การทำงานร่วมกันของกลุ่มบุคคลจากหลากหลายเพศสามารถนำมาซึ่งโซลูชันที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ด้วยมุมมองที่แตกต่างจะส่งผลให้เกิดผลงานที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามการเหมารวมว่าวงการเทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมสำหรับผู้ชายเป็นหลักนั้นอาจ
เอไอเอส คว้ารางวัล Champion of WSIS Prizes 2019 จากโครงการ "Work Wizard" the digital platform for disability ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ภายในองค์กรมาสร้างอาชีพแด่ผู้พิการ เพื่อช่วยลดช่องว่างที่เกิดขึ้นในสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างยั่งยืน สำหรับ WSIS Prizes 2019 นี้ จัดขึ้นโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) และองค์การสหประชาชาติ (United Nation: UN) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของประชากรโลก โดยในปีนี้ มีโครงการส่งเข้าร่วมประกวดจากทั่วโลก รวมทั้งสิ้น 1,062 โครงการ และนับเป็นปีที่ 4 ติดต่อกันที่เอไอเอส สามารถคว้ารางวัลจากเวทีระดับโลกนี้มาครองได้สำเร็จ
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “กว่า 29 ปีที่ผ่านมา เอไอเอส มุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยมาโดยตลอด ที่ผ่านมา เอไอเอส ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้บริบทของภาคเอกชนไทยที่พร้อมช่วยเหลือสังคมในทุกโอกาสเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ประเด็นหนึ่งที่เราเอาใจใส่เป็นอย่างมาก คือการเปิดโอกาสให้ผู้พิการได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกครอบครัวเอไอเอส เราเชื่อมั่นว่า ทุกคนต่างมีศักยภาพและมีทักษะในการพัฒนาตัวเองไม่แตกต่างกัน หากได้รับโอกาสในการเข้าทำงาน ผู้พิการจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาและเติบโตไปพร้อมกัน สำหรับรางวัล Champion of WSIS Prizes 2019 ที่ได้รับมาในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งยืนยันถึงความจริงใจและความสำเร็จของพวกเราทุกคนที่สามารถนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยผลักดันให้ผู้พิการสามารถปฏิบัติงานได้เทียบเท่ากับคนปกติ ทำให้พวกเขามีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต มีความภาคภูมิใจในตัวเอง และมีรายได้ที่มั่นคงสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี”
“ปัจจุบัน เอไอเอส มีพนักงานคอลล์ เซ็นเตอร์ผู้พิการ รวมทั้งสิ้น จำนวน 113 คน แบ่งออกเป็น ผู้พิการทางการมองเห็น จำนวน 57 คน ผู้พิการทางการได้ยิน จำนวน 9 คน และผู้พิการทางร่างกาย จำนวน 47 คน ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานผู้พิการทางการมองเห็น ได้นำเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยติดตั้งโครงข่าย Online สำหรับฮาร์ดแวร์ พร้อมติดตั้งโปรแกรม PPA ตาทิพย์ (Text to Speech ภาษาไทย) นำเทคโนโลยีดักจับความเคลื่อนไหวที่ Key Board หรือสิ่งที่แสดงผลบนหน้าจอ ซึ่งเป็นโปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย ช่วยให้พนักงานสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ส่วนผู้พิการทางการได้ยิน ได้จัดให้มีซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Web Cam (iSign) สำหรับการให้บริการ Call Center ภาษามือ ผ่านทาง Web Cam ซึ่งเป็นระบบการทำงานคล้ายกับโปรแกรม Skype ช่วยให้ทำงานได้สะดวก และสื่อสารได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น และสำหรับพนักงานผู้พิการทางร่างกาย ได้มีการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ลิฟต์โดยสาร ห้องน้ำ ทางลาด และราวจับ เพื่อให้ผู้พิการทุกคนได้รับความสะดวกและปลอดภัยตลอดช่วงเวลาทำงานอีกด้วย”
“การยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนในสังคมไทยได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ไม่ได้เป็นเพียงหน้าที่ของภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชนเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้คนละเล็กละน้อย ทำในสิ่งที่ตัวเองมีความสามารถและเกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม เราเชื่อว่า ประเทศชาติจะแข็งแรง สังคมจะต้องแข็งแรง และทุกคนสามารถช่วยกัน เติบโตไปพร้อมกัน” นายสมชัย กล่าวสรุป
การอบรมด้วยรูปแบบของการบูรณาการทฤษฎี กรณีศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของ Industry 4.0 กิจกรรมกลุ่ม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สอนที่มีประสบการณ์ในภาคอุตสาหกรรมและผู้เข้ารับการอบรม
หลายคนคงเคยได้ยินว่าคนอ่านหนังสือน้อยลง และหนังสือกำลังจะหมดความนิยม แต่จากผลสำรวจการอ่านของประชากรไทย ประจำปี 2561 จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า คนไทยใช้เวลาอ่านในการอ่านเฉลี่ย 80 นาทีต่อวัน เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมาในปี 2558 อยู่ที่ 66 นาทีต่อวัน โดยหนังสือเล่มยังคงเป็นสื่อที่คนนิยมอ่านมากที่สุดตามมาด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งสื่อออนไลน์ เว็บไซต์ อีบุ๊ค เป็นต้น สอดคล้องกับพฤติกรรมการอ่านที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของเทคโนโลยีในโลกยุคดิจิทัล ซึ่งนับเป็นเรื่องน่ายินดีที่คนไทยยังให้ความสำคัญกับ “การอ่าน” เพราะเป็นทักษะพื้นฐานที่จะช่วยพัฒนาความรู้ ความคิค ช่วยเปิดโลกทัศน์และกระตุ้นการสร้างแรงบันดาลใจโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่อยู่ในช่วงวัยแห่งการเรียนรู้
บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนไทยเห็นคุณค่าของการอ่านผ่าน โครงการ จินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช ที่ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550 ตลอดระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา เยาวชนทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการกว่า 16,000 คนได้อ่านวรรณกรรมหลากหลายประเภททั้งพระราชนิพนธ์ วรรณกรรมพื้นบ้าน วรรณกรรมในชั้นเรียน วรรณกรรมร่วมสมัย รวมถึงวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลต่างๆ มากมายรวมแล้วกว่า 2,000 เรื่อง จากเรื่องราวต่างๆ ที่ร้อยเรียงเป็นตัวหนังสือถูกถ่ายทอดและสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะที่มีสีสัน สะท้อนถึงจินตนาการของผู้รังสรรค์ผลงานในมิติที่หลากหลาย ดังเช่นผลงานของผู้ชนะเลิศจากการประกวดในปีที่ 12 ที่ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
ผลงานชิ้นแรกชื่อ “สุขสุดของปวงไทย” จากวรรณกรรมเรื่อง “ความสุข ความทรงจำในรัชกาลที่ 9” ของนางสาวพิสชา พ่วงลาภ หรือ น้องพิม อายุ 19 ปี เยาวชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับอุดมศึกษา ถ่ายทอดความรู้สึกประทับใจที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนไทย ฝากถึงเพื่อนๆ ที่จะส่งผลงานเข้าประกวดว่า “ให้สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นตัวของตัวเอง ใช้เทคนิคที่ตนเองถนัด ทำแล้วมีความสุข โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงรางวัล แต่ทำผลงานให้สุดความสามารถแล้วจะได้ผลงานที่ทรงคุณค่า น่าสนใจ เพราะผู้ชมสามารถสัมผัสได้ถึงความสุขจากการชมผลงานของเรา”
อีกหนึ่งผลงานชื่อ “อีสาน” จากวรรณกรรมเรื่อง “อีสานบ้านเฮา” ของนายธนาธิป นาฉลอง หรือ น้องติ๊ก อายุ 17 ปี ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ถ่ายทอดกลิ่นอายของความเป็นชนบทบนผืนแผ่นดินอีสานในแง่มุมที่หลากหลาย กล่าวว่า “ผมรู้สึกดีใจ และภูมิใจที่ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากพระองค์ท่าน ผมได้พัฒนาฝีมือ ได้สร้างสรรค์งานด้วยเทคนิควิธีการใหม่ๆ เพื่อถ่ายทอดผลงานให้ครอบคลุมเนื้อหาของวรรณกรรมให้ได้มากที่สุด และสิ่งสำคัญที่สุดที่ผมอยากให้เกิดขึ้น คือ เมื่อคนดูภาพของผมแล้ว เขาอยากอ่านวรรณกรรมเรื่องที่นำมาถ่ายทอดเพื่อจะได้เข้าใจภาพได้ชัดเจนขึ้น สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดอย่าเพิ่งไปคิดถึงเรื่องรางวัล ให้คิดถึงโอกาสดีๆ ที่จะทำให้เราได้ฝึกฝน พัฒนาฝีมือ และทำให้หลงรักการอ่านมากขึ้น ”
สำหรับในปีนี้ อินทัช พร้อมเดินหน้าโครงการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 โดยจัดการประกวดภาพวาดในหัวข้อ “บวร” ความสุข ความผูกพันของสังคมไทย เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้ตระหนักรู้ถึงบทบาท หน้าที่ และความสำคัญของ “บ้าน วัด โรงเรียน” (บวร) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสามเสาหลักที่ยึดโยงความสัมพันธ์ของคนในสังคมไทยเข้าไว้ด้วยกัน เป็นกลไกให้คนในชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนา และบริหารจัดการชุมชนของตนเองให้เข้มแข็ง ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี และทุนการศึกษาสำหรับเยาวชน และสถาบันการศึกษาที่สนับสนุนให้เยาวชนส่งผลงาน รวมมูลค่ากว่า 1.4 ล้านบาท สำหรับคณะกรรมการตัดสินทางโครงการได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งด้านวรรณศิลป์ และทัศนศิลป์ นำทีมโดย ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ และอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พร้อมด้วยคณาจารย์อีกหลายท่าน ได้แก่ อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์, ดร.สังคม ทองมี ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร, อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิตไทย, คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ (ทมยันตี) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และคุณธวัชชัย สมคง บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Fineart
น้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงอุดมศึกษา สามารถศึกษารายละเอียด และติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.intouchcompany.com , FB : intouchstation หรือ Line ID : Jintanakarn.intouch เปิดรับผลงานตั้งแต่วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2562 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-796-1670-1 หรือ 02-118-6953 สแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลดใบสมัคร หนังสือรับรองผลงาน และตัวอย่างวรรณกรรมแนะนำได้ตามด้านล่าง
เคทีซีแจงผลประกอบการไตรมาส 1/2562 กำไรสุทธิ 1,589 ล้านบาท เติบโต 31% การดำเนินธุรกิจโดยรวมเป็นไปตามคาด เดินหน้าปรับแผนการตลาดต่อเนื่องรับกับสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรบรรลุเป้าหมาย พัฒนาระบบออนไลน์ทุกฟังก์ชัน ตอบโจทย์สมาชิก พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่เพื่อให้องค์กรเติบโตต่อเนื่องควบคู่สร้างสรรค์สังคมอย่างยั่งยืน
นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภาพรวมอุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคมีการแข่งขันสูงขึ้น จากการเข้ามาทำธุรกิจสินเชื่อรายย่อยมากขึ้นของธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ทำให้ทุกบริษัทฯ ในธุรกิจนี้ต้องปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลง โดยในช่วง 3 เดือนแรก อุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคยังคงมีอัตราเติบโตต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า”
“สำหรับไตรมาสแรกของปี 2562 เคทีซีได้ปรับแผนการตลาดต่อเนื่องให้ทันต่อสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลง โดยสามารถขยายฐานบัตรได้ดีและควบคุมคุณภาพหนี้ให้อยู่ในระดับเดียวกันกับปีก่อน มีรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น มีการปรับกระบวนการทำงานสม่ำเสมอ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานเพิ่มไม่มากนัก คุณภาพพอร์ตลูกหนี้รวมดี รวมทั้งการตั้งสำรองและการตัดหนี้สูญลดลง จึงเป็นผลให้กำไรสุทธิดีเกินคาด โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 31% ด้วยกำไรสุทธิ 1,589 ล้านบาท หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของบริษัทฯ รวมอยู่ที่ 1.18% โดยรายได้ในไตรมาสแรกที่เติบโตมาจากการขยายฐานสมาชิกบัตรใหม่ทั้งกลุ่มลูกค้าระดับบน (Premium) และรักษาฐานสมาชิกระดับกลาง (Mass) อีกทั้งการออกโปรแกรมการตลาดและการใช้สื่อออนไลน์ที่เข้าถึงสมาชิกเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตร เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับสมาชิก”
ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เคทีซีมีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 76,174 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% โดยสินทรัพย์ที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัทฯ อยู่ในรูปของลูกหนี้การค้าสุทธิ คิดเป็น 92% ของสินทรัพย์รวม โดยพอร์ตลูกหนี้การค้ารวมเท่ากับ 75,209 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ฐานสมาชิกรวม 3.3 ล้านบัญชี เติบโต 8.2% แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,348,990 บัตร ขยายตัว 6.4% ยอดลูกหนี้บัตรเครดิตรวม 48,413 ล้านบาท สัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมปัจจุบันอยู่ที่ 12.5% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 12.2% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 49,091 ล้านบาท เติบโต 10.4% (อุตสาหกรรมเติบโตที่ 8.6%) ส่วนแบ่งตลาดของการใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 11.2% อยู่ในระดับเดียวกับสิ้นปี 2561 ที่มีค่า 11.2% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.04% ลดลงจาก 1.14% (อุตสาหกรรม 2.02%)
“พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซีเท่ากับ 967,059 บัญชี ขยายตัว 12.8% ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคล 26,483 ล้านบาท สัดส่วนลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเคทีซีเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 5.4% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่สามารถเทียบเคียงกับในอดีตได้ เนื่องจากมีการรวมลูกหนี้สินเชื่อทะเบียนรถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตัวเลขอุตสาหกรรมสินเชื่อบุคคล และ NPL ของสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 0.78% ลดลงจาก 0.82% (อุตสาหกรรม 3.49%) โดยสัดส่วน ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อ NPL ยังคงมูลค่าสูงที่ 605% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 591% สำหรับปริมาณการซื้อขายผ่านร้านค้ามีมูลค่า 22,282 ล้านบาท เติบโต 6% และจำนวนร้านค้าสมาชิกเท่ากับ 37,787 แห่ง เพิ่มขึ้น 13% จากโครงการขยายร้านค้าออนไลน์และโครงการขยายร้านค้าอาลีเพย์”
“ไตรมาสแรกของปี 2562 เคทีซีมีอัตราเติบโตของรายได้รวมสูงกว่าค่าใช้จ่าย โดยสามารถทำรายได้เพิ่มขึ้น 9% เท่ากับ 5,574 ล้านบาท จากรายได้ดอกเบี้ย (รวมรายได้ค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน) ของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลเพิ่มที่ 9% และ 10% เท่ากับ 3,267 ล้านบาท รายได้ค่าธรรมเนียม 1,235 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ 1,072 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วน 59% 22% และ 19% ของรายได้รวมตามลำดับ โดยที่รายได้อื่นๆ มีสัดส่วน 88% มาจากหนี้สูญได้รับคืน และมีการควบคุมค่าใช้จ่ายรวม (ไม่รวมภาษีเงินได้) อยู่ที่ 3,590 ล้านบาท ใกล้เคียงกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 3,603 ล้านบาท แม้ว่าพอร์ตจะมีการขยายตัวแต่ด้วยลูกหนี้ที่มีคุณภาพ ทำให้การตั้งสำรองลดลง และค่าใช้จ่ายการเงินที่เป็นต้นทุนเงินลดลงที่ 2% เนื่องจากบริษัทฯ ออกหุ้นกู้ใหม่ด้วยต้นทุนเงินที่ต่ำลงกว่าค่าเฉลี่ยต้นทุนของหุ้นกู้เดิม โดยรักษาสัดส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้สุทธิ (Operating Cost to Income Ratio) ที่ต่ำอยู่แล้วให้ลดลงอีกเหลือ 24.9% จาก 27.2% ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน”
“บริษัทฯ มีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) ทั้งสิ้น 26,730 ล้านบาท เป็นวงเงินของธนาคารกรุงไทย 15,720 ล้านบาท และธนาคารพาณิชย์อื่นๆ 11,010 ล้านบาท โดยมีต้นทุนการเงินไตรมาส 1/2562 เท่ากับ 2.91% ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ที่มีอัตรา 3.02% โดยมีอัตราส่วนของหนี้สินต่อ ส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 3.25 เท่า ซึ่งต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า”
ในปี 2562 นี้ เคทีซีมุ่งหมายการดำเนินงานไปที่ความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก (Customer Needs) โดยจะเน้นนำเสนอสิทธิประโยชน์ด้านออนไลน์ที่เข้มข้น ไม่น้อยกว่าการใช้บัตรที่ร้านค้าปกติ เพื่อให้สมาชิกเคทีซีหรือกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายนึกถึงบัตรและแบรนด์เคทีซีเป็นอันดับต้นๆ ควบคู่กับการพัฒนาระบบออนไลน์ และแอปพลิเคชัน “KTC Mobile” ที่เน้นให้ทุกฟังก์ชันการทำงานมีประโยชน์ สะดวก และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค ตลอดจนในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 เป็นที่คาดหมายว่าจะเกิดการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ได้ผ่าน นาโน-พิโกไฟแนนซ์ และสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่จะส่งให้ธุรกิจสามารถบรรลุเป้าหมายหลักในการเติบโตอย่างต่อเนื่องควบคู่การสร้างสรรค์สังคมที่ดีอย่างยั่งยืน
เอสซีจี เดินหน้าตามกลยุทธ์สร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน ลงทุนกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท เข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน PT. Fajar Surya Wisesa Tbk. หนึ่งในผู้นำธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย พร้อมรองรับตลาดที่มีประชากรสูงถึง 270 ล้านคน และมีอัตราการเติบโตของตลาดบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นการลงทุนครั้งสำคัญที่จะช่วยสร้างโอกาส การเติบโตของธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ในอนาคต
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า “เอสซีจี ยังคงเดินหน้าตามกลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งมั่นคงในระยะยาว (Long-term Growth) ด้วยการขยายฐานการลงทุนในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ได้เข้าลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สัดส่วนร้อยละ 55 ใน PT. Fajar Surya Wisesa Tbk. (หรือ “Fajar”) ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ และเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย จากผู้ถือหุ้นปัจจุบัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 9.6 ล้านล้านรูเปีย (ประมาณ 21,150 ล้านบาท หรือเทียบเท่า 665 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่า จะดำเนินธุรกรรมแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 โดยใช้แหล่งเงินทุนจากภายใน นอกจากนี้ เพื่อรองรับโอกาสในการขยายธุรกิจแพคเกจจิ้งในอนาคต เอสซีจีอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มทุนของธุรกิจแพคเกจจิ้ง ซึ่งคาดว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2562 นี้
นายรุ่งโรจน์ กล่าวต่อไปว่า “การเข้าถือหุ้นข้างมากใน Fajar จะช่วยขยายการเติบโตของเอสซีจีในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดอินโดนีเซีย ซึ่งธุรกิจแพคเกจจิ้งมีโอกาสเติบโตอย่างมากในอนาคต โดยหากพิจารณาจากจำนวนประชากร 270 ล้านคน และอัตราการใช้กระดาษบรรจุภัณฑ์ต่อคนของอินโดนีเซียแล้ว ศักยภาพการเติบโตของตลาดกระดาษบรรจุภัณฑ์ในอินโดนีเซียสูงกว่าไทยเกือบ 3 เท่าตัว”
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี มีผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันที่รุนแรงได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีขีดความสามารถสูง และมีศักยภาพในการขยายธุรกิจครอบคลุมอาเซียน โดยมีโรงงานตั้งอยู่ที่ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตอย่างมาก โดยมุ่งขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการเป็นผู้ให้บริการบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Total Packaging Solutions Provider) รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้า บริการ และกระบวนการผลิต เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และการใช้งานของผู้บริโภค ตลอดจนการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตามแนวทางของเอสซีจี หรือ SCG Circular Way
ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ในปี 2561 มีรายได้จากการขาย 87,255 ล้านบาท โดยมีกำไรสำหรับปี 6,319 ล้านบาท ขณะที่ Fajar ในปี 2561 มียอดขายกระดาษบรรจุภัณฑ์รวม 1.38 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9.94 ล้านล้านรูเปีย (ประมาณ 21,900 ล้านบาท) และมีกำไรสำหรับปีประมาณ 1.41 ล้านล้านรูเปีย (ประมาณ 3,100 ล้านบาท)
นายรูว์ ไฮซแมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้ารายย่อย ทีเอ็มบี รับรางวัล Digital Bank of the Year Award 2018 ในงาน The Asset Triple A Digital Awards 2018 ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมโฟร์ซีซัน ฮ่องกง เมื่อเร็วๆนี้ รางวัลที่ได้รับนี้เป็นผลสืบเนื่องจากผลงานด้านดิจิทัลแบงก์กิ้งที่โดดเด่นของทีเอ็มบีที่ได้รับรางวัลในหลากหลายสาขา ดังนี้ ผลงานจากการผสานใช้เทคโนโลยีด้านการเงิน ผ่านการใช้ข้อความเตือนในแอปพลิเคชัน TMB TOUCH ผลงานจากการออกแบบประสบการณ์ในรูปแบบ Gamification ของ TMB WOW เพิ่มประสบการณ์ความสนุกในการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน และผลงานการสร้างประสบการณ์ การบริจาค ครบทั้งกระบวนการผ่านช่องทางดิจิทัล เว็บไซต์ ปันบุญ www.punboon.org ศูนย์รวมมูลนิธิและองค์กรการกุศลทั่วประเทศ ตอกย้ำบทบาทของธนาคารที่ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด Make THE Difference ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ ด้วยการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ย้ำเจตนารมณ์การเป็นธนาคารที่ให้ลูกค้าได้มากกว่าในยุคดิจิทัล
เอสซีจี โดยนายชนะ ภูมี Vice President-Cement and Construction Solution Business เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และนายศาณิต เกษสุวรรณ ผู้อำนวยการ-ธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ธุรกิจซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ร่วมกับกองทัพบก และเครือข่ายจิตอาสา ส่งมอบถังเก็บน้ำผลิตด้วยวัสดุพอลิเมอร์ “เอลิเซอร์” ของเอสซีจี จำนวน 115 ถัง ให้แก่ นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 ถัง และนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง จำนวน 65 ถัง เพื่อช่วยเหลือเเละบรรเทาภัยแล้งระยะเร่งด่วนแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาบรรเทาภัยแล้ง” ที่ร่วมเฉลิมพระเกียรติเเละถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เสด็จขึ้นครองราชย์ พร้อมเชิญชวนจิตอาสาระดมพลังสร้างฐานติดตั้งถังเก็บน้ำจากวัสดุรีไซเคิลที่เหลือจากการก่อสร้าง ซึ่งออกแบบโดยทีมงานเอสซีจีให้สอดคล้องกับแนวทาง SCG Circular Way หรือการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด และนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมเป็นจิตอาสาในโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.scg.com/volunteerproject
เอสซีจี ยังคงมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายจิตอาสาทั่วประเทศ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายเป็นหัวใจสำคัญ พร้อมเชิญชวนทุกภาคส่วนให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” ผ่านการดำเนิน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาบรรเทาภัยแล้ง” กิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” และกิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย” เพื่อสร้างพลังที่เข้มแข็ง อันจะนำไปสู่การผลักดันสังคม และชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เกิดความยั่งยืน และสร้างโลกที่น่าอยู่สำหรับคนรุ่นต่อไป
ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น มีความยินดีที่จะประกาศการแต่งตั้ง นายอันโดะ มูเนะโนริ เป็นกรรมการผู้จัดการคนใหม่ของเอปสัน สิงคโปร์ ดูแลกิจการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการประจำประเทศของเอปสัน ประเทศไทย และเอปสัน ฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ นายอันโดะ ยังดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารของไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น สำนักงานใหญ่ของเอปสันที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย
ทั้งนี้ นายอันโดะ รับตำแหน่งต่อจากนายโตชิมิตสุ ทานากะ ที่จะกลับไปดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับอาวุโสที่แผนกวางแผนการขายและฝ่ายสื่อสารการตลาดที่ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น
นายอันโดะ เคยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายขายและการตลาดที่ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น ดูแลรับผิดชอบเรื่องการพัฒนาโครงสร้างการขายและกลยุทธ์สำหรับผลิตภัณฑ์ของเอปสันทั่วโลก
นายอันโดะ ยังดำรงตำแหน่งอีกหลายตำแหน่งในเอเชียและอีกหลายประเทศ รวมถึงมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับภูมิภาค และมีประสบการณ์ในการบริหารมาหลายสิบปี นายอันโดะเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการเอปสัน จีน ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2560 ด้วยการนำกลยุทธ์ “เทคโนโลยีผสมผสานกับพื้นที่” ทำให้สามารถขยายธุรกิจในประเทศจีนได้อย่างเต็มที่ และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นในตลาดสำคัญๆ รวมทั้งตลาดพรินเตอร์ โปรเจคเตอร์ และหุ่นยนต์
นายอันโดะทำงานประจำที่สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในสิงคโปร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2546 - 2551 โดยรับผิดชอบในการพัฒนาตลาดให้แก่พรินเตอร์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
นายอันโดะยังเป็นหัวหน้าทีมธุรกิจพรินเตอร์ ณ จุดขาย (POS) ในยุโรปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 - 2541 ซึ่งเป็นช่วงที่นายอันโดะประสบความสำเร็จในการเติบโตของธุรกิจตลาดพรินเตอร์ POS ผ่านการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้เอปสันกลายเป็นที่ 1 ในตลาดพรินเตอร์ POS
ลอรีอัล กรุ๊ป เตรียมแสดงวิสัยทัศน์ “ความงามไร้ขีดจำกัด” (Limitless Beauty) เพื่อความงามแห่งอนาคตและยกระดับประสบการณ์ลูกค้า ผ่านการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) และเทคโนโลยีสั่งการด้วยเสียง (Voice) ที่งาน วีวา เทคโนโลยี ปารีส 2019 (Viva Technology Paris)
นางลูโบมิรา โรเช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัลของลอรีอัล กล่าวว่า "เราตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ด้านความงามซึ่งมาพร้อมความหลากหลาย ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อีกทั้งยังสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการและความปรารถนาของคนทั่วโลก นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ในยุคดิจิทัล อาทิ AR, AI และเทคโนโลยีสั่งการด้วยเสียง เปิดโอกาสให้เราสามารถมอบบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถผลิตสินค้าได้อย่างรวดเร็วในแนวทางที่ยั่งยืน นอกจากนั้นยังสามารถผสานผู้บริโภคเข้ากับกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่และทุกเวลา"
เทคโนโลยีที่ไร้ขีดจำกัด Limitless Tech
บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลแบบไร้ขีดจำกัด Limitless Personalization
ความสร้างสรรค์ไร้ขีดจำกัด Limitless Creativity: โซน 360° immersion ที่เปิดโอกาสให้สัมผัสกับเทรนด์ความงามจากทั่วโลก ซึ่งรวบรวมมาจากโซเชียลมีเดียโดยฝีมือของ AI
ความว่องไวไร้ขีดจำกัด Limitless Agility: นำเสนอเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติและการผลิตตามคำสั่งพิเศษ ผ่านการออกแบบน้ำหอมใหม่ของลังโคม และ วิคเตอร์แอนด์รอล์ฟ รวมถึงทดลองเครื่องจำหน่ายลิปสติก จิออร์จิโอ อาร์มานี แบบอัตโนมัติ ซึ่งสามารถลองเฉดสีแบบเสมือนจริงได้จากเทคโนโลยี ModiFace