ฝ่ายบริหารฯ เตรียมคนและองค์กรให้พร้อมเดินหน้าสู้ระดับสากล

March 15, 2019 4294

FAM to FAMOUS คือ  Theme ที่คณะการบริหารและจัดการ (Faculty Administration and Management) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง ต้องการขับเคลื่อน ให้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2562 นี้ โดย นอกจากตัวหลักสูตรด้านวิชาการ ที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ สอดคล้องกับความต้องการใน ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงแล้ว  การบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ภายในคณะก็ต้องมีการปรับและ พัฒนาเพื่อให้ก้าวทันต่อสิ่งใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นเช่นกัน ดร.ทัศไนย ปราณี รองคณบดี ฝ่ายบริหาร ทรัพยากรและบริการ ได้กล่าวถึง ความสำคัญในส่วนนี้ว่า

“ขอบข่ายการทำงานของฝ่ายบริหาร ทรัพยากรและบริการคือ การอำนวย ความสะดวกให้กับคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ถ้าเปรียบเทียบในระบบ การบริหารมหาวิทยาลัย เราก็เหมือนเป็น ส่วนหลังบ้าน มองภาพตั้งแต่เรื่องอาคาร สถานที่ แผนการดำเนินงาน บุคลากร และการเงิน เพื่อสนับสนุนให้ส่วนของงาน วิชาการสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โดยมีหลักการคือ 4 M ได้แก่

  1. Man กุญแจสำคัญคือ Put the right man on the right job ตามเกณฑ์ สกอ. ในตอนนี้ คนที่จะลงสอนในหลักสูตร ต่างๆ ต้องจบตรงกับสาขานั้นๆ ต้องมีวุฒิ ปริญญาเอกและมีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์
  2. Money บริหารจัดการจาก 4 ส่วน คือ งบจากรัฐบาล ค่าลงทะเบียนนักศึกษา การบริการทางวิชาการหรืองานวิจัย และ ส่วนที่ได้รับบริจาคจากศิษย์เก่า ทั้งในรูป แบบของเงินหรือทรัพย์สินเพื่อนำมาใช้ อำนวยความสะดวกภายในคณะ
  3. Material ต้องดูแลจัดการให้ทุกคนรวมทั้งหมดโดยเฉพาะระบบหลังบ้าน ให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและ สอดคล้องกับกฎระเบียบของสถาบันทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของ ฝ่ายบริหารที่จะต้องดูแล นอกจากนี้ ทาง คณะก็มีแผนจะเปิดหลักสูตรปริญญาตรีสา ขาใหม่ๆ เพื่อให้ตอบรับกับทิศทางการ พัฒนาประเทศและทำให้คณะของเรามี ความโดดเด่นเฉพาะทางมากขึ้น เราก็มี บทบาทที่จะต้องเสาะหาบุคลากรให้ตรง ตามเกณฑ์และเตรียมทรัพยากรอุปกรณ์ มารองรับ เน้นการบริหารจัดการคนอย่าง มีคุณภาพ สวัสดิการต้องเพียงพอ อาจารย์ ทุกคนในคณะจะต้องมีคอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อป ไอแพด และห้องส่วนตัว เพื่อ เอื้อต่อการเตรียมแผนการสอนให้ออกมา ดีที่สุด รวมไปถึงส่วนของการ Present Paper และการอบรมต่างๆ เราก็ต้อง จัดสรรงบประมาณต่อคนเป็นรายปีให้ เหมาะสม”

 

สำหรับแนวทางการบริหารงาน ในปีนี้ ดร.ทัศไนย ชี้ว่าจะยังยึดนโยบาย ของสถาบันเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญ กับการนำพาสถาบันสู่ความเป็นสากล มากขึ้น ทางคณะจึงมีแผนที่จะทำ ความร่วมมือกับสถาบันในต่างประเทศ ระหว่างนี้ก็มีการส่งอาจารย์หลายๆ ท่าน ไปศึกษาดูงาน โดยฝ่ายบริหารจะมี การพิจารณาคุณสมบัติให้เป็นไปตามจุด ประสงค์ ดูแลเรื่องงบประมาณและ รายงานที่ได้จากการเดินทาง มุ่งเน้นการ เตรียมพร้อมคน บริหารจัดการการเงิน อาคารสถานที่และอุปกรณ์อำนวย ความสะดวกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กับทางสถาบัน เพื่อเป้าหมายสำคัญคือ การติดอันดับ 1 ใน 10 สถาบันอุดมศึกษา ที่ดีที่สุดในอาเซียน รวมไปถึงการดึงเอา เทคโนโลยียุคใหม่มาปรับใช้ในกระบวนการ ติดต่อสื่อสารภายใน อย่างการยื่นเอกสาร ต่างๆ เพื่ออนุมัติก็มีการนำระบบ  E-Document มาใช้ตั้งแต่ช่วงเดือน ธันวาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งบุคลากรทุกคน ในคณะจำเป็นต้องศึกษาและใช้งานให้เป็น ส่วนการจัดการเรียนการสอน แบบออนไลน์ยังคงอยู่ในกระบวนการพัฒนา และทบทวนเพื่อไม่ให้ขัดต่อข้อบังคับ สถาบันที่ระบุว่า การจัดการเรียนการสอน ต้องเป็นแบบทวิภาคคือ มีสองภาคเรียน ยกเว้นการเรียนซัมเมอร์ การดำเนินการ ใดๆ จะขัดกับข้อบังคับสถาบันมิได้  หากต้องการจะจัดเปิดหลักสูตรออนไลน์ ก็อาจจะต้องมีการเพิ่มเติมในข้อบังคับ ให้สามารถนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามา เกี่ยวข้องได้ เพื่อให้เกิดการปรับตัวให้ เหมาะกับปัจจุบันมากขึ้น

อีกหนึ่งสถานการณ์ในยุคนี้ที่ สถาบันการศึกษาหลายแห่งต้องเผชิญ คือ เรื่องของจำนวนเด็กที่จะเข้ามาศึกษา ลดลง แต่สำหรับคณะการบริหารและ จัดการ สจล. กลับยังคงมีผู้สนใจสมัคร เข้าเรียนในระดับปริญญาตรีเป็นจำนวนมาก

“จุดแข็งของ FAM คือเรารับเด็กทั้ง สายวิทย์ – คณิต และศิลป์ – คำนวณ อย่าง TCAS รอบแรกที่เราเปิดรับนักศึกษา ประมาณ 80 – 90 คน มีเด็กสมัครเข้ามา พันกว่าคนและมาสัมภาษณ์ห้าร้อยกว่าคน เราจึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องจำนวนนักศึกษา ที่สมัครเข้ามา อีกทั้งทางสถาบันก็ยังมี แผนให้คณะเรารับเด็กเพิ่มขึ้นจากเดิม  350 คน เป็น 600 คน ด้วยซ้ำ สาเหตุก็ เพราะเรามีหลักสูตรที่เข้มแข็ง อาจารย์ ของเราค่อนข้างผูกพันกับเด็ก โดยดูจาก อัตราการได้งานของบัณฑิต เด็กส่วนมาก ที่จบจากเรานอกจากคนที่เข้าไปทำงาน ในบริษัทต่างๆ แล้ว ส่วนใหญ่จะจบออกไป เป็นผู้ประกอบการ ขับเคลื่อนและสร้าง การเปลี่ยนแปลงให้สังคม ซึ่งย้ำให้เห็นว่า ระบบการเรียนการสอนของเรามีคุณภาพ ทำให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ

แต่ปัญหาในตอนนี้คือเรื่องของ สถานที่ จำนวนอาจารย์ที่จะมารองรับ จำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต และงบประมาณ อันดับแรกเราจึงต้องเน้น การบริหารจัดการที่เกิดประโยชน์ต่อ นักศึกษามากที่สุด ต่อมาคือคณาจารย์ และภาคคณะ ส่วนฝ่ายสนับสนุนเราก็มี การส่งเสริมโดยให้ทุนลาศึกษาต่อระดับปริญญาโทในคณะของเรา ให้อบรมประจำ ปีกี่ครั้งก็ได้แต่ต้องเกี่ยวข้องกับเนื้องาน หน้าที่ภายในงบประมาณที่กำหนดให้  รวมไปถึงการดูแลความเหมาะสมของ เนื้องานกับตัวบุคคล พยายามมอบหมาย งานที่เขาถนัด ทำให้เขาได้ใช้ศักยภาพ ของตัวเองอย่างเต็มที่ และมีสวัสดิการ สำหรับพนักงานเงินงบประมาณที่มี ความมั่นคงพอๆ กับข้าราชการ

 

ดังนั้น การทำงานร่วมกันในหน่วยงาน เราจึงยึดประสิทธิภาพงานเป็นหลัก บรรยากาศเป็นแบบ FAM หรือ Family  ทุกคนสามารถเข้ามาพูดคุย นำเสนอ ความคิดเห็นเพื่อให้เราบริการและ ช่วยแก้ไขปรับปรุงให้เกิดการพัฒนาภายใต้ กฎระเบียบ”

ทั้งนี้ การจะก้าวไปเป็นมหาวิทยาลัย ระดับสากลในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามี ส่วนสำคัญอย่างมาก ดร.ทัศไนย มอง ความท้าทายและจุดสาคัญของงานบริหาร เอาไว้อย่างชัดเจน

แนวทางที่เราจะทำให้เกิด FAM to FAMOUS ได้นั้น เราต้องมีการบริการทั้ง ส่วนของคณาจารย์และนักศึกษา โดยทุก อย่างจะยึดกฎระเบียบเป็นหลักแต่ก็ต้อง ไม่ทำให้เราล้าหลัง เราเป็นส่วนสนับสนุน หลังบ้านที่ทำให้เกิดการผลักดันให้มีการ เรียนการสอนที่ดี คัดกรองอาจารย์ ที่จะเข้ามาสอนว่าสามารถมอบสิ่งที่ ให้ประโยชน์ทั้งแง่วิชาการและเชิงปฏิบัติ แก่นักศึกษาได้มากน้อยแค่ไหน อำนวย ความสะดวกให้บุคลากรและอาจารย์ใน การทำภารกิจทุกด้านให้บรรลุผลสำเร็จ 

ไม่ว่าจะเป็นการสอน ต้องสนับสนุนการจัด เตรียมแผนการสอนให้เต็มที่ เพื่อให้ หลักสูตรดำเนินไปได้ ทำให้เด็กมีคุณภาพ เน้นการทำวิจัยที่ต้องตอบโจทย์แก้ปัญหา สังคม มีคุณภาพ เป็นไปตามกลยุทธ์ของ สถาบัน นำมาใช้ได้จริง งาน Conference ต่างๆ ที่อาจารย์ไปเข้าร่วมก็ต้องอยู่ภายใต้ ฐาน Scopus หรือ TCI เรื่องการให้บริการ ทางวิชาการกับชุมชนก็ต้องเป็นโครงการที่ ช่วยให้คนในสังคมได้ความรู้และทำให้เกิด Word of Mouth และส่วนที่สำคัญไม่แพ้ กันคือ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ต้องสอนให้นักศึกษามีศีลธรรมจริยธรรม มีอัตลักษณ์ของสถาบันคือ ซื่อสัตย์ ใฝ่รู้  สู้งาน ติดตัวเมื่อเรียนจบออกไปจะได้เป็น ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

นอกจากนี้ การดูแลนักศึกษาก็ต้องมี การพาไปศึกษาดูงานตามโรงงาน อุตสาหกรรมหรือบริษัทจริงๆ เพื่อให้เขา สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่เลคเชอร์มา กับโลกการทำงานอย่างเห็นภาพ ผู้สอน ต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษา ตัวผม เองจะใช้หลักของการเป็นครู หมายความ ว่าเราดูแลนักศึกษาในทุกๆ ด้านไม่ใช่แค่ การเรียนการสอน พื้นฐานของการอยู่ภายใต้ ความเป็นครอบครัวนี้จะทำให้เมื่อเด็กจบ ไปทำงานก็จะหันกลับมามองครอบครัว เสมอ มีอะไรก็อยากกลับมาช่วยเหลือ พัฒนาคณะให้รุ่นน้องได้รับสิ่งที่ดี เพราะ เรามีความผูกพันระหว่างกัน”

 

ท้ายที่สุดแล้ว ดร.ทัศไนย ได้เปิดเผย ข้อมูลโครงการใหญ่ที่จะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม ในกลางปีนี้คือ โครงการออกแบบปรับปรุง ตึกแอล หรืออาคารบุนนาค (ฝั่งทิศเหนือ) เพื่อใช้เป็นคณะการบริหารและจัดการ “เราใช้งบประมาณในการสร้างกว่า 124 ล้านบาท ซึ่งมาจากการบริหารจัดการราย ได้ของคณะเรา มีการลงสำรวจพื้นที่ ประชุม Workshop กับหลายภาคส่วน เพื่อระดมแนวคิดในการออกแบบปรับปรุง เปลี่ยนโฉมโครงสร้างอาคาร 5 ชั้นนี้ให้สอดคล้องการพัฒนาของคณะและ คำนึงถึงผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา กลุ่มผู้บริหารคณาจารย์ บุคคลภายนอก ทั้งใน และต่างประเทศที่จะเข้ามาติดต่อ รับบริการต่างๆ จากคณะของเรา โดยรูปทรง อาคารภายนอกมีลักษณะโดดเด่นทันสมัย สไตล์อาคารโรมัน ซึ่งนำเอาแนวคิด Raise Your Future ที่มองถึงการยกระดับคุณภาพ ในทุกมิติของคณะการบริหารและจัดการ สู่ระดับสากลมาปรับใช้ สร้างบรรยากาศ แก่นักศึกษาซึ่งอยู่ในสายธุรกิจให้เกิด แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์และรองรับ การพัฒนาขยายหลักสูตรหรือกิจกรรม โครงการในอนาคตให้มากขึ้น ภายในครบ ครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก มีจุดเด่น เป็นห้อง Hall of Fame สำหรับจัดแสดง ผลงานและกิจกรรม ห้องทำสื่อการเรียน การสอนที่เป็น Multimedia ห้องเรียน ขนาดใหญ่และห้องประชุมที่สามารถรองรับ ได้ถึง 200 ที่นั่ง เพื่อรองรับ International Conference ต่างๆ โดยจะเริ่มดำเนินการ ประมาณช่วงปิดเทอมหรือกลางเดือน พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ระยะเวลาใน การสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในหนึ่งถึง หนึ่งปีครึ่ง ภายในปีหน้าก็จะได้เห็น  FAM ในลักษณะที่พร้อมก้าวสู่ระดับสากล อย่างแท้จริง”


เรื่อง : ณัฐพัชธ์ สุมา 
ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล

Last modified on Thursday, 24 June 2021 09:11
X

Right Click

No right click