – 31 สิงหาคม 2562 และ 2) “แคมเปญเคลียร์หนี้เกลี้ยง 10” สำหรับสมาชิก “เคทีซี พราว” เกือบ 1 ล้านบัญชี รับสิทธิลุ้นเคลียร์หนี้รางวัลใหญ่ 100% โดยปีนี้เพิ่มความพิเศษที่มากกว่าคือ ลุ้นได้ถึง 10 รอบ จับรางวัลทุกเดือนตลอดทั้งปี 2562”

“ในยุคดิจิทัลที่เราต้องยอมรับว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างเห็นได้ชัด เคทีซีจึงได้พัฒนาคุณสมบัติและบริการบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ให้รองรับความต้องการลูกค้าที่ชอบความสะดวก รวดเร็ว โดยได้พัฒนา 2 บริการ ได้แก่ 1) บริการเบิกถอนเงินสดออนไลน์ รับเงินโอนเข้าบัญชีแบบเรียลไทม์ เลือกชำระได้เองแบบชำระขั้นต่ำ 3% หรือผ่อนชำระเป็นงวด  (Cash Installment) ผ่านแอปพลิเคชัน “KTC Mobile” และเว็บไซต์ “KTC Online” ตลอด 24 ชั่วโมง ตามวงเงินที่มีอยู่  2) บริการแบ่งชำระสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ โดยได้เริ่มให้บริการผ่อนทองคำกับร้านทอง “ออโรร่า” ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 1.29% ต่อเดือน ผ่านเว็บไซต์ออโรร่า และแอปพลิเคชันปาปาเปย์ (Papapay Mobile Application) นอกจากนี้ สิ่งที่เคทีซีให้ความสำคัญกับลูกค้า “เคทีซี พราว” มาโดยตลอด คือการสร้างสัมพันธภาพระยะยาวกับสมาชิก ผ่านกิจกรรมเวิร์คช้อปสร้างแรงบันดาลใจที่เป็นประโยชน์และเป็นความต้องการของสมาชิกทุก 2 เดือน ภายใต้แนวคิด Quality of Life ที่มุ่งเสริมสร้างความรู้ในการพัฒนาไปสู่การสร้างอาชีพเพื่อรายได้เสริม รวมทั้งความรู้ในการวางแผนการเงินและการออมให้กับกลุ่มสมาชิก”

“ทั้งนี้ ภาพรวมการเติบโตของอุตสาหกรรมสินเชื่อบุคคลช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ยังถือว่าเป็นบวก โดยในส่วนของเคทีซีเองมีการเติบโตที่ดีเช่นกัน โดยมียอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเท่ากับ 26,483 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ฐานสมาชิกสินเชื่อบุคคลเท่ากับ 967,059 บัญชี ขยายตัว 12.8% อัตราหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสินเชื่อบุคคล 0.78% ลดลงจาก 0.82% (อุตสาหกรรม 3.49%) ส่วนแบ่งการตลาดยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ประมาณ 5.4% ของอุตสาหกรรม และคาดว่าสิ้นปีนี้ธุรกิจสินเชื่อบุคคลเคทีซีน่าจะบรรลุเป้าหมายตามคาด ด้วยอัตราการเติบโตของยอดลูกหนี้รวมที่ 10%

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) เผยกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ (Commercial Banking) ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางปี 2561-2563 ด้วยเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นธนาคารหลักของกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และลูกค้าธุรกิจ SME พร้อมขับเคลื่อนศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร รวมทั้งการผสานความรู้ความเชี่ยวชาญในประเทศกับศักยภาพความแข็งแกร่งทางการเงินและเครือข่ายระดับโลกของ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) มุ่งเน้นสร้างพอร์ตที่สมดุลและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยในปี 2561 ตั้งเป้าสินเชื่อธุรกิจโต 6-8% และเงินฝากโต 6-8% 
 
พรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า “กลุ่มลูกค้าธุรกิจของกรุงศรีประสบความสำเร็จในการสร้างความเติบโตด้านสินทรัพย์อย่างต่อเนื่องตามแผนธุรกิจระยะกลางฉบับแรกที่ครอบคลุมปี 2558-2560 โดยภาพรวม มีสินเชื่อเติบโตเฉลี่ย 7.5% ต่อปี และเงินฝากเติบโตเฉลี่ย 5.0%  ต่อปี สะท้อนถึงศักยภาพในการต่อยอดความสำเร็จภายหลังการควบรวมธุรกิจของธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ    ยูเอฟเจ จำกัด (BTMU) สาขากรุงเทพฯ และการผสานพลังเครือข่ายของ MUFG  สำหรับแผนธุรกิจระยะกลางในปี 2561-2563 กรุงศรีมุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับกระบวนการทำงานเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและส่งมอบบริการเพื่อสร้างและขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับลูกค้าธุรกิจโดยจะให้ความสำคัญกับการเติบโตของสินเชื่อและเงินฝากไปพร้อมๆ กัน นอกเหนือจากการกระชับสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมแล้ว กรุงศรียังมีเป้าหมายในการขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มใหม่เชื่อมโยงกับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0”
 
พรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
 
 
“กรุงศรีเดินหน้าสู่เป้าหมายการเป็นธนาคารพันธมิตรที่ได้รับความไว้วางใจ (Trusted  Banking Partner) สำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และเป็นธนาคารหลักสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งตั้งเป้าที่จะขยายพอร์ตของธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ โดยจะใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกับบริษัทในเครือกรุงศรี กรุ๊ป และศักยภาพความแข็งแกร่งของเครือข่ายระดับโลกของ MUFG การผสานพลังนี้จะทำให้กรุงศรีสามารถส่งมอบบริการทางการเงินที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นบัญชีเพื่อธุรกิจและผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ธุรกรรมและสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ บริการทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบสนองการลงทุนในตลาดต่างประเทศ สำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ กรุงศรีมุ่งเน้นกลยุทธ์ Fee based business และการปรับสมดุลของพอร์ตสินเชื่อโดยเน้นการเติบโตด้านสินทรัพย์และการสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ กรุงศรีได้จัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ทั้งในด้านการให้คำปรึกษาและองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมการขยายตลาดของลูกค้ากลุ่มธุรกิจไทย รวมทั้งการสร้างเครือข่ายธุรกิจและการแนะนำคู่ค้าธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ” นายพรสนองกล่าว 

 

สำมิตร สกุลวิระ ประธานสายสินเชื่อธุรกิจธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยผลงานของสายสินเชื่อธุรกิจเมื่อปีที่ผ่านมาว่า  สามารถทำวงเงินสินเชื่ออนุมัติใหม่ได้สูงที่สุดเท่าที่เคยทำมา จากการที่ธนาคารเริ่มขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่เพิ่มเติมจากอุตสาหกรรมที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษได้แก่ สินเชื่อกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายกลางรายเล็ก และสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี (สินเชื่อธุรกิจอพาร์ตเม้นต์และโรงแรม สินเชื่อธุรกิจขนส่ง สินเชื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อเครื่องจักรและวัสดุก่อสร้าง) 

 สำหรับปี 2561 จากทิศทางเศรษฐกิจและความต้องการของลูกค้า ธนาคารจะเดินหน้าด้วยแนวทางการดำเนินงาน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.  เจาะกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในทุกเซกเมนต์ ส่วนกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีมุ่งขยายธุรกิจไปยังลูกค้ากลุ่มเดิม 2. เป็นธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ด้วยประสบการณ์ยาวนานของทีมงาน 3. ขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มที่มีความมั่งคั่งสูง (high net worth) ในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โดยมุ่งให้บริการทางการเงินแก่กลุ่มคนดังกล่าวที่ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจและเจ้าของกิจการให้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างยั่งยืน และ 4.  ชูแพลตฟอร์มการเป็น Financial Solution Expert โดยพัฒนาบุคลากร ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ครอบคลุมความต้องการทางธุรกิจของลูกค้า ตลอดจนนำเสนอเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการและสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการ โดยปี 2561 สายสินเชื่อธุรกิจวางเป้าหมายสินเชื่ออนุมัติใหม่ที่ประมาณ 33,500 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ยอดสินเชื่อของสายสินเชื่อธุรกิจขยายตัวราว 5% คิดว่าการให้บริการลูกค้าด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมุ่งเน้นความสำเร็จของลูกค้าเป็นสำคัญ จะส่งผลให้การทำงานบรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางไว้

 ทั้งนี้ในปี 2560  สินเชื่อธุรกิจ มียอดสินเชื่อรวม 44,283 ล้านบาท ขยายตัวที่ 7% จากสิ้นปี 2559 แบ่งเป็น สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 21,276 ล้านบาท สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี (สินเชื่อธุรกิจอพาร์ตเม้นต์และโรงแรม สินเชื่อธุรกิจขนส่ง สินเชื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อเครื่องจักรและวัสดุก่อสร้าง) 23,007 ล้านบาท

Page 8 of 9
X

Right Click

No right click