September 19, 2024

ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด กรุงเทพฯ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ “เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบการขนส่งทางราง” ระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) และบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในช่วงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางรางครั้งใหญ่ในรอบหลายทศวรรษ เช่น การขยายเส้นทางโครงข่ายรถไฟทางคู่ การพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง ตลอดจนการปรับปรุงระบบอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง ซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศในอนาคต ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองในด้านเทคโนโลยีระบบราง จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาองค์ประกอบสำคัญในระบบนิเวศของอุตสาหกรรมระบบราง ทั้งในด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยี ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ด้านระบบมาตรฐานและการทดสอบ และด้านพัฒนากำลังคนเฉพาะทางที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม จากเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลจึงได้จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) หรือ สทร. ภายใต้กระทรวงคมนาคม เพื่อเป็นสถาบันหลักด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง บูรณาการความเชี่ยวชาญและทรัพยากรจากทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและสร้างอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศ และมีพันธกิจที่สำคัญหลายประการ เช่น การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาบุคลากร และเป็นศูนย์กลางในการรับแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบรางของประเทศและภูมิภาค

เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “หัวเว่ยเป็นบริษัทที่มีศักยภาพอันโดดเด่นที่สามารถเข้ามาช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย โดยหัวเว่ยจะเข้ามาช่วยด้านการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะวิชาชีพ การพัฒนาเทคโนโลยี พร้อมทั้งมีการยกระดับองค์ความรู้ ประสบการณ์ และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย การลงนามในบันทึกความเข้าใจในวันนี้ถือเป็นอีกก้าวย่างสำคัญของ 'การพัฒนาวิชาชีพสำหรับผู้ที่มีทักษะสูง' และ 'การถ่ายทอดเทคโนโลยี' ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมระบบรางของไทย ความร่วมมือครั้งนี้ยังจะช่วยกระตุ้นการวิจัยและพัฒนา เร่งการสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมการนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในโครงสร้างพื้นฐานระบบราง และการจัดการการขนส่งเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและโทรคมนาคม และผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) และอุปกรณ์อัจฉริยะชั้นนำระดับโลก ทั้งนี้ ด้วยองค์ความรู้ ประสบการณ์ โครงสร้างพื้นฐานที่มีในปัจจุบัน รากฐานของธุรกิจ ICT รวมถึงความตั้งมั่นในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาบุคลากรและการฝึกอบรม หัวเว่ยจึงเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทยผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) และการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี ICT สำหรับอุตสาหกรรมระบบรางโดยการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ให้กับผู้ที่ทำงานในระบราง (Reskill Training) และหลักสูตรเทคโนโลยี ICT ขั้นสูงสำหรับผู้ที่จะเข้าสู่การประกอบอาชีพในระบบรางในอนาคต (Advanced Technical Training) รวมถึงการร่วมวิจัยและพัฒนาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation and Robotics) เพื่อการขนถ่ายและกระจายสินค้าในระบบราง

การลงนามความร่วมมือระหว่าง สทร. และ หัวเว่ย ในครั้งนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการเตรียมความพร้อมและสร้างบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมระบบราง รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมและระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และบริหารจัดการด้านคมนาคมขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ผลักดันประเทศไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)

บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ร่วมกับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด มหาชน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่จะศึกษาและพัฒนา Guideline โครงการ Pathway to NET ZERO Building ผ่านโครงการต้นแบบและขยายผลการดำเนินการ โดยการใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงานและมาตรฐานอาคารเขียว (Green Building) ภายใต้เงื่อนไขความร่วมมือซึ่งกันและกัน และเผยแพร่ผลสัมฤทธิ์สู่สาธารณชน โดยจะได้นำผลของการดำเนินการต่อยอดสู่การพัฒนาโครงการเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases : GHG) ทั้งในอาคารเก่าและอาคารใหม่ในอนาคต

นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า “สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเอสซีจี โดย เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในฐานะผู้นำด้านสินค้า บริการ รวมถึงโซลูชันด้านสินค้าวัสดุก่อสร้าง ที่ได้ให้ความสำคัญในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในอาคารมาโดยตลอด ในครั้งนี้ เอสซีจี โดยบริษัท SCG Building and Living Care Consulting ซึ่งเป็นธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นจากการนำองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการก่อสร้างของเอสซีจี ผนึกเข้ากับแนวทาง ESG” ที่เอสซีจีนำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักพัฒนาคุณภาพทางสังคมแบบยั่งยืน ต่อยอดสู่ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านสิ่งปลูกสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างมาตรฐานคุณภาพการใช้ชีวิตภายในอาคารให้ดีขึ้น จาก 3 บริการหลัก คือ Sustainability and Wellbeing Building Certification, Building Services Engineering, Healthcare and Wellness Building Design ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและออกแบบอาคารเพื่อความยั่งยืนและเพื่อสุขภาวะที่ดี ่านการให้คำปรึกษาเพื่อออกแบบกรอบแนวทางดำเนินการ วิเคราะห์ องค์กร อาคารและผลิตภัณฑ์ คำนวณความคุ้มค่าและผลตอบแทน พร้อมนำเสนอ Solutions ให้เหมาะสมกับเป้าหมายและงบประมาณของแต่ละองค์กร และธุรกิจ SCG Smart Building Solution ซึ่งให้บริการโซลูชันด้านพลังงานในอาคาร และการบริหารจัดการอาคารด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน รวมถึงบริษัทต่างๆ ในเครือ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง มีความยินดีที่จะนำองค์ความรู้มาต่อยอด เพื่อวางแนวทางโครงการ Pathway to NET ZERO Building โดยได้ร่วมกับทางเซ็นทรัลพัฒนา ในการจัดทำแผนแม่บทเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่ NET ZERO ในปี 2050 โดยมีโครงการนำร่องได้แก่ เซ็นทรัล เวสต์วิลล์, แจ้งวัฒนะ, พัทยา, อยุธยา, นครปฐม, และนครสวรรค์”    

“การลงนามในวันนี้เป็นอีกหนึ่งในจุดเริ่มต้นของ เอสซีจี และ เซ็นทรัลพัฒนา ในการใช้จุดแข็งของ ทั้ง 2 ธุรกิจมาพัฒนาต่อยอดสู่เป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นพันธกิจของสังคมโลก ซึ่งหวังว่ากลยุทธ์สำคัญที่ได้จากโครงการนี้จะมีส่วนสำคัญในการสร้างองค์ความรู้และเผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการผลักดันให้เกิดนโยบายหรือแผนงานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญเพื่อโลกที่ยั่งยืนให้กับหลายๆ หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ต่อไปในอนาคต” นายวชิระชัย กล่าวทิ้งท้าย

 

นายชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล Chief Development and Commercial Officer บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เซ็นทรัลพัฒนา มีวิสัยทัศน์ที่สำคัญคือ ‘Imagining better futures for all’ เราจึงตั้งเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนอย่างจริงจัง คือการเป็นองคก์ร NET Zero ภายในปี 2050 ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และมลพิษจากธุรกิจสุทธิเป็นศูนย์ ทั้งนี้ เราตั้งใจพัฒนา พื้นที่ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต รวมถึงดูแลชุมชนและสังคม โดยการพัฒนาธุรกิจหลักของเรา ทั้งศูนย์การค้า, ที่อยู่อาศัย, โรงแรม และอาคารสำนักงาน จะเป็นการเชื่อมโยงเข้าหากันทั้งระบบ เพื่อสร้าง The Ecosystem for All’ ที่แข็งแกร่งและยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน รวมไปถึงเรายังได้ขยายความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรในด้านต่างๆ ที่จะแบ่งปันและส่งเสริมความเชี่ยวชาญระหว่างกันอีกด้วย ดังเช่นการริเริ่มโครงการ “Green Partnership”  หรือพันธมิตรสีเขียว โดยเริ่มต้นที่ โครงการต้นแบบ Framework Pathway to Net Zero Building Guideline ร่วมกับ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจให้กับบุคลากรของทั้งสองบริษัท ในด้านกระบวนการทำงานสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนต่อไป”

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกรมประมง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วย การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ โดยลงนามระหว่าง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง ทั้งนี้มี ผู้บริหาร ทั้งสองหน่วยงานร่วมงานจำนวนมาก ณ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ภายใต้ขอบเขตและแนวทางที่จะดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งการบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ ได้กำหนดให้มีระยะเวลาในการดำเนินการร่วมกัน 4 ปี นับจากวันลงนาม เพื่อพัฒนาทางวิชาการร่วมกันด้านวิชาการประมง เป็นประโยชน์ด้านวิชาการ การวิจัย การศึกษา และการพัฒนาบุคลากร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพภาคประมงให้มีความเข้มแข็งและสร้างประโยชน์สู่เกษตรกรของประเทศ

“ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณ กรมประมง ที่ให้เกียรติมาร่วมสร้างความร่วมมือนี้กับ และหวังว่าผลงานจากการขับเคลื่อนภายใต้บันทึกความร่วมมือฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทั้งสองฝ่าย โดยแบ่งปันทรัพยากรทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย บุคลากร นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ วัสดุอุปกรณ์ และข้อมูลด้านการประมงซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร และเป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำหน้าที่รับใช้สังคม ซึ่งเป็นไปตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการอุทิศเพื่อสังคม”

นายเฉลิมชัย  สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง  กล่าวว่า กรมประมงในฐานะหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้า การสร้างความร่วมมือกับวิจัยวิชาการกับหน่วยงานทางการศึกษาที่จะสามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้ รวมถึงเป็นแหล่งบริการวิชาการที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมให้ภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถขยายความร่วมมือในภูมิภาคอื่น ๆ จนทั่วทั้งประเทศได้อีกกรมประมงก็ยินดีอย่างยิ่ง เพื่อหาแนวทางพัฒนาการประมง การวิจัย วิชาการ และการพัฒนาบุคลากรทั้งสองฝ่าย ยกระดับการประมงไทยให้แข่งขันได้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างสมดุล พร้อมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างความมั่งคั่งแก่เกษตรกร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพิ่มศักยภาพภาคประมงของประเทศไทยต่อไป

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกรมประมง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วย การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ โดยลงนามระหว่าง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายเฉลิมชัย  สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง  ทั้งนี้มี ผู้บริหาร ทั้งสองหน่วยงานร่วมงานจำนวนมาก ณ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการ  การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ภายใต้ขอบเขตและแนวทางที่จะดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งการบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ ได้กำหนดให้มีระยะเวลาในการดำเนินการร่วมกัน 4 ปี นับจากวันลงนาม เพื่อพัฒนาทางวิชาการร่วมกันด้านวิชาการประมง เป็นประโยชน์ด้านวิชาการ การวิจัย การศึกษา และการพัฒนาบุคลากร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพภาคประมงให้มีความเข้มแข็งและสร้างประโยชน์สู่เกษตรกรของประเทศ

ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณ กรมประมง ที่ให้เกียรติมาร่วมสร้างความร่วมมือนี้กับ และหวังว่าผลงานจากการขับเคลื่อนภายใต้บันทึกความร่วมมือฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทั้งสองฝ่าย โดยแบ่งปันทรัพยากรทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย บุคลากร นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ วัสดุอุปกรณ์ และข้อมูลด้านการประมงซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร และเป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำหน้าที่รับใช้สังคม ซึ่งเป็นไปตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการอุทิศเพื่อสังคม

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงในฐานะหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้า การสร้างความร่วมมือกับวิจัยวิชาการกับหน่วยงานทางการศึกษาที่จะสามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้ รวมถึงเป็นแหล่งบริการวิชาการที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมให้ภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถขยายความร่วมมือในภูมิภาคอื่น ๆ จนทั่วทั้งประเทศได้อีกกรมประมงก็ยินดีอย่างยิ่ง เพื่อหาแนวทางพัฒนาการประมง การวิจัย วิชาการ และการพัฒนาบุคลากรทั้งสองฝ่าย ยกระดับการประมงไทยให้แข่งขันได้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างสมดุล พร้อมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างความมั่งคั่งแก่เกษตรกร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพิ่มศักยภาพภาคประมงของประเทศไทยต่อไป

ผนึกพลัง “สกพอ.-หอการค้าไทย-สภาอุตสาหกรรม” ลงนาม MoU เติมเต็มองค์ความรู้ด้านประกันภัยแบบครบวงจร

X

Right Click

No right click