ในงานประชุมระดับโลกด้านเทคโนโลยีไร้สาย โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) หัวเว่ยต้อนรับผู้ให้บริการเครือข่าย พันธมิตรอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิดจากทั่วโลก ณ โซนจัดแสดง “Advance Intelligence” เพื่อหารือการผนึกกำลังด้านเครือข่าย-คลาวด์-เทคโนโลยีอัจฉริยะในอนาคต โดยหัวเว่ยมุ่งสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะในหลากหลายอุตสาหกรรม พร้อมสร้างอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมให้เติบโต เร่งวงจรธุรกิจ 5G เชิงบวก พร้อมปูทางสู่ยุค 5.5G ที่กำลังจะมาถึง

บูธของหัวเว่ย ณ โถงจัดแสดง 1 ออกแบบเพื่อจำลองโลกดิจิทัลแห่งอนาคตพร้อมการเชื่อมต่ออัจฉริยะอย่างสมบูรณ์แบบ โดยโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของโลกอัจฉริยะในอนาคตจะได้รับการบูรณาการเพื่อตอบโจทย์ทุกด้านของชีวิต รวมถึงด้านอุตสาหกรรมและสังคม เนื่องจากศักยภาพของเทคโนโลยีทางด้านเครือข่ายจะต้องสอดรับกับ ความต้องการในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ที่อยู่อาศัย ธุรกิจ และยานพาหนะ ได้ดียิ่งขึ้น ภายในงาน หัวเว่ยจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันแบบครบวงจรในรูปแบบ 5.5G, F5.5G และ Net5.5G ที่พร้อม ใช้งานในสถานการณ์หลากหลาย และมุ่งผนึกกำลังร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายระดับโลกและพันธมิตรในอุตสาหกรรม เดินหน้าเปิดวิสัยทัศน์ตอบรับทุกความท้าทายและโอกาส ปูทางสู่ความเป็นผู้นำระบบอัจฉริยะแห่งโลกอนาคต

ในปี 2556 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เปิดตัวเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ทั่วโลกกว่า 300 เครือข่าย ให้บริการผู้ใช้งานมากกว่า 1,600 ล้านคน ในปัจจุบัน การพัฒนา 5G ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำนวนผู้ใช้ 5G ทั่วโลกมีอัตราเติบโตสูงกว่าผู้ใช้ 4G ถึงเจ็ดเท่าในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ผู้ให้บริการเครือข่ายที่ใช้โซลูชันของหัวเว่ยยังครองอันดับ 1 ด้านประสบการณ์การใช้งานเครือข่าย จากการทดสอบประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งจัดโดยองค์กรชั้นนำในเมืองสำคัญในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย และเนเธอร์แลนด์ หัวเว่ยยังมุ่งผนึกกำลังผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกและพาร์ทเนอร์เพื่อค้นหาโซลูชันที่มีนวัตกรรมล้ำสมัย ตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้นด้านการใช้งานและการใช้ประโยชน์จาก 5.5G ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งจากการทำงานร่วมกันทำให้สามารถสนับสนุนการทดสอบเทคโนโลยี 5.5G และการใช้งานเครือข่ายเพื่อขยายตลาด 5.5G ที่กำลังเติบโตได้

หัวเว่ยช่วยส่งเสริมผู้ให้บริการได้ตรวจสอบและทดสอบระบบ 5.5G เชิงพาณิชย์ในมากกว่า 20 เมืองทั่วโลก โดยภูมิภาคตะวันออกกลางได้ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันในเรื่องการพัฒนา 5.5G โดยคณะมนตรีความร่วมมือรัฐ อ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council - GCC) ทั้ง 6 รัฐได้ทดสอบเครือข่าย 5.5G ที่อัตราความเร็ว 10 Gbps เสร็จสมบูรณ์ และเริ่มงานด้านบริการโซลูชันใหม่อย่าง RedCap และ IoT แบบ passive เป็นที่เรียบร้อย

ผู้ให้บริการเครือข่าย 3 รายใหญ่ในประเทศจีนต่างเริ่มใช้งานเครือข่าย 5.5G ในเมืองหลักเพื่อสำรวจบริการเครือข่ายที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างผู้คน สิ่งของ ยานพาหนะ อุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย โดยในฮ่องกงผู้ให้บริการทดสอบเครือข่าย 5.5G ในระดับความเร็ว 10 Gbps ในย่าน C-band และ mmWave เสร็จสิ้นและเริ่มให้บริการ 5.5G FWA แล้ว

ในยุโรป ผู้ให้บริการในประเทศฟินแลนด์สรุปผลการตรวจสอบเทคโนโลยี 5.5G เชิงพาณิชย์ โดยรายงานอัตราความเร็วสูงสุดที่สูงกว่า 10 Gbps และทำการทดสอบเทคโนโลยี IoT แบบ passive เสร็จสิ้น ในเยอรมนี ผู้ให้บริการที่ทำงานบนย่านความถี่ 6 GHz รายงานอัตราความเร็วสูงสุดที่ 12 Gbps โดยใช้เทคนิคแบบผู้ให้บริการหลายราย

นอกจากนี้ ในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส หัวเว่ยได้เปิดตัวโมเดลพื้นฐานโทรคมนาคมรุ่นแรกของอุตสาหกรรม โดยโมเดลพื้นฐานนี้มอบการใช้งานอัจฉริยะตามบทบาทและตามสถานการณ์ เพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรม โดยเน้นบริการที่คล่องตัว รับรองประสบการณ์การใช้งานที่แม่นยำ ตลอดจนระบบการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) ที่ทรงประสิทธิภาพทั้งโดเมน นอกจากนี้ยังเพิ่มศักยภาพการทำงานให้พนักงานของผู้ให้บริการและยกระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายอย่างครอบคลุม

5.5G เชิงพาณิชย์จะเริ่มให้บริการในปีพ.ศ. 2567 หัวเว่ยตอกย้ำความมุ่งมั่นในการผนึกกำลังร่วมกับผู้ให้บริการ ทั่วโลกเพื่อยกระดับเครือข่าย 5.5G พร้อมมุ่งเป้าสร้างเครือข่ายที่ครอบคลุมและเปี่ยมประสิทธิภาพ โดยทำงานเชื่อมต่อกันทุกที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเสถียรภาพ และเป็นเครือข่ายอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบ เพื่อผลักดันให้ผู้ให้บริการส่งมอบประสบการณ์ใช้งานที่เหนือระดับ สร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมเพื่อนำการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะไปสู่การใช้งานระดับลึกยิ่งขึ้น และนำเราเข้าสู่โลกอัจฉริยะได้อย่างรวดเร็วขึ้น

นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจองค์กรของหัวเว่ยจะเปิดตัวโซลูชันดิจิทัลอัจฉริยะใหม่สำหรับ 10 อุตสาหกรรม และทัพผลิตภัณฑ์เรือธงภายใต้หัวข้อ “โครงสร้างพื้นฐานชั้นนำเพื่อเร่งความอัจฉริยะทางอุตสาหกรรม” (Leading Infrastructure to Accelerate Industrial Intelligence) หัวเว่ยพร้อมร่วมมือกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ทั่วโลก เพื่อสำรวจนวัตกรรมใหม่และแนวทางปฏิบัติด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะ นอกจากนี้ หัวเว่ยมุ่งมั่นเป็นพาร์ทเนอร์หลักที่น่าเชื่อถือเพื่อนำทางสู่การเปลี่ยนผ่านดิจิทัลแบบอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ในส่วนของกลุ่มอุปกรณ์สื่อสารสำหรับผู้บริโภค ของหัวเว่ย ได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์เรือธงระดับไฮเอนด์ ล้ำหน้าด้านการออกแบบ และเทคโนโลยีอัจฉริยะภายในงาน โดยแบ่งเป็นโซนประสบการณ์ตามสถานการณ์ เช่น “การออกแบบสุดล้ำ” “การรังสรรค์ความงาม” และ “ฟิตเนสและสุขภาพ” มุ่งเน้นตัวอย่างโซลูชันของหัวเว่ยที่สอดรับกับชีวิตประจำวันด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำและสร้างประสบการณ์เหนือระดับตามรูปแบบสถานการณ์ กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์ของหัวเว่ยมุ่งมั่นลงทุนในนวัตกรรมเทคโนโลยีในปีพ.ศ. 2567 และสร้างประสบการณ์เหนือระดับสอดรับกับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้เฉพาะบุคคลสำหรับผู้บริโภคทั่วโลก

งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) ครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 29 กุมภาพันธ์ ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน โดยหัวเว่ยจัดแสดงทัพผลิตภัณฑ์และโซลูชันเรือธงใหม่ล่าสุด ที่บูธ 1H50 ใน Fira Gran Via Hall 1

การเปิดตัว 5.5G เชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2567 หัวเว่ยร่วมมือกับผู้ให้บริการและพาร์ทเนอร์ทั่วโลกเพื่อค้นหานวัตกรรมใหม่ที่น่าตื่นเต้นในด้านเครือข่าย คลาวด์ และระบบอัจฉริยะ พร้อมร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจ 5G และส่งเสริมอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต เพื่อผลักดันสู่ยุคใหม่ของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ โดยสามารถดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://carrier.huawei.com/en/events/mwc2024 

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดอีเวนท์ครั้งใหญ่เพื่ออวดโฉมเทคโนโลยี Huawei Cloud Stack ซึ่งตอบโจทย์การให้บริการโซลูชันคลาวด์ที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ให้กับศูนย์ข้อมูลของกลุ่มลูกค้าองค์กรในประเทศไทย ด้วยความทุ่มเทอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ย เสริมความแกร่งด้วยจุดยืน “Huawei Cloud Stack: ที่สุดแห่งบริการคลาวด์เพื่อยกระดับสู่ความอัจฉริยะ” สอดคล้องกับพันธกิจ “เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย” ของหัวเว่ย รวมถึงความมุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชันที่เปี่ยมด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ปูทางขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียนในอนาคต

งาน Huawei Cloud TechDay Thailand 2024 ครั้งนี้ จัดขึ้น ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ “Huawei Cloud Stack: ที่สุดแห่งบริการคลาวด์เพื่อยกระดับสู่ความอัจฉริยะ” โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันศักยภาพการใช้งานคลาวด์ในประเทศไทย เนื่องจากคลาวด์ถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมหลายพันแห่ง และระบบไฮบริดคลาวด์ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในองค์กร จากจุดเด่นด้านการใช้งานแบบอเนกประสงค์, ต้นทุนต่ำ, ปรับการใช้งานเข้ากับอุปกรณ์ที่มีอยู่ได้อย่างครอบคลุมและมีนวัตกรรมการบริการที่ทันสมัย ภายในงานนี้ มีจำนวนพาร์ทเนอร์ของหัวเว่ยในประเทศไทยเข้าร่วมมากกว่า 30 ราย และมีเป้าหมายในการส่งเสริมอีโคซิสเต็มคลาวด์ในประเทศไทยให้แข็งแกร่ง

นายวิคเตอร์ หลัว ผู้อำนวยการด้านสถาปัตยกรรมโซลูชัน หัวเว่ย คลาวด์ ประเทศไทย ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในงานว่า “ปัจจุบันภาครัฐและองค์กรล้วนต้องการการบริการด้าน AI และบิ๊กดาต้า เพื่อรองรับนวัตกรรมด้านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ทั้งนี้ การประมวลผลด้วยเทคโนโลยีคลาวด์สามารถช่วยสร้างสถาปัตยกรรมในรูปแบบเดิมได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจใหม่ขององค์กรในหลากหลายระดับได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยคลาวด์ในรูปแบบเดียว (single-form cloud) มีข้อจำกัดในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ผลได้แบบเรียลไทม์ เทคโนโลยี Huawei Cloud Stack จึงมอบโซลูชันที่ทรงประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายนี้ ด้วยศักยภาพในการเชื่อมต่อและประมวลผลข้อมูลจากเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ฐานข้อมูลต่าง ๆ , บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้อย่างไร้ข้อจำกัด”

ผู้นำด้านเทคโนโลยี

จุดแข็งของ Huawei Cloud Stack คือความเชี่ยวชาญในการผสานนวัตกรรมระบบคลาวด์และข้อมูลของหัวเว่ย ตลอดจนการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการพัฒนาบริการคลาวด์ อย่างต่อเนื่อง ด้วยความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี พื้นที่เก็บข้อมูลได้รับการพัฒนาให้เป็นแบบอัจฉริยะ โดยยกระดับประสิทธิภาพการวิเคราะห์ข้อมูลได้สูงขึ้น 30%, ในขณะเดียวกันการบูรณาการข้อมูลและการหมุนเวียนสินทรัพย์ในระบบคลาวด์ช่วยเพิ่มมูลค่าข้อมูล ด้วยบริการคอนเทนเนอร์ระดับองค์กรที่ใช้งานร่วมกับโอเพ่นซอร์สแบบ K8 ได้ 100% นอกจากนี้ Huawei Cloud Stack ยังเป็นแพลตฟอร์ม AI แบบครบวงจร ที่ช่วยพัฒนา AI ในระดับอุตสาหกรรม และมอบความสามารถในการประมวลผลอัลกอริธึม AI ในสถานการณ์ที่หลากหลาย พร้อมแพลตฟอร์มการจัดการวงจรการพัฒนา AI อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานและสร้างกระบวนการดำเนินการอีกด้วย

ยืนหนึ่งด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ

รากฐานคลาวด์เนทีฟประสิทธิภาพสูงของ Huawei Cloud Stack ทำให้การกู้คืนข้อมูลหลังเหตุวิกฤติทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ องค์กรจึงสามารถปกป้อง กู้คืนข้อมูล และแอปพลิเคชันได้อย่างปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ สถาปัตยกรรมด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุม พร้อมด้วยระบบการควบคุมสิทธิ์การเข้าถึง มอบปราการป้องกันถึง 7 ชั้นและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสูงขึ้นถึง 10 เท่า นอกจากนี้ ประสบการณ์อันยาวนานในอุตสาหกรรมและการขยายธุรกิจอย่างครอบคลุมของหัวเว่ย ส่งผลให้มีการเข้าถึงโซลูชันเฉพาะอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับการใช้งานและส่งเสริมความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ให้ดียิ่งขึ้น

ปัจจุบัน Huawei Cloud Stack ให้บริการลูกค้าภาครัฐและองค์กรมากกว่า 5,200 รายใน 150 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงระบบคลาวด์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) ใน 800 หน่วยงาน, สถาบันการเงิน 300 แห่ง, และองค์กรชั้นนำติดอันดับ Fortune Global 500 ถึง 70 แห่ง นอกจากนี้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังได้มีการใช้เทคโนโลยี Huawei Cloud Stack กับระบบคลาวด์ของภาครัฐและองค์กรมากกว่า 200 ระบบ ครอบคลุมทั้งการบริหารงานภาครัฐ, การเงิน, สายการบินและองค์กรขนาดใหญ่

ผู้นำด้านคลาวด์และ AI

ด้วยผลงานชั้นนำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี AI, องค์ความรู้ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุม และการบริการที่เป็นเลิศ Huawei Cloud Stack พร้อมให้การสนับสนุนและผลักดันองค์กรไทยสู่การปลดล็อกศักยภาพดิจิทัล และปูทางสู่การพลิกโฉมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนจากทีมบริการในประเทศของหัวเว่ย ครอบคลุมการบริการระดับมืออาชีพกว่า 80 รายการ สำหรับลูกค้าและแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจ ในปัจจุบันหัวเว่ย คลาวด์ ครองอันดับหนึ่งในกลุ่มผู้นำด้านบริการคลาวด์ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดังกล่าวด้วยความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งสามด้าน ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการบริการไฮบริดคลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่กำลังพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์ ได้ผนึกกำลังร่วมกับโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) และลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ในประเทศไทย เพื่อผลักดันการบูรณาการข้อมูลและยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐบาลดิจิทัล ทั้งนี้หัวเว่ยยังจับมือกับโรงพยาบาลศิริราช นำเทคโนโลยี Huawei Cloud Stack มาใช้เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบครบวงจร ทำให้มีความยืดหยุ่นและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการด้านไอทีผ่านสถาปัตยกรรมอัจฉริยะ นอกจากนี้หัวเว่ย คลาวด์ ร่วมกับริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) นำ Huawei Cloud Stack ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบคลาวด์สำหรับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในระดับประเทศ ยกระดับศักยภาพไฮบริดคลาวด์ในประเทศและฟูลสแต็กสำหรับหน่วยงานต่างๆของภาครัฐ ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริการของภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น

ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการลงทุนอย่างยั่งยืนในอีโคซิสเต็มและโครงสร้างพื้นฐานของระบบสถาปัตยกรรมคลาวด์ในประเทศ หัวเว่ยจึงได้รับความไว้วางใจจากภาครัฐและองค์กรชั้นนำในประเทศไทย ในการร่วมยกระดับประเทศไทยสู่ยุคอัจฉริยะด้วยบริการคลาวด์แบบไฮบริด, บริการคลาวด์สาธารณะ และบริการคลาวด์ส่วนตัว ยิ่งตอกย้ำพันธกิจระยะยาวของหัวเว่ยที่มีต่อประเทศไทยและการปูทางสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพด้วยการ 'ขับเคลื่อนทุกคนไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง'

ราคาพิเศษเหลือเพียง 13,990 บาท จากราคาปกติ 17,990 บาท พร้อมของสมนาคุณเพียบ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2567

หัวเว่ยหนุนภาคการศึกษายกระดับโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมเผยโฉม “AirEngine Wi-Fi 7” โซลูชันเน็ตเวิร์คไร้สายมาตรฐานล่าสุดสำหรับองค์กรที่ให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุด พร้อมแบนด์วิธที่กว้างขึ้น ตอบโจทย์การเรียนการสอนยุคอัจฉริยะ เช่น เมตาเวิร์ส และการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีเออาร์/วีอาร์

นายเชลดอน หวัง รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เผยในโอกาสร่วมงานประชุมวิชาการระหว่างประเทศของกลุ่มสมาชิกเครือข่าย Asia-Pacific Advance Network (57th APAN Meeting) ว่า แนวโน้มของเทคโนโลยีในภาคการศึกษากำลังเปลี่ยนแปลงจากการนำดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้งานเฉพาะบางส่วนสู่การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดให้รองรับการทำงานแบบอัจฉริยะ ซึ่งหัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์เทคโนโลยีไอซีทีที่หลอมรวมไอซีทีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบการเชื่อมต่อ การประมวลผลบนคลาวด์ บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์เข้ากับกระบวนการการศึกษาทั้งหมด เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในการเรียนการสอน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การจัดการ และบริการ

นอกจากนี้เทคโนโลยีของหัวเว่ยได้ผนวกรวมเครือข่ายแบบใช้สาย ไร้สาย สํานักงาน และเครือข่าย IoT เข้ากับเทคโนโลยีต่างๆ เช่น เครือข่ายออพติคและไว-ไฟ 7 เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายในสถานศึกษาและการวิจัย และอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างเครือข่ายอัจฉริยะที่ปลอดภัย เสถียร และมั่นคง ซึ่งช่วยปรับปรุงความสามารถในการรองรับระบบบริการตลอดจนประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการสอนและการเรียนรู้ได้เปลี่ยนจากการใช้กระดานดําแบบเดิมๆ มาเป็นเครื่องมือมัลติมีเดีย จากการเรียนรู้ในสถานที่ตายตัวเป็นปัจจุบันทุกที่ทุกเวลา และจากการบรรยายเพียงอย่างเดียวเป็นการเรียนรู้ที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์จําเป็นต้องแก้ปัญหางานด้านการประมวลผลและการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และต้องอาศัยเทคโนโลยี เช่น การประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) การวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพสูง (HPDA) บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น

พร้อมเผยว่า หัวเว่ยได้เตรียมพร้อมนำเสนอความรู้และความเชี่ยวชาญจากการทำงานในอุตสาหกรรมระดับโลกเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีซึ่งบริษัทมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลของภาคการศึกษา พร้อมด้วยโซลูชันสำคัญอย่าง “อินเทลลิเจนท์ เอ็ดดูเคชัน” ที่จะช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การสร้างสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาและห้องเรียนให้มีความอัจฉริยะสามารถเรียนรู้ได้แบบสมจริง และส่งเสริมการพัฒนาทักษะได้ดียิ่งขึ้น

รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดอย่าง “ไว-ไฟ 7” เข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของการศึกษาด้วยมาตรฐานของเทคโนโลยีไร้สายใหม่ที่มีช่องสัญญาณกว้างขึ้น อัตราการดีเลย์ต่ำ

ในโอกาสนี้ หัวเว่ยยังได้จัดเวทีพิเศษ "Thailand Medical Research HPDA Infrastructure Innovation Panel" เชิญผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานนำทางการด้านการแพทย์และการวิจัยทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลศิริราช ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติและโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ แนวทางการเตรียมพร้อมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ โดยโซลูชัน HPDA การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของหัวเว่ยนําการออกแบบที่รองรับการทำงานขั้นสูงมาใช้ ทั้งในแง่ของความจุและประสิทธิภาพการทํางาน เพื่อประหยัดพื้นที่ห้องอุปกรณ์ได้อย่างมาก ส่งผลให้ต้นทุนรวม (TCO) ลดลง

เวทีเสวนาพิเศษนำโดยคุณประยุทธ ตั้งสงบ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย ประเทศไทย ผู้บริหารและบุคลากรสำคัญจากหน่วยงานชั้นนำทางการด้านการแพทย์และการวิจัยทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลศิริราช ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติและโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร

ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา ผู้อำนวยการธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เผยว่า เทคโนโลยีบางอย่างเกิดขึ้นมาช่วงที่มี โควิด ซึ่งเราไม่ได้มีการเตรียมตั้งรับมาก่อนทำให้เกิดเป็นนวัตกรรม เช่น การใช้หูฟังตรวจคนไข้ผ่านบลูทูธเพื่อลดความเสี่ยงในการใกล้ชิดกับคนไข้ ซึ่งหลายๆอย่างก็ค่อยเริ่มพัฒนาและสร้างความร่วมมือกัน

ขณะที่ ผศ.อนุพล พาณิชย์โชติ ผู้จัดการโครงการปัญญาประดิษฐ์ด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ดาต้าที่ดีจะนำไปสู่การทำเอไอ และบิ๊กดาต้าที่ดี ดังนั้นข้อมูลที่ได้มาต้องเก็บแบบที่สามารถนำไปใช้ในเชิงปฏิบัติได้ ซึ่งตอนนี้เราเก็บ EMR ทั้งรูปภาพและวิดีโอ แผนการในปีนี้คือ นำข้อมูลรูปภาพทางการแพทย์ที่เก็บแบบกระจัดกระจายตอนนี้มาจัดเก็บให้ดีขึ้น ซึ่งเรามุ่งหวังว่าข้อมูลที่มีระดับการเก็บที่ดีขึ้นก็น่าจะนำไปสู่การวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ดีขึ้น

ศาสตราจารย์นายแพทย์มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นว่า จุดแข็งของไทยในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร คือการให้บริการการแพทย์ ดูแลรักษาและป้องกัน ถ้าเราต่อยอดจุดแข็งของการเป็นผู้นำในด้านบริการ คือทำอย่างไรให้บริการของเราทำได้ดียิ่งขึ้น ใช้เทคโนโลยีเพื่อดูแลรักษาโรคซับซ้อน เราต้องหาความโดดเด่นของไทยให้เจอ อย่างน้อยในด้านการแพทย์แม่นยำคือ เรามีฐานข้อมูลพันธุกรรมของคนไทยขนาดใหญ่ ซึ่งมีความจำเพาะกับคนในภูมิภาคนี้ ข้อมูลนี้นอกจากใช้ได้กับคนไทย ยังสามารถต่อยอดกับประชากรในเขต CLMV ได้ด้วย และการบูรณาการเพื่อเชื่อมข้อมูลพันธุกรรมเข้ากับข้อมูลสุขภาพจะยิ่งสร้างความแตกต่างของการบริการทางการแพทย์เราได้มากยิ่งขึ้น

รศ.นพ.ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป์ รองอธิการบดีฝ่ายการแพทย์และเทคโนโลยีสุขภาพ โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร เสริมว่า ความท้าทายสำคัญขณะนี้คือการผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันของคณะแพทย์หรือแม้แต่คณะต่างๆ เอง เพื่อเกิดเป็นฐานข้อมูลสำคัญในอนาคต ซึ่งโรงพยาบาลของเรากำลังทำเรื่องของ Aging และ Telehealth ที่มีการนำอุปกรณ์ Wearable รวมถึงเอไอเข้ามาปรับใช้ แต่สิ่งสำคัญคือการร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์และนำไปสู่เทคโนโลยีเพื่ออนาคตได้

พร้อมกันนี้ หัวเว่ยยังได้เข้าร่วมนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษาภายในงาน APAN 57 ซึ่งจัดขึ้นในช่วงวันที่ 29 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด “Leading Infrastructure to Accelerate Education Intelligence” เพื่อมุ่งเน้นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุนการศึกษายุคใหม่ โดยได้นำเสนอโซลูชันไฮไลต์เพื่อสนับสนุนการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานเครือข่ายไร้สายล่าสุด ซึ่ง Huawei Air-Engine Wi-Fi 7 ที่ให้แบนด์วิธสูง พร้อมรองรับการทำ e-classroom ที่สามารถใช้ภาพและเสียงได้อย่างคมชัดระดับเอชดีและการเรียนการสอนออนไลน์ที่สมจริงและสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ดีกว่าเดิม รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อรากฐานที่แข็งแกร่งพร้อมรองรับการเรียนการสอนยุคใหม่อย่าง Converged Campus Network และ Scientific Research HPDA ซึ่งมีจุดเด่นของขีดความสามารถในการประมวลผลขั้นสุด ประหยัดพลังงานและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงแผนการส่งเสริมอุตสาหกรรมแบบองค์รวมภายใต้ Digital Talent Ecosystem ซึ่งมีเป้าหมายในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะด้านไอซีทีให้เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมให้ได้ 50,000 คน ภายในปี 2570

X

Right Click

No right click