November 01, 2024

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ (กลาง) อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมผู้ประกอบการไทยภายใต้โครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน รุ่นที่ 5 (Young Entrepreneur Network Development Plus Program: YEN-D Season V) ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ โดย EXIM BANK ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศมาเลเซียและบริการทางการเงินของธนาคารให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่สนใจค้าขายหรือลงทุนกับมาเลเซีย เมื่อเร็วๆ นี้

“แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดไอเดียธุรกิจนี้คือคุณปู่กับคุณย่าค่ะ ซึ่งหนูไม่มีโอกาสได้ทดแทนบุญคุณพวกท่านแล้วจึงอยากส่งมอบความปราถนาดีนี้ผ่านการเพิ่มคุณค่าให้แก่สังคมผู้สูงวัยค่ะ” น.ส.กัลยรัตน์ พิกุลน้อย (พลอย) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) หลักสูตรบัญชี  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  หนึ่งในสมาชิกทีม JElder  เผยถึง แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดไอเดียธุรกิจเพื่อสังคม ( SE: social enterprise ) ซึ่งเป็น Market Place ที่ใช้งานง่ายสำหรับผู้สูงอายุโดยมีวิธีการขายเป็น Group buy ซึ่งผู้สูงอายุสามารถเพลิดเพลินกับการขายสินค้าอุปโภค บริโภค รวมถึงการจัด Event ต่างๆได้ใน Platform นี้ โดยไอเดียธุรกิจนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขัน Startup Thailand League 2019 ที่สนามแข่งขันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีโคราช จังหวัดนครราชสีมา และเตรียมความพร้อมลงสนามรอบ Final Pitching Demo Day

น้องพลอยเล่าว่า ไอเดียธุรกิจนี้ ได้ร่วมระดมความคิดสร้างสรรค์กับเพื่อนๆอีก 3 คนในทีม JElder  มีด้วยประกอบด้วย  น.ส.กัญญารัตน์ ชาญประโคน คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตรการท่องเที่ยว  น.ส.อนุตตรีย์ เชิดครบุรี คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตร การโรงแรม และ น.ส. อานิต้า แสงโรจน์

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาการโรงแรม โดยเริ่มเริ่มแรกได้นำเสนอไอเดียธุรกิจนี้ผ่านโครงการนพรัตน์ทองคำซึ่งเป็นโครงการสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ผู้ที่มีคุณสมบัติแก้ว 9 ประการ ขณะนั้นได้รับรางวัลนวัตกรรมชมเชยจากผลงาน จุดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจที่ทำให้พัฒนาตนเองและสร้าง Platform ธุรกิจให้มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

การเรียนที่ CIBA มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนให้กับนักศึกษา ทำให้สร้าง J E I d e r ให้ประสบความสำเร็จได้ โดย DPU X จะสอนการ Pitching เสนอไอเดียอย่างไรให้เข้าเป้าหรือประสบความสำเร็จได้ มีทีมงานให้คำปรึกษาแนะแนวทางในการสร้างสรรค์ไอเดียธุรกิจเสมอ น้องพลอยกล่าว

  

ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวย้ำว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เราปลูกฝังทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้นักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนชั้นปี 1 ในทุกสาขาวิชา ผ่านวิชาในกลุ่ม DPU CORE  (ดียู คอร์) เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 ในรายวิชาที่เรียกว่า Capstone Projects นักศึกษาจะทำงานเป็นทีม สมาชิกในทีมมาจากต่างสาขาและต่างคณะ เพื่อให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์  ออกไอเดียและสร้างสรรค์ชิ้นงาน หัวข้อโครงการอาจเกิดจากนักศึกษาเอง หรือจากสถานประกอบการและพันธมิตรในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย และยังได้จัดตั้งสถาบัน DPU X (ดีพียู เอ็กซ์) เพื่อทำหน้าที่บ่มเพาะทีมนักศึกษาเหล่านี้ต่อในโครงการ DPU Startup Bootcamp เพื่อปั้นไอเดียให้เป็นจริงได้

นักศึกษาเราต้องผ่านเวทีประกวดแนวคิดธุกิจ CIBA MINI CAPSTONE ซึ่งเป็นการจัดแสดงแนวคิดธุรกิจยุค Thailand 4.0 ให้จับกลุ่มทำงานเป็นทีมหลากหลายคณะนำเสนอแผนธุรกิจผ่านโครงการ MINI CAPSTONE โดยมีการประกวด Final Pitching  และ Showcase ซึ่งจะจัดทุกปีเพื่อให้นักศึกษาได้มีเวทีนำเสนอผลงาน ดร.ศิริเดช กล่าวในตอนท้าย

ปฐม  อินทโรดม  กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ไอซีโอ จำกัด  นำทีมร่วมกับ สมใจ ถวิลถิขกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด นิตยสาร MBA  เข้าเยี่ยมแสดงความยินดี รศ.ดร.ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในโอกาสขึ้นรับตำแหน่งคณบดีคนล่าสุด คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เมื่อกลางเดือนพฤกษาคมที่ผ่าน 

นัยว่านอกจากวาระของการร่วมยินดีกับตำแหน่งใหม่ สามปาร์ตี้มีเป้าหมายความร่วมมือเตรียมจัดหลักสูตรอบรมพิเศษ ทั้งบรรยายและ workshop  หัวข้อ Blockchain for Enterprise Transformation สำหรับเครือข่ายและผู้ที่สนใจหลักสูตรดังกล่าว เตรียมตัว Back to School ได้เร็วๆนี้

Disruption ในโลกยุคดิจิทัลขยายตัวไปตามอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างรวดเร็ว ด้วยรูปแบบหรือกระบวนการทางธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ กัน ผู้ประกอบการแต่ละรายจึงต้องคิดวางแผนและมองหาหนทางเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นให้ทันท่วงที 

ความร่วมมือระหว่างคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TBS) กับธนาคารออมสิน และสมาคมเพื่อนชุมชน จังหวัดระยอง ตามแนวทาง “ธรรมศาสตร์โมเดล”

บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าโครงการ “ทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ครั้งที่ 17 ประจำปี 2562 โดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) สานต่อการพัฒนานักวิจัยสตรีไทยสู่ระดับนานาชาติ ประกาศเปิดรับสมัครนักวิจัยสตรีเพื่อชิงทุนวิจัยประจำปี 2562 ทุนละ 250,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ (รวมไม่เกิน 5 ทุน) โดยผู้สมัครต้องมีอายุไม่เกิน 40 ปี เป็นเจ้าของงานวิจัยอิสระใน 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ และหัวข้องานวิจัยมีความเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) โดยเปิดรับสมัครผ่านทางออนไลน์แทนการส่งเอกสารทางไปรษณีย์เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสังคมดิจิทัลตั้งแต่วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2562  สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโครงการและการสมัครได้ที่: www.fwisthailand.com และสอบถามเพิ่มเติมโทร 02-684-3000, 02-684-3192 และ 02-684-3195 หรืออีเมลที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

“พัทธนันท์ เพชรเชิดชู”  รองอธิการฯมธบ.” เปิดตัว  Capstone Project ต้นแบบ Startup University สู่ความสำเร็จแบบมืออาชีพ

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู  รองอธิการบดีสายภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยว่า วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้นักศึกษาภายใต้โครงการ Capstone Project เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านผู้ประกอบการที่มุ่งเน้นให้สามารถแก้ไขโจทย์จริงจากความต้องการของภาคธุรกิจ รวมถึงฝึกทักษะการทำงานเป็นทีมบนพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกันเพื่อให้เตรียมพร้อมก่อนออกสู่ตลาดแรงงานจริง เนื่องจากทักษะด้านผู้ประกอบการถือเป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญต่อการทำธุรกิจและการประกอบอาชีพในโลกแห่งอนาคต เพราะไม่เพียงแต่นักศึกษาสามารถทำงานภายในองค์กรได้เท่านั้น แต่ยังสามารถเริ่มต้นทำธุรกิจได้อีกด้วย 

ล่าสุด ทาง CIBA ได้จัดการแข่งขัน Final Pitching Capstone Business Project โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการและสามารถคว้ารางวัลจากการแข่งขันครั้งนี้ได้ทั้งหมด 3 ทีม  ประกอบด้วย ทีม Charm Gems คว้ารางวัลชนะเลิศประเภท CREATIVE AWARD  ทีม A3 คว้ารางวัลประเภท ADAPTIVE AWARD และทีมจัสมิน   คว้ารางวัลประเภท INNOVATION AWARD    โดยแต่ละทีมได้เรียนรู้และพัฒนาโครงงานร่วมกัน เป็นการฝึกเสมือนทำงานในองค์กรจริง สามารถสร้างนวัตกรรม ประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้แก้ปัญหาได้ ทำให้นักศึกษา ได้ฝึกทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ มีการทำงานร่วมกันกับเพื่อนต่างคณะ ทำให้ได้ฝึกการบริหารความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้น (Conflict Management)  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทางมหาวิทยาลัยก็ได้พยายามปลูกฝังเข้าไปในตัวนักศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการเป็นสตาร์ทอัพยูนิเวิอร์ซิตี้

นางสาวกาญจนา ช้างป่าดี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหารธุรกิจนวัตกรรมและบัญชี สาขาการตลาดยุคดิจิทัล ตัวแทนทีม Charm Gems ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ CREATIVE AWARD กล่าวว่า ได้รับโจทย์เป็นเรื่องเกี่ยวกับลูกปัด ซึ่งจากการพูดคุยกับผู้ประกอบการพบว่าตลาดอิ่มตัว ลูกค้าแก่ขึ้นไปตามแบรนด์และไม่มีกำลังซื้อ ขณะที่กลุ่มที่มีกำลังซื้อก็ไม่สนใจ จึงดีไซน์รูปแบบใหม่ เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานแทนที่จะเป็นลูกปัดก็เปลี่ยนมาเป็นหินสีผสมผสานความเชื่อเรื่องหินมงคลบวกกับนำหินมาร้อยเป็นสายนาฬิกา เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งาน เป็นเครื่องประดับที่ใช้ดูเวลาได้ด้วย ดีไซด์สวยงาม เป็นงานแฮนด์เมด ทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น มีช่องทางการจำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์เข้าถึงง่ายสะดวกกับลูกค้า

“การทำงานครั้งนี้ได้ประสบการณ์มากมาย เพราะว่าเราทำงานกับเพื่อนที่ไม่ได้สนิทไม่ได้รู้จักกันมาก่อนเลยก็ต้องปรับตัวเข้าหากัน เรื่องของการทำธุรกิจ เราเรียนมาก็จริงแต่ไม่เคยทำ สำคัญจริงๆ เลย คือ ต้องความต้องการของลูกค้า และเราทำอะไรตอบโจทย์เขาได้บ้าง มันจะทำให้เราประสบความสำเร็จ”

นางสาวกาญจนา กล่าวในตอนท้ายว่า ได้นำวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาปรับใช้กับการทำธุรกิจขายของออนไลน์ของตนเอง จนปัจจุบันมียอดขายมากขึ้น เพียงพอต่อค่าเทอมและค่าใช้จ่ายส่วนตัว คิดว่าหลังจากจบการศึกษาไปแล้ว คงนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปต่อยอดให้กับธุรกิจของตนเองอย่างจริงจังมากขึ้น 

นางสาวนิภาพร  กันยา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาการโรงแรม ตัวแทนทีม จัสมิน กล่าวว่า ทางทีมได้รับรางวัล INNOVATION AWARD  จากการคิดค้นผลิตภัณฑ์ลูกประคบไฟฟ้าสมุนไพรสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่จากเดิมใช้ครั้งเดียวแล้วก็ทิ้งไม่ใช้ซ้ำ ตามข้อจำกัดของสมุนไพร เลยคิดค้นกันว่า ถ้าเราใช้ลูกประคบไฟฟ้าแบบชาร์ตไฟได้ เพียงแค่เปลี่ยนจากลูกประคบเป็นแผ่นสมุนไพร จะช่วยให้ค่าใช้จ่ายน้อยลง จากปกติลูกประคบใช้งานราคาอยู่ที่ 180-200 บาทต่อลูกต่อการใช้งาน  1 ครั้ง แต่พอเปลี่ยนมาเป็นแผ่นสมุนไพรตามประเภทและชนิดสมุนไพร ช่วยทำให้ต้นทุนมาอยู่ที่ราคา 40-50 บาท แต่อาจจะเสียค่าเครื่องประคบครั้งเดียวแต่ใช้งานได้นาน   

ทั้งนี้ การคิดค้นผลิตภัณฑ์ตัวนี้ออกมา ทางทีมได้ระดมความคิดแชร์ไอเดียกันหนักหน่วงพอสมควรกว่าจะได้รับการพิจารณาโครงการให้ผ่านเพราะต้องหาความแตกต่างของสินค้าและตรงกับความต้องการตลาดมากที่สุด พอผ่านแล้วต้องมาเจอกับด่านการศึกษาค้นคว้าข้อมูล แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคเพราะมีที่ปรึกษาใกล้ตัวที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทั้งเรื่องนวดเพื่อสุขภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสมุนไพร 

“จากเดิมที่ยังค้นหาตัวเอง ยังไม่รู้ว่า มีความสามารถด้านไหนเพราะเวลาทำอะไรตามคำสั่งคนอื่นก็สามารถทำได้หมด แต่ต่อมา พอเป็นผู้นำทีมก็รู้สึกว่า ตัวเองก็สามารถคิดเองได้แบบไม่ต้องมีใครสั่ง นอกจากนี้การเรียนรู้ในโครงการยังทำให้รู้ว่า เมื่อเรียนจบไปแล้วจะทำให้ได้เจอคนในหลายแบบ หลายความคิด ทั้งคนที่ได้ดั่งใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา ถึงแม้จะมีความขัดแย้งภายในกลุ่ม แต่สุดท้ายก็ลงเอยได้ด้วยดีเพราะเราปรับตัวเข้าหากัน ปรับวิธีการทำงานร่วมกันเพื่อให้งานออกมาได้สำเร็จ จึงอยากชวนน้องๆเข้ามาลองเปิดใจกับ Capstone   เปิดใจกับคำว่า Startup  เริ่มคิด เริ่มลงมือทำแล้วจะรู้ว่าไม่มีอะไรน่ากลัวและไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้”

นางสาวเจนจิรา แสงคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและบัญชี สาขาการตลาดยุคดิจิทัล (CIBA) ทีม A3 ได้รับรางวัลประเภท ADAPTIVE AWARD จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรแบบเดิมๆให้เป็นลูกประคบตัวการ์ตูนที่มาพร้อมกับกลิ่นหอมจากดอกไม้นำเข้าจากต่างประเทศ จุดเริ่มต้นของทุกคนคือ มีที่มาจากต่างคณะต่างสาขาแล้วมาร่วมทำโปรเจคกัน ช่วงแรกๆ มีการกลัวการเข้าหากันบ้าง แต่ก็แก้ปัญหาร่วมกัน พยายามฟังกันให้มากกว่าพูด ใครมีไอเดียดีๆ ก็จะช่วยกันนำเสนอ ทุกคนในทีมได้ข้อคิดร่วมกันว่า งานนี้ไม่ใช่งานที่คนอื่นทำ แต่เป็นงานของเราที่เราต้องทำกันเป็นทีมให้สำเร็จ คิดแบบนี้แล้วทำให้ทุกคนมีกำลังใจกันมาก และมีความมั่นใจเวลาขึ้น Pitching บนเวที  สำหรับน้องๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ อย่ากลัวสิ่งที่จะลอง เพราะถ้าได้ลองแล้วนอกจากมีความท้าทาย มีความสนุกและยังได้เสริมศักยภาพให้กับตัวเองได้ด้วย

นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) แถลงปรับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 62 เหลือ 3.0% จากเดิมมอง 3.5% เหตุตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสแรกชะลอมากกว่าคาด ทำให้แรงส่งต่อไปยังในช่วงที่เหลือมีข้อจำกัดแม้ความเชื่อมั่นและบรรยากาศการลงทุนมีแนวโน้มปรับดีขึ้นหลังจากฟอร์มรัฐบาลใหม่ ขณะที่ยังมีแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกสงครามการค้าถึงทางตัน จึงยากที่จะเห็นเครื่องยนต์ส่งออกกลับมาในปีนี้ พร้อมมองเป็นปีที่ระบบธนาคารเผชิญความท้าท้ายจากเศรษฐกิจชะลอ  คาดสินเชื่อทั้งปีโตชะลอลงที่ 4.5%  แนะระวังคุณภาพสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อย ที่เริ่มเห็น NPL ขยับขึ้นในกลุ่มสินเชื่อรถและบ้าน

เศรษฐกิจโลกเข้าสู่วงจรขาลงแรงและเร็วกว่าคาด  ไตรมาสแรกปีนี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการค้าของโลกชะลอลงชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมในเศรษฐกิจหลักอย่างยูโรโซน ภาคการส่งออกของเศรษฐกิจหลักรวมถึงแถบอาเซียนเข้าสู่โหมดชะลอตัวจนถึงหดตัว สอดคล้องกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลกเติบโตเหลือ 3.3% และ 3.4%

มองสถานการณ์ส่งออกไทยยังคงอ่อนแอ ทั้งปีโตได้เพียง 0.5% ตามประมาณการเดิม  ในไตรมาสแรก มูลค่าส่งออกของไทยติดลบเป็นไตรมาสแรกที่ 2% และคาดว่าในระยะต่อไป ปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศจะส่งผลกระทบมากขึ้นทั้งเศรษฐกิจหลักที่เป็นคู่ค้าชะลอตัวมากขึ้นกระทบซัพพลายเชนโลกชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ และแรงกดดันสงครามการค้าที่ตอบโต้กันไปมาด้วยการขึ้นภาษีทำให้ปริมาณการค้าโลกอยู่ภาวะตกต่ำ โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 4 ของมูลค่าส่งออกไทย แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะยังเติบโตได้ในเกณฑ์ดี แต่แรงส่งก็ไม่เพียงพอให้ภาพการค้าโลกดีขึ้น โดยเฉพาะจากตลาดจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องและตลาดยุโรปที่ยังเผชิญกับความเสี่ยงของ Brexit ที่ค้างคา เราประเมินยอดส่งออกของไทยไปตลาดยุโรปจะไม่ขยายตัวและหดตัวในตลาดจีนราว 5 % ขณะที่ตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่นยังขยายตัวได้ในอัตราชะลอลง ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งออกไปตลาดสหรัฐได้ต่ำกว่าคาด หากโดนตัดสิทธิ GSP จากสหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าราว 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 16% ของยอดส่งออกไปสหรัฐ ทำให้ภาคส่งออกทรุดตัวต่ำกว่าคาดได้อีก

 

คาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติแตะ 40.4 ล้านคนในปี 62 หรือเพิ่มขึ้น  5.5% ชะลอลงจากปี 61 ที่ขยายตัว7.5% และแนวโน้มในปีหน้าจะไม่เห็นอัตราการเติบโตที่สูงๆของนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างที่เราคุ้นชิน เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศนักท่องเที่ยวที่เป็นตลาดหลักชะลอตัวทั้งจีนและยุโรปซึ่งมีสัดส่วนรวมกันเกือบ 50%ของนักท่องเที่ยวรวมและส่งผลกระทบต่อรายได้การท่องเที่ยวรวมหดหายไปเนื่องจากรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมีสัดส่วนกว่า 67%ของรายได้การท่องเที่ยวรวม เรามองว่าเมื่อพึ่งต่างชาติได้น้อยลง คงต้องหันพึ่งตนเองมากขึ้นโดยปลุกกระแสไทยเที่ยวไทยให้เพิ่มมากขึ้นจากที่มีรายได้เติบโตเฉลี่ยราว 8-10%ต่อปีเพื่อชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง

ความชัดเจนจากรัฐบาลใหม่ หนุนการลงทุนเอกชนครึ่งปีหลัง คาดทั้งปีขยายตัว 4%  เราประเมินสถานะความพร้อมของการลงทุนโดยใช้ตัวเลขทางการเงินที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับการลงทุนทั้งสภาพคล่อง(Free cashflow) ที่เหลือของภาคธุรกิจ และผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ที่ปรับดีขึ้น ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันบริษัทไทยอยู่ในสถานะพร้อมลงทุน บวกกับความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการใช้กำลังผลิตที่ปรับสูงในหลายอุตสาหกรรม และต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ หากมีบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังความชัดเจนในทิศทางการเมือง นโยบายเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลใหม่ การเร่งสานต่อของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ EEC เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 สนามบินอู่ตะเภา จะทำให้เริ่มเห็นเม็ดเงินการลงทุนใหม่ของเอกชนเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะการลงทุนของอุตสาหกรรม S-Curve ที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI ในปี 59-60 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่หากเริ่มลงทุนในปี 62 จะมีมูลค่าสูงถึง 6.3 ล้านล้านบาท

การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง แต่ไม่เป็นอัตราเร่ง จากรายได้เกษตรกรที่ทรงตัวในระดับต่ำและหนี้ครัวเรือนที่พุ่งขึ้น ในช่วงปี 60-61 การบริโภคเอกชนฟื้นตัวเติบโตเร็ว ซึ่งเป็นการขยายตัวดีในทุกหมวดสินค้าแต่หลักๆมาจากแรงซื้อสินค้าคงทนกลุ่มรถยนต์จากการปลดล็อกมาตรการรถคันแรก ซึ่งสามารถสะท้อนจากสินเชื่อเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้นทุกหมวดหมู่ทั้งสินเชื่อบ้าน รถ บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล แต่ที่โดดเด่นคือสินเชื่อรถที่เติบโตในอัตราเร่ง 10-14% ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อปัจจุบันสูงแตะ 1.1 ล้านล้านบาท บวกกับเริ่มมีประเด็นคุณภาพสินเชื่อรถจาก NPL ที่ขยับเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น แนวโน้มการขยายตัวการบริโภคเอกชนในช่วงต่อไปจะชะลอลงเพราะแรงซื้อรถน่าจะอ่อนแรงลง และยอดหนี้ครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง 78.6% ต่อ GDP เป็นข้อจำกัดการเติบโตของการบริโภค

มองว่าธปท.จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ตลอดปี 62 สาเหตุจากความเสี่ยงต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้แรงหนุนจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังไม่มากพอให้ธปท.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีไม่มาก  ขณะเดียวกัน  การจะลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังจะชะลอลง พบว่ามีข้อจำกัดจากหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีประเด็นคุณภาพสินเชื่อที่เสื่อมถอยลง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินได้

ค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มไปในทิศทางแข็งค่าขึ้น จากปัจจุบันเคลื่อนไหวที่ 31.6-32.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหนุนด้วยปัจจัยบวกจากภาคการท่องเที่ยวและการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นอย่างชัดเจนของธนาคารกลางหลักๆของโลก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยหนุนจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดีและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด  ทำให้คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในช่วง 31.2-32.0 หรือเฉลี่ย 31.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าราว 2.7 % จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ความเสี่ยงจากสงครามการค้าและความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงมีอยู่  ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากกว่าช่วงต้นปี

แนวโน้มธนาคารพาณิชย์

การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในปี 62 แม้ยังอยู่ในเกณฑ์ดีแต่มีแนวโน้มชะลอลง ตามสภาพเศรษฐกิจ โดยสินเชื่อรวมมีแนวโน้มขยายตัว 4.5% ลดลงจาก 6% ในปีก่อน ซึ่งปัจจัยหลักมาจากสินเชื่อรายย่อยที่คาดว่าจะขยายตัวลดลงจาก 9.4% ในปีก่อน เหลือเพียง 5.1% ตามการบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มชะลอลงจากภาระหนี้ที่เร่งตัวขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และ SME ขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 4.6% และ 4.0% ตามลำดับ โดยคาดว่าแรงหนุนจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและมาตรการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และ EEC จะเกิดขึ้นได้หลังมีการฟอร์มรัฐบาลในช่วงครึ่งปีหลัง

คุณภาพสินเชื่อค่อนข้างน่ากังวลโดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อย ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจปรับดีขึ้นเล็กน้อย โดยยอด NPL รวมทั้งระบบคาดว่าจะอยู่ที่ 4.9 แสนล้าน เพิ่มขึ้น 4.5 หมื่นล้านจากช่วงต้นปี ซึ่ง NPL ของกลุ่มสินเชื่อรายย่อยมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นแตะระดับ 1.3 แสนล้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NPL ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรถยนต์ จากผลของการเร่งปล่อยสินเชื่อในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยในปีที่ผ่านมาอัตราการขยายตัวของสินเชื่อรายย่อยสูงถึง 9.4% ขณะที่รายได้ภาคครัวเรือนเพิ่มเฉลี่ยเพียง 1.7%

ประเด็นเรื่องการทำสงครามเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไม่น่ากังวล เนื่องจากสินเชื่อมีแนวโน้มชะลอลง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอาจมีการปรับขึ้นเล็กน้อย ทำให้เงินฝากมีแนวโน้มขยายตัวที่ 4.8% ให้สภาพคล่องธนาคารพาณิชย์ตึงตัวขึ้นเล็กน้อย สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากปรับมาอยู่ที่ 98%

 

 

บมจ.ทิพยประกันภัย ปลื้มผลงานไตรมาส 1 ปี 62 กำไรสุทธิรวมเฉียด 520 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 10.67% ขณะที่เบี้ยประกันภัยรับรวม 4,882.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.76% ด้านเอ็มดี “ดร.สมพร สืบถวิลกุล” ประกาศกลยุทธ์เชิงรุกบูรณาการระบบดิจิทัลครบวงจร จับมือธุรกิจกับพันธมิตรบุกตลาดขยายฐานลูกค้าองค์กรและรายย่อย

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ TIP เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานประจำไตรมาสแรก สิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม 2562 เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนว่า บริษัทมีผลการดำเนินงานขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถทำกำไรสุทธิได้สูงถึง 519.91 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.87 บาท หรือกำไรสุทธิขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 10.67% จากไตรมาสแรกปีก่อนกำไรสุทธิ 469.77 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.78 บาท

สำหรับไตรมาส 1/2562 ทิพยประกันภัย มีเบี้ยประกันภัยรับรวมจำนวนทั้งสิ้น 4,882.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 4,368.33 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 513.83 ล้านบาท หรือ 11.76%

ทั้งนี้ เบี้ยประกันภัยรับรวมที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย เบี้ยประกันอัคคีภัย 371.51 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 116.58 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรถยนต์ 870.57 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยเบ็ดเตล็ด 3,523.50 ล้านบาท

ด้านฐานะการดำเนินงานของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 มีสินทรัพย์รวมที่ 42,490.75  ล้านบาท หนี้สินรวม 34,123.67 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 8,367.08 ล้านบาท

ดร.สมพร กล่าวว่า ผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปี 62 อยู่ในเกณฑ์ที่ดีทั้งในแง่ของความสามารถการทำกำไร และเบี้ยประกันภัยรับรวม ที่เพิ่มขึ้นกว่า 10% ซึ่งสูงกว่าอัตราการขยายตัวของเบี้ยประกันภัยรับรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยทั้งระบบที่คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5 - 6% เนื่องจากบริษัทฯ ได้ปรับแผนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

สำหรับแผนการดำเนินงานในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 นั้น ดร.สมพร กล่าวว่าบริษัทฯ จะยังคงสานต่อนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรมการให้บริการอย่างทั่วถึงตลอด Insurance Value Chain ตั้งแต่กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการให้บริการสินไหมทดแทน และบริการหลังการขาย เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ามากที่สุด

พร้อมกันนี้ บริษัทยังดำเนินกลยุทธ์ในเชิงรุกด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าทั้งกลุ่มองค์กรและรายย่อยเพิ่มขึ้น โดยล่าสุด ทิพยประกันภัยได้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ บริษัท PVI Insurance Corporation ซึ่งเป็นบริษัทประกันวินาศภัยชั้นนำของประเทศเวียดนาม เพื่อขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศอีกด้วย

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต นำโดย นางแซลลี่ โอฮาร่า ประธานกรรมการบริหาร (แถวบน คนที่ 4 จากซ้าย) และดร.อุกฤษฎ์ ศรีดโรมนต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายตัวแทน พร้อมคณะผู้บริหาร และตัวแทนกว่า 100 ท่าน ร่วมทริปสุดพิเศษ 2018 Agency Grand Switzerland Convention” ซึ่งเป็นทริปที่จัดขึ้น เพื่อเป็นรางวัลและกำลังใจให้กับตัวแทนที่ทุ่มเท และมุ่งมั่นสร้างผลงานคุณภาพยอดเยี่ยมตลอดปีที่ผ่านมา โดยทริปดังกล่าวเต็มไปด้วยความสนุกสนาน เพลิดเพลินกับความสวยงามที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ของ ภูเขา ทะเลสาบ และสถานที่ที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ พร้อมประสบการณ์สุดเอ๊กซ์คลูซีฟ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

X

Right Click

No right click