×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

ความชัดเจนในการออกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกรรมดิจิทัล จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีบทบาทในการทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งลงทุนที่มีประสิทธิภาพของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป

จากกรณีที่กระทรวงการคลังได้ออกหนังสือเตือนนักลงทุนมาตลอดว่าสกุลเงินดิจิทัล ไม่ใช่สกุลเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย การลงทุนมีความเสี่ยง

ตามด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ทำธุรกรรม หรือมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency (สกุลเงินดิจิทัล) ทั้งการเข้าไปลงทุนหรือซื้อขายเพื่อประโยชน์ของสถาบันการเงินและหรือผลประโยชน์ของลูกค้า, การให้บริการรับแลกเปลี่ยน, การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อเป็นสื่อกลางทำธุรกรรมระหว่างลูกค้า, การใช้บัตรเครดิตในการซื้อ และการรับให้คำปรึกษาเพื่อลงทุนหรือการแลกเปลี่ยน Cryptocurrency

จากนั้นมีความเคลื่อนไหวของ เจ เวนเจอร์ส จำกัด (เจวีซี) บริษัทลูกของบริษัท เจมาร์ทจำกัด (มหาชน) ได้เปิด ICO (Initial Coin Offering)  ออก Cryptocurrency ที่มีชื่อว่า "เจฟินคอยน์" โดยมีเป้าหมายเพื่อระดมทุนเงินดิจิทัลสำหรับนำมาเปิดตัวโปรเจคโครงการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามกระแสของโลกยุคดิจิทัล

อย่างไรก็ตามในด้านของความชัดเจนในการออกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกรรมดิจิทัลนั้น รพี สุจริตกุล เลขาธิการกรรมการในคณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  กล่าวถึงการระดมทุนในรูปแบบ ICO อยู่ระหว่างการพิจารณาของ 4 หน่วยงานรัฐ โดยจะมีการพิจารณาเพื่อนำกฎหมายที่มีอยู่มากำกับ Cryptocurrency ซึ่งแนวทางในการกำกับดูแลเป็นเรื่องใหม่ และในปัจจุบันนี้ยังไม่มีประเทศไหนที่มีแนวทางในการกำกับดูแลได้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้แนวทางกำกับดูแลการระดมทุนผ่านเงินสกุลดิจิทัลของก.ล.ต.นั้น กำลังศึกษาแนวทางเพื่อนำข้อสรุปเสนอสู่การพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้

 

 

ทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการ กรรมการในคณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  กล่าวถึงประกาศของธปท. ที่ไม่ให้สถาบันการเงินเข้าลงทุนในเงินดิจิทัลนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ขัดกันในนโยบาย

ซึ่งมองว่าธปท.ดำเนินการเพื่อเตือนไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ภายใต้การดูแลเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น และบริษัทที่มีการระดมทุน ICO ก่อนที่เกณฑ์จะออกนั้น ก.ล.ต.ไม่สามารถห้ามไม่ให้บริษัททำธุรกิจได้ และยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการดูแล ดังนั้นผู้ที่จะออกต้องคำนึงถึงผลกระทบของราคาหุ้น หรือกิจการของบริษัทจดทะเบียนด้วย ซึ่งบริษัทต้องมีการกำกับดูแลความเสี่ยงด้วย

ในด้านของการพิจารณากฎเกณฑ์การควบคุมสินทรัพย์การลงทุนในรูปดิจิทัล หรือดิจิทัล แอทเซส ที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง และ ธปท. มีความเห็นให้ก.ล.ต.เป็นผู้ดูแลในการดำเนินการหาแนวทางควบคุม

ซึ่งดิจิทัล แอทเซส มีความคล้ายคลึงกับหลักทรัพย์ และสามารถซื้อขายในตลาดรองได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถนำพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เข้าดูแลได้ นั่นเพราะดิจิทัล แอทเซส ไม่ใช่หลักทรัพย์จึงต้องหาแนวทางโดยทำงานร่วมกับทีมกฎหมายของกระทรวงการคลังว่า จะใช้กรอบกฎหมายแบบใดที่จะให้ก.ล.ต.กำกับดูแล ทั้งในด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หรือ ธุรกิจนายหน้าการซื้อขาย ซึ่งในต่างประเทศ ไม่ได้มีหลักเกณฑ์การดูแลดิจิทัล แอทเซส มาก่อน จึงต้องหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร รวมถึงดูแลกฎเกณฑ์ ICO เพื่อเสนอสู่การพิจารณาของคณะกรรมการก.ล.ต.ในเวลาต่อไป

 

สำมิตร สกุลวิระ ประธานสายสินเชื่อธุรกิจธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยผลงานของสายสินเชื่อธุรกิจเมื่อปีที่ผ่านมาว่า  สามารถทำวงเงินสินเชื่ออนุมัติใหม่ได้สูงที่สุดเท่าที่เคยทำมา จากการที่ธนาคารเริ่มขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่เพิ่มเติมจากอุตสาหกรรมที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษได้แก่ สินเชื่อกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายกลางรายเล็ก และสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี (สินเชื่อธุรกิจอพาร์ตเม้นต์และโรงแรม สินเชื่อธุรกิจขนส่ง สินเชื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อเครื่องจักรและวัสดุก่อสร้าง) 

 สำหรับปี 2561 จากทิศทางเศรษฐกิจและความต้องการของลูกค้า ธนาคารจะเดินหน้าด้วยแนวทางการดำเนินงาน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.  เจาะกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในทุกเซกเมนต์ ส่วนกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีมุ่งขยายธุรกิจไปยังลูกค้ากลุ่มเดิม 2. เป็นธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ด้วยประสบการณ์ยาวนานของทีมงาน 3. ขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มที่มีความมั่งคั่งสูง (high net worth) ในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โดยมุ่งให้บริการทางการเงินแก่กลุ่มคนดังกล่าวที่ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจและเจ้าของกิจการให้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างยั่งยืน และ 4.  ชูแพลตฟอร์มการเป็น Financial Solution Expert โดยพัฒนาบุคลากร ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ครอบคลุมความต้องการทางธุรกิจของลูกค้า ตลอดจนนำเสนอเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการและสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการ โดยปี 2561 สายสินเชื่อธุรกิจวางเป้าหมายสินเชื่ออนุมัติใหม่ที่ประมาณ 33,500 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ยอดสินเชื่อของสายสินเชื่อธุรกิจขยายตัวราว 5% คิดว่าการให้บริการลูกค้าด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมุ่งเน้นความสำเร็จของลูกค้าเป็นสำคัญ จะส่งผลให้การทำงานบรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางไว้

 ทั้งนี้ในปี 2560  สินเชื่อธุรกิจ มียอดสินเชื่อรวม 44,283 ล้านบาท ขยายตัวที่ 7% จากสิ้นปี 2559 แบ่งเป็น สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 21,276 ล้านบาท สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี (สินเชื่อธุรกิจอพาร์ตเม้นต์และโรงแรม สินเชื่อธุรกิจขนส่ง สินเชื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อเครื่องจักรและวัสดุก่อสร้าง) 23,007 ล้านบาท

 

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน)  รับมอบใบรับรองระบบมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 จาก United Kingdom Accreditation Service (UKAS) ซึ่งเป็นองค์กรตรวจรับรองมาตรฐานระดับโลกของประเทศอังกฤษ ภายใต้ขอบเขต “The provision of IT operation which support insurance service (E-policy and E-Claim) , core insurance processing system , financial and accounting system , data center , system and network management”  โดยทิพยประกันภัยเป็นบริษัทประกันวินาศภัยแห่งแรกของไทย ที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 27001:2013 ทุกระบบด้าน IT สารสนเทศในองค์กร ในการดำเนินธุรกิจประกันภัย เพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็น Digital Insurance อย่างเต็มรูปแบบ

 ดร.สมพรกล่าวว่า เนื่องจากบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปกป้องข้อมูลของลูกค้าจากภัยคุกคามทาง  ไซเบอร์อย่างจริงจัง และยังสอดคล้องกับประกาศฉบับใหม่ของคปภ. เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560” เพื่อให้เห็นถึงความพร้อมในทุกๆด้านโดยเฉพาะด้านการรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

 นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง จากเมื่อปี 2542 เราเป็นบริษัทประกันวินาศภัยแห่งแรกของไทยที่ได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9002 ทุกระบบขององค์กร จวบจนปัจจุบันเรายังมุ่งพัฒนามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดของ ISO9001  โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงในธุรกิจประกันภัย และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่นอกเหนือจากลูกค้า อาทิเช่น ผู้ถือหุ้น คู่ค้า พันธมิตรต่างๆ

เป็นต้น เพื่อยกระดับความพึงพอใจต่อลูกค้า และสร้างโอกาสทางธุรกิจและความเชื่อมั่นต่อคู่ค้า, พันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เห็นว่า ทิพยประกันภัยยังคงรักษาระบบการบริหารงานและกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อที่จะสามารถให้บริการลูกค้าได้รับความพึงพอใจในทุกๆด้าน

 

ดร.สมพร กล่าวเพิ่มเติมว่า  การที่บริษัทฯได้รับการรับรองมาตรฐานทั้ง 2 ระบบมาตรฐานสากลนี้  ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจให้องค์กร ในยุค Digital ที่คนส่วนใหญ่หันมาทำธุรกรรมผ่านทางโซเชียลมีเดีย มากขึ้น ทำให้เราต้องยิ่งพัฒนาในด้านการให้บริการเพื่อสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับหน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่ค้า กลุ่มธุรกิจ Start up หรือนวัตกรรมด้านการบริการต่างๆ  โดยสามารถยกระดับมาตรฐานของคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ผ่านระบบสารสนเทศหลักของธุรกิจที่มีความมั่นคง ปลอดภัยต่อความเสี่ยงหรือวิกฤตต่างๆได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

 "การนำระบบทั้งสองมาประยุกต์ใช้ในทุกรูปแบบจะสร้างความได้เปรียบทางด้านธุรกิจ ทั้งด้านคุณภาพการบริการ, การจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของข้อมูล, สร้างโอกาสทางธุรกิจ, สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้–ทิพยประกันภัย ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำทางธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน" ดร.สมพร กล่าวสรุป

 

ICO VS. IPO

February 05, 2018

ICO เป็นของใหม่ที่เกิดขึ้นมาบนโลกนี้และเร็วๆ นี้ก็จะมีการออก ICO ของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยเกิดขึ้น ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จึงออกอินโฟกราฟฟิกเพื่อช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ICO โดยเปรียบเทียบกับ IPO ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีในตลาดทุน แม้ปัจจุบันเกณฑ์ในการกำกับดูแล ICO ยังไม่ออกมาแต่อินโฟกราฟฟิกชุดนี้ก็เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจ

ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าปรับทัพองค์กร รองรับกระแสดิจิทัลไหลบ่า ขับเคลื่อนแบงก์สู่แพลตฟอร์มที่ ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น  

ภายหลังนำ Transformation สร้างรากฐานองค์กรใหม่ลุล่วงไปกว่า 50%  ในปี 2018 ธนาคารนำกลยุทธ์ “Going Upside Down” (กลับหัวตีลังกา) มาผลักดันองค์กรให้เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและสมดุลใน 5 เรื่องที่สำคัญ ได้แก่ 1.Lean the Bank 2.High Margin Lending 3.Digital Acquisition 4.Data Capabilities 5.New Business Model  พร้อมปรับเปลี่ยนวิธี การทำงานให้แตกต่างจากเดิมและนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงสร้างพนักงานให้มีขีดความสามารถและทักษะใหม่ ๆ เพื่อให้ไทยพาณิชย์เป็น “The Most Admired Bank” (ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด)

นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์การแข่งขันที่ เข้มข้นของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และการไหลบ่าเข้ามาของธุรกิจ Patform ระดับโลกที่กำลังจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของธุรกิจธนาคารในการนำเสนอบริการทางการเงินและการลงทุน

กอปรกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปิดรับการใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่ หลายในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้การบริ การทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ โครงสร้างรายได้ของธนาคารเริ่มเปลี่ยนไป จากในอดีตที่ธนาคารอาจจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมประมาณ 30% และอีก 70% เป็นรายได้จากดอกเบี้ย แต่จากนี้ไปรายได้จากค่าธรรมเนียมจะค่อยๆ ลดลง

จากค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเคยได้ จากการให้บริการโดยการใช้คน ปัจจุบันเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่ การบริการอย่างมีนัยสำคัญทำให้ต้นทุนในการให้บริการลูกค้าลดลงอย่างมาก


ในปี 2561
จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการปรับตัวครั้งใหญ่อีกครั้ง มิใช่เพียงให้อยู่รอดได้เท่านั้น แต่เพื่อให้ธนาคารเป็นที่รักของลูกค้าและลูกค้าอยากมาใช้ บริการของเรา

โดยในช่วงปีที่ผ่านมา เราได้เปลี่ยนผ่านองค์กรภายใต้ ภารกิจ “SCB Transformation” เพื่อเป้าหมายการเป็น “The Most Admired Bank” (ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด) โดยได้มุ่งเน้นการสร้ างรากฐานขององค์กรใหม่ (Foundation Transformation) ได้แก่

- การยกระดับเทคโนโลยี ของธนาคารเพื่อรองรับยุคดิจิทัล โดยธนาคารได้เพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ซึ่งรวมถึงการพัฒนาบริการบน New Mobile Banking หรือ SCB Easy  โดยมุ่งเน้นให้เป็น Lifestyle Application ที่จะสร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้ามากกว่าเพียงการทำธุรกรรมทางการเงิน พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการผลักดันให้เกิดสังคมไร้เงินสด ด้วยการพัฒนาระบบการชำระเงินผ่ าน QR Code กลางของธนาคารแห่งประเทศไทย

- การปรับปรุงกระบวนการทำงานในทุกขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุน

- เปิดศูนย์บริการแห่งอนาคต เพื่อสร้างประสบการณ์ทางการเงินที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า โดยเปิดตัว 4 ต้นแบบ

“ศูนย์บริการลูกค้ารูปแบบเฉพาะ” ได้แก่ SCB Express, SCB Investment Center, SCB Business Center และ SCB Service Center

นอกจากนี้ ธนาคารต้องสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้น โดยเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ผ่านการจัดโครงสร้างบริการของธนาคารและบริษัทในกลุ่มทั้งหมด โดยโครงสร้างใหม่จะต้องเอื้อต่อการทดลองเรื่องใหม่ ๆ ให้เกิดได้ง่ายขึ้น เช่นที่ธนาคารได้ตั้ง ดิจิทัลเวนเจอร์ บริษัทลูกด้านเทคโนโลยี และ เอสซีบี อบาคัส บริษัท Data Tech ที่ใช้นวัตกรรมอย่างปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) รวมทั้งการแสวงหาพันธมิตรซึ่งธนาคารได้ให้ความสำคัญกับการหาพันธมิตรเป็นอย่างมาก



สำหรับเป้าหมายการดำเนินธุรกิ จปี 2561 นั้น  เนื่องจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคที่สืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ จะพลิกรูปโฉมของกระบวนการและการให้บริ การแก่ลูกค้า ธนาคารจึงต้องการที่จะเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมต่อทุกสังคมเข้ าด้วยกัน ภายใต้กลยุทธ์ “Going Upside Down” (กลับหัวตีลังกา) ที่มีแนวทางในการดำเนินงานที่ สำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่

1.Lean the Bank (เพิ่มประสิทธิภาพธนาคาร)

2.High Margin Lending (ปล่อยสินเชื่อธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง)

 3.Digital Acquisition (การดำเนินธุรกิจในโลกดิจิตอล)

4.Data Capabilities (เพิ่มขีดความสามารถในการใช้ข้อมูล)

5.New Business Model (ธุรกิจรูปแบบใหม่ )

โดยรายได้หลักของธนาคารจะยั งคงมาจากธุรกิจ 3 ส่วนหลัก ได้แก่ สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเพื่อการบริโภค และการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) ซึ่งจะเห็นการทำธุรกิจที่เปลี่ ยนไปจากเดิมด้วยการใช้เทคโนโลยี มาสนับสนุน พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของทักษะและขีดความสามารถใหม่ ๆ ของพนักงานในการปฏิสัมพันธ์กั บลูกค้า โดยจะเห็นได้ชัดเจนในธุรกิจของ Wealth Management ที่ทางธนาคารมีเป้ าหมายจะขยายฐานลูกค้าในกลุ่มนี้ อย่างมาก โดยมีเป้าหมายสูงสุดในอีกสามปี ข้างหน้าเพื่อเป็น Digital Platform ขนาดใหญ่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลเป็นหลัก


 

ด้วยวิสัยทัศน์ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่จะเป็น “The Most Admired Bank” หรือ “ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด” เราจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธนาคารไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีส่วนสำคัญต่อชีวิตประจำวันของลูกค้าทุกกลุ่ม พร้อมทั้งเดินหน้าดำเนินธุรกิจธนาคารอย่างสมดุลเพื่อสร้ างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

 

X

Right Click

No right click