October 22, 2024

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย จัดทีมวิศวกรดูแลและตรวจสอบสถานีฐาน และ WiFi ที่ติดตั้งเพื่อการใช้งานมือถืออย่างมั่นใจ และทดสอบสัญญาณ 5G และ 4G เพื่อคุณภาพสูงสุด ในช่วงที่ประชาชนเข้าร่วมงานมหรสพสมโภช ณ ท้องสนามหลวงระหว่าง 11-15 กรกฎาคมนี้

รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรมได้จัดงานมหรสพสมโภชครั้งยิ่งใหญ่เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ ท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 11-15 กรกฎาคม 2567

นายประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า "ทีมงานได้เตรียมความพร้อมด้านเครือข่ายอย่างเต็มที่ เพื่อรองรับการใช้งานของประชาชนจำนวนมากที่เดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้ เราตระหนักดีว่าโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลคือการเชื่อมต่อที่สำคัญของทุกเทศกาลและความประทับใจที่จะแชร์ภาพและคลิปผ่านมือถือ เราจึงได้วางแผนและออกแบบเครือข่ายเป็นพิเศษ เพื่อให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่น และรองรับการใช้งานดิจิทัลไลฟ์สไตล์ของลูกค้าทรูและดีแทคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ"

ทั้งนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้จัดทีมดูแลสัญญาณมือถือตลอดการจัดงานมหรสพสมโภช ณ ท้องสนามหลวง ระหว่าง 11-15 กรกฎาคม และมอนิเตอร์การใช้งานตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด จากรายงานพบว่าคนร่วมงานหนาแน่นตั้งแต่ 18.00-22.00 น. โดยมีการใช้งานดาต้าสูงสุดในช่วง 18.00-19.00 น. (ข้อมูล ณ 13 ก.ค. 2567)

การดำเนินการเสริมความแข็งแกร่งของเครือข่ายรอบพื้นที่ท้องสนามหลวง เพื่อลูกค้าทรูและดีแทค ดังนี้

  • ติดตั้งสถานีฐาน (Cell site) รวม 28 จุด ในบริเวณพื้นที่รอบท้องสนามหลวงรองรับ 5G และ 4G
  • เพิ่มจุด WiFi จำนวน 43 จุดรอบพื้นที่ท้องสนามหลวง
  • ตรวจสอบและปรับค่าสัญญาณอินเทอร์เน็ตบนมือถือรองรับเส้นทางสัญจรสู่ท้องสนามหลวง
  • ปรับแต่งค่าพารามิเตอร์สัญญาณ (Event Parameter) เพื่อรองรับพฤติกรรมการใช้งานในช่วงเวลาพิเศษ
  • จัดตั้งทีมดูแลประจำ BNIC (ศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะ) พร้อมระบบ AI และหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ เพื่อบริหารจัดการเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง

"เรามั่นใจในการเตรียมการสำหรับรองรับการใช้งานมือถือจะทำให้ลูกค้าทั้งทรูและดีแทคสามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือได้อย่างราบรื่น ทั้งการวอยซ์ ดาต้า รวมถึงการแชร์ภาพความประทับใจผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ" นายประเทศ กล่าวในที่สุด

ทรู คอร์ปอเรชั่นมุ่งมั่นในการพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับทุกเทศกาลสำคัญทั่วประเทศไทย ทั้งสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ รวมถึงชุมชนต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดในทุกโอกาสสำคัญ

 ทรูมันนี่ ผู้นำด้านการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครบรอบ 11 ปี เปิดตัว TrueMoney Coin (ทรูมันนี่ คอยน์) โปรแกรมสะสมรางวัลจากการใช้จ่ายด้วยทรูมันนี่ ที่จะมอบความคุ้มเกินต้านทุกการสะสม โดยลูกค้าสามารถนำคอยน์ที่ได้ไปแลกเป็นส่วนลด คูปอง และเงินคืน ฯลฯ พิเศษ! รับคอยน์ X3 เมื่อใช้จ่ายด้วยวงเงิน Pay Next (เพย์ เน็กซ์) และ Pay Next Extra (เพย์ เน็กซ์ เอ็กซ์ตร้า) หรือผูกจ่ายด้วยบัญชีเงินฝาก My Saving ในแอปทรูมันนี่ พร้อมร่วมลุ้นในแคมเปญ “11 ปี ที่รอคอยน์ แจกกว่า 500 ล้าน ทรูมันนี่ คอยน์” ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 สิงหาคม 2567

นายกรวุฒิ ปวิตรปก ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด กล่าวว่า “ทรูมันนี่ ยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างประสบการณ์ด้านการเงินที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของผู้ใช้งานหลายล้านรายของเราทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเป็นไปได้ทางการเงินสำหรับทุกคน พร้อมยกระดับสิทธิประโยชน์ให้ทุกการใช้จ่ายคุ้มค่ายิ่งกว่าด้วยการเปิดตัว ‘ทรูมันนี่ คอยน์’ เพื่อมอบความคุ้มเกินต้านทุกการสะสมผ่านรางวัลจากการใช้จ่ายด้วยทรูมันนี่โดยทุก 20 บาทของการใช้จ่ายในบริการที่กำหนด ลูกค้าจะได้รับ 1 คอยน์ และสามารถนำคอยน์ที่สะสมมาแลกเป็นส่วนลด คูปอง หรือเงินคืนเข้าบัญชี หรือการร่วมกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ได้ โดยการเปิดตัว ทรูมันนี่ คอยน์ ในครั้งนี้ ตอกย้ำจุดยืนของแบรนด์ทรูมันนี่ ในการเป็นแอปจัดการการเงินที่มอบทั้งความง่ายและคุณค่าในทุกการใช้งานแก่ผู้ใช้ทุกคน

ผู้ใช้สามารถสะสม ทรูมันนี่ คอยน์ เพียงใช้จ่ายด้วยทรูมันนี่ในบริการและร้านค้าที่กำหนด เช่น เติมเกมส์ สมัครดูหนังฟังเพลง สั่งอาหาร ช้อปปิ้งออนไลน์ จ่ายบิล และใช้จ่ายที่ร้านค้าที่มีป้ายสแกนรับชำระของทรูมันนี่ทั่วประเทศ เช่น 7-Eleven, Lotus’s, MAKRO, Chester’s ฯลฯ พิเศษ! รับคอยน์เพิ่ม X3 เมื่อเลือกใช้จ่ายด้วยวงเงิน Pay Next และ Pay Next Extra หรือผูกจ่ายด้วยบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง My Saving ในแอปทรูมันนี่ โดยสามารถนำ ทรูมันนี่ คอยน์ ที่สะสมมาแลกเป็นเงินคืนเข้าบัญชี หรือแลกรับคูปองส่วนลดกับพันธมิตรชั้นนำเช่น Lotus’s และ Lazada

นอกเหนือจากการเปิดตัวโปรแกรมสะสมคะแนนสำหรับลูกค้า ‘ทรูมันนี่ คอยน์’ ในครั้งนี้ ทรูมันนี่ ยังเตรียมมอบความคุ้มเกินต้าน ทุกการสะสม อย่างยิ่งใหญ่ในเดือนเกิด ด้วยแคมเปญ “11 ปี ที่รอคอยน์ แจกกว่า 500 ล้าน ทรูมันนี่ คอยน์” ที่จะมอบเซอร์ไพรส์จัดเต็มทุกวันตั้งแต่วันนี้ถึง 31 สิงหาคม 2567 ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://truemoney.com/coin

ถึงคิวเคลียร์สายสื่อสารย่านถนนสุทธิสารวินิจฉัย…ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย นายเลิศรัตน์ รตะนานุกูล หัวหน้าสายงานรัฐกิจสัมพันธ์ นำทีมวิศวกรพื้นที่ร่วมปฏิบัติการสนับสนุน การไฟฟ้านครหลวง (MEA) โดย นายทวีศักดิ์ สมานสิน ผู้ช่วยผู้ว่าการฯ พร้อมด้วย กรุงเทพมหานคร โดย นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการฯ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมดำเนินงานรื้อถอนสายสื่อสารที่ยกเลิกการใช้งานแล้วบนเสาไฟฟ้า หลังจากติดตั้งโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสง Fiber Optic Cable (FOC) ฝังในระดับใต้ดินเพื่อใช้ทดแทนสายสื่อสารเดิม ย่านถนนสุทธิสารวินิจฉัย ตั้งแต่ แยกพหลโยธิน ถึง แยกถนนวิภาวดีรังสิต รวมระยะทาง 1.6 กิโลเมตร ทั้งนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ยึดหลักการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานโทรคมนาคมที่ยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม โดยสนับสนุนนโยบายจัดระเบียบสายสื่อสารและนำสายสื่อสารลงใต้ดิน ตามนโยบายภาครัฐบาลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพร้อมให้ความร่วมมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วนในการปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมืองให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

“การเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย” เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามปกติ นับตั้งแต่ยุโรปเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) และแพร่ขยายองค์ความรู้สมัยใหม่ไปทั่วทั้งโลก นำมาสู่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม จนมาถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไร แต่สิ่งที่ยังคงยืนหยัดและสะท้อนถึงธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ก็คือ การปรับตัวผ่านกระบวนการเรียนรู้

ท่ามกลางพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงที่กำลังก่อตัวโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้สนทนากับ 3 คนรุ่นใหม่ ผู้เชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของมนุษย์โดยไม่มีที่สิ้นสุด

สาวอักษรเยอรมันกับบทบาท Data Engineer

พิชญา จรูญพงษ์ศักดิ์ หรือ อนิก ผู้เติบโตในครอบครัวที่พ่อและแม่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ทำให้เธอมีความฝัน ตั้งเป้า และมุ่งมั่นเดินไปข้างหน้าสู่เส้นทางแม่พิมพ์ของชาติตั้งแต่เด็ก โดยเธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโท สาขาวิชาภาษาเยอรมัน จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนวันหนึ่งเธอพิชิตฝันได้สำเร็จ รับหน้าที่ครูในโรงเรียนมัธยมและอาจารย์สอนคอร์สภาษาเยอรมันสำหรับบุคคลทั่วไป ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

การคลุกคลีกับ “ดนตรีคลาสสิก” ของเธอในช่วงปฐมวัย เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พิชญาสนใจศึกษาภาษาเยอรมัน แต่แล้วความสนใจนั้นก็ขยายวงสู่ความก้าวหน้าในวิทยาการ จนพบว่าเยอรมนีเป็นชนชาติที่มีระบบการจัดการองค์ความรู้ที่เป็นเลิศผ่านระเบียบวิธีคิดเชิง “โครงสร้าง” ทำให้คนรุ่นหลังสามารถสืบค้นองค์ความรู้ย้อนหลังได้นับร้อยปีผ่านห้องสมุด ทั้งยังเห็นลักษณะทางสังคมแต่ละยุคผ่านความนิยมของการใช้คำอีกด้วย

แต่แล้ววันหนึ่ง พิชญารู้สึกว่าโลกของเธอเริ่ม “แคบลง” ทุกวันๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการคลุกคลีกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นระยะเวลานาน ในทางกลับกัน เพื่อนในวัยเรียนที่เติบโตมาด้วยกันมีโอกาสไปเผชิญโลกที่แตกต่างหลากหลาย บ้างก็บริหารทรัพยากรบุคคล บ้างก็ทำสายการตลาด บ้างก็ไปเป็นทูต ถึงแม้พวกเธอจะไม่ได้ศึกษาสาขานั้นๆ โดยตรงก็ตาม

ทันใดนั้น เธอจึงตัดสินใจหยุดเครื่องจักรในสายอาชีพครูชั่วครู่ เพื่อขอไปเปิดประสบการณ์ ขยายขอบเขตการเรียนรู้ เพื่อพิสูจน์ศักยภาพของตัวเธอเอง และที่นั่นก็คือ โครงการ True Next Gen ปี 2564 ที่เปิดกว้างให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรโดยไม่จำกัดสาขาที่เรียน พร้อมให้โอกาสในการสับเปลี่ยนหมุนเวียนภาระหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

หน่วยงานแรกที่พิชญาเข้าไปดูแลคือ งานของสภาดิจิทัล ทำให้ได้เรียนรู้การจัดการเชิงนโยบาย ทั้งยังกระตุ้นความสนใจด้านดาต้าแก่เธออีกด้วย และงานที่ 2 ก็คือ งานพัฒนา VLEARN Platform มีโอกาสได้ผลิตคลาสเรียนออนไลน์ งานการตลาด รวมถึงการทำแอปอีกด้วย  และหน่วยสุดท้ายคือ Digitalization Center ที่ทำให้เธอได้สัมผัสกับเรื่องดาต้าอย่างจัง

ในเวลาเดียวกัน ทรูก็ได้เปิดรับสมัครโครงการ Data Science Immersive ซึ่งพิชญารีบร่อนใบสมัครคว้าโอกาสไว้ เพราะเธอมองว่า การมีทักษะเทคนิคเฉพาะด้านแบบนี้จะช่วยผลักดันศักยภาพตัวเองได้ไกลยิ่งขึ้น

ในวันแรกที่เข้าเรียน พิชญาสารภาพว่า เธอฟังไม่รู้เรื่องเลย แต่ก็พยายามจับหลักให้ทัน เพราะเวลาไหลไปเร็วมาก การเรียนการสอนในทุกๆ วันเป็นเรื่องใหม่ทั้งหมด เมื่อจบวัน ก็ต้องกลับไปทำการบ้านที่เป็นโค้ดดิ้ง

พิชญาบอกว่า พื้นฐานทางภาษาศาสตร์อักษรศาสตร์ที่ติดตัวมา ช่วยให้เธอมีทักษะการจับแพทเทิร์นเพื่อเห็นโครงสร้างของฐานข้อมูล คล้ายคลึงกับตอนทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ในหัวข้อ “ภาษาเยอรมันอย่างง่าย” ซึ่งเป็นการศึกษาหารูปแบบ/โครงสร้างทางภาษา เพื่อให้ผู้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถอ่านและเข้าใจได้ โดยเฉพาะกับเอกสารทางราชการ

อย่างไรก็ตาม แม้ภาษามนุษย์และภาษาคอมจะมีสิ่งที่คล้ายคลึงกันในแง่โครงสร้าง ขณะเดียวกันก็มีจุดที่แตกต่างกันอย่างมหาศาล โดยเฉพาะความรู้พื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมรรถนะและการใช้พลังงานในการรับ-ส่งข้อมูล

“ภาษาคอมคนละเรื่องกับภาษามนุษย์ ภาษาคอมก็คือภาษาที่ใช้สื่อสารกับฮาร์ดแวร์ แต่ในความต่างก็มีความเหมือน นั่นคือ การจัดเรียงภาษาที่ซับซ้อนให้เป็นโครงสร้าง เห็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น” พิชญา อธิบาย พร้อมเสริมว่า data practitioner ที่ดีควรมีทักษะ abstract thinking มองส่วนประกอบแบบองค์รวม

ภายหลังการเข้าคอร์สอย่างเข้มข้น พิชญามีโอกาสลงสนามจริงกับทีมพัฒนาซอฟแวร์ของแอป MorDee ตั้งแต่การพัฒนาซอฟแวร์ จนปัจจุบัน ทำหน้าที่เป็น data engineer วางระบบการเดินทางของดาต้าเพื่อให้ยูสเซอร์นำไปใช้ประโยชน์ได้สะดวกขึ้น

หนุ่มเศรษฐศาสตร์ผู้กระโจนสู่เส้นทางศาสตร์แห่งดาต้า

เส้นทางชีวิตเปรียบได้กับการเล่นรถไฟเหาะ มีสมหวังมีผิดหวัง พร้อมเจอสิ่งที่ไม่คาดคิดได้ตลอด เช่นเดียวกับ เรื่องราวของ เฉลิมชนม์ วงศ์โสภา หรือ อิม เด็กหนุ่มผู้ถือใบปริญญาด้านเศรษฐศาสตร์ถึง 2 ใบ แต่แล้วก็ตกหลุมและหลงใหลให้กับความน่าสนใจของดาต้า

เฉลิมชนม์ร่ำเรียนเรื่อย ๆ ไปตามระบบ แต่ก็ยังหาอาชีพในฝันไม่ได้ จนเมื่อเข้าสู่หัวเลี้ยวหัวต่อที่ต้องตัดสินใจ เขาจึงเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ โดยหวังว่าจะเข้าทำงานในหน่วยงานราชการอย่างกระทรวงการคลัง หรือสภาพัฒน์ แต่เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ความรู้สึก “ไม่มั่นใจ” กับการเข้าสู่สนามแห่งมืออาชีพของเขากลับดังขึ้น เกรงว่าตนเองจะไม่สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีกับการทำงานจริงได้ เฉลิมชนม์จึงตัดสินใจเรียนต่อระดับปริญญาโทในสาขาเดียวกันทันที

“เศรษฐศาสตร์​ถือเป็นสหวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับหลายศาสตร์ทั้ง คณิต สถิต สังคมศาตร์ ซึ่งผู้เรียนต้องรู้จักการประยุกต์พลิกแพลง และนี่คือสเน่ห์ของเศรษฐศาสตร์” เฉลิมชนม์ อธิบาย

ระหว่างนั้้น เขาก็เริ่มร้อนวิชา ต้องการหาวิธีใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในสนามจริง จึงได้ไปสมัครงานที่บริษัทวิจัยในตำแหน่ง data analyst และนั่นจึงนำพาให้เขาเข้าใจการทำงานของดาต้าและหลักสถิติมากขึ้น

“เมื่อต้องทำงานจริง การวิเคราะห์ข้อมูลก็เปรียบได้กับการต่อจิ๊กซอว์ เราต้องค่อยๆ ปะติดปะต่อ ภายหลังที่ต่อจนได้ภาพที่สมบูรณ์ เมื่อนั้นเราก็จะเห็นคำตอบที่อยู่ในข้อมูลเหล่านั้นเอง” เฉลิมชนม์ กล่าวพร้อมเล่าต่อว่า ที่เดียวกันนี้เอง ทำให้เขารู้จักกับอาชีพ data scientist พลันเมื่อเห็นวิธีคิดและการทำงานเพื่อพยากรณ์แนวโน้มแล้ว ยิ่งกระตุ้นต่อมความสนใจของเขา จนหาคอร์สสั้นๆ ลงเรียนเอง

หลังจากตรากตรำกับการเรียนและงานวิจัยเป็นเวลา 2 ปีเต็ม เฉลิมชนม์ก็คว้าดีกรีปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์มาได้ พร้อมกับบทบาทและองค์กรเป็น Business Intelligence Analyst รับผิดชอบงานพัฒนา dashboard เพื่อแสดงผลข้อมูล ที่ธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง แม้จะพอคลุกคลีกับงานดาต้ามาบ้าง แต่เมื่อระบบโปรแกรมที่ใช้ต่างกัน เฉลิมชนม์จึงต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่

ความพยายามอยู่ที่ใด ความสำเร็จอยู่ที่นั่นฉันนั้น เขาใช้เวลาช่วงเช้าก่อนเข้างาน เพื่อเรียนลงลึกเกี่ยวกับโปรแกรมนั้น โดยเขารับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ด้วยเหตุผลว่าตรงจุดและสนุก จนสามารถใช้โปรแกรมได้อย่างชำนาญการ แต่กระนั้น เฉลิมชนม์ยังคงมีความรู้สึก “ค้างคา” เพราะความใคร่รู้ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง อย่างการเข้าใจถึงที่มาข้อมูลที่ต้องอาศัยทักษะเทคนิคอื่นๆ

ในเวลาเดียวกัน เฉลิมชนม์เห็นข้อความประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการ Digital Science Immersive โดย ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อให้โอกาสกับผู้ที่สนใจด้านดาต้าได้มีโอกาสฝึกฝนและพัฒนาตัวเอง พร้อมเข้าสู่สนามดาต้าอย่างมืออาชีพ แน่นอนว่าเขารีบยื่นใบสมัครทันที พร้อมกับเป็น 1 ใน 6 คนที่ได้รับทุนเรียนฟรี

สำหรับคอร์ส Data Science Immersive ดำเนินการสอนโดย General Assembly สถาบันการศึกษา ผู้บุกเบิกแนวทางการเปลี่ยนสายอาชีพสู่สายเทคและดิจิทัล จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งคอร์สเรียนดังกล่าวกินเวลาทั้งสิ้น 3 เดือนเต็ม ตั้งแต่เช้าถึงเย็น เหมือนกลับไปเรียนมัธยมฯ ใหม่

เหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้ความค้างคาในใจเริ่มจางลง พร้อมกับความฝันที่ชัดขึ้นกับเป้าหมายการทำหน้าที่ data scientist ด้วยเวลาเพียง 3 เดือน เฉลิมชนม์ประเมินความสามารถด้านดาต้าของตัวเองพัฒนาขึ้นถึง 80-90% ซึ่งนอกจากความรักดาต้าเป็นทุนเดิมแล้ว วิธีการสอนและความใส่ใจของอาจารย์จาก General Assembly ก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียน

การเรียนการสอนของ General Assembly มีความต่างจากระบบการสอนแบบไทยอย่างมาก สิ่งที่เห็นได้ชัดคึอ ความรักในงานของอาจารย์ที่เราสัมผัสได้ ทุกเช้าจะมีการรีวิวเนื้อหา ปรับคอร์สตามสภาวะการเรียนรู้ และยังะคอยเช็คอุณหภูมิของห้องตลอดเวลา อันไหนง่ายไป ยากไป ถ้าเครียดก็จะใส่มุกตลก ให้บรรยากาศการเรียนสนุกขึ้น

“ที่สำคัญ ยังมีเซสชั่นที่เปิดพื้นที่ให้ทุกคนในคอร์สได้ถกเถียงและอภิปรายถึงประเด็นที่เกิดขึ้นนอกตำราอย่างสร้างสรรค์ การมองข้อมูลที่ต่างมุม รวมถึงจริยธรรมด้านดาต้าที่ต้องคำนึงถึงอย่างแรก”

ปัจจุบัน เฉลิมชนม์ทำงานในตำแหน่ง data scientist สายงาน People & Organization Strategy, and Analytics ของทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งถือเป็นตำแหน่งใหม่และเป็นกำลังสำคัญของกลุ่มงานทรัพยากรบุคคล กับภารกิจเปลี่ยนองค์กรสู่ AI-First Organization ที่ตั้งเป้าไว้

จากเส้นทางดนตรี สู่นักสื่อสารด้วยดาต้า

หากใครได้ดูรายการประกวดร้องเพลงยุคบุกเบิก The Star ค้นฟ้าคว้าดาว อาจคุ้นๆ เห็นเธอคนนี้ผ่านตามาบ้าง ภัควลัญชณ์ โชติพิชชานันช์ หรือ ดิ๊ง เพราะเธอเป็นหนึ่งในผู้เข้าประกวดรอบ 20 คนสุดท้ายของรุ่น 4 สะพานอีกเส้นที่สานฝันอาชีพนักร้อง นักแต่งเพลงในวัยเด็ก เธอมุ่งมั่นกับมันอย่างมาก ถึงขั้นศึกษาเต็มเวลาในระดับปริญญาตรี คณะดุริยางคศาสตร์ สาขาดนตรีเชิงพาณิชย์ ม.ศิลปากร

ความฝันย่อมเป็นเพียงความฝันหากไม่ลงมือทำ แต่นั่นไม่ใช่ภัควลัญชณ์ เพราะเธอมุ่งมั่นคว้าฝันด้วยการฝึกฝนทั้งร้องเพลงทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมง ซึ่งการฝึกตัวเองอย่างนี้ตั้งแต่เด็กช่วยบ่มเพาะให้เธอกลายเป็นคนมีวินัย จนกระทั่งอายุ 18 ปี เธอได้เป็นครูสอนร้องเพลงตามที่ฝันไว้ที่สถาบันดนตรีมีฟ้า ซึ่งเป็นโรงเรียนดนตรีในเครือ GMM Grammy และเป็นผู้สอนระดับขั้นสูง (KCI Advance Instructor) ของสถาบัน KPN Music Academy

แต่เมื่อทำงานสอนครบ 8 ปี ภัควลัญชณ์รู้สึกถึงจุด “อิ่มตัว” เธอจึงมองหาความท้าทายใหม่ๆ ขณะนั้นเธอพึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการตลาด จาก NIDA และนั่นจึงเป็นจุดหักเห เบนเข็มพาเธอเข้าสู่การทำงานในองค์กรเป็นครั้งแรกในชีวิต โดยเริ่มจากงานที่ศูนย์บริการลูกค้า จากนั้นจึงย้ายสู่สายงานสื่อสารองค์กร ทำหน้าดูแลงานสื่อสารภายในองค์กร

ช่วงปี 2560 เป็นยุคที่โซเชียลมีเดียเริ่มบูม คอนเทนท์บนฟีดมีความหลากหลายมากขึ้น แต่ที่เตะตาภัควลัญชณ์อย่างมากเลยคือ “อินโฟกราฟิก” และ “วิดีโอสั้น (short-form video)” เพราะเนื้อหาที่ย่อยมาแล้ว ดูปราดเดียวก็เข้าใจ เธอในบทบาทนักสื่อสารจึงอยากสร้างสรรค์ให้ได้บ้าง และนั่นถือเป็นจุดสตาร์ท เพื่อพัฒนา hard skill โดยหาคอร์สเรียนโปรแกรมออกแบบและตัดต่อวิดีโอด้วยตัวเอง จนสามารถทำกราฟิก-ตัดต่อวิดีโอเล่าเรื่องเองได้ เรียกได้ว่า “กระหายใคร่รู้กับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ภัควลัญชณ์เดินทางเข้าสู่โลกดาต้าก็คือ การที่หัวหน้างาน (อรอุมา วัฒนะสุข ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าสายงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ที่ทรู) ได้จัดอบรม Data Storytelling ให้สมาชิกในทีมได้อัปสกิลให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้งานสื่อสารด้วยดาต้าเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมได้อย่างแท้จริง และนั่นจึงไปกระตุกความสนใจการเล่าเรื่องด้วยดาต้าที่มุ่งเน้นให้คนมีปฏิสัมพันธ์กับเรื่องที่เล่าได้ด้วยเทคนิค Scrollytelling ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในสื่อชั้นนำของโลก เธอจึงหาคอร์สเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาสื่อรูปแบบดังกล่าวเพิ่มเติม และพบว่าต้องอาศัยความเข้าใจภาษาโค้ดดิ้ง เช่น SQL, R ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและทำ data visualization และอีกกลุ่มที่ช่วยทำให้เว็บไซต์ Interactive ได้อย่างภาษา HTML, CSS และ Java script

ระหว่างทาง เธอได้รับความไว้วางใจให้เป็น project manager ดูแลรับผิดชอบโครงการต่างๆ ซึ่งล้วนนำมาซึ่งการรีสกิลและอัพสกิลใหม่ๆ เช่น ความเข้าใจใน UX/UI การทำ prototype เว็บไซต์และแอป จากการดูแล corporate website การทำงานเชิงวิชาการจากฐานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนที่ (Mobility Data) เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองรอง เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของ Generative AI ที่เธอเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจถึงพื้นฐานแนวคิดการพัฒนา และการนำไปใช้

“ถ้าจะเป็น ‘มนุษย์เป็ด’ ในที่ทำงาน ก็ต้องเป็นเป็ดพรีเมียม (Multipotentialite) เรียนรู้ให้กว้าง ไว และไม่หยุดยั้งตลอดชีวิต (Life-Long Learning) เพราะทักษะที่หลากหลายนั้น จะทำให้เราเห็นภาพรวมของงาน และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง” ภัควลัญชณ์ กล่าว

ปัจจุบัน ภัควลัญชณ์ รับหน้าที่ดูแลงานสื่อสารผ่านดาต้าและช่องทางดิจิทัล ภายใต้หน่วยงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ ที่ทรู คอร์ปอเรชั่น

เธอเปรียบการพัฒนาตัวเองกับการฝึกของนักดนตรีว่า “เป้าหมายของนักดนตรีคือ ขยายขีดความสามารถตัวเอง เช่นเดียวกับการอัปสกิลที่ต่างต้องเริ่มที่การมี growth mindset แล้วตามด้วยการฝึกฝน เตรียมตัวเองให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน การมีบุคคลต้นแบบหรือโค้ชที่ดีก็จะช่วยให้นักดนตรีพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด เช่นเดียวกับการอัปสกิลที่เราควรมี mentor ที่ดี เพื่อชี้แนะแนวทางและให้การสนับสนุน เราก็จะพิชิตเป้าหมายได้อย่างแน่นอน”

จากเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงตัวเองของ 3 ตัวอย่างข้างต้น เราพบคุณลักษณะร่วมที่สำคัญ 4 ประการ คือ

  1. รู้จักตัวเอง โดยเฉพาะ “จิตใจ”
  2. เชื่อมั่นในศักยภาพตัวเองว่ายังพัฒนาต่อไปได้
  3. ลงมือทำ ฝึกฝนอย่างมีวินัยจนชำนาญ
  4. ทบทวนตัวเองบ่อย เพื่อตกผลึกความคิด แก้ไขจุดผิดพลาด และเดินก้าวหน้าอย่างมั่นคง

 

“การเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย” เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามปกติ นับตั้งแต่ยุโรปเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) และแพร่ขยายองค์ความรู้สมัยใหม่ไปทั่วทั้งโลก นำมาสู่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม จนมาถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไร แต่สิ่งที่ยังคงยืนหยัดและสะท้อนถึงธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ก็คือ การปรับตัวผ่านกระบวนการเรียนรู้

ท่ามกลางพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงที่กำลังก่อตัวโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้สนทนากับ 3 คนรุ่นใหม่ ผู้เชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของมนุษย์โดยไม่มีที่สิ้นสุด

สาวอักษรเยอรมันกับบทบาท Data Engineer
พิชญา จรูญพงษ์ศักดิ์ หรือ อนิก ผู้เติบโตในครอบครัวที่พ่อและแม่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ทำให้เธอมีความฝัน ตั้งเป้า และมุ่งมั่นเดินไปข้างหน้าสู่เส้นทางแม่พิมพ์ของชาติตั้งแต่เด็ก โดยเธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโท สาขาวิชาภาษาเยอรมัน จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนวันหนึ่งเธอพิชิตฝันได้สำเร็จ รับหน้าที่ครูในโรงเรียนมัธยมและอาจารย์สอนคอร์สภาษาเยอรมันสำหรับบุคคลทั่วไป ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

การคลุกคลีกับ “ดนตรีคลาสสิก” ของเธอในช่วงปฐมวัย เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พิชญาสนใจศึกษาภาษาเยอรมัน แต่แล้วความสนใจนั้นก็ขยายวงสู่ความก้าวหน้าในวิทยาการ จนพบว่าเยอรมนีเป็นชนชาติที่มีระบบการจัดการองค์ความรู้ที่เป็นเลิศผ่านระเบียบวิธีคิดเชิง “โครงสร้าง” ทำให้คนรุ่นหลังสามารถสืบค้นองค์ความรู้ย้อนหลังได้นับร้อยปีผ่านห้องสมุด ทั้งยังเห็นลักษณะทางสังคมแต่ละยุคผ่านความนิยมของการใช้คำอีกด้ว แต่แล้ววันหนึ่ง พิชญารู้สึกว่าโลกของเธอเริ่ม “แคบลง” ทุกวันๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการคลุกคลีกับสิ่ใดสิ่งหนึ่งเป็นระยะเวลานาน ในทางกลับกัน เพื่อนในวัยเรียนที่เติบโตมาด้วยกันมีโอกาสไปเผชิญโลกที่แตกต่างหลากหลาย บ้างก็บริหารทรัพยากรบุคคล บ้างก็ทำสายการตลาด บ้างก็ไปเป็นทูต ถึงแม้พวกเธอจะไม่ได้ศึกษาสาขานั้นๆ โดยตรงก็ตาม

ทันใดนั้น เธอจึงตัดสินใจหยุดเครื่องจักรในสายอาชีพครูชั่วครู่ เพื่อขอไปเปิดประสบการณ์ ขยายขอบเขตการเรียนรู้ เพื่อพิสูจน์ศักยภาพของตัวเธอเอง และที่นั่นก็คือ โครงการ True Next Gen ปี 2564 ที่เปิดกว้างให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรโดยไม่จำกัดสาขาที่เรียน พร้อมให้โอกาสในการสับเปลี่ยนหมุนเวียนภาระหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย 

หน่วยงานแรกที่พิชญาเข้าไปดูแลคือ งานของสภาดิจิทัล ทำให้ได้เรียนรู้การจัดการเชิงนโยบาย ทั้งยังกระตุ้นความสนใจด้านดาต้าแก่เธออีกด้วย และงานที่ 2 ก็คือ งานพัฒนา VLEARN Platform มีโอกาสได้ผลิตคลาสเรียนออนไลน์ งานการตลาด รวมถึงการทำแอปอีกด้วย และหน่วยสุดท้ายคือ Digitalization Center ที่ทำให้เธอได้สัมผัสกับเรื่องดาต้าอย่างจัง

ในเวลาเดียวกัน ทรูก็ได้เปิดรับสมัครโครงการ Data Science Immersive ซึ่งพิชญารีบร่อนใบสมัครคว้าโอกาสไว้ เพราะเธอมองว่า การมีทักษะเทคนิคเฉพาะด้านแบบนี้จะช่วยผลักดันศักยภาพตัวเองได้ไกลยิ่งขึ้นในวันแรกที่เข้าเรียน พิชญาสารภาพว่า เธอฟังไม่รู้เรื่องเลย แต่ก็พยายามจับหลักให้ทัน เพราะเวลาไหลไปเร็วมาก การเรียนการสอนในทุกๆ วันเป็นเรื่องใหม่ทั้งหมด เมื่อจบวัน ก็ต้องกลับไปทำการบ้านที่เป็นโค้ดดิ้ง

พิชญาบอกว่า พื้นฐานทางภาษาศาสตร์อักษรศาสตร์ที่ติดตัวมา ช่วยให้เธอมีทักษะการจับแพทเทิร์นเพื่อเห็นโครงสร้างของฐานข้อมูล คล้ายคลึงกับตอนทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ในหัวข้อ “ภาษาเยอรมันอย่างง่าย” ซึ่งเป็นการศึกษาหารูปแบบ/โครงสร้างทางภาษา เพื่อให้ผู้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถอ่านและเข้าใจได้ โดยเฉพาะกับเอกสารทางราชการ

อย่างไรก็ตาม แม้ภาษามนุษย์และภาษาคอมจะมีสิ่งที่คล้ายคลึงกันในแง่โครงสร้าง ขณะเดียวกันก็มีจุดที่แตกต่างกันอย่างมหาศาล โดยเฉพาะความรู้พื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมรรถนะและการใช้พลังงานในการรับ-ส่งข้อมูล

“ภาษาคอมคนละเรื่องกับภาษามนุษย์ ภาษาคอมก็คือภาษาที่ใช้สื่อสารกับฮาร์ดแวร์ แต่ในความต่างก็มีความเหมือน นั่นคือ การจัดเรียงภาษาที่ซับซ้อนให้เป็นโครงสร้าง เห็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น” พิชญา อธิบาย พร้อมเสริมว่า data practitioner ที่ดีควรมีทักษะ abstract thinking มองส่วนประกอบแบบองค์รวม  ภายหลังการเข้าคอร์สอย่างเข้มข้น พิชญามีโอกาสลงสนามจริงกับทีมพัฒนาซอฟแวร์ของแอป MorDee ตั้งแต่การพัฒนาซอฟแวร์ จนปัจจุบัน ทำหน้าที่เป็น data engineer วางระบบการเดินทางของดาต้าเพื่อให้ยูสเซอร์นำไปใช้ประโยชน์ได้สะดวกขึ้น

หนุ่มเศรษฐศาสตร์ผู้กระโจนสู่เส้นทางศาสตร์แห่งดาต้า
เส้นทางชีวิตเปรียบได้กับการเล่นรถไฟเหาะ มีสมหวังมีผิดหวัง พร้อมเจอสิ่งที่ไม่คาดคิดได้ตลอด เช่นเดียวกับ เรื่องราวของ เฉลิมชนม์ วงศ์โสภา หรือ อิม เด็กหนุ่มผู้ถือใบปริญญาด้านเศรษฐศาสตร์ถึง 2 ใบ แต่แล้วก็ตกหลุมและหลงใหลให้กับความน่าสนใจของดาต้า

เฉลิมชนม์ร่ำเรียนเรื่อย ๆ ไปตามระบบ แต่ก็ยังหาอาชีพในฝันไม่ได้ จนเมื่อเข้าสู่หัวเลี้ยวหัวต่อที่ต้องตัดสินใจ เขาจึงเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ โดยหวังว่าจะเข้าทำงานในหน่วยงานราชการอย่างกระทรวงการคลัง หรือสภาพัฒน์ แต่เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ความรู้สึก “ไม่มั่นใจ” กับการเข้าสู่สนามแห่งมืออาชีพของเขากลับดังขึ้น เกรงว่าตนเองจะไม่สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีกับการทำงานจริงได้ เฉลิมชนม์จึงตัดสินใจเรียนต่อระดับปริญญาโทในสาขาเดียวกันทันที

“เศรษฐศาสตร์​ถือเป็นสหวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับหลายศาสตร์ทั้ง คณิต สถิต สังคมศาตร์ ซึ่งผู้เรียนต้องรู้จักการประยุกต์พลิกแพลง และนี่คือสเน่ห์ของเศรษฐศาสตร์” เฉลิมชนม์ อธิบาย ระหว่างนั้้น เขาก็เริ่มร้อนวิชา ต้องการหาวิธีใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในสนามจริง จึงได้ไปสมัครงานที่บริษัทวิจัยในตำแหน่ง data analyst และนั่นจึงนำพาให้เขาเข้าใจการทำงานของดาต้าและหลักสถิติมากขึ้น

เมื่อต้องทำงานจริง การวิเคราะห์ข้อมูลก็เปรียบได้กับการต่อจิ๊กซอว์ เราต้องค่อยๆ ปะติดปะต่อ ภายหลังที่ต่อจนได้ภาพที่สมบูรณ์ เมื่อนั้นเราก็จะเห็นคำตอบที่อยู่ในข้อมูลเหล่านั้นเอง” เฉลิมชนม์ กล่าวพร้อมเล่าต่อว่า ที่เดียวกันนี้เอง ทำให้เขารู้จักกับอาชีพ data scientist พลันเมื่อเห็นวิธีคิดและการทำงานเพื่อพยากรณ์แนวโน้มแล้ว ยิ่งกระตุ้นต่อมความสนใจของเขา จนหาคอร์สสั้นๆ ลงเรียนเอง

หลังจากตรากตรำกับการเรียนและงานวิจัยเป็นเวลา 2 ปีเต็ม เฉลิมชนม์ก็คว้าดีกรีปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์มาได้ พร้อมกับบทบาทและองค์กรเป็น Business Intelligence Analyst รับผิดชอบงานพัฒนา dashboard เพื่อแสดงผลข้อมูล ที่ธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง แม้จะพอคลุกคลีกับงานดาต้ามาบ้าง แต่เมื่อระบบโปรแกรมที่ใช้ต่างกัน เฉลิมชนม์จึงต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ความพยายามอยู่ที่ใด ความสำเร็จอยู่ที่นั่นฉันนั้น เขาใช้เวลาช่วงเช้าก่อนเข้างาน เพื่อเรียนลงลึกเกี่ยวกับโปรแกรมนั้น โดยเขารับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ด้วยเหตุผลว่าตรงจุดและสนุก จนสามารถใช้โปรแกรมได้อย่างชำนาญการ แต่กระนั้น เฉลิมชนม์ยังคงมีความรู้สึก “ค้างคา” เพราะความใคร่รู้ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง อย่างการเข้าใจถึงที่มาข้อมูลที่ต้องอาศัยทักษะเทคนิคอื่นๆ

ในเวลาเดียวกัน เฉลิมชนม์เห็นข้อความประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการ Digital Science Immersive โดย ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อให้โอกาสกับผู้ที่สนใจด้านดาต้าได้มีโอกาสฝึกฝนและพัฒนาตัวเอง พร้อมเข้าสู่สนามดาต้าอย่างมืออาชีพ แน่นอนว่าเขารีบยื่นใบสมัครทันที พร้อมกับเป็น 1 ใน 6 คนที่ได้รับทุนเรียนฟรี

สำหรับคอร์ส Data Science Immersive ดำเนินการสอนโดย General Assembly สถาบันการศึกษา ผู้บุกเบิกแนวทางการเปลี่ยนสายอาชีพสู่สายเทคและดิจิทัล จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งคอร์สเรียนดังกล่าวกินเวลาทั้งสิ้น 3 เดือนเต็ม ตั้งแต่เช้าถึงเย็น เหมือนกลับไปเรียนมัธยมฯ ใหม่

เหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้ความค้างคาในใจเริ่มจางลง พร้อมกับความฝันที่ชัดขึ้นกับเป้าหมายการทำหน้าที่ data scientist ด้วยเวลาเพียง 3 เดือน เฉลิมชนม์ประเมินความสามารถด้านดาต้าของตัวเองพัฒนาขึ้นถึง 80-90% ซึ่งนอกจากความรักดาต้าเป็นทุนเดิมแล้ว วิธีการสอนและความใส่ใจของอาจารย์จาก General Assembly ก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียน

การเรียนการสอนของ General Assembly มีความต่างจากระบบการสอนแบบไทยอย่างมาก สิ่งที่เห็นได้ชัดคึอ ความรักในงานของอาจารย์ที่เราสัมผัสได้ ทุกเช้าจะมีการรีวิวเนื้อหา ปรับคอร์สตามสภาวะการเรียนรู้ และยังะคอยเช็คอุณหภูมิของห้องตลอดเวลา อันไหนง่ายไป ยากไป ถ้าเครียดก็จะใส่มุกตลก ให้บรรยากาศการเรียนสนุกขึ้น

ที่สำคัญ ยังมีเซสชั่นที่เปิดพื้นที่ให้ทุกคนในคอร์สได้ถกเถียงและอภิปรายถึงประเด็นที่เกิดขึ้นนอกตำราอย่างสร้างสรรค์ การมองข้อมูลที่ต่างมุม รวมถึงจริยธรรมด้านดาต้าที่ต้องคำนึงถึงอย่างแรก”

ปัจจุบัน เฉลิมชนม์ทำงานในตำแหน่ง data scientist สายงาน People & Organization Strategy, and Analytics ของทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งถือเป็นตำแหน่งใหม่และเป็นกำลังสำคัญของกลุ่มงานทรัพยากรบุคคล กับภารกิจเปลี่ยนองค์กรสู่ AI-First Organization ที่ตั้งเป้าไว้

จากเส้นทางดนตรี สู่นักสื่อสารด้วยดาต้า


หากใครได้ดูรายการประกวดร้องเพลงยุคบุกเบิก The Star ค้นฟ้าคว้าดาว อาจคุ้นๆ เห็นเธอคนนี้ผ่านตามาบ้าง ภัควลัญชณ์ โชติพิชชานันช์ หรือ ดิ๊ง เพราะเธอเป็นหนึ่งในผู้เข้าประกวดรอบ 20 คนสุดท้ายของรุ่น 4 สะพานอีกเส้นที่สานฝันอาชีพนักร้อง นักแต่งเพลงในวัยเด็ก เธอมุ่งมั่นกับมันอย่างมาก ถึงขั้นศึกษาเต็มเวลาในระดับปริญญาตรี คณะดุริยางคศาสตร์ สาขาดนตรีเชิงพาณิชย์ ม.ศิลปากร

ความฝันย่อมเป็นเพียงความฝันหากไม่ลงมือทำ แต่นั่นไม่ใช่ภัควลัญชณ์ เพราะเธอมุ่งมั่นคว้าฝันด้วยการฝึกฝนทั้งร้องเพลงทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมง ซึ่งการฝึกตัวเองอย่างนี้ตั้งแต่เด็กช่วยบ่มเพาะให้เธอกลายเป็นคนมีวินัย จนกระทั่งอายุ 18 ปี เธอได้เป็นครูสอนร้องเพลงตามที่ฝันไว้ที่สถาบันดนตรีมีฟ้า ซึ่งเป็นโรงเรียนดนตรีในเครือ GMM Grammy และเป็นผู้สอนระดับขั้นสูง (KCI Advance Instructor) ของสถาบัน KPN Music Academy

แต่เมื่อทำงานสอนครบ 8 ปี ภัควลัญชณ์รู้สึกถึงจุด “อิ่มตัว” เธอจึงมองหาความท้าทายใหม่ๆ ขณะนั้นเธอพึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการตลาด จาก NIDA และนั่นจึงเป็นจุดหักเห เบนเข็มพาเธอเข้าสู่การทำงานในองค์กรเป็นครั้งแรกในชีวิต โดยเริ่มจากงานที่ศูนย์บริการลูกค้า จากนั้นจึงย้ายสู่สายงานสื่อสารองค์กร ทำหน้าดูแลงานสื่อสารภายในองค์กร  ช่วงปี 2560 เป็นยุคที่โซเชียลมีเดียเริ่มบูม คอนเทนท์บนฟีดมีความหลากหลายมากขึ้น แต่ที่เตะตาภัควลัญชณ์อย่างมากเลยคือ “อินโฟกราฟิก” และ “วิดีโอสั้น (short-form video)” เพราะเนื้อหาที่ย่อยมาแล้ว ดูปราดเดียวก็เข้าใจ เธอในบทบาทนักสื่อสารจึงอยากสร้างสรรค์ให้ได้บ้าง และนั่นถือเป็นจุดสตาร์ท เพื่อพัฒนา hard skill โดยหาคอร์สเรียนโปรแกรมออกแบบและตัดต่อวิดีโอด้วยตัวเอง จนสามารถทำกราฟิก-ตัดต่อวิดีโอเล่าเรื่องเองได้ เรียกได้ว่า “กระหายใคร่รู้กับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ภัควลัญชณ์เดินทางเข้าสู่โลกดาต้าก็คือ การที่หัวหน้างาน (อรอุมา วัฒนะสุข ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าสายงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ที่ทรู) ได้จัดอบรม Data Storytelling ให้สมาชิกในทีมได้อัปสกิลให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้งานสื่อสารด้วยดาต้าเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมได้อย่างแท้จริง และนั่นจึงไปกระตุกความสนใจการเล่าเรื่องด้วยดาต้าที่มุ่งเน้นให้คนมีปฏิสัมพันธ์กับเรื่องที่เล่าได้ด้วยเทคนิค Scrollytelling ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในสื่อชั้นนำของโลก เธอจึงหาคอร์สเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาสื่อรูปแบบดังกล่าวเพิ่มเติม และพบว่าต้องอาศัยความเข้าใจภาษาโค้ดดิ้ง เช่น SQL, R ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและทำ data visualization และอีกกลุ่มที่ช่วยทำให้เว็บไซต์ Interactive ได้อย่างภาษา HTML, CSS และ Java script

ระหว่างทาง เธอได้รับความไว้วางใจให้เป็น project manager ดูแลรับผิดชอบโครงการต่างๆ ซึ่งล้วนนำมาซึ่งการรีสกิลและอัพสกิลใหม่ๆ เช่น ความเข้าใจใน UX/UI การทำ prototype เว็บไซต์และแอป จากการดูแล corporate website การทำงานเชิงวิชาการจากฐานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนที่ (Mobility Data) เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองรอง เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของ Generative AI ที่เธอเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจถึงพื้นฐานแนวคิดการพัฒนา และการนำไปใช้

“ถ้าจะเป็น ‘มนุษย์เป็ด’ ในที่ทำงาน ก็ต้องเป็นเป็ดพรีเมียม (Multipotentialite) เรียนรู้ให้กว้าง ไว และไม่หยุดยั้งตลอดชีวิต (Life-Long Learning) เพราะทักษะที่หลากหลายนั้น จะทำให้เราเห็นภาพรวมของงาน และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง” ภัควลัญชณ์ กล่าว

ปัจจุบัน ภัควลัญชณ์ รับหน้าที่ดูแลงานสื่อสารผ่านดาต้าและช่องทางดิจิทัล ภายใต้หน่วยงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ ที่ทรู คอร์ปอเรชั่น

เธอเปรียบการพัฒนาตัวเองกับการฝึกของนักดนตรีว่า “เป้าหมายของนักดนตรีคือ ขยายขีดความสามารถตัวเอง เช่นเดียวกับการอัปสกิลที่ต่างต้องเริ่มที่การมี growth mindset แล้วตามด้วยการฝึกฝน เตรียมตัวเองให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน การมีบุคคลต้นแบบหรือโค้ชที่ดีก็จะช่วยให้นักดนตรีพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด เช่นเดียวกับการอัปสกิลที่เราควรมี mentor ที่ดี เพื่อชี้แนะแนวทางและให้การสนับสนุน เราก็จะพิชิตเป้าหมายได้อย่างแน่นอน”

X

Right Click

No right click