ยิ่งหลังจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลง การสนับสนุนเรื่องของการท่องเที่ยวใน เชิงสุขภาพที่มีมูลค่าสูงก็เริ่มเข้มข้นมากขึ้น
โดยเฉพาะกับจังหวัดในกลุ่มอันดามันอย่าง กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้เปรียบในแง่ ของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าเทียบเรือระหว่างประเทศ และท่าจอดเรือ ยอชท์ที่มีความสะดวกและทันสมัย สามารถยกระดับให้เป็น “Smart Health and Wellness City” ได้ เราจึงเห็นการยก 3 จังหวัด อย่าง ภูเก็ต พังงา และกระบี่ เป็นต้นแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รองรับการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจ เวลเนสอันดามัน หรือ Andaman wellness Corridor : AWC เพื่อสร้างให้เกิดเมืองสุขภาพสอดรับกับการเสนอตัวเป็น เจ้าภาพงาน World Specialized Expo 2028 ในชื่อ “EXPO 2028 - Phuket, Thailand” ภายใต้แนวคิด “Future of Life: Living in Harmony, Sharing Prosperity”
ในฐานะนักการตลาดในยุคดิจิทัล มัณฑิตา จินดา (ทิป) Founder & Managing Director, Digital Tips Academy ให้ความเห็นว่าภูเก็ตเป็นเมืองที่มีเสน่ห์และมีความพร้อมที่จะถูกโปรโมทให้เป็น Medical Hub สอดรับกับ เทรนด์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพซึ่งถือเป็นเทรนด์การท่องเที่ยวในยุค Post Covid ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มองหาการ ท่องเที่ยวตอบโจทย์เรื่องของสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจมากขึ้น
ถ้าพูดถึงเรื่องของ Medical Tourism เมืองไทยควรจะโปรโมทเรื่องนี้ให้มาก ด้วยเมกะเทรนด์ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ ช่วงโควิดเป็นต้นมาคนให้ความสนใจเรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ถือเป็นเรื่องดีที่เราจะโปรโมทประเทศของเรา ให้เป็นปลายทางที่คนมาเพื่อเรื่องของสุขภาพ เพื่อสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศให้มากขึ้น ซึ่งหากเราย้อนไปดูตัวเลขมูลค่าการใช้จ่ายของชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาพยาบาลในเมืองไทยก็จะเห็นว่ามีมูลค่าสูงมาก นี่ถือเป็นจุดเด่นที่ทางภาครัฐน่าจะ ส่งเสริม
ยิ่งหากประเทศไทยมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพงาน World Specialized Expo 2028 ก็จะเป็นใบเบิกทางสำคัญที่ นำพาประเทศไทยไปสู่การเป็น Medical Hub ได้ไม่ยาก เพราะนอกจากความสวยงามของสถานที่แล้ว ภูเก็ตและกลุ่ม จังหวัดในอันดามันยังมีชื่อเสียงในเชิง Wellness ที่ไม่ด้อยไปกว่าประเทศไหน รวมถึงศักยภาพในการจัดงานใหญ่ ซึ่งสามารถรองรับผู้คนที่เดินทางมาจากทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม มัณฑิตา เสริมว่า การสร้างแบรนด์บนจุดยืนที่ชัดเจนและการโปรโมทอย่างต่อเนื่องพร้อมกัน ทั้งเมืองจะช่วยสร้างให้ภาพความเป็น Medical Hub ของภูเก็ตมีความเด่นชัดมากขึ้น
“หากเราได้เป็นเจ้าภาพในงาน World Specialised Expo 2028 จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมทุกด้านของภูเก็ต ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่จะเข้ามาในอนาคต รวมถึงคนที่มาก็จะเป็นกระบอกเสียงอย่างดีให้ทั่วโลกได้ ทราบว่าเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเรามีศักยภาพมากพอไม่แพ้ชาติใด และหากเราได้จัดงาน สิ่งสำคัญที่สุด คือการ สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน เพราะ Customer Experience สำคัญมากในการสร้างการรับรู้ให้คนรู้จักไทย ในด้านของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและดึงให้เขาเข้ามายังประเทศเรา
ที่ผ่านมาประเทศไทยทำได้ดีอยู่แล้ว เพราะเรามีชื่อเสียงในเรื่องของการบริการ Hospitality ต่างๆ ซึ่งต่างชาติ ชอบเรื่องเหล่านี้มาก สิ่งที่ต้องเพิ่ม คือการโปรโมทให้ชัดเจน ซึ่งโดยปกติ Medical Tourism จะมี 2 ส่วน คือส่งเสริม สุขภาพ และรักษา เราอาจจะต้องโปรโมททั้งมุมของการส่งเสริมสุขภาพที่มีมาตรฐานซึ่งสากลยอมรับ เช่น Water Therapy Aroma Therapy บริการปรับสมดุลให้กับร่างกาย ส่วนในเชิงรักษาไทยมีชื่อเสียงทั้งในแง่การรักษาสุขภาพ ร่างกาย ทำฟัน รวมถึงบริการด้านความสวยงาม”
ในแง่ประชาสัมพันธ์ มัณฑิตาให้ทรรศนะว่า ต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัย Influencer คนที่มีชื่อเสียงใน ระดับนานาชาติ ภาครัฐและภาคเอกชนต้องตีแผ่เรื่องเหล่านี้ออกไปในวงกว้าง รวมถึงการสร้างแบรนด์จังหวัดด้วยคำ ซึ่งสื่อถึงจุดยืนที่ชัดเจนของภูเก็ต
“จริงๆ ควรมีคำสักคำที่จะอธิบายว่า ประเทศไทยมีจุดยืนอะไรที่ทำได้ดีและประเทศอื่นไม่สามารถทำได้ดีเท่า เช่น Hospitality อัธยาศัยไมตรี เรื่องเหล่านี้เรามีแต้มต่อสูงมาก เป็นเรื่องที่ต่างชาติยอมรับเราอยู่แล้ว เพียงแต่เราอาจจะ ต้องต่อยอดในเรื่องของมาตรฐานให้สากลยอมรับ รวมถึงการเตรียมความพร้อมให้บุคลากรทั้งพื้นที่ อาจใช้พื้นที่นำร่องซึ่ง คนในพื้นที่ถูกส่งต่อความรู้อย่างเต็มที่เรื่องสุขอนามัย มีการรักษาความสะอาดในทุกภาคส่วนของการให้บริการ ผู้ให้ บริการมีสุขอนามัยที่ดี ไม่ว่าจะเป็นคนขับรถ คนยกกระเป๋า รถบริการสาธารณะ มีการฉีดฆ่าเชื้อให้เห็น พนักงานใส่ หน้ากากตลอดเวลา Customer Experience เหล่านี้จะช่วยยกระดับให้ทั้งเมืองมีภาพลักษณ์ของการเป็น Medical Hub ได้ ซึ่งงาน World Specialised Expo 2028 จะเป็นจุดตั้งต้นที่ดีซึ่งเราต้องโฟกัสมากๆ เป็นหลักชัยสำคัญที่เราต้องทำให้ คนที่มาเห็นกลับไปพูดถึง ตีแผ่ความพร้อมเหล่านี้ จนนักท่องเที่ยวอยากจะกลับมาท่องเที่ยวที่ประเทศเรา” มัณฑิตา กล่าวปิดท้าย