×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

ปัจจุบัน เมอร์เซเดส-เบนซ์ มีโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าอยู่ 6 แห่งใน 3 ทวีปทั่วโลก ล่าสุดจับมือพันธมิตรในไทย คือ ธนบุรีประกอบรถยนต์ ร่วมลงทุนกว่า 100 ล้านยูโรเพื่อขยายโรงงานรถยนต์และสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งใหม่ ยกระดับการผลิตในไทย และรองรับความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับเม็ดเงินดังกล่าวจะใช้เพื่อขยายโรงงานรถยนต์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสร้างโรงงานประกอบแบตเตอรี่แห่งใหม่ขึ้นในที่ตั้งเดียวกัน เพื่อเป็นหลักประกันว่าโรงงานในไทยจะมีเทคโนโลยีอันล้ำหน้าไว้พร้อมสำหรับรถยนต์ที่มีระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว (Battery Electric Vehicle – BEV) ที่ผลิตขึ้นที่นี่

 

 

มาร์คุส เชฟเฟอร์ กรรมการบริหาร รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ฝ่ายการผลิตและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เปิดเผยถึงโครงการเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าในเครือข่ายการผลิต ทั่วโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์ ที่มีความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการผลิตสูง และกำลังก้าวรุดหน้าด้วยดีและรวดเร็วอย่างยิ่ง โดยหนึ่งในแผนงานตามกลยุทธ์ คือ การร่วมมือกับพันธมิตรอย่างธนบุรีประกอบรถยนต์ เพื่อเตรียมพร้อมสู่อนาคตแห่งการสัญจรในประเทศไทยที่จะขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า

ซึ่งจากแนวคิดการผลิตแบตเตอรี่ของเราที่มีมาตรฐานเดียวกันและสามารถขยายต่อเติมได้ ทำให้เราเปิดสายการผลิตได้อย่างรวดเร็วในภูมิภาคใดๆ ก็ตามด้วยขนาดโรงงานที่เหมาะสม เช่นเดียวกับโรงงานแบตเตอรี่ในประเทศไทยจะเสริมเครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่ทั่วโลกของเราให้มีโรงงานเพิ่มขึ้นเป็น 6 แห่งใน 3 ทวีป

รวมถึงข้อดีของการผลิตที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและแนวคิดในการออกแบบโรงงาน แผนงานในการผลิตแบตเตอรี่ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์จึงสามารถปรับขยายได้เพื่อให้เหมาะสมกับการสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะต่างๆ และเพื่อให้การดำเนินการตามแผนการผลิตเป็นไปด้วยความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับภาวะตลาดทั่วโลกภายในปี 2565

 

 

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “เมอร์เซเดส-เบนซ์ ถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลก และเป็นผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของประเทศไทยด้วยผลิตภัณฑ์และบริการมาตรฐานระดับโลก ก่อให้เกิดการลงทุน สร้างรายได้ให้กับประเทศ และนับเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เติบโตก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสังคม

โดยขณะนี้ ทางบริษัทฯ ได้มีการขอขยายการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicles: PHEV) เป็นการตอบรับต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย ที่มีเป้าหมายที่จะก้าวไปสู่การพัฒนายานยนต์แห่งอนาคตและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ใช้พลังงานไฟฟ้า แสดงให้เห็นว่า เมอร์เซเดส-เบนซ์ จากประเทศเยอรมนี ได้เล็งเห็นความสำคัญของประเทศไทย ในการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในภูมิภาค

อีกทั้งยังเป็นการยกระดับความสามารถคนไทยด้วยการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหนือกว่าการผลิตชิ้นส่วนทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และสามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

บริษัทฯ จะผสานระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเข้ากับรถยนต์ของเมอร์เซเดส-เบนซ์อย่างทั่วถึง เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกที่เป็นรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า อย่างน้อย 1 รุ่นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่รถยนต์จากแบรนด์สมาร์ทไปจนถึงรถยนต์อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ รวมถึงบริษัทฯ กำลังวางแผนจะนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า  50 รุ่นย่อยอีกด้วย ในขณะเดียวกันเมอร์เซเดส-เบนซ์ยังสนับสนุนการพัฒนารถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและการแจ้งเกิดของระบบ 48 โวลท์ พร้อมด้วยรถยนต์รุ่นแรกในตระกูล EQ ซึ่งใช้ชื่อว่า EQC ที่จะเข้าสู่สายการผลิตในปี 2562 ที่เบรเมน ประเทศเยอรมนี ทั้งนี้ EQ เป็นแบรนด์เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์ CASE ซึ่งประกอบด้วยเสาหลักเชิงกลยุทธ์ที่ผสานกัน ได้แก่ การเชื่อมต่อ (Connected), การขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (Autonomous), ความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Shared & Services) และระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (Electric)

 

 

 

 

โรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งที่ 6 ของเมอร์เซเดส-เบนซ์

โรงงานแบตเตอรี่ในประเทศไทย จะเป็นหนึ่งในเครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่ทั่วโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์ โดยจะผลิตเพื่อรองรับความต้องการในประเทศและเพื่อส่งออก ซึ่งยังมีโรงงานทั้งในเยอรมนี สหรัฐอเมริกา และจีนอีกด้วย เครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่นี้จะตอบสนองความต้องการในตลาดอย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการผลิตรถยนต์

ซึ่งกลยุทธ์นี้จะทำให้มีเทคโนโลยีแบตเตอรี่ อันทันสมัยจากศูนย์กลางการผลิตในแต่ละพื้นที่ ทั้งยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกาไว้พร้อมรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นตามแผนงานรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัท ทั้งนี้ โรงงานผลิตแบตเตอรี่ในประเทศไทยมีแผนจะเริ่มเดินสายการผลิตภายในปี 2562

 

มั่นใจศักยภาพตลาดรถยนต์นั่งในประเทศไทย

การร่วมลงทุนในครั้งนี้ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์ และธนบุรีประกอบรถยนต์ซึ่งเป็นพันธมิตรในประเทศไทย ส่วนหนึ่งเพื่อการขยายโรงงานผลิตรถยนต์ที่มีอยู่ ซึ่งจะส่งผลให้ศักยภาพการผลิตรถยนต์ของเมอร์เซเดส-เบนซ์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้วยจำนวนรุ่นที่มากขึ้น

ไมเคิล เกรเว่ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว การลงทุนในครั้งนี้สะท้อนความเชื่อมั่นที่เรามีต่อศักยภาพของตลาดรถยนต์นั่งในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เราทำตลาดอยู่ในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูงจากกลุ่มลูกค้า และเราจะยังคงเดินหน้าเพิ่มความหลากหลายของรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2560 มียอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ด้วยจำนวนมากกว่า 14,000 คัน ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตสูงถึงสองหลัก โดยรุ่นที่มียอดจำหน่ายสูงสุดประกอบด้วยรถยนต์ซีดานตระกูล E-Class, C-Class และ CLA ในปัจจุบันเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ทำตลาดรถยนต์ที่ประกอบภายในประเทศรวมทั้งหมด 9 รุ่น

โดยรุ่นที่เป็นรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง C-Class, S-Class และ GLE ในเวอร์ชั่นปลั๊กอินไฮบริดที่เปิดตัวในช่วงต้นปี 2559 และล่าสุดคือรุ่น E 350e Avantgarde, E 350e Exclusive และ E 350e AMG Dynamic นอกจากนี้ยังครองตำแหน่งผู้นำตลาดรถยนต์ระดับพรีเมี่ยมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาตลอด 17 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2544

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ส่งผลต่อความสำเร็จอย่างสูงในประเทศไทยคือความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างเมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง  ประเทศไทย และ ธนบุรีประกอบรถยนต์ ในฐานะผู้ดำเนินงานด้านการผลิตในประเทศไทย โดยที่ในปี 2560 เพียงปีเดียว ธนบุรีประกอบรถยนต์ สามารถผลิตได้มากกว่า 12,000 คัน ในปัจจุบันโรงงานแห่งนี้มีพนักงานกว่า 1,000 คน และคาดการณ์ว่าเมื่อโครงการลงทุนครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ โรงงานแห่งนี้จะสร้างงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 300 ตำแหน่ง โดยในจำนวนนี้จะเป็นการจ้างงานในส่วนของการผลิตแบตเตอรี่เกือบ 100 ตำแหน่ง

 

 

อันเดรอัส เลทเนอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง การขยายโรงงานและการผลิตแบตเตอรี่ที่จะเริ่มขึ้นในอนาคต ณ โรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ นับเป็นการกระชับความร่วมมือกับธนบุรีประกอบรถยนต์ให้แข็งแกร่งขึ้นอีกขั้น และยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับรูปแบบการสัญจรในอนาคต

นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสสำคัญสำหรับพนักงานของเราที่จะได้รับการฝึกอบรมใช้ทักษะความรู้ขั้นสูง เตรียมพร้อมสำหรับเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ที่เรามุ่งมั่นที่จะเพิ่มบทบาทในภูมิภาคและสานต่อความร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ความร่วมมือทั้งกับธนบุรีประกอบรถยนต์ และกับหน่วยงานภาครัฐของไทยล้วนเป็นไปอย่างดีเยี่ยม โดยได้รับการสนับสนุนให้การดำเนินการผลิตต่อไปของเราประสบความสำเร็จ และให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์ทุกคันที่ผลิตในเครือข่าย การผลิตทั่วโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานของแบรนด์ไม่ว่าจะผลิตจากฐานการผลิตแห่งใดก็ตาม

โดยในช่วงของการเตรียมการเพื่อเริ่มผลิตรถยนต์รุ่นใหม่หรือใช้เทคโนโลยีใหม่ พนักงานในประเทศไทยจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทีมงานที่มีประสบการณ์สูงเพื่อให้พวกเขาคุ้นเคยกับกระบวนการผลิตใหม่ๆ เหล่านั้นด้วย

 

 

วีระชัย เชาวน์ชาญกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด กล่าวว่า การที่เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ได้มอบความไว้วางใจให้ธนบุรีประกอบรถยนต์ เป็นผู้ผลิตอย่างเป็นทางการในการตั้งโรงงานแห่งใหม่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่ทั่วโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์  โดยโรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 30 ไร่ ใกล้กับโรงงานประกอบรถยนต์ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ในปัจจุบัน โดยมีแผนจะเริ่มเดินสายการผลิตในช่วงต้นปี 2562  ซึ่งเราตระหนักเป็นอย่างดีว่าความรู้ความสามารถของพนักงานฝ่ายผลิตมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเครือข่ายการผลิตทั่วโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์  ทั้งนี้ ด้วยคำยืนยันของเราที่ว่า “เราเชื่อมั่นในตัวบุคลากร เครือข่าย และการผลิตที่ใช้ทักษะฝีมือขั้นสูง”

ดังนั้นในช่วงของการเตรียมตัวเปิดสายการผลิต พนักงานในประเทศไทยจะได้รับการสร้างเสริมความรู้ความชำนาญในการผลิตและความรู้ทางเทคนิคสำหรับการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด เพื่อให้มั่นใจได้อย่าเต็มเปี่ยมว่าแบตเตอรี่จะมีคุณภาพได้มาตรฐานทัดเทียมกับ แหล่งผลิตอื่นๆ ทั่วโลก

 

ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศจับมือ “จูเลียส แบร์” (Julius Baer) กลุ่มธุรกิจบริการไพรเวทแบงกิ้งชั้นนำจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เตรียมตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อให้คำปรึกษาลูกค้าผู้ที่มีความมั่งคั่งระดับสูง (High Net Worth – HNWIs) ของธนาคาร

โดยธนาคารไทยพาณิชย์ให้ข้อมูลว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกของไทยพาณิชย์หลังประกาศกลยุทธ์ “Going Upside Down” (กลับหัวตีลังกา) ด้วยการต่อยอดความแข็งแกร่งด้านการบริหารความมั่งคั่งและการมีฐานลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูง (HNWIs)  ของธนาคาร ผสมผสานกับความเชี่ยวชาญและบริการบริหารความมั่งคั่งระดับโลกอย่างครบวงจรของ  จูเลียส แบร์ โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะพลิกโฉมระบบนิเวศของธุรกิจการบริหารความมั่งคั่งของไทยที่มีมูลค่าประมาณ 9,500 ล้านบาทให้พร้อมรุกโอกาสการลงทุนแบบไร้พรมแดน นอกจากนี้ ยังตอกย้ำความเป็นผู้นำและเสริมความแข็งแกร่งของแบรนด์ไทยพาณิชย์ และเพิ่มความมั่นใจของลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูง (HNWIs) ในปัจจุบันและอนาคตของธนาคาร ได้ว่าจะได้รับบริการด้านการบริหารความมั่งคั่งแบบครบวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ผ่านการลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่ยังมีโอกาสอีกมาก

โดยกลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูง (HNWIs) ของธนาคาร รวมถึงนักลงทุนต่างชาติที่ทำงานและพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย สามารถเริ่มใช้บริการได้ทันทีเพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนในการลงทุนที่ดีขึ้น ลูกค้าของบริษัทร่วมทุนนี้จะมีโอกาสได้รับข้อมูลเชิงลึกจากจูเลียส แบร์ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย บริการด้านการลงทุนต่างๆ ตลอดจนบริการให้คำปรึกษาด้านการวางแผนและการลงทุนจากทีมงานมืออาชีพระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญสูง ทำให้สามารถบริหารจัดการสินทรัพย์ที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถลงทุนในต่างประเทศได้เต็มที่ตามที่กฎหมายอำนวยผ่านบริการต่างๆ  

ทั้งนี้กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งระดับสูง (HNWIs) ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราสูง โดยมีการเติบโตในอัตราร้อยละ 12.7 ในปี 2559 เพิ่มเป็นร้อยละ 13.3 ในปี 2560

ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการประสานความแข็งแกร่งของ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่มีความเข้าใจและมีข้อมูลเชิงลึกของตลาดในประเทศไทย รวมถึงมีฐานลูกค้าความมั่งคั่งสูงในประเทศ กับกลุ่มจูเลียส แบร์ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาและการบริหารความมั่งคั่งในระดับนานาชาติ รวมถึงจะมีคณะที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่จะเข้าประจำการ ณ สำนักงานในกรุงเทพมหานคร

จูเลียส แบร์ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2433 ปัจจุบันเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดำเนินธุรกิจบริการด้านการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารความมั่งคั่งใน 25 ประเทศทั่วโลก โดยเมื่อสิ้นปี 2560 สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทมีมูลค่ารวม 388,000 ล้านสวิสฟรังก์ บริษัทให้บริการโดยให้คำปรึกษาที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า โดยไม่จำกัดเฉพาะการพิจารณาการลงทุนในผลิตภัณฑ์ด้านการเงินการธนาคารที่บริษัทเป็นเจ้าของเท่านั้น

 

 

 

สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL  เปิดเผยโปรแกรมใหม่ของบริษัท Healthy is a Trend” ภายใต้แนวคิด Beyond Life Insurance โดย  Healthy is a Trend”  ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ของการดูแลสุขภาพที่ลูกค้าสามารถสัมผัสได้จริง  และตอบโจทย์ความต้องการของผู้รักสุขภาพที่ครบถ้วนมากที่สุด ด้วยระบบ Health Ecosystem ที่ครบวงจร  ผ่านช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในยุคดิจิทัล อย่างเว็บไซต์ www.healthyisatrend.com และสังคมออนไลน์ผ่าน  Facebook Fanpage : Healthy is a Trend  เพื่อตอบสนองและยกระดับการดูแลสุขภาพด้วยรูปแบบและแนวทางที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ท่องเที่ยว แฟชั่น ความรู้ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ  พร้อมตอบโจทย์ครบถ้วนใน 3 มิติ ประกอบด้วย

  1. การสร้างสุขภาพที่ดี ฟิตเฟิร์มในทุกด้าน (Prevention) ตอบโจทย์ด้วยกิจกรรมครอบคลุมในทุกไลฟ์สไตล์ ได้แก่ เมืองไทยมาราธอน, MTL Six Packs รวมไปถึงการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีผ่านการให้ความรู้ทางการเงินในโครงการ Saving is a Trend เป็นต้น
  2. การคุ้มครอง ป้องกัน พร้อมสร้างความมั่นคงให้ชีวิต (Protection) ด้วยแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์ครบถ้วนในทุก Life Stage ทั้งความคุ้มครองด้านชีวิต สุขภาพ และโรคร้ายแรง โดยในการเปิดตัว Healthy is a Trend นี้ บริษัทฯ เปิดตัว 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ด้านความคุ้มครองชีวิตและการดูแลสุขภาพ คือ    “โครงการเมืองไทย สบายใจ เกินคุ้ม”   ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่าย สูงสุด 75,000 บาท ต่อการเข้ารักษาพยาบาลต่อครั้ง พร้อมให้ค่าห้องสูงถึง 3,000 บาท รวมสูงสุด 375,000 บาทต่อปีกรมธรรม์ เบี้ยประกันภัยเฉลี่ยเพียงวันละ 37 บาท และหากเจ็บป่วยในต่างประเทศก็สามารถใช้บริการ MTL Global Connect เข้านอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลได้ทั่วโลกตามสิทธิ์โดยไม่ต้องสำรองจ่าย “สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ แบบอีลิท เฮลท์”  ให้ผลประโยชน์กรณี บาดเจ็บ และเจ็บป่วย สูงสุดถึง 100 ล้านบาทต่อปีกรมธรรม์ คุ้มครองทั้งกรณีเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก รวมถึงยังสามารถเลือกแผนที่มีความคุ้มครองพิเศษต่างๆ เช่น ผลประโยชน์การคลอดบุตร, ตรวจสุขภาพประจำปี, ฉีดวัคซีน, ค่ารักษาทางทันตกรรม, ค่ารักษาทางสายตา, แพทย์ทางเลือก เป็นต้น
  1. การดูแล ใส่ใจ ด้วยบริการและสิทธิพิเศษ (Service & Privilege) ที่พร้อมมอบประสบการณ์พิเศษให้ลูกค้าทุกคนไม่ว่าจะเป็นลูกค้าปัจจุบันหรือลูกค้าใหม่เมื่อสมัครเป็นสมาชิก “เมืองไทย Smile Club” หรือสิทธิพิเศษต่างๆ ที่ตอบโจทย์ตรงใจทุกไลฟ์สไตล์ จาก Ecopartner ที่ครอบคลุมหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน (Health at Home) ร้านอาหาร ฟิตเนส และสปา เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทฯ ได้เปิดตัวบริการใหม่ ในชื่อ  “Best Doctors”  ซึ่งเป็นบริการความคิดเห็นที่ 2 ทางการแพทย์ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในต่างประเทศ ทั้งโรคทั่วไป หรือโรคที่ร้ายแรง ก็สามารถโทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เช่นกัน

สาระระบุว่า การเปิดตัวHealthy is a Trend”  ถือเป็นเฟสแรกเท่านั้น ในอนาคตMTLยังพร้อมที่จะพัฒนาให้สังคมแห่งการดูแลสุขภาพนี้ครอบคลุมไปยังสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เตรียมตอบโจทย์คนที่ไม่สามารถทำประกันบางประเภทได้เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่รับประกันหรือคนที่ป่วยเป็นโรคบางอย่างอยู่แล้วก็สามารถทำได้ เป็นต้น

TMB Three Mores

March 14, 2018

ธนาคารทหารไทยจำกัด(มหาชน) หรือ ทีเอ็มบี โดยปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี เปิดเผยแผนงานธุรกิจของธนาคารในปีนี้ว่า ทีเอ็มบีจะเดินหน้าเพื่อ Make THE Difference อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่ม “ได้มากกว่า” (Get MORE with TMB) และบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ นิยมใช้บริการของทีเอ็มบีเป็นธนาคารหลัก (Main Bank) อย่างเป็นประจำ มีความชื่นชอบในบริการของทีเอ็มบีจนต้องบอกต่อ โดยตั้งเป้าหมายขึ้นชั้นเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อมากที่สุดในประเทศไทย (The Most Advocated Bank in Thailand) ภายในปี 2565

ทีเอ็มบีจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อตอกย้ำการเป็นธนาคารที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด (Need Based) ง่ายและสะดวก (Simple & Easy) ให้ลูกค้าได้มากกว่า (Get MORE with TMB) เมื่อมาใช้บริการทีเอ็มบีเป็นธนาคารหลักเป็นประจำ ซึ่งลูกค้าจะได้รับ สิทธิประโยชน์ที่มากกว่า (More Benefits), มีเวลาใช้ชีวิตมากขึ้นสำหรับเรื่องอื่นที่สำคัญ (More Time) และ มีโอกาสที่ดีเพิ่มขึ้น (More Possibilities)

และเพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทีเอ็มบีจะพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาช่องทางธนาคารและมอบประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อเพื่อให้ลูกค้าทำธุรกรรมได้ง่ายใช้งานได้จริง และนอกจากนี้ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรในหลายส่วนเพื่อลดความซับซ้อนให้เป็นองค์กรแบบราบ (Flat Organization) มีระดับชั้นการบังคับบัญชาสั้นลงเหลือเพียง 5 ชั้น พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน และพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทีเอ็มบีมีความคล่องตัวฉับไวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล Big Data และนำข้อมูลที่มีอยู่มากมายให้สามารถนำมาใช้อย่างเป็นระบบและวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะทำให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงใจลูกค้าอย่างแท้จริงได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยสนองความต้องการลูกค้าTMB ในกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย

 

More Benefit

More Time

More Possibilities

ลูกค้าธุรกิจ

TMB Supply Chain Financing Solutions

 

TMB QR for Business

พร้อมเพย์

โมบายล์แอปพลิเคชัน TMB

Business TOUCH Internet Banking

ที่ปรึกษาและคู่คิดทางธุรกิจ

ลูกค้าเอสเอ็มอี

TMB SME WOW

TMB Business TOUCH

TMB SME One Bank

TMB SME Advisory

โครงการ Lean Supply Chain by TMB

ลูกค้ารายย่อย

TMB All Free

TMB TOUCH Mobile App

TMB No Fixed

TMB WOW

TMB TOUCH Mobile App

TMB Advisory

 

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) เผยกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ (Commercial Banking) ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางปี 2561-2563 ด้วยเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นธนาคารหลักของกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และลูกค้าธุรกิจ SME พร้อมขับเคลื่อนศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร รวมทั้งการผสานความรู้ความเชี่ยวชาญในประเทศกับศักยภาพความแข็งแกร่งทางการเงินและเครือข่ายระดับโลกของ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) มุ่งเน้นสร้างพอร์ตที่สมดุลและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยในปี 2561 ตั้งเป้าสินเชื่อธุรกิจโต 6-8% และเงินฝากโต 6-8% 
 
พรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า “กลุ่มลูกค้าธุรกิจของกรุงศรีประสบความสำเร็จในการสร้างความเติบโตด้านสินทรัพย์อย่างต่อเนื่องตามแผนธุรกิจระยะกลางฉบับแรกที่ครอบคลุมปี 2558-2560 โดยภาพรวม มีสินเชื่อเติบโตเฉลี่ย 7.5% ต่อปี และเงินฝากเติบโตเฉลี่ย 5.0%  ต่อปี สะท้อนถึงศักยภาพในการต่อยอดความสำเร็จภายหลังการควบรวมธุรกิจของธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ    ยูเอฟเจ จำกัด (BTMU) สาขากรุงเทพฯ และการผสานพลังเครือข่ายของ MUFG  สำหรับแผนธุรกิจระยะกลางในปี 2561-2563 กรุงศรีมุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับกระบวนการทำงานเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและส่งมอบบริการเพื่อสร้างและขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับลูกค้าธุรกิจโดยจะให้ความสำคัญกับการเติบโตของสินเชื่อและเงินฝากไปพร้อมๆ กัน นอกเหนือจากการกระชับสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมแล้ว กรุงศรียังมีเป้าหมายในการขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มใหม่เชื่อมโยงกับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0”
 
พรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
 
 
“กรุงศรีเดินหน้าสู่เป้าหมายการเป็นธนาคารพันธมิตรที่ได้รับความไว้วางใจ (Trusted  Banking Partner) สำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และเป็นธนาคารหลักสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งตั้งเป้าที่จะขยายพอร์ตของธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ โดยจะใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกับบริษัทในเครือกรุงศรี กรุ๊ป และศักยภาพความแข็งแกร่งของเครือข่ายระดับโลกของ MUFG การผสานพลังนี้จะทำให้กรุงศรีสามารถส่งมอบบริการทางการเงินที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นบัญชีเพื่อธุรกิจและผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ธุรกรรมและสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ บริการทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบสนองการลงทุนในตลาดต่างประเทศ สำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ กรุงศรีมุ่งเน้นกลยุทธ์ Fee based business และการปรับสมดุลของพอร์ตสินเชื่อโดยเน้นการเติบโตด้านสินทรัพย์และการสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ กรุงศรีได้จัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ทั้งในด้านการให้คำปรึกษาและองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมการขยายตลาดของลูกค้ากลุ่มธุรกิจไทย รวมทั้งการสร้างเครือข่ายธุรกิจและการแนะนำคู่ค้าธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ” นายพรสนองกล่าว 
X

Right Click

No right click