November 01, 2024

บมจ. นอร์ทอีส รับเบอร์ (NER) กางผลงานไตรมาส 2 ปี 2563 กำไรนิวไฮพุ่ง 224.90 ล้านบาท หนุนครึ่งปีแรกกำไรสุทธิที่ 284.79 ล้านบาท หลังประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น ต้นทุนลดต่ำลง พร้อมรับอานิสงค์เศรษฐกิจจีนฟื้นหลังคลายล็อกดาวน์เมืองจาก COVID-19 ดันคำสั่งซื้อระยะยาวพุ่ง ผู้บริหารมั่นใจแนวโน้มครึ่งปีหลังโตโดดเด่นทำสถิติใหม่ต่อเนื่อง หลังได้ลูกค้าใหม่เพิ่ม 2 ราย จ่อออเดอร์ยาวสิ้นปี พร้อมเตรียมขยายฐานรุกตลาดอินเดีย หนุนทั้งปีโตตามเป้า ยอดขาย 365,000 ตัน - รายได้แตะ 17,000 ล้านบาท

นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม เพื่อจำหน่ายไปยังผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มผู้ค้าคนกลาง ทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยภาพรวมผลการดำเนินงานไตรมาส 2/63 ว่า บริษัทฯ มีรายได้รวม 2,692.40 ล้านบาท ส่งผลให้ครึ่งปี 63 บริษัทมีกำไรรวม 5,646,76 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิ (Net Profit Margin) 224.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 58.61 ล้านบาท เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 166.29 ล้านบาท หรือคิดเป็น 35.25% ซึ่งเป็นการทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ (นิวไฮ) ส่งผลให้ครึ่งปีแรกบริษัทมีกำไรสุทธิที่ 284.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.56 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 267.23 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6.57%

โดยปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ผลการดำเนินงานเติบโตโดดเด่น มาจากการที่บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการประสิทธิภาพการผลิตได้ดีขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับลดลงจาก 91.6% ในช่วงเดียวกันปีก่อนเหลือ 87% ประกอบกับบริษัทฯ ได้มีการบันทึกกำไรอัตราแลกเปลี่ยนจากไตรมาส 1/63 กลับเข้ามาเพิ่มอีกราว 126.42 ล้านบาท รวมถึงความสามารถในการบริหารจัดการอัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ขณะเดียวกันคำสั่งซื้อ (Order) จากลูกค้าจีนก็ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รับอานิสงค์กิจกรรมทางเศรษฐกิจจีนที่เริ่มกลับมาคึกคัก โดยเฉพาะยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่พลิกกลับมาเติบโตอีกครั้ง ภายหลังจากได้มีการคลายล็อกดาวน์เมือง หลังปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

นายชูวิทย์ กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มครึ่งปีหลังมั่นใจผลการดำเนินงานเติบโตโดดเด่น หลังจากล่าสุดบริษัทฯ ได้สัญญาระยะยาวจากลูกค้าใหม่ ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรถยนต์และรถบรรทุกรายใหญ่ของประเทศจีนเพิ่มเข้ามาอีก จำนวน 2 ราย ได้แก่ LLIT (หลิงหลง) ซึ่งมีคำสั่งซื้อราว 48,000 ตัน/ปี และ Triangle Tyre ซึ่งมีคำสั่งซื้อราว 24,000 ตัน/ปี โดยจะเริ่มทยอยส่งมอบในไตรมาส 3/63 นี้ และนอกจากนี้บริษัทฯ ยังเตรียมขยายฐานรุกตลาดอินเดียเพิ่มเติมอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

สำหรับโรงงานแห่งใหม่กำลังการผลิตรวม 172,800 ตัน/ปีนั้น เริ่มเดินเครื่องการผลิตเรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังการผลิตรวม 465,600 ตัน/ปี จากก่อนหน้านี้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 292,800 ตัน/ปี อย่างไรก็ตามปีนี้บริษัทฯจะมีการเดินเครื่องจักรโรงงานแห่งใหม่เพียงแค่ 70% ตามปริมาณออเดอร์ในปัจจุบัน ส่วนปีหน้าคาดจะเดินเครื่องจักร 100% เบื้องต้นจากแผนงานที่วางไว้บริษัทมั่นใจว่า ผลการดำเนินงานปี 2563 จะเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ที่รายได้ 17,000 ล้านบาท เติบโตราว 30% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 13,107.15 ล้านบาท

 

“เราได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและเรื่องราคา ตอนนี้เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นเป็นลำดับ ลูกค้าทั้งรายเก่าและรายใหม่ โดยเฉพาะลูกค้าจากจีนมีออเดอร์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากแผนงานที่วางไว้ จึงมั่นใจว่า ครึ่งปีหลังกำไรจะนิวไฮต่อเนื่องทุกไตรมาส” นายชูวิทย์กล่าว

เมื่อทุกคนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติหลังจากการ Work From Home นานหลายเดือน และก้าวเข้าสู่ความปกติใหม่อย่างเต็มรูปแบบ

พานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยถึงความร่วมมือและความก้าวหน้าด้านการยับยั้งไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)

มุ่งเพิ่มศักยภาพเอสเอ็มอีไทยก้าวสู่ธุรกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ ธนาคารตั้งเป้าหมายเปลี่ยนผ่าน เอสเอ็มอีไทย เป็นองค์กรดิจิทัลได้มากยิ่งขึ้นในสิ้นปี 2563

  • เอไอเอส ผนึก นาดาว บางกอก ผู้พัฒนาบริหารและดูแลศิลปิน ประสานความร่วมมือในลักษณะ Co-Creation ผลิต VR Originals Content เป็นรายแรกของไทย ประเดิมด้วยคอนเทนต์โมเม้นต์สุดสวีทของคู่จิ้นซีรีส์วาย “บิวกิ้น-พีพี” และหนุ่มหน้าใส “สกาย วงศ์รวี” ที่จะมาเปิดโลกการท่องเที่ยวใบใหม่ให้ผู้ชม โดยผู้ชมสามารถ Action โต้ตอบกับคอนเทนต์ที่รับชมอยู่ได้อย่างสนุกกว่า และอินกว่าที่เคย ผ่านนวัตกรรมแว่น AIS VR 4K
  • พร้อมจัดงาน AIS VR Originals The 1st Virtual Fan Meetingครั้งแรกของไทยกับการจัดกิจกรรมแฟนมีทในรูปแบบ VR Live Streaming ให้ความรู้สึกใกล้ชิดศิลปิน เหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในสถานที่เดียวกันแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน สร้างปรากฏการณ์การรับชมความบันเทิงมิติใหม่ให้กับคนไทย ยกเป็นโชว์เคสต้นแบบของการต่อยอดนวัตกรรมเครือข่าย 5G และเทคโนโลยี VR ที่สามารถจับต้องได้จริง เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมบันเทิงไทย สนับสนุน VR Content Creator รุ่นใหม่ และเปิดมิติใหม่ของการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้กับประเทศ

นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส กล่าวว่า “เอไอเอส ในฐานะผู้นำเครือข่ายและบริการดิจิทัลอันดับ 1 ของประเทศ มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาในทุกๆ ด้าน เพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาเครือข่ายที่ดีที่สุด นับตั้งแต่การเปิดให้บริการ 5G อย่างเป็นทางการเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน เอไอเอสถือเป็นผู้นำเครือข่ายที่มีคลื่นความถี่มากที่สุด และให้บริการ 5G ครบ 77 จังหวัด อีกทั้งยังได้นำเครือข่าย 5G อันเป็นเทคโนโลยีใหม่ของชาติ มาสร้างประโยชน์ให้คนไทยมากมาย โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 ที่ 5G มีบทบาทสำคัญในการเสริมศักยภาพการแพทย์และสาธารณสุขไทย ตลอดจนนำ 5G มาเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนภารกิจฟื้นฟูประเทศในทุกๆ แกนจากวิกฤตโควิด-19 ด้วย

วันนี้ ถือเป็นการต่อยอดศักยภาพและขยายประโยชน์ของ 5G ให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น ด้วยการนำความแข็งแกร่งของเครือข่าย 5G  ที่เร็ว แรง และมีความหน่วงต่ำ ผสานเข้ากับเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต Virtual Reality หรือ VR และคอนเทนต์ที่ถูกผลิตมาเพื่อรับชมในรูปแบบ VR โดยเฉพาะ เมื่อเปิดคอนเทนต์ผ่านแว่น AIS VR 4K บนเครือข่าย AIS 5G จะทำให้ได้รับประสบการณ์การรับชมคอนเทนต์บนโลกเสมือนจริงอย่างเต็มประสิทธิภาพ ให้ความคมชัด ทั้งสนุกกว่า สมจริงกว่า และอินกับคอนเทนต์ได้มากกว่า นับเป็นการบุกเบิกและสร้างโอกาสการเติบโตไปอีกขั้นให้กับอุตสาหกรรมบันเทิงไทย และเปิดมิติใหม่ของการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้กับประเทศ”

“นอกจากนี้ เอไอเอส ยังได้เข้ามาผลักดันอุตสาหกรรมบันเทิงไทยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ด้วยการผลิตคอนเทนต์ในลักษณะ Co-Creation ภายใต้ชื่อ AIS VR Originals โดยเปิดกว้างที่จะร่วมมือกับพันธมิตรในวงการ ทั้งค่ายผลิตคอนเทนต์ชื่อดัง พันธมิตรชั้นนำระดับโลก และ Content Creator อิสระรุ่นใหม่ทุกคน เพื่อผลิต VR Content ร่วมกัน พร้อมมีแพลตฟอร์มรองรับการนำไปเผยแพร่ให้คนไทยได้รับชม นั่นคือ แอปพลิเคชัน AIS PLAY VR ฮับแห่งคอนเทนต์ VR ที่แรกและที่เดียวในไทย ซึ่งถูกติดตั้งบนแว่น AIS VR 4K ที่สามารถรับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา ตอบรับไลฟ์สไตล์ความบันเทิงและกิจกรรมแห่งยุค New Normal

  • จับมือ นาดาว บางกอก นำศิลปินมาร่วมสร้างสรรค์ VR Content นำโดย บิวกิ้น-พีพี กับคอนเทนต์ชุด #BilkinPP Closer Than Ever สัมผัสโมเมนต์ชวนฟินของคู่จิ้นซีรีส์วายแห่งยุคที่มีให้รับชมถึง 6 ตอน นอกจากนี้ ยังมีหนุ่มหน้าใส สกาย วงศ์รวี ที่มาในคอนเทนต์ชุด Touch of Sky พาทุกคนออกไปท่องเที่ยวด้วยกันในมุมมองที่ไม่เคยเห็นมาก่อน จำนวน 3 ตอน ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จของ VR Content ชุด Star Dating หลังได้รับการตอบรับอย่างดีจากคอนเทนต์ Palit’s Moment ที่ได้พรีเซ็นเตอร์เอไอเอส เป๊ก ผลิตโชค มาร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์เขย่าใจแฟนคลับทั่วประเทศ นับเป็นรูปแบบใหม่ของการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ให้แฟนคลับสามารถ engage และเข้าถึงศิลปินที่ชื่นชอบได้ใกล้ชิดมากขึ้น
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย โดยจับมือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดมุมมองใหม่ด้านการท่องเที่ยวแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นำร่องชมความงามของประเทศไทยใน 5 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ พัทลุง ลำปาง ราชบุรี และตราด ในรูปแบบ VR 360 องศา เพื่อร่วมกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของไทยไปด้วยกัน
  • ร่วมดูแลสุขภาพคนไทย โดยจับมือ Absolute You ผู้นำเทรนด์ไลฟ์สไตล์การออกกำลังกายชั้นนำของไทย สร้างประสบการณ์การออกกำลังกายที่บ้านในรูปแบบ VR 360 องศา ให้ความรู้สึกเหมือนได้เข้าคลาสร่วมกับ Instructor มืออาชีพ โดยมีคลาสออกกำลังกายสนุกๆ มากมาย ทั้งคลาสพิลาทีส, โยคะ, และ Body Weight
  • ที่เดียวในไทย! สนุกอย่างไร้ขีดจำกัดไปกับเกม VR กว่า 175 เกม และไลฟ์สไตล์ คอนเทนต์ กว่า 5,000 คอนเทนต์ จาก Pico ผู้นำ VR โซลูชั่นส์แบบครบวงจรอันดับ 1 ในเอเชีย ทั้งในด้านคอนเทนต์​ แพลตฟอร์ม และอุปกรณ์ VR

“ในอนาคตอันใกล้ เอไอเอสเตรียมที่จะขยายไปสู่คอนเทนต์ในรูป Music Performance เช่น การแสดงโชว์จากศิลปิน และด้าน Education เช่น ร่วมกับ สสวท. ทำคอนเทนต์ VR ในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับหลักสูตรชั้นประถมศึกษา-มัธยมศึกษา, ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ในรูปแบบ VR โชว์เครื่องบินในแต่ละรุ่น เสมือนจริง และการเที่ยวชมพระราชวังพญาไทอย่างใกล้ชิดในรูปแบบ VR เพื่อเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ให้ผู้เรียนสามารถสนุกได้มากกว่าที่เคย”

ความสนุกเหล่านี้ พร้อมให้คนไทยทุกคนได้สัมผัส ด้วยอุปกรณ์แว่น AIS VR 4K ให้ภาพคมชัดสูงระดับ 4K ด้วยมุมมองกว้าง 101 องศา และรองรับการแสดงผลแบบ 360 องศา ขับเคลื่อนความแรงด้วย CPU Snapdragon 835 มาพร้อมลำโพงเสียง 3 มิติ วางจำหน่ายแล้วที่เอไอเอส ช็อป และ AIS Online Store โดยสามารถซื้อแว่น AIS VR 4K ในราคา 14,500 บาท พร้อมรับฟรีแพ็กเกจ VR Service นาน 1เดือน (เดือนละ 199 บาท ไม่รวม VAT) เพื่อรับชม VR Content บน AIS PLAY VR พิเศษ! รับส่วนลดพิเศษสูงสุด 30% พร้อมรับฟรีแพ็กเกจ VR Service นาน 6 เดือน สำหรับลูกค้าเอไอเอสรายเดือน หรือเปิดเบอร์ใหม่ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.ais.co.th/aisvr4k/

“ด้วยความแข็งแกร่งของเครือข่าย AIS 5G และเทคโนโลยี VR จะช่วยให้คนไทยสนุกไปกับรูปแบบการรับชมคอนเทนต์ที่แตกต่างและสมจริงยิ่งกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเปิดตลาดการรับชมคอนเทนต์ VR ให้กับเมืองไทย และส่งเสริมการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมบันเทิงของประเทศ เหนือสิ่งอื่นใด ยังเป็นการสร้างโอกาสให้คนไทยก้าวสู่การเป็น VR Content Creator โดยเอไอเอส เตรียมเผยโฉม AIS 5G Next Reality Studio โปรดักชั่น ฮับการผลิตคอนเทนต์ AR และ VR ที่แรกและที่เดียวในไทย ที่จะมาพลิกโฉมการสร้างสรรค์คอนเทนต์ในรูปแบบใหม่ๆ ให้กับประเทศ เร็วๆ นี้” นายปรัธนา กล่าวสรุป

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับพันธมิตรร้านค้าความงามทั่วประเทศจัดโปรโมชัน

คุณเสกสรรค์ ธโนปจัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ที่ 5 จากซ้าย) และคุณณัฐิยา ภัทรกิจจานุรักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (ซ้ายสุด) บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) พร้อมทีมงาน เข้าเยี่ยมชมคลังสินค้า บริษัท เอสซี  โฮมมาร์ท จำกัด (บริษัทย่อยของ ซุน) โดยมีคุณคมสันต์ มาฉิม  ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน (ที่ 5 จากขวา) ของบริษัท ซุน  คอนสตรัคชั่น แอนด์  เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ให้การต้อนรับ  เมื่อเร็วๆนี้

รายงานวิจัยของ Bain & Company และ WEF พบว่า ชนชั้นกลางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 70% ของประชากร และการอุปโภคบริโภคจะเพิ่มขึ้นถึง 2.2 เท่า เป็นมูลค่าเกือบ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 อาเซียนเป็นภูมิภาคที่แสดงถึงโอกาสในการอุปโภคบริโภคที่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีกมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยแรงขับเคลื่อนจากปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ แนวโน้มด้านประชากรที่มีความแข็งแกร่ง ระดับรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิศาสตร์การเมืองที่ทำให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น และความก้าวหน้าด้านดิจิทัลที่เปิดตลาดผู้บริโภคใหม่ ๆ โดยภายในปี 2030 นี้ จะเกิดแนวคิดหัวข้อเรื่องการอุปโภคบริโภคที่สำคัญ 8 ประการขึ้นในอาเซียน ซึ่งรวมถึงการอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นสองเท่า และเส้นขอบเขตระหว่างการช็อปปิ้งแบบพรีเมียมกับการช็อปปิ้งแบบคุ้มค่าที่ลดชัดเจนน้อยลง แนวคิดบางข้อนี้จะเกิดเร็วขึ้นเป็นผลเนื่องจากโรคโควิด-19 อาทิ การนำระบบดิจิทัลมาใช้ และช่องทางการค้าปลีกที่เปลี่ยนไป โดยข้อมูลเหล่านี้เป็นผลการวิจัยของรายงาน Future of Consumption in Fast-Growth Consumer Markets: ASEAN 2030 ที่จัดทำโดย Bain & Company และ World Economic Forum

Zara Ingilizian ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภคและแพลตฟอร์มการอุปโภคบริโภคในอนาคต (Head of Consumer Industries and Future of Consumption Platform) จาก World Economic Forum กล่าวว่า "ขณะที่อาเซียนเดินหน้าต่อในฐานะหนึ่งในสภาพแวดล้อมการอุปโภคบริโภคที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุดในโลก ผู้นำในภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อรับประกันว่า การอุปโภคบริโภคดังกล่าวเป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบและทั่วถึง แม้ว่าเรากำลังเตรียมรับมือกับความท้าทายเฉพาะหน้าที่เกิดจากโรคโควิด-19 แต่ดิฉันก็มั่นใจว่า การคาดการณ์เชิงกลยุทธ์จากรายงานฉบับนี้จะมีส่วนสนับสนุนในการทำให้เกิดการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ และจะนำมาซึ่งอนาคตของอาเซียนที่มั่งคั่งในระยะยาว และสร้างผลประโยชน์ที่ยั่งยืนสำหรับทั้งภาคธุรกิจและสังคม"

เศรษฐกิจของอาเซียนมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก และคาดว่าจะมีการเติบโตในทศวรรษหน้าจนกลายเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก ซึ่งเป็นผลเนืองมาจากระดับรายได้เพิ่มขึ้น และคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ต่อหัวในระดับภูมิภาคจะเพิ่มขึ้น 4% ในแต่ละปี เป็นมูลค่าถึง 6,600 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 ซึ่งจะทำให้สินค้าหลายประเภทไปถึงจุดหักเหที่การอุปโภคบริโภคจะพุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คาดการณ์ได้ว่าการอุปโภคบริโภคในประเทศซึ่งขับเคลื่อน GDP ราว 60% ในขณะนี้จะเพิ่มขึ้น 2 เท่า เท่ากับมูลค่า 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

"ภายในทศวรรษหน้า อาเซียนจะมีผู้บริโภคใหม่ถึง 140 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 16% ของผู้บริโภคทั่วโลก โดยผู้บริโภคจำนวนมากจะทำการซื้อสินค้าออนไลน์เป็นครั้งแรก รวมถึงจะซื้อสินค้าหรูหราชิ้นแรกอีกด้วย" Praneeth Yendamuri พาร์ทเนอร์ของ Bain & Company และผู้ร่วมเขียนรายงานฉบับนี้ กล่าว "แต่เมื่อการเติบโตนี้ดำเนินต่อไป องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องจัดการกับวิกฤติเฉพาะหน้า ทั้งในด้านสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรมที่เกิดจากโรคโควิด รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤติดังกล่าวนี้"

การนำระบบดิจิทัลมาใช้อย่างรวดเร็วจะดำเนินต่อไปในอาเซียน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวได้รับการกระตุ้นโดยผู้บริโภคที่เติบโตในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล การลงทุนของนักลงทุนในนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัล โดยภายในปี 2030 จะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอาเซียนเกือบ 575 ล้านคน และระบบดิจิทัลจะปรากฏอยู่ในทุกพื้นที่ของการอุปโภคบริโภคในแต่ละวัน เมื่อระบบดิจิทัลเข้าไปถึงชุมชนในชนบทและชุมชนที่มีรายได้ต่ำ ระบบดังกล่าวก็จะช่วยกำจัดอุปสรรคที่ขัดขวางการเติบโตของธุรกิจขนาดเล็ก และทำให้ชุมชนสามารถเข้าถึงบริการพื้นฐาน อาทิ บริการด้านสาธารณสุข การศึกษา และบริการทางการเงินได้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการทำให้ชุมชนที่ด้อยโอกาสมีช่องทางในการเข้าถึงระบบดิจิทัลเพื่อรับข่าวสารเกี่ยวกับสาธารณสุขและสามารถสั่งซื้อสิ่งของที่จำเป็นต่าง ๆ ได้

ในขณะที่ภาพรวมด้านการอุปโภคบริโภคจะมีการพัฒนาในทศวรรษถัดไป ผู้นำในภาครัฐและเอกชนก็จะได้พบกับโอกาสและเผชิญความท้าทายต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น ในการปลดล็อกศักยภาพของภูมิภาคนี้ให้เต็มที่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำเป็นต้องเตรียมดำเนินการใน 5 ข้อดังต่อไปนี้:

  1. เตรียมพร้อมในด้านสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าจะฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  2. มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถและการมีส่วนร่วมทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยในช่วงทศวรรษหน้า ประชากร 40 ล้านคนในอาเซียนจะอยู่ในช่วงวัยทำงาน ขณะที่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจะส่งผลกระทบลักษณะและจำนวนตำแหน่งงาน โดยเด็กประมาณ 65% ที่จะเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาในปีนี้จะได้ทำงานที่ไม่มีปรากฏอยู่ในขณะนี้
  3. การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะทำให้มีการเปลี่ยนไปใช้บริการระบบอัตโนมัติอย่างรวดเร็วขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างงานใหม่ ลดช่องว่างด้านทักษะ และจัดหาช่องทางเข้าถึงการศึกษา บริการสาธารณสุข และโภชนาการที่ดี เพื่อรับรองว่าแรงงานในอนาคตจะมีขีดความสามารถในการแข่งขันและมีอนาคตที่มั่นคง
  4. ยกระดับโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการขยายตัวและพัฒนาให้กลายเป็นเมือง รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากร เนื่องจากทรัพยากรของอาเซียนจะต้องรับแรงกดดันจากอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  5. ผลักดันให้มีกฎระเบียบที่เปิดกว้างและครบวงจร โดยใช้แนวทางวิธีที่เน้นความสำคัญของท้องถิ่น เนื่องจากภูมิภาคอาเซียนจะได้รับประโยชน์จากการเชื่อมโยงและเชื่อมต่อระหว่างกันที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยการเคลื่อนไหวของสินค้าและบริการ การลงทุน ความรู้ และทุนมนุษย์ภายในภูมิภาคด้วยกันเอง

"พฤติกรรมของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2030 ผู้บริโภคที่เป็นชนชั้นกลางอายุน้อยซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองจะแสวงหาประสบการณ์ทางสังคมและในด้านอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของแต่ละบุคคลและคุ้มค่าต่อเงินที่ใช้จ่าย ไม่ว่าจะผ่านทางช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ก็ตาม" คุณ Yendamuri กล่าว "เราจะเห็นว่าแต่ละตลาดในอาเซียนมีการพัฒนาที่แตกต่างกัน และวิธีการแบบ 'Multi-local' นี้ก็จะมีความสำคัญต่อบริษัทต่าง ๆ ที่หวังจะประสบความสำเร็จในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายอย่างมากนี้"

Mayuri Ghosh จากแผนกกลยุทธ์และพันธมิตรความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ฝ่ายแพลตฟอร์มการอุปโภคบริโภคในอนาคต (Strategy & Public-Private Partnerships, Future of Consumption Platform) ของ World Economic Forum กล่าวว่า "ปี 2020 เป็นปีที่เต็มไปด้วยความท้าทายเพราะความไม่แน่นอนที่สืบเนื่องมาจากโรคโควิด-19 หากมองในด้านบวก อาเซียนกำลังอยู่ในจุดที่สำคัญทั้งในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาพลเมืองที่มุ่งเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และในระหว่างที่ความเติบโตของอาเซียนดำเนินไปในระยะยาว การเร่งประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนก็สามารถช่วยปลดล็อกศักยภาพทั้งหมดของภูมิภาค ให้อาเซียนกลายเป็นศูนย์กลางแห่งการค้าโลกและการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจได้"

ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และผู้กำหนดนโยบาย จะมีอิทธิพลมากขึ้นในตลาดในการนำอาเซียนไปสู่อนาคตแห่งการอุปโภคบริโภคที่ยั่งยืน แต่การบรรลุวิสัยทัศน์นี้ต้องใช้ความร่วมมือที่มุ่งมั่นของบรรดาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านทางรูปแบบธุรกิจเชิงนวัตกรรมและแบบมีส่วนร่วมที่ได้รับการสนับสนุนจากสภาวะด้านนโยบายที่เอื้ออำนวยโควิด-19 เป็นบททดสอบแรกจากหลาย ๆ บทที่จะเพิ่มความไม่แน่นอนและเผยให้เห็นจุดอ่อนที่ต้องได้รับการแก้ไข พันธมิตรความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปลดล็อกศักยภาพทั้งหมดของภูมิภาค และเป็นเกราะป้องกันของอาเซียนตลอดการเติบโตในฐานะหนึ่งในตลาดอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวเร็วที่สุด 3 อันดับแรกของโลก

เมืองหวายอัน (Huai'an city) ในมณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน

"เครือข่ายการศึกษาไมซ์ภาคเหนือ" คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์

X

Right Click

No right click