บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ในฐานะผู้นำด้านบริษัทฯ ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม หรือ Green Insurer
ปัจจุบัน ธุรกิจสีเขียว (Green Business) กลายเป็นสิ่งที่ทุกภาคธุรกิจหันมาให้ความสนใจและมุ่งบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่
บทพิสูจน์ความสำเร็จของการเดินทางสู่ความเป็นเศรษฐีอย่างยั่งยืน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวแทนภาครัฐและเอกชนประสานเสียงบนเวที Blue Carbon Conference 2022 ชี้ “ชุมชน” คือพลังสำคัญของการปลูกป่าชายเลนอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งอาหาร แหล่งท่องเที่ยว ลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และสร้างมั่นคงทางรายได้ให้คนในชุมชน
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) จัดเสวนาร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย ภายใต้โครงการ Dow & Thailand Mangrove Alliance ในงาน Blue Carbon Conference 2022 “คาร์บอนทะเล: หนุนธุรกิจสู่ Net Zero เสริมระบบนิเวศและชุมชน” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ความสำเร็จในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทย
นายขยาย ทองหนูนุ้ย ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การปลูกป่าชายเลนที่จังหวัดระนองใน 2 โครงการสำคัญ คือ โครงการปลูกป่าชายเลนเชื่อมมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น เพิ่มศักยภาพชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลน และโครงการพัฒนาชุมชนชายฝั่งจังหวัดระนองให้เข้มแข็งรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยระบุว่า ปัจจุบัน จังหวัดระนองมีพื้นที่ป่าชายเลนสมบูรณ์ 171,737 ไร่ และกำลังเสนอให้ป่าชายเลนระนองเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ สำหรับโครงการแรก ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 6 ร่วมกับ OISCA (Thailand) และองค์กรภาคเอกชนและอาสาสมัครปลูกป่าชาวญี่ปุ่นได้จัดทำโครงการปลูกป่าชายเลน ด้วยการคัดเลือกพื้นที่เข้าโครงการ ซึ่งเป็นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรมหลังสิ้นสุดสัมปทาน เหมืองแร่เก่า บ่อกุ้งเก่า และพื้นที่พิเศษหรือพื้นที่เสื่อมโทรมขั้นวิกฤต มีอาสาสมัครมาทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อปลูกป่าเชิงคุณภาพ สามารถฟื้นฟูป่าชายเลนกว่า 9,000 ไร่ โครงการนี้มีแคมเปญปลูกป่าชายเลนที่น่าสนใจคือ แคมเปญ “Homerun Mangrove หนึ่งโฮมรันปลูกพันต้นโกงกาง” โดยนับยอดโฮมรันที่นาย Nobuhiko Mutsunaka นักเบสบอลชื่อดังทำได้ใน 1 ปี ซึ่งตอนนั้นมีการปลูกป่าโกงกางกว่า 4,000 ต้น
การมีส่วนร่วมของชุมชนคือวิธีที่ได้ผลดีและยั่งยืนในการปลูกป่าชายเลน เจ้าหน้าที่ภาครัฐต้องเป็นสะพานเชื่อมกับชุมชน โดยปลูกป่าเชิงคุณภาพบนพื้นฐานวิชาการและข้อมูลที่เป็นจริงว่าพื้นที่ใดปลูกได้ พื้นที่ใดปลูกแล้วจะไม่รอด ยิ่งไปกว่านั้นต้องเปลี่ยนการปลูกป่าให้เป็นการสร้างงานและรายได้ให้คนในชุมชน
ส่วนโครงการพัฒนาชุมชนชายฝั่งจังหวัดระนองให้เข้มแข็งรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เน้นทำให้ชุมชนมีองค์ความรู้ สามารถปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด และมีอาชีพมีรายได้ที่มั่นคง โดยมีเป้าหมาย คือ ชุมชนบ้านเกาะคณฑี ชุมชนบ้านเกาะเหลา ชุมชนบ้านเกาะสินไห และชุมชนบ้านฉาง-ท่าต้นสน
“ปัจจุบัน มีทุนที่จะลงไปพัฒนาชุมชนมาก ควรเตรียมความพร้อมชุมชนอย่างเข้มข้น ทำให้เห็นว่าการรวมกลุ่มจะทำให้มีโอกาสมากขึ้น ต้องลดช่องว่างระหว่างภาคนโยบายกับการปฏิบัติให้ได้” นายขยายกล่าวสรุป
นายชัยรัตน์ เอื้อตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศชายฝั่งและความมั่นคงทางอาหาร ว่า หลังจากทุกภาคส่วนได้ช่วยกันปลูกป่าอย่างต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่า ชายเลนเสื่อมโทรมที่เกิดจากการทำบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้ตอนนี้พื้นที่ปากน้ำกระแสมีพื้นที่ป่าสมบูรณ์ประมาณ 600 ไร่ โดยมีคนในชุมชนช่วยกันดูแลอย่างเข้มแข็ง เพราะได้รับประโยชน์จากป่าสมบูรณ์ ทั้งการเป็นแหล่งอาหาร มีสัตว์น้ำเยอะกว่าเดิม นำมาเป็นอาหารและขายสร้างรายได้ให้ครอบครัว นอกจากนี้ป่าชายเลนยังเป็นแหล่งพักอาศัยของนกอพยพหายาก มีความหลากหลายทางชีวภาพ และดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติ ทำให้คนในชุมชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง
นายชัยรัตน์ยังกล่าวถึงปัจจัยสำคัญอีกอย่างของความสำเร็จในการอนุรักษ์ป่าชายเลน คือ การสนับสนุนจากภาคเอกชน ซึ่งชุมชนปากน้ำประแสเองได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัทเอกชนหลายแห่งมาโดยตลอด และที่สำคัญคือ “ความต่อเนื่อง” ตัวอย่างเช่น กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ที่ได้เข้ามาปลูกป่าและส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนปากน้ำประแสอย่างต่อเนื่องทุกปีเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว รวมทั้ง Dow ยังช่วยสร้างแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ และทำกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น พาสื่อมวลชนมารีวิว และจัดประกวดถ่ายภาพซึ่งทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ความต่อเนื่องจึงเป็นหนึ่งในเคล็ดลับความสำเร็จเพื่อสร้างให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนในการอนุรักษ์
นางสาวมณีวรรณ สันหลี กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิอันดามัน กล่าวถึง ภัยคุกคามต่อระบบนิเวศและท้องทะเลอันดามัน ความท้าทายของระบบนิเวศและชุมชน กรณีศึกษาการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดตรัง ว่าที่ผ่านมาชุมชนชายฝั่งได้รับผลกระทบจากการที่มีปริมาณสัตว์น้ำลดลง เพราะการทำประมงที่ไม่เหมาะสม คนในชุมชนจึงรวมตัวกันจัดทำข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหา มีการแบ่งประเภทป่าชายเลนเป็นประเภทต่างๆ แบ่งพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ใช้สอย และเพื่อใช้กันคลื่นลม
ในจังหวัดตรัง มีการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ 4 หมู่บ้าน เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ห้ามใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำวัยอ่อนและพะยูน ห้ามตัดไม้โกงกาง และมีการอนุรักษ์พื้นที่หญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำ นอกจากนี้ เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังมีการประชุมเพื่อติดตามเฝ้าระวังปัญหาในพื้นที่ชายฝั่งด้วย มีการข้อเสนอต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การดำเนินการเหล่านี้ทำให้จำนวนพะยูนและพื้นที่หญ้าทะเลในจังหวัดตรังเพิ่มขึ้น รวมทั้งเกิดกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนบ้านน้ำราบ ช่วยสร้างงาน และกระจายรายได้ให้คนในชุมชน
ชุมชนชายฝั่งยังคงเผชิญกับภัยคุกคามหลายอย่าง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ภาวะน้ำทะเลหนุนสูง คลื่นลมแปรปรวนส่งผลต่อประมงชายฝั่ง ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาขยะทะเลบริเวณชายฝั่ง นอกจากนี้ ก็ยังมีปัญหาพื้นที่หญ้าทะเลในเกาะลิบงได้รับความเสียหายจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อการทำประมงชายฝั่ง การท่องเที่ยว และการดูดซับและกักเก็บคาร์บอน ขณะเดียวกัน กฎหมายและนโยบายบางอย่างก็ส่งผลกระทบต่อชุมชน เช่น พรบ.สิ่งก่อสร้างล่วงล้ำลำน้ำกระทบต่อชาวบ้านรายได้น้อย พรบ.อุทยานแห่งชาติทำให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถทำประมงนอกพื้นที่ได้ นโยบายทวงคืนพื้นป่าได้ยึดพื้นที่คืนจากชาวประมงพื้นบ้าน เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องการให้ทุกฝ่ายร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่หญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ และต้องการให้ภาครัฐออกนโยบายที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาต่างๆ
ด้านนายรวี ถาวร นักวิจัยศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) กล่าวถึง การมีส่วนร่วมและผลประโยชน์ของชุมชนจากการฟื้นฟูป่าชายเลน กรณีศึกษาป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด ว่า ชุมชนบ้านเปร็ดในมีป่า ชายเลน 10,557 ไร่ มีการฟื้นฟูมาตั้งแต่ปี 2530 คนในชุมชนทำสวนผลไม้ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามระบบธรรมชาติ และทำประมงจับหาสัตว์น้ำ ทั้งนี้ ช่วงแรกของการฟื้นฟูป่าชายเลนเป็นการฟื้นฟูตามธรรมชาติ และต่อมาชุมชนเข้าไปช่วยฟื้นฟูโดยได้รับการสนับสนุนจาก RECOFTC และภาคีเอกชน มีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์แบ่งพื้นที่ดูแลฟื้นฟูระบบนิเวศ บริหารจัดการเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำ เช่น ธนาคารปูดำ และบ้านปลา ปลูกป่าชายเลนเพิ่ม วางแผนการจัดการป่า และร่วมมือกับพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อดูแลปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ให้พื้นที่ป่าชายเลนมีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น มีปริมาณสัตว์น้ำ พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น อัตราการพังของชายฝั่งลดลง ช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้คนในชุมชน ลดความยากจน และเมื่อคนในชุมชนตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้รับก็กลายเป็น Forest Watch คอยดูแลป่าและคอยแจ้งเตือนเมื่อพบเห็นส่งปกติในพื้นที่ป่าเพื่อให้แก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ในปี 2554-2556 โครงการ Mangroves for the Future ได้ช่วยขยายพื้นที่ฟื้นฟูสู่เครือข่ายอีก 6 ตำบล ผ่านการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในอ่าวตราด การทำวิจัยเรื่องการฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างทำให้เกิดองค์ความรู้ในการฟื้นฟูป่าชายเลนที่ผสมผสานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาชาวบ้าน มีการจัดทำคู่มือการสำรวจ ประเมินผลและติดตามการฟื้นฟูป่าชายเลนโดยชุมชน เพื่อขยายผลองค์ความรู้สู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ ความสำเร็จด้านการฟื้นฟูป่าชายเลนทำให้ชุมชนบ้านเปร็ดในได้รับรางวัล Equator ของ UNDP เมื่อปี 2555
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างของชุมชนนี้คือ การตั้งกองทุนป่าชุมชน...เพื่อความยั่งยืน โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อฟื้นฟูจัดการป่าอย่างต่อเนื่อง มีการใช้เงินทุนซื้อนากุ้งร้างเพื่อปลูกป่าชายเลนเพิ่ม ใช้เป็นเงินสวัสดิการของคนทำงาน รวมถึงซื้อน้ำมันและซ่อมเรือรวมถึงอุปกรณ์ดูแลจัดการป่า และพัฒนาบุคลากร
นายรวี เล่าถึง การฟื้นฟูนากุ้งขนาด 45 ไร่ ตั้งแต่ปี 2554 ว่า เป็นการฟื้นฟูป่าควบคู่การทำวิจัย ที่ผสมผสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้ของชาวบ้านที่ร่วมกันวิเคราะห์เลือกรูปแบบการปลูกฟื้นฟูพื้นที่ เช่น วิเคราะห์ชนิดดิน การจัดการระบบน้ำ วิธีการปลูกป่าโกงกางแบบใช้ฝัก และได้ร่วมกันฟื้นฟูพื้นที่ มีการเรียนรู้และติดตามผลการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง เช่น ข้อมูลต้นไม้ สัตว์หน้าดิน สัตว์น้ำที่ใช้ประโยชน์จากแปลงฟื้นฟู ซึ่งผลการฟื้นฟูพบว่า ต้นไม้รอดตาย 80% มีสัตว์หน้าดินอย่างน้อย 10 ชนิด พบสัตว์น้ำอย่างน้อย 25 ชนิด โดย 5 ชนิดเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน ขณะที่เดียวกัน คนในชุมชนได้เรียนรู้การฟื้นฟูป่าชายเลน มีการวิจัยชุมชน ซึ่งขยายผลไปยังชุมชนชายฝั่งอื่นได้
ผู้ที่สนใจสามารถรับฟังการสัมมนา 1 ชั่วโมงเต็มได้ที่ https://youtu.be/DuAOJvUfq-U
เอสซีจีผสานความร่วมมือกระทรวงต่างประเทศ เร่งส่งมอบเตียงสนามกระดาษและสุขากระดาษ
SCG ร่วมกับ SCGC สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเครือข่าย ชวนประชาชนร่วมตัดสินรางวัล “Popular Vote” (ขวัญใจมหาชน)
โดยการโหวตให้คลิปที่ชื่นชอบของเหล่า “หนูน้อยกู้โลก” ที่เข้ารอบ 20 รร. สุดท้ายจาก รร. ทั่วประเทศ ที่ส่งคลิปวิดีโอเล่าวิธีกู้โลกด้วยการจัดการถุงนม รร. ใช้แล้วให้น่าสนใจมาร่วมประกวด เพื่อรับรางวัลทุนการศึกษา 5,000 บาท
กติกาการโหวต เพียงกด Like (ไลค์) หรือ Share (แชร์) คลิปของ รร. ที่ชื่นชอบในอัลบั้มนี้ https://bit.ly/PopularVoteKidsSaveTheWorld (1 ไลค์ = 1 คะแนน และ 1 แชร์ = 3 คะแนน) ได้ตั้งแต่วันนี้ - 23 ก.พ. 66 และติดตามการประกาศผลผู้ได้รับรางวัล Popular Vote พร้อมรางวัลอื่น ๆ ได้ ในวันที่ 6 มี.ค. 66 ทาง Facebook : SCGofficialpage
ทั้งนี้ กิจกรรม “หนูน้อยกู้โลก” ซึ่งชวน รร.อนุบาล-ประถมศึกษาทั่วประเทศส่งคลิปเล่าวิธีกู้โลกด้วยการจัดการถุงนม รร. ใช้แล้วให้สร้างสรรค์และน่าสนใจ เพื่อรับเกียรติบัตร ชิงโล่รางวัล และทุนการศึกษารวมกว่า 100,000 บาทนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “ถุงนมกู้โลก” ที่ SCG และเครือข่าย ร่วมกันส่งเสริมการตัด ล้าง ตาก และรวบรวมถุงนม รร. กลับมาเป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้เยาวชน “ใช้ให้คุ้ม-แยกให้เป็น-ทิ้งให้ถูก” สร้าง “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เพื่อสิ่งแวดล้อมดี สังคมดี ตามแนวทาง “ESG” (Environmental, Social, Governance)
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรม “หนูน้อยกู้โลก” ได้ที่ ้ https://www.scg.com/esg/highlight/kidsavetheword
นายสรรเพชร นิลรัตน์ (ซ้ายสุด) กรรมการผู้จัดการ มูลนิธิ EDF (มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา) ถ่ายภาพร่วมกับ มร.ทากาชิ ฮาเซกาว่า (ที่ 3 จากขวา) ผู้บริจาคทุนการศึกษาภายใต้กองทุน "ฮาเซกาว่า เรียว” (HASEGAWA Ryo Fund) แก่นักเรียนไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ยากจนภายใต้การดูแลของมูลนิธิตั้งแต่ปีการศึกษา 2565-2571 จำนวน 231 คน ในโอกาสเดินทางจากประเทศญี่ปุ่นมาร่วมประชุมและดูการดำเนินงานของมูลนิธิ
โอกาสนี้นายธัญญากร รัตนประสิทธิ์ (ขวาสุด) ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ทุนการศึกษา และนายอนุชาติ คงมา (ที่ 2 จากขวา) ผู้จัดการฝ่ายกิจการฝ่ายต่างประเทศมูลนิธิ EDF ร่วมถ่ายภาพด้วย
อนึ่งมูลนิธิ EDF เป็นองค์กรสาธารณกุศลจดทะเบียนลำดับที่ 255 ของประเทศไทย ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนที่ด้อยโอกาสด้วยการมอบทุนการศึกษาและจัดกิจกรรมซีเอสอาร์ โดยได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศและได้รับรางวัล เช่น ประกาศนียบัตรรับรอง CAF International Vetted Organization จาก CAF International ที่มอบให้องค์กรสาธารณกุศลทั่วโลกที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานการดำเนินงานครอบคลุมหลักธรรมาภิบาล เป็นองค์กรสาธารณกุศลที่จดทะเบียนถูกต้อง รายงานการเงินประจำปีมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ เงินบริจาคและเงินสนับสนุนที่ส่งมอบให้มูลนิธินำไปใช้อย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์เพื่อสาธารณกุศลอย่างแท้จริง รางวัลยอดเยี่ยมองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งประเทศไทยประเภทองค์กรขนาดใหญ่จากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ สถาบัน คีนันแห่งเอเชีย และ เดอะ รีซอร์ส อัลลิอันซ์ รางวัลประกาศนียบัตรองค์กรสาธารณกุศลระดับ 5 ดาว จากการดำเนินงานและบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มีประสิทธิภาพทางการเงิน และมีความโปร่งใสจากสมาคมกิฟวิ่ง แบค รางวัลคนดีต้นแบบคุณธรรมไทยจากสมาคมสหพันธ์คนพิการในประเทศไทย และรางวัลกัลปพฤกษ์ทองคำในฐานะหน่วยงานที่ทำความดีอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้สนใจร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาหรือจัดกิจกรรมซีเอสอาร์ร่วมกับมูลนิธิ EDF สามารถติดต่อสำนักงานมูลนิธิได้ที่โทรศัพท์ (02) 579 9209-11 (วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-16.30 น.) อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ทาง Line: @edfthai เฟสบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/edfthai หรือเว็บไซต์ www.edfthai.org ทั้งนี้การบริจาคหรือทำกิจกรรมร่วมกับมูลนิธิสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีตามกฎหมาย
ร่วมโครงการ FOOD FOR GOOD มูลนิธิยุวพัฒน์ มอบเงิน 1 ล้านบาทช่วยเด็กไทยพ้นทุพโภชนาการให้ได้รับอาหารดี มีคุณภาพ เสริมสร้างอนาคตที่ดีให้แก่เยาวชน
มร.มาร์โค เอนนีโล รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทเจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ มอบเงินสนับสนุนจำนวน 210,000 บาท จากการจัดกิจกรรมเชิญชวนลูกค้าเปลี่ยนคะแนนสะสมในแอปพลิเคชัน "GEN365" เพื่อจัดซื้อ 100 ตู้ยาปลอดภัย สู่ 100 โรงเรียนที่ขาดแคลนภายใต้โครงการ “ของฝัน ของหนู” ซึ่งจัดขึ้นโดย มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ เพื่อเด็กและเยาวชน ฯ (CCF) สำหรับจัดซื้อตู้ยาและยาสามัญ รวมถึงเวชภัณฑ์ที่จำเป็นมอบให้100 โรงเรียน เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ห่างไกลได้ใช้สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยได้รับเกียรติจาก ดร.บรรจงเศก ทรัพย์โสภา ผู้อำนวยการ พร้อมด้วย นายทวีโชค สุโภภาค Major Donor Manager มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ ร่วมรับมอบ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ บริษัท เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์
"โครงการสนับสนุนทุนการศึกษานักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ ที่มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 20