September 19, 2024

มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทุกช่วงวัย เพื่อร่วมสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพของคนไทย

รองศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือด้านการวิจัย เรื่องการพัฒนางานวิจัยและต่อยอดวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ซีพีเอฟ ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการนวัตกรรมอาหารเพื่อสังคม ที่มหาวิทยาลัยร่วมมือกับภาคเอกชน ในการต่อยอดองค์ความรู้ของมหิดลสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาหารเพื่อสุขภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ก่อให้เกิดการพัฒนายั่งยืนของสังคม ตลอดจนการสร้างเครือข่ายกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนานวัตกรรมอาหาร เพิ่มมูลค่าสินค้าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน บูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อก้าวไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ขณะเดียวกัน ยังเป็นการนำความรู้ทางเภสัชศาสตร์มาพัฒนาเทคโนโลยีอาหาร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโภชนเภสัชศาสตร์ในอนาคต และช่วยยกระดับศักยภาพการวิจัยและการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยของไทยในระยะยาวด้วย

 

ดร.สมหมาย เตชะศิรินุกูล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีความมุ่งมั่น ในการวิจัยและพัฒนาอาหาร เพื่อส่งเสริมศักยภาพความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารของไทยและระดับสากล ตามวิสัยทัศน์ "ครัวของโลกที่ยั่งยืน"  โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารซีพีเอฟ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยทั่วโลก ค้นคว้าวิจัยเชิงลึกในด้านโภชนาศาสตร์ พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลาย ตอบรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรและอุตสาหกรรมอาหารและสร้างสุขโภชนาการที่ดีแก่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย

“บริษัทฯ นำความพร้อมด้านทีมงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาตรฐานระดับโลก ผสานความร่วมมือและต่อยอดองค์ความรู้ด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อวิจัยพัฒนานวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารเฉพาะทาง และเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย เพื่อผู้บริโภคทุกช่วงวัยและเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป” ดร.สมหมาย กล่าว

 

สำหรับ บริษัท ศูนย์วิจัยและพัฒนาซีพีเอฟ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 ประกอบด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ ศิลปศาสตร์อาหาร และวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยห้องปฏิบัติการทดสอบอาหารและโรงงานต้นแบบที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล โดยมีเป้าหมายในการร่วมผลักดันเป้าหมายความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของซีพีเอฟ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่กลุ่มห่วงใยสุขภาพ มากกว่า 30% ภายในปี 2563 สอดคล้องกับแนวทางขององค์การสหประชาชาติในการพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อร่วมสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพของประชากรโลก

เอไอเอส โดยนายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือเอไอเอส และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  โดย ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต  อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา วิจัย ทดลอง ทดสอบ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะมาถึง เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการและบ่มเพาะบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเหนือและประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

โดยการทดลอง ทดสอบ 5G ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะดึงจุดเด่นของอัตลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ โอกาส ความสนใจ และความท้าทายในแต่ละภูมิภาคเป็นตัวกำหนด เพื่อให้นิสิต นักศึกษา นักวิจัย ประชาชน และทุกภาคส่วนใน 5G Ecosystem เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีแห่งอนาคต ตลอดจนสามารถวางแผน ต่อยอด และพัฒนานวัตกรรมและการบริการบนระบบ 5G ให้เหมาะสมกับพื้นที่หรือภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดรับกับเจตนารมณ์ของ กสทช. ที่สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาให้ทดลองทดสอบ 5G ทั้งในกรุงเทพฯ และในส่วนภูมิภาค

บมจ.ทิพยประกันภัย และ บมจ. สยามราชธานี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการ “ขับขี่ปลอดภัย สังคมอุ่นใจ ไร้อุบัติเหตุ” สร้างทักษะที่ดีในการขับรถยนต์ที่ถูกต้องและปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ ช่วยลดไร้อุบัติเหตุและความสูญเสียบนท้องถนน เพื่อสังคมอุ่นใจ ไร้อุบัติเหตุ พร้อมมอบสิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับผู้ผ่านการอบรมในโครงการ โดยมีนายสุรพล พลอยสุข รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้เกียรติมาเป็นสักขีพยาน ในพิธี

บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ TIP ได้ร่วมกับพันธมิตรบริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) จัดทำโครงการ "ขับขี่ปลอดภัย สังคมอุ่นใจ ไร้อุบัติเหตุ" ด้วยการจัดทำหลักสูตรการอบรมพิเศษ Professional Training และ Defensive Driving ขึ้นมาเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยเบื้องต้นจะจัดอบรมให้กับ กลุ่มลูกค้าที่เป็นหน่วยงานหรือองค์กร

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่วนใหญ่กว่า 90% มาจาก “ผู้ขับขี่” และอุบัติเหตุได้นำมาซึ่งความสูญเสีย ตลอดจนสร้างผลกระทบแก่ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุเองและคนรอบข้าง ทิพยประกันภัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้มีแนวคิดร่วมกับพันธมิตร”สยามราชธานี” จัดทำโครงการ “ขับขี่ปลอดภัย สังคมอุ่นใจ ไร้อุบัติเหตุ” เป็นครั้งแรกของประเทศไทย

การอบรมหลักสูตรดังกล่าวเป็นการเพิ่มความรู้ให้กับผู้ที่เข้าอบรม ซึ่งทิพยประกันภัยจะให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ลูกค้าในเรื่องการประกันภัยรถยนต์ ที่ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อให้ผู้ขับขี่ได้รู้ถึงเงื่อนไขความคุ้มครอง ควบคู่ไปกับการให้ความรู้พัฒนาและสร้างทักษะในการขับรถยนต์อย่างปลอดภัย เสริมสร้างให้ผู้ขับขี่บนท้องถนน มีความตระหนักถึงการขับรถยนต์อย่างถูกวิธีและปลอดภัย มีเป้าหมายหลัก เพื่อส่งเสริมให้สังคมมองเห็นประโยชน์ของการขับขี่ปลอดภัย และลดอุบัติเหตุบนท้องถนน

พร้อมกันนี้ บริษัทยังได้มอบสิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับผู้ที่ผ่านอบรมจากบริษัทสยามราชธานี ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป โดยมอบส่วนลดประกันภัยรถยนต์สุดพิเศษ, บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชม, ผ่อนชำระ 0% 10 เดือน สำหรับเบี้ยประกันภัยรถยนต์ทุกประเภทตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป (บัตรเครดิตที่ร่วมรายการกับบริษัท) เนื่องจากเราเห็นว่าคนกลุ่มนี้ได้ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการขับขี่และมีทักษะความรู้เรื่องการขับขี่รถยนต์ที่ดี

 

นายเวทย์ นุชเจริญ ประธานกรรมการ บริษัทสยามราชธานี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีความร่วมมือกับ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัทประกันภัยชั้นนำของคนไทย ที่มีภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในฐานะที่สยามราชธานี ดำเนินธุรกิจในการจ้างเหมาแรงงาน โดยจัดหาพนักงานขับรถยนต์ไปให้บริการกับพนักงานและผู้บริหารของบริษัทชั้นนำทั่วประเทศมานานกว่า 40 ปี โดยแต่ละปีเราได้จัดส่งพนักงานขับรถไปดูแลลูกค้ามากกว่า 3,000 คน หรือ 400-500 บริษัทดังนั้นการขับขี่ปลอดภัย จึงถือเป็นหัวใจหลักในการบริการที่บริษัทให้ความสำคัญสูงสุด

ความร่วมมือในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการที่บริษัททิพยประกันภัย ได้เห็นความสำคัญของการสร้างผู้ขับขี่ปลอดภัยที่มีคุณภาพและมีความเป็นมืออาชีพออกสู่ท้องถนน ให้สังคมอุ่นใจ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและความปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจและความมุ่งมั่นของสยามราชธานี

โดยบริษัทสยามราชธานี ในฐานะผู้นำในธุรกิจ ที่มีประสบการณ์ยาวนาน และมีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ จึงได้มีการพัฒนาและสร้างหลักสูตร "การฝึกอบรม ผู้ขับขี่รถยนต์ปลอดภัยมืออาชีพ" เพื่อสร้างมาตรฐาน เพื่อยกระดับการขับขี่เชิงป้องกัน และสร้างมาตรฐานอาชีพผู้ขับขี่รถยนต์ในระดับสากล โดยการนำเทคโนโลยี VR Training มาเพิ่มทักษะและเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินผลผู้อบรมด้วย

จากการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เห็นถึงศักยภาพของบริษัทขณะเดียวกันก็ต้องการพัฒนาทักษะและเพิ่มศักยภาพของผู้ที่มีอาชีพขับขี่รถยนต์ ให้มีมาตรฐานและมีความเป็นมืออาชีพจึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดทำหลักสูตร "การฝึกอบรมเพื่อยกระดับฝีมือและมาตรฐานผู้ขับขี่รถยนต์ปลอดภัยมืออาชีพระดับ 1" เมื่อวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งหลักสูตรนี้ ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้ใช้เป็นหลักสูตรกลางในการฝึกอบรมให้แก่แรงงานที่เป็นผู้ขับขี่รถยนต์อาชีพได้ทั่วประเทศ

ความร่วมมือกับ ทิพยประกันภัย จัดทำโครงการ "ขับขี่ปลอดภัย สังคมอุ่นใจ ไร้อุบัติเหตุ" ในครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จขึ้นอีกขั้น ในการต่อยอดและร่วมรณรงค์สร้างสังคมไร้อุบัติเหตุ ที่นอกจากจะร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนหลักสูตรในการสร้างผู้ขับขี่ปลอดภัยที่มีคุณภาพและมีความเป็นมืออาชีพของสยามราชธานีแล้ว ยังจะมีการต่อยอดหลักสูตรโดยเพิ่มทักษะ และให้ความรู้ด้านประกันภัยให้กับผู้ขับขี่รถยนต์ด้วย รวมทั้งจะช่วยสร้างให้สังคมอุ่นใจและสิ่งแวดล้อมบนท้องถนนที่ดีขึ้น เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุที่สร้างความสูญเสียให้กับชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยได้อย่างมหาศาล  นายเวทย์ กล่าว

บริษัท โกลบอล เอ็กซิบิชั่น แอนด์ คอนเวนชั่น เซอร์วิส จำกัด หรือ GECS ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ มช. จัดงานนวัตกรรมเกษตรแห่งเอเชีย หรือ AGRI-INNO ASIA 2019 ระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เชียงใหม่ 

นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โกลบอล เอ็กซิบิชั่น แอนด์ คอนเวนชั่น เซอร์วิส จำกัด หรือ GECS และ รศ.ดร.ณัฐา โพธาภรณ์ คณบดี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ลงนามความร่วมมือจัดงาน AGRI-INNO ASIA 2019 เพื่อแสดงศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยีเกษตรแห่งเอเชีย ท่ามกลางสักขีพยาน สถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย สมาคมผู้ค้าอุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ไทย และบริษัท เทวดา คอร์ป จำกัด

 

นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โกลบอล เอ็กซิบิชั่น แอนด์ คอนเวนชั่น เซอร์วิส จำกัด บริษัทชั้นนำด้านการจัดงานแสดงสินค้า การประชุม และสัมมนาในกลุ่มประเทศ CLMV เปิดเผยว่า งาน AGRI-INNO ASIA 2019 เป็นงานแสดงสินค้า บริการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำ อาทิ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเตรียมพื้นที่ การเพาะปลูก จนถึงปลายน้ำ การแปรรูป การตลาด การขนส่ง จนเป็น อาหารที่มีคุณภาพเสิร์ฟบนจานของผู้บริโภค รวมทั้งให้บริการจับคู่ธุรกิจ การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ และกิจกรรมเยี่ยมชมฟาร์มสาธิต โดยจัดร่วมกับงานเกษตรภาคเหนือ ครั้งที่ 9 ครอบคลุมพื้นที่กว่า 60,000 ตารางเมตร ภายในศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ตลอดระยะเวลาการจัดงาน 5 วัน วันที่ 7-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562  คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานประมาณ 80,000 คน จากประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม จีน และไทย

 

รศ.ดร.ณัฐา โพธาภรณ์ คณบดี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงการร่วมจัดงานครั้งนี้ว่า เป็นการเสริมศักยภาพการจัดงานเกษตรภาคเหนือ ครั้งที่ 9 ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านวิชาการและด้านพัฒนาภาคธุรกิจ ขณะเดียวกัน เป็นการเฉลิมฉลองในวาระที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครบรอบ 55 ปี โดยมีเป้าหมายสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์ การผลิตด้านการเกษตร การพัฒนาเกษตรที่สูง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ธุรกิจเกษตร การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับนักเรียน นักศึกษา เกษตรกร นักวิชาการและประชาชนทั่วไป

 

นายศราวุธ ฉันทจิตปรีชา นักวิชาการเกษตร สถานเอกอัคราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย กล่าวถึงอนาคตแห่งนวัตกรรมการเกษตรและอาหารว่า “จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารจากการผลิตภาคการเกษตรก็เพิ่มขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด ดังนั้น นวัตกรรมการเกษตรที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์ (Ecologically Oriented Innovation Agriculture) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเลือกนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับฟาร์ม พื้นที่ ชนิดของพืชสัตว์ ทั้งนี้ เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีการพัฒนาเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรอย่างต่อเนื่อง อาจเรียกได้ว่าเป็นต้นแบบในเรื่องของการเกษตรแห่งอนาคต (Homebased for Future Agriculture) ยินดีให้การสนับสนุน งาน AGRI-INNO ASIA 2019 เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรมการเกษตรสำหรับเกษตรกรและผู้สนใจในเขตภาคเหนือของไทยตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาภาคการเกษตรของไทยให้สามารถผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน

 

นายธีรพงษ์ กาญจนกันติกุล บริษัท เทวดา คอร์ป จํากัด กล่าวถึงความสำคัญของนวัตกรรมต่อภาคการเกษตรว่า “การนำนวัตกรรมมาใช้ในภาคเกษตรกรรมของไทยเป็นสิ่งจำเป็นมากในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดรน ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องแรงงานขาดแคลน ลดต้นทุนในการใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ อาทิ ใช้หว่านเมล็ดพันธุ์ ฉีดพ่นปุ๋ย สารกำจัดวัชพืช รวมทั้ง ยังช่วยในการสำรวจพื้นที่เพาะปลูก ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการแปลงปลูกได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ปัจจุบัน โดรน มีต้นทุนเฉลี่ยเพียง 80-100 บาทต่อไร่ และยังช่วยลดปริมาณการปุ๋ยหรือสารกำจัดวัชพืชลง เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการฉีดพ่น และขจัดปัญหาการเหยียบย่ำทำลายพืชปลูกได้ดีมากกว่าแรงงงานมนุษย์”

 

นายแดงน้อย พหลทัพ ประธานสมาคมผู้ค้าอุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ไทย กล่าวเสริมว่า “นอกจากปัญหาแรงงานแล้ว เกษตรกรยังมีปัญหาเรื่องหนี้สิน เงินทุน ขาดความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยี โรคระบาดในฟาร์มปศุสัตว์ และพื้นที่ฟาร์มขนาดใหญ่ลดลง เพราะการเติบโตของชุมชน อาจทำให้เกิดความขัดแย้ง ส่งผลให้ต้องย้ายฟาร์มออกไปไกลขึ้น กระทบต่อต้นทุนการผลิตในที่สุด ดังนั้น แนวทางสำคัญในการจัดการปัญหาคือ การนำระบบ จัดเก็บข้อมูลและบริหารต้นทุน เพื่อบริหารจัดการฟาร์มและขนส่ง ควบคู่ไปกับ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีการเลี้ยงเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของปศุสัตว์ ช่วยให้เกษตรกรสามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืน”

 

นายสราญโรจน์ สุทัศน์ชูโต ผู้อํานวยการฝ่ายส่งเสริมตลาดในประเทศ สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. กล่าวว่า งาน AGRI-INNO ASIA 2019 เป็นเวทีของการแสดงสินค้าและบริการสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร การแปรรูป และการตลาดอย่างครบวงจร เปิดโอกาสทางการค้าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในภาคการเกษตรและอาหาร ขณะเดียวกันเป็นช่องทางที่ทำให้นักเดินทางกลุ่มไมซ์ได้เข้ามาสัมผัสมาตรฐานการผลิต บริการและศักยภาพความพร้อมของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2562 สสปน. ตั้งเป้าดึงนักเดินทางกลุ่มไมซ์ รวมทั้งสิ้นประมาณ 35 ล้านราย และสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศประมาณ 2.2 แสนล้านบาท คาดเป็นกลุ่มไมซ์ต่างประเทศ 1.3 ล้านราย สร้างรายได้ให้ประเทศประมาณ 1 แสนล้านบาท และกลุ่มไมซ์ในประเทศ 34 ล้านราย สร้างรายได้ให้ประเทศประมาณ 1.2 แสนล้านบาท

“การจัดงาน AGRI-INNO ASIA 2019  จะช่วยผลักดันภาคเกษตรกรรมด้วยนวัตกรรม ให้เกษตรกรมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ รวมทั้ง ต้นทุนการผลิตลดลง สร้างผลกำไรได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน เป็นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารของไทย ให้สามารถเติบโตในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน” นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ กล่าวสรุป

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมออกร้านหรือเข้าร่วมชมงาน สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ 02-026-3583 อีเมล  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือเว็บไซต์ https://www.agri-asia.com/

รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตสกลนคร ตัวแทน ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ลงนามความร่วมมือกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก​ โดยนายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แผนไทยร่วมกันสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อวิจัยและพัฒนาพืชกัญชาเพื่อประโยชน์ทางราชการ การแพทย์หรือการรักษาผู้ป่วยภายใต้กรอบและเงื่อนไขที่ถูกต้องและเป็นไปตามกฏหมาย เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและผู้ป่วย

X

Right Click

No right click