×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 806

จุดพลุสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 130 ปี จับมือหน่วยงานเศรษฐกิจพร้อม ด้วยคณะผู้บริหารภาครัฐและเอกชน ระดับสูงจากญี่ปุ่นกว่า 500 ราย หารือแนวทางการยกระดับและสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์ร่วมกัน เผยญี่ปุ่นให้ความสนใจในนโยบายไ ทยแลนด์ 4.0 พร้อมเตรียมให้การสนับสนุนการพั ฒนาEEC หรือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยด้วยกา รถ่ายทอดการประยุกต์เทคโนโลยีดิ จิทัลและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังได้เชิญชวนผู้ประกอบการ นักลงทุนจากไทยและญี่ปุ่นอีกกว่า 1,400 รายเข้าร่วมรับฟังโอกาสแห่งความ ร่วมมือของภาครัฐบาล ภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่น ในการส่งเสริมและยกระดับการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศ

 

    ธนาคารไทยพาณิชน์ ประกาศเดินหน้าภารกิจ SCB Transfomation เพื่อก้าวสู่การเป็น The Most Admired Bank  โดยจะรุกสู่การเป็นธนาคารดิจิทัลที่เข้าถึงความต้องการของลูกค้า แผนงานของธนาคารในปีนี้นอกจากการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ แล้วยังรวมถึงการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เพื่อรองรับแพลตฟอร์มดิจิทัล และการนำเทคโนโลยี Business Intelligence ที่ช่วยให้ธนาคารตัดสินใจด้านการลงทุนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยอาศัยข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกธนาคาร และเทคโนโลยี Big Data Analysis ที่ช่วยให้ธนาคารวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าในเชิงลึกได้มากขึ้น

    ผ่านไป9 เดือน เราได้เห็นการขยับของ SCB ด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยมีดิจิทัล เวนเจอร์สเป็นแกนหลักในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในวงการธนาคาร ตัวอย่างที่เพิ่งผ่านมาไม่นานคือการพัฒนาแอพพลิเคชันจัตจักรไกด์ ที่ช่วยให้ร้านค้าและลูกค้าสามารถทำธุรกรรมกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว รวมถึงช่วยบริการด้านข้อมูลให้กับผู้ที่ใช้งาน

    ล่าสุด SCB ก็ออกมาประกาศจัดตั้ง เอสซีบี อบาคัส เป็นบริษัทในเครือที่ที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาธุรกิจและบริการเป็นบริษัทแรกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและการธนาคารของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

     อาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวในการเปิดตัวบริษัทลูกครั้งนี้ว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อ 2 ปีก่อน SCB จึงจัดตั้ง ดิจิทัล เวนเจอร์ส ขึ้นเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก SCB เป็นองค์กรใหญ่ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำได้ยาก จึงต้องมีดิจิทัลเวนเจอร์สที่มีความเป็นอิสระ เพื่อทดลองเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งปัจจุบันกมีบางการทดลองได้เริ่มลงสู่ตลาดบ้างแล้ว

    เอสซีบี อบาคัส ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับดิจิทัล เวนเจอร์ส ที่จะมาช่วย SCB ในการขับเคลื่อนธนาคารด้วยเทคโนโลยี ด้วยการนำเอาข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดความเข้าใจความต้องการของลูกค้าแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งหากจะรอระบบวิเคราะห์ข้อมูลของธนาคารอาจจะไม่ทันกาล การจัดตั้ง เอสซีบี อบาคัส ขึ้นก็เพื่อจะนำเอาเทคโนโลยี AI มาใช้กับฐานข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อรู้จักผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เป็นไปตามแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ

     อาทิตย์ระบุว่าอยากให้ เอสซีบี อบาคัส สามารถผลิตผลงานได้เช่นเดียวกับ ดิจิทัล เวนเจอร์ส ที่ก่อตั้งมาก่อน รวมถึงให้ทั้งสองบริษัทประสานงานกันเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมา

     ดร. สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด ให้ข้อมูลต่อว่า เทคโนโลยี AI อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เห็นได้จากระบบการคัดแยกอีเมลที่ใช้ Machine Learning ระบบแนะนำสินค้าที่ตรงใจให้แก่ผู้ซื้อแต่ละคนในเว็บไซต์อีคอมเมอร์ซ หรือระบบการจดจำใบหน้าบุคคลที่ใช้บนโซเชียลมีเดีย เป็นผลผลิตจากเทคโนโลยี AI  ทั้งสิ้น

     ในแวดวงธนาคาร เทคโนโลยี  AI ถูกนำมาใช้แยกธุรกรรมบัตรเครดิตที่น่าสงสัยว่าจะมีการทุจริต ใช้สำหรับการแนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุน ที่เรียกว่า Robo-advisor และการชำระเงินด้วยระบบการจดจำใบหน้า AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันของธุรกิจต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งเอสซีบี อบาคัส ด้วยพันธกิจหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีที่นำเอานวัตกรรมอย่าง AI มาเป็นกุญแจสำคัญในการวิเคราะห์และเรียนรู้ข้อมูล เพื่อต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการที่ตอบโจทย์ทั้งสำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ และองค์กรธุรกิจต่าง ๆ

อาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ดร. สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด ณัฏฐกานต์ ครรภาฉาย ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสายนิติบริการและกฎหมายดิจิทัล (ซ้ายสุด) และ อรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท Digital Ventures (ขวาสุด) ร่วมเปิดตัวบริษัท เอสซีบี อบาคัส

 

     ดร.สุทธาภาระบุว่าจุดแข็งของ เอสซีบี อบาคัส ที่เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วย

  • ทรัพยากรบุคคล – มีทีมบุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก มาร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นและใช้งานได้จริง
  • การสนับสนุนจากธนาคารไทยพาณิชย์ – ให้ความไว้วางใจในการเลือกโครงการภายในธนาคาร ที่มีผลกระทบเชิงบวกสูงต่อการปรับปรุงพัฒนาบริการของธนาคาร ทำให้สามารถนำมาศึกษา พัฒนา และต่อยอดเป็นโซลูชั่นต่าง ๆ ได้
  • มีพันธมิตรระดับโลก – มีข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT ในสหรัฐฯ เพื่อนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ทั้งยังมีการจัดตั้งคณะที่ปรึกษา ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคธุรกิจ ได้แก่ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร คุณวิลาสินี พุทธิการันต์ และ ศาสตราจารย์ ดร. เบ็นจามิน แวนรอย มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เพื่อร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ

    ปัจจุบันเอสซีบี อบาคัส มีโครงการที่อยู่ในมือที่พอจะประกาศให้ทราบได้ เช่น ในแอปพลิเคชัน SCB Easy บริษัทจะเข้าไปช่วยพัฒนาระบบการแนะนำการใช้บริการธนาคารหรือที่เรียกว่า Recommendation Engine ซึ่งทำให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ลูกค้าต้องการได้รวดเร็ว ตรงใจต่อลูกค้ามากยิ่งขึ้น รวมไปถึง ระบบบริการด้านสุขภาพที่จะนำเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT  เข้ามาช่วยส่งเสริมไลฟ์สไตล์ด้านสุขภาพ โดยใช้ AI ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันที่เหมาะสมเฉพาะแต่ละบุคคล เพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าใส่ใจดูแลสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่ เอสซีบี อบาคัส จะเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบ Call Center ด้วยการนำ AI มาคาดการณ์ปัญหาของลูกค้าที่โทรเข้ามา เพื่อโอนสายไปยังผู้เชี่ยวชาญที่ตอบปัญหาได้ตรงจุด ช่วยยกระดับคุณภาพบริการและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า 

    การเปิด เอสซีบี อบาคัส ทำให้เห็นภาพความพยายามของ SCB ในการรุกตลาดฟินเทคเช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งนำเอาเทคโนโลยี ATM เข้ามาเปิดให้บริการเป็นรายแรกของประเทศไทยเมื่อพ.ศ. 2526  

 

     นพพร บุญลาโภ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) แถลงผลประกอบการในครึ่งปีแรก ตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนมิถุนายน 2560 ว่า บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิ 420 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ 118 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 256 ในขณะที่เบี้ยประกันภัยรับรวม 2,961 ล้านบาท มีการเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ 2,889 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.5  รายได้จากการลงทุน 391 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ 316 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ  24   นับเป็นผลงานที่เกินกว่าที่บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าไว้ในทุกด้าน  

     ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560  บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 16,500 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 โดยมีระดับความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio – CAR) ณ สิ้นไตรมาส 2/2560 ที่ระดับร้อยละ 304 ซึ่งสูงกว่าระดับที่กฎหมายกำหนดอยู่มากกว่า 2 เท่า  และบริษัทฯ ยังได้มีการจ่ายเงินปันผลจากผลประกอบการปีงบประมาณ 2559 ในอัตราหุ้นละ 0.25 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จึงแสดงถึงสภาพคล่องและความมั่นคงในฐานะทางการเงินของบริษัทฯ 

     นพพรระบุอย่างมั่นใจว่าปี 2560 จะสามารถดำเนินงานได้ทะลุเป้าเบี้ยประกันภัยรับรวม 7,200 ล้านบาท ด้วยแผนกลยุทธ์หลักของบริษัทฯ  โดยช่องทางการลงทุนมีการบริหารการลงทุนโดยคำนึงถึงความเสี่ยงจากการลงทุนเป็นสำคัญ ซึ่งสัดส่วนของการลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้เอกชน สลากออมสิน เป็นสัดส่วนเกือบ 80% ที่เหลืออีก 15% เป็นการลงทุนในกอง Property Fund และ Infrastructure Fund ที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ โดยมีการลงทุนในหุ้นอยู่ประมาณ 2%  ในขณะที่การบริหารทรัพยากรบุคคลอยู่ภายใต้กรอบนโยบาย Small but mighty การใช้ทรัพยากรในจำนวนที่น้อยแต่มากด้วยความสามารถ  ปัจจุบันพนักงานของบริษัทมีจำนวนไม่ถึง 150 คน ในการทำเบี้ยเกือบ 3,000 ล้านบาท   ตนจึงมั่นใจในศักยภาพคนของเราว่าสามารถรองรับการขยายตัวของเบี้ยตามเป้าที่ตั้งไว้ 7,200 ล้านบาทในสิ้นปีนี้แน่นอน  โดยจะพัฒนาระบบ  IT  ในการสร้างหลังบ้านให้แข็งแกร่ง รวมไปจนถึงตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม การเตรียมความพร้อมรองรับการขยายงานด้าน Digital Marketing  และการเปิดช่องทางการขาย Bancassurance ผ่านธนาคารออมสิน ที่คาดว่าจะสามารถสร้างเบี้ยในครึ่งปีหลังได้ 1,000 ล้านบาท

     ทั้งนี้บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างช่องทางขายเพื่อให้ทันต่อตลาดในปัจจุบัน โดยมอบหมายให้ศุภชัย  จงศุภวิศาลกิจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด ที่สร้างผลงานนำพาช่องทาง MRTA เข้าสู่อันดับ 1 ในอุตสาหกรรมในปีนี้ มาดูแลช่องทางขายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นช่องทางประกันสถานบัน, ประกันกลุ่ม, Bancassurance รวมไปถึงช่องทางสามัญ ภายใต้หลักการการทำตลาดเชิงรุกแบบบูรณาการ

     ศุภชัย กล่าวถึงแผนการตลาดที่เตรียมไว้รองรับช่วงครึ่งปีหลังว่า หากแบ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็น 4 กลุ่มย่อย จะประกอบด้วยประกันสินเชื่อที่มีพันธมิตรสำคัญคือธนาคารออมสิน ประกันสามัญผ่านตัวแทน ประกันสามัญผ่านธนาคาร ประกันกลุ่ม แต่ละผลิตภัณฑ์มีการเตรียมแผนการตลาดรองรับ เช่น ประกันกลุ่มยังเน้นรักษาฐานลูกค้า โดยยังคงเน้นเรื่องการบริหารเป็นหลัก ประกันสินเชื่อและประกันสามัญผ่านธนาคาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำรายได้ให้กับบริษัทจำนวนมาก จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาให้เห็นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี รวมถึงอาจมีการขยายพันธมิตรไปร่วมมือกับธนาคารอื่นๆ เพิ่มขึ้น ในส่วนประกันสามัญผ่านตัวแทน จะมีการปรับปรุงโครงสร้างการทำงานใหม่ มีการปรับผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับตัวแทนแต่ละรายที่มีความชำนาญแตกต่างกัน และจะมีพัฒนาบุคลากรของทิพยประกันชีวิตให้เป็นตัวแทนที่มีคุณภาพมุ่งสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน รวมถึงการเปิดรับตัวแทนใหม่ๆ เข้ามาเสริมทีม  

 

     นวัตกรรมการเงินที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ประกอบกับการใช้งานสมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย (ประมาณ 40 ล้านเครื่องในปี 2558 และเพิ่มขึ้นมาเป็น 50 ล้านเครื่องในปี 2559 และคาดว่าจะเพิ่มถึง 80 ล้านเครื่องในปี 2564)  และกลไกการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังจะกลายเป็นกิจกรรมประจำวัน ด้วยเหตุนี้ ผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์จึงผนึกกำลังกันจัดตั้งสมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thailand E-Payment Trade Association: TEPA) เพื่อยกระดับการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล และเพิ่มความไว้วางใจในการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับผู้บริโภคไทย

     สมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thailand E-Payment Trade Association: TEPA) ได้รับอนุญาตจัดตั้งสมาคมการค้าเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกแก้ไขข้อขัดข้องต่างๆ ตลอดจนเจรจาทำความตกลงในการประกอบวิสาหกิจของสมาชิกซึ่ง ณ ปัจจุบัน ทางสมาคมมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 16 ราย ทั้งบริษัทที่ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงบัตรโดยสาร e-Money ประกอบไปด้วย:

1. บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด
2. บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด
3. บริษัท เพย์สบาย จำกัด
4. บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด
5. บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด
6. บริษัท ทีทูพี จำกัด
7. บริษัท แอร์เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
8. บริษัท แรบบิท-ไลน์ เพย์ จำกัด
9. บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)​
10. บริษัท เอ็มโอแอล เพย์เมนท์ จำกัด
11. บริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด
12. บริษัท เพย์ โซลูชั่น จำกัด
13. บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน)
14. บริษัท บลูเพย์ จำกัด
15. บริษัท โอมิเซะ จำกัด​
16. บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)

     ปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด ในฐานะนายกสมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thailand E-Payment Trade Association: TEPA) กล่าวว่า “การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สะท้อนถึงนโยบาย Thailand 4.0 และการผลักดันในการเป็นสังคมไร้เงินสดของภาครัฐ ในหลายประเทศ อาทิ จีนและอินเดีย การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ล้ำหน้าไปไกลมาก และในประเทศเช่นสวีเดน สังคมไร้เงินสดก็กลายเป็นภาพแห่งความเป็นจริงขึ้นมาแล้ว ข้อดีของการไม่ใช้เงินสดต่างๆ อาทิ การลดภาระค่าใช้จ่ายการจัดการเงินสด ลดความเสี่ยงในการครอบครองเงินสด ตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนทำให้ลดความเสี่ยงจากการคอรัปชั่น”

     สมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thailand E-Payment Trade Association: TEPA) จะคอยผลักดันการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการให้ความรู้กับผู้บริโภคไทยและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมกันนี้ สมาคมก็จะคอยกำกับดูแลสมาชิกให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางธนาคารแห่งประเทศไทยและนโยบายภาครัฐ และจะคอยเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมธุรกิจชาวไทย

     ปุณณมาศกล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมหวังว่าผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ ได้ตระหนักและเปิดใจรับนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ โดยเฉพาะการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายอย่างแท้จริง และยังมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย เพราะภาครัฐและทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ลงมากำกับดูแลธุรกิจนี้อย่างใกล้ชิด ผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ สามารถมั่นใจได้ว่าสมาชิกของสมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thailand E-Payment Trade Association: TEPA) ทั้ง 16 ราย เป็นผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับใบอนุญาติประกอบธุรกิจอย่างถูกต้อง และมุ่งเน้นให้บริการผู้บริโภคด้วยบริการที่มีคุณภาพและปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล”

 

ICN ผู้ให้บริการรับเหมาวางระบบ ควง FSS ที่ปรึกษาทางการเงินและแกนนำการเสนอขายหลักทรัพย์ โรดโชว์ให้ข้อมูลนักลงทุนวันที่ 31 ส.ค. 60 ที่กรุงเทพฯ ตอกย้ำปัจจัยพื้นฐานธุรกิจแกร่ง “มนชัย มณีไพโรจน์” ซีอีโอ เผย ICN มีศักยภาพการเติบโตสูง จากงานในมือที่รอรับรู้รายได้แน่นอนในปีนี้

X

Right Click

No right click