October 16, 2024

ชี้ DPU เน้นปั้นเด็กให้มีทักษะรอบด้าน รู้ลึก รู้กว้าง และเรียนรู้ได้

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) สถาบันการศึกษาเอกชนชั้นนำของไทย ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านวิชาการให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้านวิชาการ ฝึกทักษะสำคัญของศตวรรษที่ 21 และเป็นสถาบันการศึกษาอันดับต้น ๆ ของไทยที่มีความร่วมมือด้านการศึกษา การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การค้า และอีกหลากหลายด้านกับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาในประเทศจีนมาอย่างยาวนาน ล่าสุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้รับเชิญให้เข้าร่วม World Chinese Economic Forum (WCEF) หรือ การประชุมเศรษฐกิจจีนระดับโลก ครั้งที่ 12 จัดขึ้นโดย สถาบันยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Strategy Institute ISIโดยมี นางสาวเกล็ดทราย อินทรพล ผู้อำนวยการสายงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ DPU และตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงาน ระหว่างวันที่ 12 - 13 พฤศจิกายน 2566 ณ ชิงเถียน มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน

นางสาวเกล็ดทราย อินทรพล ผู้อำนวยการสายงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ DPU เปิดเผยว่า World Chinese Economic Forum (WCEF) เป็นงานประชุมเศรษฐกิจจีนระดับโลก ซึ่งจัดขึ้นเพียงปีละครั้ง มายาวนานกว่า 10 ปี โดยเป็นเวทีการประชุมระดับโลกที่รวมตัวแทนจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน และสถาบันการศึกษา โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงโอกาสทางเศรษฐกิจในประเทศจีนกับภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก เน้นความสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคและส่งเสริมกรอบความคิดด้านการเติบโตทางธุรกิจ ส่งเสริมการเติบโตด้านการจ้างงานและการขยายระเบียงเศรษฐกิจในระดับโลก สอดรับกับแนวนโยบายจีนเชื่อมโลก ภายใต้  โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) ซึ่งเป็นนโยบายและแผนการลงทุนระยะยาวของจีน โดยมีเป้าหมายในการหารือเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเร่งสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ  ตลอดแนวเส้นทางสายไหมเดิมและเพิ่มเติมด้วยแนวเส้นทางใหม่ เพื่อช่วยให้ประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกสามารถเชื่อมโยงกันด้วยเส้นทางเศรษฐกิจที่ก่อเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย

สำหรับการจัดงานครั้งที่ 12 นี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “การประสานความสำเร็จร่วมกันผ่านการเชื่อมต่อระดับโลก : การพัฒนาเศรฐกิจจีนให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเจรจาและการแลกเปลี่ยนบทบาทของจีนในยุคใหม่ ระหว่างผู้นำทางความคิด หน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชน และภาคเอกชน รวมทั้งส่งเสริมการสร้างธุรกิจใหม่ที่พร้อมรองรับโลกดิจิทัลในอนาคต และส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเรื่องราวของจีนอย่างถูกต้อง

การประชุมเศรษฐกิจจีนระดับโลก ครั้งที่ 12 นี้ ยังเป็นเวทีเชื่อมเครือข่ายธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านการอภิปรายหลากหลายหัวข้อ อาทิ การค้าและการลงทุนในภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ซึ่งครอบคลุม 15 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีประชากรรวมแล้วมากกว่า 2.5 พันล้านคน โดยคิดเป็นสัดส่วนทางการค้ามากกว่า 30% ของโลกและถือเป็นหนึ่งในเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย ในหัวข้อนี้ มุ่งเน้นไปที่โอกาสใหม่ ๆ และความท้าทายในยุคดิจิทัลที่มีต่อการค้าการลงทุนใน RCEP ตลอดจนการหาวิธีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและกลยุทธ์การใช้นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเติบโตและความร่วมมือให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อีกหัวข้อสำคัญของเวทีนี้ คือ การร่วมกันหารือเกี่ยวกับความสำคัญของโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) โอกาสและความท้าทายที่เกิดจากการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทั่วโลกไปด้วยกัน โดย BRI จะส่งเสริมการเชื่อมโยงประเทศและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะครอบคลุมทั่วโลก และยังเป็นโครงการที่พลิกโฉมการค้าระหว่างประเทศและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพราะ BRI ทำให้เกิดโครงการโครงสร้างพื้นฐานมากมาย จากการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อภูมิภาคเอเชีย ยุโรป แอฟริกา และภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อให้เกิดเส้นทางการค้าและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมใหม่ ๆ และโครงการนี้ยังดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก กระตุ้นให้เกิดการค้าและสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนาประเทศอีกด้วย

นางสาวเกล็ดทราย กล่าวในตอนท้ายว่า ในฐานะที่ ชิงเถียน เป็นอำเภอหนึ่งในมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งรุ่มรวยด้วยมรดกทางวัฒนธรรม และยังเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ขณะที่ DPU เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีน โดยมีวิทยาลัยนานาชาติจีน (CIC) ที่มีนักศึกษาจากจีนมาเรียนมากที่สุดในมหาวิทยาลัยของไทย และมีสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล ที่ส่งเสริมด้านการศึกษาและวัฒนธรรมจีน จึงเล็งเห็นความสำคัญในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมข้ามแดน  การได้รับเชิญเข้าร่วมงาน World Chinese Economic Forum (WCEF) จึงเป็นเรื่องน่ายินดีและเป็นโอกาสพิเศษ ที่ DPU ได้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมครั้งสำคัญ รวมถึงเป็นโอกาสอันดีในการขยายเครือข่ายสู่ระดับโลก และกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรชาวจีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งยังได้รับทราบนโยบายเศรษฐกิจ การค้า การจ้างงาน ที่รัฐบาลจีนส่งเสริมหรือมีนโยบายสนับสนุน ซึ่งล้วนเชื่อมโยงและนำมาประยุกต์เข้ากับการศึกษาให้สอดรับกับความต้องการหรือบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และทิศทางการศึกษาในอนาคต

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) โดยหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)  หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (MACC) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี (Ph.D. Accountancy) และหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (DBA) ร่วมกันจัดโครงการ CEO Talks ครั้งที่ 1 โดยได้รับเกียรติจาก คุณชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Chief Engagement Officer (CEO)  บริษัท Food Passion จำกัด หรือ ที่รู้จักกันในนามของแบรนด์ Bar-B-Q Plaza มาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนให้ความรู้และประสบการณ์ ดำเนินรายการโดย ดร.กุลบุตร โกเมนกุล อาจารย์ หัวหน้าหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินการลงทุนและเทคโนโลยีทางการเงิน วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี DPU   ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาโท – เอก และคณาจารย์เข้าร่วมฟังกว่า 200 คน

ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม ผู้ช่วยรองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้กล่าวเปิดโครงการ โดยระบุถึงจุดประสงค์โครงการนี้ว่าเพื่อช่วยให้นักศึกษาฝึกฝนและพัฒนาทักษะในการบริหารองค์กร และเรียนรู้วิธีการเป็นผู้นำที่มีคุณภาพในองค์กร จาก CEO ตัวจริง   พร้อมเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจและการดำเนินงานในสภาวะที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับผู้บริหารองค์กร

ในช่วงแรกของการเสวนา คุณชาตยา ได้อธิบายถึง ความแตกต่างระหว่าง Chief Executive Officer (CEO) และ Chief Engagement Officer (CEO)  ว่าตำแหน่ง Chief Engagement Officer (CEO) เป็นตำแหน่งที่ไม่ได้เป็นตำแหน่งที่มีในองค์กรทั่วไป แต่มักจะปรากฏในบริษัทหรือองค์กรที่มีการใส่ใจกับการสร้างความสัมพันธ์และความสัมพันธ์ขององค์กรกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนา และบริหารจัดการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและลูกค้า พนักงาน หรือสังคมอื่น ๆ เพื่อสร้างความสุข สร้างความพึงพอใจ และสนับสนุนการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของตำแหน่งนี้

สำหรับตำแหน่ง CEO หรือ Chief Executive Officer ที่รู้จักกันทั่วไปนั้น เป็นตำแหน่งสูงสุดในองค์กรหรือบริษัท มีความรับผิดชอบในการนำบริษัทและดำเนินธุรกิจองค์กรให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงการกำหนดและดำเนินนโยบายกลยุทธ์ของบริษัท การบริหารจัดการทรัพยากรทางการเงิน เป็นผู้มีความรับผิดชอบสูงสุด มีอำนาจในการตัดสินใจสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และรายงานตรงของกรรมการบริษัท (Board of Directors) หรือผู้ถือหุ้นหลักของบริษัท

คุณชาตยา สุพรรณพงศ์  กล่าวต่อไปว่า  การเป็นผู้นำองค์กรที่ดี หรือ การจะเป็นนักบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จสามารถทำได้ด้วยการใช้กลยุทธ์ SML (Start with why, Mean it, Long-term Consideration) ซึ่งขยายความได้ดังนี้การเริ่มต้นด้วยที่ทำไม (Start with why) ใช้ในการสร้างความเข้าใจร่วมกัน และเริ่มจากการสื่อสารในทีมงาน ผู้ที่เกี่ยวข้องและนักลงทุน โดยการอธิบายให้เข้าใจถึงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่อยากให้บริษัทหรือองค์กรบรรลุผลในระยะยาว นี่คือที่มาและแรงจูงใจที่นำพาการดำเนินธุรกิจ อันจะให้คำตอบว่า "ทำไมเราต้องทำสิ่งนี้" เพื่อจะช่วยให้ทุกคนเข้าใจและร่วมมือกันในการสร้างความสำเร็จ

Mean it (ลงมือทำอย่างไรต่อ) หลังจากที่กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมาย ต้องแสดงให้เห็นว่าเราจริงจังในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ การดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ เพราะทุกคนดูทุกๆการตัดสินใจและกิจกรรมที่เราตัดสินใจลงมือทำมัน

Long-term Consideration (พิจารณาถึงผลลัพธ์ระยะยาว) คือการวางแผนและดำเนินธุรกิจควรมุ่งหวังแบบมองระยะยาว โดยต้องกำหนดยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานที่สนับสนุนเป้าหมายระยะยาวขององค์กร การคิดในแง่ระยะยาวช่วยให้มีการวางแผนและการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ

จากการปฏิบัติตามกลยุทธ์ SML แล้วนั้น จะช่วยให้การบริหารธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวได้ โดยการเริ่มต้นจากที่ทำไม (Start with why) เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน  และต้องแสดงให้เห็นว่าเราจริงจังในเรื่องนี้ด้วย ต่อด้วย Mean it (ลงมือทำอย่างไรต่อ) และ จบด้วยการยึดถือแผนระยะยาวเป็นหลักในการบริหารธุรกิจ (Long-term) เพื่อความยั่งยืนและความสำเร็จในอนาคต

โครงการภายใต้ความร่วมมือ ออมสิน-CIBA DPU เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยเติบโตอย่างยั่งยืน

เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ช่วยเด็กและเยาวชนค้นหาศักยภาพตนเอง  เปิดมุมมองด้านอาชีพ พร้อมเดินหน้าผลิตบุคลากร รองรับการขาดแคลนกำลังคนด้านการบิน ตั้งเป้าปี 2567 เปิดรับสมัคร 150 คน ขณะที่ นักเรียนเข้าร่วมค่าย ฝากจัดค่ายต่อเนื่อง เผยมีประโยชน์ต่อเด็กได้เข้าใจหลักสูตร การเรียนการสอนการบินมากขึ้น

วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT: College of Aviation Development and Training) และสถาบันการบิน (DAA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU ได้จัดกิจกรรม ‘ค่ายการบิน Youth Flying Club #3’ เมื่อวันที่ 28 ตค.2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการจัดมาอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้เข้าสู่ปีที่ 2 และจัดเป็นครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้แก่เด็กและเยาวชนที่สนใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านการบิน ได้มาเรียนรู้ เพิ่มเติมประสบการณ์ และช่วยค้นหาตัวเองว่าเหมาะกับอาชีพด้านการบิน

ผศ.น.ต.ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดีวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT: College of Aviation Development and Training) และผู้อำนวยการสถาบันการบิน (DAA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU กล่าวว่าปี 2566  CADT ได้จัดค่ายการบิน Youth Flying Club #3 ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งใน 2 ครั้งแรกได้รับการต้อนรับดีมาก เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการบินมากขึ้น ในปีนี้จึงมีการจัดค่ายที่พิเศษมากกว่าเดิม โดยเน้นการฝึกปฏิบัติ เพิ่มเติมประสบการณ์ เป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง ไม่ว่าจะเป็น การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ การบินจำลอง ห้องผู้โดยสาร สาธิตการดับเพลิง การควบคุมจราจรทางอากาศ รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้  และซักถามจากรุ่นพี่ ซึ่งเด็กและเยาวชนมีความกระตือรือร้นมากกว่าทุกปี

“การบิน เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ เพราะเป็นเรื่องการเดินทาง ยิ่งในปัจจุบันสามารถท่องเที่ยว หรือไปทำธุรกิจด้วยการเดินทางบนเครื่องบินได้ง่ายขึ้น รวดเร็วมากขึ้น และในปี 2566 นี้ อุตสาหกรรมการบินเริ่มกลับมาเติบโตมากขึ้น ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเกือบ 20 ล้านคน และมีจำนวนไฟล์ทบินมากขึ้น เกือบวันละ 2,000 ไฟล์ทบินทั่วประเทศ แบ่งเป็นสนามบินสุวรรณภูมิ มี กว่า900 ไฟล์ทบินต่อวัน และสนามบินดอนเมืองประมาณ 500 กว่าไฟล์ทบินต่อวัน  ดังนั้น ความต้องการของบุคลากรด้านการบินเพิ่มสูงมากขึ้น” ผศ.น.ต.ดร.วัฒนา กล่าว

ในช่วงโควิด-19 อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะงดการเดินทาง ทำให้มีการปลดพนักงาน หรือพักงานพนักงาน และบางคนเมื่อออกจากงานแล้วได้ไปทำธุรกิจของตัวเอง หรือไปทำงานอื่นๆ ที่พวกเขาชอบมากกว่า ทำให้ไม่ได้กลับมาสู่อุตสาหกรรมการบินอีก ทั้งที่ ตอนนี้มีความต้องการกำลังคนด้านการบิน ทั้งนักบิน เจ้าหน้าที่และพนักงานบริการภาคพื้นดิน มากขึ้น

ผศ.น.ต.ดร.วัฒนา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีความต้องการบุคลากรทางการบินจำนวนมาก และจากการวิเคราะห์สถานการณ์พบว่าอุตสาหกรรมการบินดีขึ้นกว่าเดิม และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอีก 3-4 ปีข้างหน้า หากไม่เกิดโรคระบาดร้ายแรง หรือเหตุการณ์ที่คาดเดาไม่ได้อีก ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนของ CADT DPU ไม่ได้เน้นเพียงการฝึกปฏิบัติงาน รวมถึง มีการวิเคราะห์ว่าสถานการณ์อุตสาหกรรมการบินดีขึ้น และในอนาคต 3-4 ปีข้างหน้า ไม่สามารถคาดการณ์ได้ จึงต้องเตรียมพร้อมบุคลากรให้สามารถทำงานด้านการบินและมีทักษะอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้ประกอบการ หรือทำธุรกิจของตัวเอง

“การเรียนการสอนของ CADT  DPU ได้มีการพัฒนาขีดความสามารถด้านการผลิตบุคลากรด้านการบิน ท่ามกลางอุตสาหกรรมการบินในไทยและภูมิภาคอาเซียนที่กำลังเข้าสู่สภาวะฟื้นตัว คาดการณ์ว่าจะขยายตัวแบบก้าวกระโดดในปี 2567 เจ้าหน้าที่สายการบินในต่างประเทศ บางสายการบินงดเที่ยวบิน เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ภาคพื้น  ปี 2566 มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น 83%  และปี 2567 คาดว่าจะรับนักศึกษาจำนวน 150 คน การจัดค่ายถือเป็นการคัดเลือกเด็กที่สนใจจริงๆและทำให้เกิดความเข้าใจ 2 หลักสูตรวิชาธุรกิจการบินและหลักสูตรวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน  ได้ลองฝึกปฏิบัติ สัมผัสห้อง Cabin เครื่องบินจริง ห้อง Simulator ของจริง อุปกรณ์จริง และการควบคุมจราจรอากาศ ช่วยให้เด็กค้นพบศักยภาพ ความถนัดของตัวเอง และได้ไอเดีย ว่าพวกเขาเหมาะกับการทำงานด้านใดในสายอุตสาหกรรมการบิน ได้มุมมองอาชีพมากขึ้น” ผศ.น.ต.ดร.วัฒนา กล่าว

ทั้งนี้ นอกจากการจัดการเรียนการสอนผลิตบัณฑิตบุคลากรสายการบินแล้ว CADT  DPU ยังมีการเปิดหลักสูตรเทรนนิ่ง อบรม เพื่ออัพสกิล รีสกิลคนในสายอุตสาหกรรมการบิน ด้วยเป้าหมายในการเป็นศูนย์รวมการอบรมด้านการบิน สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และมั่นใจว่านักศึกษาที่จบจากวิทยาลัยมีความพร้อม และศักยภาพในการพัฒนาตัวเอง ทำงานในองค์กร หน่วยงานต่างๆทั้งในและต่างประเทศได้

น.ส.กัสตูรีย์ เวชกะ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประทีปศาสน์ จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ตนเดินทางมาจากบ้านเกิดที่จังหวัดสงขลา เพื่อมาเข้าร่วมค่ายการบินของ CADT  DPU ซึ่งเท่าที่ได้ดูรายละเอียดและมาสัมผัสของจริง ค่ายการบินมีประโยชน์สำหรับตนอย่างมาก เพราะตนอยากเป็นทำงานเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่/พนักงานบริการภาคพื้นดิน (Ground Hostess/ Ground Staff)  และทุกกิจกรรมที่ทางค่ายจัด ทำให้ได้รับประสบการณ์จากเครื่องมืออุปกรณ์ การฝึกปฏิบัติจริงๆ  รู้ถึงศักยภาพและความถนัดของตัวเองว่าหากเราจะทำอาชีพนี้จริงๆ เราจะสามารถทำได้หรือไม่

“กิจกรรมการฝึกปฏิบัติในแต่ละฐาน สนุก ได้ความรู้ และที่สำคัญได้ฝึกปฏิบัติจากห้องเครื่องบินจริงๆ ซึ่งห้องฝึกปฏิบัติของ CADT  DPU มีความทันสมัย เปิดมุมมองและการเรียนรู้ใหม่ๆ ยิ่งเราเป็นเด็กต่างจังหวัด การได้มาเห็นมาเรียนรู้ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ดี แต่หากจะเพิ่มเติมกิจกรรม อยากให้มีพื้นที่ที่ได้พูดคุยกับรุ่นพี่ที่ทำงานในสายนี้จริงๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง” น.ส.กัสตูรีย์ กล่าว

ด้านนายปัณณวิชญ์ กอบตระกูล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จ.ระยอง กล่าวว่าตนอยากเป็นนักบิน เพราะอยากทำงานบนเครื่องบินที่ได้เห็นท้องฟ้า และบรรยากาศในการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากแต่ละประเทศแตกต่างกัน การทำงานบนเครื่องบินคงไม่เหมือนกับในห้องทำงานบนพื้นดินที่เห็นทุกๆ อย่างเหมือนเดิม ดังนั้น เมื่อทางมหาวิทยาลัยต่างๆ เปิดค่ายการบิน ตนจะเข้าร่วม และค่ายการบิน ของ CADT  DPU เป็นมหาวิทยาลัยที่สามที่ได้เข้าร่วม ซึ่งมีกิจกรรมที่สนุกสนาน และได้ฝึกปฏิบัติในห้องซิมูเลเตอร์ของจริง รุ่นที่แตกต่างจากที่เคยไปเข้าค่ายมาก อีกทั้งทำให้ได้เพื่อนใหม่ ได้เรียนรู้หลักสูตรการเรียนการสอน และรับฟังประสบการณ์จากรุ่นพี่และอาจารย์ผู้สอน

“ค่ายการบิน ของ CADT  DPU มีประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนที่สนใจหลักสูตรการบินอย่างมาก เพราะเป็นการเรียนรู้จากสถานที่จริง อาจารย์ผู้สอน และรุ่นพี่จริงๆ ที่คอยให้คำแนะนำ ชี้แนะ อีกทั้งได้ทดสอบทำข้อสอบร่วมด้วย อยากให้มีการจัดค่ายแบบนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และค้นพบตัวเองว่าเหมาะกับการเรียนหลักสูตรนั้นๆ หรือไม่ ที่สำคัญ ทำให้พวกเขาตัดสินใจได้ดีขึ้น ว่าควรเรียน  หรือควรทำอาชีพอะไร เป็นข้อมูลที่จะเพิ่มเติมให้แก่พวกเขา เพราะนอกจากเรื่องของการเรียนการสอนแล้ว การตัดสินใจเลือกเรียนจะดูไปถึงการฝึกงานว่ามีที่ไหนบ้าง อุปกรณ์เป็นอย่างไร และดูว่าจบแล้วจะทำงานได้หรือไม่” นายปัณณวิชญ์ กล่าว

เช่นเดียวกับ นายรัชพล บุนนาค  นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 3 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ฯ กล่าวว่าครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ได้เข้าร่วมค่ายการบิน ซึ่งทั้ง 2 ค่ายมีความแตกต่างกัน CADT  DPU มีอุปกรณ์การเรียนการสอน มีห้องจำลอง ห้องปฏิบัติงานที่ทันสมัย เหมือนได้ทดสอบขับเครื่องบินจริงๆ ถือเป็นเรื่องที่ดีและมีประโยชน์กับตนมากๆ ที่อยากเป็นนักบิน

“ผมอยากเป็นนักบินมาตั้งแต่เด็ก โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการไปเที่ยว ยิ่งเมื่อได้มาเข้าค่ายการบิน CADT  DPU ยิ่งทำให้อยากเรียนหลักสูตรการบินมากขึ้น ตอนที่ได้ฝึกปฏิบัติ และมีรุ่นพี่ อาจารย์มาให้คำแนะนำรู้สึกดี และสนุกมาก อยากให้เปิดค่ายแบบนี้ไปตลอด เปิดมุมมองให้เด็ก ได้ทดลอง เรียนรู้ว่าเหมาะกับเราจริงๆ หรือไม่ ดังนั้น หากเพื่อนๆ คนไหนที่สนใจอยากเป็นนักบิน อยากให้ลองสมัครเข้าค่ายการบิน CADT  DPU จะทำให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่แตกต่างจากการนั่งดูผ่านคลิปวิดีโอ หรืออ่านจากข้อมูล”นายรัชพล กล่าว

ขณะที่ น.ส.ลภัสนันท์ จิรานุศักดิ์ ผู้ปกครองของนายรัชพล บุนนาค กล่าวว่ารู้จักค่ายดังกล่าวผ่านลูก ซึ่งเขาสนใจอยากเข้าร่วมค่าย เพราะเขามีความฝันอยากเป็นนักบิน ทำงานเกี่ยวกับการบิน ครั้งนี้เป็นการสมัครเข้าค่ายครั้งที่ 2 ของเขา แต่เป็นครั้งแรกของแม่ ที่ได้มีโอกาสมาร่วมค่ายกับลูก ทำให้ได้เรียนรู้หลักสูตร  เห็นสถานที่ สภาพแวดล้อมของวิทยาลัย อุปกรณ์การเรียนการสอน และห้องปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากที่เราดูคลิปวิดีโอทางโซเซียลมีเดีย เพราะทุกอย่างเป็นของจริง อีกทั้งได้ข้อมูลจากคณบดี จากนักศึกษารุ่นพี่ แต่ละท่านให้ข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์อย่างมาก แม่จะนำข้อมูลไปแลกเปลี่ยนกับลูก เพื่อช่วยในการตัดสินใจของเขา

“เชื่อว่าลูกจะได้รับประสบการณ์มากมาย จากการเข้าค่ายการบิน CADT  DPU เพราะการได้มาเห็นทุกอย่าง ได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจริงๆ เรียนรู้จริงๆ ย่อมดีกว่า ขณะที่ผู้ปกครองได้เข้ามาร่วมจะได้มุมมองความคิด และนำข้อมูลไปแลกเปลี่ยนกับลูกได้ การที่มหาวิทยาลัยเปิดค่ายกิจกรรม จะมีประโยชน์อย่างมากทั้งผู้ปกครอง และตัวเด็ก อยากให้จัดกิจกรรมที่หลากหลาย ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง” น.ส.ลภัสนันท์ กล่าวในตอนท้าย

X

Right Click

No right click