December 13, 2024

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกรมประมง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วย การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ โดยลงนามระหว่าง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายเฉลิมชัย  สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง  ทั้งนี้มี ผู้บริหาร ทั้งสองหน่วยงานร่วมงานจำนวนมาก ณ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการ  การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ภายใต้ขอบเขตและแนวทางที่จะดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งการบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ ได้กำหนดให้มีระยะเวลาในการดำเนินการร่วมกัน 4 ปี นับจากวันลงนาม เพื่อพัฒนาทางวิชาการร่วมกันด้านวิชาการประมง เป็นประโยชน์ด้านวิชาการ การวิจัย การศึกษา และการพัฒนาบุคลากร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพภาคประมงให้มีความเข้มแข็งและสร้างประโยชน์สู่เกษตรกรของประเทศ

ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณ กรมประมง ที่ให้เกียรติมาร่วมสร้างความร่วมมือนี้กับ และหวังว่าผลงานจากการขับเคลื่อนภายใต้บันทึกความร่วมมือฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทั้งสองฝ่าย โดยแบ่งปันทรัพยากรทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย บุคลากร นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ วัสดุอุปกรณ์ และข้อมูลด้านการประมงซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร และเป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำหน้าที่รับใช้สังคม ซึ่งเป็นไปตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการอุทิศเพื่อสังคม

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงในฐานะหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้า การสร้างความร่วมมือกับวิจัยวิชาการกับหน่วยงานทางการศึกษาที่จะสามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้ รวมถึงเป็นแหล่งบริการวิชาการที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมให้ภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถขยายความร่วมมือในภูมิภาคอื่น ๆ จนทั่วทั้งประเทศได้อีกกรมประมงก็ยินดีอย่างยิ่ง เพื่อหาแนวทางพัฒนาการประมง การวิจัย วิชาการ และการพัฒนาบุคลากรทั้งสองฝ่าย ยกระดับการประมงไทยให้แข่งขันได้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างสมดุล พร้อมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างความมั่งคั่งแก่เกษตรกร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพิ่มศักยภาพภาคประมงของประเทศไทยต่อไป

ผนึกพลัง “สกพอ.-หอการค้าไทย-สภาอุตสาหกรรม” ลงนาม MoU เติมเต็มองค์ความรู้ด้านประกันภัยแบบครบวงจร

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ เจริญไพฑูรย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ฝ่ายความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมการปกครอง ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ว่าด้วยการบูรณาการส่งเสริมความรู้การประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระหว่างกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยมีคณะผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงานและสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างสำนักงาน คปภ. และกรมการปกครอง ในครั้งนี้ มีความประสงค์หลัก ๆ คือ การประสานความร่วมมือเพื่อรณรงค์และให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ในการส่งเสริมการจัดทำประกันภัย และการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการประกันภัย พ.ร.บ. และการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูล และแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน โดยใช้กลไกของหน่วยงานระดับพื้นที่ในส่วนภูมิภาค ร่วมกันขับเคลื่อนและรณรงค์ให้ประชาชนเจ้าของรถตระหนักถึงความสำคัญในการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. และรับรู้ถึงหน้าที่และสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. อย่างทั่วถึงและมีการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการนำระบบประกันภัยเข้าไปเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ จากการรวบรวมสถิติข้อมูลรถจดทะเบียนสะสมของกรมการขนส่งทางบก และข้อมูลการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ที่มีผลใช้บังคับ ในปี 2565 พบว่า การจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับรถยนต์ มีสัดส่วนร้อยละ 90 ส่วนการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับรถจักรยานยนต์ มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 64 ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนที่ต่ำ ดังนั้นเมื่อมีประชาชนไม่จัดทำประกันภัย พ.ร.บ. เป็นจำนวนมาก ย่อมส่งผลให้ประชาชนเสียสิทธิประโยชน์ในการได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ด้วยเช่นกัน โดยผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่ได้ทำประกันภัย พ.ร.บ. ก็จะมาขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน คปภ. ที่มีภารกิจในการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่ได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งปัจจุบันกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมีแนวโน้มการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นที่เพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2565 กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถเป็นจำนวน 8,024 ราย รวมเป็นจำนวนเงินกว่า 157 ล้านบาท

นอกจากนี้ ในการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย พบว่า จะมีการเรียกร้องจากกรณีรถไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ. กว่าร้อยละ 80 ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการบูรณาการร่วมกับกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ในครั้งนี้  ซึ่งกรมการปกครองมีบุคลากรเป็นจำนวนมากที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ รวมถึงให้การสนับสนุน ส่งเสริม อำนวยความสะดวก และอบรมชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่มีส่วนช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนได้รับความคุ้มครองและมีความปลอดภัย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับภารกิจของสำนักงาน คปภ. โดยเฉพาะการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านประกันภัย พ.ร.บ. ให้แก่ประชาชนอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและทั่วถึง

ด้าน นายสมศักดิ์ เจริญไพฑูรย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ฝ่ายความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การลงนามในบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีในการเริ่มต้นความร่วมมือและการบูรณาการระหว่างกรมการปกครอง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยที่ผ่านมากรมการปกครองตระหนักและให้ความสำคัญกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุจาการใช้รถใช้ถนนของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และสอดรับกับภารกิจของกรมการปกครองในการประสานความร่วมมือกับ สำนักงาน คปภ. เพื่อให้การสนับสนุน อำนวยความสะดวกด้านการเชื่อมโยงข้อมูลงานด้านทะเบียนราษฎร และใช้กลไกหน่วยงานปกครองในระดับพื้นที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นต้น ในการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัย พ.ร.บ. และให้บุคลากรของหน่วยงานปกครองในระดับพื้นที่เข้ารับการอบรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัย พ.ร.บ. ตลอดจนมีการสำรวจการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ของรถในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเจ้าของรถทุกคันตระหนักถึงความสำคัญในการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. และรับรู้ถึงหน้าที่และสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. อย่างทั่วถึง รวมถึงรณรงค์เพื่อให้ประชาชนมีการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายเมื่อมีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำประกันภัย พ.ร.บ. มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน โดยจะได้รับความคุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย อันเนื่องมาจากการประสบภัยจากรถ โดยผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเพื่อเยียวยาความเสียหายอย่างทันท่วงทีและไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิด รวมถึงค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย  โดยความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. จะแบ่งเป็น 2 ส่วน หลัก ๆ คือ ส่วนแรก ค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นการจ่ายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด โดยจ่ายให้กับผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ซึ่งจ่ายภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน โดยจ่ายเป็น ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน 30,000 บาท ค่าปลงศพหรือค่าชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะ รายละ 35,000 บาท  รวมทั้ง กรณีที่ได้รับบาดเจ็บและต่อมาเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะจะได้รับสูงสุดไม่เกินรายละ 65,000 บาท

ส่วนที่ 2 ค่าสินไหมทดแทน (ค่าเสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น) จ่ายให้ผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่ได้เป็นฝ่ายก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งจะต้องมีการพิสูจน์ความรับผิดแล้ว โดยจ่ายกรณีบาดเจ็บจะได้รับความคุ้มครองสูงสุดตามกรมธรรม์ฯ ไม่เกิน 80,000 บาท (รวมค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว) กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ตั้งแต่ 200,000 – 500,000 บาท แล้วแต่กรณี (รวมค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว) กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท (รวมค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว) และหากเข้ารักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล จะได้รับค่าชดเชยรายวันอีกวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วันอีกด้วย

“การลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน คปภ. กับ กรมการปกครอง ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญอย่างยิ่งในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดในการเสริมสร้างความรู้และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย พ.ร.บ. ของประชาชนเจ้าของรถในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานสักขีพยานและกล่าวแสดงความยินดีในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกับสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แห่งชาติจีน คณะกรรมการเทศบาลเมืองเซินเจิ้น(CCPIT Shenzhen) ร่วมกับนายหวัง ลี่ผิง อัครราชทูต(ที่ปรึกษา) ฝ่ายการพาณิชย์ของจีน ที่ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์

โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า เป็นนโยบายที่ตนมอบให้กับกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการตลอดช่วง 4 ปี ที่รัฐบาลนี้มาบริหารแผ่นดิน วันนี้มี FTA ทั้งหมด 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ และ mini FTA 6 ฉบับ ประกอบด้วย โคฟุ ปูซาน คยองกี เตลังกานา และของจีน 2 ฉบับ คือ ไห่หนานและกานซู่ ที่จะลงนามวันนี้กับเซินเจิ้นเป็นฉบับที่ 7  และถัดจากนี้ยังมีกับยูนนาน และที่กำลังจะประสบความสำเร็จคือ 5 รัฐของอินเดีย รวมกับสหราชอาณาจักรและปากีสถาน ถ้าประสบความสำเร็จจะเข้ามาช่วยเสริม FTA ในเชิงลึก

นโยบายที่ตนมอบให้กระทรวงพาณิชย์คือความร่วมมือเขตเสรีทางการค้าฉบับใหญ่หรือ FTA ไม่พอ เป็นภาพกว้าง ภาพรวม ถึงเวลาที่เราต้องใช้นโยบายเชิงลึก เชิงรุกทำการค้าการลงทุนร่วมกัน ลงลึกรายมณฑล รายรัฐ เพราะบางรัฐบางประเทศใหญ่กว่าประเทศไทยและบางมณฑลของจีนจีดีพีมากกว่าประเทศไทย และเซินเจิ้นมีจีดีพีเกือบเท่าไทย จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนที่เป็นรูปธรรมที่สุดรูปแบบหนึ่ง ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สุดของทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งไทยและเซินเจิ้น เซินเจิ้นเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของจีน รองจากเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง เป็นเมืองยุทธศาสตร์เชื่อมมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า เป็นศูนย์รวมเศรษฐกิจด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจีน (Greater Bay Area) เป็นที่รวมของธุรกิจใหม่ ที่รวมของนวัตกรรม เทคโนโลยีและเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของจีน จะมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันได้มหาศาลในอนาคต

“ปี 2565 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับเซินเจิ้น มีมูลค่า 868,000 ล้านบาท ตั้งเป้าร่วมกันหลังมี mini FTA ภายใน 2 ปีที่ (2566-2567)จะทำให้มูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5% ตั้งเป้าเพิ่มอีก 43,000 ล้านบาท ในปี 66 และ 130,000 ล้านบาท ในปี 67 จะเป็นกลไกสำคัญเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรม ผลักดันเศรษฐกิจของไทยและจีนให้เจริญก้าวหน้าสืบไป” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว

โดยภายในงานเป็นการลงนามระหว่างอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(นายภูสติ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) กับประธานสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แห่งชาติจีน คณะกรรมการเทศบาลเมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน(นายกู้ ตงจง) ซึ่งมีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ และตัวแทนภาครัฐและเอกชนทั้งไทยและจีนให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

แวนเทจ (หรือ แวนเทจ มาร์เก็ตส์) โบรกเกอร์ซื้อขายสินทรัพย์หลากหลายประเภทสำหรับนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนมืออาชีพ

X

Right Click

No right click