January 15, 2025

เปิดใจ ผศ.ดร. ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ ในบทบาทรองคณบดี “งานแผนและประกันคุณภาพ” FAM

March 15, 2019 3602

ผศ.ดร. ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ  รองคณบดีฝ่ายงานแผนและประกัน คุณภาพ คณะบริหารและการจัดการ (FAM) สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึง งานด้านแผน และประกันคุณภาพว่า แบ่งงานเป็น 2 ส่วน หลัก ๆ คือ งานแผน เป็นงานเกี่ยวกับการ ทำแผน จัดทำรายงานและติดตามประเมิน ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ให้ บรรลุตามวัตถุประสงค์และคำรับรองของ สถาบันฯ (KPI) ที่เป็นไปตามบริบทของ คณะ และบริหารจัดการการใช้งบประมาณ ของคณะมีให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะและ สถาบัน รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ใน การดำเนินให้มีความโดดเด่นสอดคล้องกับ การเป็นสถาบันเทคโนโลยีของสถาบัน โดย การดำเนินงานของคณะครอบคลุม  4 พันธกิจ คือ 1. การเรียนและการสอน 2. การวิจัย 3. การบริการวิชาการ และ 4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และในส่วนงานการประกันคุณภาพนั้น  ต้องตอบโจทย์ของ สกอ.(สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา) และ ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) ในการ ควบคุมให้การจัดการเรียนการสอน มีคุณภาพได้มาตรฐานและเกณฑ์ที่กำหนด

ความสำคัญของงานด้านการ วางแผนนั้นคือ การกำหนดแผนของคณะบริหารฯ ให้สอดคล้องกับทิศทางนโยบายของสถาบันและต้องคอยควบคุมการดำเนินกิจกรรมของคณะฯ ให้เป็นไปตามแผนเพื่อบรรลุตาม KPI หรือดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงานตาม คำรับรองที่ได้รับจากสถาบัน

“KPI หรือ คำรับรองที่คณะบริหารฯ ได้รับจากสถาบันก็จะแตกต่างไปจาก คณะอื่นๆ บริหารจะไปรับ KPI ที่เหมือน กับคณะวิศวะก็คงไม่ได้คนละศาสตร์กัน  จึงต้องเป็นไปตามบริบทของคณะที่จัดการเรียนการสอนทางด้านบริหารธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่เป็นศาสตร์ ทางด้านสังคมศาสตร์ โดยจุดเด่นที่เรา แตกต่างจากที่อื่นๆ คือ ต้องเป็นบริหาร ธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่มีความ เชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีมาใช้”

พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นถึงการเปลี่ยน ทางด้านการบริหารและจัดการจากการใช้ คน กระดาษ หรือการทำธุรกรรมต่างๆ  มาสู่การเป็นเทคโนโลยีในรูปแบบออนไลน์ มากขึ้น ซึ่งช่วยประหยัดใน 3 เรื่องหลักๆ คือ คน เวลา และ ค่าใช้จ่าย อย่างในสถาบัน และคณะปัจจุบันก็มีการนำเอาระบบ  e-office มาใช้เพื่อเพิ่มความรวดเร็วใน การทำงานและประหยัดทรัพยากร เป็นต้น  ซึ่งถือได้ว่ายุคนี้กระแสการนำเทคโนโลยี การใช้ในการบริหารและจัดการมาแรงมาก ดังนั้นทางคณะการบริหารและจัดการของ เราจึงต้องพยายามเน้นให้หลักสูตรต่างๆ วิธีการการจัดการเรียนการสอน การติดต่อ สื่อสาร และการทำงานต่างๆ ภายในคณะ ต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เข้มข้นมากขึ้น เช่น การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และนั่นจะช่วยให้งานแผนสามารถควบคุม และติดตามงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผศ.ดร.ปรเมศร์ เล่าต่อถึงส่วนงาน การประกันคุณภาพการศึกษาว่า งานตรงนี้ มีความสำคัญมากเช่นกัน เพราะถ้าเรา ผิดพลาด หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า ตกประกัน นั้นจะมีผลต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์  ความน่าเชื่อถือของหลักสูตร ตัวคณะ และสถาบัน แล้วนักเรียนที่ไหนจะมาเรียน กับเรา ยิ่งทุกวันนี้การแข่งขันทางด้าน การศึกษาระหว่างสถาบันต่างๆ ก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่นักเรียนที่เป็นเป้าหมาย หลักของเราก็ลดน้อยลงโดยการประกัน คุณภาพของเรานั้นถือปฏิบัติตามเกณฑ์ และมาตรฐานที่ สกอ. และ ทปอ. กำหนด ภายใต้ระบบที่เรียกว่า CUPT QA

ที่ผ่านมาทางคณะบริหารมุ่งเน้นการ จัดการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรต่างๆ ทั้งปริญญาตรี โท และเอก รวม 8 หลักสูตร และการทำวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อ สังคม แต่จากนี้ไปเราจะเน้นเพิ่มเติมใน พันธกิจการบริการวิชา ทั้งภายใน สจล. และภายนอกมากขึ้น ตรงนั้นอกจากจะ เป็นการทำประโยชน์ให้แก่สังคมและ ชุมชนแล้วยังถือว่าเป็นการปรับตัวของ คณะ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันที่จำนวนนักเรียนเริ่มมีแนวโน้ม ลดลง เพิ่มกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เช่น กลุ่ม ผู้ที่ต้องการเพิ่มทักษะความรู้เฉพาะด้าน กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น โดยทั้งการจัดการ เรียนการสอน การวิจัย และการบริการ วิชาการ เราจะสอดแทรกเรื่องของการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไม่ให้ตกหล่นเป็นไป ตามสี่พันธกิจหลักที่กล่าวไว้ข้างต้น

 

ผลกระทบจากคอร์สเรียนรู้ ทางออนไลน์ และ E-learning ที่ส่งผลต่องานแผนและการประกันคุณภาพการศึกษา

ในยุคนี้ที่กระแสและทัศนคติต่อระบบ การศึกษาและรูปแบบการเรียนรู้ มีการเปลี่ยนแปลงแบบ Disruptive มีการเปิด กว้างมากขึ้นสำหรับ Online Course และ E-learning ทั้งจากมหาวิทยาลัยภายใน ประเทศและต่างประเทศนั้น

ผศ.ดร.ปรเมศร์ บอกว่า การเรียน การสอนระบบออนไลน์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น มาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่โดยมากก็จะเป็น ลักษณะ Training หรือ Short Course  แต่ถ้าจะจัดให้มีการเรียนการสอนระบบ ออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการเรียน การสอนในหลักสูตรหรืออนาคตจะให้มีการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรเป็น ออนไลน์ประเด็นนี้สำหรับบ้านเราถือว่า เป็นเรื่องใหม่ก็ได้ และเป็นประเด็นที่มี ความท้าทายสำหรับการประกันคุณภาพ การศึกษาในแง่ของเกณฑ์หรือมาตรฐาน ทางวิชาการเป็นอย่างยิ่ง

เพราะตอนนี้กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือ มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังคงให้ ความสำคัญกับการเรียนการสอนในชั้น เรียนเป็นหลัก เรียกว่าไม่เอื้อต่อการเปิด หลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหลักสูตร ก็ตาม ดังนั้นถ้าคณะบริหารฯ จะมุ่งไปจับ ตรงนี้ก็ยังไม่ง่าย เพราะเกณฑ์หรือ มาตรฐานที่จะใช้ควบคุมหรือสนับสนุนให้ หลักสูตรออนไลน์ได้มาตรฐานหรือ มีคุณภาพยังไม่มากพอ

ทว่าหากสกอ. และ ทปอ. ไฟเขียวกด ปุ่มอนุญาตให้มีการเรียนการสอนแบบ ออนไลน์และมีเกณฑ์หรือมาตรฐาน ควบคุมคุณภาพที่ชัดเจนทางคณะบริหารฯ ก็มีความพร้อมที่จะดำเนินการตอบรับได้ ทันทีทั้งในด้านหลักสูตร บุคลากร และ เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่างๆ เพราะ ปัจจุบันเรามีทีมอาจารย์รุ่นใหม่ๆ ที่มี ความถนัดในด้านการเรียนการสอน ด้วยแพล็ตฟอร์มออนไลน์หลายท่าน  ส่วนอาจารย์ท่านเก่าๆ ก็มีความสนใจ ด้วยเช่นกัน เพราะบุคลากรของเราทุกคน ที่นี่มีความตื่นตัวและพร้อมที่จะเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม หลักสูตรทุกหลักสูตร ของคณะต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอแม้ จะมีหรือไม่มีออนไลน์ก็ตาม เพื่อให้ทันกับ เทรนด์ของประเทศและโลก ความต้องการ เรียนของผู้เรียนและผู้ใช้งานบัณฑิตหรือ ผู้ประกอบการ ดังนั้นการปรับปรุงหลักสูตร จะต้องพยายามปรับปรุงให้ตอบโจทย์กับ เทรนด์และความต้องการของตลาด ดังกล่าวที่ปัจจุบันบริบทเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นั่นคือ หลักสูตร ทุกหลักสูตรต้องอัปเดตอยู่ตลอดเวลา และตรงต่อความคาดหวังของตลาด

ในประเด็นการปรับหรือพัฒนา หลักสูตรท่ีผ่านมานั้นแต่ละหลักสูตร ต้องมีการปรับปรุงทุกๆ 5 ปี ปัจจุบันหลายๆ หลักสูตรมีรอบในการปรับที่เร็วขึ้นไม่รอถึง 5 ปี เพื่อให้ทันกระแสและความต้องการ ของตลาด นอกจากนี้ ในการพัฒนา หลักสูตรมาตรฐานสำคัญหนึ่งของงาน ประกันคุณภาพการศึกษาจึงกำหนดให้ ทุกๆ หลักสูตรต้องพัฒนาหรือปรับปรุง หลักสูตรโดยยึดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes) หรือ ที่เรียกสั้นๆ ว่า ELO จากผู้มีส่วนได้ส่วน เสียกับหลักสูตรมาเป็นธงหรือตัวตั้งใน การดีไซน์หลักสูตร

“การพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรใน ปัจจุบันที่ต้องรวดเร็วนั้นกลายเป็นอีก ความท้าทายหนึ่งสำหรับงานประกัน คุณภาพการศึกษาที่จะต้องทำทุกอย่างให้ รวดเร็วและคิดอะไรใหม่ๆ ให้สอดคล้อง ทันท่วงทีต่อกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง เร็วมาก ทีนี้จะเกิดประเด็นระหว่างความ รวดเร็ว ความแปลกใหม่ กับคุณภาพ  เราต้องเร็วและแปลกใหม่ แต่เร็วอย่างไร ให้มีคุณภาพด้วย นี่คือ ความท้าทาย ของเรา นอกจากนี้คำว่าคุณภาพได้ตาม มาตรฐานก็อาจจะไม่เพียงพอแล้ว เพราะ เราต้องแข่งกับทั้งมหาวิทยาลัยใน ประเทศไทยด้วยกัน และไหนจะยังต่าง ประเทศที่เข้ามาอีก ดังนั้นความรวดเร็ว ความแปลกใหม่ กับ คุณภาพที่สูงกว่า มาตรฐาน จึงเป็นส่งที่เราพัฒนาและ บาลานซ์ไปด้วยกันให้ได้”

 

มาตรฐานและคุณภาพของการผลิตบัณฑิต

ในประเด็นนี้ โดยหลักๆ แล้ว เราต้อง ฟอลโลว์ตามระบบ CUPT QA ที่กำหนด เป้าหมายให้หลักสูตรผลิตบัณฑิตได้ตรง ตาม ELO ซึ่งพูดตามภาษาชาวบ้าน คือ ผลิตบัณฑิตแล้วให้มีความสามารถใน การทำงานที่สอดคล้องกับสาขาหรือ หลักสูตรที่เรียนไป ตรงตามความต้องการ ใช้งานของผู้ใช้บัณฑิต หรือหลักสูตรต้อง ถูกใจทั้งคนเรียนและคนที่จะใช้งานบัณฑิต เพราะฉะนั้นเราจะออกแบบหลักสูตรอย่างไร ที่จะผลิตบัณฑิตออกมาแล้วตรงตามสเป๊ก ที่ว่าและต้องมีคุณภาพและมาตรฐานด้วย สาเหตุนี้ทำให้เวลาที่เราจะออกแบบ หลักสูตรใหม่หรือปรับปรุงหลักสูตรเดิม จึงต้องมีการ Survey ความคิดเห็นของ Stakeholder ทุกครั้ง เพื่อถามหาความ ต้องการหรือความคาดว่าหวังว่าเรียน หลักสูตรนี้หลักสูตรนั้นแล้วจะต้องทำอะไร ได้บ้างหรือทำอะไรเป็นบ้าง ดังนั้นเราจึง มั่นใจว่านักศึกษาที่จบจากหลักสูตรต่างๆ ของเราไปมีคุณภาพและได้มาตรฐานแน่นอน   ผศ.ดร.ปรเมศร์ บอกว่า ความเข้มข้น ของการประกันคุณภาพทุกวันนี้มีมากขึ้น การใช้มาตรฐานและระบบประกันคุณภาพ เพียงแค่ระดับภายในประเทศไม่เพียง พอแล้วในอนาคตอันใกล้นี้ ที่เห็นภาพ ชัดเจน คือ มหาวิทยาลัยต่างๆ ในบ้าน เรามีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ จากต่างประเทศหลายแห่งมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อดึงดูดนักเรียนและนักศึกษาจากทั้ง ในและนอกประเทศมากขึ้น ดังนั้นเราจะ ใช้เกณฑ์หรือมาตรฐานประกันคุณภาพ เพียงแค่ภายในระดับประเทศคงไม่ได้เราต้องก้าวสู่ระบบประกันคุณภาพที่เป็น ที่ยอมรับในระดับสากลให้ได้ แต่จะใช้เวลา นานก็ไม่ได้เพราะคนอื่นเค้าขยับแล้ว

จึงเป็นโจทย์เพิ่มขึ้นอีกว่า ประกัน คุณภาพของคณะบริหารฯ ต้องมีความเข้มข้นขึ้นสู่ระดับสากลและต้องทำอย่าง รวดเร็วด้วย ซึ่งในข้อเท็จจริงนั้นไม่ง่าย เพราะการทำประกันคุณภาพในระดับ สากล ต้องใช้เวลา แต่ทำอย่างไรที่จะใช้ เวลาให้น้อยที่สุด ได้คุณภาพทางวิชาการ และมีเนื้อหาหลักสูตรที่ทันกระแสสังคม และยุคสมัยให้มากที่สุด

ความภูมิใจในฐานะนักวิชาการและอาจารย์ของ FAM

ผศ.ดร. ปรเมศร์ บอกว่า การเป็นส่วน หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา FAM โดย เป็นอาจารย์ของที่นี่ตั้งแต่ยุคที่ สจล. ยังไม่มี คณะบริหาร เป็นแค่เพียงภาควิชาหนึ่งใน คณะเทคโนโลยีการเกษตรและคณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมาเป็น วิทยาลัยและคณะการบริหารและจัดการ มีคณบดีคนปัจจุบันเป็นคนที่ 3 ทำงานที่นี่มา มากกว่า 10 ปีแล้ว ได้รับโอกาสให้ทำงาน ทั้งด้านวิชาการและด้านบริหาร นับเป็น ความภาคภูมิใจอย่างยิ่งอย่างหนึ่งในชีวิต

“ตอนเริ่มต้นคณะบริหารนั้นที่นี่ยังไม่ เป็นคณะ ยังเป็นแค่วิทยาลัยการบริหารและ จัดการ ผมเป็นแค่อาจารย์สอนวิชาทางด้าน เศรษฐศาสตร์ และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เมื่อผ่านไป 2 ปี มีโอกาสทำงานด้านบริหาร ในตำแหน่งผู้ช่วยคณบดี ดูเรื่องที่เกี่ยวกับ อาคารสถานที่ และ กิจกรรมนักศึกษา  ถัดไปจากนั้นเป็นรักษาการณ์รองคณบดี ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะมีการ เปลี่ยนแปลงจากวิทยาลัยมาเป็นคณะการ บริหารฯ ในปัจจุบัน จากนั้นมารับตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ เป็นคนแรก และในปัจจุบันรับตำแหน่งรอง คณบดีฝ่ายงานแผนและประกันคุณภาพ การได้รับโอกาสให้ทำงานต่างๆ ที่ผ่านมา ทำให้ผมมีความภูมิใจอย่างมาก ที่ได้เห็น และได้มีส่วนร่วมกับการพัฒนาคณะมา ตั้งแต่เกิดเป็นวิทยาลัยจนกระทั่งมาเป็น คณะการบริหารและจัดการ ในปัจจุบัน”


เรื่อง : ชนิตา งานเหมือน 
ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล 

Last modified on Friday, 15 March 2019 13:13
X

Right Click

No right click