January 22, 2025

นับแต่อดีตแต่ไหนแต่ไรมางานบริหารจัดการสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยก็เรียกได้ว่าเป็นงานยากอยู่แล้ว  ยิ่งมาถึงยุคนี้และอนาคตข้างหน้าคำว่า Disruptive Education  ก็ยิ่งเพิ่มดีกรีความยากให้ท่วมทวีขึ้นไปอีกหลายเท่า

การจะทำให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่สะดุดและหยุดยั้ง อย่างแรกคือการมีความสงบ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อ และเป็นจุดหักเหสำคัญของประเทศ เพราะปัจจุบันมีหลายอย่างเกิดขึ้นในโลก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีความชัดเจนอย่างมาก ซึ่งทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่จุดที่เป็นได้ทั้งโอกาสและความท้าทาย ถ้าการเลือกไปในทิศที่ถูกทาง แต่ถ้าเลือกไปอย่างไม่เหมาะสมก็จะทำให้พลาดโอกาส ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายและปัญหาสั่งสมที่มีอยู่เดิมที่ต้องแก้ไข เพราะอาจกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศได้ในอนาคตซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข เพื่อที่คนไทยจะได้รับประโยชน์ มีความอยู่ดีกินดี คือแนวนโยบายหลักของ ดร.อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)

ภายใต้ภาพลักษณ์นักการเมืองป้ายแดงแกะกล่องของดร.อุตตม สาวนายน นักวิชาการสายแข็งผู้มีดีกรีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยภูมิหลังทางครอบครัวที่ไม่ธรรมดา และวันนี้ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเป็นหนึ่งในคีย์แมนสำคัญในทีมเศรษฐกิจของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ผู้ที่ทั้งประเทศไทยเข้าใจได้ว่าคือผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยในยุคสมัยรัฐมนตรี พลเอก.ประยุต จันทร์โอชา โดยดร.อุตตม สาวนายน ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พรรคการเมืองป้ายแดงแกะกล่องที่น่าจับตา ของสนามการเลือกตั้งแห่งปี 2562 นโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ที่หลายคนเฝ้าติดตามว่า จะมีรูปร่างหน้าตาออกมาแบบไหนบ้างนั้น ดร. อุตตม เปิดเผยกับ นิตยสาร MBA ว่า

แม้ว่าพรรคพลังประชารัฐเราจะเป็นพรรคใหม่ แต่หากเราได้เข้ามาเป็นรัฐบาล มีโอกาสรับใช้พี่น้องประชาชน โดยยึดถือแนวนโยบายที่ตั้งอยู่บนความสงบสุข เราไม่ต้องการเข้ามาเพื่อการเมืองโดยการเมือง หมายความว่าเราไม่สนับสนุนการขัดแย้ง เราจะสนับสนุนการเคารพกติกาการเมือง กติกาสังคม พร้อมทั้งยึดมั่นใน 5 แนวทางสำคัญที่เป็นนโยบายหลักของพรรคเพื่อการพัฒนา ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่อง สวัสดิการประชารัฐ ,สังคมประชารัฐ,เศรษฐกิจประชารัฐ, การต่างประเทศและนโยบายเรื่องการศึกษา”

สวัสดิการประชารัฐ

ดร.อุตตม เผยถึงแนวคิดเรื่องสวัสดิการประชารัฐว่า เราต้องการให้คนไทยมีโอกาสและทางเลือกสำหรับอนาคต ตลอดจนความมั่นคงในชีวิต ซึ่งเป็นไปได้ภายใต้การมีสวัสดิการที่ดี ที่เรียกว่าสวัสดิการประชารัฐ เป็นสวัสดิการที่คนไทยสมควรจะมี ทั้งเรื่องอาชีพ การสร้างรายได้ สาธารณสุข ที่อยู่อาศัยและการศึกษา เราจะทำการเติมเต็มให้ ภายใต้แนวคิดที่เราจะแบ่งเป็นกลุ่มตั้งแต่เกิด วัยทำงาน จนถึงผู้สูงวัย ตลอดชีพ โดยสวัสดิการที่มีอยู่ในวันนี้จะมีการเพิ่มเติมตามที่ควรจะเป็น และปรับให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

สังคมประชารัฐ

หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ภายใต้การมีความพร้อมในทางสวัสดิการ สิ่งที่ตามต่อมาก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของสังคม และเศรษฐกิจไปได้ควบคู่กัน สังคมก็คือคนไทย เมื่อโลกเปลี่ยนไป เราเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คนไทยต้องเตรียมตัวเพื่อก้าวไปข้างหน้า แล้วสังคมควรจะเป็นอย่างไรนั้น เราต้องมองครอบคลุมไปมากกว่าเรื่องการศึกษา หรือจะเรียกว่า Next Gen skill Development คือทักษะที่คนไทยในเจเนอเรชั่นต่อไปควรจะมี คืออะไร ตั้งแต่ทักษะด้านการทำงาน ทักษะในการเรียนรู้ที่จะอยู่กับสังคม เราต้องการสร้างสังคมที่รู้จักแบ่งปัน รู้จักเกื้อกูล ให้โอกาสต่อกัน เหล่านี้ถือเป็นทักษะที่ต้องช่วยกันส่งเสริมและสร้างขึ้นมา

“เราต้องไม่มองแต่เรื่องเศรษฐกิจ หรือมองแต่สังคม เพราะต้องยอมรับว่าปากท้องกับเรื่องของสังคมนั้นแยกจากกันไม่ได้ สังคมไทยจะต้องการมีสภาพแวดล้อมที่ดี พรรคพลังประชารัฐจึงนำเสนอ “สังคมสีขาว” ที่หมายถึงสังคมที่ปลอดยาเสพติด ซึ่งเมื่อปลอดยาเสพติดแล้วก็จะเป็นสังคมที่ปลอดโรค และปลอดภัย

นโยบายการรับมือเรื่อง Aging Society ซึ่งเริ่มปรากฏในหลายประเทศทั่วโลก เริ่มก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดย ดร.อุตตม กล่าวถึงนโยบายเรื่องนี้ว่า “ต้องจัดสวัสดิการผู้สูงวัย ซึ่งหมายรวมไปถึงการสร้างโอกาส และการสร้างสังคม เพราะอย่างไรก็ตามผู้สูงวัยก็ยังเป็นกลุ่มคนที่มีกำลัง มีศักยภาพ วันนี้คนอายุยืนขึ้น เรื่องของโอกาสจึงเป็นเรื่องที่เรามุ่งเน้น และมองเห็น การสร้างโอกาสเรื่องงานและอาชีพให้กลุ่มผู้สูงวัยที่ยังมีกำลัง ความสามารถ เป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลย”

หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงการดูแลในระดับชุมชนที่จะยิ่งเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะในต่างจังหวัดชุมชนไทยมีศักยภาพสูง อย่างเช่นวิสาหกิจชุมชน Social Enterprise ผู้สูงวัยในวันนี้จึงมีบทบาทอย่างมาก ที่จะต้องเข้าไปช่วยสนับสนุน

ส่วนเรื่องสวัสดิการ ต้องมีการจัดสรรโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพซึ่งต้องให้การดูแล ผู้สูงวัยบางรายถึงแม้จะมีทุนทรัพย์แต่ก็ต้องไปดูในรายละเอียดว่า เข้าถึงแพทย์ และเข้าถึงการดูแลสุขภาพหรือไม่ โดยพรรคพลังประชารัฐจะคิดระบบให้เข้าถึงแพทย์ เข้าถึงยาได้โดยสะดวกทั่วประเทศ เป็นสวัสดิการที่สมควรจะมี ซึ่งต้องคิดไปพร้อมๆ กับเรื่องการเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ในระดับพื้นที่ และระดับชุมชน

 

เศรษฐกิจประชารัฐ

ดร.อุตตม กล่าวถึงแนวทางของเรื่องนี้ว่า ต้องสร้างความสามารถและภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ ที่ให้ประเทศและคนของเราสามารถจะเดินหน้าต่อในยุคที่โลกาภิวัตน์มีความเข้มข้น ส่งผลกระทบที่ชัดเจนรุนแรงและรวดเร็วมาก เรามีการพูดถึงโลกาภิวัตน์มาเป็นเวลากว่า 10 ปี และทุกวันนี้มีผลที่ปรากฏชัด มีรูปแบบออกมาหลากหลาย เศรษฐกิจไทยต้องปรับเปลี่ยน เราต้องก้าวให้ทัน ต้องเป็นเศรษฐกิจที่มีความสามารถ และมีความยืดหยุ่น

“เราถามตัวเองว่า ประเทศไทยมีจุดเด่นอะไร วันนี้ผมตอบได้เลยว่า เรามีทั้งจุดเด่น และจุดแข็งอยู่มาก เป็นประเทศพื้นฐานการเกษตร มีพืชผลเกษตรกรรมเด่นๆ หลายตัว บางครั้งเราอาจจะมองว่าสิ่งนั้นเป็นปัญหา เพราะที่ผ่านมาภาคเกษตรของเรามีรูปแบบการขายแบบยกล็อต เน้นไปที่ปริมาณ แต่ราคาที่ได้กลับถูกกำหนดจากปัจจัยภายนอก ซึ่งเป็นสถานการณ์จริงและเป็นความจริงที่สืบเนื่องต่อกันมาอย่างยาวนาน นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราต้องปรับเปลี่ยนไปเป็นเกษตรแบบเพิ่มมูลค่า เป็นเกษตรที่ยั่งยืนให้ได้ เรามีแรงงานจำนวนมากในภาคเกษตรกรรม และเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศไทยเรา เป้าหมายเรื่องนี้คือ การเปลี่ยนภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคเกษตรที่มีมูลค่าสูง”

นอกจากนี้ยังมี ภาคอุตสาหกรรมที่เป็นโจทย์ในการก้าวไปข้างหน้า โดยเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล 5G ที่กำลังจะมาถึง ไม่ได้เฉพาะเป็นแต่เพียงเรื่องของโทรคมนาคม แต่สำหรับแวดวงอุตสาหกรรม 5G เป็นเทคโนโลยีที่มีผลต่อห่วงโซ่การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน เราต้องทำให้อุตสาหกรรมไทยมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ได้โดยเร็ว และอย่างกว้างขวาง สร้างบุคลากร และแรงงานที่มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ให้มากขึ้น พรรคพลังประชารัฐ มีนโยบายที่กำหนดเป้าหมายชัดเจนแล้วว่าอุตสาหกรรมใดบ้าง และทำอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการ SME และถึงวิสาหกิจชุมชน อย่างครบพร้อม

ทุกวันนี้มีบทพิสูจน์แล้วว่าคนตัวเล็กเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี เพราะคิดและทำได้อย่างรวดเร็ว” เมื่อเทคโนโลยีเข้ามา ต้องมีการทำงานเรื่อง ‘คน’ คู่ขนานไปพร้อมๆ กัน เพราะในห่วงโซ่การผลิต เมื่อมีระบบดิจิทัล มีระบบอัตโนมัติ ระบบ Robotic จะเกิดคำถามตามมาว่าแล้ว “คน” ของเราจะทำอะไร”

นโยบายในเรื่อง ‘คน’ มีอยู่ 2 ส่วน คือ

  1. เร่งยกระดับทักษะคนที่อยู่ในกระบวนการผลิต ซึ่งจะมีแนวทางดำเนินการเป็นแพลตฟอร์มระดับชาติ เพื่อปรับทักษะเหล่านี้ให้เหมาะสม และ
  2. สร้างฐานผู้ประกอบการใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี คือ Tech Startup เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการลดผลกระทบ (Disruption) จากเทคโนโลยีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผู้ประกอบการใหม่หรือ Startup เป็นได้ทั้งผู้ประกอบการที่เกิดมาใหม่เลย หรือคนที่เคยอยู่ในอุตสาหกรรมผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการใหม่ ซึ่งตอนนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้พัฒนาโครงการที่ชื่อว่า Thailand InnoSpace ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มที่จะมาทำหน้าที่ส่งเสริมเรื่องผู้ประกอบการเริ่มใหม่ (Tech Startup) และส่งเสริมการมีนวัตกรรมในอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่ระดับฐานราก เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะให้กับผู้ประกอบการใหม่ เพื่อเป็นโครงการที่จะดึงเอาเทคโนโลยีเข้ามาในประเทศไทย Thailand InnoSpace ประกาศจัดตั้งโดยมีพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ทั้งจากฮ่องกง ญี่ปุ่น อิสราเอล และองค์กรใหญ่ของประเทศไทย ภายใต้เงินทุนเริ่มต้นที่ 500 ล้านบาท โดย Thailand InnoSpace นี้จะจัดตั้งเครือข่ายกับพันธมิตรในประเทศในภูมิภาคต่างๆ อาทิ EECi จังหวัดระยอง หรือ EEC ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเครือข่ายความร่วมมือนี้จะขยายออกไปในทุกภูมิภาค ซึ่งแพลตฟอร์มของ Thailand InnoSpace นี้จะเป็นคำตอบของการunlocked เรื่องนวัตกรรมของประเทศไทยที่ติดกับมาอย่างช้านาน

ดร.อุตตม กล่าวต่อ เรื่องมิติทางด้านพื้นที่ ซึ่งมีความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องของการกระจายความเจริญให้กว้างขวางครอบคลุมทุกพื้นที่ นโยบายของพรรคจะต่อยอดในส่วนที่มีอยู่แล้ว เช่น EEC (Eastern Economic Corridor – เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเป็นจุดเริ่มของการสร้างฐานความเจริญ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจ โดยมีทั้งเรื่องของอุตสาหกรรม เรื่องการสร้างเมือง และเรื่องการพัฒนาคน ซึ่งเราจะปรับยอดให้เกิด EEC ในภูมิภาค เช่นภาคเหนืออาจจะเป็น ล้านนา 4.0 รวมไปถึงภาคอีสาน ภาคใต้ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งหมด ให้สอดรับกับจุดเด่น และวิถีในชุมชน เป็นการกระจายโอกาสเพื่อหลีกเลี่ยงการกระจุกตัวของการปรับเปลี่ยนรับความเจริญที่จะตามมา

วันนี้ทั่วโลกพูดถึงกระแส Urbanization คือการสร้างเมือง ที่เราไม่ได้หมายถึงเฉพาะการสร้างเมืองใหญ่เท่านั้น แต่ต้องสร้างเมืองรองขึ้นมาไปพร้อมๆ กัน และยึดโยงกับเมืองใหญ่ เพื่อให้ความเจริญกระจายตัว อย่างส่งเสริมและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตัวอย่างที่เห็นชัดคือเรื่องการท่องเที่ยว เรามีเมืองหลักในการท่องเที่ยว และเป็นเมืองหลักที่เป็นฐานการผลิตด้วย เราก็จะมุ่งสร้างเมืองรองที่ยึดโยงกัน ตามนโยบาย 15 เมืองหลัก 15 เมืองรองทั่วประเทศ ผ่านเศรษฐกิจใหม่

ลงมาที่รากฐานชุมชน เราเข้าต้องเข้าให้ถึงการผลิตและขีดความสามารถในระดับชุมชน โดยเอาเทคโนโลยีเป็นตัวนำ ตั้งแต่ดิจิทัล ไปจนถึงเรื่องอีคอมเมิร์ซโดยจะทำให้เป็นระบบ โดยต่อไปจะเห็นภาพได้ว่าในเรื่องของเศรษฐกิจนั้น มี 3 มิติหลัก คือ 1. นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน และอุตสาหกรรม และที่สำคัญคือการเข้าถึงต้องเป็นไปอย่างอย่างเร็ว และเรื่องที่ 2. เรื่องคน จะเป็นเรื่องการสร้างทักษะใหม่ (New skill) ปรับเปลี่ยนทักษะที่มี (Re skill) สร้างผู้ประกอบการใหม่ขึ้นมา ลดผลกระทบของเทคโนโลยีที่เข้ามา Disrupt 3. เชิงพื้นที่ ก็คือการดูแลให้เกิดความครอบคลุม

“การที่เราเปลี่ยนเศรษฐกิจให้เป็นเศรษฐกิจที่สามารถมีความยืดหยุ่น มีการกระจายความเจริญ ทั้งในเชิงของอุตสาหกรรม พื้นที่ และคน เมื่อเกิดสถานการณ์ผันผวนจากโลกเราจะมีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจที่จะต้านทานได้ แต่หากเรายังยึดอยู่กับอุตสาหกรรมเกษตร ที่ขายแต่เกษตรต้นทางเป็นหลัก เราจะหนีไม่พ้นปัญหาที่เราเคยเผชิญมาโดยตลอด เมื่อมีภูมิคุ้มกัน ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดเซไป แต่ส่วนอื่นยังยืนได้”

นโยบายต่างประเทศ

เป็นอีกเรื่องซึ่งสำคัญ ดร. อุตตมกล่าวว่า ประเทศไทยต้องมีจุดยืนที่คนไทยภาคภูมิใจได้ในเวทีนานาประเทศ ต้องสร้างขีดความสามารถที่จะค้าขายในเวทีโลกที่สามารถสะท้อนศักยภาพของประเทศไทย และคนไทย เพื่อให้ทั่วโลกสนใจ ไม่เพียงแต่ค้าขาย แต่มาร่วมมือเป็นพันธมิตร มาร่วมลงทุนกับเรา อย่างเป็นรูปธรรม

อย่างเช่น การสร้างพื้นที่ฐานการเจริญใหม่ เช่น EEC ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ เหล่านี้ในการสร้างเราจะยึดโยงพื้นที่เหล่านั้นไปจนถึงระดับเมืองหลัก เมืองรองระดับภูมิภาค ยกตัวอย่างล้านนา 4.0 จะโยงไปถึงทางใต้ของจีน ลาว และพม่า โดย EEC เองนั้นในทางพื้นที่ มีศักยภาพสูงมาก เป็นศูนย์กลางของ Transshipment Ports หมายถึงเป็นทั้งฐานอุตสาหกรรม และฐานคมนาคมในตัว ซึ่งเรามองว่าเรามีความสามารถเป็นฐานของเอเชียได้เลย ดังนั้นในการพัฒนาของเราจะมองในมิติของต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีจุดยืนในเวทีโลกที่ชัดเจน

เมื่อถูกถามเรื่องความคิดเห็นถึงคุณสมบัติของผู้นำที่เหมาะสมในเวทีโลก ดร.อุตตม กล่าวตอบในเรื่องนี้ว่า ผู้นำที่จะเข้ามาทำงานทำการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาในภาวะที่ประเทศอยู่ในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นดั่งในช่วงนี้นั้น คือผู้ที่จะต้องสามารถนำพามาซึ่งความสงบให้กับประเทศได้ เพราะหากไม่มีความสงบเรียบร้อย ความคาดหวังในเรื่องการพัฒนาก็จะเกิดได้ยาก ถ้าหากเรายังเป็นแบบเดิมนั้นจะยาก เพราะจะไม่มีความเชื่อถือในสายตาของนานาประเทศ สถานการณ์ในวันนี้พอจะเห็นความเชื่อถือที่ชัดเจน เพราะมีความสงบแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้นำที่เหมาะสมนั้น สำคัญมากที่จะต้องสามารถฉายภาพให้เห็นได้ถึงในอนาคต ทั้งแนวคิด นโยบายและแนวทางที่เราจะก้าวไปอันเป็นเป้าหมายใหญ่ของประเทศ ไม่นับว่ายังจะต้องมีผลงานที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ชัด จับต้องได้ เช่นนี้ต่างประเทศจึงจะให้ความเชื่อถือ มีความมั่นใจ และในที่สุดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ก็จะตาม และนั่นคือโอกาสอันดีของคนไทย และประเทศไทย

นโยบายด้านการศึกษา

หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าว “เป็นเรื่องการเตรียมคนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าเป็นมิติหลัก แนวทางของพรรค คือการสร้างแนวทางการศึกษาให้ตรงตามวัยกลุ่ม ตั้งแต่เริ่มต้น เพราะเรามองว่าการศึกษาเป็นเรื่องการสร้างความเติบโตของคนไทยแต่ละคน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่หยุดยั้ง ตั้งแต่เด็กจนโต รวมถึงการเรียนรู้ระหว่างทำงาน แม้กระทั่งในวัยชราก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องหยุดเรียนรู้ เรามีมาตรการและนโยบาย สำหรับแต่ละกลุ่ม อย่างสอดรับและเหมาะสม โดยยึดหลักว่า เป็นการศึกษาที่มาทำให้คนไทยแต่ละคนเติบโตต่อได้ และสร้างความภูมิใจในตนเอง อย่างมีคุณค่าในการร่วมพัฒนาสังคมและประเทศของเรา โดยหลักการนี้ การศึกษาต้องกระจายลงไปในพื้นที่ มีการส่งเสริมให้ในพื้นที่พัฒนาศักยภาพ และดูแลด้านการศึกษากันเองได้มากขึ้น และการปฏิรูปการศึกษาที่พูดถึงนี้เป็นการปฏิรูปทั้งระบบ เป็นการพัฒนาการศึกษาทั้งองคาพยพในพื้นที่ และยกระดับคุณภาพขึ้นมา ในขณะที่ส่วนกลางปรับบทบาท เป็นผู้ดูแลด้านคุณภาพ มาตรฐาน และสนับสนุนเรื่องคอนเทนท์

ความเห็นของ ดร.อุตตมะ ในเรื่องบทบาทของผู้สอนวันนี้ที่มองว่า Teacher จะต้องกลายมาเป็น Facilitator เพราะวันนี้นักเรียนหรือนักศึกษาสามารถหาข้อมูลต่างๆ ได้เองจากแหล่งข้อมูลหลากหลาย โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ทำให้บทบาทและหน้าที่ของครูผู้สอนจึงต้องปรับเปลี่ยนเป็นเสมือนโค้ช หรือผู้ชี้แนะเพื่อการสังเคราะห์ข้อมูล แล้วชี้ทางว่าจากข้อมูลจะนำมาสู่การเป็นองค์ความรู้ได้อย่างไร และจะนำองค์ความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ซึ่งส่วนนี้เป็นโจทย์ที่ท้าทายและต้องเริ่มวันนี้เลย เพื่อให้เท่าทันกับโลกที่เปลี่ยนแล้ว"

และนี่คือนโยบายหลักที่ดร.อุตตมผู้นำทัพพรรคพลังประชารัฐ เตรียมไว้อย่างครอบคลุมการเข้าถึงคนทุกระดับ ทุกช่วงชีวิต ทุกเรื่องราว ซึ่งการต่อสู้ในสนามเลือกตั้ง ที่แข่งขันกันด้วยนโยบายพรรคการเมืองนั้น พรรคพลังประชารัฐ จะฝ่าฟันอุปสรรค คว้าความสำเร็จเดินชูธงคว้าชัยชนะเข้ามาเป็นรัฐบาลในสมัยหน้าได้หรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่ต้องรอติดตาม ส่วนข้อกังวลในปัญหาการไม่เคารพกติกาในสนามการเมืองและการเลือกตั้งนั้น ดร.อุตตม สาวนายน กล่าวในตอนท้ายว่า

หากขอได้อยากขอให้ทุกพรรคเห็นร่วมกันในการเคารพกติกา เคารพในผลการเลือกตั้งที่ออกมา ใครชนะการเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาลก็ให้เป็นไปตามนั้น โดยการเคารพกติกาต้องทั้งระบบและนอกระบบ นอกสภา หมายถึงต้องไม่ทำอะไรที่ไม่ถูกกติกาทั้งใน และนอกสภา ซึ่งพรรคพลังประชารัฐเองก็จะไม่มีการทำอะไรแบบนั้น เราจะไปตามกรอบที่ถูกต้อง


เรื่อง กองบรรณาธิการ

ภาพ ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

ดร.สุดาพร สาวม่วง  คณบดีคณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า คณะการบริหารและจัดการมีแผนการดำเนินงานเพื่อนำคณะก้าวไปสู่อันดับต้นๆของอาเซียนและโลก โดยยึดหลัก 5 P กับ 1 N  คือ Product-หลักสูตรสายพันธ์ใหม่  Place –สถานที่ใหม่ทันสมัย และเรียนแบบ Online/City Campus Promotion - Agent ในต่างประเทศ  ,People –เพิ่มสัดส่วนอาจารย์ชาวต่างชาติ 100 %  Process -Profit Center  และ Net Working-15 คณะ + MIT Sloan & Oxford โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนหลักสูตร  จำนวนอาจารย์  Rank จำนวนงานวิจัย จำนวนนักศึกษา และรายได้ที่เพิ่มขึ้นในที่สุด

ดร.สุดาพร  สาวม่วง คณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

ทั้งนี้  5 พันธกิจหลักในการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1.พัฒนากระบวนการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมกำกับความรู้ และมีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับและตรงความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน  2.พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการและวิจัยในแนวทางที่ยั่งยืน 3.พัฒนาและส่งเสริมบุคลากรในทุกด้าน เน้นการเพิ่มศักยภาพสวัสดิการ ความมั่นคง และความก้าวหน้าในวิชาชีพ ด้วยระบบคุณธรรมและยุติธรรม 4.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมที่จะเผชิญกับสภาวะเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม 5.ประสานความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกสถาบันให้มีความเป็น นานาชาติ (International Outlook)  อันจะนำไปสู่เป้าหมายของการเป็น   “คณะการบริหารและจัดการ เพื่อคนรุ่นใหม่ก้าวไกลสู่อาเซียนและโลก”

ผศ.ดร.สุทธิ สูอำพัน รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

ดร.สุดาพร กล่าวด้วยว่า ภายในระยะเวลา 4 ปี ของการบริหารงาน ตั้งเป้าให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีใน 4 มิติ ทั้ง เรื่องของงานวิชาการและงานวิจัยของอาจารย์ บุคลากร ตอบโจทย์แก้ปัญหาสังคม ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ มีสิทธิบัตร เพื่อที่จะใช้ในเชิงที่จะก่อประโยชน์จริง (Academic  Impact) หรือการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรที่มีคุณภาพ  สรรหาอาจารย์คุณภาพเข้ามาสู่ขบวนการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน  เครื่องมือมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย  

ผศ.ดร.สิงหะ ฉวีสุข  รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

สจล.จะเป็นเจ้าแรกที่ทำหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ (Education Impact) รวมทั้ง ผลต่อภาคอุตสาหกรรม  ซึ่งจะได้ผลผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบ โดยนายจ้างจะต้องได้บัณฑิตที่มีคุณภาพเรียนจบแล้วสามารถทำงานได้เลย เป็นคนเก่งและดีของบริษัทและสังคม (Industrial Impact) และสุดท้ายผลลัพธ์ทีดีต่อสังคม โดยงานวิจัยที่ออกมาจะต้องนำพาสังคมให้ดีขึ้น มีรายได้มีชีวิตที่ดีขึ้นมีความสุขมากขึ้น (Social Impact)

ดร.ทัศไนย ปราณี  รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

“การดำเนินงานทั้งหมดอยู่ภายใต้นโยบาย FAM to FAMOUS  อันหมายถึง คณะการบริหารและจัดการ เป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมมือกันนำพา สจล.สู่ Top 10 ในอาเซียนและระดับโลก(Family)  คณะการบริหารและจัดการ ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ มีฝีมือ มีทักษะ มีสมรรถภาพ มีนวัตกรรม ( Ability)  และการจัดการเรียนการสอนแบบมืออาชีพจะเน้นการ ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (Management) การพัฒนาไปถึงการติดอันดับต้นๆ ของประเทศ  ของอาเซียนรวมทั้งระดับโลก ( Outstanding) เข้าสู่ความเป็นนานาชาติในทุกด้าน( Universal) และ รูปแบบการบริหารและการจัดการเรียน การสอนที่มีคุณภาพ ตามหลักการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับสากล (Standardize)” ดร.สุดาพรกล่าวในตอนท้าย

ผศ.ดร.ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

 


 

 

 

ประมาณกันว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอีของไทยมีสัดส่วนอยู่เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ มีการจ้างงานกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศ เอสเอ็มอีจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านการสร้างงาน สร้างรายได้ และที่สำคัญธุรกิจขนาดกลางและย่อมคือจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต 

บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต โดย คุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่ 2562 OCEAN Family Party 2019” ในธีม DIGILOVE ปาร์ตี้สุดล้ำด้วยพลังความรัก พร้อมก้าวสู่โลกยุคดิจิทัลร่วมส่งพลังความรักให้กับทุกคน เพื่อฉลองครบรอบ 70 ปี และขอบคุณพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจมาตลอดทั้งปี ทำให้บริษัทเติบโตเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนั้นภายในงานยังมีการประกวดแต่งกายดีเด่นในธีม DIGILOVE และมอบรางวัลสุดพิเศษกว่า 80 รางวัลให้กับผู้โชคดี  ปิดท้ายด้วยดนตรีสุดมันส์ และการร่วมร้องเพลงสุดเซอร์ไพรส์จากผู้บริหารสร้างรอยยิ้มและความสนุกสนานในบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความรักให้กับพนักงานทุกคน ณ โรงแรมวินด์เซอร์ สวีทส์ กรุงเทพ เมื่อเร็ว ๆ นี้

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติประกาศรายชื่อ 13 องค์กรไทยคุณภาพ ทั้งองค์กรรัฐ เอกชนและรัฐวิสาหกิจ ดำเนินกิจการในภาคการศึกษา การสาธารณสุข การบริการ และภาคอุตสาหกรรม ที่ผ่านเกณฑ์คว้ารางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า บุคลากร การปฏิบัติการ หรือนวัตกรรม (Thailand Quality Class Plus: TQC Plus) และรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ หรือ (Thailand Quality Class: TQC) ประจำปี 2561 ได้สำเร็จ ในงานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นในวันพุธที่ 30 มกราคม 2562 เวลา 09.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมทองคำ ชั้น 1 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับในปีนี้ ไม่มีองค์กรใดผ่านเกณฑ์การพิจารณาให้ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA)

งานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติในครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.พสุ โลหารชุน กล่าวถึงการผลักดันและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถขององค์กรไทยอย่างยั่งยืนไว้ว่า “หนึ่งประเด็นสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้สามารถรับมือกับความโลกาภิวัฒน์คือการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยต้องทำให้ผลิตภาพเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรางวัลคุณภาพแห่งชาติได้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว เพื่อให้องค์กรไทยสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงกระบวนการ ขีดความสามารถและผลลัพธ์ ผ่านระบบการพัฒนาและประเมินผลต่างๆ สามารถยกระดับผลิตภาพของประเทศไทยได้อย่างสัมฤทธิ์ผล”

ด้านประธานคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ คุณปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประกาศรายชื่อองค์กรที่ได้รับรางวัล ในปี 2561 จำนวนทั้งสิ้น 13 องค์กร ดังต่อไปนี้

  • รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านการปฏิบัติการ (Thailand Quality Class Plus : Operation) จำนวน 1 องค์กร ได้แก่

กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

  • รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า (Thailand Quality Class Plus : Customer) จำนวน 1 องค์กร ได้แก่

ธนาคารออมสิน

  • รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class : TQC) จำนวน 11 องค์กร ได้แก่
  1. เขื่อนรัชชประภา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  2. เขื่อนวชิราลงกรณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  3. เขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  4. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  6. บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  7. บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด
  8. บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด
  9. บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
  10. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  11. โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

และยังมีการกล่าวถึงผลลัพธ์และกลยุทธ์ในการสนับสนุนให้รางวัลคุณภาพแห่งชาติเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการยกระดับองค์กรไทยให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต “คณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินโครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี  2562 และต่อเนื่องในปีถัดไป  โดยมีเป้าหมายในการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูง เช่น ในกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve ให้ขับเคลื่อนด้วยผลิตภาพ ผ่านการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ทั้งในด้านการดำเนินงานและด้านผลิตภัณฑ์ การขยายโครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ อาทิ องค์กรขนาดใหญ่ องค์กรในตลาดหลักทรัพย์ และองค์กรในภาคการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือระดับนโยบายกับเครือข่ายรางวัลคุณภาพแห่งชาติของภาคส่วนอื่นๆ ตลอดจนการเพิ่มจำนวนและพัฒนาผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อให้มีจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่เพียงพอ เพื่อให้สามารถรองรับกับจำนวนองค์กรที่ต้องการสมัครขอรับรางวัลที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้”

ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ กล่าวถึงบทบาทและการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2561-2562 “เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นบรรทัดฐานสำหรับการประเมินตนเองขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท ทุกขนาด และทุกภาคส่วน ให้มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ เพื่อยกระดับองค์กรภาคอุตสาหกรรมไทย ให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

อีกทั้งยังกล่าวถึงเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ได้รับการนำไปปรับใช้เป็นเกณฑ์สำหรับหน่วยงานที่กำกับดูแลหน่วยงานรัฐ  รัฐวิสาหกิจ ทั้งในด้านการสาธารณสุขและการศึกษา “ภาคสาธารณสุขได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปปรับใช้ในระบบการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลหรือ Hospital Accreditation: HA   ส่วนภาคการศึกษาในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาได้นำเกณฑ์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ Office of the Basic Education Commission Quality Award: OBECQA  ตลอดจนภาคการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ต่อยอดไปสู่การพัฒนาเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ หรือ Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx”

“นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปประยุกต์ใช้ในการวางแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หรือ Public Sector Management Quality Award: PMQA เพื่อการประเมินองค์กรที่ครอบคลุมภาพรวมในทุกมิติ สามารถยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ส่วนภาครัฐวิสาหกิจที่ได้ใช้ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ หรือ State Enterprise Performance Appraisal: SEPA เป็นกลไกส่งเสริมขีดความสามารถในการดำเนินงานให้เทียบเท่าระดับสากล ก็ได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปช่วยในการปรับปรุงระบบการประเมินของตนเองด้วยเช่นกัน”

ตลอดจนกล่าวถึงกิจกรรมใหม่ที่สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติยังได้ริเริ่มขึ้น เพื่อขยายผลในการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปใช้ในองค์กรภาคส่วนต่างๆ และกระตุ้นให้องค์กรมีความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลเพิ่มขึ้น“สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติริเริ่มกิจกรรมการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจประเมินองค์กรที่ผ่านการรับรอง (Organization Assessment Certified Expert)  โดยพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจประเมินองค์กร พร้อมแบบประเมินองค์กร เพื่อช่วยให้องค์กรที่ริเริ่มนำเกณฑ์รางวัลมาใช้ในองค์กร ได้มีเครื่องมือตรวจประเมินตนเองพร้อมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ”

“กิจกรรมใหม่ประการต่อมาคือ การจัดทำสรุปองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการขององค์กรที่ได้รับรางวัลเพื่อเผยแพร่ และหนังสือ Best Practices ซึ่งเผยแพร่วิธีปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศขององค์กรจากการศึกษาในเชิงลึก รวมทั้งยังได้ริเริ่มโครงการ Collaborative Assessment for TQC กิจกรรมความร่วมมือเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อยกระดับองค์กรที่มีมาตรฐานการบริหารจัดการที่ดีสู่ความเป็นเลิศตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ และกิจกรรม Collaborative Assessment for SMEs ซึ่งมุ่งสร้างองค์กร SMEs ต้นแบบที่ใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ”

 “แผนงานในอนาคตอีกประการหนึ่งคือการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ The Global Excellence Model Council หรือ GEM Council ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีความร่วมมือกันในด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ การศึกษาวิจัย และเปรียบเทียบการดำเนินงานด้านการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ”

นางชวินดา หาญรัตกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM เข้ารับรางวัล Best Asset Management CEO Thailand จาก Mr. Phil Blizzard ในงาน International Finance Awards 2018 จัดโดย International Finance Publications ซึ่งเป็นนิตยสารการเงินระดับแนวหน้าของประเทศอังกฤษ ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ เมื่อเร็วๆ นี้  

นายชนะ บุณยะชัย (กลาง) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ให้การต้อนรับนายธีระพร ศรีรัตน์ (ซ้าย) ผู้อำนวยการ สำนักงานภาคใต้ ธนาคารแห่งประเทศไทย และนายรณน แก้วสุทธิ (ขวา) ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนากลยุทธ์และสนับสนุนโครงการพิเศษ สมาคมธนาคารไทย ในพิธีเปิดงานสัมมนา “โครงการบริหารความเสี่ยง FX ของ SMEs ระยะที่ 2” จัดโดย EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ส่งออก/นำเข้า SMEs มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในการทำการค้าระหว่างประเทศ และได้รับวงเงินค่าธรรมเนียมสำหรับทดลองซื้อประกันค่าเงิน (FX Options) ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติค จังหวัดสงขลา เมื่อเร็วๆนี้

ดีแทคชูต้นแบบการใช้งาน 5G ร่วมทดสอบที่ศูนย์ 5G IoT & AI Innovation Center ภายใต้ความร่วมมือสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมชวน CAT และทีโอที ร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อสร้างกรณีการใช้งานในภาคธุรกิจจริง ทั้งศึกษาแนวทางและคุณสมบัติ 5G เพื่อสร้างต้นแบบการใช้งาน ทดลองใช้จริง

นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นอย่างไม่หยุดเพื่อวางรากฐานสำหรับโครงข่ายสู่อนาคตในประเทศไทย อาทิ ดีแทคเป็นรายแรกที่การนำเทคโนโลยีโครงข่ายระบบชุมสายเสมือน (Visualized Core Network: VCN) มาดำเนินงาน และนำอุปกรณ์รับส่งสัญญาณแบบ Massive MIMO 64x64 ที่ทันสมัยที่สุดในโลกมาให้บริการเชิงพาณิชย์เป็นรายแรกในไทย การนำประเทศไทยเข้าสู่ยุค 5G จะต้องอาศัยความร่วมมือหลายภาคส่วน ทั้งจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนผ่านสู่ 3G หรือ การมาของ 4G ดังนั้น ผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่จะต้องวางแผนขยายโครงข่ายตอบโจทย์ในการรองรับอุตสาหกรรมและรูปแบบการใช้งาน นี่คือความสำคัญสำหรับเราในการมุ่งสู่การทดสอบเทคโนโลยีเพื่อค้นหาการใช้งานด้วยวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนสู่กลยุทธ์ 5G ของไทย”

ดีแทคร่วมกับ CAT และ ทีโอที ในการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ร่วมกัน พร้อมทั้งร่วมกับทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงาน กสทช. ในการเปิดศูนย์ 5G IoT & AI Innovation Center เพื่อทำการทดสอบ 5G ด้วยรูปแบบการใช้งานจริงต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำบริการ 5G ขับเคลื่อนประเทศไทย โดยศูนย์แห่งนี้ยังเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจร่วมทดสอบและพัฒนาสู่ความพร้อมของการทำงานดิจิทัล

สำหรับในช่วงทดสอบ 5G ดีแทคได้วางแผนเบื้องต้น ที่จะมีแนวทางทดสอบกรณีการใช้งาน (Use Cases) กับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคาดว่ามีรูปแบบการใช้งาน (Use cases) ในกลุ่มฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farming) อาคารอัจฉริยะ (Smart Building Solutions) บรอดแบนด์ไร้สายประจำที่ (Fixed Wireless Access) การวัดคุณภาพอากาศ (Air Quality Measurement) บริการสื่อขั้นสูง (Advanced media services) โดรนเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Drones) สมาร์ทเฮลธ์แคร์(Smart Healthcare) อุตสาหกรรมอัจฉริยะ(Smart Industry) สมาร์ทซิตี้แอปพลิเคชัน (Smart City Application)

ที่ผ่านมา ดีแทคได้จัดทำโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยี Internet of Things เพื่อการทำเกษตรที่มีความแม่นยำที่ดีแทคได้พัฒนาขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสุ่ 5G สามารถปลดล็อกมูลค่ามหาศาลให้แก่เกษตรกรของประเทศไทยได้ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าการทำเกษตรกรรมยุคใหม่จะต้องใช้ประโยชน์ของดิจิทัลและความสามารถของ 5G มาต่อยอดเพื่อทำรายได้เพิ่มมากขึ้น

ดีแทคมีเทคโนโลยีการสื่อสาร ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ที่พร้อมจะนำคนไทยสู่ความยั่งยืนของยุค 5G ดีแทคมีจุดยืนและให้ความสำคัญที่จะทำให้ 5G เกิดขึ้นในไทย คือ

  1. แนวทางการกำกับดูแล (Regulation) กฎระเบียบต่างๆ ต้องเอื้อให้5G สามารถเกิดได้อย่างรวดเร็ว กระบวนการที่ซับซ้อนและระยะเวลาในการขออนุญาต เป็นปัจจัยในการจำกัดความสามารถในการเร่งขยายสัญญาณในประเทศไทย และควรมีแนวทางในการใช้ทรัพยากรเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์สูงสุด เช่น การคำนึงถึงการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน และมีความสะดวกในการปฏิบัติ
  2. แผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) ต้องกำหนดว่าจะมีการจัดสรรคลื่นความถี่ใด เมื่อไร ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดแผนและการนำคลื่นย่านความถี่ต่างๆ ที่ชัดเจนมาใช้งาน เพราะการจะให้บริการ5Gได้นั้นต้องมีคลื่นความถี่ที่เพียงพอ ผู้ให้บริการจึงไม่สามารถวางแผนการใช้งานที่ชัดเจนรวมถึงประสิทธิภาพการวางแผนลงทุน
  3. สร้างความร่วมมือ (Enhanced collaboration) จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันอย่างยั่งยืน ทั้งจากภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการและผู้บริโภค ในการสร้างระบบนิเวศน์ที่เข้มแข็งและยั่งยืน และช่วยกระตุ้นนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นตลอดเวลา

นอกจากความร่วมมือที่ดีแทคพร้อมสำหรับทุกภาคส่วนแล้ว ดีแทคยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรในเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ให้บริการอุตสาหกรรมโทรคมนาคม คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบมจ.ทีโอที  เพื่อประสานความรู้ ประสบการณ์ และพัฒนารูปแบบบริการสู่ 5G ในอนาคตอีกด้วย

นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL นำทีมผู้บริหารบริษัท ฯ แถลงเป้าหมายการดำเนินงานปี 2562 ของบริษัทฯ ในการเป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม (Innovation) พร้อมก้าวเคียงคู่ไปกับลูกค้าในทุกช่วงของชีวิต (Life Stage)  ผ่านนโยบาย  MTL Everyday Life Partner” เดินหน้าออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่ผ่านนวัตกรรม และแนวคิดแบบ Outside In ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการในรูปแบบที่มีความเฉพาะตัวและเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้ามากยิ่งขึ้น งานจัดขึ้น ณ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต สำนักงานภูมิภาคหาดใหญ่ 

X

Right Click

No right click