ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาองค์ความรู้และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การขับเคลื่อนนิด้าให้เป็นแหล่งความรู้และคลังปัญญาของสังคม ถือเป็นพันธกิจสำคัญของ รศ.ดร.จงสวัสดิ์ จงวัฒน์ผล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 

สถานภาพใหม่ในการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือการออกนอกระบบ ถือเป็นอีกเรื่องใหญ่ของมหาวิทยาลัย หลายแห่ง แต่สำหรับแนวทางการกำหนดนโยบายเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย และสอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้าแล้ว

ดังเป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในโครงสร้างของทุกภาคส่วน ไม่ละเว้นแม้ภาคการศึกษา หลายสถาบันได้นำเอาประโยชน์ของเทคโนโลยีมาพัฒนาปรับปรุง กระบวนการเรียนรู้ให้ล้ำหน้าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนไป

นิด้า : ภายใต้การเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในความน่าเชื่อถือ (Trust) จากสังคมมายาวนาน ความสำเร็จมีที่มาจากรากฐานการทำงานที่มีการส่งต่อและรับช่วงจากทีมบริหารชุดก่อนผ่านสภาสถาบัน

คสช. เป็นคณะปกครองที่ทำให้ “เศรษฐกิจ” กลายเป็น “การเมือง” หลังจากที่เศรษฐกิจแยกออกจากการเมืองมาได้หลายสิบปี

การให้ตรา “แผนยุทธศาสตร์ชาติ” ไว้ในรัฐธรรมนูญ คือการทำให้เศรษฐกิจ กลับสู่รากเหง้าเดิม คือกลับมาเป็นการเมืองอีกครั้งหนึ่ง

หลังจากที่เศรษฐกิจกลายเป็นเรื่องทางเทคนิค เป็นเรื่องบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน บัญชีผลผลิตมวลรวมหรือจีดีพี บัญชีดุลการค้า ดุลการชำระเงิน ดุลบัญชีเดินสะพัด อัตราดอกเบี้ย อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อในระดับปีระดับไตรมาสและ ระดับรายเดือน หรือแม้กระทั่งการขึ้นลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

ที่บอกว่า “กลับสู่รากเหง้าเดิม” เพราะสมัยแรกเริ่ม เศรษฐกิจกับการเมืองนั้น แยกกันไม่ออก ต้องมาคู่กันเสมอ

ดังมีคำในภาษาอังกฤษที่เรียกวิทยาการทางด้านนี้ว่า “Political Economy” ซึ่งมี คนแปลเป็นภาษาไทยว่า “เศรษฐศาสตร์การเมือง” นั่นเอง เพราะความอลังการของการวิเคราะห์ และปัญหาที่ Political Economy สนใจ นั้นมันไม่ใช่เรื่องทางบัญชี แต่เป็นเรื่องของ “ความมั่งคั่งของประเทศและสังคม” ความอยู่ดีกินดีของมนุษย์ ความอุดมของ ชีวิตคน ตลอดจนความขัดแย้งทางชนชั้น อำนาจต่อรองของกลุ่มต่างๆ ในระบบ เศรษฐกิจ ทั้งกลุ่มที่ครอบครองปัจจัย การผลิตและพลังการผลิตของสังคม กลุ่มทุน กลุ่มแรงงาน เป็นต้น เช่นถ้าเราบอกว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารเป็นบวกมาหลายสิบปีแล้ว และส่งออกได้เท่านั้นเท่านี้ต่อปี มีอัตราการเติบโตเท่านั้นเท่านี้ และแยกออกเป็นการส่งออกอาหารชนิดใดบ้าง เป็น แต่ละรายการทำบัญชีออกมาอย่างละเอียด เหมือนที่เราคุ้นเคยอยู่ในปัจจุบันนี้เราเรียกว่า “ตัวเลขทาง เศรษฐกิจ” เฉยๆ แต่ถ้าสามารถตอบได้ว่า อาหารที่เราส่งออกไปเป็นมูลค่าเท่านั้นเท่านี้ต่อปีดังกล่าว มีใครได้บ้าง และได้กันคนละเท่าไหร่  ใครได้มาก ใครได้น้อย ยุติธรรมหรือเปล่า เช่น

บริษัทซีพีได้เท่าไหร่?

เบทาโกรได้เท่าไหร่?

ผู้ถือหุ้นและพนักงาน แบ่งกันยังไง?

บริษัทขนส่งได้เท่าไหร่?

เจ้าของ E-commerce Platform ได้เท่าไหร่?

ห้องเย็นได้ไปเท่าไหร่?

บริษัทน้ำมัน ปุ๋ย อาหารสัตว์ พ่อค้าคนกลาง โรงสี ได้กันคนละเท่าไหร่?

และในจำนวนนั้นเป็นต่างชาติได้ไปเท่าไหร่?

แยกย่อยไปจนถึง ผู้ผลิตอาหารหรือเกษตรกรได้เท่าไหร่ ฯลฯ แบบนี้ ถึงจะเรียกว่า “Political Economy”

ดังนั้นการวางแผนเศรษฐกิจให้ได้ผล ผู้วางแผนและผู้บริหารเศรษฐกิจต้องมีข้อมูลในเชิง Political Economy ถึงจะรู้ว่าใครได้ใครเสียยังไงในแต่ละกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

การทำให้เศรษฐกิจเป็นการเมือง และบริหารเศรษฐกิจโดยการวางแผนจากส่วนกลางมักต้องใช้อำนาจเผด็จการดังประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งหลายเคยปฏิบัติมาแล้ว และยังคงปฏิบัติอยู่ เช่นในเมืองจีน เป็นต้น

หรืออย่างที่พรรคนาซีเคยทำมากับประเทศเยอรมนี ระหว่างปี ค.ศ. 1934-1945 โดยก่อนหน้านั้นพรรคฟาสซิสต์ก็เคยทำมาแล้ว กับอิตาลีและกลุ่มทหารบกก็ทำมาแล้ว ในญี่ปุ่นซึ่งในภาษาของลัทธิเศรษฐกิจ เขาเรียกว่า “State Corporatism” คือรัฐควบคุม เศรษฐกิจและนักการเมือง (หรือทหารหรือข้าราชการ) ควบคุมรัฐอีกทอดหนึ่ง แม้แต่ประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยเองก็เคยใช้ระบบนี้แบบกลายๆ เหมือนกันในบางช่วง เช่นสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น

หลังสงครามโลกครั้งที่สองมา มีประเทศที่ใช้ระบบวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง และเผด็จอำนาจแล้วทำสำเร็จก็มีเช่น เกาหลีใต้และสิงคโปร เป็นต้น โดยประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะเกาหลีใต้นั้น เห็นได้ชัดว่ากว่าจะสำเร็จก็ต้องให้คนทั่วไปและกลุ่มแรงงาน เสียสละมิใช่น้อย เพราะรัฐบาลสนับสนุนบริษัทใหญ่ให้เอาเปรียบคนงานตัวเองเพื่อให้บริษัทใหญ่เหล่านั้นแข็งแรง และสามารถออกไปต่อสู้กับโลกได้หรืออย่างญี่ปุ่นนั้น แม้จะไม่ได้ใช้ระบบเผด็จการทางด้านรัฐสภา แต่ในระบบเอกชนนั้น บริษัทมีอำนาจเหนือชีวิตพนักงานในทุกด้านเพียงแต่วัฒนธรรมและจริยธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นมันทำให้สิ่งเหล่านี้กลายเป็นเรื่องปกติและยอมรับได้ อีกทั้งระบบราชการและข้าราชการของญี่ปุ่นนั้นสามารถมาก ทั้งยังซื่อสัตย์สุจริต ส่งผลให้เอกชนยอมรับและยอมตามอย่างไร้ข้อกังขา

แม้ผมจะเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า “เศรษฐกิจ” ต้องเป็น “เศรษฐกิจการเมือง” แต่ผมคิดว่า วิธีบริหารเศรษฐกิจโดยการวางแผนส่วนกลาง และทำให้กลายเป็นการเมืองในรัฐธรรมนูญนั้น คงยากที่จะสำเร็จ

 


 บทความ : ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว

บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต โดยคุณนุสรา (อัสสกุล) กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร จับมือ มาริโอ้ เมาเร่อ แบรนด์แอมบาสเดอร์ และโอชิ แบรนด์มาสคอต ทุ่มงบกว่า 100 ล้าน ฉลองครบรอบปีที่ 70 อย่างยิ่งใหญ่ เปิดตัว “ของขวัญจากใจ 70 ปี OCEAN LIFE ไทยสมุทร รักคือพลังของชีวิต” ด้วยของขวัญชิ้นแรก OCEAN CLUB APPLICATION 

“อภิสิทธิ์สำหรับคนรักการใช้ชีวิต” พร้อมเปิดตัวด้วยภาพยนตร์โฆษณาชุด "THE GIFT” ที่ให้ “โอ้” และ “โอชิ” ร่วมกันนำเสนอชีวิตดี๊ดีจาก OCEAN CLUB APP ที่ครอบคลุมทั้งการบริการหลังการขาย แล้วยังได้สุขภาพดีด้วยกิจกรรมสนุก ๆ กับการเดิน วิ่ง ขี่จักรยาน หรือนอนให้เพียงพอ สะสม OCHI COIN แลกรับสิทธิประโยชน์มากมาย ทั้งช้อป ชิม ชิล หรือแลกบริการสุดพิเศษ BEST DOCTORS บริการความเห็นที่สองจากแพทย์ชั้นนำระดับโลก และ OCEAN LIFE SAVER นวัตกรรมล่าสุดที่บริการข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือฉุกเฉิน นอกจากนั้นยังแลกบริจาคให้องค์กรการกุศลต่าง ๆ ได้อีกด้วย โดยในงานมีศิลปินดารา และเซเลบริตี้ชื่อดังร่วมงานมากมาย ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี แถลงทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2562 เผยกลยุทธ์ผลักดันการเติบโตของธุรกิจ เพื่อมุ่งสู่การเป็น Total Packaging Solutions Provider หรือคู่คิดด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรอย่างยั่งยืน ด้วยการเดินหน้าขยายฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์ในอาเซียน การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า บริการ และกระบวนการผลิต และการขับเคลื่อนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้แนวปฏิบัติ SCG Circular Way เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและการใช้งานบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคทั้งในไทยและอาเซียนอย่างครบวงจร

นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี กล่าวว่า “ปีที่ผ่านมา ธุรกิจ   แพคเกจจิ้ง ต้องรับมือกับความท้าทายจากความผันผวนของราคาต้นทุนวัตถุดิบและพลังงาน ตลอดจนการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาด ขณะเดียวกันก็มีโอกาสจากอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 มีมูลค่าถึง 50,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตประมาณร้อยละ 5 ส่วนในประเทศไทย มีอัตราการเติบโตของตลาดอยู่ที่ร้อยละ 3 ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และยังมีศักยภาพเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ของลูกค้าแต่ละกลุ่มที่เปลี่ยนไป เช่น กลุ่มผู้บริโภคที่นิยมใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มความสะดวกสบาย และกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ขณะที่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารต้นทุนเป็นหลัก ธุรกิจแพคเกจจิ้งจึงวางแผนกลยุทธ์รับมือกับความท้าทายและโอกาสเหล่านี้ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการแข่งขัน การเพิ่มคุณภาพสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค รวมถึงการเป็น Total Packaging Solutions Provider หรือคู่คิดทางธุรกิจที่มุ่งตอบโจทย์ความต้องการด้านบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร และสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ได้เป็นอย่างดี

สำหรับ 3 กลยุทธ์หลักที่ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ใช้รับมือกับโอกาสและความท้าทายในการดำเนินธุรกิจให้ไปถึงเป้าหมาย ได้แก่ การสร้างการเติบโตของธุรกิจด้วยการขยายฐานการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร โดยในช่วงปี 2017-2018 ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ได้ลงทุนเพิ่มฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์และงานพิมพ์คุณภาพสูงและฐานการผลิต Rigid Plastic Packaging ในประเทศไทย ฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษในประเทศอินโดนีเซีย และฐานการผลิต Food Packaging ในประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังขยายฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย แบรนด์ Fest อีก 2 โรงงาน ซึ่งปีนี้ บริษัทฯ จะยังคงมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการสร้างความเติบโตให้กับกลุ่มธุรกิจ เพื่อให้มีฐานการผลิต  บรรจุภัณฑ์ครอบคลุมทั่วประเทศและภูมิภาคอาเซียนในการสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจของลูกค้า และสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ให้ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและบริการที่เป็นเลิศอยู่เสมอ เพื่อให้ธุรกิจของพวกเขาเติบโตไปพร้อม ๆ กันกับเรา

กลยุทธ์ต่อมาคือ การสร้างสรรค์นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งวิจัยและพัฒนาสินค้าให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว นอกจากนี้ ยังนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้พัฒนากระบวนการผลิตตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ Value Chain อย่างมีประสิทธิภาพ (Data Visibility) และการใช้เทคโนโลยี MARs (Mechanization, Automation, Robotics) ที่ช่วยปรับกระบวนการผลิตในโรงงานให้เป็น Smart Factory อีกทั้งยังมีการนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการทำงานระหว่างเอสซีจีกับลูกค้า ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

การดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้แนวปฏิบัติ     SCG Circular Way ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ใช้ให้น้อย ใช้ให้นาน หรือนำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นอีกกลยุทธ์ที่ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ให้ความสำคัญ ด้วยการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ทั้งกระดาษและพลาสติกให้ใช้งานง่าย โดยใช้ทรัพยากรน้อย แต่ยังคงทนแข็งแรง และสามารถนำกลับมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตซ้ำได้ครบวงจร (Close-loop Packaging) อาทิ ถุงกระดาษรีไซเคิลที่มีคุณภาพและสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี อีกทั้งเมื่อใช้งานแล้วยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติก (R-1) ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ง่าย เนื่องจากผลิตด้วยการนำวัสดุชนิดเดียวกันมาประกบกันหลายชั้น (Multilayer Laminated : Mono Material) จึงมีคุณสมบัติป้องกันความชื้น แข็งแรง สามารถปกป้องสินค้าได้ดี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บขยะกระดาษและพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยใช้เครือข่ายโรงงานอัดเศษกระดาษในการเก็บขยะพลาสติกเพื่อนำมาผลิตซ้ำ และการร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บขยะ ตลอดจนการร่วมผลักดัน ให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้บรรจุภัณฑ์และการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์หลังใช้งานแล้ว และการเข้าร่วมเป็นสมาชิก CEFLEX (A Circular Economy for Flexible Packaging) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลก เพื่อร่วมส่งมอบสินค้า บริการ และโซลูชั่น รวมถึงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้ทรัพยากรธรรมชาติคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน”

“ด้วยแนวโน้มของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ยังสามารถเติบโตทางเศรษฐกิจได้ตามการเติบโตของประเทศและภูมิภาค ทำให้คาดการณ์อัตราการเติบโตของตลาดไทยและอาเซียนในปีนี้ว่าจะยังคงใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ธุรกิจ   แพคเกจจิ้ง เอสซีจี จึงมั่นใจว่าการดำเนินงานตามกลยุทธ์เหล่านี้ จะสามารถสร้างความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และทำให้เราพร้อมเป็นคู่คิดด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรให้กับลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องทั้งในไทยและอาเซียนได้ดีมากยิ่งขึ้น ด้วยการมุ่งขยายการเจริญเติบโตไปยังประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน การจัดสรรงบลงทุนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่อง และเน้นการดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นหลัก เพื่อให้ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เติบโตไปพร้อม ๆ กันอย่างยั่งยืน” คุณธนวงษ์ กล่าวสรุป

ธนชาตประกันภัย เผยผลประกอบการปี 2561 คว้ากำไรสุทธิ 1,042 ล้านบาท  สร้างเบี้ยประกันภัยรับรวมกว่า 7,987 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนกว่า 6.4% พร้อมเพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้วเป็น 4,930 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประกันวินาศภัย เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ เผยทิศทางปี 2562  เดินหน้าขยายธุรกิจต่อเนื่อง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หลากหลายตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม รวมถึงพัฒนาบริการต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มุ่งสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายสูงสุด

นายพีระพัฒน์ เมฆสิงห์วี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าและการพัฒนาคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ธนชาตประกันภัยจึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าซึ่งถือกรมธรรม์มากกว่า 1.5 ล้านฉบับ และมีความพึงพอใจในการบริการสูงถึง 86% นำมาสู่ความสำเร็จของบริษัทฯ จากผลการดำเนินงานในปี 2561 บริษัทฯ มีเบี้ยประกันรับรวมถึง 7,987 ล้านบาท เติบโตกว่า 6.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนและมีกำไรสุทธิ 1,042 ล้านบาท

นายพีระพัฒน์ เมฆสิงห์วี กรรมการผู้จัดการ ธนชาตประกันภัย

สำหรับปี 2562 เพื่อรองรับกับการขยายธุรกิจและการเติบโตในอนาคต บริษัทฯ ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วเป็น  4,930 ล้านบาท และจากที่บริษัทมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนถึง 807% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยกำหนดไว้ที่ 140% ด้วยความแข็งแกร่งมั่นคงดังกล่าวทำให้ธนชาตประกันภัยสามารถต่อยอดสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้หลากหลายภายใต้ 4 กลยุทธ์สำคัญ อันได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบรับความต้องการลูกค้า (Customer Segmentation) การยกระดับบริการด้วยนวัตกรรม (Service Innovation) การขยายช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution Expansion) และการร่วมมือทางธุรกิจกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง (Business Partnership) ครอบคลุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ การเพิ่มโอกาสทางธุรกิจบนช่องทางและมุมมองใหม่ๆ ในปี 2562 นี้

ด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ธนชาตประกันภัยจะให้บริการผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ “ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล อาชีพอิสระ ธนชาต ชูชีพ PA” เหมาะกับผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำ “ประกันภัยบ้าน สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้าน” ให้ความคุ้มครองของใช้ภายในบ้าน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ “ประกันภัยรถยนต์ 2+” พัฒนาขึ้นสำหรับแต่ละกลุ่มลูกค้า โดยเริ่มจาก ประกันภัยรถยนต์ 2+ ราคาพิเศษ สำหรับลูกค้าที่มีอายุ 39 ปีขึ้นไป และ “ประกันสุขภาพ” รูปแบบใหม่ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทคุ้มครองโรคร้ายแรง และประเภทคุ้มครองสุขภาพแบบเหมาจ่าย

ด้าน การยกระดับคุณภาพบริการด้วยนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ดิจิทัลไลฟ์สไตล์ ธนชาตประกันภัยเป็น ผู้ให้บริการประกันภัยเจ้าแรกที่ให้ “บริการแจ้งอุบัติเหตุผ่านไลน์” อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าและเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ โดยในอนาคตอันใกล้ ยังมีแผนเพิ่มเติมบริการใหม่ในด้านต่างๆ ผ่านไลน์ให้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อยกระดับการให้บริการ เช่น การเปลี่ยนแปลงเอกสารให้อยู่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือ “E-document” การนำเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มาใช้ ประเมินราคาซ่อมรถยนต์แบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยเพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในการพิจารณาและการส่งรถยนต์เข้าสู่กระบวนการซ่อม และ “การจัดการข้อมูลของลูกค้าอย่างเป็นระบบด้วย Enterprise Database” ที่จะช่วยเสริมศักยภาพขององค์กร ให้ใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ทุกกลุ่มลูกค้า

ในปีนี้ยังมุ่ง ขยายพันธมิตรธุรกิจ ที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจลูกค้าแต่ละกลุ่มเพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ได้มากขึ้น รวมถึงร่วมมือกับกลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ เช่น Drivemate แพลตฟอร์มให้เช่ารถออนไลน์, Digital Butler แพลตฟอร์มผู้ช่วยดูแลบ้านและคอนโด และ TripBuddy แพลตฟอร์มผู้ช่วยส่วนตัวนักเดินทาง เพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อตอบสนองความต้องการ อันหลากหลายของลูกค้า ทั้งในแง่ของความคุ้มค่าและสะดวกสบายสูงสุด

บริษัทตั้งเป้าหมายเบี้ยประกันรับรวมปี 2562 เติบโตจากปีก่อนไว้ที่ 6และด้วยฐานะการเงินที่มั่นคงของทุนจดทะเบียน ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประกันวินาศภัย และนโยบายการขยายธุรกิจผ่าน 4 กลยุทธ์หลัก พร้อมทีมผู้บริหารและพนักงานที่เชี่ยวชาญมีประสบการณ์ในธุรกิจประกันภัยมาอย่างยาวนาน เราเชื่อมั่นว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งจะได้รับความไว้วางใจและความพึงพอใจจากลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่ก้าวต่อไปที่แข็งแกร่งและความสำเร็จที่ยั่งยืนของธนชาตประกันภัยต่อไปในอนาคต นายพีระพัฒน์ เมฆสิงห์วี กล่าวสรุป

นายสมบุญ ฟูศรีบุญ กรรมการผู้อำนวยการ พร้อมด้วยนายวรวัจน์ เจริญชัยพงศ์ กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการ  บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)  นำทีมผู้บริหารแถลงเปิดวิสัยทัศน์แบรนด์ใหม่นำสินประกันภัย ในโอกาสครบ 71 ปี และกำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 8 ของการดำเนินงาน ซึ่งจากนี้เป็นต้นไปนำสินประกันภัยจะมุ่งส่งมอบคุณค่าของความเป็นพันธมิตรที่ร่วมคิดร่วมทำกับลูกค้าและคู่ค้าเพื่อสรรค์สร้างให้เกิดสิ่งที่ดียิ่งขึ้นไปพร้อมกัน

นายวรวัจน์ เจริญชัยพงศ์ กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการ ในฐานะผู้บริหารรุ่นใหม่กล่าวว่า การที่ให้ความสำคัญกับการ “รีแบรนด์”  ในครั้งนี้ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือ นำสินประกันภัยเป็นแบรนด์ที่มีอายุยาวนานถึง 71 ปี แม้จะเติบโตมาอย่างมั่นคง แต่เมื่อโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โครงสร้าง และวิธีการบริโภคของลูกค้าก็มีความซับซ้อนและมีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไป NSI นำสินประกันภัย จึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย เปลี่ยนไปตามเทรนด์ของ Digital Transformation หรือการเปลี่ยนแปลงธุรกิจโดยใช้ดิจิทัลมาเป็นหัวใจในการดำเนินงาน  ต้องสร้างความแตกต่างของแบรนด์นำสินประกันภัยให้ต่างไปจากยุคเก่า โดยต้องรีแบรนด์แบบยกเครื่องทั้งองค์กร

นายวรวัจน์เปิดเผยว่า วิสัยทัศน์ใหม่ของแบรนด์นำสินโดยจะเน้นที่คุณค่าของการเป็น Better Partner Better Together ที่ชัดเจนขึ้นคือการเป็นสมาร์ทพาร์ทเนอร์ที่เราจะต้องร่วมคิดร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการบริการที่ตอบโจทย์ให้กับคู่ค้าและลูกค้าของเรา เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจและการดำเนินชีวิตของทุกคนก้าวหน้าก้าวไกลไปด้วยกัน “สิ่งแรกของการเปลี่ยนที่เห็นชัดเจนก่อนเลยคือการเปลี่ยนตราสัญลักษณ์หรือโลโก้ ที่ทันสมัยและสดใสขึ้น”    

การรีแบรนด์ครั้งนี้ไม่ใช่การเปลี่ยนแค่โลโก้ และสีประจำบริษัท  แต่เป็นการเปลี่ยนทั้งแนวคิด กระบวนการทางธุรกิจ และทักษะการทำงานของบุคลากร เพื่อรองรับการเข้ามาของ InsurTech  ที่อาจเข้ามา Disruption อุตสาหกรรมประกันภัยในยุค Thailand 4.0  ดังนั้น จึงมีแผนยุทธศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลง หรือ “โรดแมพ” ในการรีแบรนด์ NSI นำสินประกันภัยอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปีนับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป

สำหรับเทคโนโลยีประกันภัย หรือ InsurTech ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้คนไทยในยุคนี้เข้าถึงการประกันภัยมากขึ้น ทางคณะผู้บริหาร NSI นำสินประกันภัย มีแผนนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพและรูปแบบธุรกิจประกันภัยด้วยเช่นกัน นอกจากนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินกิจการแล้วยังจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการคู่ค้าและลูกค้า เช่น การพัฒนาแอพพลิเคชั่นแจ้งเคลมผ่านมือถือ  ขยายช่องทางการขายผ่านระบบออนไลน์ และการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารแบรนด์ผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ รวมทั้งการตอบข้อซักถามและรับเรื่องร้องเรียนผ่านแชทบอท เป็นต้น นายวรวัจน์กล่าวในตอนท้าย

ทางด้านนายสมบุญ  ฟูศรีบุญ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ NSI เปิดเผยผลการดำเนินงานในปี 2561 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทฯ มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 2,038 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นประกันภัยรถยนต์ 1,409 ล้านบาท ประกันอัคคีภัย 30 ล้านบาท ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 26 ล้านบาท และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลและอื่นๆ 573 ล้านบาท “บริษัทฯ ยังคงมีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยรถยนต์สูงที่สุดคืออยู่ที่ร้อยละ 69 หรือเท่ากับ 1,409 ล้านบาท มีประกันภัยประเภทไม่ใช่รถยนต์ (Non Motor) อยู่ที่ร้อยละ 31 หรือเท่ากับ 629 ล้านบาท หากเปรียบเทียบพอร์ตระหว่างรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์ กับรถยนต์ส่วนบุคคล มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 68 ต่อ 32 ซึ่งหมายความว่าธุรกิจหลักของ NSI นำสินประกันภัย ยังคงมุ่งเน้นที่ รถใหญ่ หรือรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์เป็นหลัก”

สำหรับเป้าหมายการดำเนินงานในปี 2562 นายสมบุญ กล่าวว่าจะไม่เน้นการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในปี 2562 มีเป้าหมายผลิตผลงานเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 2,330 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12 โดยยังคงเน้นสัดส่วนการทำธุรกิจประกันภัยรถยนต์ในอัตราร้อยละ 64 ส่วนธุรกิจการประกันภัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่รถยนต์จะอยู่ที่อัตราร้อยละ 36 “เรายังคงเน้นที่กรมธรรม์รถบรรทุก และรถเก๋งขนาดใหญ่กว่า 2,000 ซีซี เพราะถือว่าเป็นความถนัดและเป็นความเชี่ยวชาญของเรา และการรีแบรนด์ในครั้งนี้ก็จะมีสินค้าและบริการใหม่ๆ ทั้งก่อนการขายและหลังการขายมาตอบโจทย์ลูกค้าอย่างถูกใจและใหม่ขึ้น โดยทั้งหมดจะเน้นให้สอดรับกับคุณค่าของแบรนด์ที่เราตั้งใจส่งมอบให้ลูกค้าและคู่ค้าคือการเป็น Better Partner Better Together ที่เราพร้อมจะก้าวไกลไปด้วยกันในยุค 4.0” กรรมการผู้อำนวยการ นายสมบุญ ฟูศรีบุญ กล่าวในที่สุด

บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต โดย คุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ กรรมการผู้จัดการ ร่วมกับ คุณสมชัย อาภรณ์ศิริพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการ ได้ร่วมส่งมอบรถยนต์ TOYOTA CAMRY ให้กับผู้บริหารฝ่ายขายช่องทางตัวแทนจากทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นรถประจำตำแหน่งในการเดินทางสร้างผลงานได้อย่างสะดวกปลอดภัย รวมทั้งเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานงานสู่เป้าหมายเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 70 ปี OCEAN LIFE ไทยสมุทรในปี 2562 นี้อีกด้วย

 

X

Right Click

No right click