December 13, 2024

ศึกษาความเป็นไปได้ใช้พลังงานเย็นจากกระบวนการแปรสภาพก๊าซ LNG และสำรวจแหล่งพลังงานทางเลือกอื่น ๆ

ซันโกรว์ (Sungrow) ซัพพลายเออร์ชั้นนำระดับโลกด้านอินเวอร์เตอร์และระบบกักเก็บพลังงาน และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (กฟภ.) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านธุรกิจระบบกักเก็บพลังงานและไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นผู้กำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด เพื่อสร้างหลักประกันถึงความปลอดภัยและเสถียรภาพของโครงข่ายไฟฟ้าทั่วไทย ทั้งยังนำพาตลาดของไทยไปแสวงหาโอกาสทางนวัตกรรมใหม่ ๆ การลงนามในบันทึกความเข้าใจกับซันโกรว์จะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีพื้นที่ในการสร้างความร่วมมือที่หลากหลายและลึกซึ้งมากขึ้น ทั้งในด้านการกักเก็บพลังงาน ไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตราสารหนี้สีเขียว และบล็อกเชน ความร่วมมืออย่างลึกซึ้งครั้งนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของทั้ง 2 ฝ่ายที่ต้องการร่วมกันสร้างสังคมคาร์บอนต่ำสำหรับประเทศไทย รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ความร่วมมือที่เกิดขึ้นยังเป็นการส่งสัญญาณถึงความต้องการด้านพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น เช่น ระบบกักเก็บพลังงานและไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงออกถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่พร้อมเดินหน้าบรรลุเป้าหมายสิ่งแวดล้อมคาร์บอนต่ำในประเทศไทย สำหรับการลงนามใน MOU ครั้งนี้ ซันโกรว์จะใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ในการคิดค้นและบ่มเพาะโครงการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับอุตสาหกรรมในอนาคตอันใกล้

ซันโกรว์ยกให้ประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญ และได้ติดตั้งอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมกว่า 1 กิกะวัตต์ รวมถึงระบบกักเก็บพลังงานกว่า 140 เมกะวัตต์-ชั่วโมงในไทย อินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานชั้นนำของอุตสาหกรรมนี้ ได้รับการนำไปใช้ในโครงการ RE ที่สำคัญมากมาย ซึ่งเร่งให้คนไทยหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนกันรวดเร็วกว่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ณ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ หรือใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซันโกรว์และซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี (Super Energy) ยังเคยร่วมงานกันในปี 2564 กับหนึ่งในโครงการระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขนาด 136.24 เมกะวัตต์ชั่วโมง ล่าสุดนั้น ทางบริษัทยังได้จัดหาโครงการกักเก็บพลังงานขนาด 6.19 เมกะวัตต์ชั่วโมงให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วย

คุณสตีเวน จู (Steven Zhu) ผู้จัดการประจำประเทศของซันโกรว์ ไทยแลนด์ (Sungrow Thailand) กล่าวว่า "เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้สร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับกฟภ. และร่วมกันสำรวจโอกาสใหม่ ๆ ด้วยการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกัน ซันโกรว์วางกลยุทธ์ในตลาดไทยมาหลายปี และเดินหน้าพัฒนา RE ของไทยอย่างต่อเนื่องด้วยโซลูชันขั้นสูง เรามั่นใจว่าจะสานต่อการเดินหน้าด้านนวัตกรรม เพื่อเร่งการพัฒนา RE ของประเทศไทยต่อไป"

นายสมปอง ดำรงอ่องตระกูล รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (กฟภ.) กล่าวว่า "ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังจับกระแสการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Solar PV + BESS) และแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ เพิ่มเติมด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ซันโกรว์มีชื่อเสียงในด้านนวัตกรรมที่สอดคล้องกัน รวมถึงจิตวิญญาณแห่งการบุกเบิก นอกจากนี้ บริษัทยังประสบความสำเร็จในโครงการ RE ที่สำคัญในท้องถิ่น เรารู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับซันโกรว์ และได้มีส่วนร่วมในการช่วยให้ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าถึงสภาพแวดล้อมที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์"

 

นายนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างเอสซีจี พร้อมด้วย นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการธุรกิจ การไฟฟ้านครหลวง

บริษัท วิโนน่า เฟมินิน จำกัด ย้ำจุดยืนผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของไทย ผนึกกำลังร่วมกับ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ลงนามสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอนุญาตให้ใช้สิทธิ ผลงานเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาสายพันธุ์ของ รองศาสตราจาร์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ และคณะนักวิจัย เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ กระตุ้นการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกไทย ลดการนำเข้าโพรไบโอติกจากต่างประเทศ และเพิ่ม GDP ให้ประเทศไทยได้ดุลการค้าจากโพรไบโอติกสู่การต่อยอดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยสร้างสมดุลสุขภาพของคนไทย และลดภาระค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลในอนาคต

นางนพรัตน์ สุขสราญฤดี ผู้ก่อตั้ง บริษัท วิโนน่า เฟมินิน จำกัด กล่าวว่า “จากความร่วมมือในการลงนามสัญญากับทาง มศว เพื่อใช้สิทธิข้อมูลเทคโนโลยี จุลินทรีย์โพรไบโอติก (probiotics) สายพันธุ์ Lactobacillus paracasei MSMC 39-1 ซึ่งเป็นผลงานจากคณะนักวิจัยของ มศว ในปีที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์วิโนน่า และได้มีการเปิดตัวพร้อมวางจำหน่ายไปเมื่อเดือน พ.ค. 2565 นับว่าประสบความสำเร็จและได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยมจากผู้บริโภคเนื่องจากผลลัพธ์จากการบริโภคที่เห็นผลในแง่ของสุขภาพที่ดีขึ้นในหลายระบบโดยไม่ต้องใช้ยา อาทิเช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ต้านอักเสบ ปรับภูมิคุ้มกัน ลดสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น ทำให้เราเชื่อมั่นต่อความสามารถของนักวิจัยไทย และเชื่อมั่นในคุณภาพของจุลินทรีย์ โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย ในโอกาสนี้ วิโนน่า ในฐานะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ยังคงมีเจตนารมณ์ร่วมกับคณะนักวิจัยของ มศว ที่อยากเห็นคนไทย มีสุขภาพร่างกายที่สมดุล สมบูรณ์แข็งแรง ด้วยการบริโภคจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงเกิดความร่วมมือครั้งใหม่ในการลงนามเพื่อรับไลเซนส์ เพื่อใช้ผลงานจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะช่วยสร้างสมดุลแก่สุขภาพในระยะยาวแก่ผู้บริโภค ตามเจตนารมณ์ของแบรนด์วิโนน่า ที่อยากช่วยให้คนไทยหลีกเลี่ยงการพึ่งพายา และสารเคมีเข้าในร่างกาย และลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโรคในบั้นปลาย ซึ่งการดูแลสุขภาพองค์รวมด้วยสารอาหารตามธรรมชาติเช่นนี้ จะเป็นการรักษาสุขภาพอย่างยั่งยืนและทำให้ผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่ต้องพึ่งพายาและสารเคมีเกินความจำเป็น”

รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยว่า “ความร่วมมือครั้งนี้ บริษัท วิโนน่า เฟมินิน จำกัด ในฐานะพันธมิตรจากภาคเอกชน ได้เข้ามาร่วมมือกับ มศว ในการลงนามสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอนุญาตให้ใช้สิทธิ ผลงานเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 โดย มศว มีนโยบายการส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม อันเกิดจากองค์ความรู้ที่มีประโยชน์โดยการพัฒนาและทดลองของคณะนักวิจัย ซึ่งการเข้ามามีบทบาทของภาคเอกชน จะเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญที่ทำให้องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนั้น ไม่สิ้นสุดเพียงแค่เป็นผลงานวิจัย เพราะด้วยศักยภาพด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม และกลยุทธ์ทางการตลาดของภาคเอกชนนั้น จะช่วยผลักดันให้งานวิจัยขยายสู่ความเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้และมีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ จากผลงานวิจัยจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถไปถึงมือผู้บริโภค ยิ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และเป็นการขยายขีดความสามารถในแข่งขันแก่สถาบันระดับอุดมศึกษาและในภาคอุตสาหกรรมของประเทศอีกด้วย”

รองศาสตราจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะเจ้าของผลงานวิจัยเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก กล่าวว่า “เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 เป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยที่มีการพิสูจน์คุณสมบัติแล้วว่าเป็นโพรไบโอติกที่ดี และอยู่ในการอนุญาตขององค์การอาหารและยา (อย. ) ซึ่งผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาที่ได้มาตรฐานเพื่อหาข้อพิสูจน์ว่ามีคุณสมบัติจำเพาะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย แม้จะพบว่ามีคุณสมบัติเด่นในการลดไขมันและคอเลสเตอรอล แต่สามารถกล่าวได้ว่าเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์นี้ เป็นสายพันธุ์ที่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยนั้น สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องกังวลถึงผลข้างเคียง เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ โพรไบโอติก ไม่ใช่ยาหรือสารเคมี หากแต่เป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ในร่างกายของคนเรา หากบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อเติมสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพองค์รวม”

นางนพรัตน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ด้วยเทรนด์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน ทำให้ในภาคอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของไทย มีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ที่สนใจในการนำจุลินทรีย์โพรไบโอติกมาพัฒนาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การสนับสนุนผลงานของนักวิจัยไทย ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเชื้อจุลินทรีย์ โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย นอกจากจะช่วยเพิ่มดุลการค้าและลดความสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการนำเข้าสายพันธุ์หรือผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกจากต่างประเทศ

ในขณะที่จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย มีการคัดแยก พัฒนา และทดสอบกับกลุ่มประชาการไทย จึงมีความคุ้นเคยกับคนไทยมากกว่า ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่า ผลงานวิจัยเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย มีศักยภาพและขีดความสามารถเพียงพอที่จะแข่งขันกับผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ และยังสามารถนำสายพันธุ์ของเราขยายตลาดไปยังกลุ่มเอเซียแปซิฟิก ได้อย่างแน่นอน”

กรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ ลาซาด้า ประเทศไทย

X

Right Click

No right click