EIC ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคไทยจำนวน 2,676 คน ในช่วงระหว่างวันที่ 8 ถึง 22 กรกฎาคม 2565 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมในช่่วงที่ราคาสินค้าและบริการมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ผลสำรวจสามารถสรุปได้เป็น 4 ประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

สปป.ลาวกำลังเผชิญวิกฤตเงินกีบอ่อนค่ารุนแรง พร้อมกับอัตราเงินเฟ้อที่เร่งสูงขึ้น ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2022 ค่าเงินกีบอ่อนค่าทะลุระดับ 15,000 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการอ่อนค่าลงถึง 57% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และ 44% เมื่อเทียบกับเงินบาท นับจากเดือนกันยายน 2021 เป็นต้นมา และอ่อนค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค การอ่อนค่าของเงินกีบตามภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวขึ้น ประกอบกับการเร่งตัวของราคาน้ำมันและสินค้าต่าง ๆ จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และปัญหาอุปทานคอขวดโลกที่สปป.ลาวจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าในสัดส่วนสูง ได้ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสปป.ลาวเร่งตัวขึ้น เกิดปัญหาการขาดแคลนเงินดอลลาร์สหรัฐ และปัญหาการขาดแคลนสินค้าโดยเฉพาะน้ำมันเป็นวงกว้าง

ส่งออกสินค้าไทยเดือนพฤษภาคมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 แต่ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

มูลค่าการส่งออกของไทยเดือนพฤษภาคม 2022 อยู่ที่ 25,509 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 10.5%YOY (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) เร่งตัวขึ้นจากเดือนเมษายนที่ 9.9% เล็กน้อย และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 แต่ก็ยังถือว่าชะลอตัวลงหากเทียบกับเดือนมีนาคมและกุมภาพันธ์ที่ 19.5% และ 16.2% ตามลำดับ หากหักทองคำการส่งออกในเดือนนี้จะขยายตัวได้ 12.5% หากเมื่อพิจารณาการส่งออกเดือนพฤษภาคมเทียบกับเดือนเมษายนแบบปรับฤดูกาลจะพบว่าการส่งออกของไทยทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ -0.11%MOM_sa ทำให้ภาพรวมส่งออกไทย 5 เดือนแรกของปีโตที่ 12.9% และหากหักทองขยายตัวที่ 10.3%

 

ส่งออกไทยเดือนมีนาคมยังขยายตัวต่อเนื่องแต่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัว การส่งออกเดือนมีนาคม 2022 มีมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลที่ 28,859.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว19.5% เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 16.2%

EIC ปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2565 เป็น 2.7% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.2% จากผลกระทบของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน

Page 2 of 4
X

Right Click

No right click