December 13, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 807

บริษัท โกลบอล เอ็กซิบิชั่น แอนด์ คอนเวนชั่น เซอร์วิส จำกัด หรือ GECS ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ มช. จัดงานนวัตกรรมเกษตรแห่งเอเชีย หรือ AGRI-INNO ASIA 2019 ระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เชียงใหม่ 

นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โกลบอล เอ็กซิบิชั่น แอนด์ คอนเวนชั่น เซอร์วิส จำกัด หรือ GECS และ รศ.ดร.ณัฐา โพธาภรณ์ คณบดี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ลงนามความร่วมมือจัดงาน AGRI-INNO ASIA 2019 เพื่อแสดงศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยีเกษตรแห่งเอเชีย ท่ามกลางสักขีพยาน สถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย สมาคมผู้ค้าอุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ไทย และบริษัท เทวดา คอร์ป จำกัด

 

นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โกลบอล เอ็กซิบิชั่น แอนด์ คอนเวนชั่น เซอร์วิส จำกัด บริษัทชั้นนำด้านการจัดงานแสดงสินค้า การประชุม และสัมมนาในกลุ่มประเทศ CLMV เปิดเผยว่า งาน AGRI-INNO ASIA 2019 เป็นงานแสดงสินค้า บริการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำ อาทิ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเตรียมพื้นที่ การเพาะปลูก จนถึงปลายน้ำ การแปรรูป การตลาด การขนส่ง จนเป็น อาหารที่มีคุณภาพเสิร์ฟบนจานของผู้บริโภค รวมทั้งให้บริการจับคู่ธุรกิจ การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ และกิจกรรมเยี่ยมชมฟาร์มสาธิต โดยจัดร่วมกับงานเกษตรภาคเหนือ ครั้งที่ 9 ครอบคลุมพื้นที่กว่า 60,000 ตารางเมตร ภายในศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ตลอดระยะเวลาการจัดงาน 5 วัน วันที่ 7-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562  คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานประมาณ 80,000 คน จากประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม จีน และไทย

 

รศ.ดร.ณัฐา โพธาภรณ์ คณบดี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงการร่วมจัดงานครั้งนี้ว่า เป็นการเสริมศักยภาพการจัดงานเกษตรภาคเหนือ ครั้งที่ 9 ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านวิชาการและด้านพัฒนาภาคธุรกิจ ขณะเดียวกัน เป็นการเฉลิมฉลองในวาระที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครบรอบ 55 ปี โดยมีเป้าหมายสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์ การผลิตด้านการเกษตร การพัฒนาเกษตรที่สูง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ธุรกิจเกษตร การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับนักเรียน นักศึกษา เกษตรกร นักวิชาการและประชาชนทั่วไป

 

นายศราวุธ ฉันทจิตปรีชา นักวิชาการเกษตร สถานเอกอัคราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย กล่าวถึงอนาคตแห่งนวัตกรรมการเกษตรและอาหารว่า “จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารจากการผลิตภาคการเกษตรก็เพิ่มขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด ดังนั้น นวัตกรรมการเกษตรที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์ (Ecologically Oriented Innovation Agriculture) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเลือกนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับฟาร์ม พื้นที่ ชนิดของพืชสัตว์ ทั้งนี้ เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีการพัฒนาเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรอย่างต่อเนื่อง อาจเรียกได้ว่าเป็นต้นแบบในเรื่องของการเกษตรแห่งอนาคต (Homebased for Future Agriculture) ยินดีให้การสนับสนุน งาน AGRI-INNO ASIA 2019 เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรมการเกษตรสำหรับเกษตรกรและผู้สนใจในเขตภาคเหนือของไทยตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาภาคการเกษตรของไทยให้สามารถผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน

 

นายธีรพงษ์ กาญจนกันติกุล บริษัท เทวดา คอร์ป จํากัด กล่าวถึงความสำคัญของนวัตกรรมต่อภาคการเกษตรว่า “การนำนวัตกรรมมาใช้ในภาคเกษตรกรรมของไทยเป็นสิ่งจำเป็นมากในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดรน ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องแรงงานขาดแคลน ลดต้นทุนในการใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ อาทิ ใช้หว่านเมล็ดพันธุ์ ฉีดพ่นปุ๋ย สารกำจัดวัชพืช รวมทั้ง ยังช่วยในการสำรวจพื้นที่เพาะปลูก ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการแปลงปลูกได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ปัจจุบัน โดรน มีต้นทุนเฉลี่ยเพียง 80-100 บาทต่อไร่ และยังช่วยลดปริมาณการปุ๋ยหรือสารกำจัดวัชพืชลง เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการฉีดพ่น และขจัดปัญหาการเหยียบย่ำทำลายพืชปลูกได้ดีมากกว่าแรงงงานมนุษย์”

 

นายแดงน้อย พหลทัพ ประธานสมาคมผู้ค้าอุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ไทย กล่าวเสริมว่า “นอกจากปัญหาแรงงานแล้ว เกษตรกรยังมีปัญหาเรื่องหนี้สิน เงินทุน ขาดความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยี โรคระบาดในฟาร์มปศุสัตว์ และพื้นที่ฟาร์มขนาดใหญ่ลดลง เพราะการเติบโตของชุมชน อาจทำให้เกิดความขัดแย้ง ส่งผลให้ต้องย้ายฟาร์มออกไปไกลขึ้น กระทบต่อต้นทุนการผลิตในที่สุด ดังนั้น แนวทางสำคัญในการจัดการปัญหาคือ การนำระบบ จัดเก็บข้อมูลและบริหารต้นทุน เพื่อบริหารจัดการฟาร์มและขนส่ง ควบคู่ไปกับ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีการเลี้ยงเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของปศุสัตว์ ช่วยให้เกษตรกรสามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืน”

 

นายสราญโรจน์ สุทัศน์ชูโต ผู้อํานวยการฝ่ายส่งเสริมตลาดในประเทศ สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. กล่าวว่า งาน AGRI-INNO ASIA 2019 เป็นเวทีของการแสดงสินค้าและบริการสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร การแปรรูป และการตลาดอย่างครบวงจร เปิดโอกาสทางการค้าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในภาคการเกษตรและอาหาร ขณะเดียวกันเป็นช่องทางที่ทำให้นักเดินทางกลุ่มไมซ์ได้เข้ามาสัมผัสมาตรฐานการผลิต บริการและศักยภาพความพร้อมของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2562 สสปน. ตั้งเป้าดึงนักเดินทางกลุ่มไมซ์ รวมทั้งสิ้นประมาณ 35 ล้านราย และสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศประมาณ 2.2 แสนล้านบาท คาดเป็นกลุ่มไมซ์ต่างประเทศ 1.3 ล้านราย สร้างรายได้ให้ประเทศประมาณ 1 แสนล้านบาท และกลุ่มไมซ์ในประเทศ 34 ล้านราย สร้างรายได้ให้ประเทศประมาณ 1.2 แสนล้านบาท

“การจัดงาน AGRI-INNO ASIA 2019  จะช่วยผลักดันภาคเกษตรกรรมด้วยนวัตกรรม ให้เกษตรกรมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ รวมทั้ง ต้นทุนการผลิตลดลง สร้างผลกำไรได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน เป็นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารของไทย ให้สามารถเติบโตในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน” นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ กล่าวสรุป

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมออกร้านหรือเข้าร่วมชมงาน สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ 02-026-3583 อีเมล  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือเว็บไซต์ https://www.agri-asia.com/

รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตสกลนคร ตัวแทน ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ลงนามความร่วมมือกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก​ โดยนายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แผนไทยร่วมกันสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อวิจัยและพัฒนาพืชกัญชาเพื่อประโยชน์ทางราชการ การแพทย์หรือการรักษาผู้ป่วยภายใต้กรอบและเงื่อนไขที่ถูกต้องและเป็นไปตามกฏหมาย เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและผู้ป่วย

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและประธานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เห็นชอบรับร่างระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ อนุมัติงบ 15,000 ล้านบาท และมอบหมายให้ สทบ. ไปประสานกับกระทรวงการคลังและสถาบันการเงินของรัฐเพื่อจัดทำแนวทางการแก้หนี้นอกระบบ

นายนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (สทบ.) เปิดเผยว่า เบื้องต้นจะให้กองทุนหมู่บ้านเข้าไปซื้อหนี้นอกระบบเข้ามา แล้วเข้าไปเป็นเจ้าหนี้แทนโดยจะใช้เงินจากวงเงิน 40,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 5% ต่อปี ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปล่อยสินเชื่อให้กองทุนหมู่บ้าน

ขณะนี้ใช้ไปแล้วประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ยังเหลือวงเงินอยู่ 2.5 หมื่นล้านบาท ที่สามารถนำมาดำเนินการได้ ทั้งนี้ อาจมีการแสดงความกังวลว่าแนวทางนี้จะสร้างปัญหาให้กองทุนหมู่บ้านฯ หรือไม่ ซึ่งยืนยันว่าโดยหลักการแล้ว สทบ. จะต้องดูแลให้กองทุนหมู่บ้านฯ ให้พัฒนาตัวเองให้พร้อมก่อนแล้วค่อยจะเข้าไปดูแลเรื่องนี้

นอกจากนี้ นายสุวิทย์ ยังให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) หาแนวทางในการพัฒนาผู้ตรวจสอบบัญชีกองทุนหมู่บ้านฯ ให้มีจำนวนเพียงพอและครอบคลุมจากปัจจุบันที่มีเพียง 300 กว่า คนต้องตรวจสอบอยู่เกือบ 8 หมื่นกองทุน เน้นการอบรมให้ความรู้ใน 4 เรื่อง ได้แก่ กฎหมาย การเงิน ไอที และ ความรู้ด้านธุรกิจ คาดว่าจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนเป็นแพคเกจและประกาศในวันที่ 25 ก.ค. ซึ่งเป็นวันครบรอบ 16 ปีกองทุนหมู่บ้านฯ

ในการประชุมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) ยังเห็นชอบรับร่างระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านฯ ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ พ.ศ. 2560 หรือโครงการ 15,000 ล้านบาท

ซึ่งหลังจากระเบียบผ่านการอนุมัติแล้วคาดว่าจะเริ่มทยอยอนุมัติโครงการที่เสนอเข้ามารอแล้วและจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ ละ 200,000 บาท ตั้งแต่ 25 ก.ค. 2560 เป็นต้นไป และคาดว่าจะจ่ายเงินส่วนใหญ่ หรือ 90% หรือประมาณ 64,000 กองทุน ภายในเดือน ส.ค.นี้ และเก็บตกอีก 10% ในเดือนก.ย.

ทั้งนี้ ที่ประชุม กทบ. ยังอนุมัติให้ตั้งกองทุนฯ ใหม่อีก 2 กองทุนได้แก่ กองทุนชุมชนตลาดหนองหญ้าไซ และกองทุนชุมชนหนองหลวง ทำให้หลังจากนี้จะมีกองทุนหมู่บ้านฯ มีทั้งหมด 79,593 กองทุนฯ

 

Page 10 of 10
X

Right Click

No right click