November 01, 2024

นางสาวพิมพาภรณ์ อาภาศิริผล ประธานเจ้าหน้าที่ สายงานบริหารกลยุทธ์ลูกค้าและดิจิตอล บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จากัด (มหาชน) เป็นตัวแทนบริษัทฯรับรางวัล “THAILAND TOP COMPANY AWARDS 2019” ประเภท “DIGITAL INITIATIVE COMPANY AWARD” โดยคัดเลือกจากองค์กรที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน หรือการให้สินค้าหรือบริการแก่ลูกค้าที่มีความโดดเด่นจนเป็นที่ยอมรับ โดยบริษัทฯได้รับรางวัลต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งจัดโดย นิตยสาร BUSINESS+ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ณ ห้องบอลรูม โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ

โลกทุกวันนี้เรียกได้ว่าเป็น “New Normal” โลกที่มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อภาคส่วน ต่างๆ เป็นระลอกๆ เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากการ คืบคลานของ เทคโนโลยี” ที่เข้ามามีบทบาทและสร้างจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่เรียกว่า Technology Disruption และยังส่งผลทำให้หลายองค์กร พยายามเร่งพัฒนาศักยภาพเพื่อให้สามารถก้าวข้ามความท้าทายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในภาคส่วนของพนักงาน เป็นอีกหน่วยที่ต้องเตรียมเผชิญ การถูกท้าทายด้วยการแทนที่งานโดยเทคโนโลยี ทั้งหุ่นยนต์ (Robot) และ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI)

ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกคาดการณ์ว่าหลายอาชีพในปัจจุบันกว่า 73 ล้านอาชีพกำลังจะหายไปภายในปี ค.ศ. 2030 ตัวเลขที่สูงจนน่าตกใจนี้ กระตุ้นให้พนักงานในหลายองค์กรมีทั้งความตระหนกและความตระหนัก

แนวโน้มความกังวลว่าหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะ แย่ง งานมนุษย์เป็นเรื่องที่ใครๆ ต่างพากันพูดถึง ในขณะเดียวกันก็มีการตอบโต้จากนักวิชาการบางกลุ่มซึ่งได้อ้างอิงถึงสถิติในยุคที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยในยุคนั้นมีการนำเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานคน ในปี ค.ศ. 1900 พบว่า 40% ของแรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในภาคเกษตรกรรม แม่ทุกวันนี้เหลือคนในภาคเกษตรกรรมเพียง 2% แต่ประเด็นสำคัญ คือแรงงานหรือบุคลากรในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ตกงาน แต่กลับเปลี่ยนไปทำงานที่มีมูลค่าสูงขึ้น โดยหันมาทำงานในบริบทที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก รวมถึงมีงานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตามความก้าวหน้าของโลกอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นนับแต่นั้น

ผลการศึกษาล่าสุดคาดการณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่กำลังดำเนินจะก่อเกิดอาชีพใหม่ๆ และจะมากกว่าอาชีพที่ถูกทำลายหายไป เมื่อเทียบจากจำนวนอาชีพงานในช่วง 144 ปี ที่ผ่านมา ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงจาก เทคโนโลยี หรือ Technology Disruption จึงมิได้จะมีเพียงด้านลบ แต่ยังมีโอกาส ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น และประเด็นอยู่ที่ว่าเราจะปรับตัวอย่างไร? ให้มีความรู้และทักษะที่สามารถตอบโจทย์เป็นที่ ต้องการและไปต่อได้ในอนาคตที่กำลัง เปลี่ยนแปลง

SEAC (Southeast Asia Center) สถาบันพัฒนาและ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต แห่งภูมิภาคอาเซียน ได้นำเสนอ 5 ทักษะอันเป็นที่ต้องการของอาชีพในอนาคต ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI)

AI หรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สาขาหนึ่งทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรม ผนวกรวมกับศาสตร์ด้านอื่นๆ อาทิเช่น จิตวิทยา ปรัชญา ชีววิทยา ฯลฯ ภายใต้ การสร้างโปรแกรมการเรียนรู้ให้กับเครื่องจักร ที่เรียกว่า Machine Learning ผ่านการป้อนข้อมูล (Data) จำนวนมหาศาลเข้าไปเพื่อให้เครื่องจักรเรียนรู้ โดยมีการติด Algorithm เพื่อให้เครื่องจักรสามารถเรียนรู้ ประมวลผล วิเคราะห์ สร้างองค์ความรู้ และคาดการณ์อนาคตได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถูกนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย อาทิ ระบบ ประมวลผลตรวจจับใบหน้าบนโทรศัพท์มือถือ ระบบการประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing - NLP) การจดจำคำพูด (Speech Recognition) ที่ถูกใช้ ในเทคโนโลยีของ Siri Apple ระบบการแนะนำวิดีโอหรือหนังใน Net ix และ YouTube ฯลฯ ในปัจจุบันสาขานี้ถูกพัฒนาจนมีขั้นตอนประเมินชุดข้อมูล (Hidden Layer) ที่ ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้เคียงกับเครือข่ายประสาทของสมองมนุษย์เลยทีเดียว

นอกจากเทคโนโลยีอย่าง AI แล้วยังมีเทคโนโลยีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ต่างๆ (Software Development) อาทิเช่น ระบบการทำงานอัตโนมัติ ด้วยหุ่นยนต์ (Robotic Process Automatic หรือ RPA) ซึ่งเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเพื่อควบคุม กิจกรรมทางธุรกิจหลากหลายรูปแบบ ด้วยคอมพิวเตอร์อย่างอัตโนมัติ โดย ผ่านการวิเคราะห์จากชุดข้อมูลต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาทำหน้าที่ แทนมนุษย์ในงานที่ต้องใช้เวลามาก และทำซ้ำไปซ้ำมา อย่างการตอบอีเมลลูกค้า การจัดการกับเอกสาร ตัวเลข และข้อมูลปริมาณมาก ราวกับเป็นพนักงานบริษัทที่ทำงานได้ 24 ชม. โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย กล่าวคือ เมื่อ AI สามารถทำงานได้เหนือมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงจำเป็นมากที่คนทำงานทุกคนต้องเร่งปรับตัวและเรียนรู้อย่างรวดเร็วกับ เทคโนโลยี AI

  1. การวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) และการแสดงผลข้อมูลให้เห็น ภาพ (Data Visualization)

หลายคนเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า “Big Data Analytics” หรือการ วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (ที่ใหญ่มากๆ จนมนุษย์ไม่สามารถวิเคราะห์ทั้งหมดได้) เพื่อค้นหารูปแบบความสัมพันธ์และหา สิ่งที่เชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการหาเทรนด์ทางการตลาด การหาความต้องการของลูกค้า ซึ่งถูกนำมาประกอบการพัฒนาแผนงาน การดำเนินการต่างๆ ตลอดจนการตัดสินใจ ทางธุรกิจให้มีความถูกต้อง ตรงจุด และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน จนเรียกได้ว่าการตัดสินใจยากๆ ในอดีต สามารถทำได้ง่ายขึ้น (และเร็ว มากขึ้นมากๆ) ในปัจจุบัน

ซึ่งแม้ว่าเทรนด์นี้จะเข้ามาในสังคมโลกรวมถึงประเทศไทยมาได้สักระยะใหญ่ๆ และหลายองค์กรก็เริ่มนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานทางธุรกิจแล้ว แต่มันจะมีประโยชน์อะไร ถ้าคนส่วนใหญ่ในองค์กรไม่สามารถอ่านมันออก หรือแม้ว่าจะมีคนอ่านข้อมูลออกก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายให้คนอื่นๆ เขาใจได้อย่างไรเพื่อแก้ปัญหา จุดนี้เองที่ทักษะด้าน “Data Visualization” หรือทักษะในการนำข้อมูลต่างๆ มาทำให้เห็นภาพ จึงมีบทบาทและความสำคัญอย่างขาดไม่ได้เลย โดยทักษะนี้จะช่วยแปลงข้อมูลเชิงเทคนิคมาอยู่ในรูปแบบของภาพ (Visual) เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ดูน่าสนใจมากขึ้นและเห็นภาพรวมของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะทำให้ข้อมูลยากๆ สามารถเข้าถึงคนในหมู่มากได้แล้ว ก็ยังเพิ่มโอกาสในการมองเห็นข้อมูลที่น่าสนใจชุดใหม่ๆ ที่อาจมองข้ามไป นับเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกต่อหนึ่ง จนอาจกล่าวได้ว่า Data Visualization ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะของพนักงานในฝันที่ทุกองค์กรใฝ่หาในอนาคต

  1. การคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) และการแก้ปัญหาที่ ซับซ้อน (Complex Problem-Solving)

แม้ว่าเทคโนโลยีจะถูกพัฒนาให้มาทำงานหลายๆ อย่างแทนมนุษย์ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เครื่องจักรไม่สามารถทำแทนเราได้ และแม้ทำได้เราก็ไม่ไว้ใจให้ทำหน้าที่แทนมนุษย์ แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ สิ่งนั้นก็คือหน้าที่ในการตัดสินใจ เพราะถึงแม้ว่า AI จะสามารถ คำนวณเรื่องต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น เก็บข้อมูลได้มากมาย แต่ในหลายๆ เรื่องก็ยังต้องใช้ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ในการตัดสินบางเรื่องอยู่ เช่น ทนายอาจใช้ AI เก็บข้อมูล หลักฐานต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาคดี แต่สุดท้ายอัยการหรือผู้ที่อำนาจในการ ตัดสินก็ยังเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถพิจารณาและตัดสินความได้ดีกว่า จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทักษะที่เกี่ยวกับการคิดเชิงวิเคราะห์” (Critical Thinking) และ ทักษะในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน” (Complex Problem Solving) ซึ่งครอบคลุมไปถึง การเลือกคำตอบในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม จะเป็นทักษะประเภท ซอฟท์สกิล (Soft Skill) ที่หลายองค์กรเฟ้นหาในผู้สมัครงานยุคใหม่ และเร่งพัฒนาพนักงาน ของตนเองให้มีทักษะนี้มากขึ้น

โดยทักษะดังกล่าวช่วยให้มนุษย์ สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ และ ตัดสินใจกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามหลัก ตรรกะและเหตุผลได้อย่างสมเหตุสมผล แม้ว่าปัญหาจะมีความซับซ้อนที่ยากจะเข้าใจโดยเฉพาะในยุคสมัยที่เทคโนโลยี และมนุษย์ทำงานคาบเกี่ยวกันในหลายระดับ จนไม่สามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ได้ในทุกปัญหาก็ตาม

  1. ทักษะเรื่อง คน’ (People Skills)

กล่าวได้ว่างานเกือบทุกประเภทบนโลกใบนี้ล้วนต้องมีการปฏิสัมพันธ์ และ สื่อสารกับคนอื่นๆ ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น ทักษะเรื่องคน” (People Skills) จึงเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้ที่จะช่วยให้เรา สามารถทำงานร่วมกับผู้คนได้อย่างราบรื่น ซึ่งเมื่อจำแนกลงไปแล้วทักษะนี้ ประกอบไปด้วยคุณลักษณะที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทักษะเกี่ยวกับประสิทธิภาพส่วนบุคคล (Personal Effectiveness) ที่ เน้นการพัฒนาตนเอง ทักษะที่เกี่ยวข้อง กับบุคคลอื่น (Interpersonal Skills) การมี มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (Relation Skills) และทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) ซึ่งเมื่อนำมามัดรวมกันจะแบ่ง ออกเป็นความสามารถและทักษะต่างๆ มากมาย อาทิ

ทักษะด้านการจัดการคน (People Management Skills) ที่ใช้ในการจัดการ เจรจา (Deal With) และควบคุมทั้ง ประสิทธิภาพและความรู้สึกของผู้คน รอบข้าง ทักษะเกี่ยวกับความยืดหยุ่นใน การเข้าใจผู้อื่น (Cognitive Flexibility) ที่ช่วยให้เราเข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น รู้จักถึงวิธีการเข้าหา (Approach) และพูดคุยกับ ผู้คนในแต่ละลักษณะ ตลอดจนรู้วิธีปรับเปลี่ยน วิธีการสื่อสารให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทักษะด้านการโน้มน้าวใจ (Negotiation Skills) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการปิดข้อตกลงทางธุรกิจในทุกๆ ครั้ง ฯลฯ

ทักษะหรือซอฟท์สกิลเหล่านี้ล้วนเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับมนุษย์อย่างมาก เพราะตราบใดที่เรายังต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น แม้เพียงแค่ 1 คน เราก็ยังจำเป็นต้องใช้ทักษะเหล่านี้ไม่มากก็น้อย และยังเป็นสิ่งที่ Machine ยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่ได้

  1. ทักษะความคิดสร้างสรรค์(Creativity)

กล่าวได้ว่าเป็นทักษะชั้นเลิศที่อยู่คู่กับสังคมมนุษย์มาเนิ่นนาน ซึ่งสิ่งการันตีได้ถึงความยอดเยี่ยมที่แม้หุ่นยนต์ที่ดีที่สุดก็ไม่สามารถเทียบเท่ามนุษย์ได้ ทักษะนั้นก็คือ ความคิดสร้างสรรค์” (Creativity) เพราะสมองของมนุษย์มีความซับซ้อนและมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายรูปแบบจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ซึ่งเทคโนโลยีและ AI บนโลกใบนี้ต่างล้วนเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์นั่นเอง สิ่งที่ดีไปกว่านั้นก็คือ แม้ว่าคนเราอาจไม่ได้เกิดมาแล้วมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ หรือ การคิดหาทางออก / หาคำตอบได้อย่างสร้างสรรค์ หรือเราทุกคนไม่ได้เกิดมาแล้วคิดแบบ Steve Jobs ได้ แต่เราก็ยังมีรูปแบบขั้นตอนการคิดที่ฝึกให้เราทำเช่นนั้นได้ เช่นการ ฝึกคิดแบบ Design Thinking หรือเทคนิคการคิดหาคำตอบแบบนักออกแบบ เป็นต้น โดยทักษะความคิดสร้างสรรค์กลับมาทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคที่เครื่องจักร เข้ามาแย่งงานที่กินเวลาอันแสนน่าเบื่อไปเสียหมด จนคนมีเวลาเหลือเฟือที่จะไปใช้ กับการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ทุกสถานการณ์ในอนาคต (ที่เพิ่ม ความท้าทายให้กับนักคิดด้วยความเร็วของการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากขึ้นเรื่อยๆ) เฉกเช่นปัจจุบัน โดยเฉพาะการริเริ่มความคิดนอกกรอบ ที่เรียกได้ว่าออกนอกกรอบ เดิมๆ แบบที่ไม่เคยคิดเคยฝันมาก่อน อันเป็นผลมาจากการค้นพบความต้องการของลูกค้าที่ไม่เคยเห็นมาก่อน (Unmet Needs) เช่นกัน จากลูกค้ายุคใหม่ที่เปลี่ยนเร็วไปไว ในทุกขณะ ฉะนั้นความคิดสร้างสรรค์คือ ทักษะที่สามารถช่วยให้ไปต่อได้และยากจะโดน Disrupt ด้วยเทคโนโลยีใดๆ

อย่างไรก็ดี นอกเหนือไปจากการพัฒนาให้มีทักษะแห่งอนาคตทั้ง 5 ดังกล่าวมาข้างต้นทัศนคติที่ ‘ใฝ่เรียนรู้’ ตลอดจน ‘วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม’ ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยนำพาให้มนุษย์สามารถก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างยาวไกลภายใต้การเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบ

ทศวรรษที่ผ่านมาเวทีการประชุมระดับโลกและระดับภูมิภาค ได้มีการหยิบยกประเด็นปัญหาโลกร้อน ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ มลพิษสิ่งแวดล้อมข้ามแดน

ความตื่นตัวในเรื่องของการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) มีปัจจัยจากแรงขับดันหลักในสองขั้ว คือ การทำตามกระแส 

ประกันสุขภาพ ถือว่าเป็น Segment ที่แท้จริง ปี 2568 (2025) “อลิอันซ์ อยุธยา” ตั้งเป้าเป็นผู้นำธุรกิจประกัน สุขภาพของไทย เห็นได้จาก ผลงานในปี 2561 ภาพรวม ตลาดประกันสุขภาพโต 10% โดย อลิอันซ์ อยุธยา เติบโตกว่า ตลาดรวมโดยอยู่อันดับ 3 ของธุรกิจกิจประกันสุขภาพ

สำหรับกลยุทธ์หลักเพื่อไปถึงเป้าหมาย การขายผ่านตัวแทน จะเป็นช่องทางหลักที่มีความสำคัญ และจะต้องมีเพิ่มสัดส่วนยอดขายประกันสุขภาพเป็น 42.5% จากปี 2561 ที่มีสัดส่วนที่ 40% และ เป้าหมายปี 2562 คาดการณ์ว่าภาพรวม ตลาดจะเติบโตประมาณ 10-20% อลิอันซ์ อยุธยา ตั้งเป้าจะมีอัตราการเติบโต 20% และภายในปี 2564 อลิอันซ์ อยุธยา จะก้าวขึ้นอันดับ 2 และภายใน 7 ปี ครองตลาดขึ้นเบอร์ 1 ในธุรกิจประกัน สุขภาพของไทย

 

นายไบรอัน สมิท กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต เปิดเผยถึง 5 กลยุทธ์สำคัญ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายผู้นำประกันสุขภาพในอนาคตที่จะเดินไปนั้น ในเชิงกลยุทธ์ ของอลิอันซ์ อยุธยา ปีนี้ เราจะไม่ใช้กลยุทธ์ที่เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ แต่เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับปีที่ผ่านมา และเป็นแผนระยะยาว 7 ปี ถึงปี 2568 (2025) โดยเน้นใน 5 ด้าน ได้แก่

  1. Digital การรุกธุรกิจเข้าไปสู่ช่องทางดิจิทัล เน้นใช้ช่องทางดิจิทัลผลักดันธุรกิจให้เติบโตผ่านการหาพันธมิตรรายใหม่ ในการพัฒนาช่องทางการขาย อาทิ การสานต่อความสัมพันธ์ของอลิอันซ์ และ Go-Jek สตาร์ตอัปยูนิคอร์นจากเอเชีย ในตลาดประเทศไทย นอกจากนั้น ยังเน้นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้พัฒนา การให้บริการลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น Allianz Discover ใน ช่องทางตัวแทน Digital for Life เพื่อ สนับสนุนการขายของช่องทางธนาคาร ระบบ Robotics ที่เอามาช่วยการทำงานแบบอัตโนมัติในสายงานต่างๆ เช่น สายงานการเงิน การใช้ Big Data เพื่อมาวิเคราะห์ข้อมูล
  2. Health Leadership มุ่งสู่การเป็นบริษัทประกันสุขภาพแห่งอนาคต โดย จับมือกับผ้าด้านบริการสุขภาพอย่าง BMDS ในการให้บริการด้านสุขภาพดิจิทัลอย่างครบวงจร พร้อมสร้างการเติบโตให้ กับแพลตฟอร์มออนไลน์ Healthy Living ที่หวังจะให้เป็นชุมชนด้านสุขภาพขนาดใหญ่ขึ้นที่นอกจากจะช่วยสร้างความผูกพันระหว่างลูกค้าและแบรนด์ อลิอันซ์ อยุธยา ได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังถือเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับบริษัทในการ พัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพอีกด้วย
  3. Professional Agency การพัฒนาช่องทางการขายผ่านตัวแทน เน้นสร้าง และพัฒนาตัวแทนที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสรรหาและพัฒนาตัวแทนเต็มเวลาเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน สร้างตัวแทนมืออาชีพที่สร้างผลงานสม่ำเสมอ และพัฒนา ตัวแทนยุคดิจิทัลที่มุ่งสู่ระบบ Paperless ภายในปี 2563
  4. One Allianz Ayudhya การผสานพลังธุรกิจประกันชีวิตและประกันภัย ภายใต้แบรนด์ อลิอันซ์ อยุธยา ซึ่งจะทําให้แบรนด์ อลิอันซ์ อยุธยา มีความแข็งแกร่ง และสามารถเสนอขายผลิตภัณฑ์และบริการ ทั้งในส่วนของประกันชีวิตและประกันภัยได้อย่างครบวงจร สร้างความสะดวกให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบ One Stop Service
  5. True Customer Centricity (TCC) วัฒนธรรมองค์กรที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักที่ขับเคลื่อน อลิอันซ์ อยุธยา มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง TCC ไม่ได้หมายความถึงเพียงผู้ถือ กรมธรรม์เท่านั้น แต่พนักงานฝ่ายขาย และพันธมิตรทางธุรกิจ ต่างก็เป็นลูกค้าที่สำคัญของกันและกัน โดยตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญ ก็คือการสร้างความพึงพอใจจนลูกค้าอยากบอกต่อ หรือ NPS Score และความผูกพันที่พนักงานมีกับองค์กร หรือ AES Score ให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

นายไบรอัน กล่าวทิ้งทายว่า ด้วยกลยุทธ์ธุรกิจทั้งหมดที่กล่าวมา รวมทั้งความร่วมแรงร่วมใจของพนักงานทุกคน ทำให้เรามั่นใจว่าจะสามารถผลักดันให้อลิอันซ์ อยุธยา สามารถเติบโตธุรกิจในประเทศไทย ได้อย่างแข็งแกร่ง เป็นแบรนด์ประกันอันดับหนึ่งในใจลูกค้า รวมทั้งสร้างความผูกพันกับพนักงาน พร้อมพิชิตยอดเบี้ย ประกันภัยรับรวม 33,000 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยรับปีแรก 6,500 ล้านบาท จากทุกช่องทาง และก้าวสู่ผู้นำด้านความ คุ้มครองชีวิตและสุขภาพได้อย่างมั่นคง

 

ทุกคนสามารถนำเสนอได้ แต่มีบางคนเท่านั้นที่สามารถดึงความสนใจจากผู้ฟังและได้รับการตอบสนอง สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้เทคนิคและทักษะการนำเสนอผลงานต่อผุ้บริหารระดับสู M.I.S.S.CONSULT ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคลบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ด้วยหลักจิตวิทยาเชิงบวก  จัดหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ  "Excellence Presenting” 1 วันเต็ม พร้อมการเรียนรู้ กลยุทธ์ในการนำเสนอ  และหลักการสื่อสารเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริหารระดับสูง ที่ต้องการความกระชับและ ผลลัพธ์ในระยะเวลาที่จำกัด 

หลักสูตรนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนได้ทักษะการสร้างการตระหนักรู้บุคลิกภาพของบุคคลที่แตกต่าง เพิ่มทักษะการสื่อสารและสร้างความประทับใจในการนำเสนอผลงาน เพื่อให้ได้ผลงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมการอบรม "Excellence Presenting" ในวันที่ 16  พฤษภาคม 2562

เวลา 9.00-17.00น. ณ โรงแรม  S 31  สุขุมวิท 31  

แจ้งความประสงค์ในการเข้าอบรม ติดต่อ 02 258 4966  ( มีค่าใช้จ่ายในการอบรม)  แจ้งรหัส  MC003  ได้รับส่วนลดพิเศษ  5%

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่   www.missconsult.com / emaiil: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. / www.facebook.com/missconsult

ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาองค์ความรู้และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การขับเคลื่อนนิด้าให้เป็นแหล่งความรู้และคลังปัญญาของสังคม ถือเป็นพันธกิจสำคัญของ รศ.ดร.จงสวัสดิ์ จงวัฒน์ผล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 

สถานภาพใหม่ในการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือการออกนอกระบบ ถือเป็นอีกเรื่องใหญ่ของมหาวิทยาลัย หลายแห่ง แต่สำหรับแนวทางการกำหนดนโยบายเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย และสอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้าแล้ว

ดังเป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในโครงสร้างของทุกภาคส่วน ไม่ละเว้นแม้ภาคการศึกษา หลายสถาบันได้นำเอาประโยชน์ของเทคโนโลยีมาพัฒนาปรับปรุง กระบวนการเรียนรู้ให้ล้ำหน้าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนไป

X

Right Click

No right click