January 22, 2025

ยกระดับองค์ความรู้วิชาการและงานวิจัย นำมาใช้พัฒนาภาคธุรกิจได้จริง

March 13, 2019 3853

การขับเคลื่อนด้านวิชาการและงานวิจัย ถือเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในสังคม นำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้ผู้เรียนก้าวเท่าทันกับโลกที่มีการ เปลี่ยนผ่านแทบทุกวินาที ผศ.ดร. สิงหะ ฉวีสุข  รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะการบริหารและจัดการ หรือ FAM สถาบัน เทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกิด การค้นคว้าและประยุกต์สิ่งใหม่ๆ เข้ากับการเรียน ในทุกระดับของหลักสูตรบริหารธุรกิจใน ทศวรรษหน้า

ในส่วนงานวิชาการ หน้าที่หลักคือดูแล การเรียนการสอนของทุกหลักสูตร ทุกระดับ ของคณะ ตั้งแต่ปริญญาตรี โทและเอก รวมถึง หลักสูตรภาษาไทยและนานาชาติ เพื่อให้ได้ บัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสามารถทาง ปัญญาและพฤติกรรม นำไปสู่การพัฒนา วิชาชีพและสร้างความสำเร็จในอนาคตได้

นอกจากภาระหน้าที่หลักในการดูแลทุกกระบวนการจัดการเรียน การสอนของทุกหลักสูตรที่สังกัดในคณะการบริหารและจัดการแล้ว  ยังทำงานร่วมกับส่วนงานวิเทศสัมพันธ์ เพื่อทำความร่วมมือทาง วิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตาม ยุทธศาสตร์ด้านวิชาการของคณะฯ ซึ่งส่วนงานวิชาการจะนำ ข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อนำจุดแข็งของความ ร่วมมือเหล่านั้นประยุกต์เข้ากับหลักสูตรต่างๆ ของคณะ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับของข้อตกลงความร่วมมือว่าเป็นลักษณะใด เช่น ต้องการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยหรือระหว่างหลักสูตร  เราก็จะหาจุดแข็งและจุดอ่อนของทั้งสองฝ่าย เพื่อนำมาเสริมสร้าง และพัฒนาให้เกิดการปรับปรุงหลักสูตรและงานวิจัยควบคู่กันไป เป็นต้น ซึ่งคุณประโยชน์หลักที่ได้จากการทำความร่วมมือกับ สถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ คือนักศึกษา จะได้เรียนรู้ศาสตร์ที่แตกต่างกันมากขึ้น ได้มีโอกาสเรียนรู้และ มองเห็นศาสตร์ใหม่ๆ ในระดับโลก ก่อให้เกิดการเรียนการสอน และการวิจัยร่วมกัน ซึ่งจะตอบโจทย์ความต้องการด้านการ บูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้ากับศาสตร์การบริหารและจัดการ เชิงธุรกิจ เพื่อนำไปสู่ความอยู่รอดทางธุรกิจอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่เข้ามากระทบการดำเนินงานของ ภาคธุรกิจ ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีความ พร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วยข้อมูลที่ ครอบคลุมและทันสมัย ผนวกเข้าศาสตร์การบริหารธุรกิจในแขนง ต่างๆ ซึ่งการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ ของคณะ จะเข้ามา ช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันให้แก่ทุกกระบวนการของธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับ นโยบายของรัฐบาล เช่น Thailand 4.0 ++ การยกระดับ ความสามารถให้แก่ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้หากการ พัฒนาหลักสูตรยังไม่สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ทัน คณะจึงสร้างหลักสูตรสายพันธุ์ใหม่ ขึ้นมา ได้แก่

  1. Entrepreneurial and Science-Based Degree เป็นแบบMultidisciplinary Curriculum บูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้ากับด้าน บริหารธุรกิจ เช่น ศาสตร์ด้านวิศวกรรมหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ากับการบริหารและจัดการ เพื่อธุรกิจที่อยู่รอดอย่างยั่งยืน
  2. Work-Based Degree เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนและทำงานในสถานประกอบการจริง ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก องค์การขนาดใหญ่ในระดับประเทศ เช่น BETAGO Thai Bev Central หรือ CPAll เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ จากสถานที่ทำงานจริง นำไปสู่การประกอบอาชีพได้อย่างม ประสิทธิภาพในอนาคต
  3. Area-Based Degree เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นเฉพาะพื้นที่หรือกลุ่มเศรษฐกิจ เช่น ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น ประชารัฐรักสามัคคี ห้องเรียนบริหารธุรกิจ CHINESE ห้องเรียน ASEAN ห้องเรียน CLMV เป็นต้น
  4. Global-Based Sandwich Degree เป็นการทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยระดับโลก เช่น University of Oxford หรือ University of Nevada เป็นต้น
  5. Online Degree ซึ่งจะเริ่มต้นจากหลักสูตรระยะสั้นหรือการอบรม เพื่อสร้างทักษะที่จำเป็นในการทำงานยุคนี้ เช่น Digital Marketing หรือ Tech Entrepreneurship เป็นต้น

ส่วนการส่งเสริมด้านงานวิจัย ผศ.ดร.สิงหะ อธิบายว่าการ วิจัย เป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของอาจารย์ไม่น้อยกว่าการสอน เนื่องจากองค์ความรู้ต่างๆ มักจะเกิดขึ้นจากกระบวนการทำวิจัย หากไม่มีงานวิจัย ทฤษฎี แบบจำลอง องค์ความรู้ต่างๆ ก็จะ ไม่ทันสมัย เพราะฉะนั้นการค้นคว้าและนำองค์ความรู้ใหม่เหล่า นี้มาใช้ จึงเป็นการสร้างความทันสมัยให้แก่การถ่ายทอดความรู้ จากอาจารย์ไปสู่ผู้เรียน ดังนั้นการนำการวิจัยที่ทันสมัยมา ประกอบและเสริมการเรียนการสอน จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ที่ แข็งแรง เห็นภาพว่าสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร จึงเป็น สาเหตุเพราะเหตุใดอาจารย์จึงต้องมีการทำวิจัยควบคู่กับการ จัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ

รทำวิจัยจะทำให้เรได้เรียนรู้กระบวนกรแก้ปัญห ที่ถูกต้อง สรถนำไปสู่ผลลัพธ์ของกรวิจัยที่ชัดเจนมกขึ้น เพระถ้แก้ปัญหผิดวิธี ผลลัพธ์ที่ออกมก็ผิดพลดไปด้วย การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจะมีหลักสูตรที่พูดถึงการทำ วิทยานิพนธ์ ซึ่งคือการทำวิจัยอย่างหนึ่งที่ต้องมีหัวข้อชัดเจน ผลลัพธ์ที่ได้มาจะนำไปใช้เป็นองค์ความรู้ใหม่หรือการประยุกต์ ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น การส่งเสริมงานวิจัยของคณะจึงมี 2 มิติ คือ 1. เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตรบัณฑิตศึกษาโดยให้สามารถเผยแพร่งานวิจัยในระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับมากขึ้น 2. เพื่อสนับสนุน คณาจารย์ของคณะ ให้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยในเวที ระดับนานาชาติ ทั้งนี้ประโยชน์เสริมคืออาจารย์จะได้นำเอา ทักษะการทำวิจัยและนำผลลัพธ์จากการวิจัยไปเป็นเครื่องมือ สนับสนุนการสอนนักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาเอก  ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่ หมายความว่า ผู้เรียนจะต้องทำการศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการ แก้ปัญหาอย่างถูกต้อง เช่น หากกล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีใน ธุรกิจ เป้าหมายโดยทั่วไปคือการทุ่นแรงและสร้างความแม่นยำ ในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่โจทย์ใหม่ คือพฤติกรรมของผู้บริโภค ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้หากประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีต่างๆ ได้ตรงกับสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันได้ อย่างเชี่ยวชาญ ธุรกิจก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูงยิ่งขึ้น

ซึ่งการนำเอางานวิจัยมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงนั้น จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน ยกตัวอย่าง หาก ประเทศไทยเป็นหน่วยที่ใช้ศึกษา การดำเนินการวิจัยจำเป็นต้อง มีขั้นตอนและกระบวนการที่ชัดเจน เพื่อค้นคว้าและพิสูจน์ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยมีปัญหาใดบ้าง จากนั้นจึงศึกษาผลงานวิจัยในอดีตที่ผ่านมา ว่าสามารถนำไปสู่การ แก้ปัญหาในรูปแบบใดได้บ้าง ยังคงเหลือปัญหาหรือจุดอ่อนใด ที่ยังไม่ถูกนำมาแก้ไข ซึ่งปัญหาของประเทศไทยเปรียบเสมือน เป็นกล่องใบหนึ่งที่มีหลายด้าน อาจมีเพียงด้านเดียวเท่านั้น ที่ได้รับการแก้ไขไปแล้ว ยังคงเหลืออีกหลายด้านที่รอการแก้ไข ดังนั้นกระบวนการค้นคว้าวิจัยจะทำให้ภาพรวมของกล่องใบดังกล่าว มีภาพลักษณ์และคุณสมบัติที่ดีขึ้นกว่าเดิม

อีกแง่หนึ่งในการกลั่นกรองปัญหาเพื่อทำงานวิจัย อาจพิจารณา จากนโยบายระดับโลก ระดับชาติ หรือระดับหน่วยงานเพิ่มเติมได ้ อาทิ หากมองประเด็นของ Thailand 4.0 จะทำให้เห็นภาพว่า ต้องมีการขับเคลื่อนในส่วนใดบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น  และเมื่อมาผนวกกับความเชี่ยวชาญของคณะในฐานะหน่วยงาน การศึกษา จึงตั้งเป้าเป็น Education 4.0 ที่เน้นการพัฒนาบุคลากร ในประเทศชาติให้มีศักยภาพและอยู่รอดในโลกปัจจุบันให้ได้ มากยิ่งขึ้น จึงส่งผ่านมาที่ Curriculum 4.0 เพื่อสร้างหลักสูตรที่ เสริมสร้างความสามารถของบุคลากรในชาติได้ หากขณะนี้เรา อยู่ที่ 3.0 แล้ว จึงพิจารณาต่อว่ามีประเด็นใดบ้างที่จะนำเราไปถึง 4.0 ได้ นี่คือความสำคัญของงานวิจัยที่จะเกิดขึ้นเพื่อสร้างและ นำไปใช้แก้ไขให้ตรงตามเป้าหมาย ซึ่งแน่นอนว่าจำเป็นต้อง อาศัยความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมและส่วนงานต่างๆ พร้อมกับการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปเสริมสร้างความ สามารถในการแข่งขันต่อไปได้ ยิ่งไปกว่านั้นคณะยังมีเป้าหมาย บูรณาการการวิจัยและการเรียนการสอน เพื่อเตรียมความพร้อม ในการเข้าสู่ยุค Society 5.0 อีกด้วย

คุณลักษณะหลักของการวิจัยด้านการบริหารและจัดการ  ซึ่งถือเป็นการวิจัยในมิติของสังคมศาสตร์ คือการนำเอาศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ที่นำไปสู่การพัฒนาและตอบสนองความต้องการของ สังคมได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นเหตุให้คณะมีนโยบายส่งเสริม การทำวิจัยอย่างเข้มข้น เช่น การสนับสนุนคณาจารย์ให้มีโอกาส พัฒนาตนเอง การสนับสนุนทุนวิจัย ซึ่งจัดแบ่งเงื่อนไขเป็นกรณีไป  กล่าวคือหากเป็นอาจารย์ที่มีประสบการณ์ทำวิจัย คณะมีการสนับสนุนทุนวิจัยที่ค่อนข้างสูง ซึ่งแน่นอนว่าคณะก็คาดหวัง ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูงเช่นกัน ส่วนคณาจารย์ใหม่ คณะมีนโยบาย สนับสนุนการวิจัยแบบเป็นขั้นบันไดอย่างเหมาะสม รวมถึงมี อาจารย์พี่เลี้ยงเพื่อช่วยให้คำแนะนำและเพิ่มมุมมองอย่างรอบด้าน นำไปสู่การดำเนินงานวิจัยที่รวดเร็วและราบรื่นได้ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยัง ผลักดันให้คณาจารย์ของคณะ ขอรับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก โดยการสนับสนุนของคณะจะเกิดขึ้นในทุกกระบวนการภายใต้ ชื่อ สจล. อย่างเต็มภาคภูมิ รวมถึงมีการบูรณาการร่วมกับ หน่วยงานต่างๆ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร และ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้แก่ผลงานวิจัย รวมทั้งเพิ่มความหลากหลายให้ครอบคลุม บริบทของภาคธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเหล่าน้ี เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสถาบัน นอกจากนี้ ผศ.ดร.สิงหะ ยังมี แนวทางในการผลักดันเพื่อนำเอางานวิจัยที่เกิดขึ้นเหล่านี้ไปสู่ ระดับสากล (World Ranking) ตามนโยบายของสถาบันและ คณะอีกด้วย

ขณะนี้สถาบันมีเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก  หมายความว่าคนทั่วโลกต้องมองเห็นผลงานของเรามากยิ่งขึ้น แนวทางในการสนับสนุนของคณะ คือการจัดหาเวทีที่เหมาะสม เพื่อใช้เผยแพร่ผลงานวิชาการของทั้งคณาจารย์และนักศึกษา  ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการเผยแพร่จะเกิดขึ้นในสองมิติ คือ การได้มี โอกาสนำเสนอและเผยแพร่ผลงานเหล่านั้นให้แก่บุคคลภายนอก ได้รับทราบ นำมาซึ่งการได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากมุมมองของ ผู้อื่น เพื่อให้นักวิจัยได้นำคำแนะนำเหล่านั้นไปปรับปรุงพัฒนา แก้ไขให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น แน่นอน ว่าการดำเนินการเช่นนี้ จะเสมือนเป็นการสร้างผลงานวิจัยขึ้นมา อีกหนึ่งชิ้น ซึ่งสามารถนำไปเผยแพร่ได้ต่อไปอีกด้วย นอกจากนั้น ยังก่อให้เกิดกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งส่วนการพัฒนางานวิจัย และการจัดการเรียนการสอนตามมาได้อีกด้วย

“อีกแนวทางหนึ่ง คือการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารซึ่ง อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เมื่อผู้อ่าน ได้พบเห็นผลงานวิจัย จะทราบว่าเราเป็นใคร พัฒนาผลงานวิจัย ในรูปแบบใดบ้าง รวมถึงหากเป็นลักษณะงานวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกัน  ผู้อ่านสามารถนำไปอ้างอิงหรือพัฒนาต่อยอดได้ การดำเนินงาน เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน เปิดโอกาส ให้คนทั่วโลกพูดถึงคณะ (FAM) และสถาบัน (KMITL) ของเรา มากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวสู่มหาวิทยาลัยระดับโลกได้  การดำเนินงานลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนตาม นโยบายของท่านคณบดี คือ FAM to FAMOUS ที่ต้องการนำผลงานวิจัยไปใช้สร้างประโยชน์หรือสร้างชิ้นงานใหม่ให้แก่ธุรกิจได (Innovation and Licensing) ไม่เป็นเพียง Invention Ideas ยิ่งกว่านั้น หากนำกระบวนการวิจัยและผลงานวิจัยประยุกต์เข้ากับการ ดำเนินงานในภาคธุรกิจแล้ว จะยิ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้  เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ  รวมถึงสามารถยกระดับและพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป”


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล

Last modified on Wednesday, 13 March 2019 13:38
X

Right Click

No right click