“ศรัทธา” ในทางพุทธศาสนา เถรวาทตามขนบความเชื่อแบบดั้งเดิมมีเพียง 4 ข้อเท่านั้น ข้อแรก คือ ศรัทธาในเรื่องของ “กรรม” ข้อต่อมาคือเชื่อในเรื่องของ “วิบากกรรม” ข้อถัดไปคือ “กัมมัสสกตา” เชื่อว่าคนเราเป็นเจ้าของกรรมและทายาทที่รับมรดกกรรม และสุดท้ายคือ “ตถาคตโพธิ” เชื่อว่าหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ปฏิบัติตามแล้ว จะทำให้หลุดพ้นจาก “กรรม-กิเลส-วิบาก” อย่างชัดเจน
พลังศรัทธาของคนไทยในเวลานี้ ไม่เหมือนเดิมเหลือเพียงแค่แนวคิด “ศาสนาและไสยศาสตร์” ซึ่งเป็น “ศรัทธา” ของครุ่นเก่า กับ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ซึ่งเป็นศรัทธาของคนรุ่นใหม่ ปะทะกัน โดยศรัทธาในศาสนา “เชื่อว่ามีอำนาจที่ควบคุมไม่ได้คอยบงการ เช่น พรหมลิขิต เป็นต้น” แต่ศรัทธาในไสยศาสตร์ “เชื่อว่าสามารถใช้อำนาจที่ควบคุมไม่ได้ เช่น โหราศาสตร์ เป็นต้น” ส่วนศรัทธาของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ยังคงเป็นศรัทธาที่ไม่มีเสถียรภาพมุ่งนำเสนอข้อค้นพบใหม่หักล้างแนวคิดทฤษฎีเก่า เพื่อต่อยอดความคิดอ่านให้ทันสมัยเรื่อยไป ซึ่งกล่าวโดยสรุป “ศรัทธา 5.0” โดยย่อคือ “ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน”
“ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ” และ “ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งนอกเหนือจากธรรมชาติ” ส่วน “พลังศรัทธา” ของคนหนุ่มสาวที่มีต่อ “ศาสนา” และ “การเมือง” ไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะอิทธิพลของคนรุ่นใหม่ในสังคมไทย ส่วนใหญ่เกิดในปี Y2K (ปี พ.ศ. 2543) หรือปี 2000 คน รุ่น Generation Z “เจน แซด” ซึ่งบ้างก็เรียกว่า “ช่วงวัยที่เงียบ” Silent Generation หรือ “สังคมก้มหน้า” เน้น “แชะ แชต แชร์” การหยั่งเสียง “การนับถือศาสนา” และวัดผลชี้ชัด “พลังทางการเมือง” จึงทำได้ลำบาก เพราะโซเชียลมีเดียมีผลให้คนหนุ่มสาวรุ่นนี้หมกมุ่นกับ “โลกส่วนตัว” ใช้เวลาส่วนใหญ่ปลีกตัวเองจากสังคมจริง เข้าสู่สังคมเสมือนไม่สนใจ “ประชาธิปไตย” คนมีสีจึงปกครองประเทศได้อย่างสบายๆ
“ศรัทธา 5.0” ในบริบทสังคมไทย จำต้องใช้ “แนวคิดทฤษฎีทางมานุษยวิทยา” ตอบคำถาม เพราะ “ศาสนา” ในสังคมไทยไม่ได้แน่นิ่งหรือตายไปแล้ว ทว่ายังคงเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง และเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทั้งยังไม่มีข้อยุติเรื่อง “ขาว” หรือ “ดำ” อย่างถาวร เพราะ “สยามประเทศ” มีลักษณะเป็น “สังคมเปิด” มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันมาช้านานทุกอณูพื้นที่ของประเทศ “ศาสนา+ไสยศาสตร์” พลังศรัทธาปะปนกันจนแทบจะแยกไม่ออกไม่ว่าจะเป็น “โหราศาสตร์กับพุทธศาสตร์” “พระกับผี” “พระกับเทพ” ฯลฯ
สังคมไทยมีพลวัตศรัทธาในศาสนาเปลี่ยนแปลงปรับตัว เป็นไปตามรุ่นของคน อายุ สมัย เวลา ยุค ในพื้นที่อันหลากหลาย ทั้งชนบทและสังคมเมือง ซึ่งศรัทธาคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คนในยุคนั้นยังไม่มีการจดบันทึกหรือถ่ายทอดเรื่องราวเนื้อหา และหลักธรรมไว้ชัดเจน ยกตัวอย่าง “เครื่องมือหินแบบโฮบิเนียน ซึ่งอยู่ในยุคหินกลาง และบริเวณที่พบกระจายตัวในภูมิภาค อาเซียน” “โลงไม้ถ้ำผีแมน บริเวณวนอุทยานธรรมชาติ ห้วยน้ำดัง แม่ฮ่องสอน” “เทือกเขาหินปูนบริเวณประตูผา จังหวัดลำปาง” “เทือกเขาหินปูน เขาปลาร้า อำเภอลานสาง จังหวัดอุทัยธานี” ซึ่ง “พลังศรัทธา” คนไทยยุคต่อยุค เรียงราย จากยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่ จนถึงยุคโลหะ ตามลำดับ กระทั่งถึงช่วงเวลา 2,500 ปีลงมา จึงพบหลักฐานตัวเขียน ในคัมภีร์เก่าแก่คือ “ชาดก” วรรณคดีสำคัญทางพระพุทธศาสนา บอกเล่าเรื่องราว “มหาชนกชาดก” กล่าวถึงตำนานชีวิต พระพุทธเจ้าครั้งเกิดเป็นพระโพธิสัตว์เคยเป็นพ่อค้าสำเภาล่อง เรือมาขายสินค้าที่สุวรรณภูมิ ขณะที่ตำนาน “คัมภีร์มหาวงศ์” ก็ยืนยันว่า “จอมจักรพรรดิอโศก” ได้ทรงมีพระบรมราชโองการ จัดส่ง “พระโสณะและพระอุตตระ” มาเผยแผ่พุทธศาสนาใน สุวรรณภูมิ เมื่อคราวสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 218
ห้วงเวลานี้เองที่มีพัฒนาการ ทางเทคโนโลยีทันสมัยยุคนั้นคือ “การถลุงเหล็ก” เพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับ การสร้างบ้านแปงเมืองต่างๆ ทั่วไทย หักล้าง “แนวคิดทฤษฎีดั้งเดิม” ที่เคย เชื่อกันมาว่าผู้คนในแถบอาเซียนล้าหลัง ทางเทคโนโลยีและอารยธรรมต้องอาศัย “ชาวอินเดีย” นำ “ศาสนาพุทธและ พราหมณ์” มาให้จึงค่อยๆ กลายมาเป็น นครรัฐที่มีกษัตริย์ ศาสนา อักษรศาสตร์ โหราศาสตร์ จารึก ตัวเขียน การแพทย์ แผนไทย และวิทยาการต่างๆ เจริญ รุ่งเรืองขึ้น กล่าวโดยสรุป “เทคโนโลยี ถลุงเหล็ก” ได้หักล้างสมมติฐานวง การวิจัยไทยศึกษาและยืนยันว่าสังคม ไทยมีความเจริญและเทคโนโลยีทันสมัย อยู่แล้ว ก่อนรับเอา “ศาสนาอินเดีย” ทั้งพุทธและพราหมณ์เข้ามาในชีวิต ประจำวัน
กระนั้น สังคมไทย ก็มี “ศรัทธา” ใน “ไสยศาสตร์” แบบไทยๆ ยกตัวอย่าง ความเชื่อใหม่ในรอบร้อยปีเศษเรื่อง “พระสยาม เทวาธิราช” ปกปักรักษาคุ้มครองประเทศไทย ขณะเดียวกัน “ชนชั้นสูง” ก็ใช้ “พุทธศาสตร์” ควบคู่กันไปกับ “ไสยศาสตร์” ในการปกครองประเทศ กล่าวคือนักการเมืองระดับผู้นำในอุดมคติ จะต้องเป็น “สมมติเทพ” เช่นเดียวกับ “พระโพธิสัตว์” และ ต้องบำเพ็ญ “ทศพิธราชธรรม 10 ประการ” เทวดาฟ้าดินภูตผี ปีศาจผีบ้านผีเมืองจึงจะอวยชัยให้พรปกปักรักษาคุ้มครองให้ “พลังอำานาจ” ของรัฐบาลมีเสถียรภาพไม่สั่นคลอน
เหล่า “โหราจารย์” มีอิทธิพลกำหนดฤกษ์ผานาทีและชี้นำ “ชัยชนะ” นักการเมืองไทยในแต่ละยุค จึงยอมสยบและ เชื่อฟัง “โหร” มากกว่า “พระ” จนเกิดคำว่า “ไม่เชื่อแต่อย่าลบหลู่” พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเราจึงพบเห็น “ศาลเจ้า” มากกว่า “ศาลยุติธรรม” เหมือนกันกับ “ญี่ปุ่น” โดยบังเอิญ ซึ่งพลังศรัทธา ใน “เทวดา” พบในศาสนา “ชินโต” และ “พุทธ” ทุกหนทุกแห่งมี “เทวดา” สถิตทั่วทั้งเกาะ เป็น “อะไร” ที่ “ไม่เชื่อแต่อย่าลบหลู่” โดยญี่ปุ่นเองก็มีทั้ง “ศาสนาและไสยศาสตร์” และ “วิทยาศาสตร์ กับเทคโนโลยี” ไม่ต่างจากสยามประเทศ
นอกจากนี้ คนไทยเรายังรับเอาพลังศรัทธาแบบ “ขอม+แขก” โดย “ไสยศาสตร์แบบไทยๆ” ได้รับเอา “พลังอำานาจ” จาก “เทพเทวา” ต่างๆ ทั้ง “ครุฑ” พาหะของพระพรหม และ อัญเชิญเทวดามีชื่อเสียงต่างๆ เป็นต้นว่า “พระพรหม” “พระอินทร์” “พระศิวะ” “พระนารายณ์” “พระคเณศ” เพื่อลงมา ช่วยเหลือขจัดปัดเป่าปกปักรักษาปกป้องคุ้มครอง “อำานาจรัฐ” ให้อยู่ในมือชั่วฟ้าดินสลาย เป็น “อะไรๆ” ที่ “ไม่ธรรมดา” ขนาด “เทพทันใจ” และ “หมอดู” สายพม่า ตลอดทั้ง “ครูบา” ที่เป็นพระ คนไทยเรายังนับถือและศรัทธาโดยรับมาเป็นส่วน หนึ่งของ “ศรัทธา” ในยุคดิจิทัลนี่เอง ไม่ใช่ยุคอื่นใด ไม่ต่างจาก “วัฒนธรรมอาหาร” ซึ่งไทยรับเอาแขกและจีนมาปรับใช้จน กลายเป็น “อาหารไทยรสเลิศ” อย่างแกงเขียวหวาน หรือ วัฒนธรรมกินเส้นต่างๆ ซึ่งมากกว่าเมืองจีน ทั้งเส้นเล็ก เส้นใหญ่ เส้นหมี่ขาว เส้นหมี่ไข่ เส้นหมี่ปลา เส้นหมึกดำ เส้นบะหมี่ สารพัดนานาชนิด ซึ่งเมืองจีนเองยังมีไม่ครบถ้วน เท่าที่ไทยมี
ศรัทธา 5.0 เป็นยุคที่ “ผู้นำารัฐ” ต่างเชื่อกันว่า “ตนเอง และพวกพ้อง” สามารถควบคุมอำนาจเหนือธรรมชาติคือ “เทวานุภาพ” และใช้หลัก “โหราศาสตร์” มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในการปกครองคนรุ่นเก่าที่ “ศรัทธา” ในศาสนาและไสยศาสตร์รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่ศรัทธาในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทันสมัย ได้อย่างแนบเนียน ซึ่งพลังศรัทธาของคนไทยประกอบด้วย “ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับ สิ่งนอกเหนือธรรมชาติ” โดยเฉพาะพลังศรัทธาแนวไสยศาสตร์ “คนกับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ” นำไปสู่แนวคิด “จักรวาลวิทยา” ของผู้คนในสังคมไทยที่รับรู้ร่วมกัน และปรารถนาอยากเห็น “โลกพระศรีอาริย์ในยุคดิจิทัล” ซึ่งเทคโนโลยี AI Blockchain และ “รถไฟความเร็วสูง” กำลังย่นและย่อประเทศไทยให้เล็กลง
“ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “บล็อกเชน” ฯลฯ ได้เริ่มโจมตี และทำลายล้างเทคโนโลยีและการจัดการแบบเก่า (Disrupt) ด้วย “นวัตกรรมทันสมัย” อันได้แก่ Quantum Computing ซึ่งค่อยๆ ทดแทน Digital Computing ถึงกระนั้น “ศาสนากับ ไสยศาสตร์” และ “วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี” ก็จะยังคงอยู่คู่ กับ Thailand 5.0 ต่อไป และตลอดไป ไม่แตกต่างไปจากญี่ปุ่น และเราอาจได้เห็น “รัฐบาล” อยู่คู่กับ “สังคมไทย” ตลอดอายุขัย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามแนวคิด “ไสยศาสตร์ 5.0”
Nothing is Impossibleไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้!!
เรื่อง ดร. อุทิส ศิริวรรณ
ภาพ ยุทธจักร