November 21, 2024

ปูนซีเมนต์นครหลวง ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล ภายใต้โครงการโรงเรียนสีเขียว เป็นปีที่ 14 ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก่อสร้างโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน มาแล้วกว่า 33 แห่ง ด้วยวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2573” ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ ของคนไทย ล่าสุดได้รับเข็มเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันสถาปนาตำรวจตระเวนชายแดน ประจำปี 2566

ดร.สุนีย์ ศรไชยธนะสุข กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปูนซีเมนต์นครหลวงมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา โดยปัจจุบันได้ร่วมมือ กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สร้างโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กๆที่ด้อยโอกาส ในพื้นที่ห่างไกล ภายใต้โครงการโรงเรียนสีเขียว มาเป็นปีที่ 14 ด้วยวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2573” ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย มากว่า 20 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเยาวชนที่ด้อยโอกาสให้เข้าถึงโอกาส ในการศึกษาอย่างเท่าเทียม

ทั้งนี้ โรงเรียนสีเขียวได้ดำเนินการก่อสร้างล่าสุดคือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปูนอินทรี-มูลนิธิกรุงศรี อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งที่ 33 ของโครงการ โดยมีมูลนิธิกรุงศรีได้ร่วมสนับสนุนการก่อสร้างโรงเรียนดังกล่าวอีกด้วย

“รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ถือเป็นกำลังใจและแรงผลักดันให้ปูนซีเมนต์นครหลวง ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา สร้างขวัญและกำลังใจต่อการศึกษาของเยาวชน เพื่อต่อยอดและพัฒนาสู่การเป็นบุคลากรที่ดีของประเทศในอนาคต และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น โดยโครงการยังมุ่งเน้นการอนุรักษ์พลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม” ดร.สุนีย์ กล่าว

 

เอไอเอ ประเทศไทย โดย นายนายสุวิรัช พงศ์เสาวภาคย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลธุรกิจด้านกฎหมายและกิจการภายนอก เป็นตัวแทนรับโล่ประกาศเกียรติคุณ จาก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี และประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในการที่เอไอเอ ประเทศไทย มีส่วนร่วมสนับสนุนกรมธรรมธ์ประกันอุบัติเหตุจำนวน 111 กรมธรรม์ ให้แก่เจ้าหน้าที่และทหารเรือที่ปฏิบัติงานวางปะการังและบ้านปลาบริเวณหน้าหาดทิศตะวันออกของเกาะแสมสาร 

ภายใต้โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรและวางปะการัง เกาะแสมสาร เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยโครงการดังกล่าว มุ่งดำเนินงานเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในแนวปะการัง บริเวณเกาะแสมสาร รวมทั้งยกระดับความสำคัญพื้นที่หมู่เกาะแสมสารให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล เกิดความเชื่อมโยงของระบบนิเวศป่าชายเลน ป่าชายหาด พื้นทราย สาหร่าย หญ้าทะเล บ้านปลา และแนวปะการัง ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจในด้าน ESG ของเอไอเอ ที่มุ่งมั่นรักษาและดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนให้แก่สังคม

โดยถือเป็นหนึ่งในแนวทางการดำเนินงานที่เอไอเอให้ความสำคัญมาโดยตลอด ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives - เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น’ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้น ณ อ. สัตหีบ จ. ชลบุรี เมื่อเร็ว ๆ นี้

ปูนซีเมนต์นครหลวง ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล ภายใต้โครงการโรงเรียนสีเขียว เป็นปีที่ 14

บริษัท ยู.เอส.สัมมิท (โอเวอร์ซีส์) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย สินค้าแม่และเด็ก ภายใต้แบรนด์เพียวรีน (PUREEN)

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ปลูกฝังพนักงาน ร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคมและชุมชน เดินหน้าสร้างสรรค์โครงการเพื่อชุมชนและสังคมต่อเนื่อง มอบรางวัล Sustainability in Action 2022 รวม 69 โครงการ  แก่บุคลากรที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสู่เป้าหมาย CPF 2030 Sustainability in Action สะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัทที่คำนึงถึงการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม มุ่งมั่นปลูกฝังพนักงานร่วมสร้างคุณค่าทางสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยจัดการประกวดรางวัล CPF ยั่งยืนได้ด้วยมือเรา หรือ CPF Sustainability in Action Awards ขึ้นตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้กลยุทธ์ 3 เสาหลักสู่ความยั่งยืน “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และตินน้ำป่าคงอยู่” เพื่อส่งเสริม สนับสนุน คัดเลือกโครงการที่สร้างผลกระทบเชิงบวกด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานของทุกสายธุรกิจ

  

“พนักงานทุกคน ถือเป็นตัวแทนของบริษัทในการนำวิสัยทัศน์และความตั้งใจของซีพีเอฟไปสู่สังคม ด้วยการร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับชุมชน ซึ่งการทำธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องคำนึงถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมด เพื่อให้ธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ตามปรัชญา 3 ประโยชน์ ประเทศได้ประโยชน์ ประชาชนได้ประโยชน์ และบริษัทจึงจะได้ประโยชน์ โดยมุ่งพัฒนาบริษัทให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม นอกจากจะทำให้ธุรกิจพัฒนาและประสบความสำเร็จ ซึ่งเท่ากับผู้บริโภคจะได้รับสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ดีจากบริษัทแล้ว ทุกคนต้องช่วยกันดูแลคนในสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกันด้วย” นายประสิทธิ์ กล่าว  

นอกจากนี้ ธุรกิจไม่เพียงต้องคำนึงถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เท่านั้น ธุรกิจจะยั่งยืนได้ต้องมีความสมดุลระหว่าง 3องค์ประกอบหลักของความยั่งยืน ตาม BCG Model ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ตลอดจนความสำคัญของลูกค้า ผู้บริโภค และธรรมาภิบาล สิ่งเหล่านี้นับเป็นองค์ประกอบที่เป็นรากฐานที่สำคัญของการสร้างความรัก ความผูกพัน  ความเชื่อมั่นให้กับชุมชน  สังคม ผู้บริโภค  ตลอดจนคู่ค้า และผู้ถือหุ้น ดังนั้น ใน ควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม

สำหรับ การประกวดฯในปี 2566 มีการยกระดับกระบวนการประกวดให้เข้มข้นขึ้น ทั้งการฝึกอบรมด้านการเขียนโครงการ และการนำเสนอแบบ Pitching ตลอดจนการพิจารณารางวัลจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานคิดสร้างสรรค์โครงการที่ดีอย่างต่อเนื่อง สอดรับตาม BCG Model นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับชุมชน รวมถึงการพัฒนาโครงการให้เกิดนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) และดำเนินโครงการให้มีความต่อเนื่องสร้างคุณค่าทางสังคม เกิดเป็นผลกระทบทางสังคม (Social Impact) ในเชิงบวก ตามเป้าหมาย CPF 2030 Sustainability in Action และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

โดยมุ่งเน้นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน 7 ด้าน ได้แก่ หลักการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ความมั่นคงทางอาหาร สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน พนักงานและชุมชน การดูแลทรัพยากรน้ำ การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ

โครงการบ่มเพาะกิจการเพื่อสังคมที่อยู่กับสังคมไทยมานานกว่า 12 ปี อย่างโครงการ Banpu Champions For Change (BC4C) โดยบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ และสถาบัน ChangeFusion องค์กรไม่แสวงผลกำไรภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่บุกเบิกและบ่มเพาะเหล่ากิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ไปกว่า 119 กิจการ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในกลุ่มคนเบื้องหลังที่มีส่วนสำคัญในการร่วมผลักดันกิจการเพื่อสังคมเหล่านั้นก็คือ “คณะกรรมการ”

คณะกรรมการในโครงการ BC4C ไม่ใช่แค่ผู้คัดเลือกเท่านั้น แต่หลายครั้งที่บรรดากิจการเพื่อสังคมได้เจอจุดเปลี่ยนในการทำธุรกิจ หรือได้ไอเดียต่อยอดในการทำธุรกิจมาจากคำถามหรือข้อแนะนำจากเหล่าคณะกรรมการ โครงการ BC4C จึงสรรหาคณะกรรมการผู้คร่ำหวอดในแวดวงกิจการเพื่อสังคม ที่จะสามารถให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนมุมมองการทำธุรกิจได้อย่างรอบด้าน มองขาดทั้งปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบที่มีต่อธุรกิจ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และจุดประกายไอเดียเพื่อเร่งเครื่องธุรกิจ SE ให้ไปได้ไกลและเร็วกว่าเดิม

  • ไม่ใช่แค่ Passion แต่ต้องอินไซต์ปัญหา-เข้าถึงชุมชนให้เป็นด้วย

คุณสินี จักรธรานนท์ ประธานมูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย) องค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีสาขาใน 38 ประเทศทั่วโลก ด้วยประสบการณ์การทำงานกว่า 30 ปีที่อโชก้า คุณสินีจึงมีความเข้าใจปัญหาสังคมที่ลึกซึ้ง มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการทำงานใกล้ชิดกับชุมชน มีความเข้าใจปัญหาในพื้นที่ต่างๆ

“ที่ผ่านมาเราเห็นผู้ประกอบการบางกลุ่มมี Passion ในการทำงานอย่างแรงกล้า แต่ยังไปไม่ถึงความสำเร็จ ไม่ใช่ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ดี แต่อาจจะยังไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งที่เป็นชิ้นส่วนที่ขาดหายไปคือ ‘การเข้าถึงชุมชนหรือกลุ่มคนเหล่านั้น’ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกต่างๆ และหยิบนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาต่อยอดและหาทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เรามีความถนัด ซึ่งการคัดเลือกทีม SE ที่จะผ่านเข้ารอบในครั้งนี้ ก็จะนำมิติด้านการทำงานกับชุมชนเพื่อให้เข้าใจปัญหาสังคมอย่างถ่องแท้เข้ามามีส่วนในการประเมินด้วย”

  • “สร้างคุณค่าทางธุรกิจไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าทางสังคม”

คุณภาวินท์ สุทธพงษ์ CEO บริษัท SpotON International Group - กูรูผู้คลุกคลีวงการบ่มเพาะและการวางแผนธุรกิจกว่า 15 ปี มีส่วนช่วยสร้างสตาร์ทอัพมากว่า 400 ธุรกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับรางวัล การแข่งขันสตาร์ทอัพระดับโลก ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การทำงานที่ใกล้ชิดกับผู้ประกอบการ   คนรุ่นใหม่ทำให้คุณภาวินท์ทราบถึงปัญหาและกลยุทธ์ในการเอาชนะอุปสรรคในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เดินต่อไปได้ คุณภาวินท์จึงเป็นทั้ง ‘กรรมการและเมนเทอร์’ ในโครงการ BC4C มาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 รุ่น

“ผมได้เห็นคนรุ่นใหม่หรือผู้ประกอบการมีการตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสังคมมาโดยตลอด แต่บางคนอาจโฟกัสเรื่องการเติบโตมากไปจนอาจลืมมองกลับมาว่าธุรกิจที่เราทำนั้นสามารถสร้างคุณค่าแก่สังคมได้ อยากให้มองภาพการทำธุรกิจอย่างรอบด้านให้กว้างมากขึ้นและเปิดใจกับการก้าวเข้ามาเป็นกิจการเพื่อสังคม ส่วนคนที่เข้าใจเรื่องกิจการเพื่อสังคมอยู่แล้วนั้น สิ่งที่ควรตระหนักคือ การสร้างคุณค่าและการเติบโตของธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งหากธุรกิจเราเติบโตได้อย่างยั่งยืน นั่นหมายความว่าเราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมหรือส่งมอบสิ่งที่ดีให้สังคมได้ดียิ่งขึ้นได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน”

  • “ยึด 3 หลัก: Insight - Solution - Sustaining Model” หนุนธุรกิจ

คุณอธิชา ชูสุทธิ์ นักพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) – ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลอินโนเวชัน เบื้องหลังผู้วางแผนการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัลของ NIA

“เราเน้นย้ำถึง ‘3 องค์ประกอบหลัก’ ที่ทำให้ผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน คือ ‘Insight’ ความเข้าใจและองค์ความรู้ที่มีต่อประเด็นปัญหาที่ตนสนใจ ‘Solution’ การพัฒนาและคัดเลือกโซลูชันที่นำไปสู่นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ประเด็นปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างเป็นรูปธรรม และ ‘Sustaining Model’ การพัฒนาแนวทางการขยายผลที่จะทำให้ธุรกิจของตนสามารถเติบโตต่อได้และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ก็จะถูกนำมาใช้ทั้งในการคัดเลือกและเป็นหลักแนะนำให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ BC4C ตามบริบทที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละกิจการ”

  • “วิเคราะห์บริบทของปัญหาที่รอบด้าน ‘กว้าง-ชัด-ลึก”

คุณภัฏ เตชะเทวัญ ผู้ก่อตั้ง TP Packaging Solution - อดีตผู้ชนะเลิศจากใน BC4C รุ่นที่ 6 ผู้ซึ่งเคยได้รับการบ่มเพาะจนในปัจจุบันสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง เป็นหนึ่งในผู้นำด้านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมแถวหน้าของเมืองไทย ได้นำประสบการณ์จริงของตัวเองมาช่วยสรรหา SE ในโครงการ BC4C

 “ผมเห็นว่าสิ่งที่ช่วยให้ SE ประสบความสำเร็จมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การมี ‘มุมมองที่กว้าง (Big Wide) ชัด และลึก’ กล่าวคือมีพื้นฐานของการมองเห็นปัญหาลึกซึ้ง เข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหา มี Passion ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามแนวทางของตนเอง และ ‘มีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ที่สูงในทุกบริบทของปัญหา’ คือสามารถรู้เหตุของปัญหา รู้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ และสามารถเสนอแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน ตลอดจนรู้ถึงผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบอย่างรอบด้าน อย่างเช่นโมเดลธุรกิจของผมสมัยที่เข้าประกวด BC4C นั้น ได้หยิบยกปัญหา ‘โฟม’ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืนมาเป็นตัวตั้งต้น เนื่องจากหลายภาคส่วนเน้นการรณรงค์เลิกใช้โฟมในภาคประชาชน แต่มันไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้คนเลิกใช้โฟมได้เพราะพวกเขาไม่มีสิ่งทดแทน เราจึงสร้างทางเลือกใหม่ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อทดแทนโฟม เป็นต้น”

คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส - สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “BC4C ในปีที่12 มาพร้อมกับแนวคิด “Champions of the Future Drive: แชมป์ผู้ขับเคลื่อนอนาคต” เราให้ความสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ เขาคืออนาคตของชาติ เขาคือคนที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมท่ามกลางโลกที่มีพลวัตและความไม่แน่นอน ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพ SE ในประเทศไทย เรามีความมั่นใจในกระบวนการคัดเลือก และองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งกรรมการและเมนเทอร์ว่าจะสามารถนำพาผู้ประกอบการ SE ให้เพิ่มศักยภาพตัวเองเพื่อไปต่อยอดกิจการให้สามารถช่วยเหลือคุณภาพชีวิตผู้คนได้ต่อๆ ไป”

ด้าน คุณสุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน ChangeFusion กล่าวเสริมว่า “โครงการ BC4C ได้บ่มเพาะและผลักดันผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 แล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราได้เห็นพัฒนาการของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทยที่มีหลากหลายครอบคลุมหลายมิติทางสังคมและมีความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในฐานะผู้ร่วมดำเนินโครงการและในฐานะกรรมการที่ได้ร่วมคัดสรร SE รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพและมีศักยภาพเข้ามาร่วมบ่มเพาะ ติดอาวุธทางความคิดอย่างรอบด้านไปกับโครงการฯ เพื่อให้พวกเขามีความพร้อมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน และเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผนึกกำลังสร้างเครือข่าย SE ในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไปอีกด้วย”

สำหรับผู้ประกอบการ SE หรือผู้สนใจในกิจการเพื่อสังคม สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Banpu Champions for Change ได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/banpuchampions หรือติดต่อที่หมายเลขโทรศัพท์ 087-075-4815

นายนภดล รมยะรูป กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซีเมนต์เอเซีย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง การเปิดตัว ปูนบัว GO GREEN ปูนรักษ์โลก ลดโลกร้อน

มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED Foundation) นับเป็นหนึ่งในความร่วมมือครั้งสำคัญของภาคเอกชน 47 องค์กรในการยกระดับคุณภาพการจัดการการศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล แต่ละองค์กรที่เข้าร่วมกับมูลนิธิต่างเดินหน้าลงพื้นที่ร่วมพัฒนาการศึกษาไทยอย่างต่อเนื่อง

เช่นเดียวกับบริษัท​ ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CP ALL ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเข้าไปสนับสนุนโรงเรียนถึงมากกว่า 573 โรงเรียน นับเป็นหนึ่งในองค์กรที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่โรงเรียนต่างๆ ภายใต้ CONNEXT ED ได้อย่างโดดเด่น

นายประสิทธิ์  ฉกาจธรรม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่นและเซเว่น เดลิเวอรี่ และ รองประธานคณะกรรมการบริหาร ซีพี ออลล์ คอนเน็กซ์ อีดี (CP ALL CONNEXT ED) เล่าว่า ซีพี ออลล์เข้ามาร่วมขับเคลื่อนโครงการตามปณิธานองค์กร “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน” นับตั้งแต่ปีแรกของ CONNEXT ED โจทย์ใหญ่ที่สุดของซีพี ออลล์ ไม่ใช่แค่การเข้าไปช่วยยกระดับการศึกษา แต่คือ “การสร้างความยั่งยืน” ทำอย่างไรให้โรงเรียนยังเดินหน้าพัฒนาการศึกษาต่อได้ ในวันที่ทีมงานออกมาแล้ว ทำอย่างไรให้บุคลากรของโรงเรียนเห็นเป้าหมายของการพัฒนาเป็นภาพเดียวกัน ทำอย่างไรให้การพัฒนาการศึกษาสอดคล้องกับวิถีชีวิต อัตลักษณ์ จุดแข็งของโรงเรียนและท้องถิ่นนั้นๆ และทำอย่างไรให้ทั้งโรงเรียนและชุมชนใกล้โรงเรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Life Long Learning

จากโจทย์ดังกล่าว บริษัทจึงดำเนินการหลายอย่างพร้อมกัน คือ 1.สนับสนุนทั้งงบประมาณ องค์ความรู้ อุปกรณ์การศึกษา วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนบุคลากรในบริษัท ที่ผ่านการพัฒนาทักษะและมีจิตสาธารณะ เข้าไปเป็นผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) พร้อมทั้งจัดเวิร์คช้อปที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 2.แบ่งสาขาการสนับสนุนให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละโรงเรียนผ่านโครงการที่โรงเรียนเสนอเข้ามา ทั้งโครงการด้านวิชาชีพ ด้านเกษตรกรรม ด้านวิชาการ ด้านเทคโนโลยี ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม 3.แบ่งกลุ่มตามระดับความสำเร็จของการพัฒนา ได้แก่ โรงเรียนที่เพิ่งเข้าร่วม (Newcomer School) โรงเรียนที่ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Best Practice School) โรงเรียนต้นแบบ (School Model) โรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) และล่าสุดระดับใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นปีนี้ คือระดับวิสาหกิจโรงเรียน (School Enterprise) โดยเพิ่มแรงจูงใจ อาทิ การเพิ่มงบประมาณการสนับสนุนให้ในระดับที่สูงขึ้น

“การแบ่งระดับความสำเร็จ เป็นทั้งการสร้างกำลังใจและสร้างเป้าหมายให้แต่ละโรงเรียนในการเดินหน้ายกระดับการศึกษาของตัวเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เมื่อผ่าน 1 ระดับ โรงเรียนจะได้ทั้งความภาคภูมิใจ ได้งบประมาณสนับสนุนเพิ่มขึ้น และได้เป้าหมายใหม่ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ละระดับจะมีเป้าหมายหรือเกณฑ์การผ่านของตัวเอง ยิ่งระดับสูงก็จะยิ่งมีเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเข้มข้นขึ้น เมื่อได้รับระดับ School Model ขึ้นไป ก็มีโอกาสได้รับการนำโมเดลไปขยายผลยังโรงเรียนอื่นๆ เพิ่มเติม” นายประสิทธิ์ กล่าว

ด้าน นายตรีเทพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ประธานคณะทำงานโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED บมจ.ซีพี ออลล์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา โรงเรียนส่วนใหญ่มีองค์ความรู้ทางวิชาการอยู่แล้ว แต่อาจยังขาดความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการโครงการอย่างยั่งยืน ตลอดจนแนวทางการบูรณาการหลักสูตร สิ่งที่ซีพี ออลล์ ดำเนินการ จึงเป็นการเข้าไปให้แนวทางการบริหารจัดการโครงการอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งตั้งเกณฑ์กรอบความยั่งยืน 3 มิติ ได้แก่ การเป็นโรงเรียนที่พึ่งพาตนเองได้ การบูรณาการความรู้สู่หลักสูตรสถานศึกษาหรือหลักสูตรท้องถิ่น และการพัฒนาสู่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพื่อเป็นแนวทางให้โรงเรียนที่ต้องการก้าวขึ้นสู่ระดับ School Model ขึ้นไป นำไปปฏิบัติ เพื่อยกระดับการศึกษา พร้อมทั้งสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่นักเรียน โรงเรียน และชุมชน

“ในปีแรกๆ ยุทธศาสตร์ของเราคือการขยายฐานจำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วม CONNEXT ED มุ่งเน้นสนับสนุนโรงเรียนที่ผ่านการกลั่นกรองคัดเลือกตามเกณฑ์ของโครงการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. เป็นหลัก ส่วนในปีนี้เปิดโอกาสให้โรงเรียนอื่นๆ ที่มีศักยภาพความพร้อม ตามบริบทโครงการเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อมของบริษัทเช่น การปลูกป่า การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมซึ่งพิจารณาจากทีมเวิร์คของโรงเรียน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน พร้อมทั้งยกระดับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการกับเราแล้ว ให้ก้าวสู่ระดับความสำเร็จที่สูงขึ้น คาดว่าสิ้นปีการศึกษา 2566 จะมีโรงเรียนที่เราดูแลรวม 573 โรงเรียน ครอบคลุมจำนวนนักเรียนกว่า 140,000 คน” นายตรีเทพ กล่าว

ล่าสุด เฟสปัจจุบัน มีโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกสู่ระดับความสำเร็จที่สูงขึ้นทั้งสิ้น 79 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนที่เพิ่งเข้าร่วม (Newcomer School) 27 แห่ง โรงเรียนที่ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Best Practice School) 18 แห่ง โรงเรียนต้นแบบ (School Model) 13 แห่ง โรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) 9 แห่ง และวิสาหกิจโรงเรียนที่ปลูกฝังอาชีพ สร้างคลัสเตอร์รายได้ (School Enterprise) 12 แห่ง โดยมีหลายโรงเรียนที่ดำเนินโครงการได้อย่างน่าสนใจ อาทิ โครงการอุทยานการเรียนรู้ “Happy School” ความสุขที่ยิ่งใหญ่ของการเรียนรู้และการท่องเที่ยว ของ โรงเรียนบ้านเขาเฒ่า จ.พัทลุง ที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวกลับสู่ชุมชนปีละกว่า 90,000 บาท และได้รับการคัดเลือกขึ้นมาเป็น School Model และ โครงการดาวเรืองร้อยใจร้อยล้านของโรงเรียนวังไพรวิทยาคม จ.สระแก้ว ที่ได้รับการคัดเลือกขึ้นมาเป็น Best Practice School

 

นางวรรณวนา พิทักษ์สงคราม ผู้อำนวยการโรงเรียนวังไพรวิทยาคม จ.สระแก้ว กล่าวว่า ชุมชนโดยรอบของโรงเรียนเป็นพื้นที่ปลูกดาวเรืองเพื่อจำหน่ายดอกสด ซึ่งมีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก ไซส์เล็กขายไม่ได้ หากนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นก็จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้ จึงปรึกษาพันธมิตรภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ อาทิ วิทยาลัยอาชีวะ ปราชญ์ชาวบ้าน โดยแนะนำให้ปลูกแบบออร์แกนิก  เพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าออร์แกนิก แนะนำเทคนิคการมัดย้อม จนได้มาเป็นโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากดอกดาวเรือง การได้เข้าร่วมโครงการเป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดพลังในการพัฒนาโครงการ ผ่านการให้การสนับสนุนด้านงบประมาณและองค์ความรู้ ที่สำคัญคือโรงเรียนได้มีการปรับหลักสูตรใหม่ ครูได้มีการคิดนอกกรอบ บูรณาการหลักสูตรแบบ Life Long Learning โดยแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแปรรูปเพื่อการบริโภค กลุ่มแปรรูปเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์มัดย้อม และกลุ่มปลูก ปัจจุบันได้มีการพัฒนาต่อยอดสู่เทคนิค Eco ​Printing ให้ลวดลายที่สวยงามนำวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบไม้ มาพิมพ์ลายบนผ้า เด็กได้มีส่วนร่วมทุกขั้นตอน สร้างองค์ความรู้อย่างยั่งยืน สู่อาชีพสร้างรายได้ในอนาคต

เอสซีจี โดย นายถิรวัฒน์ พูนกาญจนะโรจน์ Distribution Director  บริษัท เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี มอบโล่รางวัล  Sustainable Leader SCG Green Choice 2022 แก่ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ SC ผู้นำการส่งมอบ Living Solutions คุณภาพมาตรฐานสูง โดยมี นายปภาณเดช พชรชานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านสนับสนุนโครงการ มาเป็นผู้รับมอบ

นายถิรวัฒน์ พูนกาญจนะโรจน์ กล่าวว่า “ฉลาก SCG Green Choice คือฉลากรับรองสินค้า เพื่อแสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพการอยู่อาศัยที่ดี ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญของเอสซีจีที่จะส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์รักษ์โลกได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG 4 Plus ของเอสซีจี ที่ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2022 ยอดขายสินค้ากลุ่ม SCG Green Choice เติบโตถึงร้อยละ 34 เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือมียอดขายรวม ร้อยละ 51 แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันลูกค้าให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น การมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ Sustainable Leader SCG Green Choice 2022 แก่ SC Asset ในครั้งนี้เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นร่วมกันในการส่งมอบที่อยู่อาศัยที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

การประกาศเกียรติคุณ Sustainable Leader SCG Green Choice 2022 นี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ความมุ่งมั่นในการสร้างที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพันธมิตรและคู่ค้าผ่านการเลือกใช้สินค้าภายใต้ฉลาก SCG Green Choice ซึ่ง SC Asset ได้เลือกใช้นวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่ได้รับฉลาก SCG Green Choice ในทุกโครงการ โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา SC Asset มีสัดส่วนการใช้ผลิตภัณฑ์ SCG Green Choice ร้อยละ 30 ของยอดซื้อทั้งหมด สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปได้อย่างน้อย 878 ตัน หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 73,204 ต้น ตลอดปี

นายปภาณเดช กล่าวว่า “SC Asset มุ่งพัฒนาสินค้าและบริการอย่างยั่งยืน เน้นการส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า การเลือกใช้วัสดุที่มีนวัตกรรมเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการสร้างคุณค่า เพราะไม่ได้เพียงแค่จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แต่ลูกค้าได้รับประโยชน์จากบ้านที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลาก SCG Green Choice ยังส่งผลให้ลูกค้ามีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความร้อน ลดค่าน้ำ ค่าไฟได้อีกด้วย ซึ่งภายในปี 2025 บริษัทฯ ได้มีการตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ ร้อยละ 20 เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ SCero Mission”

ภารกิจ SCero Mission (ซี-โร่-มิช-ชั่น) คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ก่อสร้าง การนำไปใช้ และการบริหารจัดการของเหลือใช้ ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ โดยหนึ่งในกลุยทธ์สำคัญคือการเลือกคู่ค้าที่มีแนวคิดและเป้าหมายเดียวกัน ในการรักษาสิ่งแวดล้อม คือการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง ที่มีนวัตกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ฉลาก SCG Green Choice ในโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมของเรา และตั้งเป้าสัดส่วนการใช้ให้ได้ ร้อยละ 40 ภายในปี 2024

การร่วมมืออย่างเต็มรูปแบบ จะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม (ESG) ยกระดับคุณภาพของบ้านและคอนโด รวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยขึ้นไปอย่างยั่งยืน

ร่วมรณรงค์ลดปัญหามลพิษ PM 2.5 ศูนย์จัดการพื้นที่สีเขียวเชิงนิเวศนครเขื่อนขันธ์ บางกระเจ้า สมุทรปราการ

X

Right Click

No right click