November 23, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมนานาชาติ KMITL ยึดคีย์หลัก Transformation ของธุรกิจรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

December 15, 2017 5987

ดร. สิงหะ ฉวีสุข รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและสถานที่ และประธานบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม (นานาชาติ)

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร MBA ถึงหลักสูตรบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมนานาชาติ ของ MBA KMITL ที่เปิดขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาว่า เพื่อรองรับกับเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม อันเป็นเทรนด์สำคัญของเศรษฐกิจไทยในยุคนี้ ซึ่งจุดเด่นของหลักสูตร MBA KMITL เป็นที่ทราบกันดีว่า มีความเข้มแข็งในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผนวกกับอัตลักษณ์ของ KMITL คือ “ซื่อสัตย์ ใฝ่รู้ สู้งาน” สอดคล้องกับการรองรับไทยแลนด์ 4.0 ในด้านของการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษานำร่องรุ่นแรก ที่กำลังจะจบการศึกษาในปีนี้ ทางสถาบันให้ความสำคัญกับการสร้างทัศนคติและแนวคิด ให้นักศึกษามีทักษะและความสามารถพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งสำคัญ 

 

ในด้านของการออกแบบหลักสูตรสาขาวิชา มาจากการจำลองรูปแบบธุรกิจไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้คีย์เวิร์ด Transformation ของธุรกิจต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของธุรกิจที่พึ่งพิงมาจากเศรษฐกิจแบบเดิมแล้วนำมาประยุกต์ ด้วยระบบ IT หรือเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับทุกๆ กระบวนการของการบริหารจัดการธุรกิจ

 

“เรื่องของการ Transform เราสามารถมองตั้งแต่ มนุษย์กับเทคโนโลยี เราต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีให้ถูกต้อง มนุษย์กับมนุษย์ ทำอย่างไรให้มนุษย์อยู่ได้ และมนุษย์กับสภาพแวดล้อม เรื่องของการอยู่รอดอย่างยั่งยืน Sustainable ทำธุรกิจให้ถูกต้อง ไม่ทำร้ายใคร ทั้งหมดปลูกฝังไปสู่นักศึกษาเรื่องของการประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ ต่อเนื่องมาที่เรื่อง Creativity เราจะสอนว่าถ้ามีแต่ความรู้ แต่ไม่คิดทำอะไรต่อ ไม่สร้างนวัตกรรม คุณก็จะถอยหลัง จึงมาสู่คำว่า ใฝ่รู้ และเมื่อคุณตัดสินใจเดินหน้าต่อ มาสู่คำว่า สู้งาน”

 

ในอนาคตอันใกล้นี้ บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมนานาชาติ กำลังอยู่ระหว่างจัดเตรียมหลักสูตรทั้งปริญญาตรี โท และเอก เพื่อสร้างกลุ่มคนมาตอบรับอุตสาหกรรมไทยแลนด์ 4.0 ให้ครบวงจร ตาม 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเสาหลักของรัฐบาล โดยในระดับปริญญาตรีหลักสูตรปกติพร้อมเปิดรับในปี 2562 ซึ่งหากมองจากดีมานด์ของตลาดอุตสาหกรรมในประเทศแล้วนั้น อีกประมาณ 50% ยังอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 จึงต้องเตรียมความพร้อมนักศึกษา เพื่อเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีความพร้อมที่จะเข้าไปทำงานในองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงตามยุค 4.0 ได้อย่างทันท่วงทีกับสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคนี้

 

ดร. สิงหะ ฉวีสุข  สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม (นานาชาติ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

 

ดร.สิงหะกล่าวว่า การสร้างความเข้าใจให้นักศึกษาเล็งเห็นว่า หลักสูตรการเรียนที่มีการปรับเพื่อให้สอดรับนโยบายของรัฐบาล ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างโอกาสในการก้าวสู่การทำงานในธุรกิจเสาหลักในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลมีการส่งเสริมให้เติบโตไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทย โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจในรูปแบบของ Business Transformation ที่เชื่อมโยงถึง Digital Economy การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการนำไอทีหรือเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มผลงาน ซึ่งมีการพูดถึงอยู่เสมอ ดังนั้นการนำคำว่า Digital เข้ามาจึงเปรียบเสมือนการเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจเข้าสู่สิ่งที่เป็น Digital คือ Digital Transformationเมื่อเราพูดถึงพื้นฐานการทำธุรกิจทั่วไป นอกจากจะต้องมีทักษะต่างๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีความรู้ (Knowledge) ซึ่งมีความแตกต่างในแต่ละยุคสมัย ยกตัวอย่างของความรู้ที่มีความจำเป็นในอดีต เมื่อมาถึงในยุคปัจจุบันนั้นก็เปลี่ยนแปลงไป สิ่งเหล่านี้คือประเด็นหลักที่นักศึกษาต้องกลั่นความคิดออกมาให้ได้ นั่นคือต้องมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) คือ ความสามารถในการสร้าง หยิบมาจากสิ่งที่พบเห็น ดึงมาใช้ และการนำมาใช้ได้ จำเป็นต้องมีการคิดวิเคราะห์ (Analytical Skill) เป็นพื้นฐานที่สำคัญ อีกทักษะที่เข้ามามีบทบาทสำคัญมากของหลักสูตร MBA คือการสื่อสาร (Communication) เพราะต้องทำงานร่วมกับผู้คนเป็นจำนวนมาก การคิดวิเคราะห์และการสื่อสารจะนำมาซึ่งการสร้าง Creativity ที่นำมาใช้ได้ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนสร้าง Innovation และประยุกต์ใช้ Technology เป็น ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้สอดรับกับไทยแลนด์ 4.0 และหนึ่งในเสาหลักของนโยบายรัฐบาลที่ชูเรื่องของ IoT (Internet of Things) ซึ่งเชื่อมโยงทุกสิ่งเข้าด้วยกันและมีลักษณะเป็นเครือข่าย (Network) ที่นักศึกษาจะต้องเห็นภาพรวมทั้งหมดก่อน จึงจะเข้าใจได้ถึงการเตรียมความพร้อมและการเปลี่ยนแปลง

 

ดร. สิงหะ ทิ้งท้ายว่าการก้าวเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องมีเครื่องมือ (Tools) และใช้เครื่องมือให้เป็น ซึ่งหลักสูตร MBA ของ KMITL เน้นเรื่องของการใช้เทคโนโลยี ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจุดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความเข้มแข็ง ซึ่งแนวทางการเตรียมความพร้อมที่กล่าวมายังสอดรับกับ Education 4.0 ซึ่งเราต้องโฟกัสตั้งแต่ขั้นแรกที่การศึกษาคือหลักสูตร และขั้นที่สองคือการวิจัย นำไปสู่สิ่งที่คณะฯ สนับสนุนให้นักศึกษาเป็นคือ Smart People สำหรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 นั้น เราสนับสนุนตั้งแต่ Smart Industry เพราะอุตสาหกรรมที่มีความฉลาด มาจาก Creativity, Innovation และ Technology จึงสรุปได้ว่าการที่เราจะก้าวไปสู่จุดหมายของการเป็น Smart Industry ได้นั้น จะต้องพึ่งพา Smart People เพื่อขับเคลื่อนนั่นเอง

 

เรื่องและภาพ : กองบรรณาธิการ

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Friday, 08 July 2022 11:46
X

Right Click

No right click